บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
All Blogs
 

ปรับเปลี่ยนระบบงานเก่า ให้เป็น ระบบงานใหม่

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



ระบบงานที่ทำกันมานานบางทีเราจะมีความมั่นใจว่า ระบบของเรานั้นดี ทุกครั้งก็จะเพิ่มเติม และ ปรับปรุงระบบ โดยคำนึงถึงแต่เรื่องคุณภาพของงาน ระบบที่สามารถตรวจสอบได้ ทำให้ระบบงานรัดกุมมากยิ่งขึ้น และ ก็ภูมิใจในระบบของตัวเองอย่างมาก ที่สามารถควบคุมได้ทุกๆจุด สามารถตามงานได้ทุกจุด

ระบบที่ดำเนินมา และ ปรับปรุงควบคุมมานาน จะเป็นระบบที่มีความเสถียร ติดตามงานได้ แต่ไม่รวดเร็ว ช้า และมีขั้นตอนมากมาย วิธีการแรกที่ได้รับมาคือ

การมองระบบในรูปแบบของภาพการเชื่อมโยงเอกสาร


ได้คำแนะนำมาให้รวบรวมเอกสารต่างๆของระบบงานแล้วนำมา จัดวางบนกระดาษที่ติดฝาผนังเอาไว้ แล้ว เขียนให้เป็นการเชื่อมโยงของเอกสาร และ การเดินทางของเอกสาร ติดไปสัก 2 สัปดาห์ แล้วได้รับการแนะนำและชี้ให้เห็น พบว่า พอมองไปที่กำแพงทุกครั้ง จะเห็นระบบงานที่ยุ่งยาก เอกสารมากมาย ที่ซ้ำซ้อน จากระบบที่เราคิดว่า ดีเลิศ กลับกลายเป็นระบบที่มีความใหญ่ เคลื่อนไหวช้า เอกสารซ้ำซ้อน การตรวจตรา และ การจัดเก็บเอกสาร มันซ้ำซ้อน และ เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นอย่างมาก เห็นภาพของระบบงานจริงๆเลย

หลังจากเห็นภาพที่ปรับปรุงก็จัดระบบกันใหม่จากแผนภาพเดิม ระบบดีขึ้น เร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายลงด้วย แต่ตามงานกันง่ายขึ้น

ตอนนี้เราก็ทำแบบเดียวกันกับระบบอื่นๆ หน้ามืดเลย ตอนที่เห็นว่า เอกสารอย่างเดียวกัน มันมีรูปแบบหน้าตาอื่นๆ ที่แตกต่างกัน แต่การใช้งานอย่างเดียวกัน บริษัทฯเดียวกันแท้ๆทำไมเอกสารหลักไม่เหมือนกัน กำลังจัดระบบจากคำแนะนำแรกอยู่ สนุกสนานและทำให้ระบบงานดูดีขึ้นมาก ต้องขอขอบคุณ และ อยากให้เพื่อนๆ ได้นำเอาแนวความคิดไปใช้งานด้วย

จริงๆแล้วการทำงานของเราหรือการออกแบบระบบงานนั้น เราจะสร้างเสริมขึ้นมาเพิ่มมากขึ้นเพื่ออุดรอยรั่วหรือทำให้ระบบงานสามารถติดตามงานกันได้ ดังนั้น การที่ระบบงานที่ดีส่วนใหญ่จะใหญ่เกินไป หรือ มีการทำงานที่ซ้ำซ้อนนั้นเป็นเรื่องปกติ การเอาเอกสารต่างๆออกมาจัดวางในกระดาษ เป็นการจัดให้สิ่งที่เรามองไม่เห็น สามารถจัดออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมจริงๆ สามารถวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น โดยลดความรู้สึกในระบบงานลง แต่เอาความจริงขึ้นมาให้เห็นเป็นรูปธรรม อย่างนี้จะทำให้เราไม่หลงทางครับ

การวิเคราะห์นั้น ต้องให้เห็นองค์รวมของระบบงานให้ชัดเจน เข้าใจการเชื่อมต่อของงานแต่ละงานว่า สิ่งที่เราทำนั้นจำเป็นเพียงใด จะได้วิเคราะห์และจัดหาระบบงานต่างๆเข้าไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และ ได้ผล

ไม่ใช่เรื่องระบบงานเพียงอย่างเดียว การทำงานที่ทำกับความรู้สึกเช่น การประเมิณผลงานของพนักงาน หากสามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้ว ก็จะเป็นตัวชี้ให้เราเห็นว่า คนบางคนที่ดูเหมือนทำงานได้ดี แต่กลับไม่มีข้อมูลสนับสนุน แต่คนบางคนที่ดูเหมือนทำให้เราวุ่นวาย กลับเป็นคนที่ทำให้ระบบงานโดยรวมดีขึ้นตามตัวเลขที่ออกมา แปลกดีเหมือนกันเรื่องพวกนี้ครับ..

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 22 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:45:30 น.
Counter : 2502 Pageviews.  

ตรวจสอบว่าธุรกิจของคุณ ขาขึ้น หรือ ขาลง....

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



เมื่อเริ่มกิจการ คุณก็คิดนั่นคิดนี่ว่า ผลกำไรมันจะคุ้มหรือไม่ แต่เมื่อทำกิจการกันไปแล้ว ไม่ได้คิดอีกเลยว่า ผลกำไรนั้น เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับ เริ่มต้น กิจการมันดีขึ้น หรือ เริ่มหดตัวลง นี่คือสิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไป

กิจการทุกกิจการ ต้องการการตรวจวัดอย่างสม่ำเสมอ เมื่อธุรกิจเริ่มโตขึ้น ก็จะเริ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่อะไรหละที่จะเป็นตัวบอกว่า ธุรกิจของคุณนั้น มีผลการทำงานที่ดีขึ้น เพียงตัวเลขของกำไรอย่างเดียวหรือ... มันมีอะไรมากกว่านั้นครับ

