VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 

ยุทธการรุ่งอรุณแดง (ซัดดัม ฮุสเซน) ตอนที่ 1

“ยุทธการรุ่งอรุณแดง” (OperationsRed Dawn)

ตอนที่ 1

จากหนังสือเรื่อง "ยุทธการขจัดทรราช"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University,  New Zealand

ข้อเขียนนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าเท่านั้น



“ยุทธการรุ่งอรุณแดง” (OperationsRed Dawn) เป็นภารกิจในการค้นหาตัวอดีตผู้นำอิรักประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน (Suddam Hussen)  ภายหลังจากถูกสหรัฐฯ เข้ายึดครอง 

ยุทธการนี้เปิดฉากขึ้นในพื้นที่เมืองอัด-วาดร์ (Ad-Wadr) ใกล้กับเมือง “ทิกริท”  (Tikrit) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา หน่วยที่เข้าปฏิบัติการคือชุดปฏิบัติการรบกองพลน้อยที่ สังกัดกองพลทหารราบที่ ร่วมกับชุดเฉพาะกิจ 121 (Task Force 121) ของสหรัฐฯ รวมกำลังพลที่เข้าปฏิบัติการในครั้งนี้กว่า 600 คนและสามารถตรวจพบ “รังแมงมุม” (spider hole)  ซึ่งเป็นที่ซ่อนตัวของซัดดัม ฮุสเซน ในเวลาประมาณ 20.30ซึ่งแม้ซัดดัมจะมีอาวุธปืนเอเค 47 (AK-47)  อยู่ในมือ แต่เขาก็ไม่ได้ต่อสู้แต่อย่างใด เขายอมมอบตัวต่อทหารสหรัฐฯ โดยดี และอีกไม่นานศาลอิรักก็มีคำสั่งให้ประหารชีวิตเขาด้วยการแขวนคอในที่สุด

ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค..1937 ที่เมืองอัลญะห์ (Al-Awja) ทางตอนเหนือของอิรัก อยู่นอกเมือง "ทีกรีท" (Tikrit) ออกไปประมาณ 13 กิโลเมตร

ชื่อ "ซัดดัมเป็นภาษาอารบิคแปลว่า "ผู้เผชิญหน้า" (he who confronts)  บิดาของเขาชื่อ "ฮุสเซน อาบิด อัลมาญิด" (Hussein Abid al-Majid)  ซึ่งหายสาปสูญไปก่อนที่ซัดดัมจะเกิด บางข้อมูลกล่าวว่าเขาถูกสังหาร ในขณะที่บางข้อมูลบอกว่าเขาทอดทิ้งครอบครัวไปเพื่อมีภรรยาใหม่ 

ซัดดัมเติบโตมากับมารดาของเขาที่ชื่อ  "ซุบฮะห์ ตุลฟะห์ อัลมุสซาลัท" (Subha Tulfah al-Mussallat) ในวัยเด็กชีวิตของเขาไม่ราบรื่นเหมือนเด็กทั่วไป เขาสูญเสียพี่ชายวัย 13 ขวบจากโรคมะเร็ง ก่อนที่จะถูกมารดาของเขาส่งไปอยู่กับลุง ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆ ของแม่ที่ชื่อ  "ไครัลเลาะห์ ตัลฟะห์" (Khairallah Talfah) 

พอซัดดัมอายุได้ ปี มารดาก็แต่งงานใหม่กับสามีที่ดุร้าย ซัดดัมโชคไม่ดีนัก เมื่อแม่รับเขากลับมาอยู่ด้วยและต้องเผชิญหน้ากับพ่อเลี้ยงที่ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด 

จนในที่สุดซัดดัมทนไม่ไหว ต้องหวนกลับไปอยู่กับลุงอีกครั้ง เมื่ออายุประมาณ 10 ขวบและลุงของเขาคนนี้นี่เอง ที่คอยให้คำปรึกษากับซัดดัมในแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่การเข้าเรียนในระดับมัธยม ไปจนถึงเข้าศึกษาต่อด้านกฏหมายในระดับอุดมศึกษา แต่ซัดดัมก็เรียนกฏหมายอยู่ได้เพียง ปี ก่อนที่จะลาออกเพื่อเข้าร่วมกับพรรคการเมืองที่ชื่อ "พรรคบาธ" (Ba'ath)  ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้าสู่การเมืองของเขา

ภายในเวลาไม่นานนัก ซัดดัมก็ฝ่าฟันสมรภูมิการเมือง ที่มีทั้งการปฏิวัติรัฐประหาร จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรองประธานสภาปฏิวัติ หรือ เทียบเท่ากับตำแหน่งรองประธานาธิบดีของอิรัก ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เขาแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอิรักไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยทุ่มเททรัพยากรทุกอย่างในการสร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชน มีการให้สิทธิเสรีภาพสตรีในการทำงานหน้าที่ต่างๆ ในสังคมเท่าเทียมกับผู้ชาย 

ที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่ง ก็คือการประกาศใช้กฏหมายตามแบบสากล ทำให้อิรักเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่ไม่ได้นำกฎหมายอิสลามมาใช้เป็นกฏหมายในการปกครองประเทศ การปรับเปลี่ยนประเทศให้เป็นสากลนี้ ทำให้ซัดดัม ฮุสเซนกลายเป็นที่ชื่นชมของชาวอิรักเป็นอย่างมาก รวมทั้งการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของเขา ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลจากองค์การยูเนสโก (UNESCO: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) ขององค์การสหประชาชาติอีกด้วย

