Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
พฤษภาคม 2558
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
22 พฤษภาคม 2558

ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ ก.คลัง

ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ ก.คลัง

Thu, 2015-05-21 15:33 -- hfocus
 //www.hfocus.org/content/2015/05/10007

คำสั่งศาลปกครองเพิกถอนหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังปี 53 ที่ห้ามเบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม “กลูโคซามีน” ในสิทธิสวัสดิการข้าราชการแล้ว มีผลตั้งแต่ 20 พ.ค.58 เป็นต้นไป หลังสมาคมข้าราชการพลเรือนอาวุโสได้เข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง โดยระบุว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย

เมื่อวันที่ 20 พ.ค.58 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสํานักงานศาลปกครองเรื่อง ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ

ด้วยศาลปกครองกลางได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๒/๒๕๕๘ ระหว่าง นางสาวปิติ กาญจนโหติ ผู้ฟ้องคดี กับ กระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดี และคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๓/๒๕๕๘ ระหว่าง นายบัญชา สหเกียรติมนตรี ผู้ฟ้องคดี กับกระทรวงการคลังผู้ถูกฟ้องคดี

โดยพิพากษาเพิกถอนหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง แจ้งตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ที่กําหนดให้กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและไม่ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว

โดยให้การเพิกถอน มีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคําพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา

จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม

เลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง”

"""""""""""""""""""""""""""""""

ทั้งนี้ การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟตสำหรับผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการนั้น กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 แจ้งเวียน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อานวยการสถานพยาบาลของทางราชการ /สถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อทราบและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ เรื่องการกาหนดรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการโดยได้กำหนดให้ กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยติน ซัลเฟตและไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบและกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทา อาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และไม่ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการใช้ ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้มีสิทธิใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกเงินจากส่วนราชการต้นสังกัด เนื่องจากกลุ่มยาดังกล่าวไม่มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิผลไม่ชัดเจน 

ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับการเบิกค่ายากลุ่ม SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟตและไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) ที่มีการสั่งใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป 

อย่างไรก็ดีหากแพทย์ผู้รักษาเห็นสมควรสั่งยากลุ่มดังกล่าว เพื่อบรรเทาอาการหรือเพื่อเป็นวิตามินเสริมให้แก่ผู้ป่วยก็สามารถสั่งใช้ยาได้ โดยผู้ป่วยต้องชำระค่าใช้จ่ายเองจะนำมาเบิกจ่ายในระบบสวัสดิการฯ ไม่ได้

ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้น มีข้าราชการไม่เห็นด้วย รวมถึงแพทยสภา โดยเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย กระทั่ง สมาคมข้าราชการพลเรือนอาวุโสได้เข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ศาลปกครองพิพากษา จึงมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว127 ที่ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 และวันที่ 20 พ.ค.58 ก็มีผลตามวันประกาศผลแห่งคําพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""


ความเห็นส่วนตัวของผม..

๑. ถึงแม้จะเบิกได้ ก็ขอให้ใช้ยาตามข้อบ่งชี้ แนวทาง ที่ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ได้จัดทำไว้ นอกจากเป็นการใช้ยา ตามมาตรฐาน อย่างเหมาะสมคุ้มค่า แล้วยังช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศอีกด้วย 

๒. ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ในการสั่งจ่ายยา ขึ้นอยู่กับ ข้อกำหนด ของแต่ละโรงพยาบาลว่า จะมีแนวทาง ข้อปฏิบัติอย่างไร ?
     ผมไม่แน่ใจว่า ยังใช้แนวทางเดิมเมื่อปี ๒๕๕๔ หรือไม่ เพราะผมไม่ได้รับราชการแล้ว  ลองอ่านดูนะครับ  //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2011&group=7&gblog=142

๓. ยากูลโคซามีน หรือ ยากลุ่มอื่น ๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดอักเสบ และช่วยชะลอความเสื่อมของข้อ ถือว่าเป้น “ ส่วนเสริม “ เท่านั้น การรักษาหลักยังเป็นเรื่องของการดูแลตนเอง บริหาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ป่วยและญาติต้องช่วยกัน

๔. ยา อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) มีข้อดี และ มีข้อเสีย ก่อนที่จะซื้อหามาใช้ก็ควรศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะได้ใช้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป อย่าไปยึดติดกับ “การโฆษณา” หรือ คำพูดของบางคน ไม่ใช่ว่า เขา(เธอ) พูดอะไรก็เชื่อ เพราะ ผู้ที่จะได้รับผลเสีย ก็คือ ตัวผู้ที่ใช้ เอง บางครั้งนอกจากเสียรู้ เสียเงิน แล้วยังอาจเสียสุขภาพ เสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

ยากับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์( เอนเสด ) ... ไม่ใช่ขนมนะครับ จะได้กินกันไปเรื่อย ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-08-2008&group=4&gblog=54

............................

