Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
23 กุมภาพันธ์ 2552

ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ยา-หมอ-คลินิก-โรงพยาบาล-สิทธิรักษา (บัตรทอง ประกันสังคม เบิกได้ พรบ.รถ)

 
ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ ยา - หมอ - คลินิก -  โรงพยาบาล - สิทธิรักษา (บัตรทอง ประกันสังคม เบิกได้ พรบ.รถ)



๑. อย. .. สำหรับเรื่อง ยา อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ อาหารเสริม
เมื่อผู้บริโภคประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประเด็นที่ผู้บริโภคสามารถร้องเรียน อย. ได้แก่ 

พบความบกพร่องของผลิตภัณฑ์ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เสียก่อนหมดอายุ ไม่มีฉลากภาษาไทยการแสดงฉลากไม่ครบถ้วน เป็นต้น

พบโฆษณาโอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาโดยวิธีใด

พบการผลิต นำเข้า หรือขายยา และวัตถุเสพติด โดยไม่ได้รับอนุญาต

พบการผลิต นำเข้า หรือขาย ผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอม

พบการผลิต หรือขาย ผลิตภัณฑ์ที่ห้าม หรือมีสารที่ห้ามใช้ เช่น ยาชุด ครีมทาฝ้า ที่มีสารปรอท-แอมโมเนีย หรือไฮโดรควิโนน หรือกรดวิตามินเอ อาหารที่ผสมสารบอแรกซ์สารฟอกขาว หรือ กรดซาลิซิลิค เป็นต้น

ได้รับอันตรายจากการบริโภค หรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งที่ได้ปฏิบัติตามวิธีใช้ คำแนะนำ หรือข้อควรระวังตามที่ระบุบนฉลากแล้ว

หมายเหตุ :ชื่อ และการติดต่อกลับ (E-mail หรือ เบอร์โทร ของท่าน) มีประโยชน์มากในการดำเนินงานของกองพัฒนาศักยภาพผุ้บริโภค เนื่องจากในหลายกรณี ข้อมูลที่ท่านให้อาจไม่ครบถ้วน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ การขอข้อมูลเพิ่มเติมในบางกรณี ทำให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ตามเจตนารมณ์ของท่านที่ได้กรุณาร้องเรียน-แจ้งเบาะแสมาทางเรา

ช่องทางร้องเรียน

https://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/view_complain.php?Submit=Clear&ID_Com=00000054

ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถร้องเรียนหรือแจ้งข้อมูล โดยแจ้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมรายละเอียดของเรื่องที่ต้องการร้องเรียน ไปที่
1. สายด่วน อย. โทรศัพท์ 1556 
2. โทรศัพท์ 0 2590 7354-5
3. โทรสาร 0 2590 1556 
4. จดหมาย/หนังสือ (ร้องเรียน)
5. ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข 11004
6. อีเมล์
1556@fda.moph.go.th
7. ร้องเรียนด้วยตนเอง (หรือกรณีมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์มามอบให้)
    7.1 ผู้บริโภคที่อยู่ในเขต กรุงเทพฯ สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.)
ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอาคาร A ชั้น 1
                7.2 ผู้บริโภคที่อยู่ในต่างจังหวัด แจ้งร้องเรียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 
             ** กรณีนอกเวลาราชการ สำหรับโทรศัพท์ 0 2590 7354 และ สายด่วน อย. 1556 จะมีเทปบันทึกให้ฝากข้อความอัตโนมัติ**
 
             เรื่องร้องเรียนที่ส่งเข้ามา เมื่อทราบผลการดำเนินการ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องเรียนได้ทราบ ดังนั้น ผู้ร้องเรียนจึงควรแจ้ง ชื่อ ที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ นอกจากประโยชน์ในการแจ้งผลการดำเนินการแล้ว กรณีที่ข้อมูลไม่เพียงพอ หรือต้องการหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อกับผู้ร้องได้ โดยชื่อ ที่อยู่ ดังกล่าว จะได้รับการเก็บรักษาเป็นความลับ
            ส่วนกรณีผู้ร้องเรียนต้องการสินบนนำจับ จะต้องแจ้งความนำจับเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดไว้ว่าเรื่องใดจึงจะมีสินบนนำจับไม่ใช่ทุกเรื่องจะมีสินบนนำจับ  และการจะจ่ายสินบนนำจับ จะต้องรอจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ผู้ถูกแจ้งความมีความผิดจริง ซึ่งบางเรื่องอาจใช้เวลานานเป็นปี โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ
 
             ดำเนินการคือ กลุ่มกฎหมาย อาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งผู้แจ้งความนำจับจะได้รับสินบนตามอัตราที่กำหนดดังนี้
            1. กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด และได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายแล้ว ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินสินบนจำนวน 1 ใน 4 ส่วนในอัตราร้อยละ 60 ของเงินค่าปรับที่ได้รับ 
            2. กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด และได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายแล้ว ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินสินบนจำนวน 1 ใน 4 ส่วนในอัตราร้อยละ 80 ของเงินค่าปรับที่ได้รับ

| สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา | 88/24 ถนนติวานนท ์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 2590 7000 |


ช่องทางร้องเรียนอื่น  ๆ  ( มีเพียบบบบบบบ )
https://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/channel.php?Submit=Clear



๒. สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (ชื่อเดิม ..กองประกอบโรคศิลปะ)... สำหรับเรื่อง สถานประกอบการ ( คลินิก หรือ รพ. ) ที่สงสัยว่าทำผิดระเบียบ

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ( สพรศ.)
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร 0 2193 7000
กลุ่มโรงพยาบาล  ต่อ 18406            
กลุ่มคลินิก  ต่อ 18407
เวบ สพรศ. https://mrd-hss.moph.go.th/mrd/index.php
หมายเลขโทรศัพท์ภายใน สพรศ. https://mrd-hss.moph.go.th/mrd/tele.php

แบบฟอร์มรับเรื่องร้องเรียน คลินิก/โรงพยาบาล  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
https://203.157.7.46/complaint/complaintForm.jsp

ตรวจสอบชื่อโรงพยาบาล คลินิก  ที่ได้รับการรับรองจาก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
https://privatehospital.hss.moph.go.th/

ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online
https://hospitalprice.org/

อัตราจ่าย  โครงการเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยในสถานพยาบาลเอกชนด้วยระบบ DRG (ลิงค์หน้าเวบสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ  https://www.mrd.go.th/mrd/index.php )
https://www.mrd.go.th/mrd/2015%20DataFormPrivateHospital.xls?newsID=10451

รายการยาสามัญประจำบ้านที่มีไว้ในคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์
โดย สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558
https://203.157.7.46/uploadFiles/news/N0000000258248.pdf


คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน แจ้ง กรม สบส. 1426 หรือ 02 193 7057

หรือ web ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน https://crm.hss.moph.go.th/

รับเรื่องร้องเรียน ,,,
มาตรฐานการรักษาพยาบาล /มาตรฐานการใช้บริการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
ระบบการใช้บริการสถานพยาบาล /ระบบการใช้บริการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
ค่ารักษาพยาบาล /ค่าบริการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
การโฆษณาสถานพยาบาล /การโฆษณาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
สถานพยาบาลเถื่อน /หมอเถื่อน /สถานประกอบการเพื่อสุขภาพเถื่อน /หมอนวดเถื่อน /บริการแอบแฝง
เรื่องเกี่ยวกับอาสาสมัคร
ค่าป่วยการอาสาสมัคร
-ข้อเสนอแนะ ชมเชย และเรื่องอื่นๆ
สามารถร้องเรียนมาได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โทร 02-193-7057 หรือ 02-193-7000 ต่อ 18618 ในวันและเวลาราชการ



๓. แพทยสภา สำหรับทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานของแพทย์การตรวจสอบชื่อสกุลแพทย์ รวมถึงสงสัยว่าจะเป็น แพทย์ปลอมผู้ที่แอบอ้างว่าเป็นแพทย์ ทำหน้าที่ตรวจรักษาผู้ป่วยทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าเป็นแพทย์
https://www.tmc.or.th/

ฝ่ายจริยธรรม   02-590-1881 , 02-589-7700-8800
Email : 
ethics@tmc.or.th

ตรวจสอบรายชื่อแพทย์

https://www.tmc.or.th/check_md/

เฉพาะแพทย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและยังมีชีวิตอยู่ กรณีตรวจสอบไม่พบ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-590-1884,02-5901887 

สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
อาคาร 6 ชั้น7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี
โทร.: 02-5901886

