Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
2 กุมภาพันธ์ 2553

กว่าจะมาเป็นหมอผิวหนัง ... แพทย์ผิวหนังคือใคร ... อยากรู้ก็แวะมาอ่านได้เลย ...







กว่าจะมาเป็นหมอผิวหนัง

//www.pornkasemclinic.com/th/patient/



คำว่า "หมอผิวหนัง" ที่พวกเรารู้จักคุ้นเคยกันอยู่นี้ ประกอบด้วย หมอ 2 กลุ่ม คือ

- กลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองโดย แพทยสภา ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลมาตรฐานทางการแพทย์

- อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรดังกล่าว อาจเป็นเพียงผู้ ที่จบปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต (หรือที่เรียกกันว่า หมอทั่วไป) หรือ เป็นหมอ สาขาใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นหมอสูตินรีเวช หมออายุรกรรม หมอศัลยกรรม หมอ เด็ก หมอเอ็กซเรย์ หรือหมอแผนกอะไรก็ได้ที่เปิดรับรักษาโรคผิวหนัง


แปลกใจหรือครับ เรื่องนี้ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด เพราะ กฎหมายไทย ( และกระทั่งของสหรัฐอเมริกา ) ผู้ที่จบปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต และมีใบประกอบโรค ศิลป์มีสิทธิ์ที่จะทำการรักษาโรคอะไรก็ได้ ถ้าพูดภาษาชาว บ้านก็คงจะคล้าย ๆ กับทำนองที่ว่า "ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ" ไม่ผิด กฎหมาย ตราบใดที่ไม่ทำผิดศีลธรรมจรรยา ไม่ผิดมาตรฐานทางวิชาชีพ และไม่แอบ อ้างว่าเป็น "แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางผิวหนัง"




เส้นทางการเรียนหมอ



มีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากให้ลูกหลานเรียนหมอ แต่ไม่เคยรู้เลย ว่าเส้นทางนั้นเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงมีทั้งผู้ที่สมหวังและผิดหวังกับการมา เรียนหมออยู่ไม่น้อยในแต่ละปี

ระบบการเรียนหมอในปัจจุบันมีความแตกต่างไปจากเมื่อ 20 ปีก่อน มาก โดยส่วนตัวแล้ว มีความเห็นว่าระบบใหม่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นระบบที่ ไม่ดี ขาดความประณีตในการผลิตหมอ มีความบีบคั้นนักศึกษาแพทย์มากเกินไปในทุก ขั้นตอน ทำให้มีปัญหามากกว่าระบบเก่าในเรื่องคุณภาพและความรู้สึกรักวิชาชีพ ของหมอที่จบใหม่

ในระบบเดิมนั้น ผู้ที่ผ่านการสอบเอ็นทรานซ์เข้ามาแล้วจะต้อง เรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางชีวภาพ 2 ปี แล้วจึงเรียนวิชาพื้นฐานทางการ แพทย์ หรือที่เรียกว่าเตรียมแพทย์อีก 2 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าไปเรียนกับคน ไข้หรือที่เรียกว่าขึ้นวอร์ดอีก 2 ปี ต่อจากนั้นจึงจะมีการสอบขั้นสุดท้าย เพื่อตรวจสอบมาตรฐานของผู้ที่เรียนจบให้แน่ใจว่ามีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่ จะเริ่มทำงานเป็นหมอได้ ดังนั้นกว่าจะจบปริญญาแพทยศาสตร์ได้ต้องใช้ เวลา 6 ปีเต็ม หลังจากนั้นต้องฝึกงานอยู่ในโรงพยาบาลอีก 1 ปี จึงจะได้รับใบ อนุมัติให้ประกอบวิชาชีพได้ซึ่งก็คือใบประกอบโรคศิลป์นั่นเอง

ตลอดชีวิตการเรียนหมอใน 7 ปีแรกนั้น มีวิชาที่ต้องเรียนมากมาย จริง ๆ มากจนต้องถือว่า วิชาเกี่ยวกับทางผิวหนัง หรือ ตจวิทยา (ตจะ หรือ ตโจ แปลว่าผิวหนัง) เป็นวิชาปลีกย่อย ซึ่งไม่สำคัญ เท่ากับวิชาสูตินรีเวช ศัลยกรรม อายุรกรรม และกุมารเวช

