บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
All Blogs
 

เส้นใยเส้นแรกของลูกแมงมุม กับ การเริ่มต้นชีวิตทางด้านธุรกิจ

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



เมื่อแมงมุมเริ่มโตขึ้นจนต้องออกมาสร้างรังของตนเอง มันได้สั่งสมประสบการณ์ ได้เห็น วิธีการต่างๆจากแม่ของมันมาบ้างแล้ว ถึงแม้นมันจะไม่ได้สื่อสารออกมาเป็นตำรา แต่มันกลับถูกถ่ายทอดออกมาทางด้านปฏิบัติ โดยที่แม่ของมัน ได้ทำเป็นตัวอย่างให้ดูว่า การจะชักใยให้เป็นโครงร่างที่ดีนั้นทำอย่างไร... ถ้าแมงมุมน้อย ไม่เรียนรู้ว่า แม่ของมันนั้นชักใยอย่างไร ไม่เข้าใจว่า เส้นใยแรกจะทำอย่างไร ก็เป็นอันว่า ไม่สามารถชักใยได้ อาจจะไม่มีชีวิตรอดมาเพื่อสร้างรังของตนเอง หากินด้วยตนเองได้ อาจจะต้องพึ่งพารังของแม่ที่สร้างไว้ให้ หรือ ไปยึดรังของคนอื่นเพื่ออยู่ เพื่อดำรงชีพก็อาจจะเป็นไปได้...

ถ้าเปรียบกับคนทำงานที่อยากจะสร้างธุรกิจของตัวเองนั้น การที่ทำงานอยู่กับองค์กร ใดก็ตาม การพยายามศึกษาหาว่า องค์กรนั้นๆ มีองค์ประกอบอะไร ทำงานเป็นระบบอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร ทำไมต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ จะพบว่า มันเป็นตัวอย่างการสร้างธุรกิจให้เจริญเติบโตกันจริงๆ ถ้าอยู่อย่างไม่เรียนรู้ จะไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมของธุรกิจได้ ก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่โหดร้ายได้ ซึ่งมีคนมากมายที่ไม่ได้ทำอย่างที่กล่าว ก็จะอยู่เป็นพนักงานได้รับเงินเดือน ได้รับสวัสดิการ ตามที่องค์กรได้ให้มา ก็สามารถอยู่ได้ แต่คนที่มีความหวังที่จะสร้างธุรกิจของตนเอง และ มีการเรียนรู้ มีการสังเกตุ จากต้นแบบ โดยการเรียนรู้ทางด้านปฏิบัติจริง เป็นพื้นฐาน ทำให้สามารถมองเห็นถึง ความเป็นไปของธุรกิจ และ องค์ประกอบต่างๆที่ต้องมี ต้องใช้ได้ก่อน องค์กรที่คุณอยู่นั่นแหละ เป็นองค์กรที่จะสร้างภูมิคุ้มกันความล้มเหลวให้กับคุณ หากได้แม่แบบที่ดี ก็จะสร้างองค์กรที่ดีเช่นกัน...

แม่แมงมุม เมื่อมีลูกน้อยเกิดขึ้น ก็ต้องสร้างใยแมงมุมชุดใหม่ เพื่อดักจับและหาอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกๆ ยิ่งมีปากท้องมากเท่าใด ก็ยิ่งต้องหาอาหารเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ใยเก่าอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้น แม่แมงมุมจึงต้องสร้างสร้างใยชุดใหม่ เป็นการบังคับให้มีการสอนโดยธรรมชาติ การจะให้เกิดการเรียนรู้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นกับว่า ลูกแมงมุมตัวใด สนใจในพฤติกรรมของแม่แมงมุมมากน้อยแค่ไหน ตัวไหนสนใจมาก ก็จะสามารถเรียนรู้ได้มาก ตัวไหนสนใจน้อยก็จะเรียนรู้ได้น้อย ซึ่งลูกๆที่จะอยู่ได้เองในอนาคต สามารถสร้างใยที่ดี และ ถูกที่ถูกทางหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ในเบื้องต้นนี้เอง...

ธุรกิจเมื่อเติบโตขึ้น ย่อมจะต้องสร้างธุรกิจเพิ่มขึ้นมารองรับ หากพนักงานคนใด มีโอกาสที่จะมีส่วนในการสร้างธุรกิจใหม่ขององค์กร ก็จะมีโอกาสได้เรียนรู้ วิธีการคิด วิธีการดำเนินการ ถึงแม้นจะไม่มีคนมาสอนมาบอก แต่หากสังเกตุจริงๆ ก็จะสามารถเข้าใจได้ว่า การสร้างธุรกิจใหม่นั้นทำอย่างไร... มุมมองว่าจะสร้างธุรกิจใหม่นั้นเพราะอะไร ใครเป็นลูกค้า การกำหนดว่าจะสร้างหรือไม่นั้น ธุรกิจนั้นๆ ให้ผลกำไรเท่าใด เหมาะแก่การสร้างธุรกิจนั้นๆหรือไม่ เมื่อมองเห็นว่า สามารถทำแล้วได้ผลกำไร มีโอกาสเติบโต ได้ก็จะเป็นพื้นฐานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรว่า การเปิดทิศทางใหม่นั้น จะสามารถทำกำไร หรือ มีหนทางที่จะดำรงอยู่ได้... บางบริษัทฯ สักแต่ว่าเปิดสินค้าใหม่บริการใหม่โดยไม่มองความอยู่รอดของธุรกิจระยะยาว ซึ่งเปิดมาแล้วก็ปิดไป เป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีนักสำหรับคนที่อยากจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง บางคนอยู่บริษัทฯ ที่มีความมั่นคงมากๆ การเปิดธุรกิจ ทำอย่างง่ายๆ เพราะว่ามีคนคิด คนทำให้เรียบร้อย หากเป็นคนไม่สังเกตุอย่างละเอียด ก็จะเห็นว่ามันง่ายๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เห็นอาจจะเป็นเพียงเศษเสี้ยวของการเตรียมการมากมายนัก จึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจโดยรวมให้ละเอียดรอบคอบก่อนที่จะลงมือเองจริงๆ อย่าคิดว่าตัวเองเก่งที่สุดแล้ว เพราะ เหนือฟ้ายังมีจักรวาลอันกว้างใหญ่ ที่โอบอุ้มฟ้าอยู่...