 
" ร้องคลินิก ต้องไปที่ไหน ? "  ( ๑๙ พค.๖๒ )
Ittaporn Kanacharoen

มีปัญหา สงสัยคลินิกเถื่อน ค่ารักษาพยาบาลที่คลินิกไม่ถูกต้อง ค่ารักษา รวมถึงคลินิกไม่รับผิดชอบผลของการผ่าตัดต่างๆ จะรักษา ด้วยการเจาะเลือดแปลกๆ สเต็มเซลล์ที่ยังไม่อนุญาต และไม่เป็นมาตรฐาน ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล อยู่ในความรับผิดชอบของกรม สบส. สามารถแจ้งได้ตาม โปสเตอร์ หรือ โทร 02193 7057 หรือ Facebook มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน

ขอบคุณหลายท่านที่ส่งมาที่แพทยสภา ผมได้ส่งต่อให้แล้วนะครับ แต่ถ้าเป็นไปได้ส่งตรงเลย แพทยสภา จะดูแลได้ตามอำนาจ ใน พรบ วิชาชีพเวชกรรม ซึ่งจะดูเฉพาะตัวแพทย์ไม่เกี่ยวกับตัวคลินิก และลงโทษได้เฉพาะผู้ถือใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีอำนาจในการไกล่เกลี่ย ขอเงินคืนต่างๆ รวมถึงให้จ่ายชดเชย อันนั้นของ สบส.และ สคบ.ครับ



๔. อื่น ๆ


#หมอชวนรู้ โดย แพทยสภา
ตอนที่ 120 "แพทย์จริง แพทย์ปลอม และสาขาเฉพาะทาง  
.
ตรวจสอบง่ายๆ ได้ แบบ online ได้ที่
https://checkmd.tmc.or.th/
.
บทความโดย
นายแพทย์ภาสกร วันชัยจิระบุญ
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
กรรมการแพทยสภา

https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/3006309486300603



"สบส.ฮอทไลน์"
เบอร์โทรศัพท์สายด่วนกรณีปัญหาจากคลินิกและ รพ.เอกชน ตามพระราชบัญญัติ สถานพยาบาลครับ

1. ร้องเรียน/ปรึกษา จากการไปรับบริการกับคลินิก และ รพ.เอกชน และได้รับความเสียหายหรือเกิดผลกระทบจากการไปใช้บริการ
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18833

2. แจ้งเบาะแส คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18822

3. ตรวจสอบคลินิกที่ไปใช้บริการได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18407

4. ปรึกษาเรื่องอื่นๆ
เบอร์โทร 02-193-7000 หรือ 02-590-2999

เครดิต Ittaporn Kanacharoen   25 พฤศจิกายน 2017 ใ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1628722540521879&set=a.371903056203840&type=3&theater

" มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน "  คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เฟสบุ๊ค  https://goo.gl/F1MjlO
โทร 02-193-7999  ,  02-590-2999  ต่อ 1280


กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.dms.moph.go.th/request/inputform.html


กระทรวงสาธารณสุข
https://www.moph.go.th/
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง   จ.นนทบุรี 11000
โทร. 0-2590-1000

บัตรสุขภาพ (บัตรทอง บัตรสามสิบบาท)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2-4 อาคารรวมหน่วยงานราชการ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ฯ 10210
โทรศัพท์ เบอร์กลาง 02 141 4000    โทรสาร (Fax) 02 143 9730 - 1
เว็บไซท์ : https://www.nhso.go.th

สนใจขอรับบริการสอบถามปัญหา ติดต่อได้ที่
* โทรศัพท์ สายด่วน 1330 เปิดบริการ 24 ชั่วโมง
* ติดต่อทาง E-mail e-news@nhso.go.th




ถามตอบ ปัญหาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://www.nhso.go.th/frontend/page-forhospital_faq.aspx




สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) เปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ 4 ครั้งต่อปี

ต้องใช้เอกสารอะไรในการลงทะเบียนเปลี่ยน รพ. และติดต่อทำได้ที่ไหน

กรณีพักอาศัยตรงกับที่อยู่ตามบัตรประจำตัวประชาชน  หลักฐานที่ใช้คือ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)
                              กรณีพักอาศัยไม่ตรงกับที่อยู่ในบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ ต้องใช้หลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดเพิ่มเติม ดังนี้

(1) หนังสือรับรองการพักอาศัยอยู่จริงของเจ้าบ้าน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
(2) หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นำชุมชน
(3) หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
(4) เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก สัญญาเช่าที่พัก ฯ ที่แสดงว่าตนเองมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
(5) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอลงทะเบียน
ทั้งนี้  หากให้ผู้อื่นไปลงทะเบียนแทน  ต้องเพิ่มหนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจด้วย
สถานที่ติดต่อลงทะเบียน
กทม.              ®     สำนักงานเขต 30 เขต  ในวัน – เวลา ราชการ  (รายชื่อเขตตามภาคผนวก)
ต่างจังหวัด       ®     รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล  หรือ รพ.รัฐบาลใกล้บ้าน  ในวัน – เวลาราชการ

https://www.nhso.go.th/frontend/page-forhospital_faq.aspx







 




 

วิธีการใช้บริการสายด่วน สปสช. 1330

  • กด 1 รับฟังข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิหลักประกันสุขถาพ
  • กด 2 ตรวสอบสิทธอัตโนมัติ
  • กด 3 รับฟังการแก้ไขสิทธิไม่ตรีงตามจริง
  • กด 4 รับฟังการใช้สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น
  • กด 5 รังฟังข้อมูลการใช้สิทธิฉุกเฉิน 3 กองทุน
  • กด 0 ติดต่อเจ้าหน้าที่
  • กด # รับฟังซ้ำ


 
 
"สิทธิรักษาพยาบาลของท่านคือสิทธิใด?"

โทรถาม 1330 ได้ 24 ชม.
พอรับสายแล้ว ให้ กด 2
จะมีคำสั่งให้ กดเลขบัตรประชาชน
เสียงตอบรับจะทวนเลข
ให้กด 1 ยืนยัน
แล้ว คอมพิวเตอร์จึง จะบอกสิทธิครับ
30บาท ประกันสังคม หรือ ข้าราชการ

ถ้าเป็น 30 บาท จะบอกชื่อโรงพยาบาลเลย
ถ้าบอกมาผิดจากที่ท่านทราบ ให้ กด 0 คุยกับ Operator เลยครับ

ใครไม่เคยเช็ค ลองเช็คดูนะครับ

เครดิต
Ittaporn Kanacharoen

 

สปสช.ปรับแอปฯ สิทธิหลักประกันสุขภาพโฉมใหม่ เริ่มดาวน์โหลด 27 พ.ค.นี้
https://www.hfocus.org/content/2016/05/12225

สำหรับแอปพลิเคชัน ก้าวใหม่ สปสช.แบ่งการใช้งานออกเป็น 9 หมวด คือ

1.หมวดตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล

2.หมวดวิธีการใช้สิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้เกิดการเข้าถึงเพิ่มขึ้น

3.หมวดแสดงที่ตั้งศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ 818 แห่ง

4.หมวดแสดงที่ตั้งหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50 (5) จำนวน 109 แห่ง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน กรณีที่มีปัญหาการเข้าถึงการบริการในระบบ

5.หมวดสถานที่ตั้ง สปสช.ทั้งสำนักงานกลางและสำนักงานเขต 13 เขตทั่วประเทศ

6.หมวด 1330 มีคำตอบ ซึ่งเป็นการรวบรวมการตอบคำถามที่พบบ่อย (Frequently Asked Questions: FAQ) และสอบถามเข้ามายังสายด่วน 1330 สปสช.

7.หมวดข่าวประชาสัมพันธ์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

8.หมวดมัลติมีเดีย มีทั้งช่องทางการถ่ายทอดกิจกรรม สปสช.ผ่านเว็บไซต์ รวมถึงการค้นหาและรับชมวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับ สปสช.ย้อนหลัง

9.หมวดที่เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ สปสช. (www.nhso.go.th)




E-book เรื่องควรรู้ "สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" ใน E-book มีอะไร...
รู้จักหลักการของประกันสุขภาพถ้วนหน้า
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของคนไทย
รู้จักหน่วยบริการ
สิทธิบัตรทองคุ้มครองโรคร้ายค่าใช้จ่ายสูง
บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นอย่างไร?