ซึ่งก็เป็นความจริง ภายใต้เงื่อนไขกรอบเวลาที่มีอยู่เพียงน้อยนิดนั้น การบรรยายสอนเกี่ยวกับ วิชาผิวหนังมีเพียงไม่กี่ครั้งในช่วงที่เป็นนักศึกษาแพทย์ และในช่วงที่มา ฝึกงานในโรงพยาบาล 2 ปีสุดท้าย ก็มีการฝึกงานที่หน่วยผิวหนัง เพียง 9 คาบ ๆ ละ 3 ชั่วโมง จบแล้วก็เป็นอันว่าจบกันไป จึงไม่น่าแปลกใจเลย ว่าทำไมหมอทั่วไปและหมอที่อยู่ในสายวิชาอื่น ๆ มักจะมีพื้นฐานทางวิชาผิว หนังไม่เพียงพอ ถ้าการเรียนวิชาผิวหนังเป็นเรื่องง่าย คงไม่ต้องใช้เวลา อีก 3 - 4 ปี ในการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังหรอกครับ


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง


ผู้ซึ่งจบปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้ว มักจะต้องไปทำงานชดใช้ ให้กับรัฐบาลเป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นบางคนก็ไปเรียนต่อทาง อายุรศาสตร์ บ้างก็ต่อทางศัลยกรรมหรือสาขาอื่น ๆ อะไรก็ตามที่มีโอกาสได้ เรียน สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าฝึกอบรมทางผิวหนังนั้น จะต้องใช้ เวลา 3 - 4 ปี ในการศึกษา ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า แพทย์ประจำ บ้าน หรือ เรสซิเดนท์ ( Resident ) สาขาตจวิทยา

ปีแรกที่เรียนต้องทำงานในแผนกอายุรศาสตร์เหมือนกับผู้ที่มาฝึก เป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทางการแพทย์ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในช่วง 1 ปีนี้ต้องดูแลคนไข้ในโรงพยาบาล ทั้งที่เป็น ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกทุกโรคไม่ว่าจะเป็นโรคกระเพาะ โรคสมอง โรคหัวใจ หืด หอบ โรคเลือด โรคภูมิแพ้ สารพัด ตลอดไปจนถึงต้องอยู่เวรในห้องฉุกเฉิน และ ห้องไอซียูด้วย จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมหมอผิวหนังจึงสามารถให้คำ แนะนำ เกี่ยวกับโรคอื่นได้อย่างกว้างขวาง ไม่ใช่รู้เพียงแต่ทางผิวหนังเท่านั้น

สำหรับอีก 2 - 3 ปีต่อมา ต้องทำงานในแผนกผิวหนังทุกวัน เพื่อ สร้างทักษะและความรู้ที่จำเป็น ทุกวันตอนเช้าต้องไปตรวจคนไข้ตามวอร์ด ต่าง ๆ เสร็จแล้วกลับมาตรวจคนไข้ที่โอพีดีหรือห้องตรวจผู้ป่วยนอก บ่ายมีการ สอนวิชาพิเศษต่าง ๆ เช่น เรื่องภูมิแพ้ทางผิวหนัง โรคติดเชื้อต่าง ๆ เรื่อง การผ่าตัด เรื่องเลเซอร์ เป็นต้น

พอจบการศึกษาแล้วก็ต้องสอบในขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยแพทยสภา เรียกการสอบนี้ว่าเป็น "การสอบ บอร์ด" (บอร์ด ภาษาอังกฤษไม่ใช่ บอด อย่างในภาษาไทย) ผู้ที่เข้าสอบต้องสอบ ทั้งข้อเขียน ภาคปฏิบัติ และสอบสัมภาษณ์ เมื่อผ่านแล้วจึงจะได้รับการรับรอง จากทางแพทยสภาว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ เพียงพอที่จะดูแลรักษาปัญหา เรื่องผิวหนังให้แก่คนไข้ได้



โรคผิวหนังหมายถึงโรคอะไรบ้าง


เวลาพูดสรุปง่าย ๆ ต้องบอกว่า โรคที่มองเห็นได้ด้วยตาทั้งหมด จัดอยู่ในการฝึกอบรมของหมอผิวหนัง ยกเว้นลูกตา ฟัน และช่องปากส่วนในเท่า นั้น การฝึกเป็นหมอผิวหนังนั้น เน้นที่การฝึกให้เกิดความชำนาญในการใช้ตาดู แยกแยะรายละเอียดของโรคที่เห็น หมอผิวหนังได้เปรียบกว่าหมอสาขาอื่นตรงที่ ว่าผิวหนังเป็นอวัยวะที่เห็นได้จับต้องได้เลย แต่อวัยวะอื่น ๆ ส่วน ใหญ่ เช่น ตับ ไต หัวใจ ลำไส้ กระดูก เหล่านี้ไม่สามารถเอาออกมาดูโดยตรง ได้ ดังนั้นการฝึกความเชี่ยวชาญจึงต่างกัน หมอหัวใจจะเชี่ยวชาญการฟัง แต่ หมอผิวหนังจะเชี่ยวชาญทางการดูแยกแยะรายละเอียดต่าง ๆ

