บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
All Blogs
 

อยากจะทำธุรกิจ ก็ต้องวางโครงร่างของสิ่งที่จะทำเสียก่อน

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





จากผังด้านบนแสดงให้เห็นถึง การที่เราต้องการทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น จะต้องมีความรู้ ความสามารถ และ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลของเราให้รู้ว่า เราเหมาะหรือไม่เหมาะ มันมีโอกาสของความเป็นไปได้มากน้อยเท่าใด ก่อนลงมือทำ ไม่อย่างนั้น การที่เราเอาเงินไปลง ก็อาจจะเสียเงินทั้งหมด หรือ อาจจะเป็นหนี้เป็นสินได้ หรือ แม้นแต่จะพยายามขอกู้เงินใคร นายธนาคาร ก็คงต้องการความมั่นใจว่า งานที่คุณเสนอมา ประกอบกับหลักทรัพย์ที่นำเข้ามาค้ำประกันนั้น มีความเป็นไปได้ และรายได้ต้องสามารถมีพอที่จะจ่ายธนาคาร พร้อมทั้งมีพอที่จะดำเนินธุรกิจอย่างสบายๆ ด้วย...

ดังนั้น การปูพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจของผู้ประกอบการใหม่ จึงเป็นสิ่งสำคัญว่า คุณควรจะรู้อะไร และ ทำอย่างไร แต่เหนือสิ่งอื่นใด นั่นคือ คุณต้องเลือกสิ่งที่คุณจะทำให้เหมาะสมกับตัวคุณ และ สภาพแวดล้อมของคุณให้ได้ก่อนที่จะให้ใครเข้าไปช่วยเหลือ...

การทำธุรกิจใดๆนั้น ตราบใดที่คุณยังไม่รู้ตัวตนของตนเองเลยว่า คุณอยากทำอะไร หรือ อยากทำอย่างนี้ อยากทำอย่างนั้น แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงจุดใด ผมแนะนำว่า ให้คุณลองเขียนโครงร่างของธุรกิจของคุณเสียก่อน เพื่อจะได้มองภาพโดยรวม และ ภาพอย่างละเอียดได้ว่า สิ่งที่คุณอยากจะทำนั้น มีความเป็นไปได้ในการทำมากน้อยเพียงใด

ถ้าพูดภาษาที่เลิศหรูอลังการก็คือ ให้คุณ เขียนแผนการประกอบธุรกิจ แต่สิ่งที่ผมอยากให้คุณทำนั้น มันคงไม่ใช่เอาหลักการณ์ต่างๆ มาลงไว้ซะทุกอย่าง เพียงขอแค่ ผู้ที่จะเริ่มธุรกิจใหม่นั้น ควรจะจัดลำดับความคิด และ เรียบเรียงสิ่งที่ต้องการทำให้เป็นรูปเป็นร่างที่สามารถสื่อให้คนอื่นรู้ว่า คุณจะทำอะไร ให้ได้เสียก่อน

สิ่งต่อไปนี้ ผมแค่สมมติให้เห็นถึงการทำธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมก่อนว่า วิธีการคิด และ ทำอย่างมีเหตุผลนั้น ควรจะทำกันอย่างไร

ยกอย่างเช่น ถ้าคุณจะขายบะหมี่เกี๋ยว คุณก็ต้องเข้าใจองค์ประกอบต่างๆของบะหมี่เกี้ยวว่า มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของบะหมี่เกี้ยว 1 ชามประกอบด้วยอะไร - เส้นบะหมี่ เกี้ยว ผักกวางตุ้ง หมูแดง น้ำมัน ผักชีต้นหอม น้ำซุป เป็นต้น

วิธีการทำบะหมี่เกี้ยวก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งด้วยที่ต้องรู้ขั้นตอนการทำ ตั้งแต่การห่อเกี้ยว การลวกเส้น การกำหนดส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆ การใส่น้ำมัน การใส่น้ำ เป็นต้น

จากนั้น คุณก็ต้องมองว่า คุณจะต้องมีอะไรอีกที่เป็นสิ่งประกอบการเปิดร้านบะหมี่เกี้ยว เช่น พวงพริก โต๊ะ เก้าอี้ รถเข็น ช้อน ตะเกียบ แก้วน้ำ ถังน้ำแข็ง อาจจะมีกระดาษทิชชู่ ฯลฯ ตามแต่ที่คุณคิดได้

