Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
19 กันยายน 2554

การใช้ดุลพินิจของแพทย์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ... นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ


การใช้ดุลพินิจของแพทย์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (พ.บ., ประสาทศัลยศาสตร์, น.บ.)



การปฏิบัติงานของแพทย์ทั้งในแง่ของการสั่งจ่ายยา การทำหัตถการ การตัดสินใจดำเนินการส่งต่อ เหล่านี้ ล้วนอยู่ภายใต้ดุลพินิจของแพทย์ผู้ปฏิบัติงานและเป็นกรณีเฉพาะตัวทั้งสิ้น

หลายครั้งเราจะเห็นว่าการตัดสินใจของแพทย์ภายใต้สถานการณ์นั้นๆ มีความแตกต่างกับแพทย์ท่านอื่น แต่ท้ายที่สุดนั้นการตัดสินใจต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ที่มีอำนาจเต็มในผู้ป่วยรายนั้น แพทย์ท่านดังกล่าวเราอาจเรียกว่า “แพทย์เจ้าของไข้” หรือ “doctor in-charge”

ซึ่งแม้ว่าแพทย์ท่านอื่น อาจไม่เห็นด้วยแต่ต้องให้ความเคารพและไม่แสดงออกในเชิงไม่เหมาะสม เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ตามแพทย์ทุกท่านย่อมต้องตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ เพียงแต่แนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างไปตามแต่ประสบการณ์ความรู้ ความสามารถของแพทย์แต่ละท่าน

และด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่มาของการใช้คำว่า “การประกอบโรคศิลป์” กับการทำงานของแพทย์เพราะมิได้อาศัยแต่ความรู้ตรงไปตรงมาตามตำราตัวหนังสือเท่านั้น แต่ต้องอาศัยศาสตร์หลายอย่างเป็นการเฉพาะตนมาประกอบในแต่ละสถานการณ์

ปัญหาทีjตามมาในการใช้ดุลพินิจของแพทย์คือ การโต้แย้งเมื่อพิจารณาจากผลที่กระทำลงไป หรืออีกนัยหนึ่งการวิจารณ์แบบย้อนหลัง (Retrospective review) ซึ่งในทางปฏิบัติทุกๆ โรงเรียนแพทย์หรือในสถานพยาบาลใหญ่ๆ จะมีการจัดประชุมที่เรียกว่า M&M conference หรือ Dead case conference ซึ่งเป็นการประชุมจำเพาะสำหรับแพทย์และบุคลากร โดยมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่ได้ผลการรักษาอันไม่พึงประสงค์ เพื่อหาแนวทางป้องกันและปรับปรุงการรักษาพยาบาล เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยในภายภาคหน้า

สิ่งที่สำคัญในการจัดประชุมลักษณะนี้คือ ผู้ควบคุมการประชุม (Moderator) ต้องดำเนินการประชุมให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ดังกล่าวโดยเคร่งครัด ต้องมิให้การประชุมเป็นไปเพื่อตำหนิติเตียนหรือจับผิดใครคนใดคนหนึ่ง หรือใช้เวทีการประชุมเพื่อยกตนข่มท่าน และระหว่างการประชุมผู้เข้าร่วมประชุมต้องแสดงความคิดเห็นเสมือนหนึ่งตนอยู่ ภายใต้สถานการณ์เดียวกันกับแพทย์ผู้ให้การรักษาท่านนั้น

การโต้แย้งที่เกิดขึ้นนอกห้องประชุมโดยเฉพาะจากผู้ที่ไม่ได้รู้จริงหรือไม่ได้คำนึงถึงหลักการดังกล่าว มักนำมาซึ่งความ สับสนความบาดหมางระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน และหากการโต้แย้งนั้นกระทำไปโดยแพทย์ที่มีจุดประสงค์เพื่อกล่าวตำหนิ ติเตียนแพทย์ท่านอื่นต่อหน้าญาติผู้ป่วย

สิ่งที่ตามมาในปัจจุบันคือการฟ้องร้อง ซึ่งเดิมปัญหาการฟ้องร้องนั้นมักจะไปหยุดอยู่ที่ สภาวิชาชีพ ซึ่งก็คือ “แพทยสภา” แต่ในปัจจุบันทราบกันดีว่า แพทยสภา นั้นถูก discredit อย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยหันไปใช้กลไกอื่นคือการฟ้องร้องต่อศาล และผลที่ตามมาคือ การใช้ดุลพินิจตัดสินผิดถูกในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมถูกกระทำโดยบุคคลที่มิได้มีความรู้จริงในทางการแพทย์

