วัฒนธรรม สายฉีดชำระ
ช่วงนี้ได้เดินทางบ่อยมากคะ ทั้งแบบสบาย ๆ และสมบุกสมบัน

และล่าสุด ไปอบรมที่โรงแรมในจังหวัดระยองมาคะ และโรงแรมที่ไปพักไม่มีสายฉีดชำระคะ ประกอบกับมีบางอย่างจุดประกายให้เอาเรื่องนี้มาระบายยยคะ

สิ่งที่จะเขียนถึงนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสายฉีดชำระ นั่นเองคะ

เริ่มจากจากตัวเองด้วยคะ ปกติตัวเองจะไม่มีปัญหากับการจะมีสายฉีดหรือไม่ แต่หนนี้สิคะ เป็นเพราะช่วงสามวันก่อน มีอาการถ่ายบ่อย (ขณะไปอบรมที่โรงแรมแห่งหนึ่งซึ่งไม่มีสายฉีด ทั้งในห้องพักและส่วนกลาง) จากที่ไม่เคยต้องรู้สึกคิดถึงสายฉีด ก็ให้คิดถึงมาก และทนไม่ได้ที่จะต้องไปหาซื้อทิชชู่เปียกมาใช้ เพราะถ่ายบ่อย แล้วก็ใช้ทิชชู่เช็ดตลอด จนรู้สึกว่า

โอ๊ย แสบรูทวารจริง ๆ อยากได้น้ำเย็น ๆ อะ เพราะทิชชู่น่ะเสียดสีบ่อย ๆ มันไม่ค่อยจะดีเลยคะ

นอกจากเรื่องของตัวเองก็มีเรื่องของคนอื่น โดยเฉพาะกับเพื่อน ๆ น้อง ๆ ที่ทำงานหลายคนติดสายฉีดมาก ๆ ดังนั้นโรงแรมหรือที่พักไหน ไม่มีสายฉีดนั้นจะถูกประนามว่าไม่ดีเลย ทั้ง ๆ ที่บางทีอะไรหลายอย่างก็ดี วิวดี ห้องดี แต่ก็ยังไม่วายคะ

จากประเด็นข้างบน ทำให้เกิดการพูดคุยกับน้องที่รู้จักกันและค้นหาข้อมูล ทำให้รู้เรื่องเพิ่มเติมหลายเรื่องคะ

1. เป็นเรื่องของความนิยม และการใช้ชีวิตคะ

ฝรั่งหรือชาวตะวันตก จะมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกับชาวเอชีย อันเนื่องมาจากอากาศด้วย ทำให้ห้องต่าง ๆในบ้าน วิถีชีวิตต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องห้องน้ำ ฝรั่งนิยมแยกส่วนเปียกและแห้ง เพราะอากาศหนาว ทำให้ไม่นิยมอาบน้ำบ่อย ๆ หรือให้น้ำสัมผัสร่างกายเท่าไหร่ อีกอย่างเมืองเค้าไม่ร้อน ทำให้เหงื่อไม่ออก ไม่เหนียวตัว แห้งทั้งวัน

แต่เอเชียมีอากาศร้อนชื้น เหงื่อออกง่าย การอาบน้ำเป็นการระบายความร้อน พวกเรา ๆ จึงชอบอาบน้ำ แช่ตัวในน้ำ ว่ายน้ำ เล่นน้ำ เป็นต้น รวมถึงห้องน้ำด้วยคะ แม้ปัจจุบันจะมีหลายบ้านนิยมแยกส่วนเปียกและส่วนแห้ง แต่ความเคยชินกับการใช้น้ำชำระสิ่งไม่สะอาดต่าง ๆ ก็ยังนิยมอยู่

สรุปว่า นี่เองที่ทำให้ ฝรั่งไม่นิยมสายฉีดชำระ ต่างกับเอเชียที่ชอบจริง ๆ เช่นในญี่ปุ่นตอนนี้พัฒนาไปจนไม่ต้องสายชำระแล้ว แต่เป็นท่อน้ำชำระแทน

2. ความเชื่อเรื่องเชื้อโรค เท่าที่ทราบจากคนรอบข้างและหาอ่านจากความเห็นในเว็บ ฝรั่งมองว่าสายฉีดจะนำมาซึ่งเชื้อโรค ด้วยคะ แต่เอาเข้าจริงน้องที่ทำงานเล่าให้ฟังว่า ฝรั่งนั้นชอบใช้ทิชชู่ ซึ่งจะเกิดการเสียดสีบ่อย และบางทีก็ไม่ค่อยสะอาดนัก ทำให้เป็นฝรั่งเป็นมะเร็งหรือก้อนเนื้อบริเวณนั้นง่าย ในทางกลับกัน สายฉีดนั้นถ้าใช้ไม่ระวังก็เป็นโรคได้ ไม่ว่าเป็นเป็นเรื่องของโรคติดต่อ ที่อาจเกิดจากการใช้และสัมผัส เชื้อรา หมักหมม หากไม่เช็ดให้แห้ง เป็นต้น

