VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ตอนที่ 2

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ตอนที่ 2

โดย

พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ
Master of International Relations (with merit)
Victoria University of Wellington, New Zealand

สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการค้า อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษา


สำหรับกลไกที่สำคัญของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ประชาคมดังกล่าวประสบความสำเร็จสมความมุ่งหมาย ประกอบด้วย

1. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนหรือ "เอดีเอ็มเอ็ม" (ADMM : ASEAN defence Ministers' Meeting) นับเป็นกลไกด้านความมั่นคงระดับสูงสุด (highest defence  mechanism) ของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ..2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อใช้เป็นเวทีการประชุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านความมั่นคงของอาเซียน

สำหรับวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนประกอบด้วย

ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่น (Confidence) และความเชื่อใจ (Trust) ด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศระหว่างระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

เป็นการแสดงความโปร่งใส (Transparency) และเปิดเผย (Openness) ในนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศสมาชิกอาเซียน

สำหรับการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุด จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ..2557 ที่ผ่านมา ณ กรุงเนปีดอว์ ประเทศเมียนม่าร์ โดยที่ประชุมได้รับรองเอกสารสำคัญสองชิ้น ได้แก่ แผนการทำงานระยะเวลา 3 ปี (..2557-2559) และเอกสารเชิงหลักการว่าด้วยการสร้างความเชื่อมโยงด้านการสื่อสารโดยตรง (the Concept Paper on Establishment of a Direct Communications Link) หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า "เป็นการต่อสายตรงระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศนั่นเอง ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อขยายความร่วมมือที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ ภายใต้กรอบความสัมพันธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน รวมทั้งที่ประชุมยังได้ร่วมหารือกันภายใต้หัวข้อ “ความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศเพื่อการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนอันรุ่งเรืองและสันติ” (defence Cooperation Towards Peaceful and Prosperous ASEAN Community) โดยในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีกลาโหมของแต่ละประเทศได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เกี่ยวกับความร่วมมือด้านความมั่นคง ทั้งยังได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย

สำหรับเอกสารซึ่งเป็นความตกลงร่วมกันของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนในการประชุมดังกล่าวมีจำนวนทั้งสิ้น 6 ฉบับประกอบด้วย

-เอกสารแนวความคิดเรื่อง ความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมอาเซียนกับองค์กรภาคประชาสังคมในด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Concept Paper on ASEAN defence Establishmentand Civil Society Organisation (CSOs) Cooperation on Non-Traditional Security) ซึ่งยกร่างโดยกระทรวงกลาโหมของประเทศไทยเอกสารแนวความคิดดังกล่าวนี้ มีที่มาจากการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ โดยรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้เห็นชอบร่วมกัน ในการแสวงหาและขยายความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคม ในการเผชิญกับปัญหาด้านภัยคุกคามด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยคำว่า "ภัยคุกคามด้านมั่นคงรูปแบบใหม่" ในที่นี้ จะมุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติเป็นจุดเริ่มต้น ส่งผลให้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ฯ ครั้งที่ 1 โดยกระทรวงกลาโหมของไทยและกระทรวงกลาโหมของมาเลเซีย ในหัวข้อ “ความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมอาเซียนกับองค์กรภาคประชาสังคมในด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ" (ASEAN DefenceEstablishments and Civil Society Organisations (CSOs) Cooperation onNon-Traditional Security : Humanitarian Assistance and Disaster Relief) ในเดือนมิถุนายน พ..2552 (..2009)

เอกสารแนวความคิดเรื่อง การใช้ทรัพยากรและศักยภาพทางทหารอาเซียน ในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (Concept Paper on the Use of ASEAN MilitaryAssets and Capacities in Humanitarian Assistance and Disaster Relief) ซึ่งยกร่างโดยกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย เป็นการกำหนดแนวทางในการนำยุทโธกรณ์และขีดความสามารถทางทหารมาใช้ในการบรรเทาภัยพิบัติและช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย เช่น ด้านการแพทย์ทหาร (MilitaryMedicine) ซึ่งเป็นการนำหน่วยแพทย์ทหาร ตลอดจนยุทโธปกรณ์ต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลสนามและเครื่องมือด้านการแพทย์มาใช้ เพื่อการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังมีการจัดทำระเบียบปฏิบัติร่วมกัน ในการนำยุทโธปกรณ์ทางทหารไปใช้ในการบรรเทาสาธารณภัยในต่างประเทศ เช่น อากาศยาน เรือรบ ยานยนต์ทางทหาร ตลอดจนกำลังพลของกองทัพ ทั้งนี้เพื่อมิให้ขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญของประเทศผู้ประสบภัยในด้านการใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหารของนานาชาติ รุกล้ำอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตน

