<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
8 กรกฏาคม 2554
 

เลียบริมโขง เมืองอุบล : Part XVII


ความเดิมตอนที่แล้ว

หลังจากกินอิ่มแล้ว ก็ได้เวลาเดินเที่ยวกันแบบตัวใครตัวมัน อีกครั้ง
ตกลงกันแบบนั้น แต่พอเดินตามกันออกจากร้านอาหาร
ก็พากันเดินตามเรามาเรื่อยๆ ...เหมือนจะเป็นเราที่ต้องเลือกจุดแวะชม

ผ่านวัดศรีอุบลที่แวะเยือนเย็นวานนี้ ..ซึ่งยังไม่ได้เก็บรายละเอียดอะไรนอกจากกราบพระประธานในพระอุโบสถ
บ่ายวันนั้น ก็เลยแวะเข้าไปชมสิ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ของวัด
มีข้าวของเครื่องใช้ที่รับบริจาคมาจัดแสดงในแนววิถีชีิวิตของชุมชนแต่เก่าก่อน
ซึ่งแนวคิดแบบนี้ "ต้องสนับสนุน" คนพื้นที่ควรต้องรู้จัก "รากเหง้า" ของตนเองก่อน
จิตสำนึกในการ "พิทักษ์รักษาสมบัติ" จึงจะเกิดขึ้นในจิตใจ
>> เรามีความเห็นแบบนี้แหละ

ออกจากพิพิธภัณฑ์ของวัด ก็ถึงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
ยังมีเวลาให้เข้าชมอีก 1 ชั่วโมง ...เราก็มุ่งหน้าเดินเดี่ยวเข้าไปก่อนเลย
เพื่อนๆ จะเดินตามมารึป่าว ไม่ได้สนใจ



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เดิมเป็นศาลากลางจังหวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ บนที่ดินที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (มณฑลอีสาน) ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ได้ทรงขอมาจากทายาทของราชบุตร (สุ่ย บุตรโลบล) คือ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรสิทธิประสงค์) เพื่อให้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับก่อสร้างสถานที่ราชการ

ลักษณะอาคาร เป็นตึกชั้นเดียวยกพื้นสูง ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงปั้นหยา แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลาง มีระเบียงทางเดินและห้องขนาดเล็กอยู่โดยรอบ เหนือกรอบประตูและหัวเสารับชายคา ที่ระเบียงประดับด้วยไม้ฉลุลายพันธุ์พฤกษา ในปี พ.ศ. 2526 นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบอาคารศาลากลางหลังเก่าให้กรมศิลปากรทำการบูรณะ และใช้ประโยชน์จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อการบูรณะซ่อมแซมตัวอาคารและจัดแสดงนิทรรศการถาวรแล้วเสร็จ กรมศิลปากรได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2532




พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี จัดแสดงนิทรรศการถาวร โดยจึงมุ่งเน้นเรื่องราวด้านต่างๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้าน และ ชาติพันธุ์วิทยา โดยแบ่งหัวข้อเรื่องนิทรรศการเป็น 10 ห้อง


เราเดินชมไป ท่ามกลางความเงียบเหงา...ใกล้เวลาเลิกงานของเจ้าหน้าที่แล้ว
เราเดินผ่านห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง ก็ได้ิยินเสียงเจ้าหน้าที่ประจำห้อง ปิดหน้าต่าง ปิดประตู ตามหลัง
ไปเรื่อยๆ แบบเร่งๆ เพราะเสียงปิดประตูนั่นแหละ ...เกรงใจ เจ้าหน้าที่คงอยากรีบกลับอ่ะนะ
เพิ่งบ่ายสามโมงครึ่งเองนะ เอาเถอะ ...ถึงไงเราก็มีหนังสือคู่มือนำชม ซื้อกลับมานั่งอ่านนั่งดูภาพเพิ่ิมเติมได้เมื่อกลับบ้าน



ออกจากพิพิูธภัณฑ์ก็เจอ "ศาลหลักเมือง" แวะกราบลาก่อนกลับบ้าน
ลาท้าวคำผงผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชาธานี



ไปเดินวนพิจารณาอนุสาวรีย์เทียนพรรษา ...สัญลักษณ์ประจำเมือง
ชาวบ้านที่นั่งเล่นบอกว่า แบบที่ปั้นขึ้นนี้ เป็นแบบของ "ต้นเทียนที่ชนะการประกวด"
ประกวดระดับจังหวัด ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติก็ไม่รู้นะ



เรารู้สึกว่า "งานแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี" กำลังแผ่วลง...
จังหวัดนครราชสีมา โคราชบ้านเรากำลังแรงขึ้นนะ
แต่ถึงยังไง ททท. ก็ให้การสนับสนุน "งานแห่เทียน" ของจังหวัดนี้เช่นเดิม
และพยายามช่วยจัดให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมขึ้นเรื่อยๆ

เดินไปเดินมาจนทั่วสวนสาธารณะกลางเมือง หรือ "ทุ่งศรีเมือง" แห่งนี้หมดแล้ว
เวลายังเหลือเฟือ ก็เลยกางแผนที เดินไปวัดแจ้ง ที่เพื่อนคนนึงไปแล้วเมื่อเช้า




วัดแจ้ง ตั้งอยู่ที่ถนนสรรพสิทธิ์ อ.เมือง ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2431 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยการดำริของเจ้าราชบุตร (หนูคำ) หนึ่งในคณะอาญาสี่ผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น ต่อมา พ.ศ.2455 จึงได้มีการสร้างโบสถ์ขึ้น สันนิษฐานว่าช่างที่สร้างสิมวัดแจ้งน่าจะเป็นช่างหลวงของเมืองอุบล ซึ่งชื่อวัดนี้มีเรื่องสืบเล่าต่อมาว่าเกิดจากการที่ผู้สร้างเกิดการเห็นแจ้งในกุศลบุญ (ในภาษาอีสานแจ้งหมายความว่าความสว่าง)




