VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
กองทัพกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ตอนที่ ๑

กองทัพกับการก้าวสู่ความเป็น"ประชาคมอาเซียน" ตอนที่ 1

โดย ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ลงพิมพ์ในนิตยสาร TOPGUN ฉบับเดือนมิถุนายน 2555

สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ อนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น



มาถึงวันนี้คงมีน้อยคนนักที่ยังไม่ทราบว่าประเทศไทยของเรากำลังจะก้าวไปสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปีพ..2558 หรือ ค..2015 เพราะเรื่องนี้กำลังเป็นเรื่องใหญ่และใกล้ตัวอย่างมาก การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนจะมีผลกระทบกับคนไทยและประชากรอาเซียนทุกเพศทุกวัยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เช่น หลักสูตรการเรียนการสอนของไทยก็จะต้องมีการปรับตัวเป็นหลักสูตรเพื่อรองรับความเป็นอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น 

การใช้หลักสูตรที่มีความเป็นสากลมีมาตรฐาน ลูกหลานของเราจะมีเพื่อนฝูงที่เป็นนักเรียนจากประเทศอาเซียนเข้ามาร่วมเรียนในโรงเรียนเดียวกัน หรือนักเรียนไทยอาจจะไปเรียนต่อมัธยมต้นมัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซียหรือประเทศอาเซียนอื่นๆได้อย่างสะดวก 

ถนนหนทางจะแปรเปลี่ยนไปเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกัน เราจะเห็นรถติดป้ายทะเบียนอินโดนีเซียสิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว พม่าเวียดนาม กัมพูชาเข้ามาวิ่งขวักไขว่กันบนท้องถนนในบ้านเรา 

ในขณะเดียวกันเส้นเขตแดนที่ลากแบ่งเขตระหว่างชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ก็กำลังจะละลายจางหายไปพร้อมๆ กับการเดินทางข้ามประเทศอย่างเสรีของผู้คนในกลุ่มประเทศอาเซียน 

ดังที่ได้กล่่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รวดเร็วจนเราตามไม่ทันและเร็วจน รศ.ดร.สุรชาติบำรุงสุข จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า มันจะเร็วจนแทบไม่ต้องพูดถึงการรวมตัวของอาเซียนแล้วแต่ควรจะเป็นการพูดถึง"โลกภายหลังการรวมประชาคมอาเซียน"(Post ASEAN Community) มากกว่า

"ประชาคมอาเซียนจะเป็นการรวมประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศเข้าเป็นหนึ่งเดียวหรือประชาคมเดียว แม้จะยังไม่อาจเทียบได้กับสหภาพยุโรป (European Union) ที่มีประวัติยาวนานกว่าอาเซียนมากนัก และกลายเป็นสหภาพที่อยู่"เหนือชาติ" (Supranational trait) เกือบจะสมบูรณ์แล้ว  

แต่ประชาคมอาเซียนก็มีแนวทางที่คล้ายคลึงกับสหภาพยุโรป  คือมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพสันติสุขและความมั่นคงในภูมิภาค  เพื่อให้ดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีกลไกทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น  

ดังจะเห็นได้จากกรณีความขัดแย้งบริเวณพื้นที่ปราสาทพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชา  ที่อาเซียนพยายามใช้แนวทางสันติในการแก้ปัญหา  รวมทั้งไทยและกัมพูชาเองต่างก็ยืนยันตรงกันว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการลงทุนของทั้งสองประเทศ

ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งด้านความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียน  จะไม่ถูกนำไปผูกโยงกับความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ  แต่ในทางกลับกันความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ  เช่น  ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและสังคม  กลับจะเป็นสิ่งเชื่อมโยงและนำมาซึ่งข้อยุติของความขัดแย้งด้านความมั่นคงอย่างสันติวิธี  ทั้งนี้เพราะการรวมประชาคมอาเซียนนั้นประเทศสมาชิก  จะต้องมีพันธะสัญญาร่วมกันในการมีกฏเกณฑ์และค่านิยมที่เหมือนกัน  จะมาทำตนแปลกแยก โดดเด่นไม่เหมือนใคร  ดังเช่น  ที่อังกฤษเคยประกาศไม่ยอมเข้าร่วมใช้เงินสกุลยูโรของสหภาพยุโรปไม่ได้  เพราะกฎเกณฑ์ของประชาคมอาเซียนต่างจากสหภาพยุโรป

ความสำคัญของประชาคมอาเซียนก็คือประชาคมนี้จะเป็นการรวมกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านต่่างๆ  ทั้งสามด้านคือ ด้านการเมืองและการทหาร  ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมและวัฒนธรรมหรือที่เรียกกันว่า  "สามเสาหลัก"(Pillars)  เข้าด้วยกันส่งผลให้ประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political - Security Community - APSC)