แม้ว่าซัดดัม ฮุสเซน จะนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ก็จริง แต่เขาก็ทุ่มเทพัฒนาเงินทองและทรัพยากรต่างๆ มากมายในการพัฒนามัสยิดและสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ โดยไม่แบ่งแยกหรือกีดขวางสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาของนิกายดังกล่าว แม้ว่าในขณะนั้นอิหร่านกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยรัฐบาลของพระเจ้าชาห์หรือ "โมฮัมหมัดเรซา ปาห์ลาวี" (Mohammad Reza Pahlavi) ได้ถูกผู้นำทางศาสนานิกายชีอะห์ ที่รู้จักกันในนาม "อยาตุลเลาะห์โคไมนีหรือ "ซาอีดรูห์ฮัลเลาะห์ มอสตาฟาวี มูซาวี โคไมนี" (SayyedRuhollah Mostafavi Musavi Khomeini) ทำการโค่นล้มและสถาปนารัฐที่ปกครองที่ด้วยหลักกฏหมายบริสุทธิ์ ซึ่งซัดดัม  ฮุสเซน มีความกังวลว่าแนวความคิดในการสถาปนารัฐอิสลามบริสุทธิ์นี้ จะคืบคลานเข้ามายังอิรักและโค่นล้มอำนาจเขาลงเช่นเดียวกัน

ในที่สุดซัดดัม ฮุสเซน ก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศอิรักอย่างสง่างามในปี ค..1979 เขาเร่งสร้างกระแสชาตินิยมขึ้นในหมู่ประชาชนอิรัก โดยอ้างถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเมโสโปเตเมียในอดีต  มีการกล่าวอ้างถึง "พระเจ้าเนบูชัดเนซซา" (Nebuchadnezzar) ที่ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรบาบิโลน และ "พระเจ้าฮัมมูราบี" (Hammurabi) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอิรักในอดีต รวมทั้งเชื่อมโยงมาถึงซัดดัม ฮุสเซนว่าเปรียบเสมือนบุตรของพระเจ้าเนบูชัดเนซซา อันเป็นลักษณะเดียวกับที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์  (AdolfHitler)  ผู้นำพรรคนาซีของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ พยายามสร้างอาณาจักรไรซ์ที่ ขึ้นมา โดยอ้างถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรไรซ์ที่ ซึ่งก็คืออาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (TheHoly Roman Empire)  และยิ่งใหญ่ที่ปกครองยุโรปในช่วงศตวรรษที่ ถึงศตวรรษที่ 19 และอาณาจักรไรซ์ที่ ในยุคของเจ้าชายบิสมาร์ค (Princeof Bismarck)  หรือ"ออตโต ฟอน บิสมาร์ค" (Otto Von Bismarck)  ที่รวบรวมแคว้นต่างๆ ของเยอรมันจนรุ่งเรือง ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 

ซึ่งการสร้างกระแสชาตินิยม โดยใช้ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่เกรียงไกรในอดีตนั้น จะนำมาซึ่งความรักชาติความภาคภูมิใจในชาติและส่งผลให้เกิดความเป็นปึกแผ่นในที่สุด แต่ในขณะเดียวกันการใช้ประวัติศาสตร์ในการสร้างกระแสชาตินิยมก็มีผลในทางลบ คือการหลงชาติของตนเองจนเลยเถิด กลายเป็น "ความคลั่งชาติและดูถูกเหยียดหยามชาติที่เป็นศัตรู หรือชาติที่ด้อยกว่าในอดีตเช่น ชาวเยอรมันดูถูกเหยียดหยามชาวโปแลนด์และชาวยิวเหมือนกับที่ชาวอิรักเหยียดหยามชาวเคิร์ด (Kurd) นั่นเอง 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2556 10:25:10 น.
Counter : 3791 Pageviews.  

กลไกด้านการบรรเทาสาธารณภัยของประชาคมอาเซียน ตอนที่ 2

กลไกด้านการบรรเทาสาธารณภัยของประชาคมอาเซียน ตอนที่ 2

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

(สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น)



กลไกด้านการบรรเทาสาธารณภัยของประชาคมอาเซียน นอกจากการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนหรือ ADMM ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 1 ยังประกอบด้วย

คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ หรือ ACDM เป็นกรอบความร่วมมือหลักด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกลุ่มประเทศอาเซียนถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ..2546 (..2003) โดยมีองค์กรผู้รับผิดชอบด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเป็นหน่วยงานภายใต้คณะกรรมการชุดนี้ (ในส่วนของประเทศไทยคือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย)เพื่อบริหารจัดการด้านภัยพิบัติร่วมกันโดยมีสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEANSecretariat) ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการคณะกรรมการชุดนี้

คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ หรือ ACDM ได้จัดทำ"ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน"ขึ้นมีชื่อเรียกย่อๆว่า AADMER (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response) ส่งผลให้เกิดความร่วมมือต่างๆดังนี้

1. การจัดตั้งศูนย์ประสานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอาเซียน หรือ AHA Center  (ASEANCooperation Center on Humanitarian Assistance) ตั้งอยู่ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

2. การจัดทำมาตรฐานวิธีปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมและประสานงานในการปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในการบรรเทาภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ASEAN SASOP (ASEAN Standard Operating Procedures for Regional Stand by Arrangements and Coordination of Joint Disaster Relief and Emergency Response Operations) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติร่วมกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