ถ้ามีวัสดุพร้อมแล้ว ก็ลองหาราคาสินค้าต่างๆ ว่าราคาเท่าใด จะหามาจากไหนได้บ้างถ้าเปิดร้านค้าจริงๆ คุณก็จะรู้ว่า เงินที่คุณจะต้องลงทุนกับสิ่งของต่างๆ นั้นราคาเท่าใด

ไม่เพียงเท่านี้ ราคาของที่เอามาทำบะหมี่เกี้ยว แต่ละชิ้น แต่ละอย่างนั้นราคาเท่าใด

เมื่อคุณได้ราคาต่างๆ ก็มาพิจารณาว่า คุณน่าจะขายบะหมี่เกี้ยวชามนึงราคากี่บาท อาจจะหาจากต้นทุนทั้งหมดที่คุณมีก็ได้ หรือ คุณมีเงินพอเพียงต่อการประกอบอาชีพนี้หรือเปล่า มีเงินทุนสำรองเพียงใด และ คุณมีความรู้เรื่องการทำบะหมี่เกี้ยวมากเพียงใด สิ่งเหล่านี้จะบอกคุณเองว่า คุณพร้อมที่จะทำธุรกิจในเบื้องต้นได้แล้วหรือยัง...

ถ้าคุณมั่นใจว่าเรื่องเงิน เรื่องการผลิตสินค้านั้น คุณรู้ครบและไม่มีอุปสรรคแล้ว ก็ค่อยมามองว่า คุณจะขายใคร ราคาขายของคุณเป็นที่ยอมรับของคนซื้อหรือเปล่า คุณจะขายที่ไหน สถานที่นั้นมีค่าใช้จ่ายหรือเปล่า เหล่านี้เป็นต้น เพื่อทำให้คุณได้พยายามมองหาจุดขายว่าจะขายที่ไหนก่อน

และ ถ้าคุณพร้อม และคิดว่า ธุรกิจน่าจะไปรอดแล้ว ก็ค่อยเริ่มธุรกิจ แต่ถ้าข้อมูลที่คุณคิดบอกว่า คุณยังไม่พร้อม หรือ มันอาจจะไปไม่รอด ก็อย่าดันทุรังจะเปิดร้านเลยครับ เจ๊งไปเสียเงิน เป็นหนี้ มันไม่มีความสุขหรอก

ไม่ใช่ว่าธุรกิจแต่ละธุรกิจจะคิดเหมือนกัน มันมีข้อแตกต่างในรายละเอียดอยู่มากขึ้นอยู่กับธุรกิจ ขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรวมทั้งตัวตนของผู้จะเปิดร้านค้าว่าเป็นอย่างไร ดังนั้น คุณต้องค่อยๆคิด และ วิเคราะห์โดยให้มีความคิดเห็นเป็นกลางมากที่สุด คุณก็จะสามารถทำสิ่งที่คุณคิดออกมาเป็นกระดาษเพื่อวิเคราะห์ และ ถ้าผลออกมาคือไม่ควรทำ หรือ ไม่เหมาะที่จะทำ ก็ยกเลิกโครงการไป แล้วหาโครงการใหม่ขึ้นมาทดแทน ถ้าทำอย่างนี้ คุณก็จะไม่เสียเงินกับการจัดตั้งธุรกิจที่ไม่มีโอกาสหาผลกำไร แต่ถ้าคุณคิดว่า เรื่องเงินไม่ใช่ประเด็นแต่คุณต้องการเพียงประสบการณ์ ก็แล้วแต่ คุณก็ยังสามารถทำได้

สรุป: การจะทำธุรกิจนั้น คุณต้องเข้าใจสิ่งที่คุณจะทำ เข้าใจวิธีการทำ เข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบธุรกิจของคุณ อีกทั้ง คุณต้องประเมิณความเป็นไปได้ว่า มันสามารถเกิดได้จริงหรือไม่ก่อน ก่อนที่จะลงเงินลงแรงไปจริงๆ

"รบในกระดาษให้ชนะก่อนออกสงครามจริง"


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)




 

Create Date : 19 สิงหาคม 2550    
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:17:08 น.
Counter : 3753 Pageviews.  