แม่แมงมุมต้องหาสถานที่ๆเป็นทิศทางของอาหาร ให้ได้ ซึ่งแน่นอน ต้องเป็นที่ๆ อาหารอยู่ชุกชุม หรือ มีโอกาสที่อาหารจะหลงเข้ามาติดใยแมงมุมได้บ่อยมากที่สุดเท่าที่จะสามารถ แต่สถานที่เหล่านั้น มักจะมีแมงมุมเจ้าถิ่นสร้างใยไว้ก่อนแล้ว หากได้สถานที่เหล่านั้นก็ดีไป แต่หากไม่ได้ มีที่ทางข้างๆหรือไม่ หรือ อาจจะต้องหาสถานที่ๆอาจจะมีโอกาสที่ดีเช่นนั้น หรือ คาดการณ์ว่าอาหารอาจจะเดินทางไปทางนั้น... ก่อนจะลงมือสร้างใยเส้นแรกของใยชุดใหม่

การดำเนินการสร้างธุรกิจโดยทั่วไป ต้องหาเป้าหมายของลูกค้าให้ได้ ต้องรู้ว่า ลูกค้าต้องการอะไร และ ลูกค้าอยู่ที่ไหน เพื่อจะได้นำเสนอ หรือ ให้บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ หากเข้าใจลูกค้าว่าต้องการอะไรอย่างแท้จริง และ ลูกค้าอยู่ที่ไหน จะทำให้เลือกทำเล หรือ สร้างสินค้าและบริการได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ก่อนจะเริ่มสร้างธุรกิจต้องเข้าใจสิ่งเหล่านี้ให้ดีเสียก่อนที่จะลงมือดุ่ยๆไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้... ซึ่งอาจจะทำให้เสียเงินเสียทองไปกับการลงทุนที่ไม่สามารถเรียกเงินลงทุนกลับมาได้...

ประสบการณ์ของแม่แมงมุม ที่เคยสร้างรังแรกมาก่อน จะทำให้การสร้างรังที่ สอง สาม สี่ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมา เรื่อยๆ ดังนั้น ลูกแมงมุมต้องสังเกตุให้ดีถึงวิธีการคิด วิธีการสร้างเพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้ในการสร้างรัง แต่ที่เห็นก็แค่แม่แมงมุมเริ่มชักใยแล้วโยงตัวเพื่อไปเป้าหมายเพิ่มเริ่มเส้นใยแรก ลูกแมงมุมส่วนใหญ่มองดูแล้วก็ไม่ยากเท่าไหร่ ก็แค่ปล่อยใยออกมาเพื่อที่จะไปยึดฝั่งตรงข้ามเท่านั้น...

การสร้างธุรกิจนั้น จะเห็นคนสร้างธุรกิจกันครึกโครม คนประสบความสำเร็จ ก็สร้างขึ้นหลากหลายธุรกิจ มองจากภายนอกแล้วก็ง่ายๆ คนทะนงตัวก็จะมองว่า เอาน่ามันน่าจะทำได้ แต่ถ้าลองนึกดูให้ดีว่า คนที่มีประสบการณ์กับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ หากเริ่ม ที่จุดเดียวกัน ใครจะสามารถควบคุมทิศทางของธุรกิจได้ดีกว่ากัน...

และแล้วก็ถึงซึ่งลูกแมงมุมต้องออกไปเผชิญโลกเพื่อสร้างรังของตนเอง เรียนรู้มาพร้อม บางตัวก็สามารถหาที่ๆดีที่สุดในการสร้างรัง แต่สร้างไม่เป็น บางตัว สามารถสร้างรังได้ดี แต่สถานที่ไม่อำนวย บางตัวแม่แมงมุมก็มาช่วยสร้างโครงสร้างแรกให้ ลูกแมงมุมที่เริ่มชักใยด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก ตื่นเต้นและต้องเสี่ยงกับการโยงใยไปกับอากาศ ยังไม่สามารถบังคับทิศทางให้ตรงไปยังฝั่งตรงข้ามได้ดีนัก ดึงเส้นใยตึงไปหรือหย่อนไปก็มี ตกไปยังพื้นก็หลายตัว ที่เหลือที่สร้างชักใยเส้นแรกได้ ก็เริ่มมีกำลังใจในการชักใยเส้นต่อไป จนรังเสร็จสิ้น หากโชคดีก็สามารถมีอาหารเป็นประจำ โชคร้ายก็นานๆมีอาหารมาทีอดๆอยากๆ ตายไปก็มาก เปลี่ยนที่เปลี่ยนทางใหม่ก็มาก มันก็เป็นไปตามกฎและวิถีแห่งชีวิต...