สมมุติว่า คุณกำลังจะทำกิจการ คุณต้องคำนวนว่า ค่าใช้จ่ายเท่าใด จะขายได้โดยประมาณเท่าใด และจะมีกำไรเท่าใด ใช่ไม๊ครับ ถ้าผมให้

ดังนั้น
กำไร = ยอดงินที่ขายได้ - ค่าใช้จ่าย


แต่ถ้าผมหาผลเปรียบเทียบระหว่าง กำไร ต่อ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป = กำไร / ค่าใช้จ่าย

ความหมายของ กำไรต่อค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป หมายถึง จำนวนเงินลงทุน 1 บาท จะได้กำไรกลับมา เป็นเท่าใด

ตัวอย่าง
ซื้อลิปสติกมาราคา 15 บาท แต่ขายไปในราคา 350 บาท หักค่าคอมฯของพนักงาน MLM 200 บาท ค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ โดยเฉี่ลยต่อการขาย 1 ชิ้น ประมาณ 30 บาท ดังนั้น


กำไรต่อจำนวนเงินลงทุน 1 บาท ของลิปสติก ชิ้นนี้ = (350-200-15-30) / (15+30) = 2.33 บาท
หมายถึง ลงทุน 1 บาท จะได้กำไรจากการขาย 2.33 บาท

ในทำนองของ ธุรกิจที่ดำเนินไปแล้ว ก็สามารถคำนวนเช่นนี้ได้เช่นกัน ซึ่งถ้าคุณเทียบค่าตัวเลข ที่คุณการประมาณของคุณเมื่อเริ่มก่อตั้ง ไปเป็นตัวเลขของกิจการเริ่มแรก นั้น โดยทั่วไปตัวเลขของกิจการที่เริ่มดำเนินการ จะต่ำกว่า ตัวเลขประมาณการเสมอๆ และ จะเริ่มดีขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง ก็จะ ค่อยๆ ลดลง

อย่างเช่น ธุรกิจ A ขายสินค้าเมื่อ 5 ปีก่อน ได้ยอดขาย 5 ล้านบาท มีต้นทุนอยู่ที่ 3 ล้านบาท แต่ในปัจจุบัน ธุรกิจได้เติบโตขึ้นอย่างมาก มียอดขายได้ 35 ล้านบาท มีต้นทุนอยู่ที่ 30 ล้านบาท...

มองดูแล้ว ธุรกิจ A เติบโตขึ้นอย่างมาก แต่ที่น่าสังเกตุมากกว่า การเติบโตของธุรกิจ คือ จำนวนกำไร ต่อ เงินลงทุน ของ เมื่อ 5 ปีก่อน เป็น 1.66 ส่วน ในปัจจุบัน เป็น 1.16 นั่นหมายถึง ในปัจจุบันนั้น จำนวนเงินที่ลงทุนไป แล้วได้รับผลกำไรกลับมานั้น มีค่าน้อยกว่าเมื่อ 5 ปีก่อน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ 5 ปีที่แล้ว จะได้ 66% แต่ในเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น กลับได้กำไรแค่ 16% ซึ่งเป็นตัวชี้ว่า ธุรกิจ เริ่มถดทอย หรือ มีการสูญเสียเงินในระบบมากเกินเพื่อขับเคลื่อนให้ธุรกิจดำเนินไปได้ยอดขายตามเป้า เป็นต้น... แต่ทั้งนี้ ควรจะมองเรื่องของความจำเป็นในการทำธรุกิจ และ เป้าหมายในอนาคตอื่นๆด้วย...

ลองดูครับว่า ธุรกิจ ของคุณ กำลังอยู่ในขาขึ้น หรือ ขาลงกัน...

ขอให้โชคดีในธุรกิจที่ทำนะครับ

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 16 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:45:54 น.
Counter : 1737 Pageviews.  

สำรวจตลาดก่อน จัดตั้งธรุกิจ

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



คนที่คิดจะเริ่มทำธุรกิจ ส่วนใหญ่จะคิดถึงรายได้ที่จะเข้ามา หรือ กำไร เป็นหลัก ดังนั้น เวลาเริ่มธุรกิจ ก็จะหาธุรกิจที่คิดว่า ได้กำไรเป็นจำนวนมาก ซึ่งความคิดนี้เป็นกันทุกคน เพียงแต่ อาจจะเป็นจุดอ่อนที่ทำให้คนเริ่มทำธุรกิจประสบกับปัญหาจากกับดักทางความคิดได้ และ ก็ยังมีคนอีกหลายคนที่รู้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่จะหาเงินกับคนกลุ่มนี้ได้ด้วย...

ความคิดเรื่องกำไรนั้น เป็นเรื่องปกติ แต่การจะได้มาซึ่งกำไรนั้นควรจะมีเหตุ และ มีผลประกอบ อย่างมีหลักการณ์ อย่างเช่น หากคุณกำลังจะซื้อ ธุรกิจเฟรนไชส์เกี่ยวกับอาหารสักอย่าง เขาจะเอาตัวเลขต่างๆนานามาให้คุณดู ว่า มันได้กำไรมากมาย รับรองว่าจะได้อย่างนั้น จะได้อย่างนี้ เมื่อเห็นตัวเลขในอนาคตที่จะได้ รับรองว่า ทุกคนอยากจะได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะตัดสินใจทำธุรกิจเหล่านั้นทุกคน

เมื่อมองเห็นว่าธุรกิจที่จะทำนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และ ยิ่งเป็นธุรกิจที่มีคนทำแล้ว ผมแนะนำว่า คุณควรจะหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจนั้นๆ อย่างละเอียด เริ่มจาก ตรวจนับการขายจริงของธุรกิจนั้นๆ ทั้งในวันธรรมดา และ วันเสาร์อาทิตย์ หรือ อาจจะตรวจวัด ตามตารางเวลาของแต่ละวันด้วย เพื่อจะได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้น การจะได้ข้อมูลเหล่านี้นั้น มีวิธีง่ายๆ คือ การนับจำนวนคนใช้บริการ กับคนที่สนใจ ตารางที่ผมมักจะแนะนำเพื่อนๆให้ใช้ คือตารางลักษณะ ตามรูปครับ

