ครีมที่ทาแล้วหน้าขาว ใส่อะไรลงไปบ้างน๊า


ขั้นตอนพื้นฐานในการสร้างเมลานิน

ไทโทรซิน ® โดพา ® โดพาควิโนน ® ฟีโอเมลานิน สีแดง ®ยูเมลานินสีน้ำตาล สีดำ สีเหลือง


ผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวขึ้นเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อทำให้ผิวทั้งหมดขาวขึ้น ทำให้ฝ้าและกระจางลง สารออกฤทธิ์สำคัญทำให้หน้าขาวต้องรบกวนขั้นตอนการสร้างเมลานินหนึ่งขั้นตอน หรือมากว่าหนึ่งขั้นตอน สารทำให้ผิวขาวที่ใช้กันมากอาจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 สารฟอกสี (Bleaching Agents)เช่น ไฮโดรควิโนน โมโนเบนโซน และ ปรอทแอมโมเนีย ทั้งหมดนี้เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง


ไฮโดรควิโนน(Hydroquinone) เคยเป็นสารที่นิยมใช้กันมากในครีม หรือ โลชั่นป้องกันฝ้า ความเข้มข้นไม่เกินร้อยละ 2 สารนี้ออกฤทธิ์ลดการสร้างเมลานิน โดยขัดขวางเอนไซม์ไทโรซิเนสในการออกซิไดซ์ไทโรซิน มิให้เปลี่ยนเป็นโดพา ในขั้นตอนแรกของการสร้างเมลานิน ผลคือลดการสร้างเมลานินของไฮโดรควิโนนเป็นเพียงชั่วคราว หากหยุดใช้จะกลับเป็นอย่างเดิมหรือเป็นมากกว่าเดิม ข้อดีคือ ไม่ทำลายเซลล์สร้างสี ไฮโดรควิโนนมักทำให้เกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับกรดวิตามินเอ และหากใช้ไฮโดรควิโนนติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 6 เดือน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรสีน้ำเงินอมดำ ดังนั้น ไฮโดรควิโนนจึงถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 25 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญํติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ไฮโดรควิโนนยังมีข้อเสียคือ ไม่คงสภาพ ถูกออกซิไดซ์ได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดดและอากาศ โดยเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาล




โมโนเบนโซน( Monobenzone)เป็นไฮโดรวิโนนโมโนเบนซิลอีเทอร์
(hydroquinone monobenzyl ether ) ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับไฮโดรควิโนน แต่ทำลายเซลล์สร้างสีผิว ทำให้เกิดรอยด่างขาวเป็นหย่อมๆ อย่างถาวร และเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง โมโนเบนโซนถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 12 พ.ศ. 2525 ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 และยังคงห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 9 พ.ศ. 2536 ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535


ปรอทแอมโมเนีย (Ammoniated Mercury)เคยเป็นที่นิยมใช้กันมากเช่นเดียวกับไฮโดรควิโนน ในครีมป้องกันฝ้าเรียกว่า ครีมไข่มุก โดยใช้ในอัตราส่วนไม่เกิดร้อยละ 3.0 ปรอทแอมโมเนียรบกวนเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยรวมตัวกับโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ หรือโดยการจับกับไอออนทองแดงที่มีอยู่ในเอนไซม์ ทำให้ลดการสร้างเมลานิน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี่สวนผสมของปรอทแอมโมเนียติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้มีการสะสมปรอทในผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้ตับ และไตพิการ โรคโลหิตจาง เป็นต้น ปรอทแอมโมเนียถูกกำหนดเป็นสารห้ามในเครื่องสำอางตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 37 พ.ศ. 2532 ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 และยังคงห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 9 พ.ศ. 2536 ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535


กลุ่มที่ 2สารทำให้ผิวขาว (Whitening Agents)ที่นิยมใช้กันมากในเครื่องสำอางในท้องตลาดเมืองไทยได้แก่ อาร์บิวติน (Arbutin ) กรดโคจิด(Kojic acid) และ แอสคอร์บิกแมกนีเซียมฟอสเฟตascorbic magnesium phosphate สารดังกล่าวยังไม่มีประกาศควบคุมโดยเฉพาะ อาร์บิวติน เป็นไฮโดรควิโนน ไกลโคไซด์ (hydroquinone glycoside)

ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวมี 2 แบบ คือ ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี และได้จากการสกัดจากพืช อาร์บิวตินเป็นส่วนประกอบสำคัญมากถึงร้อยละ 18 ใน Drug “ Urva ursi folium” ระบุในตำรายาประเทศญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันว่า Bearberry มีการนำสมุนไพรสกัด Bearberry extract นำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวอีกด้วย อาร์บิวตินไม่สลายเป็นไฮโดรควิโนนโดยเอนไซม์ในผิวหนังมนุษย์ อาร์บิวตินออกฤทธิ์โดยแย่งโดพาในการเข้าทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ไทโรซิเนส มีผลต่อการยับยั้งการสร้างเมลานินไม่เป็นพิษต่อเซลล์สร้างเมลานินทำให้ผิวหน้าขาวขึ้นและมีความปลอดภัยสูง ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาการข้างเคียงใดๆ ทั้งยังคงสภาพต่อแสงแดดได้ดีกว่าไฮโดรควิโนนและได้ผลดีกว่ากรดโคจิก เป็นที่นิยมใช้กันมากในญี่ปุ่น โดยใช้อาร์บิวตินความเข้มข้นร้อยละ 3-7

กรดโคจิก (Kojic Acid)ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวหน้าขาวได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี หรือ ได้จากการสกัดกรดโคจิกที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการหมักกลูโคสด้วยเชื้อรา แอสเพอร์จิลลัส โอริซี (Aspergillus oryzae) กรดโคจิกออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยจับกับไอออนทองแดงในเอนไซม์ไทโรซิเนส ช่วยลดการสร้างเมลานิน ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้หน้าขาวความเข้มข้นร้อยละ 1-3 บางสูตรใช้สำหรับเอสเทอร์ของโคจิก เช่น โคจิกไดพาร์มิเตต เอนไซม์เอสเทอเรส ที่ผิวหนังทำให้กรดโคจิก ถูกปล่อยออกมาอย่างช้าๆ จาก เอสเทอร์ของกรดโคจิก


แมกนีเซียมแอสคอร์บิกฟอสเฟส [ Magnesum Ascrobyl Phoshate (VCPMG)]เป็นฟอสเฟตเอสเทอร์ของวิตามินซี ที่มีความคงสภาพ ได้จากการสังเคระห์ทางเคมี เมื่อใช้เป็นส่วนผสมในครีมหรือโลชั่นทาผิวหนัง จะไฮโดรไลซ์ได้โดยง่ายด้วยเอนไซม์ฟอสฟาเตสที่ผิวหนังให้วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) ซึ่งออกฤทธิ์ขัดขวางการสร้างเมลานินทำให้ผิวขาวขึ้น ขัดขวางการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งทำให้ผิวแก่ ในขณะเดียวกันช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน


กลุ่มที่ 3 สารปกคลุมผิว (Covering Agents)ใช้พิกเมนต์ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติทึบแสงและมีสีขาวทันที แต่เมื่อล้างออกสีผิวหนังคงเดิมไม่ได้ขาวขึ้น สารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือทิตาเนียมไดออกไซด์ (titanlum Dioxide) หรือซิงก์ออกไซด์ (Zinc oxide) ทัลคัม(talcum) บิสมัสซับไนเตรต และคาโอลิน (Kaolin) พิกเมนต์ เหล่านี้นอกจากทำให้ผิวขาวแล้ว ในขณะเดียวกันยังเป็นสารกันแดดด้วยเนื่องจากคุณสมบัติทึบแสง ผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวบางตำรับใช้ทิตาเนียมไดออกไซด์ผสมกับสมุนไพรสกัด (Wildberry extract) ซึ่งมีส่วนผสมของกรดโคจิก