คนเริ่มสร้างธุรกิจแรกทุกคนย่อมตื่นเต้น และ พร้อมที่จะเสี่ยง ทิศทางการกำหนดเบี่ยงเบนไปกับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย กำหนดทิศทางที่ตัวเองต้องการได้ยาก เพราะยังไม่เชี่ยวชาญ และ ยังไม่มีประสบการณ์มากเพียงพอ แต่ทุกอย่างย่อมมาจากการย่างก้าวในครั้งแรก หากโชคดีคิดหาหนทางและเตรียมรับมือกับปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นไว้เรียบร้อย ก็สามารถรอดพ้นสามารถอยู่ในโลกแห่งธุรกิจได้ แต่หากโชคร้าย ก็อาจจะสูญเสียทรัพย์ไปกับการลงทุน บางคนดีหน่อยมีพ่อแม่ช่วยเหลือเจือจุน แต่ถึงอย่างไรแล้ว คนที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปทุกคน จะต้องเริ่มจากประสบการณ์ครั้งแรกทั้งสิ้น และ หากก้าวแรกประสบความสำเร็จ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จทั้งชีวิต ก็มีหนทางเช่นกัน....

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 07 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:51:06 น.
Counter : 2221 Pageviews.  

จะตั้งกิจการ ต้องรบในกระดาษให้ชนะ ก่อนออกสนามรบจริง...

การจัดตั้งกิจการนั้น เงินทุนก็มีจำกัด กลัวไปหมดว่าจะได้กำไรไม๊ ทำแล้วจะเจ๊งไม๊... เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งหากต้องการที่ทำกิจการจริงๆ โดยเริ่มจากศูนย์แล้ว คงต้องฝากให้คิดสิ่งเหล่านี้ให้มากหน่อยครับ...

1. ต้องรู้จักสินค้าหรือบริการ และ รู้จักกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าหรือบริการที่จะทำ
สิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องรู้จักสินค้าหรือบริการอย่างดี เพื่อจะได้ทราบถึง กลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่าควรจะเป็นกลุ่มใด อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับ สินค้าที่ขายหรือการให้บริการ ดังนั้น หามีสินค้าที่เหมาะกับลูกค้า และ คุณสามารถเข้าหากลุ่มเป้าหมายที่เป็นลุกค้าได้มาก หรือ มีหนทางติดต่อ ก็ลองติดต่อเพื่อหยั่งเชิงดูก่อน แต่หากจะไปหาเอาดาบหน้า ก็เหมือนกับเอาคอขึ้นเขียง ยังไม่รู้ว่าลูกค้าคือใคร แล้วจะรอให้ลูกค้ามาหาเองนั้นคงยาก...

ผมชอบธุรกิจที่ให้ลูกค้าอยู่กับเรา หรือเป็นสมาชิกเรา จะทำให้เราสามารถมีรายได้ที่กำหนดแน่นอนได้ แต่หากเป็นธุรกิจที่ลูกค้าไม่ได้เป็นสมาชิก หรือ ไม่จำเป็นต้องใช้เราเป็นประจำ จะต้องคิดเผื่อเหลือเผื่อขาด เผื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันไว้มากๆ ครับ

2. วางแผนเงินทุน รายรับ รายจ่าย ทำให้กำไรให้มากๆ และ สามารถอยู่ได้ก่อนจะลงมือทำจริงๆ
การวางแผนทางด้านรายรับ รายจ่าย และ เงินทุน เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน เมื่อมั่นใจว่ามีสินค้าหรือบริการ และ มั่นใจว่าลูกค้าต้องการสินค้าและบริการดังกล่าว หรือ อาจจะมีลูกค้าอยู่ในมือแล้วว่าเขาต้องการสิ่งที่เราทำแน่นอน ก็ควรจะสร้าง ผังรายรับ/รายจ่ายในการจัดตั้งธุรกิจขึ้นมา เพื่อทำให้มองเห็นภาพรวมว่า เราจะคืนทุนเมื่อใด เราต้องหาลูกค้าจำนวนเท่าใด เราต้องขายเท่าใด เพื่อจะได้เงินครอบคลุมค่าใช้จ่ายและได้กำไร และ เมื่อใดถึงจะคืนทุน และในช่วงที่ยังไม่คืนทุน คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้นานเท่าใด สิ่งเหล่านี้ ควรจะคิดให้รอบคอบก่อนลงมือปฏิบัติ และควรจะคิดค่าใช้จ่ายเผื่อค่อนข้างมากหน่อย เพราะ การลงทุนส่วนมากเกินกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้... เรื่องรายได้ อย่าคาดเดาไว้สูงมากเกิน ควรจะคาดเดาให้ต่ำกว่าสิ่งที่อยากได้มากๆด้วย...

3. วางแผนการปรับปรุงกิจการล่วงหน้าเพื่อพัฒนาให้ต่อเนื่อง
ซึ่งถ้าทั้ง 2 องค์ประกอบพร้อม และ คิดว่าสิ่งที่จะทำสามารถทำขึ้นมาได้ คุณก็จะมั่นใจได้บ้างแล้วว่า สิ่งที่คุณคิดจะเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ก็ลงมือเลยครับ... แล้วให้คิดต่อด้วยนะครับว่า คุณจะขยายธุรกิจของคุณนั้น ใน 2 ปีจะทำอะไร ใน 5 ปีจะเป็นอย่างไร 8 ปี จะทำอะไรเพิ่ม คิดได้เท่าไหร่ก็เก็บไว้ว่า คุณจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วค่อยไปดูเอาสถานการณ์ข้างหน้าอีกทีว่า สามารถทำได้หรือไม่ หรือ อาจจะต้องทำในสิ่งที่ลูกค้าต้องการก่อนก็ได้ อนาคตเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าไม่วางแผน อนาคตนั้นจะไม่มีจุดหมายปลายทาง....




