<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
15 เมษายน 2554
 

ทริปโบราณสถาน อยุธยา-ลพบุรี : Part III



ความเดิมตอนที่แล้ว

จากวัดคราวนี้เรามุ่งหน้าเข้าวังกันบ้าง พระราชวังจันทร์เกษม
ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม


พระราชวังจันทรเกษม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก (คลองคูขื่อหน้า) ทางด้านทิศเหนือ มุมตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา ใกล้ๆ กับตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พระราชวังจันทรเกษมหรือวังหน้า ปรากฏหลักฐานตามพระราชพงศาวดารสันนิษฐานได้ว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ประมาณ พ.ศ. 2120 โดยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์

ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พระราชวังจันทรเกษมได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการบูรณะและปรับปรุงพระราชวังจันทรเกษมขึ้นใหม่ เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ประทับในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา และโปรดพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2436

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า โดยใช้พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเป็นหมู่ตึกกลางของพระราชวังเป็นที่ตั้ง
จนกระทั่งเมื่อ พระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า จึงได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงทางด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยามาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น

สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นจึงมีการใช้งานกันเรื่อยมา ทั้งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการซ่อมแซมและบูรณะอาคารต่างๆ ขึ้นมาอีกครั้ง



พลับพลาจตุรมุข ตั้งอยู่บริเวณกำแพงด้านหน้าชานของพลับพลา แต่เดิมเป็นซากแนวอาคารก่ออิฐถือปูน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สร้างอาคารพลับพลาขึ้นในลักษณะอาคารจตุรมุขแฝด เพื่อใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการ และที่ประทับในเวลาเดียวกัน



พระที่นั่งพิมานรัตยา มีลักษณะเป็นหมู่ตึกกลางพระราชวัง ประกอบด้วยอาคาร 4 หลัง คือ อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา พระที่นั่งพิมานรัตยา และศาลาเชิญเครื่อง กลุ่มอาคารพระที่นั่งพิมานรัตยานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า ในปี พ.ศ. 2442



พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) มีลักษณะเป็นหอสูง 4 ชั้น บริเวณกำแพงด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งตามแนวรากฐานอาคารเดิม และใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) สามารถขึ้นชมทิวทัศน์ของ จ. พระนครศรีอยุธยาได้



ตึกโรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ



อาคารสโมสรเสือป่า สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บริเวณกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันออก



ตึกที่ทำการภาค (อาคารมหาดไทย) สร้างขึ้นในสมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้



กำแพงพระราชวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐ มีใบเสมา มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน แต่เดิมนั้นคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า วังจันทรเกษมมีกำแพง 2 ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง




วังจันทรเกษม มิวเซียมที่กรุงเก่า
ในระหว่างที่พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้รับราชการดำรงตำแห่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ท่านได้ทำการศึกษาและรวบรามเรื่องราว รวมทั้งวัตถุสิ่งของสำคัญในบริเวณกรุงเก่าและบริเวณใกล้เคียงไว้เป็นจำนวนมาก มาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2445 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงแนะนำให้พระยาโบราณราชธานินทร์ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เรียกว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ โดยในระยะแรกนั้น ใช้ตึกโรงม้าพระที่นั่งเป็นที่เก็บรวมรวม ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัตถุต่างๆ จากโรงม้าพระที่นั่งเข้ามาเก็บรักษา และตั้งแสดงที่บริเวณอาคารพลับพลาจตุรมุข พร้อมทั้งจัดสร้างระเบียงตามแนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก เพื่อจัดตั้งวัตถุ ศิลาจารึก และประติมากรรมต่างๆ จากนั้นจึงตั้งชื่อว่า อยุธยาพิพิธภัณฑ์

ในปีพุทธศักราช 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสยุโรป เมื่อเสด็จถึงเมืองฮอมเบิค ประเทศเยอรมนี ก็ทรงมีโทรเลขมาถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า "มิวเซียมที่นี่เหมือนมิวเซียมที่กรุงเก่า" ด้วยเหตุนี้เอง อยุธยาพิพิธภัณฑ์ในขณะนั้น จึงเป็นที่รู้จักในบรรดาผู้สนใจและรักในงานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของชาติ

ต่อมา ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2479 กรมศิลปากร ได้ประกาศให้อยุธยาพิพิธภัณฑ์เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในนาม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม






ข้อความข้างต้นทั้งหมด เรายกมาจากเวปไซค์ของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
เพราะนั่นคือสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการเข้าชมในครั้งนั้น
โดยมีเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณพ์นำชมทั้งตัวสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่จัดแสดง
อาคารโบราณสถานต่างๆ นั้นถูกไฟไหม้ทำลายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ตามแผนผังเดิม
ซึ่งออกแบบโดย "พระองค์เจ้าชุมสาย" และมีการใช้งานกันเรื่อยมา
มีการซ่อมแซมและบูรณะอาคารต่างๆ อีกครั้งในสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว



ส่วนโบราณวัตถุที่จัดแสดงนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นที่ขุดค้นพบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั่นเอง
ใช้เวลากับพิพิธภัณฑ์ราวหนึ่งชั่วโมง ซึ่งค่อนข้างน้อยมาก
แต่ทำไงได้ ในเมื่อพวกเรายังมีสถานที่เยี่ยมชมอีกหลายแห่ง
ดังนั้นเราก็เลยซื้อหนังสือคู่มือนำชมพิพิธภัณพ์ติดมือกลับมาเป็นของฝากของตัวเอง
ขึ้นรถบัส ก็ได้เวลาเมาท์กันต่อ ...ระหว่างมุ่งหน้าจุดหมายต่อไป



โปรดติดตามตอนต่อไป


Create Date : 15 เมษายน 2554
Last Update : 16 เมษายน 2554 8:38:11 น. 6 comments
Counter : 2012 Pageviews.  
 
 
 
 
แวะมาชมข้อมูลครบถ้วน รูปสวยมากๆเลยค่ะ
 
 

โดย: sawkitty IP: 118.173.132.26 วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:15:27:57 น.  

 
 
 
หอส่องกล้องดูน่ากลัวจังเยยนะคะคุณนัทธ์ คงเพราะความเก่าแก่ของตัวอาคารน่ะ
ได้รู้จักตึกและช่วงต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ

คุณนัทธ์สบายดีนะคะ
 
 

โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:15:37:31 น.  

 
 
 

 
 

โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:20:40:18 น.  

 
 
 
ชอบจังเลยสถานที่เก่าแก่
 
 

โดย: เด็ก(อยาก)แนว วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:21:04:28 น.  

 
 
 
ทริปนี้ยาวจัง ยังมีต่ออีกนะเนี่ยะ
 
 

โดย: นู๋เมี่ยง IP: 58.9.82.111 วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:21:24:37 น.  

 
 
 
คุณสาว > ลอกเวปพิพิธภัณฑ์มาทั้งหมดเลย

คุณฉัตร > สบายดีเป็นปกติค่ะ อาคารเก่าก็ดูน่ากลัวกึ่งๆ ขลังนะคะ

คุณส้ม > สงกรานต์นี้เปียก 2 วันตอนจะเข้าบ้าง

คุณเด็ก (อยาก) แนว > ชอบเหมือนกันค่ะ

เมี่ยง > ยังไม่จบ เล่าค้างไว้นานแล้ว
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 16 เมษายน 2554 เวลา:16:37:17 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com