คลิกอ่าน E-book : https://stream.nhso.go.th/wp-content/uploads/ebooks/final_03-04-62/?fbclid=IwAR2b0U1ygvDoEVQl2EQGSZSwQTPtXjnEBUKQcXy2_d738VcSGbLA-YVRHlk

ดาวน์โหลดไฟล์ pdf : https://drive.google.com/file/d/1C-s5t1VYU0jadwBK1LiGkr8kS8UUN2iG/view?usp=sharing


สิทธิ ประกันสังคม
สำนักงานใหญ่ ประกันสังคม  เลขที่ 88/28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์  ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000

หมายเลขโทรศัพท์ 0-2956-2345

สายด่วน 1506

เว็บไซต์: https://www.sso.go.th
อีเมล์: info@sso.go.th
 

“สายด่วนประกันสังคม”   ที่รู้จักกันในหมายเลข 1506 ตอบข้อสอบถาม  ให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกันตน จากที่ไม่รู้… เป็นรู้สิทธิ”
https://www.ssolife.com/article_detail.aspx?id=3


เวบ ผู้ประกันตน สิทธิประกันสังคม
https://www.ssolife.com/index.aspx


ความแตกต่างของผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40
https://www.ssolife.com/article_detail.aspx?id=78


ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท – ประกันสังคม
https://www.myonesabuy.com/social-security-type/
 

ได้อะไรบ้าง จากประกันสังคม มาตรา 40 ผลประโยชน์สำหรับคนสูงวัย

https://news.mthai.com/general-news/405124.html

.........................................

 
 
 
ประชาชนทุกคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร เจ้าของรถ คนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

ข้อพึงปฏิบัติเมื่อประสบภัยจากรถ
เมื่ออุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือผู้พบเห็นควรปฏิบัติดังนี้
กรณีมีผู้บาดเจ็บ
1. นำคนเจ็บเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและสะดวกที่สุดก่อน
2. แจ้งเหตุที่เกิดให้ตำรวจทราบ และขอสำเนาประจำวันตำรวจเก็บไว้
3. แจ้งเหตุบริษัทประกันภัยทราบ แจ้งวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ
4. เตรียมเอกสาร ถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันเกิดเหตุ ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการกรณีเมื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
5. ให้ชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ

การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นผ่านโรงพยาบาล
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย ให้เตรียมเอกสาร ดังนี้ (อย่างละ 2 ชุด)
1.สำเนากรมธรรม์ของรถ (ใบเสร็จรับเงินจาก บริษัทประกัน)
2.สำเนาใบบันทึกประจำวันของตำรวจ ประทับตราโล่และสำเนาเอกสารถูกต้อง
3.สำเนาคู่มือรถ หน้าจดทะเบียนและหน้ารายการเสียภาษีหรือสำเนาสัญญาซื้อขาย(สมุดเขียว /น้ำเงิน)
4.สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
5.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
6.สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
7.สำเนาบัตรทะเบียนบ้านเจ้าของรถ

* มีสิทธิข้าราชการ อุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิไหนก่อน?
เมื่อผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์และเข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ตามนัยมาตรา9 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2535 ของระบบราชการ ต้องใช้สิทธิพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ

* มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพ อุบัติเหตุจากรถ  จะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนโดยไม่ใช้พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถได้หรือไม่?
ตามระเบียบกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2540 ต้องใช้สิทธิตามพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ ก่อน

การเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยมากับรถคันไหนให้เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถคันนั้น แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกให้เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถที่เกิดเหตุ (หรือเบิกจากกองทุนเงินทดแทน)
ดังนั้นกรณีที่มีผู้ประสบภัยจากรถ ท่านสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยที่ท่านจะรับการรักษาด้วยความสะดวกรวดเร็วไม่น้อยกว่ามาตรฐานของโรงพยาบาล เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยหรือญาติจะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ญาติเตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นให้กับโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ตั้งเบิกต่อบริษัทประกันแทนผู้ประสบภัย ตามค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงไม่เกิน 30,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

*** วงเงินความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน
     1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
     2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม
    โดย 1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น

ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย
      1. กรณีบาดเจ็บ ไม่เกิน         80,000 บาท
      2. กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร       300,000 บาท
      3. สูญเสียอวัยวะ
             – นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป  200,000 บาท
             – สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน  250,000 บาท
             – สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน  300,000 บาท
        4. ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน  (4,000 บาท)
* ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

หมายเหตุ สำหรับกรมธรรม์ที่เกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป

https://www.thaihealthycare.com/เมื่อประสบภัยจากรถ/

หากผู้ทำประกันภัยรถยนต์ เกิดข้อสงสัยในการให้บริการของบริษัทประกันภัยที่ทำไว้ ว่าทำถูกต้องหรือไม่ เมื่อมีการเครมประกันเกิดขึ้น หากเกิดปัญหาไม่แน่ใจในบริษัทประกันภัยว่าดำเนินการถูกต้องหรือไม่ สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คป.ภ.) และสำนักงาน คปภ. ไม่ได้ให้คำปรึกษาเฉพาะประกันภัยรถยนต์เท่านั้น ยังให้คำปรึกษา ประกันชีวิต ประกันวินาศภัยอีกด้วย
หากผู้ทำประกันภัยรถยนต์ มีข้อสงสัยในการให้บริการของบริษัทประกันภัยรถยนต์ ก็สามารถร้องเรียนเข้าไปได้ที่สำนักงาน คปภ. ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
1  สายด่วน 1186
2. กระดานรับร้องเรียนhttps://www.oic.or.th
3. ทาง e–mail: ppd@oic.or.th
4. Download OIC Mobile Application  ที่นี่  https://www.oic.or.th/th/consumer/download-oic-mobile-application
5. โทร 0-2515-3999  โทรสาร 0-2515-3970
https://www.easyinsure.co.th/news/?p=2921

 
*********************************************

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
https://www.ocpb.go.th


สารพันลิงค์ ติดต่อเรื่อง ร้องเรียน ...
https://www.pantip.com/cafe/torakhong/link/#c1


ฝาก ทุก ๆ ท่าน ด้วยนะครับ ...
... " อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล " ...
... " การนิ่งเฉย ก็คือ การสนับสนุนให้เขาทำชั่ว " ...




ปล.  สำหรับ คลินิกแพทย์ วิธีตรวจสอบง่ายๆ  ก็คือ เข้าไปในคลินิก ต้องแสดงเอกสารเหล่านี้  (ใช้คำว่า" ต้อง " เพราะเป็น กฎหมาย ) .. 

 
 
 
 
 
ถ้าไม่มีการแสดง เอกสาร ดังกล่าว หรือ ผู้ที่ตรวจหน้้าตาไม่เหมือนภาพในเอกสารที่ติดไว้ .. แนะนำให้ไปรักษาที่ คลินิก หรือ โรงพยาบาล อื่น เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง ..


นำมาฝาก จาก เฟสบุ๊ค ของ น.อ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา
 
7 ขั้นตอนง่ายๆ ในการตรวจสอบแพทย์ ที่น่าสงสัย..

7 ขั้นตอน ในการตรวจสอบแพทย์ ที่น่าสงสัย..เป็นโปรแกรมในเว็บไซด์แพทยสภาเตรียมไว้ให้ประชาชนตรวจสอบได้ง่ายและรวดเร็วครับ..เพียงแต่รูปหมอนั้นอยู่ระหว่าง update จะมีราวครึ่งหนึ่งที่ยังไม่มีรูป..

ส่วนที่ไม่พบชื่ออาจมีเพราะหลายสาเหตุ เช่นชื่อพิมพ์ผิด / แต่งงานแล้วเปลี่ยนนามสกุล /เปลี่ยนชื่อไม่แจ้งแพทยสภา/ แพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน /หรือวุฒินอกเหนือ 80สาขาที่แพทยสภามี /รวมถึงหมอเถื่อน

สงสัย อย่าพึ่งระบุว่าเขาไม่ใช่แพทย์ครับ ต้องโทรถามแพทยสภาก่อน ที่ 02-5901884 (เวลาราชการ) ..

เช่นกรณีแพทย์-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจบใหม่ ชื่ออาจขึ้นหลังจากนั้นราว 1เดือนครับ ผมจะพยายามนำรูปทั้งหมดมา update ให้ประชาชนตรวจสอบได้ครบถ้วนเร็วที่สุดครับ..//

ปล.ฝากพี่ๆน้องๆแพทย์ไปตรวจของตัวเองด้วยนะครับ ถ้าพบข้อมูลตนเองไม่ตรง..ต้องการ update ..ต้องการเปลี่ยนรูป แจ้งแพทยสภาแก้ไขด่วนนะครับ ทีี่ 02 590-1887 ครับ


https://www.tmc.or.th/check_md/

 
""""""""""""""""""

สำหรับ สถานพยาบาล คลินิก โรงพยาบาล ที่รับแพทย์ปลอม เข้าไปทำงาน ก็มีความผิดด้วยนะครับ มีคำแนะนำจาก พล.อ.ต. นพ. อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา มาฝาก ..

......