 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2548    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2548 10:28:32 น.
Counter : 2833 Pageviews.  

เทคนิคการสอนงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิผล

การสอนงานของลูกน้อง นั้น ย่อมจะส่งผลให้กับงานของแต่ละส่วนนั้นดีขี้น เมื่อแต่ละส่วนขององค์กรดี ก็ย่อมหมายถึง องค์กรนั้นมีประสิทธิภาพ

การสอนงานที่ดี ย่อมมาจาก คนที่รู้ในงานนั้นอย่างดี ประกอบกับ ความสามารถในการถ่ายทอดว่า คนรู้งานนั้น มีความสามารถทางด้านนี้มากน้อยเพียงใด บางคนรู้งานดีแต่ถ่ายทอดไม่เป็น บางคนถ่ายทอดเป็น แต่ไม่รู้งาน...

องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีการสอนงาน เป็นประจำ ไม่เพียงสอนงานเท่านั้น ยังมีการสอบถึงความเข้าใจในงานด้วยว่า ผู้เรียนนั้น มีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด หากมีความเข้าใจน้อยเกินไป ก็ต้องมีการเข้าอบรมใหม่ และ สอบใหม่จนกว่า จะผ่าน บางที่ก็โยงการเรียนรู้เข้ากับรายได้ของแต่ละคน ซึ่งก็ขึ้นกับแต่ละองค์กร และ แต่ละระบบงาน

ทำไมองค์กรที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เหล่านี้ ต้องทำลักษณะนี้ ก็เนื่องจาก องค์กรเหล่านี้ เข้าใจถึงผลงานที่ได้จากคุณภาพของพนักงาน ว่าจะทำให้งานที่ได้รับนั้นมีคุณภาพ เมื่องานที่ได้จากพนักงานมีคุณภาพ ก็ย่อมทำให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้า และบริการ เมื่อลูกค้าพึงพอใจ ก็ย่อมทำให้องค์กร สามารถขายสินค้า หรือบริการได้มากขึ้น เมื่อ การขายสินค้า และ บริการมากขึ้น ก็ย่อมทำให้รายได้ หรือ กำไร ของบริษัทฯ มากขึ้น เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นก็ย่อมจะได้รับการแบ่งปันผลมากขึ้น มันเป็นผลที่ต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ ที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป...

วิธีการสอนงานนั้น ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเทคนิคของผู้สอนแต่ละคน ขึ้นกับลักษณะของผู้เรียนรู้ และ ขึ้นกับงานที่จะให้พนักงานทำ

งานที่ทำนั้นเป็นงานที่มีหลักการทื่แน่นอน ย่อมง่ายต่อการสร้างให้พนักงานนั้น มีหลักการแบบเดียวกัน อาจจะใช้วิธีการ อบรม หรือ ยกตัวอย่าง เพื่อมาอธิบาย หลักการต่างๆ ให้พนักงานเข้าใจ

งานที่อาศัยความจำของพนักงาน ก็ต้องสร้างหลักการจำให้กับพนักงานเพื่อใช้สังเกตุ หรือ สร้างระบบช่วยค้นหาเพื่อลดความจดจำของพนักงาน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้มาก ส่วนใหญ่มักแก้ไขโดยการสร้างฐานข้อมูล

งานที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมพิเศษ ต่างๆนั้น ก็ต้องแบ่งการอบรมออกเป็น ขั้นพื้นฐาน คือ การให้ความรู้ในการใช้งานโปรแกรม ขั้นมาตรฐาน คือ การให้ความรู้ในขั้นการประมวลผล หรือ เข้าใจขั้นตอนต่างๆมากขึ้น ขั้นสูง คือ ขั้นที่พนักงานสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆพื้นฐานได้ หรือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นนอกเหนือความสามารถของโปรแกรมที่จะสามารถทำได้...

งานที่ต้องการความละเอียดอ่อน และ ปราณีตของการทำงาน ส่วนใหญ่ ต้องสร้างความชำนาญให้กับพนักงาน ดังนั้น จึงต้องฝีกอบรมพนักงานอย่างมากเพื่อสร้างให้เกิดความชำนาญ พร้อมทั้ง สร้างนิสัยความละเอียดอ่อนในการทำงาน ไปพร้อมๆกัน

งานที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตน จะสามารถฝีกได้ โดยการสร้างให้พนักงาน ได้ใช้ความสามารถเฉพาะตนเหล่านั้น ในการประยุกต์ใช้ หรือ ใช้กับเหตุการณ์สมมุติ หรือ เหตุการณ์ จริงก็ตาม เมื่อพนักงานรู้ว่า เหตุการณืเหล่านี้ ต้องใช้หรือต้องแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ ก็จะสามารถจดจำ และ นำไปประยุกต์ใช้กับงานจริงได้ต่อไป

งานที่ต้องการให้ออกมาในรูปแบบเดียวกัน ก็จะต้องฝีกอบรมให้กับพนักงานโดยมีรูปแบบการผีกอย่างเดียวกันด้วย มีหลักการณ์ และวิธีการที่แน่นอน เมื่อผ่านการฝีกอบรมไป ก็ต้องมีการทดสอบ หรือ ตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้พนักงานทำออกนอกลู่นอกทาง เมื่อพบว่า พนักงาน ไม่ปฎิบัติอย่างที่ต้องการ ก็ต้องเรียกเข้ารับการอบรมใหม่

งานที่มีลักษณะใดๆ ก็ต้องฝีกอบรมพนักงานในหลักการนั้นๆ ต่างกันออกไป ซึ่งก็แล้วแต่งานครับ.. อันนี้บอกกล่าวในนี้คงไม่หมด...