วิธีการทำก็แสนจะง่าย คุณก็ไปนั่งใกล้ๆ กับร้านค้าของเขา แล้ว นับจำนวนคนใช้บริการจริงๆ โดยคุณอาจจะต้องระบุประเภทกลุ่มเป้าหมาย ของแต่ละกลุ่มให้ตรงกัน ใช้การขีดเพื่อบอกว่า คนนั้นอยู่กลุ่มเป้าหมายนั้น ใช้บริการเวลาเท่าใด เป้าหมายสุดท้ายอาจจะเป็น จำนวนคนที่เข้าร้านแต่ไม่ซื้อสินค้า แล้วลงรายการแต่ละวัน สุ่มทำสัก 5-7 วัน แล้วแต่ว่าคุณต้องการความเที่ยงตรงเพียงใด อาจจะสุ่มหลายๆ ร้าน หรือ ร้านเดียวก็แล้วแต่

ส่วนตารางที่ผมให้นั้น คุณอาจจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับ ธุรกิจของคุณ อาจจะแบ่งเป็นชั่วโมง ก็ได้ หรือ จำนวนกลุ่มเป้าหมายก็อาจจะน้อยกว่านี้ก็ได้ หรือ อาจจะมีเพียง 1-2 กลุ่มก็ได้ แล้วแต่เอาไปปรับใช้งาน หรือ คุณอาจจะสุ่มเพียง 1-2 วันธรรมดา และ วันเสาร์-อาทิตย์ อีก 1 วันก็ได้ เรื่องเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถและความต้องการของคุณ ยิ่งทำมากคุณก็จะเห็นข้อมูลที่ใกล้ความจริงมากขึ้นเท่านั้น แต่ค่าใช้จ่ายเยอะ เสียเวลา แต่ถ้าทำน้อย คุนก็จะเห็นข้อมูลที่คร่าวๆ แต่ใช้จ่ายน้อยลง เลือกจำนวน และ ช่วงเวลาที่เหมาะกับคุณ เพื่อให้ได้ภาพแค่พอเห็นชัดเจนเท่านั้นก็พอครับ ไม่ต้องทำเป็นเดือนหรอกนะครับ.. เสียเงินเปล่า...

เมื่อได้ข้อมูลมา คุณก็สามารถมองเห็นภาพทั้งรายละเอียด ค่าเฉลี่ยของคนใช้บริการทั้งในวันธรรมดา และ วันหยุด แล้วก็มาหาว่าร้านค้านั้นๆ จะได้กำไรสักเท่าใดจริงๆ ยิ่งเป็น เฟรนไชส์แล้ว คุณจะรู้ถึงต้นทุนที่เขาให้ แต่หากเป็นธุรกิจอื่นๆแล้ว คุณก็ต้องประมาณให้ใกล้เคียงครับ...

ตัวอย่างการคำนวนเมื่อคุณได้ข้อมูลทั้งหมดมาแล้ว

หากคุณพบว่า เฉลี่ยแล้วคนซื้อสินค้าประมาณ 10 คนต่อวันธรรมดา และ 42 คนในวันหยุด แต่มีคนเข้าร้านแต่ไม่ซื้อสินค้า ประมาณ 32 คนในวันธรรมดา และ 64 คนในวันหยุด คุณก็จะคำนวนได้แล้วว่า ในสถานที่ๆคุณไปสำรวจมาสำหรับกิจการนั้นๆ เขามีคนใช้บริการสัปดาห์ละ (10*5)+(42*2) = 134 คน ถ้าเขาได้กำไร ต่อคนประมาณ 20 บาท เขาจะได้กำไรทั้งหมด 134*20= 2680 บาทต่อสัปดาห์ ตกแล้วเดือนนึงจะได้ 10,720 บาท ถ้าเอาส่วนนี้หักค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเช่าที่ ค่าจ้างเด็ก ฯลฯ คุณก็จะเห็นภาพว่า มันสมควรที่จะทำหรือไม่แล้ว แต่นั่นต้องขึ้นกับว่า เป็นธุรกิจแนวใหม่ หรือ ธุรกิจที่อยู่มานานแล้ว เพราะ จำนวนคนเข้าร้านของธุรกิจแนวใหม่ มีโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจแนวนี้เจริญเติบโตได้ เพราะ จะมีจำนวนคน สนใจประมาณ สัปดาห์ละ (32*5)+(64*2) = 288 ราย ตกเดือนละ 1,152 ราย ซึ่งหากสามารถปรับให้คนสนใจ มาเป็นลูกค้าได้อีกสัก 10% ของคนเข้าร้านแล้วไม่ซื้อทั้งหมด (115 คน)โอกาสของธุรกิจนี้ ก็อาจจะไปได้ครับ มันแล้วแต่มุมมองของข้อมูลมากกว่า

หากคุณดำเนินกิจการดังกล่าวจริงๆ จากตารางที่ให้ คุณจะรู้เลยว่า ช่วงเวลาใด ที่คุณจะตบยุง หรือ ช่วงเวลาใด ที่คุณจะงานยุ่ง คุณสามารถบริหารเวลาของคุณได้ด้วยว่าควรเรียกคนมาช่วยช่วงวันหรือเวลาใด

บางธุรกิจไม่มีธุรกิจต้นแบบมาก่อน ก็ต้องใช้วิธีการสำรวจ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ว่า เขาชอบหรือไม่ชอบอย่างไร อาจจะเป็นแบบสอบถาม สั้นๆ แต่ได้เนื้อหา และ ใจความตรงกับสิ่งที่คุณจะสื่อ หากเป็นสินค้าที่คุณมีมาแล้ว การสอบถามถึงสินค้า หรือ ชื่อสินค้าของคุณ ก็จะเป็นการสร้างชื่อของสินค้าของคุณอีกแนวทางหนึ่ง และ ยังได้ข้อมูลเพื่อมาวิเคราะห์หาความต้องการของลูกค้าอีกทางหนึ่งด้วย...