คำแนะนำการตรวจสอบแพทย์ที่จ้างอยู่เวรพิเศษ

เนื่องจากในปัจจุบันมีสถานพยาบาลหลายแห่งที่มีความจำเป็นต้องรับแพทย์เวรนอก เหนือจากแพทย์ประจำที่ทำงานตามปกติ โดยการลงรับสมัครงานในที่ต่างๆ ซึ่งในขบวนการดังกล่าวนั้นอาจเป็นเหตุให้มีการตรวจสอบว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่นั้น ไม่สะดวก   เป็นเหตุให้เกิดช่องว่างให้ผู้ซึ่งมิใช่แพทย์แฝงตัวเข้ามารับงานเป็นแพทย์ได้อยู่เป็นระยะๆ ทั้งนี้จึงใคร่ขอให้คำแนะนำดังต่อไปนี้

1. กรณีรับสมัครแพทย์ ขอให้ตรวจสอบชื่อ นามสกุล และเลขใบประกอบโรคศิลป์ จากเว็บไซต์ของแพทยสภา https://tmc.or.th/check_md/  ว่าถูกต้องและมีชื่อตรงหรือไม่

2. ให้ขอเอกสารแสดงตนทุกรายที่มาสมัคร ได้แก่ บัตรประชาชน และ ใบประกอบวิชาชีพศิลปะ (ถ้ามี) ซึ่งในอนาคตจะใช้บัตร MD CARD แทนได้

3. การชำระเงินให้กับแพทย์นั้น ในกรณีที่เป็นแพทย์ปลอมจะต้องการให้ชำระเป็นเงินสด ถ้าเป็นไปได้ ควรให้จ่ายเป็นเช็คระบุชื่อและนามสกุลของแพทย์ (จ่ายเช็คขีดคร่อม Ac Payee Only)
แพทย์ปลอมใช้ชื่อคนอื่น เบิกเงินไม่ได้ คลินิกก็ไม่ต้องเสียเงิน ในกรณีที่มีปัญหาทางกฎหมายจะช่วยยืนยันให้กับสถานพยาบาลได้มากกว่า

4. กรณีพบแพทย์ที่สงสัย แจ้งได้ที่  ethics@tmc.or.th


ข้อพึงสังเกต พฤฒิกรรมแพทย์ปลอม มักจะ

1.ไม่ให้เอกสารใดๆ ที่แสดงตน บ่ายเบี่ยง ลืมเอามา

2.อยู่เวรจำนวนน้อย มาลงขอเวรบ่อยๆ

3.ไม่อยู่เวรประจำ เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ

4.ขอเป็นเงินสดมากกว่าที่จะรับเงินแบบออกหลักฐาน เนื่องจากไม่สามารถเข้าบัญชีเบิกเงินได้

........................... ทั้งนี้การรับแพทย์ปลอมเข้าปฏิบัติงานในสถานพยาบาล “ เจ้าของและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล” จะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่น

1. ฐานให้บุคคลผู้มิใช่แพทย์ทำงานเป็นแพทย์ ตามมาตรา 27-28 ของ พรบ. ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พศ.2525 ซึ่งเจ้าของคลินิกสถานพยาบาลจะต้องรับผิดชอบ

2. ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลจะต้องถูกดำเนินคดีทางจริยธรรม ตามมาตรา 43-44 มีโทษ จำคุกไม่เกิน3ปี ปรับไม่เกิน3หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ผิด พรบ. สถานพยาบาล ซึ่งต้องถูกดำเนินการโดยกองประกอบโรคศิลปะ อาจถูกปิดสถานพยาบาล ได้

4. ถูกดำเนินคดีจากผู้ป่วย ในคดีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลโดยหมอปลอมทั้งคดีแพ่งและอาญา

5. หากผู้นั้นใช้ชื่อและนามสกุลพร้อม เลข ว. ของแพทย์ ที่มีอยู่จริง จะต้องโดนคดีอาญา ฐานปลอมแปลงชื่อผู้อื่นจากแพทย์ผู้เสียหายอีกด้วย

ทั้งนี้แพทยสภา กวดขันขึ้น เพื่อคุ้มครองประชาชน และปกป้องแพทย์จริง ที่มักเสียชื่อจากแพทย์ปลอมที่ไปรักษาไม่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนผู้เคราะห์ร้ายต้องรับกรรม ..

ด้วยความปรารถนาดีจาก

พล.อ.ต. นพ. อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 






แถม ...
ไปเจอ #เภสัชกรปลอม ตรวจสอบอย่างไร?
แอบอ้างเป็นเภสัชกร ต้องทำอย่างไร??
ตอนนี้มี drama แม่ค้าคนดัง ไปอ้างว่าเจอหมอปลอมมาทำงานในคลีนิคของตนเอง
กลับมาที่ร้านยาเราบ้าง หลายครั้งเราไปร้านยา พบว่ามีคนใส่เสื้อขาวๆ แล้ว ใช้ชื่อว่าเป็นเภสัชกร แล้วเราไม่แน่ใจ "#อยากรู้ว่าเป็นเภสัชจริงๆหรือไม่?"
ตรวจสอบได้อย่างไร??
เรามาแนะนำอย่างง่ายๆ ดังนี้
1. ไปที่ เว๊ปไซต์ https://www.pharmacycouncil.org
2. ใส่ "ชื่อ" หรือ "นามสกุล" ลงในช่องตามที่ระบุ
จะปรากฏ #ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นเภสัชกร > มีชื่อ นามสกุล และ รูปถ่ายตามฐานทะเบียนราษฎร์ ปรากฏขึ้นมาทันที
3. ??? ไม่แน่ใจ หาไม่เจอ ต้องการร้องเรียน???
หากพบว่าคนที่ยืนต่อหน้า #ไม่ได้เป็นเภสัชกร
ลองติดต่อสอบถามได้ที่
สำนักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม อาคารสภาวิชาชีพ ชั้น 8 กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 88/19 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0 2591 9992-5 โทรสาร 0 2591 9996
Email: pharthai@pharmacycouncil.org


เครดิต Utai Sukviwatsirikul  
https://www.facebook.com/utai.sukviwatsirikul/posts/4961617367202705
...............................

 


Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 17 ธันวาคม 2564 15:12:41 น. 8 comments
Counter : 91839 Pageviews.  

 
เข้ามาทักทายคุณหมอออร์โธค่า
งานเยอะมั้ยคะ



โดย: fondakelly วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:20:13:33 น.  

 
สำหรับท่านที่ใช้สิทธิประกันสังคม .. แนะนำให้อ่านกระทู้นี้ครับ .. คุณ นักอ่านตัวยง เขียนไว้ ละเอียดดีมาก ๆ ครับ

นำลงบางส่วนให้อ่านกันเล่น ๆ ก่อน ...



****** เคล็ดลับในการใช้ประกันสังคมให้คุ้ม!!!! ******

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2009/07/L8067388/L8067388.html


ผมมีความเชื่อว่า หลาย ๆ คนในบอร์ดนี้อยู่ในระบบประกันสังคมครับ ซึ่งแต่ละเดือนนั้น จะต้องถูกหัก 5% ของรายได้ (ไม่เกิน 15,000 บาท) พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้ามีเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาท ขึ้นไป ก็จะถูกหักเดือนละ 750 บาทครับ หรือปีละ 9,000 บาท แม้ว่าขณะนี้จะมีการปรับลดเงินสมทบลงเหลือ 3% ตั้งแต่เดือน ก.ค. - ธ.ค. 52 แต่ 3% = 450 บาทต่อเดือน หรือปีละ 5,400 บาท

ซึ่งวงเงิน 5,400 บาท หรือ 9,000 บาทต่อปี นั้นเป็นเงินที่สูงมาก ๆ ครับ ซึ่งเราไปซื้อประกันจากบริษัทประกันต่าง ๆ ได้เลยครับ หลาย ๆ คนที่เคยใช้ประกันสังคม มักจะบ่น ๆ ๆ ๆ ว่าบริการไม่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ผมมีเคล็ดลับในการใช้ประกันสังคม ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมของการรักษาพยาบาล และดูแลรักษาสุขภาพ ดังนี้ครับ

เรา รู้หรือเปล่าครับ เวลาที่เราเลือกโรงพยาบาลประกันสังคม ตามบัตรรับรองสิทธินั้น โรงพยาบาลที่เราเลือกจะได้รับเงินเหมารายหัวจากประกันสังคม หัวละ 1,938 บาทต่อปีครับ

ดังนั้นถ้าเราเลือกโรงพยาบาลเอกชน ที่มุ่งแสวงหากำไร เพราะเป็นธุรกิจนั่นหมายความว่า ถ้าเราไม่มารักษาเลยในปีนั้น หรือมีจิตใจที่มุ่งมั่นว่าจะไม่ใช้ประกันสังคมเด็ดขาดนั้น จะเท่ากับว่าโรงพยาบาลนั้นจะได้รับเงินกินเปล่า 1,938 บาท ต่อปีทันทีครับ แต่ถ้าเกิดเราไปใช้นั่นก็หมายความว่า ถ้าค่ารักษาพยาบาลที่เรามารักษามีมูลค่ามากกว่า 1,938 บาท ก็เท่ากับว่าโรงพยาบาลขาดทุนทันทีใช่ไหมครับ