Food Court / Food Center / Food Park

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



ถ้าพูดถึงระบบการจัดการทางด้าน ร้านขายอาหารแบบ Food Court นั้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับวงการบ้านเราพอสมควร เพราะ เป็นระบบที่พัฒนากันอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่มีการเริ่มสร้างห้างสรรพสินค้ากันเลยทีเดียว

เริ่มแรกของธุรกิจ Food Court หรือ Food Park หรือ Food Center หรือ ชื่ออะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นการขายอาหารแบบ บริการตนเอง ในปัจจุบัน ธุรกิจเหล่านี้ เกิดจากที่ห้างสรรพสินค้า ได้จัดตั้งร้านขายอาหารขึ้น เพื่อให้บริการลูกค้าในห้าง เริ่มจากการจ้างพนักงานเข้าไปเพื่อทำเรื่องอาหารโดยเฉพาะ ทั้งทำอาหาร ทั้งเก็บเงิน แต่ก็เกิดปัญหาเรื่อง เงินไม่ครบจำนวน เลยเปลี่ยนระบบมาเป็นคูปอง เพื่อไม่ให้พนักงานถือเงิน และ บางห้างก็ไม่ต้องการเสียเวลากับเรื่องเหล่านี้ ก็เลยเปิดให้ร้านค้าภายนอกมาเปิดร้านแต่เก็บเงินค่าเช่าพื้นที่แทน... เมื่อเวลาผ่านไปก็มีระบบการเก็บเงินผ่านบัตรบาร์โค๊ต เพื่อลดการผลิตคูปองลง และ นำกลับมาใช้งานได้ใหม่ขึ้น เริ่มมีการเก็บเงินค่าเช่าพื้นที่ และ หักเงินเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย หรือ ทั้งสองอย่างรวมกัน ก็มี ซึ่งก็แล้วแต่ว่าพื้นที่ใดใช้นโยบายใด

การเลือกสถานที่ตั้ง
สถานที่ตั้งเป็นจุดแรกของการทำธุรกิจเช่นนี้ การเลือกสถานที่ตั้ง Food Center นั้นค่อนข้างง่าย ขอแค่เป็นสถานที่ๆมีคนอาศัยในช่วงกลางวันค่อนข้างมาก ก็เพียงพอ ซึ่งจะสังเกตุได้จาก เป็นสถานที่ๆ มีคนทำงานอยู่ค่อนข้างมาก และคนที่ทำงานต้องไม่มีอาหารทานฟรีด้วย อย่างเช่น ถ้าไปเปิดในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีคนทำงานตอนกลางวันค่อนข้างมาก แต่ก็จะไม่ดีเพราะ ในแต่ละโรงงานก็มีโรงครัว เพื่อทำอาหารให้กับพนักงานอยู่แล้ว แต่ควรจะไปเปิดในที่ๆ มีคนทำงานแบบออฟฟิศมากกว่า เช่น สีลม หรือ ตามตึกต่างๆ ที่เปิดสถานที่ให้เช่าพื้นที่เพื่อประกอบธุรกิจเป็นต้น
การเลือกพื้นที่ตั้งที่ออกห่างจากกลุ่มลูกค้านั้นไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะหัวใจของธุรกิจให้เช่าพื้นที่เพื่อประกอบอาหารนั้น คือการที่ต้องให้ความสดวกสบายต่อผู้บริโภค อีกทั้ง อาหาร จาน ชาม ช้อน ต้องสะอาด ราคาต้องเหมาะสมกับอาหาร รวมทั้งสภาพแวดล้อมทั้งภายในภายนอก ก็ควรจะเหมาะสม จึงต้องเลือกพื้นที่ให้เหมาะกับแต่ละสถานที่
หากไม่สามารถเลือกพื้นที่ได้ ก็ต้องใช้การตลาดเข้ามาช่วย เพื่อทำให้คนทั่วไปรู้จัก และ กลายมาเป็นลูกค้าต่อไป ถ้ามีสถานที่แล้ว สิ่งต่างๆ ที่จะเป็นองค์ประกอบของธุรกิจนี้ ก็จะขอแจกแจงเป็นหัวข้อๆ ต่อไป