แนวทางกำกับการใช้ยากลูโคซามีนของ ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ ซึ่งแนบส่งไปกับ หนังสือเวียนของกระทรวงการคลังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔


ลิงค์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ..


ข้อเข่าเสื่อม

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15


วิธีบริหารเข่า

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=5


คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132


คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(ต่อ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134


คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146


คลังคุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลขรก. ... กรมบัญชีกลาง ยังไม่ให้เบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-06-2011&group=7&gblog=139


คลังไฟเขียวเบิกจ่ายยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเหมือนเดิม... ( ไม่รู้จะมีคดีพลิก อีกหรือเปล่า ??? )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-06-2011&group=7&gblog=141


คลังส่งหนังสือด่วนถึง รพ.อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2011&group=7&gblog=142


คลังสั่งถอน“กลูโคซามีนซัลเฟต” จากระบบเบิกค่ายา ขรก...ห้ามเบิกตั้งแต่ ๑ พย. ๕๕

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-10-2012&group=7&gblog=161


๒๔ธันวาคม ๒๕๕๕ ขยายเวลาให้ข้าราชการ เบิกค่ายากลูโคซามีน ได้ (คดีพลิกอีกแล้วครับท่าน )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-12-2012&group=7&gblog=171


จ่ายยาต้นแบบให้ข้าราชการ(เบิกได้) แต่หมออาจต้องจ่ายเงินตัวเองให้ DSI ..

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2012&group=7&gblog=159


งานเข้าข้าราชการไทย " คลังสั่งห้ามจ่าย9ยานอก คนเป็นมะเร็ง-ไขมัน-ความดันกระอัก " .. นำกระทู้มาลงไว้

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-01-2011&group=7&gblog=124


ขรก.จ๊ากแน่คลังเลิกจ่าย ยานอก9กลุ่ม(ไทยโพสต์) .... นำกระทู้มาลงไว้เป็นข้อมูล

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-01-2011&group=7&gblog=123


คลังรุกอีกคุมเข้ม"ป่วยนอก"ขรก.วางแนวให้"เหมาจ่าย"เผยเจอข้อมูลส่อทุจริตเวียนรับยารพ.600ครั้ง/ปี

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=05-11-2012&group=7&gblog=164


ปัญหายาข้าราชการ....ประเด็นที่ยังไม่มีใครพูดถึง... โดย นาวาอากาศโท นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2012&group=7&gblog=162


สรุปอภิปราย“มาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ ใน สวัสดิการการ ของ ข้าราชการ”

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2010&group=7&gblog=52


เสนอเลือกเบิกจ่ายยาให้ข้าราชการบางกลุ่ม???.... ข้าราชการ ก็เตรียมตัวไว้บ้าง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-05-2009&group=7&gblog=26


อึ้ง!วิจัยเผยคนไทยใช้ยาเกินจำเป็น 500ล.ต่อปี.... ( จริง ๆ น่าจะมากกว่านั้นเยอะ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2009&group=7&gblog=27


คลังตั้งทีมรื้อค่ารักษาข้าราชการ 7 หมื่นล. ... คลังหน้ามืด!ค่ารักษาขรก. พุ่ง1.5แสนล.

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-12-2009&group=7&gblog=43


คลังเปิดทางให้ข้าราชการนอนรักษาร.พ.เอกชนได้ ..... ( ดูเหมือนดี แต่มันจะดีจริงหรือ ???)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-09-2010&group=7&gblog=101






Create Date : 22 พฤษภาคม 2558
Last Update : 29 มิถุนายน 2558 15:06:28 น. 2 comments
Counter : 5559 Pageviews.  