*** หลาย ๆ คน ที่มีจิตใจมุ่งมั่น แน่วแน่วว่ายังไงก็ไม่เข้ารับรักษาตามสิทธิประกันสังคมแน่ ๆ ผมก็ขอแนะนำให้เลือกโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ เป็น "โรงพยาบาลของรัฐ" ครับ เพื่อให้เงินทองของเราตกไปสู่โรงพยาบาลรัฐ ซึ่งจะได้นำเงินนี้ไปรักษาคนที่เขาขาดแคลนครับผม ถือว่าเป็นการทำบุญทางอ้อม ซึ่งเราช่วยได้ง่าย ๆ เลยครับ ***

ดังนั้นบางโรงพยาบาลก็ต้องมีการควบคุมค่าใช้จ่าย กับคนไข้ประกันสังคมอย่างใกล้ชิดครับ เพื่อให้โรงพยาบาลยังคงผลกำไรอยู่ได้ เช่น
- การจ่ายยาที่มีราคาไม่แพงนัก
- ให้พบแพทย์ทั่วไป (General Physician: GP) จนคิดว่าไม่ไหวจริง ๆ จึงค่อยส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทาง
- ที่สำคัญที่สุด กรณีเราเจ็บป่วยหนัก ๆ ที่ต้องมีการผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทาง เช่น หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้ ฯลฯ ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนที่เราเลือกเป็นโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ ไม่มีเครื่องมือเพียงพอ หรือไม่มีแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ เขาก็อาจจะดิ้นรนรักษา โดยไม่ยอมส่งต่อครับ เพราะสมมติว่าเขาส่งต่อโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การแพทย์ต่าง ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์ ศิริราชพยาบาล หรือรามาธิบดี โรงพยาบาลเอกชนตามบัตรรับรองสิทธิ จะต้องตามไปชำระค่ารักษาพยาบาลให้เราครับ

คิดแบบเข้าใจนะครับ (แต่อย่าเหมารวมทุก ๆ โรงพยาบาลนะครับ) เขาคงไม่ทำอะไรที่ทำให้เขา "ขาดทุน" อยู่แล้วใช่ไหมครับ หรือถ้าจะยอมก็ต้องคิดว่า "ไม่ไหวจริง ๆ" ซึ่งบางครั้งเวลาส่งต่อไปโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ คุณหมอก็มักจะบอกว่า "น่าจะมาให้เร็วกว่านี้" นี่คือปัญหา

สิ่งที่โรงพยาบาลเอกชนบางโรง ทำให้เราอยากเลือกโรงพยาบาลเขาเป็นโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ ก็คือ การบริการที่รวดเร็วกว่าโรงพยาบาลรัฐครับ ซึ่งถ้าเราเจ็บนิด ๆ หน่อย ๆ เช่น ป่วยเป็นหวัด หรือเจ็บคอ แล้วไปหาโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เราเลือกในประกันสังคม จะได้รับการบริการที่ดีครับ เพราะ "ค่ารักษาไม่แพงมาก" แต่ถ้าเราต้องรักษาที่ต้องมีการผ่าตัด หรือใช้กระบวนการในการวินิจฉัยเฉพาะแล้วล่ะก็ เราอาจจะถูกบ่ายเบี่ยงได้ครับ หรือดึงเกมให้ช้าลง

ดังนั้น ผมจึงแนะนำว่า เราควรเลือกโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิเป็นโรงพยาบาลของรัฐใกล้ ๆ บ้านครับ ซึ่งโรงพยาบาลของรัฐนั้น เขาไม่ค่อยคำนึงผลกำไร อาจจะบริการไม่ดีนัก เพราะมีคนไข้เยอะ แต่อย่างน้อยเราก็ได้รับการบริการที่เสมอภาค ได้รับยาตามบัญชียาแห่งชาติครับ ที่สำคัญเวลาที่โรงพยาบาลรัฐตามบัตรฯ ของเรา ไม่มีแพทย์เฉพาะทางในการรักษา คุณหมอก็จะไม่ลังเลใจที่จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ที่มีอาจารย์ หมอที่มีความรู้ทันทีครับ

อย่างคุณพ่อของเพื่อนท่านหนึ่งท่านป่วย เป็นโรคหัวใจครับ พอคุณหมอคิดว่าน่าจะใช้ และโรงพยาบาลรัฐแห่งนั้นก็ไม่มีแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ คุณหมอเจ้าของไข้ก็ทำเรื่องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันทีครับ ซึ่งได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายถูกมาก ๆ ครับ เสียเฉพาะลิ้นหัวใจเทียม (ซึ่งเบิกไม่ได้) และค่าธรรมเนียมเล็กน้อยเท่านั้นเอง ถ้าจำไม่ผิดราคาไม่ถึง 40,000 บาทด้วยซ้ำครับ ซึ่งถ้าเราเสียเงินไปผ่าตัดเอง เราต้องเสียเงินอย่างน้อย ๆ ก็น่าจะมี 300,000 บาท หรือมากกว่านะครับ

แต่บางครั้ง คุณหมอเองก็มักจะไม่ยอมเขียนหนังสือส่งตัวให้ เพราะอาจจะเกรงโดนผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพ่งเล็ง ก็ให้เราใช้สูตรนี้ครับ คือการอ้อนวอนคุณหมอ ผมเชื่อว่าคนเป็นหมอโรงพยาบาลรัฐ ส่วนใหญ่มีเมตตาครับ พอได้รับคำอ้อนวอน หรือขอร้องก็มักจะทำหนังสือส่งตัวให้ครับ (แต่ขอให้เราใจกล้า ๆ เอ่ยปากขอร้องครับ) เพราะถ้าคนไข้เป็นอะไรไป โดยมีสาเหตุจากการส่งตัวที่ช้าเกินไป ท่านอาจจะได้รับผลกระทบในทางลบมากกว่า

บางรายครับ ...

ไปรักษาโรคลำไส้อยู่แล้ว ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ เช่น จุฬาลงกรณ์ หรือศิริราชพยาบาล รักษาแบบจ่ายเงินเองนะครับ มีเวชระเบียนเรียบร้อย สมมติว่าไปรักษาด้วยการจ่ายเงินเองสัก 3 ครั้ง ...

ถ้าเรามีบัตร ประกันสังคม ระบุว่าเป็นโรงพยาบาล A เราสามารถเอาเวชระเบียนที่เรารักษาอยู่ก่อนเดิม มาพบคุณหมอเพื่อให้คุณหมอโรงพยาบาล A ทำหนังสือส่งตัวไปได้นะครับ
- ถ้าโรงพยาบาล A เป็นโรงพยาบาลรัฐ และไม่มีหมอเฉพาะทางด้านที่เรารักษาอยู่ ถ้าเราขอร้องคุณหมอก็จะทำหนังสือส่งตัวให้ เพื่อให้เราได้รับการรักษาต่อเนื่องครับ ซึ่งเมื่อเราเอาหนังสือส่งตัวนี้ไปให้โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ที่เรารักษา อยู่ เราก็จะไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาลอีกเลยครับ แต่ถ้าโรงพยาบาล A มีหมอเฉพาะทาง เราก็มาเอายารักษาที่โรงพยาบาล A ได้ครับ เช่น ถ้าเป็นโรคความดัน เบาหวาน ฯลฯ ที่ต้องรักษาระยะยาวน่ะครับ เราก็จะได้รับการรักษาฟรี ตามสิทธิประกันสังคมทันทีครับ
- ถ้าโรงพยาบาล A เป็นโรงพยาบาลเอกชน ก็ยากมาก ๆ ทีเดียว

อีก กรณีหนึ่ง ... หลาย ๆ คนมักจะบ่นว่ากระบวนการในการวินิจฉัยของโรงพยาบาลรัฐนั้นช้าใช่ไหมครับ กว่าจะได้ทำ CT Scan หรือ ตัดชิ้นเนื้อนั้นก็ต้องรอคิวนานเหลือเกิน ผมแนะนำว่า ...