ห้องน้ำ


แก๊สหุงต้ม
การจัดพื้นที่ให้เหมาะสม เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก อันเนื่องจาก แต่ละร้านค้าต้องใช้แก๊สหุงต้มในการทำความร้อนเพื่อทำให้อาหารสุก เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การจัดวางถังแก๊ส และ ท่อแก๊สนั้นจึงสำคัญมาก โดยทั่วไป ถังแก๊สจะวางไว้ที่ชั้นล่าง หรือ สถานที่ๆสามารถนำรถขนถังแก๊สเข้าถึง ซึ่งค่าแก๊ส ก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะการจัดวางท่อแก๊ส
แต่ก่อนเริ่มแรก เนื่องจากผู้ให้เช่าสถานที่ ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการวางท่อแก๊สแต่ละจุด เลยติดตั้งแก๊สให้อยู่ที่เดียวกัน และ เดินสายแก๊สมาเส้นเดียวและแยกในแต่ละห้อง และคิดราคาค่าแก๊สทั้งหมดรวมกับค่าเช่าพื้นที่ ซึ่งมีปัญหาค่อนข้างมาก เช่น การเปิดแก๊สหุงต้มทิ้ง หรือ ใช้อย่างไม่ประหยัด ซึ่งก็มีวิธีการมากมายในการควบคุมตามมา เช่น การกำหนดเวลาปิดเปิดแก๊ส เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ผู้เช่าพื้นที่มีความไม่พอในกันส่วนมาก
หลังจากพบปัญหาเหล่านี้ขึ้น ทางผู้ให้เช่าสถานที่เริ่มมีการจัดสถานที่วางถังแก๊สมากขึ้น และ ท่อแก๊สก็แยกในแต่ละห้อง เพื่อให้ทางลูกค้าจ่ายค่าแก๊ส และ ควบคุมการใช้แก๊สกันเอง แต่ก็ยังมีการป้องกันการรั่วของแก๊ส โดยมีวาล์วแก๊ส ของแต่ละที่ และ มีเวลาในการปิดวาล์วแก๊ส หลังทำการ เพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้
ตำแหน่งถังแก๊ส จะอยู่ในสถานที่โล่ง สามารถมีการระบายได้ง่าย รวมทั้งสดวกต่อการขนย้ายถังแก๊สออกจากสถานที่ ควรจะอยู่ไม่ไกลจากสถานที่มากนักเพื่อลดระยะทางของท่อแก๊สลง แต่สถานที่วางถังแก๊สต้องห่างจากกลุ่มคนที่เดินพลุกพล่าน และควรจะป้องกันคนภายนอกเข้าออก ควรจะมีการรักษาความปลอดภัย และตรวจสอบการเข้าออกสถานที่ ทุกครั้งที่มีการนำถังแก๊สเข้า หรือ ออกจากสถานที่นี้ เพราะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่างมาก อันเนื่องจากหากเกิดประกายไฟ หรือ มีหากแก๊สรั่วออกมานั้นควรจะมีการระบายออกโดยง่าย เพื่อจะได้ไม่เป็นอันตราย

กลิ่น และ ควัน
พื้นที่ภายในร้านค้า จะมีทั้ง กลิ่น ควันจากการทำอาหาร การวางโครงสร้างของสถานที่ในการกำจัดกลิ่น และ ควัน ต้องทำอย่างดี ไม่เช่นนั้น กลิ่นและควันจะแผ่เข้าไปรบกวน ผู้ทานอาหาร หรือ ทำให้สถานที่เหม็นอับได้
เครื่องกำจัดกลิ่น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องเล็ก ซึ่งไม่เหมาะสมกับสถานที่ ยกเว้น จะติดเครื่องกำจัดกลิ่นไว้ในแต่ละร้าน ซึ่งก็จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แต่จำเป็นต้องใช้หากสถานที่เป็นที่อับ ไม่มีอากาศถ่ายเท หรือ มีช่องระบายอากาศออกน้อยเกินไป ซึ่งขึ้นกับการออกแบบสถานที่ว่า ในช่วงที่ไม่ได้ใช้สถานที่ สามารถทำให้อากาศถ่ายเทได้มากน้อยเพียงใด หรือ มีการถ่ายเทระบายอากาศได้ดีมากน้อยเพียงใด
ส่วนควันนั้น จะต้องกำจัดตั้งแต่สถานที่ประกอบอาหารของแต่ละร้าน ซึ่งต้องใช้เครื่องดูดควันจากหัวรับควันของแต่ร้าน และ ต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการดูดควันปล่องทางออก เพื่อป้องกันไม่ให้ควันย้อนกลับ หรือ ไปยังร้านอาหารอื่นด้วย ปล่องควันนั้น จะต้องออกแบบให้สมดุล เพราะการดูดควันนั้น หากจัดวางโครงร่างและแบ่งรับความหนักเบาของควันได้ไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดการย้อนกลับของควันได้เช่นกัน หรือ จะทำให้เกิดแรงดูดมาก ในห้องที่มีควันน้อยๆ ได้
บางสถานที่จะใช้พัดลมอุตสาหกรรม ในการระบายกลิ่น และ ควันภายในที่หลงเหลืออยุ่ในสถานที่ทานอาหาร แต่ถ้าสถานทีติดตั้งแอร์ ก็จะสูญเสียความเย็นด้วย จึงต้องวางแผนในการระบายกลิ่นและควันให้ดี เพื่อจะได้ไม่ต้องมีปัญหาในภายหลัง