3. การจัดการฝึกแผนภัยพิบัติระดับอาเซียน หรือ ARDEX (ASEANRegional Disaster, Emergency Response Exercise) ในกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อให้เกิดความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติทุกรูปแบบ

การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค หรือ ARF ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ..2545 (..2002) โดยเริ่มต้นจากแนวความคิดในการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกันระหว่างสหรัฐฯและกลุ่มประเทศอาเซียน (UnitedStates of America – ASEAN) ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11ในสหรัฐฯ ทำให้ในช่วงแรกนั้นการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค หรือ ARF มีวัตถุประสงค์ ประการคือ

1. เพื่อส่งเสริมความเชื่อใจซึ่งกันและกัน

2. การพัฒนาการฑูตเชิงป้องกัน

3. การป้องกันความขัดแย้ง

ปัจจุบันการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค หรือ ARF ได้ขยายตัวจนกลายเป็นกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงของประเทศในภูมิภาคอาเซียนและประเทศคู่เจรจา 27 ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศและประเทศคู่เจรจา 10 ประเทศคือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีนสหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ รัสเซีย สหรัฐฯ รวมทั้งประเทศผู้สังเกตการณ์ของกลุ่มอาเซียนอีก ประเทศคือ ปาปัวนิวกินี มองโกเลีย ปากีสถาน ติมอร์เลสเต บังคลาเทศ ศรีลังกา เกาหลีเหนือ 

อีกทั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคได้เริ่มมีบทบาทในด้านการบรรเทาสาธารณภัยมากขึ้น ภายหลังจากที่ภูมิภาคแห่งนี้ได้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการกำหนดให้มีการฝึกบรรเทาสาธารณภัยหรือ DiREx (Disaster Relief Exercise) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการประสานงานระหว่างฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารในการบรรเทาภัยพิบัติรวมทั้งแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการและบรรเทาภัยพิบัติระหว่างผู้เข้าร่วมการฝึก

การฝึกบรรเทาสาธารณภัย หรือ DiREx ประกอบด้วยการบรรยายทางวิชาการการแก้ปัญหาบนโต๊ะการฝึกภาคสนามและการปฏิบัติการด้านการแพทย์โดยการฝึก DiREx 2009  (..2552) เป็นการฝึกครั้งแรกจัดขึ้นที่ เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ การฝึก DiREx 2011  (..2554) จัดขึ้นเมืองมานาโด สุลาเวสีเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย โดยเป็นการจัดร่วมกันระหว่างประเทศอินโดนีเซียและญี่ปุ่น เป็นการฝึกจำลองสถานการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.9 ริกเตอร์ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนับหมื่นคน

สำหรับการฝึก DiREx 2013 (..2556) จัดขึ้นในประเทศไทยโดยประเทศไทยและเกาหลีใต้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งการจัดการฝึกซ้อม ARFDiREx 2013 เป็นการแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของไทยที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านการจัดการภัยพิบัติรวมทั้งการสร้างเครือข่ายกับประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีความก้าวหน้าด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย  และกระทรวงกลาโหม

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า อาเซียนได้ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติเป็นอย่างมาก โดยจัดให้มีกลไกหลักที่รับผิดชอบถึง กลไกด้วยกัน ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ทั้งนี้เพราะกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนต่างมีความเชื่อมั่นตรงกันว่า แม้ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่การเตรียมความพร้อมในระดับสูงสุดขององค์กรผู้รับผิดชอบ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับภูมิภาค ตลอดจนความพร้อมของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ จะสามารถลดระดับความรุนแรงของผลกระทบ และลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า "การรับมือกับภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการเตรียมความพร้อมในระดับสูงสุดนั่นเอง





 

Create Date : 22 สิงหาคม 2556    
Last Update : 22 สิงหาคม 2556 10:51:19 น.
Counter : 2410 Pageviews.  

กลไกด้านการบรรเทาสาธารณภัยของประชาคมอาเซียน ตอนที่ 1

กลไกด้านการบรรเทาสาธารณภัยของประชาคมอาเซียน ตอนที่ 1

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

(สงวนลิขสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น)



ในขณะที่กลุ่มประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN: Association of South East Asian Nations)กำลังจะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน(ASEANCommunity) ในปีพ..2558หรือค..2015นี้จะเห็นได้ว่ามีกลไกด้านเศรษฐกิจจำนวนมากที่ทำหน้าที่ในการผลักดันให้การรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนหรือที่เรารู้จักคุ้นเคยกันในชื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือAEC(ASEAN Economic Community) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นกลไกด้านอัตราภาษีที่มีการลดลงเหลือร้อยละ0มาตั้งแต่ปีพ..2553ในกลุ่มประเทศสมาชิกดั้งเดิมคือไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียฟิลปปินส์ สิงคโปร์และบรูไนดารุสซาลามอีกทั้งประเทศสมาชิกที่เหลืออีก4ประเทศก็จะลดอัตราภาษีในอัตราเดียวกันในปีพ..2558เช่นเดียวกัน