 
“หมอธีระวัฒน์” เผย สมาคมแพทย์สหรัฐฯ จักษุวิทยา ชี้ กลูโคซามีน ผลข้างเคียงทำตาบอด

//www.hfocus.org/content/2015/07/10419
Fri, 2015-07-17 14:22 -- hfocus

“หมอธีระวัฒน์” เผย รายงานสมาคมแพทย์สหรัฐ จักษุวิทยา ชี้ผลข้างเคียง “กูลโคซามีน” ทำผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมความดันลูกตาสูง เสี่ยงภาวะต้อหิน-ตาบอด ระบุแพทย์สั่งจ่ายต้องเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยใกล้ชิด พร้อมระบุงบรักษาพยาบาลมีจำกัด เฉลี่ยใช้ดูแลรักษาคนทั้งประเทศ ควรเลือกใช้ยารักษาโรคโดยตรง ไม่แค่สร้างความรู้สึกว่าดีขึ้น พร้อมยันไม่มีเจตนามุ่งโจมตีบริษัทขาย เพียงแต่แปลและให้ข้อมูลต่อสาธารณะเท่านั้น

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงรายงานผลข้างเคียงจากการกิน “กูลโคซามีน” ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะต้อหินและตาบอดว่า เป็นรายงานจากวารสารสมาคมแพทย์สหรัฐ ทางจักษุวิทยา (JAMA) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 ซึ่งได้เฝ้าระวังผู้ป่วยที่ใช้กูลโคซามีนเพื่อหวังผลในการลดอาการข้อเข่าเสื่อม โดยพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้หลังกินกูลโคซามีนจะมีภาวะความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างชัดเจน และเมื่อหยุดกินความดันก็จะลดลง ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีการสั่งจ่ายกูลโคซามีนกันมาก โดยมีทั้งในรูปแบบยาและอาหารเสริม แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่มีผลการพิสูจน์ว่ากูลโคซามีนมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมแค่ไหน แต่ก็มีการใช้ไปเพราะเห็นว่าไม่มีโทษ แต่หลังจากมีการายงานผลข้างเคียงกูลโคซามีนที่ชัดเจน ในการใช้ไม่ว่าจะเป็นแพทย์หรือผู้ป่วยจากนี้คงต้องระวัง เพราะจะทำให้สายตาเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะต้อหินจนตาบอดในที่สุด

ทั้งนี้จากการออกมาให้ข้อมูลในเรื่องนี้ ที่ผ่านมามีบริษัทที่จำหน่วยกูลโคซามีนออกมาต่อว่าตน เพราะกระทบต่อยอดขายและการตลาด เรื่องนี้ควรต่อว่าไปยังสมาคมแพทย์สหรัฐ ทางจักษุวิทยา เนื่องจากตนเพียงแต่แปลผลการศึกษาและนำมาให้ข้อมูลต่อสาธารณสุขเท่านั้น ไม่ได้โจมตีผลิตภัณฑ์ของใคร ซึ่งเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์เรียบร้อยแล้ว

“ที่ผ่านมาประเทศไทยไทยให้น้ำหนักกลูโคซามีนมากและเชื่อว่ามีประโยชน์มหาศาลแม้จะไม่มีหลักฐานผลวิจัยยืนยัน และไม่ได้มีฤทธิ์เสริมสร้างข้อเข่าหรือกระดูกอ่อน”

จากการสั่งจ่ายกูลโคซาจำนวนมากจนเป็นภาระต่อระบบสวัสดิการข้าราชการ กรมบัญชีกลางจึงได้มีการประกาศให้ระงับการสั่งจ่ายกูลโคซามีน ซึ่งต่อมาศาลปกครองได้สั่งให้ยกเลิกการงับสั่งจ่ายกูลโคซามีนนั้น นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ในช่วงที่สั่งระงับการเบิกจ่ายกูลโคซามีนนั้น เป็นข่าวใหญ่โตและได้มีการร้องเรียนยกเลิกคำสั่งนี้ ซึ่งความเห็นต่อเรื่องนี้มองว่า ในระบบรักษาพยาบาลของไทยที่มีงบประมาณจำกัด จึงควรมุ่งเลือกใช้ยาที่รักษาโรคได้โดยตรงที่มีผลการวิจัยยืนยันมากกว่า อย่างไรก็ตามกรณีที่แพทย์ที่ยังสั่งจ่ายกูลโคซามีนจะต้องใช้ความระมัดระวัง เนื่องจากผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มักมีภาวะความดันลูกตาสูงอยู่แล้ว จึงต้องดูว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโรคประจำตัวหรือไม่ โดยเฉพาะโรคต้อหินที่ต้องติดตามดูว่ามีภาวะสายตาที่แย่งลงหรือไม่