คำตัดสินที่ได้อาศัยการนำสืบในชั้นศาล ซึ่งมีทั้งการอ่านเอกสารวิชาการทางการแพทย์ และการรับฟังความคิดเห็นของพยานบุคคล โดยผู้ตัดสินผิดถูก มิได้มีความสามารถพื้นฐานส่วนตน ทำให้การทำความเข้าใจความยากลำบากของการปฏิบัติงานในแต่ละสถานการณ์นั้นๆ เป็นไปไม่ได้และไม่ตรงกับความเป็นจริง

หลายครั้งที่คำตัดสินออกมาไม่ตรงกับคำตัดสินโดยสภาวิชาชีพ ภายใต้ความเห็นชอบของแพทยสภา หลายครั้งที่ผลคำตัดสินไปขึ้นอยู่กับวิธีนำเสนอของคู่กรณีในชั้นศาล ผลที่ได้จึงไม่เป็นที่ยอมรับของบุคลากรในวิชาชีพ แต่เนื่องจากศาลมีอำนาจสูงสุด จึงทำได้แต่การร้องอุทธรณ์ หรือ ฎีกา และยอมรับผลตามนั้นกฎหมายทางวิชาชีพที่ว่าด้วยการคุ้มครองการใช้ดุลพินิจ


เมื่อเร็วๆ นี้มีร่างกฎหมายฉบับหนึ่งได้ถูกนำาเข้าสู่สภาและได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้ แทนราษฎรไปแล้วสามวาระ คือ “ร่าง พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. .....”

ในร่างกฎหมายนี้มีประเด็นที่สามารถเทียบเคียงได้กับการใช้ดุลพินิจของแพทย์และความรับผิดชอบต่อดุลพินิจ คือ หมวด 2 มาตรา 21 และ 22 ซึ่งมีใจความดังนี้

“มาตรา 21 พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามร ัฐธรรมนูญและตามกฎหมายโดยเที่ยงธรรม

ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ ให้เสนอต่ออัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องได้

ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีที่พนักงานอัยการไม่ยื่นคำร้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนคำร้อง ถอนอุทธรณ์ และถอนฎีกาด้วยโดยอนุโลม”

“มาตรา 22 ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการพิจารณาสั่งคดีหรือการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 21 ย่อมได้รับความคุ้มครอง”


โดยสรุปทั้งสองมาตรามีรายละเอียดสำคัญในการกำหนดให้มีการคุ้มครองการปฏิบัติงานของอัยการ โดยห้ามมิให้มีการฟ้องร้องอัยการในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามหน้าที่ นั่นเอง


ที่มาของร่างสองมาตรานี้น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 3509/2549 โดยคดีนี้เป็นกรณีที่มีผู้พิพากษาท่านหนึ่งฟ้องอัยการต่อศาลว่า “การสั่งคดีของอัยการในการไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหาสองคนที่มีกรณีพิพาทกับผู้พิพากษานั้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 157 และ 200 (ความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ)”

และที่สุดแล้วศาลฎีกาตัดสินว่าอัยการท่านดังกล่าวมีความผิดจริงและให้ลงโทษอัยการในคดีดังกล่าว

โดยในคำพิพากษามีใจความตอนหนึ่งว่า “เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วย”

ผลของคำตัดสินนี้เทียบเคียงได้กับคำตัดสินของศาลในกรณี “ร่อนพิบูลย์” ที่ศาลชั้นต้นสั่งลงโทษจำคุกแพทย์ในความผิดอาญา (กรณีนี้ศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสิน ให้ยกฟ้อง)


เมื่อ “อัยการ”ร้องขอความคุ้มครองให้ตนเองในการ debate เนื้อหาของ “ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” และ “ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการระบบบริการสาธารณสุข” สิ่งที่ผู้เขียนโต้แย้งมาตลอดตั้งแต่ในชั้นร่างกม. ชั้นกฤษฎีกา และในหลายเวทีที่จัดขึ้นต่างกรรม ต่างวาระ สิ่งที่เป็นประเด็นร้อนคือ “การร่างเนื้อหาของกม.ให้คุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตให้ปลอดจากความรับผิดอันเกิดจากการพยายามช่วยเหลือผู้ป่วย และหากต้องการพิสูจน์ทราบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ผิดถูกหรือเบี่ยงเบียนจากมาตรฐานไปมากน้อยเช่นไร ก็ควรให้สภาวิชาชีพที่มีความรู้ความเข้าใจจริงมาตัดสิน” เพราะไม่ว่าผลการรักษาจะออกมาเช่นไร แต่บุคลากรล้วนทำไปเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