ผู้เรียนรู้ กับ วิธีการสอน ก็ต้องประสานให้กลมกลืนกัน


อย่างเช่น ผู้เรียนรู้นั้น เป็นกลุ่มบุคคลที่สมาธิสั้น หรือ ตั้งใจเรียนในช่วงสั้นๆ หรือ มีการศีกษาที่ไม่สูงมากนัก ต้องใช้วิธีการยกตัวอย่าง หรือ ให้ผู้เรียนรู้นั้น ได้ปฏิบัติงานจริง เป็นต้น

ซึ่งต้องแยกแยะผู้เรียน ความรู้ความสามรถของผู้เรียนรู้แต่ละท่าน ให้ออกว่า เขาเหล่านี้มีพื้นฐานอย่างไร อาจจะแบ่งเป็นกลุ่มๆ เพื่อง่ายต่อการให้ความรู้ในแต่ละคนด้วย...

การสอนงานที่ดีนั้น ควรจะยกตัวอย่างประกอบ ให้ผู้เรียนรู้มีส่วนร่วม มีกิจกรรมร่วมกัน และที่สำคัญ ต้องละลายพฤติกรรมของผู้เรียนรู้ก่อนทุกครั้ง เพื่อลดกำแพงทางใจของผู้เรียนรู้ลง...

บางครั้งการสอนงาน ไม่จำเป็นต้องอธิบายกันให้ละเอียด แต่สามารถสอนได้ โดยการเอาความคิดเห็น หรือ ข้อมูลของผู้เข้ารับการอบรม มารวบรวมเป็นความคิดรวม แล้วค่อยอธิบายอีกทีหนึ่ง ทำให้ผู้เรียนรู้รู้สึกว่า นี่เป็นความคิดของเขาเอง ไม่ใช่สิ่งที่ผู้อบรมยัดเยียดให้...

การอบรมนั้น เป็นงานบริการ ดังนั้น ผมจะย้ำเสมอว่า งานบริการ ต้องสร้างให้เกิดเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา...

การอบรมจึงควรจะมี การสอบเพื่อตรวจวัดความรู้ รวมทั้ง การให้ใบประกาศ ในการผ่านการอบรม ยิ่งมีผลสอบ หรือ ระดับความสามารถที่ผู้รับการอบรมได้ด้วยแล้ว จะทำให้เกิดความเอาใจใส่ต่อการอบรมมากขึ้น หรือบางที่ จะมีใบแจ้งผลสอบของพนักงานแต่ละคนที่ส่งเขามารับการอบรม ว่ามีความสามารถหลังจากผ่านการอบรมมากเพียงใด เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็มี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่แจ้งให้กับ ผู้เรียนรู้ และ หัวหน้างานที่ส่งเข้าอบรมรับทราบ รวมทั้งสร้างงานบริการที่ไม่มีตัวตน กลับมาเป็นสิ่งที่มีตัวตน จับต้องได้ และ ให้คุณค่าทางด้านจิตใจได้อีกด้วย...

การตรวจวัดที่ต่อเนื่องหลังจบการอบรมไปนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำเช่นกัน เพราะจะทำให้พนักงานเกิดความกระตือรือล้นตลอดเวลา

งานบางงานสามารถตรวจสอบได้ บางงานก็ต้องให้คนอื่นปลอมตัวไปรับบริการ หรือ บางงานก็ต้องหา ผู้ตรวจสอบ เข้าไปตรวจสอบกันตรงๆ ก็มี...

ทั้งนี้ เมื่อพบว่า คุณภาพของสินค้า หรือ บริการไม่ได้มาตรฐาน ก็ต้องให้มีการอบรมเพิ่มเติม หรือ ให้ทบทวนการทำงานบ่อยๆ จะสร้างให้คุณภาพของงานเหล่านี้ คงที่ได้บ้าง...

ไม่มีใครที่สามารถจดจำ หรือ ทำได้ถูกต้องทั้งหมดจากการอบรมเพียงครั้งเดียว


และ คนเราถ้าจะให้จำอะไรได้นั้น อย่างน้อยต้องตอกย้ำถึง 3 ครั้ง ติดๆ กัน จึงจะได้ผล การสร้างให้เกิดการทบทวนบ่อยๆ ก็เพื่อ วัตถุประสงค์เหล่านี้...

การอบรมที่ดี ไม่ใช่การบ่นหรือ อภิปรายแต่ทฤษฎีให้กับผู้รับการอบรมฟัง...


การมีแต่ ตัวเลข หรือ ข้อมูลมากมายนั้น ไม่ได้ช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจในสิ่งที่จะสื่อ ดังนั้น ต้องให้หลักการณ์ของการบูรณาการ เพื่อสร้างให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างถ่องแท้

การอบรมเป็นสิ่งที่ต้องใช้เงินทอง และ การวางแผนอย่างมาก บางองค์กรไม่วางแผนการอบรมจะทำให้การอบรมไม่ต่อเนื่อง และ ทำให้องค์กรเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

ผู้ให้การอบรม ควรจะมีความรู้ความสามารถ หรือทำงานทางด้านนั้นๆ มิฉะนั้น จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรม หลงทางได้ หรือเข้าใจผิดๆ ไปกระทำกันต่อไป...