ในส่วนของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนหรือAPSC(ASEAN Political and Security Community) ก็เช่นเดียวกันที่มีกลไกเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยความมั่นคงด้านต่างๆของอาเซียน เช่นความขัดแย้งด้านการทหาร ภัยด้านความมั่นคงของมนุษย์และภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้นดูเหมือนว่ากำลังจะกลายเป็นภัยคุกคามที่มีศักยภาพและความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งนี้เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดจนการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่ดำเนินไปอย่างไร้ขีดจำกัด

ด้วยเหตุนี้เองกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้มีการกำหนดกลไกในรูปแบบต่างๆ เพื่อเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่นับวันจะสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภูมิภาคแห่งนี้มากขึ้นเรื่อยๆสำหรับกลไกหลักด้านการบรรเทาสาธารณภัยของอาเซียนประกอบด้วย

1.การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน(ADMM= ASEAN Defense Minister Meeting)

2.คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ(ACDM= ASEAN Committee on Disaster Management)

3.การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค(ARF= ASEAN Regional Forum)

สำหรับรายละเอียดของกลไกต่างๆดังกล่าวข้างต้นนั้นมีดังนี้

การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน นับเป็นกลไกด้านความมั่นคงระดับสูงสุด(highestdefense mechanism) ของกลุ่มอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ9พฤษภาคม2549(..2006)ณ ประเทศมาเลเซีย โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย

1.ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่น(Confidence)และความเชื่อใจ(Trust)ด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศระหว่างระหว่างประเทศสมาชิก

2.เป็นการแสดงความโปร่งใส(Transparency)และเปิดเผย(Openness)ในนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศสมาชิก

การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่6เมื่อ29พฤษภาคม2555ณกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาได้ลงความเห็นให้ลดความห่างของช่วงเวลาในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา(ADMM-Plus: ประเทศคู่เจรจาของอาเซียนมีทั้งหมด8ประเทศคือสหรัฐฯ รัสเซีย จีน อินเดียญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียนิวซีแลนด์)โดยนับตั้งแต่ปีพ..2556เป็นต้นไปรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาจะประชุมพบปะกันทุกๆ2ปี  รวมถึงรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนได้ลงนามในคำประกาศร่วมกันเพื่อเพิ่มความเป็นเอกภาพสำหรับประชาคมแห่งความปรองดองและความมั่นคง(JointDeclaration on Enhancing ASEAN Unity for a Harmonized and SecureCommunity) โดยจะมุ่งเน้นในประเด็นการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้อย่างสันติภาพ 

สำหรับการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่7จัดขึ้นในเดือนมิถุนายนพ..2556กรุงบันดาเสรีเบกาวันประเทศบรูไนดารุสซาลามมีสาระสำคัญคือการลงนามในปฏิญญาร่วมว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยและประชาชนของอาเซียนและอนาคตร่วมกันเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันสร้างความสงบสุขในภูมิภาคและให้ประชาชนดำรงชีวิตอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ยังมีกลไกอื่นๆเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกลไกเหล่านั้นประกอบด้วย 

1. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ(ADMMRetreat= ASEAN Defense Minister Meeting Retreat) 

2.การประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงกลาโหมอาเซียน(ADSOM=ASEAN Defense Senior Official Meeting)โดยปกติเป็นการประชุมระดับปลัดกลาโหมหรือเทียบเท่า

3.การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน(ACDFIM= ASEAN Chief of Defense Forces Informal Meeting) 

ในส่วนของการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัตินั้นในปัจจุบันการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน กำลังร่วมมือกันพัฒนาบทที่6หรือChapter6 ของ ASEANSASOP* ว่าด้วยการใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหารในภารกิจการปฏิบัติด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(TheFacilitation and Utilization of Military Asset and Capacities inHADR) โดยบทที่6ดังกล่าวระบุถึงการใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหารในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำสาเหตุที่ล่าช้าเนื่องจากติดขัดปัญหาเกี่ยวกับกฏหมายระหว่างประเทศเรื่องการใช้กำลังทหารของประเทศผู้เสนอความช่วยเหลือในดินแดนและอธิปไตยของประเทศผู้ประสบภัยพิบัติ

นอกจากนี้การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ยังได้กำหนดให้มีการฝึกการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของกองทัพอาเซียนทั้ง10ประเทศภายใต้รหัสAHX(ASEAN Militaries HADR Exercise)ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับกำลังพลของกองทัพประเทศสมาชิกให้สามารถปฏิบัติภารกิจในการบรรเทาสาธารณภัยร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการฝึกAHXครั้งที่1จัดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมพ..2554โดยกองทัพสิงคโปร์และกองทัพอินโดนีเซียร่วมกันเป็นเจ้าภาพโดยเชิญผู้แทนกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมฝึกแก้ปัญหาบนโต๊ะ(TTX: Table Top Exercise) ณฐานทัพอากาศชางกี ประเทศสิงคโปร์และฝึกภาคสนาม (FTX: Field Training Exercise)ซึ่งเป็นการฝึกเฉพาะกองทัพสิงคโปร์และกองทัพอินโดนีเซียเพียงสองชาติณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซียสำหรับการฝึกAHXครั้งที่2มีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนพ..2556 ที่ผ่านมาณ ประเทศบรูไน