โรคที่จัดอยู่ในทางผิวหนังจึงครอบคลุมวงกว้างมากตั้งแต่เส้นผม บนศีรษะ หนังศีรษะ รังแค หิด เหา เนื้องอกบนศีรษะ ใบหู หนังตา จมูก แผลหรือ เนื้องอกในปาก โรคปากเปื่อย เริม สิว ฝ้า กระ ขนคิ้ว ขนตาม ตัว เล็บ ไขมัน เส้นเลือดขอด ตลอดลงไปจนถึงเชื้อราและตาปลาใต้ฝ่าเท้าก็อยู่ ในสาขาผิวหนังทั้งสิ้น

ที่เห็นว่าแปลกที่สุดและคนส่วนใหญ่ไม่รู้ ก็คือ หมอผิวหนังเป็น ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับทางกามโรคเป็นอย่างดีด้วย ทั้งนี้เนื่องจากอาการ แสดงออกของกามโรคมักจะเป็นแผลหรือเป็นหูดเป็นเนื้องอกให้เห็นได้ชัดเจน ใน ช่วงระหว่างการฝึกอบรมเป็นหมอผิวหนังนั้นแพทย์ประจำบ้านต้องใช้เวลา 1 วันใน ทุก ๆ สัปดาห์ตรวจรักษากามโรคโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามเนื่องจากผู้ที่มารับการ ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไปมีมาก ดังนั้นผู้ที่เป็นกามโรคจึงมักไม่มารับการ ตรวจรักษาตามคลีนิคผิวหนังทั่วไป เพราะไม่อยากให้ใครพบเห็นอยู่แล้วด้วย



เรียนต่อนอก เรียนต่อไป เรียนไม่รู้จบ


หลังจากที่จบเป็นหมอผิวหนังแล้ว บางส่วนก็ยังอยากเรียนรู้ให้ ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งก็นิยมที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศอีกอย่าง น้อย 1 - 2 ปี ในทางด้านที่ตนเองสนใจ เช่น ด้านเลเซอร์ ด้านการผ่าตัด ด้าน เส้นเลือดขอด ด้านพันธุกรรม ด้านภูมิแพ้ เป็นต้น โดยสรุปกว่าจะมานั่งตรวจ รักษาคนไข้ได้อย่างมั่นอกมั่นใจต้องใช้เวลารวม 14 - 15 ปี คือ เรียน แพทย์ 6 ปี ฝึกงาน 1 ปี (ใช้ทุนอีก 2 - 3 ปี) เรียนต่อสาขาผิว หนัง 3 ปี แล้วเรียนต่อย่อยเฉพาะทางไปอีก 1 - 2 ปี หมอผิวหนังที่ตรวจรักษา คุณอยู่ทุกวันนี้ต้องเรียนรู้เรื่องเฉพาะทางผิวหนังมากกว่าหมออื่น ๆ ที่ไม่ ได้เรียนทางผิวหนังโดยตรง อีก 3 - 5 ปี

และเนื่องจากความรู้ความก้าวหน้าทางการแพทย์มีการพัฒนาไปอย่าง รวดเร็ว การเรียนรู้จึงต้องทำต่อเนื่องไปอีกทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุก ปี จนกว่าจะหยุดทำงานดูแลรักษาคนไข้ หรือไม่ก็เสียชีวิตไป ผู้ที่หยุดติดตาม ศึกษาค้นคว้าต่อ จะกลายเป็นคนล้าหลัง (แพทย์ปัจจุบันแผนโบราณ) ภายในเวลา เพียงไม่กี่ปี

มาถึงตอนนี้ คุณก็คงพอจะตอบตัวเองได้ว่า หมอผิวหนังประเภทที่ เปิดรับรักษาโรคผิวหนังโดยที่ไม่ได้จบการฝึกอบรมมาเฉพาะทางนั้น แตกต่างกับ ผู้ที่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังอย่างไร

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า หมอที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมของ แพทยสภาจะเป็นผู้ที่ไม่เก่ง รักษาไม่ดี ไม่ได้ผล มีหลายท่านที่ผมรู้จักดี ซึ่งไม่ได้จบทางผิวหนังมาโดยตรง แต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ ตลอดจนมี ฝีมือในการรักษาโรคผิวหนังเป็นอย่างดี อาศัยที่เป็นผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้า ด้วยตัวเองอย่างจริงจังและทุ่มเท ซึ่งเป็นสิ่งที่สมควรและถูกต้อง