สิมวัดแจ้ง เป็นสถาปัตยกรรมแบบอีสาน แปลนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 10 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตัวอาคารก่อด้วยอิฐฉาบปุน ฐานเอวขันธ์แบบปากพานบันใดขึ้นด้านหน้า บันใดเดียว ราวบันใดปั้นปูนเป็นรูปจระเข้ 2 ตัว มีมุขเฉลียงอยู่ด้านหน้า หน้าต่างด้านข้างด้านละ 3 ช่อง ผนังด้านหลังก่อทึบถึง จั่วไม่มีหน้าบัน เสาด้านหน้าเป็นเสาไม้กลม 4 ต้น หน้าบันสลักไม้เป็นลวดลายแบบพื้นบ้านผสมลายไทยภาคกลาง บนสุดเป็นภาพอินทร์ทรงช้างเอราวัญ หน้าบันปิดทองร่องกระจก ทวยไม้จำหลักเป็นภาพพญานาค หลังคาชั้นเดียวมีพะไร (ปีกนก) ทางด้านข้าง รวยลำยองแบบไม่มีนาคสะดุ้ง(รวยระกามอญ) ช่อฟ้า(โหง่)ใบระกาและหางหงส์แบบอีสาน คล้ายหอแจกวัดศรีอุบลรัตนาราม เดิมมุงแป้นไม้ ต่อมาเปลี่ยนเป็นมุงด้วยกระเบื้องดินขอ

สิมวัดแจ้งมีการบูรณะถึง 3 ครั้ง คือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2495, 2513 และ 2527 ตามลำดับ โดยครั้งสุดท้ายกรมศิลปกากรทำการบูรณะที่จะอนุรักษ์สภาพเก่าของเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด จึงเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี


เย็นแล้ว ถ่ายภาพย้อนแสง ก็เลยได้ภาพที่สวยพอจะอวดได้ ไม่มากนัก
แต่เราจดจำ ประทับความงดงาม ของงานแกะสลักไม้ เอาไว้ในใจเรียบร้อยแล้ว
เดินย้อนกลับ ใกล้ถึงเวลานัดหมายแล้ว
เวลาของการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีของพวกเราหมดแล้ว
ปิดท้ายมื้อสุดท้ายของทริป ด้วยก๋วยเตี่ยวเนื้อเจ้าดัง แต่เราดันจำชื่อร้านไม่ได้
น้ำซุปเข้ม เนื้อเปื่อยนุ่ม ...อิ่ม



รถที่จ้างไว้ มารับตามเวลานัด ...พาพวกเราทั้ง 6 มุ่งหน้าสนามบิน
เช็คอิน ...นั่งรอเวลา...เดินทางกลับบ้าน



ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ก็แชร์ค่าแท็กซี่ แยกย้ายกันที่คลองสาน
ถึงบ้านใครบ้านมันโดยสวัสดิภาพถ้วนหน้า

...พบกันใหม่ในทริปต่อไป




ปล.
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
>> //www.thailandmuseum.com/ubonratchathani/ubonratchathani.htm
ข้อมูลวัดแจ้ง >> //guideubon.com/news/view.php?t=18&s_id=15&d_id=9



Create Date : 08 กรกฎาคม 2554
Last Update : 9 กรกฎาคม 2554 10:44:41 น. 5 comments
Counter : 1991 Pageviews.  
 
 
 
 
เมืองอุบล ฯ มีเสน่ห์
สบายดีนะคะ
อิจฉาคนได้เที่ยวกำไรชีวิตทั้งนั้น
คิดถึงนะคุณนัทธ์
อยากให้มีโอกาสมาอยู่บ้านนอกอากาศดีๆ
ปั่นจักรยานแดดร่มลมตก...สูดหายใจเต็มปอด
ยังรู้สึกทุกวันว่า...ฉันช่างโชคดี...
 
 

โดย: โมกสีเงิน วันที่: 11 กรกฎาคม 2554 เวลา:13:16:13 น.  

 
 
 
ตามมาเที่ยวเมืองอุบลด้วยครับ เป็นการท่องเที่ยวที่ละเอียดมากครับ
ชมภาพสวยเพลินเลยครับ
ดูย้อนหลังถึง Part IX เด๋วจะแวะมาใหม่ครับ
 
 

โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 14 กรกฎาคม 2554 เวลา:8:23:18 น.  

 
 
 
ก๋วยเตี๋ยวเนื้อน่ากินมาก เห็นแล้วหิวเลยค่ะ
 
 

โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 14 กรกฎาคม 2554 เวลา:18:33:14 น.  

 
 
 
ก๋วยเตี๋ยวถ้าเป็นร้านที่มีต้นไม้เยอะ ขายเตี๋ยวน้ำตก น่าจะเป็นร้านเดียวกัน มิตรสัมพันธ์ อยากไปวันแจ้งอะ ถ้ามีโอกาสจะแวะไป เพราะอยากแจ้งใจในธรรมะบ้างเนอะ
 
 

โดย: normalization วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:10:59:11 น.  

 
 
 
นสุดท้ายในตัวเมืองอุบลคุณนัทธ์เก็บได้หลายที่มากเลยนะคะ

เทียวตามตัวอักษรไปกับคุณนัทธ์ แล้วก็รำลึกความหลังไปด้วย ดีจังค่ะ
 
 

โดย: pichayaratana วันที่: 30 ธันวาคม 2554 เวลา:17:01:30 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com