ตู้แสดงอาหาร และ อุปกรณ์ปรุงอาหาร

จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ

ความสะอาดของสถานที่
การทำความสะอาด พื้นที่
การทำความสะอาด โต๊ะ และ เก้าอี้

การกำจัดเศษอาหาร
เศษอาหาร

การกำจัด มด หนู และ แมลงต่างๆ
เครื่องดักแมลง
ยาฆ่าแมลง

การควบคุมคุณภาพของอาหาร

น้ำสะอาด

การคิดค่าเช่าพื้นที่ และ ค่าคอมมิชชั่น
การเลือกร้านค้ามาลงพื้นที่
การประมูลพื้นที่
การเก็บเปอร์เซ็นต์จากร้านค้า - อันนี้ อาจจะลองจัดระบบให้ดู ซึ่งจะอ้างอิงจากพื้นฐานความเป็นจริงละกัน

บริเวณลูกค้ารับประทานอาหาร

ระบบการแลกเงิน
ข้อดีข้อเสียของระบบบัตรและคูปอง
การตรวจสอบพนักงานแลกเงิน

วิถีทาง การตลาด

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 04 กรกฎาคม 2550    
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:27:54 น.
Counter : 6314 Pageviews.  

การผลิต



การผลิต

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



องค์กรธุรกิจทางด้านการผลิต มักจะแบ่งออกเป็นส่วนๆตามหน้าที่เสมอ อย่างเช่น หน้าที่การตลาด เพื่อการขายสินค้า เพื่อที่จะทราบความต้องการของลูกค้า หน้าที่การเงินและการบัญชี เพื่อจัดหาทุน และการตัดสินใจในการลงทุน หน้าที่ทางการบริหารบุคคล หน้าที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญขององค์กรธุรกิจทางด้านการผลิตก็คือ การผลิต

(ภาพจาก //www.applicadthai.com/)

การผลิตก็ขาดระบบการผลิตไม่ได้เช่นกัน ระบบการผลิตจะแบ่งออกเป็นขั้น เป็นตอน หรือ การผลิตสินค้าแบบตามสั่ง ก็ต้องมีการควบคุมการผลิตด้วยระบบการผลิตทั้งสิ้น การบริหารจะเข้ามามีส่วนร่วมกับระบบการผลิต เพื่อกำหนดแผนรวมของกิจการธุรกิจการผลิตสินค้า ซึ่งจะต้องพิจารณาทั้งสภาวะแวดล้อมทั้งภายใน และ ภายนอกองค์กร

สภาวะแวดล้อมภายในองค์กร ก็อย่างเช่น เงิน ทรัพยากรมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผลการดำเนินการ ปัญหาต่างๆ นิสัยส่วนบุคคล ประสบการณ์ส่วนบุคคล บันทึกและเอกสาร รายงาน การสัมนา การประชุม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสภาวะที่เกิดภายในองค์กรทั้งสิ้น ส่วน สภาวะแวดล้อมภายนอกองค์กร ที่จะมีผลกระทบกับองค์กร ก็อย่างเช่น สภาวะเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม การเมือง วัฒนธรรม การแข่งขันจากคู่แข่ง เทคโนโลยี ลักษณะและพฤติกรรมผู้บริโภค แหล่งวัตถุดิบ หนังสือพิมพ์ วารสาร รายงาน หนังสือ เป็นต้น

ทั้งนี้ระบบการผลิตต้องอาศัย ทิศทางขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของกิจการ ต้องอาศัยทิศทางจากความต้องการของลูกค้า กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ของสินค้าที่ผลิต วิธีการ เทคโนโลยี และ งบประมาณที่ต้องใช้ดำเนินการ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็ต้องอาศัยระบบ และ การบริหารจัดการเข้ามาควบคุมเพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ไมว่าจะเป็นคุณภาพ ต้นทุนที่ต่ำ มาตรฐานการทำงาน ราคา ปริมาณการผลิตที่เหมาะสม และ ระดับสินค้าคงคลัง

