Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
1 กรกฏาคม 2554

'แพทยสภา' เตรียมฟ้องศาลปกครองเพิกถอน'สิทธิการตาย' หวั่นคนไข้ทั่วไป เสียสิทธิหลายกรณี




'แพทยสภา' เตรียมฟ้องศาลปกครองเพิกถอน'สิทธิการตาย' หวั่นคนไข้ทั่วไป เสียสิทธิหลายกรณี

ไทยรัฐออนไลน์

//bit.ly/j1ujTR via @Thairath_Edu


มติแพทยสภา "ฟ้องศาลปกครอง" ขอเพิกถอนประกาศกระทรวงว่าด้วยสิทธิการตาย หวั่นกระทบสิทธิคนไข้ ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ หมอเสี่ยงติดคุกคดีฆ่าคนตาย...


30 มิ.ย. จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ออกประกาศกระทรวง ทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดกา รตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้ก่อให้เกิดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะขัดจรรยาบรรณทางการแพทย์ และอาจถูกฟ้องร้องนั้น ขณะที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ตั้งคณะทำงานการดำเนินการตามหนังสือดังกล่าว เพื่อศึกษาแนวทางการทำงานเฉพาะสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างเหมาะสม

ล่าสุดที่สำนักงานแพทยสภา ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา แถลงข่าวหลังการประชุมกรรมการบริหารถึงกรณี “สิทธิการตาย (มาตรา 12)” ว่า เรื่องนี้มีความเห็นที่หลากหลาย ทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการสาธารณสุขได้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อ งนี้ และได้ข้อสรุปให้แพทยสภา ซึ่งเป็นตัวแทนวิชาชีพแพทย์ ทำหน้าที่ดำเนินการหาความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากมีแพทย์หลายฝ่ายกังวลถึงการบังคับใช้แนวทางการแสดงสิทธิดังกล่าว เพราะอาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย และยังขัดต่อจริยธรรมแพทย์ ที่สำคัญกฎกระทรวงดังกล่าวยังออกเกินกว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯที่กำหนด

"เมื่อคณะกรรมาธิการสาธารณสุขมีความประสงค์ต้องการความชัดเจนจากการประชุมขอ งกรรมการบริหาร จึงมีความเห็นว่าจะนำเรื่องดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ 14 ก.ค.54 เพื่อพิจารณาถึงการเคลื่อนไหว ซึ่งเบื้องต้นอาจดำเนินการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนกฎกระทรวงดังกล่าว ระหว่างรอการพิจารณา แพทยสภาจึงออกแนวทางปฏิบัติของแพทย์ เมื่อได้รับหนังสือดังกล่าว ประกอบด้วย 6 แนวทางคือ

1. เมื่อได้รับหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์ผู้เกี่ยวข้องต้องแน่ใจว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงเจตนาฯที่กระ ทำโดยผู้ป่วยขณะที่มีสติสัมปชัญญะ เช่น หนังสือแสดงเจตนาฯที่กระทำโดยอยู่ในความรู้เห็นของแพทย์ เช่นนี้แล้วให้ปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วย ยกเว้นกรณีตามข้อ 5,

2.หนังสือแสดงเจตนาฯ นอกเหนือจากข้อ 1 ควรได้รับการพิสูจน์ว่ากระทำโดยผู้ป่วยจริง,

3.ในกรณีที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ถึง “ความจริงแท้” ของหนังสือแสดงเจตนาฯนี้ ให้ดำเนินการรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรม,

4.การวินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิตให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในขณะนั้น,

5.ไม่แนะนำให้มีการถอดถอน ( withdraw ) การรักษาที่ได้ดำเนินอยู่ก่อนแล้ว และ

6.ในกรณีที่มีความขัดแย้งกับญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่อง “ความจริงแท้” ของหนังสือแสดงเจตนาฯดังกล่าว แนะนำให้ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิทางศาล"

นายก แพทยสภา กล่าว




ด้าน นพ.วิสุทธิ์ ลัจเสวี ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า กฎกระทรวงดังกล่าวออกเกินกว่าอำนาจมาตรา 12 ที่ระบุเพียงให้บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนา แต่ในกฎกระทรวงยังมีบทบัญญัติที่ไปละเมิดสิทธิของบุคลากรทางการแพทย์ เช่น หากผู้ป่วยขอกลับบ้าน แพทย์ต้องอนุญาต หรือสตรีมีครรภ์ต้องยุติการตั้งครรภ์ก่อน จึงจะทำตามหนังสือแสดงเจตนา

สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการผิดหลักจริยธรรมทางการแพทย์ หากแพทย์ดำเนินการตาม อาจถูกฟ้องร้อง และนำไปสู่การฆ่าโดยเจตนาก็เป็นได้ ซึ่งจะเป็นการผิดกฎหมายอาญาทันที จึงควรมีความชัดเจน โดยต้องระงับการใช้กฎกระทรวงดังกล่าวก่อน เพื่อหาข้อสรุปซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย


ขณะที่ ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ ส.ว. และรองประธานกรรมาธิการสาธารณสุข กล่าวว่า ที่ต้องระวังคือการพิจารณาถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากหากญาติไม่เข้าใจ จะนำปัญหามาสู่แพทย์ และเกิดเป็นประเด็นฟ้องร้องได้

ขณะเดียวกันการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ อาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง เนื่องจากการแสดงเจตนาดังกล่าว ถือเป็นการเสียสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ทำให้ไม่สามารถรับเงินกรณีเกิดความเสียหายจากการรักษาจำนวน 2 แสนบาททันที

อีกทั้งกรณีผู้ทำประกันชีวิตอาจไม่ได้รับเบี้ยประกัน เนื่องจากอาจเข้าข่ายการฆ่าตัวตาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิที่ผู้ป่วยอาจเสียไปด้วย

ในส่วนผลกระทบทางการแพทย์ หากแพทย์ไม่รู้กฎหมายและไปดำเนินการ จะถูกข้อหาเจตนาฆ่า ซึ่งมีความผิดประหารชีวิต สิ่งเหล่านี้เป็นช่องโหว่ทางกฎหมาย เพราะเมื่อทำตามกฎหมายหนึ่ง ก็อาจไปก้าวล่วงกฎหมายหนึ่ง

/////////////////////////






เตรียมดัน “สิทธิตาย” เข้าที่ประชุมบอร์ด 14 ก.ค.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 มิถุนายน 2554 17:40 น.
//manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000080156


แพทยสภาเตรียมดันวาระ “สิทธิการตาย” เข้าที่ประชุมบอร์ดใหญ่ 14 ก.ค.เตรียมเสนอประเด็นเรื่องการฟ้องศาลปกครองล้มกฎกระทรวงแสดงเจตนาฯ ตามข้อเสนอของแพทย์บางกลุ่ม ด้าน ส.ว.กรรมาธิการการสาธารณสุขชี้ หากดำเนินการจริง ผู้ป่วยบัตรทองเสียสิทธิ ม.41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ เพราะไม่ได้เสียหายจากการบริการสาธารณสุข แต่เป็นการยินยอม

จากกรณีสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ออกประกาศกระทรวงทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่ เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือยุติการทรมานจากการเจ็บ ป่วย พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้ก่อให้เกิดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ขณะที่ทางด้านกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้ตั้งคณะทำงานการดำเนินการตามหนังสือดังกล่าว ไม่ให้กระทบต่อแพทย์และบุคลากร สธ.นั้น

ล่าสุด วันนี้ (30 มิ.ย.) ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา แถลงข่าวหลังการประชุมกรรมการบริหาร ถึงกรณีดังกล่าวว่า เนื่องจากมีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่าย ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการสาธารณสุข(กมธ.สธ.)ได้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ข้อสรุปให้แพทยสภา ซึ่งเป็นตัวแทนวิชาชีพแพทย์ทำหน้าที่ดำเนินการหาความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่อง นี้ เนื่องจากมีแพทย์หลายฝ่าย กังวลถึงการบังคับใช้แนวทางการแสดงสิทธิดังกล่าว เพราะอาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย และยังขัดต่อจริยธรรมแพทย์

ที่สำคัญ กฎกระทรวงดังกล่าวยังออกเกินกว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนด ดังนั้น เมื่อคณะกรรมาธิการสาธารณสุขมีความประสงค์ต้องการความชัดเจน จากการประชุมของกรรมการบริหารจึงมีความเห็นว่าจะนำเรื่องดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 เพื่อพิจารณาถึงการเคลื่อนไหว ซึ่งเบื้องต้นอาจดำเนินการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนกฎกระทรวงดังกล่าว


ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ สมาชิกวุฒิสภา และรองประธานกรรมาธิการสาธารณสุข กล่าวว่า ที่ต้องระวัง คือ การพิจารณาถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากหากญาติไม่เข้าใจจะนำปัญหามาสู่แพทย์ และเกิดเป็นประเด็นฟ้องร้องได้ ขณะเดียวกันการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ อาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง เนื่องจากการแสดงเจตนาดังกล่าว ถือเป็นการเสียสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ทำให้ไม่สามารถรับเงินกรณีเกิดความเสียหายจากการรักษาจำนวน 2 แสนบาททันที อีกทั้งกรณีผู้ทำประกันชีวิตอาจไม่ได้รับเบี้ยประกัน เนื่องจากอาจเข้าข่ายการฆ่าตัวตาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิที่ผู้ป่วยอาจเสียไปด้วย

ศ.นพ.วิรัติ กล่าวด้วยว่า ในส่วนผลกระทบทางการแพทย์ คือ หากแพทย์ไม่รู้กฎหมายและไปดำเนินการจะถูกข้อหา เจตนาฆ่า ซึ่งมีความผิดทางออาญาและมีสิทธิได้รับโทษขั้นสูงสุดถึงการประหารชีวิต สิ่งเหล่านี้เป็นช่องโหว่ทางกฎหมาย เพราะเมื่อทำตามกฎหมายหนึ่งก็อาจไปก้าวล่วงกฎหมายหนึ่งด้วย ดังนั้น การจะดำเนินการตามสิทธิการตายได้ จะต้องไม่มีช่องโหว่เรื่องดังกล่าว





ปล.

เรื่องนี้เรื่องใหญ่ครับ .. ไม่ใช่แค่ประเ็ด็นบอกว่า ชีวิตเรา จะทำอย่างไร ก็ได้ ..

ลองคิดว่า ถ้าเป็น ตัวเรา ป่วยหนัก ยังรู้สึกตัว แต่พูดไม่ได้ .. แล้วเผอิญมี ใครก็ไม่รู้ เอาหนังสือ ปลอม มาแจ้งแพทย์ว่า เราเขียนไว้ ... เพราะมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เราหยุดหายใจ เช่น เสมหะ อุดตัน หรือ ความผิดปกติของสารเคมีในเลือด ..ซึ่งสามารถรักษาแก้ไขได้ แต่ว่า แพทย์ได้รับหนังสือปลอมนั้น เลย ไม่ได้ให้การรักษา .. เราก็ถูกปล่อยให้ตายไปงั้นหรือ ???

หรือ ถ้าเป็นญาติเราทำประกันฯ แล้วพอเกิดอุบัติเหตุ รักษาใน รพ.ระยะหนึ่งแล้วเสียชีวิต .. ทางบริษัทประกันบอกว่า ไม่สามารถให้เงินสินไหมทดแทนได้ เพราะ ผู้เอาประกัน ไ่ม่ยินยอมให้แพทย์รักษาเอง (ปฏิเสธการรักษา) .. แล้วจะเป็นอย่างไร ???



ไม่ว่าเรื่องอะไร ผมว่า อย่าคิดว่า ฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ได้ประโยชน์ ที่มาคัดค้านเพราะเสียประโยชน์ .. ลองเปิดใจซะหน่อยดีกว่านะครับ ..

หมอ คนไข้ ญาติ .. เป็นเพียงแค่ "คำสมมุติ" เท่านั้น .. เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อย่าไปยึดติดกับคำแบบนั้นเลย ..



แถม ..กระทู้ที่เกี่ยวเนื่องกัน ....



ครม.ผ่านกฎกระทรวง สิทธิการตาย ......เปิดช่องหมอยุติรักษาตามเจตนาคนไข้ ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-12-2009&group=7&gblog=44


ผลสัมมนาเรื่องสมองตาย การตายตามกฎหมายที่แพทย์วินิจฉัย ... นพ.สุกิจ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-11-2009&group=7&gblog=38


ภาวะสมองตาย : ระยะสุดท้ายของชีวิตที่จะต่อชีวิตผู้อื่นได้

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-07-2008&group=4&gblog=53


พินัยกรรมแห่งชีวิต ...เรื่องน่ารู้ ... เตรียมเผื่อไว้ก่อน ก็ดี ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2009&group=8&gblog=76


(เก็บมาฝาก) สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาค ร่างกาย อวัยวะ ดวงตา และ โลหิต

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-01-2009&group=7&gblog=10


หมอ ... มีสิทธิ์... ที่จะปฏิเสธ .... คนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน..... หรือเปล่า ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-08-2009&group=7&gblog=29






Create Date : 01 กรกฎาคม 2554
Last Update : 1 กรกฎาคม 2554 15:24:08 น. 0 comments
Counter : 2270 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]