ต่างจาก อีกพวกหนึ่งที่ไม่ยอมศึกษาค้นคว้าจริงจัง อาศัยการลองผิดลองถูกไป เรื่อย ๆ พวกนี้ก็เก่งได้เหมือนกันครับ แต่กว่าจะเก่งก็ต้องผ่านไป "หลาย ศพ" คงไม่มีใครอยากเป็นหนึ่งในนั้นหรอกนะ จริงไหม…








แพทย์ผิวหนังคือใคร


ประชาชนทั่วไปอาจกำลังสับสนว่า แพทย์ผิวหนังคือใคร จริง ๆ แล้วแพทย์ที่ดูแลปัญหาด้านผิวหนังอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง หรือ อาจเรียกสั้น ๆ ว่า “แพทย์ผิวหนัง” หรือ Dermatologist ซึ่งในประเทศไทยมีหลักสูตรการอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาตจวิทยา (Residency Training) ที่ต้องใช้เวลาเรียน 4 ปี ซึ่งในปัจจุบันมีสถาบันฝึกอบรมในระดับนี้ 5 แห่ง ได้แก่

1.1 สาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.2 หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

1.3 ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

1.4 แผนกผิวหนัง กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

1.5 สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ใน แต่ละปีจะมีแพทย์ที่จบหลักสูตรการอบรมและสอบผ่านจนได้รับ “วุฒิบัตร” แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาตจวิทยา จากแพทยสภา ประมาณ 20 คนเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีแพทย์จำนวนหนึ่งที่ผ่านการอบรม หลักสูตรอื่นและได้ทำงานดูแลผู้ป่วยโรคผิวหนังมาระยะหนึ่ง ก็มีสิทธิสอบ “หนังสืออนุมัติ” แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาตจวิทยา จากแพทยสภาได้ ซึ่งถ้าสอบผ่านก็จะได้รับ “หนังสืออนุมัติฯ” (แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมาทางสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยและแพทยสภาได้ยกเลิกการสอบ หนังสืออนุมัติฯ ไป)

แพทย์ในกลุ่มนี้ซึ่งถึงแม้ว่าแพทย์ที่มี วุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาตจวิทยาแล้วก็ตาม ส่วนใหญ่ก็ยังมาเข้าประชุมด้านวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย การประชุม Dermatological Interhospital Conference เป็นต้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ของตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ

แพทย์ที่มี วุฒิบัตรฯ หรือ หนังสืออนุมัติฯ สาขาตจวิทยา นี้เท่านั้นที่จะเป็น Dermatologist หรือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง หรือ ตจแพทย์ ตามระเบียบของแพทยสภา และเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย แพทย์ในกลุ่มนี้สามารถทำการตรวจรักษาโรคผิวหนังและดูแลปัญหาด้านผิวพรรณความ งามได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์เหล่านี้ได้ที่

//www.dst.or.th/list_search.php

//www.tmc.or.th/service_check_doctor.php

อนึ่ง แพทย์ที่จบหลังสูตรผิวหนังจากต่างประเทศ เช่น Diplomate American Board of Dermatology เป็นต้น ถ้าไม่ได้มาสอบเพื่อรับ "หนังสืออนุมัติฯ" ก็ไม่นับว่าเป็นแพทย์ผิวหนังในประเทศไทย


2. แพทย์ที่ทำงานด้านโรคผิวหนัง อาจเรียกว่า “แพทย์ดูแลโรคผิวหนังและผิวพรรณทั่วไป” ซึ่งไม่ใช่ Dermatologist เพราะไม่ได้ผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศ ไทยและแพทยสภา แต่สามารถเป็นสมาชิกสมทบของสมาศมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยได้ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้ด้านโรคผิวหนังและผิวพรรณมากขึ้น

แพทย์ในกลุ่มนี้มีความแต่ต่างกันอย่างมากในแต่ละคน เพราะบางท่านอาจผ่านการอบรมด้านผิวหนังจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่าง ประเทศแต่เป็นหลักสูตรที่สั้นและไม่ใช่หลักสูตรเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญ (แพทย์ประจำบ้าน หรือ Residency Training) ซึ่งมีหลักสูตรตั้งแต่ 4 เดือน, 10 เดือน, 1 ปี, และ 2 ปี

