VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
แผนที่ "เส้นประ 9 เส้น" (nine-dash-line) ในทะเลจีนใต้ ตอนที่ 1

แผนที่ "เส้นประ เส้น" (nine-dash-line)

ต้นกำเนิดความขัดแย้งในทะเลจีนใต้

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

ลงพิมพ์ในวารสาร "หลักเมือง" กระทรวงกลาโหม ฉบับเดือนธันวาคม พ.ศ.2557

สงวนลิขสิทธิ์ในการผลิตซ้ำเพื่อการค้า อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาเท่านั้น





แผนที่  "เส้นประ เส้น" (nine - dash - line) หรือที่บางครั้งเรียกว่า "เส้น จุด" (nine - dotted - line) คือเส้นที่ลากขึ้น เพื่อกำหนดอาณาเขตของจีนในทะเลจีนใต้ ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก ในปี พ..2490 หรือตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงได้เพียง ปี 

จัดทำโดย รัฐบาลพรรค "ก๊กมินตั๋งของจีนคณะชาติ ซึ่งยังครอบครองจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ในขณะนั้น เส้นดังกล่าวเป็นแนวเส้นที่ลากลงมาจากเกาะไหหนาน หรือ "ไหหลำของจีน บริเวณอ่าวตั๋งเกี๋ย ขนานกับชายฝั่งเวียดนาม มาจนถึงเกาะบอร์เนียว บริเวณรัฐซาราวักของมาเลเซีย แล้ววนกลับ เลียบชายฝั่งบรูไน ผ่านรัฐซาบาห์ ตัดตรงเข้าไปในน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เลาะชายฝั่งของจังหวัดปาลาวันเรื่อยไป จนถึงเกาะลูซอน แล้วขึ้นไปสิ้นสุดที่เกาะไต้หวัน

แนวเส้นประ เส้นนี้ ก่อให้เกิดพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ ครอบคลุมท้องน้ำของทะเลจีนใต้อันกว้างใหญ่ไพศาล 

รัฐบาลก๊กมินตั๋งของจีนในขณะนั้น ประกาศว่าพื้นที่ภายในเส้นประ เส้นทั้งหมด คืออาณาเขตของจีน โดยมีการส่งหน่วยสำรวจแผนที่เดินทางเข้าไปในทะเลจีนใต้ พร้อมกับจัดทำเส้นเขตแดนลงไปในแผนที่ฉบับใหม่ของตน 

แต่ก็ไม่มีประเทศใดหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสร้างความขัดแย้ง เนื่องจากในขณะนั้นสงครามโลกครั้งที่สองเพิ่งสิ้นสุดลง แต่ละประเทศอยู่ในสภาวะบอบช้ำ บ้านแตกสาแหรกจากมหาสงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน ประกอบกับรัฐบาลก๊กมินตั๋งเอง ก็กำลังสู้รบติดพันในลักษณะ "เจียนอยู่ เจียนไปกับพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตุง 

จนในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ก็สามารถยึดจีนแผ่นดินใหญ่ได้ในปีต่อมา ทำให้รัฐบาลก๊กมินตั๋งต้องถอยไปปักหลักอยู่ที่ไต้หวันมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ในปี พ..2491 เหมาเจ๋อตุงก็ประกาศใช้แผนที่ ที่มีเส้นประ เส้นนี้ พร้อมกับประกาศว่า ดินแดนต่างๆในอาณาเขตทะเลจีนใต้ ที่เป็นถุงขนาดใหญ่นี้่คือ อาณาเขตของจีน โดยควบรวมดินแดนทั้งหมู่เกาะพาราเซล และ หมู่เกาะสแปรตลี อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจำนวนมหาศาลเข้าไปด้วย 

การประกาศดังกล่าวเริ่มกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไต้หวัน ซึ่งมีพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของตนอยู่ในทะเลจีนใต้ ต่างก็ออกมาคัดค้าน

ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้อินโดนีเซีย ซึ่งแต่ก่อนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่พิพาทเหนือหมู่เกาะสแปรตลีแต่อย่างใด ต้องพลอยฟ้าพลอยฝนติดร่างแหไปด้วย เนื่องจากบริเวณตอนล่างสุดของเส้นประ เส้นนั้น ลากมาจนเกือบจะถึงเกาะ "นาทูน่า" (Natuna) ของตน ส่งผลให้พื้นที่ส่วนล่างของเส้นดังกล่าว อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของอินโดนีเซียไปด้วยโดยปริยาย