ทั้งหมดนี้ ก็คืองานวิจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดกิจการของผู้ต้องการมีกิจการเป็นของตนเอง การทำวิจัยเหล่านี้ คุณอาจจะทำของคุณเอง หรือ ให้บริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ทางนี้ทำให้คุณ ก็ขึ้นกับงบประมาณที่คุณจะให้กับการวิจัยตลาดเหล่านี้... แต่ผมอยากเน้นว่า หากคุณเข้าใจ ข้อมูลต่างๆที่คุณเก็บมานั้น มีส่วนให้คุณลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินในการลงทุนได้ และ เป็นการเพิ่มความมั่นใจในธุรกิจที่คุณจะเปิดอีกด้วย คุณจะยอมจ่าย หรือ ยอมเสียเวลากับมัน แต่หากคุณยังยึดว่า ความรู้สึกของคุณเป็นสิ่งที่ถูกต้องแม่นยำแล้ว ก็ตามใจครับ แต่เท่าที่ผมเห็นหลายๆท่านที่ยึดความคิดของตนเป็นหลัก มีเพียงไม่กี่ท่านที่ประสบความสำเร็จจริงๆเท่านั้น...

ขอให้โชคดีในการทำธุรกิจนะครับ...

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 16 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:49:36 น.
Counter : 2046 Pageviews.  

เส้นทางสู่ความเป็นเจ้าของกิจการ

เส้นทางสู่ความเป็นเจ้าของกิจการ


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)




ถ้าเริ่มจะทำธุรกิจของตัวเองแล้ว วิสัยทัศน์ จำเป็นก็จริง แต่ผมให้ ความมุ่งมั่น มีเครดิตมากกว่าหน่อย เพราะ คนมุ่งมั่นที่จะทำจะพยายามเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ จนสามารถมีวิสัยทัศน์ได้ ฟังดูแปลกๆเนอะ... แต่ความเป็นจริงของเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จหลายๆคน คือการเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น ทำอะไรทำจริงๆ มุ่งทำในสิ่งนั้น และ เชื่อว่ามันจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ ทำให้เขาเหล่านั้นมีกำลังใจ และ เชื่อมั่นในการกระทำของเขา ถึงแม้นจะเกิดปัญหามากมาย หากยังมีความมุ่งมั่น ก็จะทำให้อุปสรรค ลดน้อย หรือ เบาบางลงไปได้...

การจะทำธุรกิจของตัวเองนั้น สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจคือ เข้าใจตัวเองเสียก่อนว่าตัวเองนั้นมีความเก่ง หรือ มีจุดเด่นทางด้านใด เพราะว่า ธุรกิจ แต่ละธุรกิจนั้น ย่อมต้องการคนที่แตกต่างกัน มันก็เหมือนหน้าทีการงานครับ งานบางอย่างคนหนึ่งทำได้ดี อีกคนอาจจะทำได้ไม่ดี ดังนั้น การเข้าใจตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ที่จะเป็นตัวชี้ว่า เราควรจะดำเนินธุรกิจแนวไหน... มันเป็นการค้นหา สูตรความสำเร็จ ของแต่ละคนครับ

อย่างเช่น คนที่ชอบติดต่อกับคนอื่น ชอบคุย ชอบต่อรองในการซื้อสินค้า ดังนั้น สูตรความสำเร็จของคนกลุ่มนี้คือ การขาย หรือ การเสนองานต่างๆ ด้วย เพราะ นิสัยเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะผลักดันธุรกิจนี้ คนกลุ่มนี้ จะทำธุรกิจเกี่ยวกับ การซื้อมาขายไป หรือ การให้บริการ เป็นต้น และ จะเน้นเรื่องบริการลูกค้าเป็นหลัก

หรือ อย่างคนที่ชอบลุยงาน ทำงานได้ทุกอย่าง ประเภท เหงื่อออกดีกว่าน้ำตาไหล ยังไงอย่างนั้น คนประเภทนี้ จะมีสูตรความสำเร็จ เกี่ยวกับงานทางด้านโรงงาน อย่างคุณตัน โออิชิ ก็เป็นคนๆหนึ่งในกลุ่มนี้ จะสังเกตได้ว่า คนกลุ่มนี้ จะทำงานได้ทุกประเภท ลุยงาน ขอให้ได้ทำ และ ทำให้ดีที่สุด ก็จะทำให้สิ่งต่างๆดีขึ้นมาเอง

บางคนเป็นนักบริหารมาตลอดชีวิต สูตรสำเร็จของเขาคือการบริหาร ดังนั้น กว่าจะทำกิจการตัวเอง เขาต้องมีทุน หรือ มีคนสนับสนุนเรื่องทุน และ จะวางโครงร่างอย่างดี บริหารอย่างดี เน้นภายใน และ ตัวเลข คนกลุ่มนี้ ก็จะทำอะไรที่ควบคุมได้ สามารถจัดเป็นระบบได้ หรือ แม้นกระทั่ง การสอน การอบรม ก็จะเป็นแนวทางของคนกลุ่มนี้...

เห็นไม๊ครับว่า เมื่อค้นหาสูตรความสำเร็จ ของแต่ละคนได้แล้ว ก็จะเข้าใจได้ว่า ตนเองนั้นควรจะทำอะไรอย่างไร แต่คนส่วนน้อยที่จะสามารถเข้าใจตัวเองได้ว่า ตนเองนั้น เก่ง หรือโดดเด่นอะไร จึงเหมือน พยายามทดลอง ค้นหา หรือ ทำตามอย่างคนอื่นเขา เห็นเขาทำอะไรแล้วดี ก็จะพยายามทำเลียนแบบ โดยไม่ได้คิดถึงความสามารถของตนเองเลยว่า มีความสามารถทางด้านนั้นหรือไม่... ที่เห็นบ่อยก็เป็นอาชีพที่กำลังรุ่งๆ ก็จะเฮกันไปทำ อย่างเช่น ขายกาแฟ ทำสปา ฯลฯ เป็นต้น