หรือ แพทย์บางท่านอาจไม่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรใด ๆ ที่เกี่ยวกับด้านผิวหนังเลย เพียงแต่มีความสนใจทำงานด้านผิวหนัง หรือ เรียนรู้ขณะทำงานไปเรื่อย ๆ แพทย์เหล่านี้อาจนำวิธีการรักษาที่แปลกใหม่แต่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่มี หลักฐานทางวิชาการมาใช้ ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการได้ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา


ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะเข้ารับบริการปรึกษาด้านโรคผิวหนังหรือปัญหาด้านผิวพรรณความ งานครั้งต่อไป ทุกท่านควรใส่ใจศึกษาถึงระดับการศึกษาอบรมด้านโรคผิวหนังของแพทย์ผู้ให้การ ดูแลรักษาท่านให้ถี่ถ้วน รวมทั้งหากต้องมีการทำหัตถการต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการรักษาและหัตถการด้านผิวหนังมากมาย เช่น การทำเลเซอร์, IPL, การลอกหน้า, การขัดผิว, การฉีดสารต่าง ๆ เป็นต้น

การทำหัตถการต่าง ๆ เหล่านี้บางอย่างวิธีการและเครื่องมืออาจไม่ผ่านมาตรฐานทางวิชาการและความ ปลอดภัยของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงควรสอบถามถึงวิธีการ ผลดี ผลเสีย ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งค่าใช้จ่าย ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยหัตถการเหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของตัวท่านเอง

นพ. จิโรจ สินธวานนท์
ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง
23 พฤศจิกายน 2552





ปล. มีคนตั้งคำถามมา ผมก็ไปถามอากู๋ต่อ ... ได้รับคำตอบที่น่าสนใจ เลยนำมาแปะไว้ซะเลย


Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2553 15:49:39 น. 4 comments
Counter : 8264 Pageviews.  

 
สุดยอดค่ะ คุณหมอ!

ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันนะคะ ^^

แอบแปลกใจเลย สาขานี้สอบวุฒิฯแพทยสภาจบแค่ปีละ 20 คนเองแฮะ


โดย: Cheriez วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:17:19:43 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งกันกันค่ะ
Black Friday Nikon D5100


โดย: saya (karkung ) วันที่: 7 กันยายน 2554 เวลา:22:16:25 น.  

 

เจาะลึก...เส้นทางชีวิต 'แพทย์เสริมสวย'

ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555


"ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" สำนวนสุภาษิตไทยที่บ่งชี้ว่า คนเราจะสวยได้ก็ด้วยการรู้จักแต่งตัว ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่เขินอายที่จะเดินเข้าหาคลินิกศัลยกรรมความงาม หรือที่เรียกกันว่าไปหาหมอเสริมสวย ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศไทยกว่า 1,000 แห่ง ปรากฏอยู่ทั่วทุกแหล่งชุมชนและห้างสรรพสินค้าชื่อดัง มีการตกแต่งคลินิกหรือสถานที่ให้บริการลูกค้าให้ดูน่าเชื่อถือ เหมือนเป็นแหล่งเฉพาะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและเทคโนโลยีความงาม

แต่ในความเป็นจริงแล้ว แพทย์หรือหมอ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนหรือเจ้าของคลินิกเหล่านี้ มีจำนวนน้อยมากที่เรียนจบแพทย์ผิวหนัง จนได้ "วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง" จากแพทยสภา (Board of Dermatology) จากตัวเลขสถิติของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศ พบว่ามีเพียง 448 คนเท่านั้น ดังนั้นหมอที่ประจำอยู่คลินิกที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วไทยนั้น ส่วนใหญ่จึงไม่ใช่ "แพทย์ผิวหนัง" หรือ เดอร์มาโทโลจิสต์ (Dermatologist) แต่เป็นเพียงหมอที่เรียนจบมาทางอายุรกรรมหรือสาขาอื่นๆ แล้วนำประกาศนียบัตรมาเปิดคลินิกเสริมสวย แล้วติดป้ายอ้างว่าเป็น หมอผู้เชี่ยวชาญความงาม!!