การผลิตนั้น ต้องอาศัยวัตถุดิบในการผลิต แรงงาน ที่ดิน ทุน และ การบริหาร ซึ่งการเลือกทำเลหรือ ที่ดิน เพื่อใช้ในการผลิตนั้น ก็สำคัญค่อนข้างมาก การเลือกทำเลในการผลิตนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ทำเลที่ดีควรจะอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ หรือ อยู่ใก้ลกับแหล่งจำหน่ายสินค้า เพื่อลดต้นทุนที่เกิดจากการขนส่ง หรือถ้าหากต้องอยู่ห่างจากแหล่งวัตถุดิบหรือแหล่งจำหน่ายสินค้า ก็ต้องมีทำเลทีมีการคมนาคมสดวก มีการติดต่อสื่อสารได้อย่างดี หลีกเลี่ยงการแข่งขัน หรือ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องมีทำเลที่ดีกว่า และ ทำเลนั้นๆต้องมีสาธารณูปโภคที่ดี วิธีการที่จะใช้ในการเลือกทำเลในการตั้งโรงงานผลิตนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการสร้างตาราง ให้น่้ำหนักกับความต้องการแต่ละอย่างที่เหมาะกับกิจการ แล้ว ให้คะแนนแต่ละหัวข้อ ของแต่ละทำเล ผลรวมของน้ำหนักที่คุณให้กับแต่ละสถานที่นั้น จะบ่งบอกได้ว่า คุณควรจะเลือกสถานที่ใดมากกว่ากัน...

เมื่อมีการผลิตเกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือปัญหาต่างๆของการผลิต ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
- ปัญหาเกี่ยวกับเทคนิค
- อุปสรรคที่เกิดในกระบวนการผลิต
- ปัญหาที่เกี่ยวกับคน
- ปัญหาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ
- ปัญหาจากการดำเนินงาน
- ปัญหาด้านการวางแผน อย่างเช่นการคาดคะเนความต้องการของผู้บริโภคผิด
- การวางแผนการผลิตผิดพลาด
- ปัญหาการออกแบบกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนหรือลดขั้นตอนมากเกินไป
- การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมหรือยากเกินกว่าความสามารถที่จะผลิต
- หาบุคคลากรที่ไม่เหมาะสมกับงาน
- แรงงานมากหรือน้อยเกินไป
- เครื่องจักรขาดการบำรุงรักษา
- การจัดซื้อที่ได้ต้นทุนสูงกว่าปกติ
- ปัญหาความปลอดภัยของพนักงาน
- ปัญหาจากเงินทุน
- ปัญหาการขนส่ง
ฯลฯ เป็นต้น

ซึ่งปัญหาต่างๆนั้น ก็ต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการกับปัญหา ไม่ว่าจะจัดการที่ต้นเหตุของปัญหา หรือหาวิธีการป่้องกัน หรือ แก้ไขปัญหาเหล่านี้


การผลิตไม่ใช่เรื่องยาก และก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ปัญหาต่างๆของการผลิตของคนไทย ส่วนใหญ่มาจากการไม่มีเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้มองไม่เห็นภาพรวมของการผลิต มองไม่เห็นปัญหาที่ซุกซ่อนไว้ และ มองไม่เห็นการสิ้นเปลืองที่สามารถควบคุมได้ แต่ไม่ได้ทำ

ถ้าคุณมีส่วนร่วมกับการผลิต หรือ ปัญหาการผลิต ต้องหาต้นตอของปัญหาที่แท้จริง แล้วแก้ปัญหาให้ตรงจุดตั้งแต่จุดเริ่มของปัญหา การที่จะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุจะทำให้สิ้นเปลือง และ ปัญหาไม่ยุติไม่ว่าจะให้เวลามันนานเท่าใดก็ตาม

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 16 ตุลาคม 2548    
Last Update : 28 กันยายน 2559 19:21:53 น.
Counter : 7166 Pageviews.  

การจัดองค์กรธุรกิจ

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



เมื่อต้องการจัดตั้งธุรกิจประเภทใดก็ตาม จะใหญ่หรือจะเล็กก็ตาม ก็ต้องสร้างองค์กรธุรกิจให้สอดคล้องกับธุรกิจเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ นักบริหารจะต้องออกแบบและพัฒนาองค์กรขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้ธรุกิจเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งแต่ละธุรกิจก็จะไม่เหมือนกัน

การจัดองค์กรต้องอาศัยความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐาน 3 ประการคือ อำนาจหน้าที่การงาน บุคคลากร และ ทรัพยากร ซึ่งเราจะใช้หลัก 7 ประการในการจัดองค์กร คือ

1. การคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานของการผลิต เช่น กระบวนการผลิต ต้นทุนการผลิต วัตถุดิบ เครื่องจักร การจัดการและการวางแผน เป็นต้น

2. การพัฒนาคนเพื่อสร้างคุณภาพของงาน โดยการพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจ และ ความรู้ความสามารถควบคู่กันไป ซึ่งเหมาะกับธรุกิจบริการ หรือ ธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานคนเป็นหลัก