เมื่อเข้าใจตัวเอง ก็ต้องสร้างโอกาสให้กับตนเอง ทั้งการเรียนรู้ และ ฝีกทักษะ เหมือนกับ ballabon กล่าวไว้ เพราะ เมื่อคุณรู้ว่า สูตรความสำเร็จ ของคุณนั้น คืออะไร ก็จะเข้าใจ ว่าสิ่งอะไรที่คุณยังขาดอยู่ ยังต้องสร้างทักษะขึ้น ก็จะได้จัดเตรียมสิ่งที่คุณควรจะเรียนรู้ หรือ สิ่งที่คุณต้องฝึก เพื่อจะได้เป็นบันไดก้าวต่อไป

อย่างเช่น หากสูตรความสำเร็จของคุณ คือ การชอบทำอะไรซ้ำๆบ่อยๆ ยิ่งทำยิ่งชำนาญ ยิ่งมีความมั่นใจ และ หากคุณชอบที่จะบริการด้วยแล้ว คุณอาจจะทำธุรกิจทางด้าน เปิดร้านให้บริการทางด้านนวดแผนโบราณ ร้านขายกาแฟ หรือ ธุรกิจเล็กๆ ที่ต้องทำด้วยตนเอง เป็นต้น เมื่อคุณคิดว่าคุณจะทำกิจการประเภทใด แล้ว ก็ต้องเริ่มศึกษาสิ่งที่คุณจะทำอย่างจริงจัง ใช้ความมุ่นมั่นที่มีผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ และ เริ่งการเรียนรู้ของคุณด้วยการ กำหนดเป้าหมายการเปิดกิจการของคุณเอาไว้อย่างจริงจัง

คราวนี้ก็ต้องเลือกประเภทของกิจการที่จะทำว่า คุณจะเลือกทำกิจการประเภทใด แนวใด แล้วหาองค์ประกอบของธุรกิจนั้น หรือ บริการนั้น รวมทั้งหาประสบการณ์ความรู้ ว่า ธุรกิจที่จะเปิดนั้น ต้องมีอะไรเป็นองค์ประกอบ และ แต่ละองค์ประกอบจะต้องทำอย่างไร มีอะไรเป็นตัวแปล และ ธุรกิจของคุณนั้น จะเน้นเรื่องใด เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผู้บริโภค

อย่างเช่น หากคุณต้องการเปิดร้านนวดแผนโบราณ คุณก็ควรที่จะตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะเปิดภายในระยะเวลาเท่าใด อย่างเช่น 1 ปีนับจากนี้ ในระยะเวลา 1 ปีที่คุณกำหนด หรือ เท่าใดก็ตาม ก็ต้องมีการตรวจวัดผลกันบ่อยๆ อาจจะทุกๆ เดือน ว่า คุณได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง หากคุณเก่งด้านวางแผนด้วย ก็ต้องกำหนดว่า แต่ละเดือนคุณจะต้องทำอะไร เรียนรู้อะไร องค์ประกอบของ นวดแผนโบราณมีอะไร อย่างเช่น เงินทุน พนักงานนวด รูปแบบบริการที่ลูกค้าต้องการหรือสนใจ น้ำมันนวดที่มีกลิ่นหอมถูกใจ ต้องมีการนวดฝ่าเท้า หรือ นวดน้ำมันตามร่างกาย ต้องมีราคาที่ยอมรับได้ ฯลฯ จานั้นก็อาจจะเริ่มจากการไปลองนวดแล้วว่า ที่ร้านนวดแผนโบราณเขาทำอย่างไร จดบันทึกต่างๆไว้ แล้วหาข้อดี ข้อเด่นของแต่ละร้าน พร้อมกับหาพนักงานในอนาคตกันไป เมื่อได้ทาบทาม หรือ สอบถามว่าเรียนมาจากที่ใด ก็ไปลองที่สถานที่นั้นๆ ว่า เขามีสอน มีเรียนกันอย่างไร ต้องไปที่วัดโพธิ์ที่เดียว หรือมีที่อื่นๆ ที่มีฝีมือหรือไม่ เมื่อได้แนวทาง พอที่จะรู้ว่าจะหาคนได้อย่างไร ก็ต้องหาร้านขายน้ำมันหอมระเหย ต้องลองว่า กลิ่นไหนที่จะเป็นเอกลักษณ์ หรือสิ่งที่คุณชอบ หรือ บางคนก็เข้าไปเรียนนวดด้วยเลย เพื่อจะได้รู้ว่า สังคมของพนักงานในอนาคตเป็นอย่างไร... แต่การจัดเตรียมสิ่งเหล่านี้เพียงอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ ก็ต้องจัดเตรียมวางแผน เสนอขอกู้เงินหรือ หาเงินเพื่อนำมาลงทุนด้วย...

เมื่อคุณศึกษา และ เข้าใจพื้นฐานของการตั้งกิจการกันอย่างถ่องแท้แล้ว ก็ต้องการเลือกสถานที่ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ ต้องเข้าใจลูกค้าของคุณว่าอยู่ที่ใดมากที่สุด และต้องเข้าใจว่าจะกระตุ้นลูกค้าอย่างไร เพื่อให้ใช้บริการ หรือ ซื้อสินค้าของคุณ การเลือกสถานที่แทบจะเป็นการกำหนดเป็นกำหนดตายกันเลยว่า ธุรกิจของคุณนั้นจะประสบความสำเร็จก้าวหน้ามากน้อย เพียงใด โดยเฉพาะธุรกิจที่มีหน้าร้าน หรือ ต้องให้บริการ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเรื่องสถานที่ หรือ บางธุรกิจ สถานที่ก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญอะไรเลย เช่น โรงงานประกอบสายไฟฟ้า เป็นต้น...