สมมติว่าโรงพยาบาลตามสิทธิของเราเป็นโรงพยาบาลรัฐ กขค. ซึ่งก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนครับว่า โรงพยาบาลแม่ข่ายของโรงพยาบาล กขค. คืออะไร สมมติว่าคือ โรงพยาบาลศิริราช ครับ เริ่มเลยนะครับ

ผม ว่ากระบวนการวินิจฉัยว่าเป็นอะไร นั้นสำคัญที่สุดครับ ผมจะแนะนำว่า ผมจะไปตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลเอกชนครับ (จ่ายเงินเอง) เพื่อให้เราทราบว่าเราป่วยเป็นอะไรให้เร็วที่สุด จ่ายครั้งเดียวครับ แต่เคล็ดลับมันมีอยู่ว่า ... สมมติว่าผมสืบได้ว่า คุณหมอXYX ท่านเป็นอาจารย์หมออยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชและท่านยังรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล เอกชน A ผมก็จะไปหาหมอ XYZ ที่โรงพยาบาล A ครับ เพื่อตรวจวินิจฉัย X-Ray หรือ CT Scan จนทำให้ทราบว่าเป็นอะไรกันแน่ ก่อนครับ แล้วขออนุญาตคุณหมอ (ขอร้องเลยครับ) เพื่อจะไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช กับคุณหมอ ซึ่งคุณหมอส่วนใหญ่อนุญาตครับ
- จากนั้นเราก็เอาผลการตรวจ ไปให้หมอในโรงพยาบาล กขค. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามบัตรฯ รับทราบ สมมติว่าป่วยเป็นลำไส้อักเสบ ในกรณีที่โรงพยาบาล กขค. ที่เป็นบัตรประกันสังคมของเราไม่มีหมอเฉพาะทางด้านนี้ (ส่วนใหญ่จะไม่มีครับ ตอนนี้เราหาหมอเฉพาะทางตามโรงพยาบาลรัฐเล็ก ๆ ได้ยากจริง ๆ ครับ) เราก็ขอให้เขาส่งตัวไปโรงพยาบาลศิริราชครับผม อันนี้ทำได้ เพราะโรงพยาบาลศิริราชนั้นเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายครับ ทำหนังสือส่งตัวได้ไม่ยาก

แต่ในกรณีที่ต้องการโอนไปโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลแม่ข่าย นั้นทำได้ค่อนข้างยากครับ แต่ก็ทำได้ แต่ต้องอ้อนวอนและเดินเอกสารมากหน่อยครับ เบื้องต้นผมว่าเช็คก่อนครับว่า โรงพยาบาลอะไรเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายจะดีที่สุด การส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่ข่าย นั้นมีกระบวนการที่ง่ายกว่าครับผม

แค่ นี้แม้ว่าจะยุ่งยากสักนิด แต่เราก็ได้รักษากับหมอเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญ ด้วยเครื่องมือที่ดี โดยที่เราได้รับการรักษาฟรี เพียงแต่ค่าวินิจฉัยต้องจ่ายเงินเองเท่านั้นเองครับ

จากคุณ : นักอ่านตัวยง
เขียนเมื่อ : 10 ก.ค. 52 20:23:16


โดย: หมอหมู วันที่: 21 สิงหาคม 2552 เวลา:17:41:38 น.  

 


//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000154788

ครบ 35 ปี อย.เปิดศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 ธันวาคม 2552 13:08 น.


อย.ครบ รอบ 35 ปี ยกระดับงานคุ้มครองผู้บริโภค เปิดศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ พร้อมมอบโล่ผู้สนับสนุน 35 องค์กร

วันที่ 18 ธันวาคม นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานครบรอบ 35 ปี สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และเปิดศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพว่า การจัดงานสถาปนา อย.ครบรอบ 35 ปีในครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริโภค เพราะนั่นหมายความว่า อย.ได้ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพมานานเป็นปีที่ 35 แล้ว ซึ่งในอนาคตเชื่อมั่นว่า อย.จะยังคงต้องมุ่งมั่นสร้างสรรค์การทำงานในลักษณะเชิงรุกมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยและความมีสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคต่อไป

สำหรับปีนี้งานครบรอบ 35 ปี อย.ได้จัดให้มีพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ ผู้สนับสนุนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งหมด 35 องค์กร ทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน สภาวิชาชีพ และสื่อมวลชน ซึ่งคาดว่าในปีต่อๆ ไปจะเพิ่มจำนวนเครือข่ายเพื่อช่วยให้การทำงานคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ บริโภคซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญในการเข้าถึงหรือกระจายข้อมูลการเลือกซื้อ เลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องไปยังผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ ก็เพื่อประโยชน์ในด้านการบริโภคอย่าง ปลอดภัยของผู้บริโภคเอง


นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย.กล่าวถึงการเปิดศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) อย่างเป็นทางการว่า การ เปิดศูนย์เฝ้าระวังฯ เป็นการยกระดับและพัฒนาคุณภาพงานคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเปิดให้บริการแก่ผู้บริโภค หากผู้บริโภคประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย อีกทั้งยังเฝ้าระวังการโฆษณาหลอกลวงจากสื่อต่างๆ ซึ่งผู้บริโภคสามารถมาร้องเรียนได้ด้วยตัวเองที่ อย.อาคาร 1 ชั้น 1 ทุกวันเวลาราชการ

นอกจากนี้ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนมายังช่องทางอื่นๆ ได้ ดังนี้ สายด่วน อย.โทร. 1556, อีเมล 1556@fda.moph.go.th และ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004

ซึ่งการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในงานร้องเรียนนั้น ถือเป็นภาคที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติงานของ อย.ให้บรรลุเป้าหมาย และนับว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานของ อย.ให้ดียิ่งขึ้น

นพ.พิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า เพื่อ ให้งานคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพอย่างครบวงจรยิ่งขึ้น อย.ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยว กับผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ ศปป.ขึ้นอีกด้วย โดยทำงานควบคู่ไปกับศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ ศรร. ซึ่ง ศปป. ถือเป็นหน่วยงานเชิงรุกที่จะดำเนินการสำรวจตรวจจับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่กระทำผิดกฎหมายและมีผลกระทบสูงต่อผู้บริโภค ดังนั้น ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าในอนาคต อย. จะยังคงมุ่งมั่นและพัฒนางานเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์ สุขภาพต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง


โดย: หมอหมู วันที่: 18 ธันวาคม 2552 เวลา:18:38:13 น.  

 

เพิ่มเติม ..


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

//www.consumerthai.org

0- 2248 - 3734 - 7

E - mail : webmaster@consumerthai.org


สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ( สคบ. )


//www.ocpb.go.th

โทร 1166

E-mail consumer@ocpb.go.th

//www.ocpb.go.th/main_contact.asp

เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 0-2143-9760
0-2141-3534-36

รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค -
0-2141-3407

กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา 0-2143-9770
- ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ 0-2143-0401-04
- ฝ่ายควบคุม 0-2143-0398-0400

กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก 0-2143-9768,
- ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ 0-2143-0391-93
- ฝ่ายควบคุม 0-2143-0387-89

กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา 0-2143-9767
- ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ 0-2143-0380-82
- ฝ่ายควบคุม 0-2143-0377-78

สำนักกฎหมายและคดี 0-2143-9762-63
- ส่วนกฎหมาย 0-2143-0363, 0-2143-0354
- ส่วนคดี 0-2143-0359-61
- ส่วนขายตรงและตลาดแบบตรง 0-2143-9764




โดย: หมอหมู วันที่: 3 มกราคม 2553 เวลา:16:34:20 น.  

 


โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 30 พฤษภาคม 2554 เวลา:2:04:53 น.  

 

สปส.เพิ่มสิทธิรักษาโรคร้าย 'แก้ปัญหา' รพ.ยื้อส่งต่อผู้ป่วย

เปิดศักราชใหม่ ผู้ประกันตนกว่า 9 ล้านคน ได้รับข่าวดีกันถ้วนหน้า เมื่อสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) เริ่มใช้ระบบจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มโรคร้ายแรง เช่น โรคสมอง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอดติดเชื้อ โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ฯลฯ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 โดยคำนวณตามระดับความรุนแรงของโรคหรือภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Relative Weight (RW) ซึ่งมีตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป และเริ่มต้นระดับละ 1.5 หมื่นบาท ทั้งนี้ผู้ประกันตนเข้ารักษาได้ในโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม รวมถึงโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ ทุกแห่งนอกเครือข่ายประกันสังคม

"ปัจจุบันมีผู้ประกันตนส่วนหนึ่งป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคไต และต้องเสียค่ารักษาจำนวนมาก เมื่อเข้ารักษาโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคมก็จะมีปัญหาเรื่องไม่ยอมส่งต่อผู้ป่วย เพราะกังวลเรื่องงบค่ารักษาพยาบาล เชื่อว่าระบบนี้จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างดี สปส.ได้ตั้งงบกองกลางรองรับไว้ 4,460 ล้านบาท" นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) อธิบาย