ผศ. พญ.สุวิรากร โอภาสวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง ตัวแทนจากสมาคมฯ เปิดเผยให้ฟังว่า คำพูดที่ถูกต้องในการเรียกแพทย์เรียนจบด้านผิวหนังโดยตรงคือ "ตจแพทย์" หรือ "เดอร์มาโทโลจิสต์" การจะได้ใบรับรองเป็นตจแพทย์ ต้องสอบเข้าเรียนสถาบันแพทย์เหมือนนักเรียนหมอทั่วไปเรียน 6 ปี จบออกมาก็ไปเป็นหมอฝึกหัดใช้ทุน 3 ปี ระหว่างนั้นคือ เมื่อหมดสัญญาใช้ทุนจากรัฐบาล จึงเลือกได้ว่าจะไปเป็นเรียนต่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือสเปเชี่ยลลิสต์ด้านไหน แต่ละด้านไม่เหมือนกันอย่างน้อยอีกประมาณ 3-4 ปีแล้วแต่สาขาเฉพาะ สำหรับผู้เลือกเรียนเป็นตจแพทย์จะเรียนต่อที่ "สถาบันโรคผิวหนัง" ใช้เวลาอีก 4 ปี คือเริ่มเรียนอายุรกรรมทั่วไปอีกครั้งประมาณ 1 ปีเต็ม เพราะหมอผิวหนังต้องรู้เรื่องโรคทั่วไป และทำงานเหมือนแพทย์ประจำด้านอายุรกรรม หลังจากนั้นก็เรียนเรื่องผิวหนังโดยเฉพาะอีก 3 ปี พอเรียนจบไม่ใช่ว่าจะได้ใบรับรองง่ายๆ แต่ต้องไปสอบเพื่อให้ได้ใบวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังจากแพทยสภา

"ตอนเรียนแพทยศาสตบัณฑิต 6 ปี ก็เหมือนเรียนปริญญาตรีและปริญญาโท ทุกคนต้องเรียนวิชาโรคผิวหนังพื้นฐานที่พบบ่อย แต่ไม่ได้ตรวจหรือศึกษาคนไข้ผิวหนังมากนัก แต่ถ้ามาเรียนเฉพาะทางเพื่อเป็นหมอโรคผิวหนังอีก 4 ปี เปรียบเสมือนได้วุฒิบัตรปริญญาเอกด้านผิวหนัง แต่ถ้าหมอคนไหนเลือกไปเรียนต่อสถาบันผิวหนังจากต่างประเทศ ควรต้องจบระดับพีเอชดีหรือปริญญาเอกเช่นกัน แล้วก็มาสอบเพื่อได้ใบวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังจากแพทยสภา"

สาเหตุที่ "ตจแพทย์" ในเมืองไทยมีอยู่น้อยมาก ทั้งที่มีตลาดรองรับอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องการใบประกาศนียบัตรแพทย์ผิวหนังมาติดโชว์ลูกค้าหน้าร้านนั้น พญ.สุวิรากร อธิบายว่า สืบเนื่องจากข้อจำกัดของสถาบันที่จะเปิดสอนวิชานี้ ทำให้แต่ละปีรองรับแพทย์ที่อยากเรียนต่อได้เพียงไม่เกิน 20 คน การสอบแข่งขันมีสูงมาก และมีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องเป็นหมอที่สังกัดและมีตำแหน่งในโรงพยาบาลรัฐเท่านั้น หลายคนจึงหันไปเรียนต่อคอร์สระยะสั้นๆ ที่ต่างประเทศแทน อย่างไรก็ตาม กำลังมีการวางแผนจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์ผิวหนังขึ้นมาเป็นสถาบันใหม่ เพื่อรองรับความต้องการในส่วนนี้

ด้านแหล่งข่าวในแพทยสภาให้ข้อมูลว่า จำนวนหมอที่ได้วุฒิบัตรเป็นหมอผิวหนังมีน้อยมาก และกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดขนาดใหญ่ ทำให้มีหลายจังหวัดที่เปิดคลินิกรักษาโรคผิวหนังแต่ไม่มีตจแพทย์เลยในจังหวัดนั้น ทั้งหมดเป็นแค่หมออายุรกรรมทั่วไปหรือหมอที่ไม่ได้จบเป็นตจแพทย์โดยตรง ทางแพทยสภาตรวจสอบพบหลายครั้งแล้ว คลินิกส่วนใหญ่ชอบอ้างว่ารักษาโดย "แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง" "แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม" "แพทย์ศัลยกรรมความงาม" ฯลฯ ซึ่งพวกนี้เป็นคำเลี่ยง จริงๆ แล้วตำแหน่งเหล่านี้ไม่มี ต้องใช้ว่า "แพทย์โรคผิวหนัง" เท่านั้น ห้ามเติมห้ามต่ออะไรทั้งสิ้น เมื่อแพทยสภาตรวจพบว่าคลิกนิกแห่งไหนติดสติกเกอร์หรือติดป้ายใช้คำโฆษณาเหล่านี้ ก็จะส่งจดหมายเตือนไป พวกเขาก็จะปลดป้ายลง โดยเฉพาะคลินิกความงามที่มีหลายสาขาทั่วประเทศจะใช้กลยุทธ์เรียกลูกค้าหรือสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าโดยใช้คำเหล่านี้ แต่แพทยสภาไม่สามารถลงโทษอะไรได้มากนัก เพราะตามหลักกฎหมายแล้ว ใครเรียนจบปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และมีใบประกอบโรคศิลปะ ก็สามารถเปิดคลินิกรักษาโรคอะไรก็ได้

