VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
การเสริมสร้างแสนยานุภาพของอาเซียน

การเสริมสร้างแสนยานุภาพของอาเซียน.. 

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

ลงพิมพ์ในนิตยสารเส้นทางนักขาย ฉบับเดือนมิถุนายน 2556




ในช่วงสองปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ากองทัพสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนของเรามีการสั่งซื้ออาวุธกันอย่างขนานใหญ่  จนสถาบันศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (IISS: International Institute of Stratagic Studies) ระบุว่าชาติเอเชียมีการใช้จ่ายด้านการทหารแซงหน้าชาติยุโรปหรือกลุ่มประเทศสมาชิกนาโต้เป็นครั้งแรกในปี พ.. 2554 – 2555 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลกันว่าการสะสมอาวุธอาวุธครั้งมโหฬารนี้จะทำให้เกิดความตึงเครียดและนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอันอาจส่งผลกระทบต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปลายปี พ..2558 หรือ ค..2015 หรือไม่

อินโดนีเซียนับเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการสะสมอาวุธในกลุ่มประเทศอาเซียน  นิตยสารอาเซียน ดีเฟนซ์ฟอรั่ม (ASEANDefense Forum) รายงานว่ากองทัพอินโดนีเซียหรือที่เรียกกันว่า  ทีเอ็นไอ (TNI: Tentara National Indonesia) ได้รับงบประมาณจำนวนมหาศาลเป็นจำนวนถึง 16,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการเพิ่มงบประมาณในการป้องกันประเทศถึง 30%  เลยทีเดียว  ภายหลังจากที่กองทัพอินโดนีเซียถูกตัดงบประมาณมาตลอดสิบปีที่ผ่านมา  เพื่อนำงบประมาณไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  โดยในปี ค..2006  กองทัพอินโดนีเซียได้รับงบประมาณเพียง  2,000  ล้านเหรียญสหรัฐฯ  แต่ในปัจจุบันกองทัพอินโดนีเซียได้รับงบประมาณสูงถึง  8,000  พันล้านเหรียญ  การเพิ่มงบประมาณในครั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและก้าวสู่ความเป็นกองทัพสมัยใหม่ตามแผนพัฒนากองทัพในระยะเวลาสามปี  การเพิ่มงบประมาณเพื่อการพัฒนากองทัพ  โดยเฉพาะกองทัพอากาศและกองทัพเรือในครั้งนี้  จะส่งผลให้กองทัพอินโดนีเซียกลายเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งของกลุ่มอาเซียน

สำหรับแผนการพัฒนากองทัพครั้งใหญ่ของอินโดนีเซียนี้  ประกอบไปด้วยการจัดซื้อรถถัง เรือฟริเกต  เรือคอร์เวต เรือเร็วโจมตีติดอาวุธจรวดนำวิถี  เรือดำน้ำ เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบซุคคอย และ เอฟ 16  โดยกองทัพอากาศอินโดนีเซียจะเพิ่มฝูงบินขึ้นอีกถึง  17ฝูงบิน  จากแต่เดิมที่มีอยู่  18 ฝูงบิน  ประกอบด้วยการสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่แบบซุคคอยจากรัสเซียเป็นจำนวนถึง  64  ลำ  เครื่องแบบขับไล่แบบเอฟ 16  จากสหรัฐฯ  จำนวน  32  ลำ  ซึ่งในจำนวน  24ลำ  จากทั้งหมด  32  ลำได้รับการเสนอจากสหรัฐฯ  เมื่อครั้งประธานาธิบดีบารัก โอบาม่าเดินทางไปเยือนอินโดนีเซีย  เมื่อปี  ค..2010  ว่าจะมอบเครื่องบินรุ่นนี้ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ  ใช้แล้วให้โดยไม่คิดมูลค่า  แต่อินโดนีเซียต้องจ่ายยกระดับสมรรถนะของเครื่องเหล่านี้จำนวน  750 ล้านเหรียญ

เวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการขยายกำลังรบอย่างน่าเกรงขาม  โดยเวียดนามซื้อเรือดำน้ำชั้นกิโล ลำเรือฟริเกตชั้น เกพาร์ด จำนวน ลำพร้อมระบบจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ เคเฮช-35 อี จำนวน 31 ลูกและเครื่องบินขับไล่แบบซู 30 เคเอ็นจำนวน 18 ลำจากรัสเซียซึ่งจะทำให้เวียดนามมีฝูงบินซู 30 ถึง ฝูงด้วยกันเลยทีเดียว รวมถึงสั่งซื้อขีปนาวุธอีกจำนวนหนึ่งจากอิสราเอล แต่ที่สำคัญคือเวียดนามกำลังสนใจที่จะสั่งซื้อเครื่องบินปราบเรือดำน้ำแบบพี 3โอไรออนจำนวน ลำจากสหรัฐฯ ซึ่งหากเวียดนามประสบความสำเร็จในการสั่งซื้อเครื่องบินปราบเรือดำน้ำรุ่นนี้ ก็จะทำให้เป็นประเทศที่สองของอาเซียน ต่อมาจากกองทัพไทยที่มีเครื่องบินรุ่นนี้เข้าประจำการ นอกจากนี้เวียดนามกำลังร่วมมือกับรัสเซียในการก่อสร้างโรงงานผลิตจรวดร่อนและพัฒนาฐานทัพเรือที่อ่าวคัมรานห์ขึ้นอีกด้วย

ทางด้านสิงคโปร์นั้น สถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพนานาชาติแห่งกรุงสต็อกโฮล์ม ได้เปิดเผยตัวเลขค่าใช้จ่ายทางทหารของสิงคโปร์ว่ามีประมาณ 8.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นประเทศที่ใช้จ่ายในการซื้ออาวุธสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน  โดยมีการสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่เอฟ 15 เอสจี พร้อมทั้งกำลังพัฒนาเครื่องบินรบอเนกประสงค์แบบ เอฟ 35 ซึ่งถือเป็นเครื่องบินรบรุ่นที่ อันใช้เทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังซื้อเรือดำน้ำจากสวีเดนเพิ่มอีก ลำ รวมเป็นทั้งสิ้น ลำเพื่อใช้ในฝูงเรือดำน้ำ “ชาลเลนเจอร์”  ที่ตั้งขึ้นทำให้กองทัพอากาศและกองทัพเรือของสิงคโปร์ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและมีแสนยานุภาพที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนในทันที

ทางด้านกองทัพฟิลิปปินส์ก็ต้องการเพิ่มงบประมาณทางทหารเป็นจำนวน 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อพัฒนากองทัพเช่นกัน แม้ว่าจะต้องประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียนก็ตาม ทั้งนี้เพราะต้องการถ่วงดุลย์อำนาจในความขัดแย้งกับจีนเกี่ยวกับปัญหาหมู่เกาะต่างๆในทะเลจีนใต้ โดยได้ตัดสินใจซื้อเครื่องบินขับไล่แบบเอฟเอ 50 จำนวน 12 ลำจากเกาหลีใต้ เฮลิคอปเตอร์ตรวจทางทะเล ลำจากอิตาลี และเรือตรวจชายฝั่งจากญี่ปุ่น 10 ลำนอกจากนั้นฟิลิปปินส์อาจกำลังหมายตาซื้ออาวุธจากโปแลนด์  สเปน แคนาดา ฝรั่งเศสหรือแม้แต่รัสเซียเพิ่มด้วย

ส่วนมาเลเซียซึ่งมีค่าใช้จ่ายทางทหารเป็นอันดับสี่ของอาเซียนคืออยู่ที่ 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็กำลังเสริมสร้างศักยภาพทางทหารอย่างมากมาย เนื่องจากประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก  โดยมาเลเซียกำลังจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ 18 หรือแบบ ซู 30 เพิ่มเติม  รวมทั้งได้จัดซื้อรถถังจำนวน 48 คันจากโปแลนด์ เรือดำน้ำ Scorpene จำนวน ลำ จากการร่วมผลิตของฝรั่งเศสกับสเปน  

นอกจากนี้มาเลเซียกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของตัวเองอย่างน้อยให้ถึงขั้นผลิตอุปกรณ์กระสุนหรืออาวุธเบาได้ และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบเดียวกับที่อินเดียและจีนประสบความสำเร็จมาแล้วด้วย 

ส่วนกัมพูชาก็มีการจัดซื้อรถถังจากยุโรปตะวันออกจำนวน 94 คัน  ในขณะที่ได้รับความช่วยเหลือจากจีนในการส่งมอบรถบรรทุกเพื่อใช้ในกองทัพอีก 257 คันพร้อมทั้งยังสนับสนุนเงินกู้ระยะยาวเพื่อจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ที่ผลิตจากจีนอีกจำนวน 12 ลำ

การเสริมสร้างกำลังทางทหารของกลุ่มประเทศอาเซียนจึงกลายเป็นที่จับตาของประชาคมโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะอีกไม่นานประเทศเหล่านี้ก็จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน การสะสมอาวุธจะส่งผลกระทบต่อการรวมตัวดังกล่าวหรือไม่คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป









Create Date : 10 สิงหาคม 2556
Last Update : 10 สิงหาคม 2556 12:40:57 น. 0 comments
Counter : 4438 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.