ไหนๆ ก็ยกตัวอย่างร้านนวดแผนโบราณแล้ว ก็เอาเป็นตัวอย่างต่อละกัน ร้านนวดแผนโบราณ ต้องเลือกสถานที่ๆ มีคนเดินทางไปมา หรือ เดินบ่อยๆ หรือ เป็นสถานที่ๆ คนจะปวดเมื่อยได้ง่ายๆ อย่างเช่น จตุจักร สวนลุมไนท์พลาซ่า หรือ สถานที่ๆมีสถานที่กว้างๆ และ ใช้การเดินในการเดินทาง การนวดฝ่าเท้าจะเป็นธุรกิจที่ดีทีเดียว หรือ หากจะจับกลุ่มชาวต่างชาติแล้ว พัฒน์พงษ์ หรือ ริเวอร์ซิตี้ ก็เป็นจุดที่น่ามองเช่นกัน แต่ถ้ามีที่ๆนั่น ผมว่า ทำธุรกิจอย่างอื่นจะดีเสียกว่า.. แต่นั่นแหละ เมื่อมุ่งมั่นก็ทำไปเถอะครับ
สถานที่เป็นสิ่งสำคัญในบางธุรกิจ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายสำหรับสถานที่จึงจะต้องจ่ายเป็นจำนวนมากเป็นเงาตามตัว ต้องคำนวนให้ดีว่า คุณสามารถยอมรับค่าใช้จ่ายในจุดนี้ได้มากน้อยเพียงใด แย่ที่สุดของคุณคุณสามารถทนกับสภาพขาดความคล่องของกระแสเงินสดได้นานขนาดไหน ด้วย และ ธุรกิจของคุณนั้น จะสามารถทำเงินตอบแทนให้จำนวน คุ้นค่ากับการลงในสถานที่นั้นๆหรือไม่ด้วยครับ...


เมื่อได้สถานที่ การจัดตบแต่งหน้าร้านก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน หน้าร้าน เป็นสิ่งที่กระทบกับสายตาของลูกค้าเป็นสิ่งแรก มันเหมือนกับผู้หญิงที่หน้าตาสวยๆ หรือ ผู้ชายรูปหล่อ ใครๆก็อยากมอง ยิ่ง หน้าตาเข้าสเปกด้วยแล้ว ยิ่งอยากรู้จัก หน้าร้านก็เป็นเหมือนหน้าตาของสาวสวยหรือ หนุ่มหล่อ เช่นกัน

การตบแต่งหน้าร้านนั้น ต้องเข้าใจบุคคลิกลักษณะของผู้บริโภคว่า เขาชอบลักษณะอย่างใด ธุรกิจของเราอาจจะมีคนชอบหลายกลุ่มดังนั้น ก็จะต้องแบ่งแยกระดับของการให้บริการออกไป

ธุรกิจนวดแผนโบราณ หากต้องการสร้างความแตกต่าง ก็ต้องจัดสถานที่นวดน้ำมัน ให้แยกออกจากนวดธรรมดา และ นวดธรรมดา การที่มีสถานที่เป็นส่วนตัว ก็จะทำให้รู้สึกถึงความแตกต่างที่จะให้กับลูกค้าได้อย่างมาก ดังนั้น เกรดและราคาที่ให้บริการจึงแตกต่างกัน เป็นต้น

อย่าลืมว่า การจ่ายเงินแพงขึ้น แต่บริการเท่าเดิม ความรู้สึกจะรู้สึกดีแบบไม่สุดๆ ดังนั้น การบริการ และ สิ่งของที่ใช้แต่ละระดับต้องแตกต่างกันไป

ธุรกิจนวดแผนโบราณ ในระดับสูงๆ ก็ย่อมต้องใช้น้ำมันอย่างดี ไม่ฉุนเกินไป การนวดก็ต้องนุ่มนวลมากกว่า ไม่ว่า การบริการเสริมอื่นๆ อย่างเช่น ผ้าประคบน้ำร้อนที่สะอาด การนวดหน้าเพิ่มเติม หรือ สิ่งของเครื่องใช้ก็ควรที่จะแตกต่างกันไปด้วย และ ลดหลั่นกันไปตามเกรดของการใช้บริการ เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงความแตกต่าง ไม่ใช่แตกต่างแค่เพียงสถานที่เท่านั้น...

สำหรับธุรกิจบางธุรกิจที่ไม่มีสินค้า หรือ การบริการ โดยไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านอันเลิศหรูนั้น พนักงานตัวแทนการตลาด หรือเรียกง่ายๆว่า เซลแมนเป็นหน้าตาของธุรกิจที่สำคัญ ไม่ว่าพนักงานที่ออกไปพบลูกค้าก็ต้องเลือกสรรพนักงานที่หน้าตาดี หรือ แม้นแต่พนักงานขายที่ขายผ่านโทรศัพท์ ก็ต้องเป็นพนักงานที่เสียงไพเราะ หรือ มีเทคนิคในการพูดโน้มน้าวที่ดี

เรื่องพนักงานขายนั้นจะเก่งไม่เก่ง ต้องให้ ลุงแอ๊ด มาให้คำแนะนำครับ ผมขอข้ามในจุดนี้ไป แต่ผมขอเน้นเรื่องปฏิสัมพันธ์ กับลูกค้าเป็นหลัก เพราะ ธุรกิจที่เน้นพนักงานขายนั้น จำเป็นต้องมีพนักงานขายที่เก่ง หรือ อาจจะเป็นแนวทางเดียวกัน การอบรมพนักงานขาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ พนักงานขายมีแนวทางเดียวกัน พูดในเชิงเดียวกัน และ เข้าใจเหมือนๆกัน โดยเฉพาะ ผู้บริการกับพนักงานขายต้องมีแนวทางเดียวกัน ไม่ใช่ว่า เจ้าของลดราคาแบบหนึ่ง พนักงานขายลดราคาได้น้อยกว่า ทำให้ผู้ซื้อหันไปหาเจ้าของเพื่อขอต่อรองราคากันหมด ทำให้ระบบรวน ดังนั้น ไม่ว่าทุกส่วนก็ควรที่จะมีแนวทางเดียวกัน ไม่ขัดกันเองครับ...