การมองย้อนหลังเพื่อจับผิด (Retrospective review)จากคนที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ อย่างที่กลุ่มบุคคลบางกลุ่มกระทำและนำมาเป็นข้ออ้างในการฟ้องร้องบุคลากรนั้น ผู้เขียนมองว่าเป็นบาปมหันต์ เพราะหลายกรณีเป็นการจับผิดโดยไม่สนใจสถานการณ์ ข้อจำกัดในเรื่องทรัพยากร และ ข้อจำกัดในเรื่องเวลาที่ต้องตัดสินใจ ผลที่ตามมาตอนนี้ก็ทราบกันดีว่า “แพทย์ พยาบาล หลีกเลี่ยงการทำงานที่เสี่ยง ยิ่งเป็นการทำงานที่ตนไม่ต้องรับผิดชอบโดยตรงยิ่งไม่อยากยุ่ง ตัวใครตัวมัน”

สิ่งที่คล้ายกันคือ “อัยการรู้สึกถึงความไม่มั่นคง และความไม่มั่นใจในการสั่งคดี และคิดว่าการสั่งคดีน่าจะเป็นสิทธิ์ขาดของอัยการที่ศาลแม้ว่าจะรับฟ้อง แต่ก็ไม่ควรใช้ดุลพินิจของศาลมาก้าวก่ายการใช้ดุลพินิจจำเพาะของอัยการ และศาลยิ่งไม่ควรสั่งลงโทษจำคุกอัยการจากการปฏิบัติงานในหน้าที่” ในที่สุดคำตัดสินนี้จึงมีส่วนกระตุ้นในเกิด “มาตรา 22 ของ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. .....” เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการปฏิบัติหน้าที่ของอัยการ

การร้องขอให้มีมาตรการที่ปกป้องและให้ความคุ้มครองในเรื่องความรับผิดทางการแพทย์ตามสมควร หลายครั้งถูกโต้แย้ง โดยนักวิชากร และที่สำคัญคือนักกฎหมาย ทั้งศาล อัยการ หรือทนายความ แต่เมื่อมามองดูมาตรา 21 ของ ร่างพ.ร.บ.อัยการ ดังกล่าวจะเห็นว่า แม้แต่นักกฎหมายระดับประเทศ ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทนายแผ่นดิน ยังต้องขอความคุ้มครองให้ปลอดจากอำนาจศาล

ทั้งๆ ที่การทำงานของอัยการมีข้อจำกัดน้อยกว่าของบุคลากรทางการแพทย์มาก อาทิเช่น ความเร่งรีบของการตัดสินใจ (ไม่รีบมากเท่าแพทย์) ปริมาณงาน (เมื่อเทียบกับจำนวนบุคลากรไม่มากเท่า) ความเครียด (ไม่เครียดมากเท่าของการแพทย์ เพราะผลกระทบจะเกิดกับงานเอกสาร) ในขณะที่ของแพทย์เป็นการกระทำต่อร่างกาย ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงกว่า)

ร่างมาตรา 21 ดังกล่าว เมื่อถูกนำเข้าสภา ยังมีการขอแก้ไขให้ระบุเพิ่มไปว่า “ให้คุ้มครองให้ปลอดจากความรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และ ทางปกครอง” ยิ่งกว่าสิ่งที่ผู้เขียนร้องขอเมื่อ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ถูกนำเข้าไปถกในเวทีต่างๆ แต่กลับถูกตำหนิโดยนักกฎหมายเหล่านี้ในเวทีต่างกรรมต่างวาระ

เหล่าอัยการที่ผู้เขียนได้พบและรู้จัก ล้วนแต่คัดค้านว่า “แพทย์มิใช่อภิสิทธิ์ชน” ห้ามมีกฎหมายในลักษณะคุ้มครองการทำงานของแพทย์ แต่เมื่อดูร่างกฎหมายของอัยการแล้ว ...ไม่มีอะไรจะพูด นอกจากให้ไปอ่านทุกตัวหนังสือของร่างพ.ร.บอัยการนี้เอาเอง (ซึ่งในที่สุดแล้วสภาก็ผ่านกม.นี้สามวาระรวดไปเรียบร้อยแล้ว และท่านอัยการก็ได้รับการคุ้มครองตามต้องการ)


แล้วเมื่อไรจะมีการปกป้องบุคลากรสาธารณสุขให้สามารถทำงานได้โดยไม่รู้สึกว่า มีปืนมาจ่อหลังขณะปฏิบัติงาน เหมือนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

//www.medicalprogress-cme.com/Voice/VoiceV10N8.pdf





Create Date : 19 กันยายน 2554
Last Update : 19 กันยายน 2554 21:35:05 น. 0 comments
Counter : 2923 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]