หัวหน้างาน ควรเข้ารับการอบรมพร้อมลูกน้องด้วย เพื่อมีมุมมองทางด้านการทำงานในทิศทางเดียวกัน หรือหาก ผู้ให้เข้ารับการอบรมเป็นหัวหน้างานเองแล้ว จะทำให้ผู้รับการอบรม ได้ข้อมุลที่ตรงกับความต้องการของหัวหน้างาน และ หัวหน้างานเอง ก็จะได้รับการกระทำตามที่ต้องการเช่นกัน

คนเราแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เหมือน บัว 3 กอ
ดังนั้น ต้องทำใจบ้าง หากเจอกับบัวที่อยู่ใต้น้ำ ที่สอนอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง หรือ บางกลุ่มก็สอนมากๆถึงจะเข้าใจ แต่บางกลุ่มก็เพียงแต่บอกหัวข้อ ก็เข้าใจว่า สิ่งที่จะสื่อนั้นเป็นเช่นใด ดัง้นั้น การอบรมอย่าหวังว่าทุกคน จะได้รับผลอย่างเดียวกัน มีความสามารถหลังการอบรมเท่ากัน สิ่งที่ได้จากการอบรมในแต่ละครั้ง อาจจะต้องใช้เวลาพิสูตร ยาวนานกว่าจะเห็นผลก็มี .. ทั้งนี้ ก็อย่าคาดหวังกับการฝีกอบรมมากนัก ควรจะเผื่อใจกับผลที่จะออกมาบ้าง...




 

Create Date : 20 มกราคม 2548    
Last Update : 4 มกราคม 2549 11:34:17 น.
Counter : 2148 Pageviews.  

หาก กิจการเริ่มมีปัญหา จะจัดการอย่างไรดี....

หากกิจการใดๆ เริ่มมีปัญหา สิ่งเหล่านี้ อาจจะเป็นคำตอบให้คุณว่า ควรจะจัดการอย่างไรกับกิจการของคุณ

1. ปลุกขวัญและกำลังใจพนักงาน
ตอนนี้สิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือ การปลุกขวัญและกำลังใจพนักงานของคุณ รวมทั้งตัวคุณด้วยว่า สามารถทำให้บริษัทฯ ผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปให้ได้ ไม่ต้องคิดถึงกำไลหรือขาดทุนแล้ว แต่ต้องให้ทุกคนคิดว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ทุกคนอยู่รอด และ สามารถทำงานในบริษัทฯนี้ได้ต่อไป.. ต้องสร้างขวัญและกำลังใจในบริษัทฯก่อนอันดับแรก เลยครับ อย่าให้ขวัญเสีย เพราะจะทำให้เรื่องต่างๆเลวร้ายลงครับ...


2. หาลูกค้าใหม่ให้เร็วที่สุด อย่าเพิ่งเลือกลุกค้ามากนัก
หนังสือมีมากมายหลายเล่ม บางครั้ง คุณจำเป็นต้องตระเวนหาลูกค้ากลุ่มที่ทางบริษัทฯคุณคุ้นเคยก่อน เพื่อให้งานออกมาในคุณภาพดีเท่าเดิม หารายชื่อลูกค้าที่ผลิตหนังสือหาได้จาก หนังสือ The Adverytising Book ในหมวดของ Media ซึ่งจะมีที่อยู่และเบอร์ติดต่ออยู่แล้ว ลองดูครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณต้องหาจุดยืนจุดแข็งของคุณให้ได้ว่า คุณภาพ ดีมากๆ หรือ ราคา ยอมรับได้หรือไม่ เพราะคุณต้องเจอ บริษัทฯที่เค้าเคยติดต่องานด้วยแน่นอน การแข่งขันเรื่องราคาอาจจะตามมา ไม่อยากให้ทำอย่างนั้น แต่สร้างความแตกต่างในจุดที่บริษัทฯคุณสามารถยอมรับได้ และ ได้กำไร ครับ อีกจุดหนึ่งในการทำลักษณะนี้ก็คือ คุณต้องสร้างระบบการให้บริการให้มากที่สุดกับลูกค้ารายใหม่ของคุณ นั่นหมายถึง คุณต้องสร้าง ความสัมพันธุ์กับลูกค้าให้มากขึ้นเป็น 2-3 เท่า ทำไมหรือ เพราะ ลูกค้าที่รับการบริการ จะใช้บริการจากคนที่ติดต่อสื่อสาร และ มีความสัมพันธ์อันดีด้วย เรื่องคุณภาพนั้น ยังสู้ความสัมพันธุ์ไม่ได้เลย..


3. เพิ่มช่องทางทางการตลาดให้มากขึ้น
บางทีคุณอาจจะต้องเพิ่มประเภทของลูกค้าขึ้นมา ในหนังสือนั้น มีรายชื่อบริษัทฯทางด้านการโฆษณามากมาย หรือ อาจจะหาได้จากหนังสือเล่มอื่นๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือ ประเภทต่างๆ ก็ได้ แล้วเข้าไปเสนองานเค้า อย่ายึดกับคนกลุ่มเดียวครับ


4. ทบทวนแผนงาน และ การดำเนินงาน
หากพออยู่ตัวแล้ว ก็ให้ทบทวนแผนงาน และ การตำเนินงานใหม่หมด หาหนทางว่า จะทำธุรกิจให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป การบริการที่ดีเยี่ยม การรักษาคุณภาพของสินค้า การลดข้อผิดพลาดลงให้เหลือ 0 การประเมิณราคา การตลาด ฯลฯ แล้ววางแผนให้บริษัทอยู่ยั่งยืนให้ได้ครับ เมื่อวาง แผนแล้วก็ต้องดำเนินตามแผนที่วางไว้ด้วยนะครับ คอยปรับปรุงแผนงานให้ทันสมัยเสมอ และ คอยประเมิณผลงานของแผนงานเป็นระยะๆ