3. การศึกษาและวิเคราะห์การทำธุรกิจอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นจุดใดๆ ก็ตาม และต้องติดตามธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

4. การศึกษาและวิเคราะห์สภาพสังคม เศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ เรื่องเกี่ยวกับการเมือง นโยบาย เป็นต้น

5. การศึกษาและวิเคราะห์การลงทุน และ การหาแหล่งเงินทุน รวมทั้งการหาแหล่งเงินทุนสำรองเพื่อเป็นตัวสนับสนุน และ ทำให้ธรุกิจดำเนินต่อไปได้

6. การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ อยู่เสมอ ด้วยการตรวจสอบคุณภาพ รวมทั้งตรวจสอบวิธีการผลิต การประเมินผลจากลูกค้า หรือผู้บริโภค ซึ่งคุณภาพก็จะขึ้นกับราคาด้วยเช่นกัน

7. ความร่วมมือและการมีผลประโยชน์ร่วมกันของธุรกิจต่อเนื่อง การคำนึงถึงผู้ขายวัตถุดิบ การสานประโยชน์ร่วมกัน การเข้าใจว่า ทุกคนต้องการกำไรทั้งสิ้น เพียงแต่เขาหรือเราได้พอควรหรือมากเกินไปหรือไม่อย่างไรเท่านั้น


โครงสร้างขององค์กรต้องเหมาะสมกับการบริหารงาน และควรจะยืดหยุ่นได้เพื่อที่จะรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งโครงสร้างขององค์กรถ้าจัดไว้อย่างเหมาะสมจะทำให้ การบริหารงานง่ายเพราะรู้ว่าใครรับผิดชอบอะไร ช่วยให้ติดตามงานง่ายไม่ก่อให้เกิดปัญหางานคั่งค้าง ช่วยให้การทำงานไม่ซ้ำซ้อน สามารถจ่ายงานออกไปได้โดยทั่วถึง ทำให้ขจัดปัญหาการเกี่ยงงาน หรือ ลังเลในการลงมือทำงาน ทำให้คนทำงานรู้ถึงอำนาจหน้าที่ของตนเองว่ามีขอบข่ายงานของเขามีเพียงใด ทำให้มีจิตใจสามารถจดจ่อกับงานที่ทำ สามารถประสานงานระหว่างหน่วยงานและมีความร่วมมือกับบุคคลอื่นได้ดี เป็นต้น

การแบ่งแผนกงานให้เหมาะสมควรกำหนดให้สอดคล้องกับการทำงาน และสนับสนุนให้องค์กรเจริญเติบโต ซึ่งการจ้ดแบ่งแผนกนั้น จะต้องคำนึงถึง การจัดการงานบริหาร การกำหนดขนาดของแต่ละแผนกอย่างเหมาะสม การมองถึงส่วนขยายในอนาคต งบประมาณที่มี การจัดหาบุคคลากรให้ตรงกับหน้าที่รับผิดชอบ และ การประสานงานอย่างมีระบบ ให้เกรียติแก่กันและกัน

แต่ถ้ามองในมุมมองของเจ้าของกิจการนั้น เราจะแบ่งองค์กรตามการบริหารได้ 3 อย่าง คือ องค์กรแบบรวมอำนาจ องค์กรแบบกระจายอำนาจ และ องค์กรที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ซึ่งจะใช้การบริหารแบบใดนั้น ก็ย่อมขึ้นกับความเหมาะสมกับธุรกิจ แต่ผมชอบองค์กรที่สามารถปรับตัวได้ง่ายมากกว่า

องค์กรที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้นั้น เป็นองค์กรที่มีความยืนหยุ่นทั้งการจัดรูปแบบ การจัดหน่วยงาน และ การดำเนินกิจการ แต่องค์กรก็จะมีหลักในการออกแบบง่ายๆ อย่างเช่น

1. มีการวางแผนงานล่วงหน้า โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ หรือ มีปัจจัยอื่นๆกระทบ

2. บุคคลากรระดับสูง ต้องมีความสามารถดัดแปลงระบบที่ทำงานให้ยืดหยุ่น

3. ขนาดของกิจการต้องกระชับ

4. มีการหมุนเวียนของเงินได้ดี เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจ สามารถควบคุมรายรับรายจ่ายได้

5. สามารถติดตามผลการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสามารถรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ


ซึ่งหากสามารถจัดองค์กรได้อย่างนี้แล้ว จะทำให้องค์กรขยายตัวได้อย่างเหมาะสมทั้งขนาด และ วิธีการ เพื่อนๆมีวิธีการจัดองค์กรของเพื่อนๆอย่างไร ลองมาแชร์ความรู้กันหน่อยนะครับ...