พร้อมกันนี้ "นพ.สมเกียรติ" ยืนยันการจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มโรคร้ายแรงโดยคำนวณที่ RW ตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป และเริ่มต้นระดับละ 1.5 หมื่นบาทนั้น สปส.ได้เก็บรวบรวมสถิติค่ารักษาพยาบาลมากว่า 10 ปี จากโรงพยาบาลทุกสังกัด รวมทั้งใช้ข้อมูลของสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ซึ่งทำวิจัยตั้งแต่ปี 2550-2553 มาคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยเพื่อให้ได้ค่า RW ที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ โดยอ้างอิงจากมาตรฐานที่วงการแพทย์สากลใช้กันอยู่

ทั้งนี้ โรคที่มีระดับความรุนแรงเกิน RW 2 ที่มาตรฐานสากลจัดไว้ ยกตัวอย่างเช่น การปลูกถ่ายไขกระดูก อยู่ในระดับ RW 53 เมื่อนำ 1.5 หมื่น มาคูณ 53 จะคิดเป็นค่ารักษา 7.95 แสนบาท การผ่าตัดเปลี่ยนตับ ระดับ RW 44 คิดเป็นเงิน 6.6 แสนบาท ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ระดับ RW 43 คิดเป็นเงิน 6.45 แสนบาท ผ่าตัดเปลี่ยนปอด ระดับ RW 41 คิดเป็นเงิน 6.15 แสนบาท ผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจโดยมีหัวกรอ PTCA ระดับ RW 28.33 คิดเป็นเงิน 424,965 บาท

ผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจและสายสวน ระดับ RW 18.10 คิดเป็นเงิน 271,548 บาท ผ่าตัดสมองและประสบอุบัติเหตุร่างกายผ่าตัดหลายส่วน ระดับ RW 17.14 คิดเป็นเงิน 257,170 บาท ผ่าตัดท่อเลือดหัวใจ ระดับ RW 15.81 คิดเป็นเงิน 237,213 บาท โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากเส้นเลือดหลายเส้นต้องใช้หัวกรอและสเต็นท์ ระดับ RW 11.88 คิดเป็นเงิน 177,264 บาท

ผ่าตัดต่อทวารหนัก ระดับ RW 4.79 คิดเป็นเงิน 71,970 บาท ผ่าตัดเปลี่ยนเข่า ระดับ RW 4.25 คิดเป็นเงิน 63,762 บาท ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ระดับ RW 4.17 คิดเป็นเงิน 62,614 บาท ปอดเป็นหนอง ระดับ RW 4 คิดเป็นเงิน 6 หมื่นบาท อุบัติเหตุได้รับการผ่าตัดสมองไม่มีโรคแทรกซ้อน ระดับ RW 3.98 คิดเป็นเงิน 59,776 บาท โรคของลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่และได้รับการผ่าตัด ระดับ RW 3.88 คิดเป็นเงิน 58,297 บาท ผ่าตัดไส้ติ่งและมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง ระดับ RW 3.77 คิดเป็นเงิน 56,553 บาท

ปอดทะลุลมออกในช่องทรวงอก ระดับ RW 3.6 คิดเป็นเงิน 5.4 หมื่นบาท โรคหูน้ำหนวกได้รับการผ่าตัดกระดูกและแก้ไขหูชั้นใน ระดับ RW 3.6 คิดเป็นเงิน 5.4 หมื่นบาท โรคหูคอจมูกและได้รับการผ่าตัดใหญ่ ระดับ RW 3.51 คิดเป็นเงิน 52,741 บาท เนื้องอกในทางเดินหายใจ ระดับ RW 3.3 คิดเป็นเงิน 49,500 บาท

มะเร็งระบบประสาทได้รับเคมีบำบัดไม่มีโรคแทรกซ้อน ระดับ RW 3.28 คิดเป็นเงิน 49,219 บาท หนองในช่องอก ระดับ RW 3.08 คิดเป็นเงิน 46,252 บาท กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและฉีดยาสลายลิ่มเลือด ระดับ RW 2.90 คิดเป็นเงิน 43,506 บาท สวนหัวใจและฉีดสี ระดับ RW 2.45 คิดเป็นเงิน 36,780 บาท ส่องกล้องผ่าตัดถุงน้ำดี ระดับ RW 2.45 คิดเป็นเงิน 36,757 บาท ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และต้องตัดหรือจี้เพื่อรักษาในส่วนที่ยุ่งยาก ระดับ RW 2.33 คิดเป็นเงิน 35,053 บาท โรคจอประสาทตาและได้รับการผ่าตัด ระดับ RW 2.13 คิดเป็นเงิน 32,044 บาท



"นพ.สมเกียรติ" แนะด้วยว่า กรณีผู้ป่วยจะใช้บริการระบบใหม่นี้ ควรสอบถามแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคอะไรและอยู่ในระดับ RW เท่าไหร่ เพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะเลือกรักษาพยาบาลโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิหรือโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ผู้ประกันตนมั่นใจ

หากผู้ประกันตนไปเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมหรือโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิส่งต่อผู้ประกันตนไปรักษาโรงพยาบาลอื่น ทางผู้ประกันตนก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยสปส.จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

แต่ถ้าผู้ประกันตนเลือกไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นๆ นอกเครือข่ายประกันสังคมเอง หากมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างเพิ่มขึ้นมา ผู้ประกันตนจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมาเอง



"ถือเป็นข้อดีของระบบนี้ ที่ผู้ป่วยสามารถเลือกโรงพยาบาลได้อย่างเสรี ส่วนกรณีที่เกรงว่าโรงพยาบาลเอกชนจะปกปิดข้อมูลการรักษาและอาการป่วยของผู้ประกันตนเพื่อยื้อผู้ป่วยไว้รักษาเองนั้น หากตรวจสอบพบโรงพยาบาลเอกชน จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และสปส.จะตรวจประเมินเวชระเบียนอย่างเข้มข้น โดยจัดจ้างที่ปรึกษาทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจาก 8 คน เป็น 14 คน และจ้างที่ปรึกษาทางการพยาบาลเพิ่มขึ้นจาก 6 คน เป็น 13 คน

ตลอดจนประสานกับหน่วยงานตรวจสอบโรงพยาบาลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรมบัญชีกลางเพื่อตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินของโรงพยาบาลเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนกรณีที่สปส.พบว่ามีการเบิกจ่ายไม่ตรงกับความเป็นจริง สปส.ก็มีมาตรการเรียกเงินคืนและตักเตือนโรงพยาบาลที่กระทำผิด" นพ.สมเกียรติ บอกทิ้งท้าย





----------

(หมายเหตุ : สปส.เพิ่มสิทธิรักษาโรคร้าย 'แก้ปัญหา' รพ.ยื้อส่งต่อผู้ป่วย : โดย ... ธรรมรัช กิจฉลอง)

----------


//www.komchadluek.net/detail/20120106/119462/สปส.เพิ่มสิทธิรักษาโรคร้าย.html

จากคุณ : หมาป่าดำ







โดย: หมอหมู วันที่: 6 มกราคม 2555 เวลา:15:27:30 น.  

 
สืบเนื่องจากข่าว .. อัปยศอดสู! ค่ารักษามหาโหด ถึงเวลาคุมราคา "รพ.เอกชน"
//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000048653
28 เมษายน 2558 21:43 น. (แก้ไขล่าสุด 28 เมษายน 2558 21:45 น.)

และ มีผู้นำไปตั้งเป็นกระทู้ในพันทิบ ห้องสวนลุม //pantip.com/topic/33579114

ก็ได้รับความสนใจ (แต่ก็แตกประเด็นไปไหนต่อไหน ? )
ผมจึงขอเข้าไปแสดงความเห็น และ นำมาบันทึกไว้ในบล็อคด้วย
..................


ขอแจมหน่อย .. ไม่ได้ค้านหัวชนฝา แต่ก็อยากให้ช่วยกันคิด วิเคราะห์ประเด็น การเรียกร้อง คณะกรรมการฯ ^_^

ผมอ่านจากข่าว และ การสร้างแคมเปญรณรงค์ ... ยัง มึน ๆ อยู่ว่า จะให้ตั้ง "คณะกรรมการควบคุมราคา รพ.เอกชน " เพื่อให้ทำหน้าที่อะไร ? แค่ "เพิ่ม" ช่องทางให้เข้าไปร้องเรียน ? ... (และที่ อาจ สำคัญกว่าคือ มีใครเป็นคณะกรรมการบ้าง ? )

แทนที่ จะ ตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาใหม่ .. สร้างระบบขึ้นมาใหม่ ซ้ำซ้อนกับที่มีอยู่ แถม ค่าใช้จ่าย ที่ต้องมีเพิ่มเติม ให้กับ คณะกรรมการ และ เจ้าหน้าที่ รวมไปถึงขั้นตอนการตรวจสอบ ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น ..