5. ลดขนาดบริษัทฯลง
หากไม่สามารถดำรงคงอยู่ได้ ภายใน 2-3 เดือน คุณก็ต้องทำใจ ลดขนาดของบริษัทฯลง อันนี้ไม่อยากให้ทำ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องทำครับ บอกความจริงกับลูกน้องครับ แล้วถามเค้าไปเลยว่า หากบริษัทฯ สามารถกู้สถานการณ์ได้ จะกลับมาทำกับบริษัทฯอีกหรือเปล่า.. (หากผลงานดี) เป็นต้นครับ




 

Create Date : 14 มกราคม 2548    
Last Update : 4 มกราคม 2549 11:54:18 น.
Counter : 2510 Pageviews.  

การสร้างระบบ "แฟรนไชส์"

1. สูตรอาหาร - เรื่องนี้เป็นเรื่องโดยปกติไปแล้ว แต่อยากให้ทำในลักษณะที่ไม่สามารถลอกเลียนได้ คราวนี้ทำอย่างไรถึงลอกเลียนสูตรอาหารไม่ได้หละ ก็ต้องใช้การสกัดสารเคมี บางตัวที่ต้องการ เช่นต้องการความหอมของผักชี รวมกับ ความเผ็ดของพริกไท ก็ให้นักเคมีสกัดเอาเฉพาะสิ่งที่ต้องการออกมา ทำเป็นผงแป้ง หรือ น้ำก็ตาม แล้วนำมาเป็นสูตรที่ส่งไปให้ ลูกข่ายได้อย่างสบายใจ หรือ ทำเป็นอาหารกึ่งสำเร็จแล้วขายเป็นวัตถุดิบในการขายของ แฟรนไชส์ซี่ อย่าทำอาหารที่สำเร็จแล้วส่งไปให้ หรือแช่แข็งนานๆ ครับ เพราะรสชาติ และ คุณภาพของอาหารจะด้อยไป

2. การจดทะเบียนต่างๆ พร้อม ตราสินค้า และ ลิขสิทธิ์ - อันนี้ก็แล้วแต่คุณแล้วครับว่าจะจดทะเบียนอะไร แต่ตราสินค้า เป็นเรื่องสำคัญนะครับ

3. ร้านต้นแบบ - การสร้างร้านต้นแบบขึ้นมา ก็เพื่อนำมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียของธุรกิจที่คุณกำลังทำว่ามีความสามารถเพียงใด ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าใด ระบบการขายอย่างไร ระบบเก็บเงินอย่างไร.. หลายๆอย่างจะได้จากร้านต้นแบบ แต่ถ้าคุณมีร้านอยู่แล้ว ก็ต้องสร้างระบบควบคุมให้รัดกุม และ เป็นระบบที่สามารถกระจายการทำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์

4. วัสดุอุปกรณ์ที่จะให้ แฟรนไชน์ซี่ - เมื่อมีร้านต้นแบบ คุณก็จะสามารถคำนวนได้แล้วว่าจะมีของอะไรบ้าง ป้ายโฆษณา โลโก้ ขาดไม่ได้เลยทีเดียว

5..ระบบการจัดการธุรกิจ และ การอบรม ร้านต้นแบบ เป็นจุดเริ่มต้น ระบบจัดการธุรกิจ ก็ต้องทำให้เป็นไปอย่างง่ายๆ เป็นระบบ สามารถทำการอบรม หรือ อ่านคู่มือแล้วสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน เป็นต้น

การอบรมให้ทำธุรกิจได้ก็เป็นเรื่องสำคัญ คุณภาพของสินค้าของเราจะดีหรือไม่ก็ขึ้นกับ คุณภาพของ แฟรนไชน์ซี่ด้วยว่า รับรู้วิธีการ และเข้าใจในการดำเนินการธุรกิจมากน้อยเพียงใด ดังนั้น การอบรม จึงเป็นวิธีการพื้นๆ แต่ได้ผลในการทำให้ระบบงานทั้งระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน


6. สัญญา และ มูลค่า แฟรนไชน์ การตั้งราคามูลค่าแฟรนไชส์ก็ควรตั้งให้เหมาะสม การทำสัญญาให้รัดกุมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ปรึกษาทนาย และ ดูจากสัญญาของระบบงานอื่นดูบ้างก็ดีครับ..

7. การจัดหาวัตถุดิบ และ ควบคุมคุณภาพ - สินค้าจะมีคุณภาพหรือไม่ วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ คุณภาพของวัตถุดิบที่เราจะนำมาทำนั้น เป็นคุณภาพแบบไหน ความชื้นเท่าได ต้องรักษาและดูแลอย่างไรถึงจะรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามกำหนดได้ การจัดซื้อจากแหล่งใดก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้เช่นกัน...คำเตือน อย่าตุนสินค้าไว้ในคลังเยอะเกินไป เพราะจะทำให้เงินหมุนเวียนขาด..