กลุ่มที่ 4 เอเอชเอ หรือ อัลฟาไฮดรอกซีแอซิด (AHAs) เรียกกันว่า กรดผลไม้ เป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหาร เช่น กรดเมลิกในแอปเปิ้ล กรดซิตริกในมะนาว กรดทาร์ทาริกในองุ่น กรดแลกติกในนมเปรี้ยว และกรดไกลโคลิกในอ้อย เป็นต้น เอเอชเอช่วยละลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งยึดอยู่ระหว่างเซลล์ที่ตายแล้ว ลอกออกอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ ทำให้รูขุมขนไม่อุดตันช่วยในการขับน้ำคัดหลั่งของต่อมเหงื่อ ลดรอยฝ้าและจุดด่างดำ และยังกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนอีกด้วย การเร่งหลุดออกเซลล์ทำให้ริ้วรอยเล็กๆ และรอยเหี่ยวย่นหลังจากการใช้หลายครั้ง และสะท้อนแสงอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผิวดูอ่อนกว่าวัย จากการวิจัยการใช้ผลิตภัณฑ์เอเอชเอในคนปี ค.ศ. 2000 ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา การประเมินผลการวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เอเอชเอกับการลดเวลาในการทำให้ผิวหนังแดงขอบชัด ซึ่งหมายความว่าเอเอชเอทำให้ผิวหนังไวต่อรังสีอุลตร้าไวโอเลตมากขึ้น และเมื่อหยุดใช้ผิวหนังจะกลับคืนสู่ปกติภายในหนึ่งสัปดาห์ ส่วนผลการใช้ผลิตภัณฑ์เอเอชเอในระยะยาวกำลังระหว่างการวิจัย

 การที่ผิวหนังขาวขึ้นจากการใช้สารทำให้ผิวขาวซึ่งออกฤทธิ์ลดการสร้างเมลานิน มีผลทำให้ผิวหนังอ่อนแอลง มีความไวต่อรังสีอุลตราไวโอเลตมากขึ้น จึงควรใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์กันแดด และหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัดเพื่อป้องกันการเกิดฝ้า


ที่มา : หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ เล่ม 15 พ.ศ. 2544 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้า9-14. 




อยู่ดีๆ เรามาพูดเรื่องสารพวกนี้ทำไม

เมื่อก่อนอยู่ในคอร์สหน้าเราก็โอโม่ได้โล่เหมือนกัน




คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตัวเอง

หลังจากหยุด คอร์ส หยุดยาได้ 6 เดือนหน้าเราผิวหนังที่ดีที่เหลืออยูคือรอบดวงตาเท่านั้น นอกนั้นมาเป็นกำแพง(ยิ่งกว่าฝ้า) ถ้ายังงงให้ขึ้นไปอ่านข้อไฮโดรควิโนน(Hydroquinone) อีกรอบนะคะ



( คลิกที่รูปสาวน้อยว่าทำ IPL หยุดแล้วเป็นอย่างไร)


คลิกที่รูปได้เลยค่ะ





 

Create Date : 07 กันยายน 2553
5 comments
Last Update : 8 กันยายน 2553 17:43:05 น.
Counter : 7245 Pageviews.

 

รอชมนะคะ

 

โดย: sugarhoney 7 กันยายน 2553 14:46:05 น.  

 

สีครีมแบบว่าน่า่กลัวมากค่ะ><

 

โดย: Puyfai Makeup 7 กันยายน 2553 22:06:41 น.  

 

เป็นประโยชน์มากๆค่าพี่ปุ๊ก ขอบคุณนะค๊า^^
ตอนนี้หน้าหายดีกลับมาสวยใสอย่างเดิมแล้วใช่ไหมค๊า

 

โดย: Puyfai Makeup 9 กันยายน 2553 0:27:05 น.  

 





ปุ๊กจ๋า ออกมาเตือนเพื่อนๆ อย่างนี้ต้องขอบคุณปุ๊กมากๆเลย
แล้วตอนนี้ปุ๊กโอเคนะ หน้าหายแพ้แล้วนะคะ
ยิ้มใสปิ๊งๆ เหมือนเดิมแล้วน้า





 

โดย: Sweety-around-the-world 11 กันยายน 2553 20:13:08 น.  

 

Hello there,

My name is Aly and I would like to know if you would have any interest to have your website here at bloggang.com promoted as a resource on our blog alychidesign.com ?

We are in the midst of updating our broken link resources to include current and up to date resources for our readers. Our resource links are manually approved allowing us to mark a link as a do-follow link as well
.
If you may be interested please in being included as a resource on our blog, please let me know.

Thanks,
Aly

 

โดย: Aly Chiman IP: 139.99.104.95 17 พฤศจิกายน 2561 1:11:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Pookie-NSE
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
7 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Pookie-NSE's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.