นอกจากนี้การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนยังมีการขยายกรอบความร่วมมือไปยังประเทศคู่เจรจา8 ประเทศประกอบด้วย สหรัฐฯรัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่นเกาหลีใต้ ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ เรียกว่าการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจา(ADMMPlus = ASEAN Defense Minister Meeting Plus) จัดประชุมครั้งแรกเมื่อ12ตุลาคม2553ณกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามมีการกำหนดกรอบความร่วมมือไว้5ด้านเพื่อรองรับการเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน คือ

1.ด้านความมั่นคงทางทะเล(MaritimeSecurity)

2.การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ(PeacekeepingOperations)

3.การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ(HumanitarianAssistance and Disaster Relief)

4.การแพทย์ทหาร(MilitaryMedicine) และ

5.การต่อต้านการก่อการร้ายสากล(Counter-Terrorism)

สำหรับกลไกสำคัญของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจาหรือ ADMMPlus คือคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ (EWG = Experts' Working Group) ซึ่งกำเนิดขึ้นจากการประชุมADMM-Plusครั้งแรกเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนแผนงานของADMM-Plusและรายงานผลการดำเนินงานต่อADMM-Plusผ่านADSOM-Plus

(โปรดติดตามตอนที่ 2)




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2556    
Last Update : 22 สิงหาคม 2556 10:41:20 น.
Counter : 1606 Pageviews.  

การเสริมสร้างแสนยานุภาพของอาเซียน

การเสริมสร้างแสนยานุภาพของอาเซียน.. 

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

ลงพิมพ์ในนิตยสารเส้นทางนักขาย ฉบับเดือนมิถุนายน 2556




ในช่วงสองปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ากองทัพสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนของเรามีการสั่งซื้ออาวุธกันอย่างขนานใหญ่  จนสถาบันศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (IISS: International Institute of Stratagic Studies) ระบุว่าชาติเอเชียมีการใช้จ่ายด้านการทหารแซงหน้าชาติยุโรปหรือกลุ่มประเทศสมาชิกนาโต้เป็นครั้งแรกในปี พ.. 2554 – 2555 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลกันว่าการสะสมอาวุธอาวุธครั้งมโหฬารนี้จะทำให้เกิดความตึงเครียดและนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอันอาจส่งผลกระทบต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปลายปี พ..2558 หรือ ค..2015 หรือไม่

อินโดนีเซียนับเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการสะสมอาวุธในกลุ่มประเทศอาเซียน  นิตยสารอาเซียน ดีเฟนซ์ฟอรั่ม (ASEANDefense Forum) รายงานว่ากองทัพอินโดนีเซียหรือที่เรียกกันว่า  ทีเอ็นไอ (TNI: Tentara National Indonesia) ได้รับงบประมาณจำนวนมหาศาลเป็นจำนวนถึง 16,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการเพิ่มงบประมาณในการป้องกันประเทศถึง 30%  เลยทีเดียว  ภายหลังจากที่กองทัพอินโดนีเซียถูกตัดงบประมาณมาตลอดสิบปีที่ผ่านมา  เพื่อนำงบประมาณไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  โดยในปี ค..2006  กองทัพอินโดนีเซียได้รับงบประมาณเพียง  2,000  ล้านเหรียญสหรัฐฯ  แต่ในปัจจุบันกองทัพอินโดนีเซียได้รับงบประมาณสูงถึง  8,000  พันล้านเหรียญ  การเพิ่มงบประมาณในครั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและก้าวสู่ความเป็นกองทัพสมัยใหม่ตามแผนพัฒนากองทัพในระยะเวลาสามปี  การเพิ่มงบประมาณเพื่อการพัฒนากองทัพ  โดยเฉพาะกองทัพอากาศและกองทัพเรือในครั้งนี้  จะส่งผลให้กองทัพอินโดนีเซียกลายเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งของกลุ่มอาเซียน

สำหรับแผนการพัฒนากองทัพครั้งใหญ่ของอินโดนีเซียนี้  ประกอบไปด้วยการจัดซื้อรถถัง เรือฟริเกต  เรือคอร์เวต เรือเร็วโจมตีติดอาวุธจรวดนำวิถี  เรือดำน้ำ เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบซุคคอย และ เอฟ 16  โดยกองทัพอากาศอินโดนีเซียจะเพิ่มฝูงบินขึ้นอีกถึง  17ฝูงบิน  จากแต่เดิมที่มีอยู่  18 ฝูงบิน  ประกอบด้วยการสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่แบบซุคคอยจากรัสเซียเป็นจำนวนถึง  64  ลำ  เครื่องแบบขับไล่แบบเอฟ 16  จากสหรัฐฯ  จำนวน  32  ลำ  ซึ่งในจำนวน  24ลำ  จากทั้งหมด  32  ลำได้รับการเสนอจากสหรัฐฯ  เมื่อครั้งประธานาธิบดีบารัก โอบาม่าเดินทางไปเยือนอินโดนีเซีย  เมื่อปี  ค..2010  ว่าจะมอบเครื่องบินรุ่นนี้ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ  ใช้แล้วให้โดยไม่คิดมูลค่า  แต่อินโดนีเซียต้องจ่ายยกระดับสมรรถนะของเครื่องเหล่านี้จำนวน  750 ล้านเหรียญ

เวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการขยายกำลังรบอย่างน่าเกรงขาม  โดยเวียดนามซื้อเรือดำน้ำชั้นกิโล ลำเรือฟริเกตชั้น เกพาร์ด จำนวน ลำพร้อมระบบจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ เคเฮช-35 อี จำนวน 31 ลูกและเครื่องบินขับไล่แบบซู 30 เคเอ็นจำนวน 18 ลำจากรัสเซียซึ่งจะทำให้เวียดนามมีฝูงบินซู 30 ถึง ฝูงด้วยกันเลยทีเดียว รวมถึงสั่งซื้อขีปนาวุธอีกจำนวนหนึ่งจากอิสราเอล แต่ที่สำคัญคือเวียดนามกำลังสนใจที่จะสั่งซื้อเครื่องบินปราบเรือดำน้ำแบบพี 3โอไรออนจำนวน ลำจากสหรัฐฯ ซึ่งหากเวียดนามประสบความสำเร็จในการสั่งซื้อเครื่องบินปราบเรือดำน้ำรุ่นนี้ ก็จะทำให้เป็นประเทศที่สองของอาเซียน ต่อมาจากกองทัพไทยที่มีเครื่องบินรุ่นนี้เข้าประจำการ นอกจากนี้เวียดนามกำลังร่วมมือกับรัสเซียในการก่อสร้างโรงงานผลิตจรวดร่อนและพัฒนาฐานทัพเรือที่อ่าวคัมรานห์ขึ้นอีกด้วย

ทางด้านสิงคโปร์นั้น สถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพนานาชาติแห่งกรุงสต็อกโฮล์ม ได้เปิดเผยตัวเลขค่าใช้จ่ายทางทหารของสิงคโปร์ว่ามีประมาณ 8.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นประเทศที่ใช้จ่ายในการซื้ออาวุธสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน  โดยมีการสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่เอฟ 15 เอสจี พร้อมทั้งกำลังพัฒนาเครื่องบินรบอเนกประสงค์แบบ เอฟ 35 ซึ่งถือเป็นเครื่องบินรบรุ่นที่ อันใช้เทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังซื้อเรือดำน้ำจากสวีเดนเพิ่มอีก ลำ รวมเป็นทั้งสิ้น ลำเพื่อใช้ในฝูงเรือดำน้ำ “ชาลเลนเจอร์”  ที่ตั้งขึ้นทำให้กองทัพอากาศและกองทัพเรือของสิงคโปร์ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและมีแสนยานุภาพที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนในทันที

ทางด้านกองทัพฟิลิปปินส์ก็ต้องการเพิ่มงบประมาณทางทหารเป็นจำนวน 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อพัฒนากองทัพเช่นกัน แม้ว่าจะต้องประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียนก็ตาม ทั้งนี้เพราะต้องการถ่วงดุลย์อำนาจในความขัดแย้งกับจีนเกี่ยวกับปัญหาหมู่เกาะต่างๆในทะเลจีนใต้ โดยได้ตัดสินใจซื้อเครื่องบินขับไล่แบบเอฟเอ 50 จำนวน 12 ลำจากเกาหลีใต้ เฮลิคอปเตอร์ตรวจทางทะเล ลำจากอิตาลี และเรือตรวจชายฝั่งจากญี่ปุ่น 10 ลำนอกจากนั้นฟิลิปปินส์อาจกำลังหมายตาซื้ออาวุธจากโปแลนด์  สเปน แคนาดา ฝรั่งเศสหรือแม้แต่รัสเซียเพิ่มด้วย

ส่วนมาเลเซียซึ่งมีค่าใช้จ่ายทางทหารเป็นอันดับสี่ของอาเซียนคืออยู่ที่ 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็กำลังเสริมสร้างศักยภาพทางทหารอย่างมากมาย เนื่องจากประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก  โดยมาเลเซียกำลังจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ 18 หรือแบบ ซู 30 เพิ่มเติม  รวมทั้งได้จัดซื้อรถถังจำนวน 48 คันจากโปแลนด์ เรือดำน้ำ Scorpene จำนวน ลำ จากการร่วมผลิตของฝรั่งเศสกับสเปน  

นอกจากนี้มาเลเซียกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของตัวเองอย่างน้อยให้ถึงขั้นผลิตอุปกรณ์กระสุนหรืออาวุธเบาได้ และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบเดียวกับที่อินเดียและจีนประสบความสำเร็จมาแล้วด้วย 

ส่วนกัมพูชาก็มีการจัดซื้อรถถังจากยุโรปตะวันออกจำนวน 94 คัน  ในขณะที่ได้รับความช่วยเหลือจากจีนในการส่งมอบรถบรรทุกเพื่อใช้ในกองทัพอีก 257 คันพร้อมทั้งยังสนับสนุนเงินกู้ระยะยาวเพื่อจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ที่ผลิตจากจีนอีกจำนวน 12 ลำ

การเสริมสร้างกำลังทางทหารของกลุ่มประเทศอาเซียนจึงกลายเป็นที่จับตาของประชาคมโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะอีกไม่นานประเทศเหล่านี้ก็จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน การสะสมอาวุธจะส่งผลกระทบต่อการรวมตัวดังกล่าวหรือไม่คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป









 

Create Date : 10 สิงหาคม 2556    
Last Update : 10 สิงหาคม 2556 12:40:57 น.
Counter : 4452 Pageviews.  