นอกจากนี้ จีนยังตอกย้ำความขัดแย้งดังกล่าว ด้วยการใช้แผนที่เส้นประ เส้นเป็นส่วนประกอบในการร่างแนวปราการป้องกันอาณาเขตทางทะเลของตน ที่เรียกว่า "แนวห่วงโซ่ปราการของเกาะชั้นแรก" (First Islands Chain) ที่ลากเส้นประ เส้นให้ต่อยาวเป็นเส้นทึบ

พร้อมกับลากให้ยาวขึ้นไปครอบคลุมจนถึงประเทศญี่ปุ่น โดยจีนประกาศว่าในปี  พ..2563 หรือ ค..2020 ตนจะสามารถใช้ "แนวห่วงโซ่ปราการของเกาะชั้นแรกนี้เป็นแนวปราการสกัดกั้นอิทธิพลของสหรัฐฯ ในทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้ และทะเลจีนตะวันออก ซึ่งจะทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลของจีน บริเวณด้านที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิค มีความมั่นคงอย่างมาก

จีนไม่เพียงแต่กำหนดยุทธศาสตร์ลงบนแผนที่เท่านั้น หากแต่ยังลงมือเสริมสร้างกำลังทางเรืออย่างขนานใหญ่ พร้อมส่งกำลังทางเรือคืบคลานเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมการปิดล้อมทะเลต่างๆ ตามแนวเส้นประ เส้น และตามแนวห่วงโซ่ปราการของเกาะชั้นแรกดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการป้องกันมิให้สหรัฐฯ ส่งกำลังทางเรือรุกล้ำเข้ามา จนทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกับประเทศต่างๆ ที่อยู่ในแนวเส้นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง

อาจกล่าวได้ว่าแผนที่  "เส้นประ เส้นได้ส่งผลให้จีนเกิดความขัดแย้งกับประเทศต่างๆ ในทะเลจีนใต้ถึง ประเทศด้วยกัน คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์และไต้หวัน 

รวมทั้งยังสร้างความกังวลอย่างมากต่อสิงคโปร์ ที่อาศัยทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกา 

ความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างขนานใหญ่ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากการแผ่ขยายอาณาเขตของจีนในครั้งนี้

การปรับยุทธศาสตร์ ประการแรก คือการเสริมสร้างกำลังทางเรือเพื่อรักษาน่านน้ำและผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของตนเอง แทนการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางบกที่ดำเนินมาเป็นเวลาช้านาน

ส่วนการปรับยุทธศาสตร์ ประการที่สองนั้น สืบเนื่องมาจากสงครามในอิรักทั้งสองครั้งและสงครามในอัฟกานิสถานได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกำลังทางอากาศที่มีขีดความสามารถในการทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และเด็ดขาด ทำให้ขนาดความใหญ่โตและจำนวนของเรือรบ ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกำหนดชัยชนะอีกต่อไป หากแต่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงและระบบเรดาห์ที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นตัวชี้นำอาวุธปล่อยนำวิถีและขีปนาวุธ ทั้งจากพื้นสู่พื้น พื้นสู่อากาศ อากาศสู่อากาศ และอากาศสู่พื้น ให้พุ่งเข้าทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางอากาศ ควบคู่ไปกับแสนยานุภาพทางเรือเป็นหลัก

เวียดนามเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศอย่างขนานใหญ่ โดยแต่เดิมในช่วงสงครามเย็นนั้น เวียดนามมีการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางบก จนมีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ติดอันดับต้นๆ ของโลกเนื่องจากมีภัยคุกคามทางบก จากทิศด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศโลกเสรีที่เผชิญหน้ากับเวียดนามมาอย่างยาวนาน