เปลี่ยนไป เรียกร้อง กระตุ้น (บังคับ) ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ทำหน้าที่ให้ดี (เอาเงินที่จะไปตั้งกรรมการให้ ไปเพิ่มงบให้หน่วยงานฯดีกว่า) และ หาวิธีเผยแผ่ความรู้เกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิของผู้ป่วย ฯลฯ ให้กับประชาชนทั่วไป น่าจะดีกว่า นะครับ


ปล.

๑. กรณีตัวอย่าง ยาฉีด อะดรีนาลีนเพื่อกระตุ้นหัวใจ 148 หลอด
......... กรณีนี้ เรียกว่า " โกง " ... ก็คงไม่ตรงกับหน้าที่ของ คณะกรรมการฯ ที่จะตั้งขึ้น

๒. ที่บอกว่า " พวกเราบ่นกันมานานมากแล้ว ทางรพ.เอกชนก็มักโต้แย้งว่าต้นทุนสูง รัฐไม่ได้เข้ามาดูแล ประชาชนสามารถเลือกได้ที่จะไม่เข้ารพ.เอกชน แต่เวลาเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้นมาเราไม่สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ ? "

.......... ค่ายา รพ. (คลินิก) เอกชน " แพง " เพราะต้องรวม "ต้นทุน" อย่างอื่น เช่น ค่าที่ดิน ค่าตึก ค่าอุปกรณ์ ค่าโฆษณา ค่าไฟฟ้า ค่าดอกเบี้ยแบงค์ ฯลฯ เข้าไปในค่ายา นั้นด้วย ( ในขณะที่ รพ.รัฐ ไม่ต้องนำมารวมด้วย )

ตอนผมอยู่ รพ.รัฐ ก็เคยมีการทำวิจัย "ต้นทุน ของ รพ." ซึ่งยุ่งยากสับสน แต่ก็พยายามทำกันมาหลายปี จนนำมาสู่การคิดต้นทุนของ ระบบบัตรสุขภาพ (บัตรสามสิบบาท) ซึ่ง "รัฐ" ต้องหา เงินมาชดเชย แต่ รพ.รัฐ ก็ไม่เคยได้ตามต้นทุนที่คิดไป ครั้งแรกต้นทุนสองพัน รัฐ จ่ายมา แปดร้อยบาท แถมหักโน่นนี่นั่น เหลือมาถึง รพ. จริง ๆ แค่ห้าร้อยกว่าบาท ปัจจุบัน สปสช.เพิ่มมาให้ แต่ก็ยังไม่พอ )

......... เวลาเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตอนนี้ก็กำลังมีความพยายามแก้ไขอยู่ ถึงแม้ว่าจะยังแก้ไม่ได้ก็ตาม ( แต่ถ้าจะให้ดี ควรลดเรื่องโฆษณา ที่เกินจริง ทำให้ ประชาชนเข้าใจผิด ?)

๓. หน่วยงานที่ "น่าจะ" เป็นผู้รับผิดชอบดูแล (ตามกฏหมาย) มีเยอะ แต่ก็มีปัญหาในการทำงาน ซึ่งผมก็ไม่คิดว่า คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาใหม่จะทำได้ดีกว่า ?

เช่น การที่จะเข้าไปตรวจสอบหาข้อมูลว่า ค่ารักษานั้นสมเหตุสมผลหรือเปล่า ? ก็ต้องใช้ คน ใช้ เงิน .. หลังจากนั้น ถ้าคณะกรรมการสรุปว่า ไม่สมเหตุสมผล แล้วทำอย่างไรต่อ ? .. ( ยังไม่รวมถึงนิยามว่า " อะไรคือ สมเหตุสมผล" อีกนะครับ )


แถม ..
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
//www.ocpb.go.th

พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
เหตุผลในการประการใช้ พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
1. เพื่อกำหนดสิทธิของผู้บริโภค
2. เพื่อกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ
3. เพื่อกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรของรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

โดยให้เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบัน การเสนอขายสินค้า และบริการต่างๆ ต่อประชาชนนับวันแต่จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบธุระกิจการค้า และผู้ประกอบธุระกิจ โฆษณา ได้นำวิชาการทางการตลาดและทางการโฆษณามาใช้ในการส่งเสริมการขายสินค้า และบริการซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะและบริการ ที่เสียเปรียบ เพราะผู้บริโภค ไม่อยู่ ในฐานะที่ทราบภาวะตลาด และความจริงที่เกี่ยวกับคุณภาพและราคาของสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องทันท่วงที นอกจากนั้นในบางกรณีแม้จะมีกฏหมายให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยการกำหนดคุณภาพ และราคาของสินค้าหรือผู้ประกอบธุระกิจโฆษณาเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคย่อมจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็น การ ไม่คุ้มค่า และผู้บริโภคจำนวนมากไม่อยู่ในฐานะ ที่จะสละเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีได้และในบางกรณีไม่อาจจะระงับ หรือยับยั้ง การกระทำที่เกิดความเสียหาย แก่ผู้บริโภค ได้ทันท่วงที สมควรมีกฏหมายให้ความคุ้มครอง สิทธิของผู้บริโภค เป็นการทั่วไป โดยกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ การค้าและผู้ประกอบธุรกิจ โฆษณาต่อผู้บริโภค
เพื่อให้ความเป็นธรรมตามสมควรแก่ผู้บริโภค ตลอดจนจัดให้มีองค์กรของรัฐ ที่เหมาะสมเพื่อตรวจตรา ดูแลและประสานงานการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ ในการให้ ความคุ้มครองผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ นี้ขึ้น


ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ เรื่อง ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ...
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185




โดย: หมอหมู วันที่: 30 เมษายน 2558 เวลา:14:55:47 น.  

 
สบส.ส่งหนังสือเวียนแจ้งบังคับใช้ ‘รพ.’ ใดเก็บเงิน ‘ผู้ป่วยฉุกเฉิน’ มีโทษตามกฎหมายทันที
( ปล. พาดหัวข่าว กับเนื้อหา ไม่ตรงกัน นะครับ )
//www.matichon.co.th/news/436676

เมื่อวันที่ 22 มกราคม นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า พ.ร.บ. สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2559 เป็นต้นมา เจตนารมณ์กฎหมายฉบับนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพครอบคลุมสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายฉบับนี้ นอกจากจะกำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องแสดงชื่อ รายการผู้ประกอบวิชาชีพ อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการอื่นแล้ว ยังต้องแสดงค่ายาเวชภัณฑ์ และ ห้ามเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินอัตราที่แสดงและมีการเพิ่มหลักเกณฑ์การดำเนินการของสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินอีกด้วย โดยสบส. ได้แจ้งเวียนให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ยังได้ปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตการโฆษณาสถานพยาบาลให้รัดกุมขึ้น โดยกำหนดให้การโฆษณาทุกชนิดในเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องขออนุญาตจาก สบส. และในส่วนภูมิภาค ให้ขออนุญาตที่ สสจ. และได้เพิ่มโทษการโฆษณาโอ้อวดให้หนักขึ้นจากเดิมซึ่งมีแค่โทษปรับอย่างเดียว แต่กฎหมายฉบับนี้เพิ่มโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาทจนกว่าจะระงับการโฆษณา ในกรณีที่ลักลอบโฆษณา มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา กรณีโฆษณาที่มีการเผยแพร่ก่อนกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ดำเนินการขออนุญาตกับ สบส. หรือสสจ.ในพื้นที่ ภายใน 90 วัน หลังจากประกาศที่ออกตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับ และเมื่อยื่นขออนุญาตแล้วอนุโลมให้โฆษณาต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งผลการพิจารณา

ทพ.อาคม กล่าวอีกว่า สำหรับบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ได้เพิ่มโทษหนักขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องปรามการกระทำผิด เช่น การลักลอบเปิดสถานพยาบาลโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกจากเดิมไม่เกิน 3 ปี เพิ่มเป็น 5 ปี หรือปรับเพิ่มจากเดิมไม่เกิน 6 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีการเก็บค่ารักษาพยาบาล ยา และเวชภัณฑ์เกินกว่าที่แสดงไว้ที่ป้าย ก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จากเดิมมีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 2 หมื่นบาท นอกจากนี้ กฎหมายยังครอบคลุมโทษถึงผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินงานของนิติบุคคล จนเป็นเหตุให้เกิดการกระทำผิด จะต้องร่วมรับผิดชอบในความผิดนั้นด้วย


โดย: หมอหมู วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:16:10:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]