ไม่เพียงพนักงานขายเท่านั้นที่ต้องใส่ใจ พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับธุรกิจแบบนี้ ในเมื่อเขาไม่ได้เข้ามายังบริษัทฯ เขาก็จะโทรเข้าบริษัทฯเป็นส่วนใหญ่ หากได้พนักงานที่เสียงหวาน และ ให้บริการเขาได้อย่างดีแล้ว ลูกค้าจะเชื่อมั่นในกิจการของเรามากยิ่งขึ้น...

เมื่อเริ่มทำธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ควรมีคือความหนักแน่น และ มีความคิดในการแก้ปัญหาได้รวดเร็ว คนที่จะไปรอดในธุรกิจของตนเองนั้น ต้องมี 2 สิ่งนี้อย่างมาก เพราะ ธุรกิจ ไม่ใช่เปิดดำเนินการแล้วก็จะเจิรญเติบโตขึ้นโดยไม่มีปัญหาเสียเมื่อไหร่ ทุกๆธุรกิจต้องมีปัญหา ซึ่งต้องอาศัย ความหนักแน่น และ การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อทำให้ปัญหานั้นเบาบางลง

บางคนอาจจะเก่งหน่อย ตรงที่สามารถจัดการกับปัญหาก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น ทำให้ปัญหาที่อาจจะเกิดนั้นแทบไม่มี ที่มีก็จะเป็นปัญหาที่ควบคุมไม่ได้ หรือ คิดไม่ถึงจริงๆเท่านั้น อย่างเช่น รถที่โดนทุบ ถ้าผู้บริหารระดับสูงเป็นคนที่มีแนวความคิดที่ดี จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ก่อนการเกิดเหตุลักษณะนี้ขึ้น การยึดเอาแต่หลักการณ์ของตนเองเป็นหลักใหญ่แล้ว อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆได้มากมาย หรือ อย่างชาเขียวโออิชิ ก็แก้ปัญหาในเบื้องต้นได้ดี โดยการเข้ามายอมรับทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลซึ่งได้ใจคนไทยอย่างมาก ซึ่งเป็นจุดที่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดีทีเดียว

การแก้ไขปัญหาต่างๆนั้น มันต้องใช้ประสบการณ์ ข้อเสียของคนไทย คือ ไม่ค่อยเชื่อที่ปรึกษา หรือ ไม่ยอมเชื่อใจจ้างคนที่มีฝีมือเข้าไปจัดการระบบให้ คิดว่า ทุกอย่างต้องทำจากตนเองเสียซะหมด ก็เลยทำให้ต้องงมหาทางเอาเอง กว่าจะเจอ ก็อาจจะต้องสูญเสียอย่างมากก็ได้ เจ้าของที่มีแนวคิดที่จะใช้งานคนที่มีความสามารถเท่านั้น ถึงจะก้าวไปอีกขั้นได้

คนเราเก่งไม่เหมือนกัน บางคนเก่งที่จะทำ บางคนเก่งที่จะบริหาร บางคนมีเงินที่จะจ้าง ดังนั้น ต้องรวบรวมคนที่มีความสามารถแต่ละแขนง ให้ได้ คนเก่งบัญชี อาจจะไม่เก่งด้านการเงิน คนเก่งการเงินอาจจะไม่เก่งทางด้านการตลาด คนเก่งการตลาดอาจจะไม่เก่งทางด้านการขาย คนเก่งด้านการขายอาจจะไม่เก่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การสร้างธุรกิจ ก็เหมือนกับการหาจิ๊กซอร์ที่มีคุณภาพ และ เข้ากันได้อย่างดี ในแต่ละ ชิ้นๆ ให้ต่อและประสานกันได้ หากเป็นชิ้นที่ดูเหมือนเข้ากันได้ แต่คุณภาพไม่ดีก็อาจจะทำให้ภาพทั้งภาพหมดราศีไปหากชิ้นนั้นเป็นชิ้นที่โดดเด่น หรือ อาจจะทำให้ภาพทั้งภาพ ไม่สามารถเกาะกันแน่นก็ได้ หากตัวนั้นเป็นตัวยึดประสานอีกหลายๆตัวที่สำคัญ..

เจ้าของกิจการมักจะอ้างตัวว่าตัวเองเก่ง ตัวเองต้องเด่น ดังนั้น จึงพยายามเล่นลูกคนเดียว ตัดสินใจคนเดียวโดยไม่ฟังคำลูกน้อง ซึ่งทำให้งานวิ่งได้เร็วก็จริง แต่ความคิดของคนๆเดียวจะกว้างขวางได้มากน้อยเพียงใด ผมชอบให้เจ้าของกิจการเป็นตัวประสาน เป็นกาวที่เชื่อมจิ๊กซอร์ แต่ละตัว เป็นกรอบที่ยึดให้จิ๊กซอร์ อยู่ภายในกรอบนั้นๆ หากเจ้าของกิจการพยายามทำตัวเป็นตัวหนึ่งของจิ๊กซอร์เสียเอง ก็จะทำให้ กาวขาดความข้น และ กรอบก็จะไม่ได้จัดระเบียบของจิ๊กซอร์ทั้งหมด แล้วคราวนี้ รูปก็อาจจะไม่เป็นรูปอย่างที่อยากจะเป็นก็ได้...

ความหนักแน่น เด็ดเดี่ยว และ ความมุ่งมั่น จะส่งผลให้กับความพยายามที่จะฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการให้ผ่านพ้นไปได้ แต่ อย่าใช้สิ่งเหล่านี้ในทุกเรื่อง มันมีดี มันก็เป็นสิ่งที่ร้ายกาจได้เช่นกัน..


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 16 มิถุนายน 2548    
Last Update : 19 ธันวาคม 2551 1:50:42 น.
Counter : 3477 Pageviews.  

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



ผมขอเสนอมุมมองเล็กน้อยครับ ซึ่งการจัดการความรู้นั้น เริ่มแรกต้องสร้างให้บรรยากาศขององค์กรหรือหน่วยงานให้มีมุมมอง หรือทิศทางเดียวกันก่อน โดยอาจจะเริ่มจากหัวหน้างานหรือพนักงานระดับอ่อนๆ ก็ยังได้ เพียงแต่ คนที่เริ่มนั้น จะต้องมีจิตใจที่ดีจริงๆ เท่านั้น...