3. การใช้ชีวิต เห็นว่าฝรั่งจะนิยมทิ้งทิชชู่ที่ใช้แล้วในโถส้วมเลยคะ ต่างจากเอเชียที่มีถังขยะแยก นั่นหมายความว่า ฝรั่งใช้ทิชชู่เยอะกว่า ถ้ามีถังคงล้นเร็ว แต่เอเชียมีสายฉีด ล้างเสร็จค่อยเช็ดอีกที ทำให้ไม่เปลืองทิชชู่และถังเต็มช้า

4. และมีบางบทความในเน็ทบอกว่า หากโรงแรมไหน มีสายฉีดจะถูกลดดาวด้วยนะคะ ซึ่งเท่าที่สังเกตุ โรงแรมที่รับแขกฝรั่งจะไม่มีสายฉีด

วิธีแก้ขัดหากไปเจอสถานที่ที่ไม่มีสายฉีดและต้องพักแบบชั่วคราว (เฉพาะในไทยนะคะ)


1. ทนใช้ทิชชู่ไปเถอะคะ ดีักว่าต้องใช้ใบไม้
2. ใช้ทิชชู่ธรรมดา + ทิชชู่เปียกที่ใช้เช็ดก้นเด็ก
3. ใช้ทิชชู่ชุบน้ำพอหมาด ช่วยหลังใช้ทิชชู่ (กรณีไม่มีทิชชู่เปียกที่ใช้เช็ดก้นเด็ก)
4. ใช้ขวดน้ำเปล่าเนี่ยแหล่ะคะ แทนน้ำจากสายฉีด

สรุปจกความเห็นส่วนตัวว่า ถ้ามีสายฉีดก็ดีคะ แต่ถ้ามีแล้วใช้ไม่ถูกวิธีก็ไม่ดีอีกเช่นกัน
ยอมรับว่่า หลังจากเหตุการณ์ถ่ายบ่อยที่โรงแรม นั้น ทำให้รู้ว่า แม้ทิชชู่จะนิ่มแต่ก็ทำให้แสบได้คะ

ท่านใดมีความเห็นต่างก็มีอะไรรู้มาเพิ่มเติม แลกเปลี่ยนได้นะคะ



Create Date : 16 ธันวาคม 2553
Last Update : 16 ธันวาคม 2553 21:30:55 น.
Counter : 2751 Pageviews.

1 comments
  
เห็นด้วยอย่างมากค่ะ เวลาไปสวีเดน นอกจากโถส้วมจะสูง เขย่งจนเมื่อยก้น แบบว่าไม่ชอบนั่งลงบนโถส้วมสาธารณะต้องเขย่งนิดนึง กระดาษทิชชู่ก็สุดแสนจะระคายตูด เฮ้ย...ก้น เพราะเป็นกระดาษรีไซเคิล เช็ดทีสะดุ้งนึกว่ากระดาษทราย หลังๆ พกทิชชู่เปียกสำหรับเช็ดก้นเด็กติดตัว ไม่ต้องง้อสายชำระ บอกตรงๆ ว่าไม่เคยใช้สายชำระในส้วมสาธารณะเลย เพราะเคยเห็นมันตกกองอยู่กับพื้นแฉะๆ โอย...ไม่อยากจะคิดถึงเชื้อโรคเป็นล้านๆ ตัว เคยอ่านหนังสือเขาบอกว่า สายชำระ ปุ่มกดน้ำ ลูกบิดประตู นี่แหล่งรวมเชื้อโรค กลัวน้องฮาจิเมะต้องมารับกรรมจริงๆ ค่ะ สำหรับสกุลลันทิชชู่เปียกนี่เลิฟสุดแล้วค่ะ
โดย: สกุลลัน วันที่: 16 ธันวาคม 2553 เวลา:23:03:50 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

big_leely
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



แค่ ญ ที่อยู่บนโลก เบื่อบ้าง เหงาบ้าง

บ้าบ้าง พยายามหามุมใหม่ และไม่ยอมแพ้ต่อมหัตภัย 5555
New Comments
ธันวาคม 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
All Blog