2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community - AEC) และ

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC)

ในห้วงเวลาที่ผ่านมา  มีเรื่องที่กังวลอย่างยิ่งก็คือผลจากการวัดค่าความรับรู้ของประชากรในอาเซียนเกี่ยวกับการรวมตัวเป็นประชาคมนั้น  ประเทศไทยเราถูกจัดอยู่ในอันดับรั้งท้าย  กล่าวง่ายๆ ก็คือ  นักเรียนนักศึกษา  ข้าราชการตลอดจนประชาชนคนไทย  รับรู้และเตรียมการเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนน้อยมาก  

ส่วนประเทศที่มีการเตรียมการสูงเป็นอันดับหนึ่ง  คือ  ลาว  ซึ่งปัจจุบันมีความพร้อมอย่างมากและนำหน้าไทยไปหลายก้าว  ทั้งการเตรียมคน  การสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชากร  การเตรียมทรัพยากรต่างๆ  ตลอดจนการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและการบริหารจัดการของประเทศและหน่วยงานต่างๆ  ไว้รองรับประชาคมอาเซียน  

ในขณะเดียวกันสิงคโปร์ที่ใครๆ  ต่างมองว่า น่าจะมีความพร้อมสูงสุดในอาเซียน  ผลสำรวจกลับปรากฏออกมาว่า  ประชากรของสิงคโปร์ให้ความสนใจความเป็นประชาคมอาเซียนไม่มากเท่าที่ควร  อาจเป็นเพราะสิงคโปร์ได้ก้าวล้ำเลยขอบเขตของอาเซียนไปสู่ระดับโลกอย่างสมบูรณ์แล้วก็เป็นได้

การที่ไทยอยู่อันดับรั้งท้้ายในอาเซียนนั้น  ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย  เพราะในช่วงที่ผ่านมาเราฝ่าฟันวิกฤติการเมืองในประเทศมาอย่างหนักหนาสาหัสจนแทบจะเอาตัวไม่รอด  นับตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ที่ขยายตัวลุกลามมาจนถึงทุกวันนี้  เรื่อยมาจนถึงความแตกแยกของคนไทยด้วยกันเอง  ทั้งเหตุการณ์ที่สนามบินสุวรรณภูมิจนถึงเหตุการณ์ที่แยกราชประสงค์  เป็นธรรมดาที่ทำให้คนไทยหันมามองปัญหาภายในประเทศมากกว่าเรื่องราวภายนอกที่อยู่ไกลตัวออกไป

แต่มาถึงวันนี้  เหตุการณ์ทุกอย่างดูจะคลี่คลายลงหรืออย่างน้อยก็อยู่ในช่วงของการเว้นวรรค  ทำให้คนไทยมีเวลาที่จะหันออกไปมองดูประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงกับการเตรียมความพร้อมของพวกเขาในการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว  ก็ตระหนักดีว่าเรากำลังก้าวตามหลังเพื่อนบ้านอยู่หลายก้าว  

สังเกตุง่ายๆ ก็คือหากเราถามคนไทย 10 คนว่าประชาคมอาเซียนคืออะไร  เชื่อว่าคนไทยไม่เกิน คนเท่านั้น  ที่จะตอบได้อย่างถูกต้อง  ส่วนอีก คนจะสามารถให้ข้อมูลได้เพียงคร่่าวๆเท่านั้น ในขณะที่อีก คนที่เหลือ  จะไม่ทราบอะไรทั้งสิ้นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนหรือยังเข้าใจว่าประชาคมอาเซียน  ก็คืออาเซียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  และที่น่าเป็นห่วงก็คือคนไทยส่วนใหญ่ยังคงมองว่าอาเซียนเป็นสิ่งที่ไกลตัว  เป็นนามธรรม  ยากที่จะจับต้องได้  ซึ่งถือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก

นับว่าประเทศไทยยังโชคดีที่ในปัจจุบันรัฐบาลให้หันมาให้ความสนใจกับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนมากพอสมควรเห็นได้จากการกำหนดนโยบายให้จัดตั้ง  "คณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ"  ขึ้นซึ่งคณะทำงานชุดนี้  ได้ตั้งคณะกรรมการอีกสามชุดเพื่อเตรียมการในทั้งสามเสาหลัก  คือ  ทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง  ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  พร้อมๆกับการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้รับรู้ว่า  อีกไม่ถึงสามปีเราจะเป็นประชาคมอาเซียนแล้วและประชาคมนี้จะเป็นประโยชน์กับไทยอย่างไรบ้าง 

(โปรดติดตามอ่านตอนที่ 2)




Create Date : 16 กรกฎาคม 2555
Last Update : 16 กรกฎาคม 2555 17:34:05 น. 0 comments
Counter : 2386 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.