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 14 ตุลาคม 2548    
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:30:00 น.
Counter : 6468 Pageviews.  

การจัดเรียงลำดับมีผลกับความสำเร็จในชีวิต

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



ไม่ว่าจะเริ่มกิจการ หรือ ว่าจะทำอะไรก็ตาม การจัดเรียงลำดับสิ่งที่ต้องทำในปัจจุบัน จะส่งผลถึงอนาคนเสมอ ดังนั้น หากมีการตั้งเป้าหมายอนาคต เราก็สามารถมองออกว่า เราจะต้องเริ่มทำ หรือ เริ่มสะสมสิ่งใดบ้าง เพื่อให้ประสบความสำเร็จ หรือ สนับสนุนสิ่งที่เราจะทำให้อนาคต นี่เป็นหัวใจหลักของการวางแผนอนาคตกันเลยทีเดียว...

อย่างเช่น
คุณคิดว่าจะต้องเปิดกิจการเป็นของตัวเองในอีก 2 ปีข้างหน้า... คุณก็ต้องสร้างพื้นฐานของคุณตั้งแต่วันนี้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของคุณ ซึ่งอาจจะต้องทำดังนี้...
1. เรียนรู้สินค้าและบริการที่จะเปิดกิจการ
2. เรียนรู้กลุ่มเป้าหมาย
3. เรียนรู้ตลาด และ ความต้องการของตลาด
4. เรียนรุ้การจดทะเบียนบริษัทฯ
5. เรียนรู้การอ่านงบการเงิน และ บัญชี
6. หาเพื่อนร่วมงานในสายงานต่างๆ
7. มองภาพองค์รวมของระบบงาน การขยายงาน และ บุคคลากร
8. วางแผนการจัดตั้ง
9. วางนโยบายบริษัทฯ
10. หาแหล่งเงินลงทุน
... ฯลฯ

เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการจัดลำดับต่างๆ จะทำให้สามารถเข้าใจการเปิดกิจการ สภาวะแวดล้อม และ อื่นๆได้ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งบางที เมื่อศึกษาแต่ละอย่างลึกเข้าไปเรื่อยๆ อาจจะมองเห็นว่า มันไม่คุ้มกับการลงทุน หรือ มันคุ้มค่ากับการลงทุน ก่อนการลงมือทำจริง อย่างเช่น เมื่อคุณคิดแล้วว่าคุณจะผลิตสินค้าสักอย่าง คุณอาจจะมีความสามารถในการผลิต แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงกลุ่มเป้าหมาย และ ความต้องการของตลาดแล้ว คุณอาจจะเห็นว่า สินค้าของคุณเป็นเพียงสินค้าฉาบฉวยขายได้เฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งๆเท่านั้น ไม่เหมาะกับการที่จะเป็นสินค้าที่ขายได้ตลอด คุณก็ต้องตัดสินใจแล้วคุณจะทำหรือไม่ทำ แล้ว ความต้องการเป็นขาขึ้นหรือขาลง เป็นต้น

แต่เมื่อผ่านเรื่องสินค้า บริการ กลุ่มเป้าหมาย และ ตลาด ได้แล้ว เรื่องอื่นๆก็เป็นเรื่องที่เป็นพื้นฐานที่คุณต้องเรียนรู้ และจัดทำให้เกิดขึ้น อาจจะเรียนรู้ไปพร้อมๆกับการหาสินค้า และ บริการก็ได้...

แต่หากคุณไม่เรียนรู้ หรือ คิดว่าสิ่งต่างๆที่จะเป็นองค์ประกอบในอนาคตนั้นไม่สำคัญ คุณก็จะไม่ใส่ใจจนถึงเวลาที่คุณจะใช้งาน อาจจะสายเกินไป หรือโดนหลอกจากคนที่รู้มากกว่าก็เป็นไปได้...


ดังนั้น จึงควรศึกษาหาความรู้เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในชีวิตของคุณให้มากเข้าไว้เพื่อทำให้อนาคตของคุณสามารถวิ่งได้อย่างรวดเร็ว... สร้างพื้นฐานในปัจจุบัน เพื่อสร้างอนาคตให้กับตัวของคุณเอง...

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





 

Create Date : 07 กันยายน 2548    
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:32:30 น.
Counter : 3052 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.