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มหมอที่ไปเรียนต่อต่างประเทศในคอร์สสั้นๆ เช่น การทำเลเซอร์ ผ่าตัดเส้นเลือดขอด ภูมิแพ้ ฯลฯ แล้วได้วุฒิบัตรย่อยเฉพาะทางแบบ 3-6 เดือน แล้วเอามาติดโชว์ในคลินิก ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ดังนั้นวิธีการเดียวที่คนไข้หรือลูกค้าจะรู้ความจริงคือ ก่อนตัดสินใจรักษาคลินิกไหนก็ตาม ให้ถามว่ามีวุฒิบัตรเป็นแพทย์โรคผิวหนังหรือเปล่า ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็น "เสียเงินแล้วยังเสียใจ" แม้ไม่มีตัวเลขที่แน่นอน แต่กลุ่มที่โดนหมอเทียมหลอกทำศัลยกรรมจนหน้าพังยับเยินนั้น มีจำนวนไม่น้อย แต่ไม่กล้าออกจากบ้านมาร้องเรียนเพราะกลัวเสียหน้า จึงขอเตือนให้ตรวจสอบข้อมูลรายชื่อแพทย์ผิวหนังได้ ที่เว็บไซต์ //www.dst.or.th หรือสอบถามที่ 0-2716-6857


ทีมข่าวรายงานพิเศษ


ปล.

ค้นหารายชื่อแพทย์ที่แพทยสภารับรองฯ ได้ที่

//www.tmc.or.th/service_check_doctor.php

เช่น

ถ้าค้นหาแพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง ก็ค้นสาขา " ตจวิทยา "

ถ้าค้นหาแพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ ก็ค้นสาขา " ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ "

หรือ จะค้นหาจาก ชื่อ นามสกุล แพทย์โดยตรงเลย ก็ได้เช่นกัน




โดย: หมอหมู วันที่: 25 เมษายน 2555 เวลา:14:16:01 น.  

 


เล็งทำเกณฑ์จัดระดับแพทย์ผิวหนัง ดัดหลัง บ.เอกชนแอบจัดอบรม

กรมการแพทย์ เผย บริษัทเอกชนจัดอบรมแพทย์ฉีดฟิลเลอร์ โบท็อกซ์ เอง ชี้ไม่ได้มาตรฐาน แก้เกมเสนอเกณฑ์พิจารณาแพทย์ประกอบกิจการคลินิกผิวพรรณถึง 3 ระดับ ลงใน MOU “การกำกับดูแลสถานพยาบาล” ลั่นทุกระดับต้องมีเอกสารฝึกอบรมจากสถาบันที่แพทยสภารับรอง หวังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางดำเนินคดีทางกฎหมาย หากพบการกระทำความผิด

วันนี้ (10 ม.ค.) ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “การกำกับดูแลสถานพยาบาล” ระหว่าง กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า การลงนาม MOU ในครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สธ.ทั้งด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการใช้บริการสาธารณสุขเกี่ยวกับสถานพยาบาล ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ รวมไปถึงการบริหารยาและเวชภัณฑ์คงคลัง ให้เป็นไปตามกฎหมายด้วยความเรียบร้อย สะดวกรวดเร็ว เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ

นายพสิษฐ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการบูรณาการในการปฏิบัติงานจะแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่

1.ประสานความร่วมมือการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนทรัพยากรและองค์ความรู้ในการดำเนินการกำกับดูแลสถานพยาบาล

2.กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้ในสถานพยาบาล ได้แก่ ยา วัตถุเสพติด อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย

3.เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์ และผู้บริโภค



ด้าน นพ.จิโรจ สินธวานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กรมการแพทย์ได้เสนอเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบการคลินิกผิวหนังและคลินิกผิวพรรณ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินและพิจารณาสถานประกอบการวิชาชีพเวชกรรมที่ต้องการเข้าร่วมโครงการกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะพิจารณาประเภทของแพทย์ผู้ประกอบกิจการ 3 ระดับ ดังนี้