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้กรมบัญชีกลางยกเลิกการระงับสั่งจ่ายกูลโคซามีน จะทำให้จำนวนการใช้เพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า เรื่องนี้คิดว่า ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศร่ำรวย งบประมาณในการรักษาพยาบาลเป็นเงินของคนทั้งประเทศ ดังนั้นยาที่ใช้ในระบบไม่ว่าจะเป็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือระบบสวัสดิการข้าราชการต้องไม่แตกต่างกัน ไม่ใช้ข้าราชการจะต้องมีสิทธิมีเสียงมากกว่าคนทั่วไปและต้องเข้าใจว่า นอกจากนี้ควรเน้นยาที่ใช้รักษาได้ตรงจุด ไม่ใช่ยาที่เพียงแต่ทำให้รู้สึกดีขึ้นแต่ภาวะโรคยังดำเนินไปตามปกติ

“ผมก็เป็นข้าราชการและเห็นว่า ข้าราชการดูเหมือนมีอภิสิทธิ์มากกว่าคนปกติทั่วไป โดยเฉพาะในเรื่องของยา ซึ่งกรณีของกูลโคซามีนถือเป็นตัวอย่างที่มีผลเพียงแค่ให้ความรู้สึกผู้ป่วยดีขึ้นเท่านั้น แต่ไม่มีผลต่อการรักษาก็ยังเบิกจ่ายได้ ทั้งที่งบประมาณรักษาพยาบาลบ้านเรามีจำกัด แต่กลับต้องมาเสียเงินกับกรณีแบบนี้ ไม่แต่เฉพาะกูลโคซามีน แต่รวมถึงการเลือกเบิกจ่ายยาต้นแบบที่มีราคาแพง ทั้งที่ภายในประเทศก็ผลิตได้เอง มีคุณภาพและมาตรฐานไม่แตกต่าง และราคาถูกกว่ามาก ในฐานะข้าราชการจึงควรช่วยกันประหยัดเงินตรงนี้ เพราะป็นงบประมาณเพื่อเฉลี่ยดูแลรักษาพยาบาลคนทั้งประเทศ นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นระบบหลักประกันสุขภาพใด ควรที่จะใช้บัญชียาเดียวกัน โดยหากใครต้องการเลือกใช้ยาต้นแบบจะต้องจ่ายเงินเอง ไม่ควรใช้สิทธิข้าราชการมาอ้าง” นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว



โดย: หมอหมู วันที่: 17 กรกฎาคม 2558 เวลา:15:24:16 น.  

 
สมาคม ESCEO ชี้คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) แตกต่างจากกลูโคซามีนชนิดอื่นๆ และควรเป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม

ลีแยร์ฌ, เบลเยียม--2 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

คณะทำงานเฉพาะกิจของสมาคม European Society for Clinical and Economic Aspects of Osteoporosis and Osteoarthritis (ESCEO) และแพทย์ผู้เชียวชาญจากทั่วโลก ได้มีมติร่วมกันในการใช้แนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ในทางปฏิบัติและหาข้อสรุปร่วมกันในข้อมูลทั้งหมดของกลูโคซามีน เพื่อชี้ชัดถึงความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งผ่านการรับรองทางคลินิก กับกลูโคซามีนชนิดอื่นๆที่ไม่ได้ผลในทางคลินิก



(โลโก้: //photos.prnewswire.com/prnh/20151124/290592LOGO )

(Place and date)-แม้ว่าจะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับการรักษาโรคข้อเสื่อมที่คำนึงด้านหลักฐ านทางการศึกษาจากองค์กรต่างๆทั้งในยุโรป อเมริกา และทั่วโลกแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างมาตรฐานการรักษาร่วมกันได้

แต่เดิมการรักษาโรคข้อเสื่อมนิยมใช้ยาระงับปวดและยาต้านการอักเสบ โดยมีพาราเซตามอลเป็นยาพื้นฐานที่ใช้บรรเทาอาการปวด แต่ก็เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยา ซึ่งรวมถึงผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารและตับ

นอกจากนี้แนวทางการรักษาเกือบทั้งหมดไม่ได้ระบุชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง กลูโคซามีนที่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก (จากเกณฑ์ที่มีหลักฐานการศึกษารองรับและ Cochrane Review) กับกลูโคซามีนที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก ยกเว้นแนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ซึ่งระบุถึงความแตกต่างไว้อย่างชัดเจน จึงก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องในแนวทางการรักษาโรคข้อเสือม อีกทั้งทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติด้วย

แนวทางการรักษาอย่างเป็นขั้นตอนของ ESCEO นำเสนอทางเลือกใหม่ ด้วยการใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (SYSADOAs) ซึ่งมีคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) เป็นยาพื้นฐาน และเสริมด้วยยาพาราเซตามอลเพื่อระงับปวดตามความจำเป็น ศาสตราจารย์ ฌอง-อีฟ รีจินส์เตอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานของ ESCEO กล่าวว่า "แนวทางของ ESCEO แนะนำให้ใช้ยา SYSADOAs โดยเฉพาะคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟตที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) และคอนดรอยติน ซัลเฟต ที่จดทะเบียนเป็นยา ให้เป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ายาต่างๆไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนกันทั้งหมด และความแตกต่างระหว่างแนวทางการรักษาทั้งหลายสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่ า แนวทางเหล่านี้ไม่ได้พิจารณาการรักษาจากยาตัวเดียวกัน"

"สาระสำคัญประการแรกที่ได้จากการประชุมคือ แนวทางการรักษาทั้งหมดล้วนเห็นตรงกันว่ากลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ไม่ได้ผลในการรักษา ตัวยาดังกล่าวไม่เคยได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการทดลองทางคลินิก และไม่เคยมีการวิจัยใดๆที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาของกลูโคซามี น ไฮโดรคลอไรด์แต่อย่างใด"

ศาสตราจารย์ รีจินส์เตอร์ กล่าวเสริมว่า "ในส่วนของกลูโคซามีน ซัลเฟตที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่ายังมีความแตกต่างในแต่ละสูตรตำรับ โดยสูตรตำรับยาส่วนใหญ่มักไม่คงตัวและไม่ควรนำไปใช้เพราะถือว่าเป็นยาปลอม ซึ่งอ้างว่าเป็นสูตรตำรับที่มีความ"คงตัว" แต่เป็นเพียงการผสมกลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ และโซเดียม ซัลเฟต เข้าด้วยกันเท่านั้นซึ่งไม่มีความคงตัวแต่อย่างใด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ โมเลกุลจะต้องถูกทำให้คงตัวในรูปของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) โมเลกุลที่ถูกทำให้คงตัวเท่านั้นที่สามารถทำให้มีระดับความเข้มข้นของยาเพีย งพอที่จะส่งผลในการรักษาทั้งในกระแสเลือดและน้ำเลี้ยงข้อ และมีข้อมูลการทดลองที่แสดงถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจน ในมุมมองของการดำเนินไปตามธรรมชาติของโรคข้อเสื่อม การใช้สั่งใช้ยากลูโคซามีนที่ไม่มีความคงตัว จากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ เพราะเป็นที่ทราบดีว่าในท้ายที่สุดผู้ป่วยจะไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากผลการ รักษานั้นเลย"

สรุป

การประชุมครั้งนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเห็นพ้องร่วมกันถึง ความแตกต่างของแนวทางในการรักษา โดยคณะทำงานเฉพาะกิจต่างเห็นพ้องร่วมกันในความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางคลินิกและจดทะเบียนเป็นยา กับกลูโคซามีนประเภทอื่นๆ

หลักฐานทางคลินิกของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร

- มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในแง่ของการลดอาการปวดและการทำงานของเข่า

- ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค

ด้วยเหตุนี้ คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) จึงเหนือกว่ากลูโคซามีนประเภทอื่นๆที่วางจำหน่ายในตลาด โดยเป็นกลูโคซามีนเพียงชนิดเดียวที่มีความคงตัวและมีความน่าเชื่อถือทางการร ักษา โดยส่งผลให้มีระดับความเข้มข้นของกลุโคซามีนที่ให้ผลในการรักษาทั้งในกระแสเ ลือดและและในข้อ ดังนั้นเมื่อจะสั่งยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม แพทย์ควรพิจารณาคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

แหล่งข่าว: ESCEO


โดย: หมอหมู วันที่: 18 ธันวาคม 2558 เวลา:14:04:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]