8. การจัดการเรื่องการรับ และ ส่ง วัตถุดิบ - คุณต้องเข้าไปดูแลตั้งแต่การรับสินค้าจาก Supplier การเก็บเข้าคลัง และ การกระจายสินค้าออกไปสู่ แฟรนไชส์ซี่ การจัดทำ Packaging ที่ทำจากเครื่องเลย ก็มีส่วนช่วยให้ลดแรงงานลงไปได้..เช่นน้ำจิ้ม หรือ สูตรสำเร็จที่จะใส่ในน้ำซุปเป็นต้น

9. ราคาวัตถุดิบที่จะขายให้ แฟรนไชส์ซี่ - ราคาวัตถุดิบที่จะขายนั้น ควรจะเป็นราคาที่ไม่สูง หรือ ต่ำจนเกินไป ต้องรับรู้ว่า จริงๆแล้ว เราต้องการสิ่งเหล่านี้ไปโดยตลอด เป็นรายได้หลักของเราที่จะเข้ามาทุกวัน หากคุณภาพ และ ราคาไม่เหมาะกันแล้ว คุณอาจจะเสียลูกข่ายไปได้ง่ายๆ หรือ แฟรนไชส์ซี่ เล่นกลซื้อของอย่างอื่นมาใช้แทน คุณก็จะเสียรายได้หลักไปโดยปริยาย..

10. การดูแลลูกข่าย - เพื่อให้คุณภาพถึงมือผู้บริโภค คุณต้องดูแลลูกข่ายในการจัดการเรื่องต่างๆ ช่วยแก้ปัญหา และ หาวิธีดำเนินการให้เรียบง่าย และ สอดคล้องกับนโยบายธุรกิจของคุณ คนที่ติดต่อกับลูกค้าจริงๆ เป็นแฟรนไชน์ซี่ ดังนั้น ปากต่อปาก มักมาจากคุณภาพของ แฟรนไชน์ซี่ จะดีหรือเลวก็มาจากพวกเค้า จะอยู่รอดปลอดภัยหรือไม่ก็มาจากพวกเค้าเหล่านั้น.. แล้วคุณจะดูแลพวกเค้าหรือไม่.. แล้วแต่คิดนะครับ

11. การเข้าสู่ตลาด และ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตรงตัวครับ ต้องโฆษณา ต้องมีการประชาสัมพันธ์ ต้องมีกลุ่มพันธมิตร สื่อสารให้คนที่ต้องการซื้อระบบได้รับทราบ แสดงให้เห็นข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์ของเรา และ ผลตอบแทนที่เค้าเหล่านั้นจะได้รับ ถ้าเขาเหล่านั้นเห็นความคุ้มค่ามากกว่ารายอื่น เค้าก็จะมาเป็นแฟรนไชน์ซี่ของคุณเองครับ.

12. การควบคุมคุณภาพของแต่ละลูกข่าย - คุณควรมีระบบตรวจสอบคุณภาพของลูกข่ายว่ายังคงดำเนินการตามวิธีการที่ตั้งไว้หรือไม่ คุณภาพของสินค้าที่จำหน่ายไปได้คุณภาพหรือไม่ ต้องทำเป็นประจำเพราะ คนไทย มักชอบหาหนทางลัดที่อาจจะทำให้ภาพพจน์ และ ธุรกิจโดยรวมของคุณเสียก็ได้...

13. การกระจายศูนย์เพื่อควบคุมลูกข่าย - เมื่อคุณขยายลูกข่ายออกไปมากๆ การควบคุมดูแลจะเริ่มมีปัญหา ดังนั้น การสร้างศูนย์ เพื่อควบคุมลูกข่ายเป็นหนทางแก้ปัญหาอย่างหนึ่งเช่น ศูนย์ภาคเหนือ ศูนย์ภาคอีสานเป็นต้น มีการอบรมพนักงานในศูนย์เป็นประจำ และ ตรวจสอบคุณภาพการให้บริการของศูนย์เหล่านั้น อยู่บ่อยๆด้วยครับ.

14. การรับเรื่องร้องเรียน จากลูกค้า และ ศูนย์ควบคุมลูกข่าย - การที่คุณเปิดช่องทางร้องเรียน จากลูกค้า หรือ จากลูกข่าย หรือ ศูนย์ควบคุมลูกข่าย คุณจะสามารถรับรู้ได้ว่า ตอนนี้ สถานการณ์โดยรวมของระบบงานของคุณนั้น อยู่ในสภาวะใด การที่ได้ยินคำติมากๆ หรือ คำชมมากๆ จะทำให้คุณรับทราบว่า คุณต้องทำสิ่งใดต่อไป.. ยังไงแล้ว ความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญนะครับ..

15. การสื่อสารประชาสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย คุณควรจะสร้างระบบการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆของธุรกิจ คู่แข่ง จุดแข็ง และ เรื่องต่างๆให้เครือข่ายรับทราบอยู่เป็นประจำ ทำให้เค้ารับรู้ว่า เขาทำงานกับระบบงานที่มั่นคง และ เราดูแลเขาเป็นอย่างดีเพื่อความก้าวหน้าและมั่นคงของธุรกิจ ตลอดไป..

16. การขยายธุรกิจแนวอื่นๆ เมือถึงจุดหนึ่งของธุรกิจ จะถึงจุดอิ่มตัว คิดเรื่องการขยายธุรกิจแนวอื่นๆไว้ตั้งแต่เนิ่นๆได้เลยครับว่า คุณจะทำเรื่องใดเสริมเข้าไป หรือ ต่อยอดในเรื่องใดบ้าง เพื่อเป็นการเปิดตลาดในกลุ่มใหม่ๆ หรือให้บริการใหม่ๆ กับลูกค้าเจ้าประจำของคุณครับ...




 

Create Date : 14 มกราคม 2548    
Last Update : 4 มกราคม 2549 11:48:22 น.
Counter : 2818 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.