1.แพทย์ผู้ประกอบกิจการ จะต้องมีวุฒิบัตรสาขาตจวิทยา หรือ ได้รับประกาศนียบัตรในการฝึกอบรมด้านผิวหนังหลักสูตรสองปีขึ้นไป จากสถาบันฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองโดยแพทยสภา ไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมในการให้การรักษา และการฉีดฟิลเลอร์ ต้องมีเอกสารแสดงตัวแพทย์ผู้ทำการรักษา ได้รับการฝึกใช้จากสถาบันตจวิทยาที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา ที่มีทั้งหมด 5 หน่วยงาน คือ รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.พระมงกุฏ และสถาบันโรคผิวหนัง

2.แพทย์ที่ได้รับประกาศนียบัตรในการฝึกอบรมด้านผิวหนังหลักสูตรหนึ่งปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงสองปี จากสถาบันฝึกอบรมที่แพทยสภารับรอง จะต้องได้รับการฝึกใช้เครื่องมือ หรือยาฉีดในกลุ่มโบทูลินัม ท็อกซิน (โบท็อกซ์) หรือฟิลเลอร์ และต้องมีเอกสารรับรองการฝึกใช้เครื่องมือหรือยาฉีดดังกล่าวจากสถานฝึกอบรมตจวิทยาที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา

3.แพทย์ที่ไม่เคยได้รับประกาศนียบัตรในการฝึกอบรมด้านผิวหนัง หรือเคยได้รับประกาศนียบัตร ในการฝึกอบรมด้านผิวหนัง หลักสูตรน้อยกว่าหนึ่งปี หากรักษาโดยใช้โบท็อกซ์ หรือฟิลเลอร์ ต้องมีเอกสารว่าได้รับการฝึกใช้เครื่องมือ หรือยาฉีดจากบริษัทผู้จำหน่าย และต้องมีเอกสารว่าได้รับการฝึกใช้เครื่องมือ หรือยาฉีดในกลุ่มดังกล่าวจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย


“ตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา แพทย์ที่จบแพทยศาสตรบัณฑิตสามารถผ่าได้ตั้งแต่หัวถึงเท้า แต่แพทย์ที่จบทุกวันนี้ทำงานไม่ครบ 1 ปี ก็ถูกซื้อตัวจากคลินิกความงาม ทั้งที่ไม่มีความรู้เรื่องผิวหนัง มีเพียงแต่ทำยอดให้ได้ตามสั่ง รวมถึงไม่รู้จริงในการแก้ไขโรค เช่น เจอความผิดปกติบนใบหน้า ก็วินิจฉัยว่า เป็นสิวหรือเป็นฝ้าไปทั้งหมด หรือพูดเรื่องสเต็มเซลล์ ฉีดกลับไปที่หน้าบ้าง ใช้อะไรที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ทำให้วงการแพทย์ไม่สบายใจ และอยากให้ใช้มาตรฐานการอบรมตามสถานที่ได้รับการฝึกอบรมของแพทยสภา มาเป็นมาตรฐานในการประกอบกิจการ ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังต้องมีการหารือกับแพทยสภา เพื่อกำหนดในการออกใบประกอบโรคศิลป์ต่อไป” รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว

นพ.จิโรจ กล่าวด้วยว่า รมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยในการดูแลเรื่องของการเป็นสถานพยาบาล และคลินิกเถื่อน โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางรักษา ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีการอบรมกันเองจากบริษัทเอกชนที่จัดทำฟิลเลอร์ หรือโบท็อกซ์ ซึ่งบางครั้งอบรมเพียงไม่กี่วัน แล้วแจกประกาศนียบัตรไปแขวน ทำให้ขาดมาตรฐาน เพราะฉะนั้น เมื่อหลักเกณฑ์ที่กรมการแพทย์เสนอได้นำไปบรรจุอยู่ใน MOU แล้ว ก็จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการตามกฎหมายความควบคุมของแต่ละหน่วยงานได้ทันที




ปล. ความเห็นผม

ทำเพิ่มก็ดีครับ แต่ผมคิดว่า ปัญหาอยู่ที่

๑. การควบคุมดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ... ตอนนี้ ผมคิดว่า ไม่ต้องคิดอะไรเพิ่ม ทำ MOU ฯฃฯ เอาแค่ กฏระเบียบเดิมที่มีอยู่ ก็ยังไม่สามารถควบคุมดูแลกำกับได้เลย

๒. ความรู้ ความเข้าใจของประชาชน ผู้บริโภค ... ถ้าประชาชน(ผู้บริโภค) มีความรู้เพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เขาก็จะคิดปกป้องสิทธิของตนเอง .. สำหรับแพทย์ เกือบทั้งหมด รู้อยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าแพทย์ทำผิด ก็จัดการไปเลยไม่ต้องรอ




โดย: หมอหมู วันที่: 11 มกราคม 2556 เวลา:15:51:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]