มองพม่า : ขุมทองแห่ง AEC

มองพม่า: ขุมทองแห่งAEC

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ 

Master of International Relations (with merit), 

Victoria University of Wellington, New Zealand

ลงพิมพ์ในนิตยสาร เส้นทางนักขายฉบับเดือน พฤษภาคม 2556




สาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์ หรือพม่า (เดิมในภาษาอังกฤษเรียกชาวพม่าว่าBamarหรือบาหม่า)มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์โลกมาตั้งแต่สมัยโบราณในสมัยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยนั้นพม่านับเป็นมหาอำนาจแห่ง"อุษาคเนย์

(ไมเคิลไรท์ นักประวัติศาสตร์และไทยคดีศึกษาชาวอังกฤษเป็นผู้กำหนดคำว่า"อุษาคเนย์"ขึ้นมาแทนคำว่า"เอเชียอาคเนย์"หรือ"เอเชียตะวันออกเฉียงใต้"ซึ่งมีคำว่า"เอเชีย"ที่เป็นคำในภาษาอังกฤษเพื่อให้เป็นคำในภาษาไทยแท้ๆโดยอุษาคเนย์มีอาณาเขตตั้งแต่พม่าไปจนจรดฟิลิปปินส์และจากเวียดนามไปจรดอินโดนีเซีย

อาณาจักรพม่าแผ่ขยายอาณาเขตไปทั่วทิศานุทิศโดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung)หรือที่ออกเสียงพระนามตามสำเนียงพม่าว่า“บาเยนอง”มีความหมายว่า “พระเชษฐาธิราช”มีพระนามเต็มว่า “บาเยนองจอเดงนรธา”(ไทยออกเสียงเป็น“บุเรงนองกะยอดินนรธา“)แปลว่า“พระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภิหาร”

 พระองค์ได้แผ่ขยายอาณาจักรไปอย่างกว้างขวางจนได้รับสมญานามว่า "ผู้ชนะสิบทิศ"ซึ่งการแผ่ขยายอาณาเขตของพม่าได้ส่งผลให้เกิดการรบพุ่งกับกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่"สงครามเมืองเชียงกราน"เรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นของไทย

มาจนถึงวันนี้พม่าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจาก"อุ้งมือเผด็จการทหาร"มาสู่"ย่างก้าวแห่งประชาธิปไตย"มหาอำนาจหลายประเทศเช่นสหรัฐฯ จีน รัสเซีย อินเดียอังกฤษ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้รวมถึงชาติอาเซียนอื่นๆทั้งอินโดนีเซีย สิงคโปร์มาเลเซีย ไม่เว้นแม้กระทั่งเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยต่างก็มุ่งหน้าสู่พม่าเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ 

จนกระทั่งทำให้พม่ากลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักลงทุนจากทั่วโลกจนอาจกล่าวได้ว่าเป็น"ขุมทอง"ในภูมิภาคอาเซียนแห่งนี้ดังจะเห็นได้จากเมื่อไม่นานมานี้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นก็ได้เดินทางไปเยือนพม่าและประกาศที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ 

นอกจากนี้ยังรวมถึงมหาอำนาจอย่างเช่นสหรัฐฯที่มีการเยือนของผู้นำระดับสูงตั้งแต่ประธานาธิบดีบารัคโอบาม่าเมื่อวันที่ 19พฤศจิกายนพ..2555จนถึงนางฮิลลารี่คลินตัน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศและเมื่อวันที่ 20พฤษภาคมพ..2556ที่ผ่านมาประธานาธิบดีเต็ง เส่งก็เดินทางไปเยือนกรุงวอชิงตันและได้พบกับประธานาธิบดีบารัคโอบาม่า ผู้ซึ่งกล่าวในสุนทรพจน์ตอนหนึ่งว่า 

"..สหรัฐฯคาดการณ์ที่จะเพิ่มการค้าและการลงทุนในพม่า.." 

ส่วนไทยเราเองก็ประกาศที่จะเข้าไปพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายเพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมต่อมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิคเข้าด้วยกัน

การเข้ามาของชาติมหาอำนาจในช่วงแรกนั้นได้เปลี่ยนธรรมชาติทางการเมืองของพม่าที่โลกตะวันตกมองว่าติดอยู่ใน "วังวน"ของการเป็นกลุ่มประเทศอักษะแห่งความชั่วร้ายเคียงข้างอิหร่านและเกาหลีเหนือและยิ่งการเข้ามาของมหาอำนาจมากขึ้นก็ยิ่งทำให้บทบาทด้านการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของพม่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ 

ในขณะเดียวกันรัฐบาลพม่าก็พยายามปฏิรุูปทางการเมืองอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ในช่วงปลายปีพม่าก็จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์และในปีพ..2557 พม่าจะดำรงตำแหน่งเป็นประธานอาเซียนและเป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดอาเซียนอีกด้วย 

ในขณะที่สหภาพยุโรปก็ประกาศยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางการค้าต่อพม่าทั้งหมดยกเว้นเฉพาะการขายอาวุธไปเรียบร้อยแล้วแม้สหภาพยุโรปจะแสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในรัฐยะไข่อยู่บ้างก็ตาม 

ส่วนสิงคโปร์ก็ลงนามในสนธิสัญญาจำนวน5ฉบับเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการท่องเที่ยวรวมทั้งได้จัดตั้งศูนย์กลางระหว่างประเทศขององค์กรวิสาหกิจสิงคโปร์ซึ่งจะทำให้การค้าขายของนักลงทุนสิงคโปร์ในพม่าสะดวกมากยิ่งขึ้นซึ่งในห้วงเวลาที่ผ่านมาสิงคโปร์นับเป็นผู้ลงทุนด้านอุตสาหกรรมโรงแรมรายใหญ่ที่สุดในย่างกุ้ง