เอกสารแนวความคิดว่าด้วยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในกรอบอาเซียน (Concept Paper on ASEAN defence IndustryCollaboration) ยกร่างโดยกระทรวงกลาโหมมาเลเซียในปี พ..2552 (..2009) รวมทั้งเสนอให้มีการจัดตั้งความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของอาเซียนหรือ เอดีไอซี (ADIC : ASEAN Defence Industry Collaboration) เพื่อหาแนวทางในการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ให้มีความพร้อมที่จะเผชิญภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ 

โดยกรอบความร่วมมือนี้จะช่วยนำไปสู่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในกลุ่มสมาชิก ให้มีความแข็งแกร่ง สามารถลดการพึ่งพาจากภายนอกได้ สำหรับแนวทางความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมอากาศยาน (Aerospace Sector) อุตสาหกรรมทางทะเล (Maritime Sector) อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Sector) อุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ (Weapon Sector) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Sector) และอุตสาหกรรมตามความต้องการทั่วไป (Common User Item Sector)

เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบอาเซียน (Concept Paper on the Establishment of ASEANPeacekeeping Centers Network) ร่วมกันยกร่างโดยกระทรวงกลาโหมของไทยและอินโดนีเซีย ทั้งนี้ความร่วมมือด้านปฏิบัติการรักษาสันติภาพเป็นกิจกรรมสำคัญในแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน พ..2552-2558 (..2009 – 2015) ซึ่งอาเซียนเห็นควรให้เริ่มต้นด้วยการสร้างเครือข่ายระหว่างศูนย์รักษาสันติภาพของประเทศสมาชิกทั้งสิบประเทศ ทั้งการวางแผนร่วมกัน การฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกลไกอาเซียนเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพอันสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน นอกจากนี้ความร่วมมือด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ยังเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่างๆ นอกภูมิภาคอาเซียน เพื่อหาหนทางแก้ไขความขัดแย้ง ตลอดจนระงับข้อพิพาทโดยสันติ

เอกสารแนวความคิดว่าด้วยโครงการปฏิสัมพันธ์ทางทหารระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (Concept Paper on the Establishment ASEANdefence Interaction Program) ซึ่งเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำและเจ้าหน้าที่ทุกระดับทั้งในกระทรวงกลาโหมและในกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อีกทั้งยังจะนำมาซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ตลอดจนความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงร่วมกันในอาเซียน (Concept Paper on the Establishment ofLogistics Support Framework) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุงร่วม โดยเฉพาะการจัดส่งเครื่องเวชภัณฑ์ ยารักษาโรค อาหาร น้ำ และสิ่งของบรรเทาทุกข์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัยระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก

2. กลไกที่สำคัญอีกกลไกหนึ่งของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คือ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา หรือ "เอดีเอ็มเอ็ม-พลัส" (ADMM – Plus : ASEAN defence Minister Meeting - Plus) ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมของประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐมนตรีกลาโหมของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน จำนวน ประเทศ คือ สหรัฐฯ รัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยจะดำเนินการประชุมเพื่อหาหนทางในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความร่วมมือในภูมิภาคแห่งนี้

การประชุมดังกล่าวมีขึ้นจัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมพ..2553 (..2010) ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ปัจจุบันมีการกำหนดกรอบความร่วมมือไว้ 6 ด้าน เพื่อรองรับการเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนประกอบด้วย

1. ด้านความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security) ในวงรอบปี พ..2557 – 2559 (..2014 – 2016) ประเทศบรูไนและนิวซีแลนด์รับผิดชอบ

2. การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peacekeeping Operations) ในวงรอบปี พ..2557 – 2559 (..2014– 2016) ประเทศกัมพูชาและเกาหลีใต้รับผิดชอบ

3. การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief) ในวงรอบปี พ..2557 – 2559 (..2014– 2016) ประเทศลาวและญี่ปุ่นรับผิดชอบ

4.การแพทย์ทหาร (Military Medicine) ในวงรอบปี พ..2557 – 2559 (..2014– 2016) ประเทศไทยและรัสเซียรับผิดชอบ

5. การต่อต้านการก่อการร้ายสากล (Counter-Terrorism) ในวงรอบปี พ..2557– 2559 (..2014 – 2016) ประเทศสิงคโปร์และออสเตรเลียรับผิดชอบ

6. การปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Mine Action) ในวงรอบปี พ..2557 – 2559 (..2014– 2016) ประเทศเวียดนามและอินเดียรับผิดชอบ

สำหรับเครื่องมือหลักของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจาคือ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ หรือ “อีดับเบิลยูจี” (EWG : Experts' WorkingGroup) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนแผนงานของการประชุมดังกล่าวทั้ง ด้านดังกล่าวข้างต้น

3. กลไกที่สำคัญของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนอีกกลไกหนึ่งคือ การประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย – แปซิฟิคหรือ "เออาร์เอฟ" (ARF : ASEAN Regional Forum) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ..2545 (..2002) จากแนวความคิดต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศอาเซียน (US – ASEAN) ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 ในสหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเชื่อใจซึ่งกันและกันและป้องกันความขัดแย้งผ่านการพัฒนาการฑูตเชิงป้องกัน

ปัจจุบันการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย – แปซิฟิค เป็นกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงของประเทศในภูมิภาคอาเซียนและประเทศคู่เจรจา 27 ประเทศประกอบด้วย สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 10 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ รัสเซียและสหรัฐฯ รวมทั้งประเทศผู้สังเกตการณ์ของอาเซียนอีก 7 ประเทศคือ ปาปัวนิวกินี  มองโกเลีย ปากีสถาน ติมอร์เลสเต บังคลาเทศ ศรีลังกา และเกาหลีเหนือ ขณะนี้การประชุม เออาร์เอฟ กำลังมีบทบาทในด้านการปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัยเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากเมื่อปี พ..2556 (..2013) ที่ผ่านมาได้มีการจัดการฝึกซ้อมแผนบรรเทาภัยพิบัติ (DiREx 2013 : Disaster ReliefExercise 2013) ขึ้นในประเทศไทย โดยมีไทยและเกาหลีใต้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ เป็นต้น

นอกจากนี้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ยังมีกลไกอื่นๆ ที่สำคัญในการขับเคลื่อนประชาคมอีก เช่น การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ หรือ "เอดีเอ็มเอ็ม รีทรีท" (ADMM Retreat : ASEAN defence Minister Meeting Retreat) ซึ่งกล่าวถึงความสำคัญของการสร้างความสมานฉันท์และความมุ่งมั่นร่วมกันของอาเซียน ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านกลาโหม เพื่อช่วยจรรโลงสันติภาพและเสถียรภาพ ทั้งในภูมิภาคและของโลก, การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน หรือ "แอดซอม" (ADSOM : ASEAN defence Senior Official Meeting) ซึ่งปกติเป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงกลาโหมหรือเทียบเท่า และการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน หรือ "แอดฟิม" (ACDFIM : ASEAN Chief ofdefence Forces Informal Meeting) เป็นต้น

จึงกล่าวได้ว่าประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนนับเป็นประชาคมที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม – วัฒนธรรมอาเซียนเลย เพราะเป็นประชาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการธำรงไว้สันติภาพ ความสงบสุข ความอยู่ดีกินดี และความร่วมมือร่วมใจของชาวอาเซียน เพื่อให้ภูมิภาคแห่งนี้เป็นภูมิภาคแห่งสันติสุขอย่างยั่งยืนนั่นเอง




Create Date : 04 สิงหาคม 2557
Last Update : 4 สิงหาคม 2557 9:01:01 น. 0 comments
Counter : 1214 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.