ในองค์กรที่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเหมือนกัน มันขึ้นกับว่า องค์กรนั้นๆ จะมีการแข่งขันมากน้อยเท่าใดด้วย ในกรณีการทำงานนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรายได้ส่วนตัว หรือ ผลงาน อาจจะทำได้ แต่น้อยองค์กรนักที่จะเป็นเช่นนี้ ดังนั้น การทำให้องค์กรเป็นองค์กรของการเรียนรู้นั้น ต้องสร้างให้คนทำได้ในสิ่งที่ต้องการ และ คนที่เรียนรู้ใหม่ก็ต้องได้ในสิ่งที่ต้องการด้วย...

ผมเขียนอาจจะเข้าใจยากสักหน่อย แต่อยากให้มองเห็นปัญหาขององค์กรธรรมดาก่อน ที่ยังไม่ได้ปรับมาเป็นองค์กรของการเรียนรู้ จะต้องมีการแก่งแย่ง แข่งขันกัน การจะทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบเหมือนๆกัน ก็จะทำให้ทุกคนมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันดังนั้น ในสามัญสำนึกของคนปกติ ย่อมเกิดความขัดแย้งในใจว่า หากทุกคนทำงานได้ดีเท่าเรา ย่อมทำให้เรานั้นลดประสิทธิภาพลง... นั่นเป็นความคิดของคนธรรมดาสามัญทั่วๆไป...

ผมใช้วิธีการนี้ครับ

1. สื่อสาร - ทั้งนี้ กลุ่มคนที่ทำงานในรูปแบบเดียวกัน การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญ ยิ่งเป็นงานที่ต้องทำให้เหมือนกัน หรือ ทำอย่างเดียวกัน ยิ่งต้องพูดคุย และ มีการสื่อสารถึงกันเป็นระยะๆ อย่างไม่ขาดสาย การทำความเข้าใจระหว่างกันเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก การยกตัวอย่างวิธีการทำงานที่ได้ผล จะทำให้เจ้าของผลงานมีความรู้สึกถึงความสำเร็จของการทำ และ ได้แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน อย่างทีมงานของผมทีมหนึ่ง ต้องมองเห็นภาพๆหนึ่งแล้วต้องตีความให้เหมือนกัน ดังนั้น มุมมองให้ภาพต้องเหมือนกันก่อน ซึ่งต้องทำการอบรม ทดสอบ และ ประเมินผลความเข้าใจว่า พอเพียงต่อการทำงานแล้วหรือยัง ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยที่พลิกแพลงจากข้อกำหนด ก็เอามาแสดงให้ทุกคนเห็น อธิบายมุมมอง หรือ วิธีการตัดสินใจของหัวหน้างาน หากสามารถปิดประกาศไว้ก็จะทำ แต่ส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลไว้เป็นฐานข้อมูล ทุกคนสามารถค้นหาได้ในภายหลังด้วย

2. ให้เกียรติ - ผู้ทำการให้ข้อมูล หรือวิธีการต่างๆ ย่อมได้ผลงานที่ดีไปเป็นผลตอบแทนเสมอๆ ไม่ว่า รางวัล หรือ เกรียติยศ มีการชมเชยทุกครั้งกับการเสนอวิธีการที่ดีขึ้น หรือ บอกวิธีการทำงานที่ทำได้ดีขึ้น มีการช่วยเหลือกันหากมีปัญหาเกิดขึ้น เป็นต้น

3. เรียนรู้ร่วมกัน - การสร้างให้ทีมงานมีการเรียนรู้ร่วมกันนั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก ต้องสร้างกระแสให้เกิดขึ้น ทั้งจากความผิดพลาด หรือ การทำผลงานก็ตาม แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส เอาสิ่งที่ลูกค้าต่อว่า มาเป็นตัวสร้างบรรทัดฐานใหม่ๆ เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันขึ้น

4. คิดให้ไกลกว่าเดิม - มีการชมเชย และให้รางวัลคนที่คิดได้และทำได้ดีขึ้นเสมอๆ ดังนั้น จึงกลายเป็นแรงขับให้พนักงานทุกคน พยายามทำในสิ่งที่ดีกว่าเดิม แล้วนำเสนอ เพียงข้อเสนอดีๆสักข้อก็อาจจะเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรได้เช่นกัน...

5. ปฏิบัติให้เห็นผล - บางคนก็เก่งแต่พูด เก่งแต่เสนอ ดังนั้น ข้อเสนอที่ไม่น่าจะทำได้จะต้องท้าให้คนเสนอทำให้เห็นผลออกมาให้ได้จริงๆ หรือ บางอย่างที่ผู้บริหารคิด หรือ หัวหน้างานคิดขึ้นมา ส่วนใหญ่จะถูกต่อต้านก่อนการยอมรับ จึงอาจจะต้องกันบางส่วนให้ทำเป็นกลุ่มทดลอง เมื่อทำในกลุ่มย่อยได้ ก็ต้องสามารถปรับให้ใช้กับกลุ่มใหญ๋ได้เช่นกัน ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเพื่อทำให้ทุกคนโน้มน้าวที่จะทำ

6. บันทึก - ความรู้ที่ทุกคนเสนอ หรือ สามารถทำได้ผล ทั้งก่อนการเปลี่ยนแปลง และหลังการเปลี่ยนแปลง เป็นลำดับขั้นตอน ลงใน เวป หรือ คู่มือการทำงานต่างๆ และ อย่าลืมใส่ชื่อคนเสนอแนวความคิดไว้ด้วย จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจกับคนที่เสนอแนวความคิดว่า มีชื่อในคู่มือการทำงานขององค์กร

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้นะครับ อาจจะสามารถช่วยได้บ้างนะครับ...

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 14 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:50:34 น.
Counter : 2868 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.