นิตยสาร"ไทม์"ฉบับวันที่3มิถุนายนพ..2556ได้นำเสนอบทความเรื่อง“เส้นทางวิบากของพม่า” (TheScramble for Burma) สรุปได้ว่่าพม่ากำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นการเติบโตแบบที่เรียกว่า"เหนือจินตนาการ"นักลงทุนจากทั่วทุกสารทิศต่างมุ่งหน้าสู่พม่าเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาอีริค สมิดท์ ผู้บริหารของกูเกิลและจอร์ชโซรอสพ่อมดทางการเงินที่ยิ่งใหญ่ของโลกก็ได้เดินทางไปพม่าเพื่อเตรียมนำเม็ดเงินจำนวนมหาศาลไปลงทุน 

ในขณะที่โฮเวิร์ด ชูลซ์ซีอีโอของสตาร์บัคส์แบรนด์กาแฟดังระดับโลกก็เปิดเผยว่าได้เตรียมเปิดดำเนินการในพม่าอีกไม่นานนี้นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจอย่างเช่นเคเอฟซี,ไฮเนเก้น,คาลส์เบอร์ก,เป็ปซี่,โคคาโคล่า และฟอร์ด บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านรถยนต์ต่างก็เตรียมการเข้าไปลงทุนในพม่าเช่นเดียวกัน

โดยปกติการเติบโตหรือขยายตัวในลักษณะเช่นนี้จะต้องอาศัยระยะเวลานับสิบปีแต่สำหรับพม่าแล้วทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นในห้วงเวลาเพียงไม่ถึงสองปีในเวลาแต่ละเดือนเราจะสังเกตุเห็นว่าพม่าเติบโตและขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนหลายฝ่ายมองว่าสิ่งเหล่านี้จะพลิกผันให้พม่าก้าวขึ้นมาสู่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจในไม่ช้า

อย่างไรก็ตามเส้นทางไปสู่ความสำเร็จของพม่านั้นมิใช่จะโรยด้วยดอกกุหลาบนิตยสาร "ไทม์"ระบุว่าพม่ายังคงขาดแคลนทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการลงทุนทั้งนี้ด้วยระยะเวลาการเติบโตที่กระชั้นชิดมากทำให้พม่าขาดแคลนผู้บริหารระดับกลางเนื่องจากภาคธุรกิจไม่สามารถผลิตหรือพัฒนาบุคคลากรระดับนี้ขึ้นมารองรับธุรกิจต่างๆที่กำลังเปิดสาขาขึ้นเป็นดอกเห็ดได้ทันเวลา 

ส่วนแรงงานที่มีอยู่ก็ล้วนแต่เป็นแรงงานไร้ฝีมือขาดทักษะแม้จะมีค่าแรงที่ต่ำมากในระดับ16- 20 บาทต่อวันก็จริงนอกจากนี้พม่ายังขาดแคลนอาคารสำนักงานและอาคารที่อยู่อาศัยที่แม้กำลังทำการก่อสร้างกันอย่างฉุกละหุกอยู่ในขณะนี้แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จส่งผลให้ราคาสำหรับอาคารชุดสำนักงานและอาคารที่พักอาศัยในย่างกุ้งมีราคาสูงเทียบเท่ากับราคาที่พักในนครนิวยอร์คเลยทีเดียว

นอกจากนี้พม่ายังคงติดอยู่ใน"กับดับแห่งอำนาจ"แม้จะมีความพยายามในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประชาธิปไตยอย่างมากก็ตามแต่กลุ่มอำนาจเก่าตลอดจนกลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์ก็ยังคงไม่เลิกรามือในการจำกัดอำนาจและผลประโยชน์ของตนลงง่ายๆ 

รัฐธรรมนูญของประเทศฉบับปีพ..2551ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ด้วยการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรและสภาชนชาติให้กับทหารเป็นสัดส่วนที่สูงมากในขณะที่กฏหมายการลงทุนก็กำลังอยู่ระหว่างการร่างกฏหมายลูกที่ยังคงคลุมเครือและไม่ชัดเจนว่าจะเป็นไปในทิศทางใด 

แม้จะมีการอนุญาตให้นักลงทุนจากต่างชาติสามารถลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมได้100%ก็ตามแต่การค้าปลีกและโลจิสติกส์ก็ยังไม่เปิดโอกาสให้สามารถกระทำได้นอกจากนี้พม่ายังมีปัญหาชนกลุ่มน้อยที่แม้จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงเป็นส่วนใหญ่แล้วแต่ความหวาดระแวงระหว่างเชื้อชาติยังคงมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงรวมถึงปัญหาชาวพุทธและมุสลิมในรัฐยะไข่และปัญหาการคอร์รัปชั่นที่รอการแก้ไขอย่างเร่งด่วนอีกด้วย

เส้นทางไปสู่ความมั่งคั่งของพม่านับจากนี้ไปจึงถือว่ายังคงเป็นเส้นทางวิบากที่เต็มไปด้วยอุปสรรคนานัปการอย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจังเพราะความสำเร็จของพม่านั้นหมายรวมถึงความสำเร็จของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วยในอนาคตเช่นกัน




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2556    
Last Update : 10 สิงหาคม 2556 12:28:15 น.
Counter : 1724 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.