แต่เมื่อสงครามเย็นยุติลง ประกอบกับการหันไปพัฒนาเศรษฐกิจของตน ตามนโยบาย "โด๋ยเหม่ยก็ทำให้เวียดนามว่างเว้นจากการสร้างแสนยานุภาพมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งจีนได้เคลื่อนตัวเข้ามา และมีท่าทีที่เป็นภัยคุกคามในการครอบครองพื้นที่ต่างๆ ตามแนวเส้นประ เส้นดังกล่าว อันเป็นพื้นที่ที่เวียดนามกล่าวอ้างกรรมสิทธิเหนือดินแดนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

เมื่อภัยคุกคามของเวียดนามได้เปลี่ยนจากภัยคุกคามทางบกด้านตะวันตก มาเป็นภัยคุกคามทางทะเลด้านตะวันออก โลกจึงได้เห็นการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทะเลอย่างขนานใหญ่ของเวียดนาม มีการสั่งซื้อเรือดำน้ำพลังงานดีเซล ชั้น "กิโล" (Kilo) จำนวน ลำ มูลค่ากว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากรัสเซีย

เรือดำน้ำดังกล่าว นับเป็นเรือดำน้ำที่ทันสมัยที่สุดชนิดหนึ่ง มีขีดความสามารถในการเป็น "เพชฌฆาตเงียบใต้ท้องทะเลที่สามารถทำลายเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำ และอากาศยานเหนือน่านฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เรือดำน้ำสองลำแรก คือ เรือ "ฮานอยและ "โฮจิ มินห์ ซิตี้ได้มีการส่งมอบให้กับกองทัพเรือเวียดนามไปแล้ว เมื่อปลายปี พ..2556 และต้นปี พ..2557 ตามลำดับ รวมทั้งมีกำหนดส่งมอบลำที่สาม คือ "ไฮฟองในปลายปีนี้ และจะส่งมอบส่วนที่เหลือให้ครบภายในห้วงเวลา ปีข้างหน้า โดยเรือดำน้ำทั้งหมดจะประจำการที่ฐานทัพเรืออ่าวคัมรานห์ ซึ่งทำให้มีพื้นที่ปฏิบัติการครอบคลุมแนวเส้นประที่ 1 – 3

สำหรับการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางอากาศนั้น กองทัพเวียดนามได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ประสิทธิภาพสูง ที่นั่ง และ เครื่องยนต์ แบบ ซู-30 เอ็มเค เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 12 ลำจากรัสเซีย คิดเป็นมูลค่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมที่เวียดนามเคยสั่งซื้อมาแล้วสองครั้งจำนวน 20 ลำ ในปี พ..2552 และ 2553 ซึ่งทำให้เวียดนามมีฝูงบิน ซู-30 ถึง ฝูง ด้วยกัน

เครื่องบินที่สั่งซื้อครั้งล่าสุดจะมีการส่งมอบในปี พ..2557 และ 2558 เครื่องบินรุ่นนี้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้น เพื่อมุ่งทำลายเรือผิวน้ำเป็นหลัก โดยเวียดนามได้จัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ แบบเอเอส-17 คริปตอน รุ่น เคเอช-35 เอ จากรัสเซียจำนวน 100 ลูก และแบบเอเอส-14 รุ่นเคเอช-29 ที เพื่อนำมาใช้กับเครื่องบินขับไล่แบบ ซู-30 และ ซู-27 ที่มีอยู่เดิมอีกด้วย

สำหรับอินโดนีเซียนั้น เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศ

โดยจากอดีตที่ผ่านมา ตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี พ..2488 ภัยคุกคามของอินโดนีเซีย ร้อยละ 67 เป็นภัยคุกคามในประเทศ อันเกิดจากกลุ่มศาสนาหัวรุนแรงและกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ที่พยายามแยกตัวออกเป็นอิสระ เช่น ติมอร์ตะวันออก ปาปัวตะวันตก อาเจะห์ และ อิเรียนจายา

แต่เมื่อปัญหาเหล่านี้เบาบางลง ภายหลังจากการแยกตัวเป็นเอกราชของติมอร์ เลสเต ตลอดจนการล่มสลายของกลุ่มต่อต้านในอาเจะห์ อินโดนีเซียก็ต้องเผชิญหน้ากับ "แนวเส้นประ เส้นของจีน ที่ผนวกพื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะบริเวณเกาะนาทูน่าของตนเข้าไปด้วย

ทำให้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์หันมารับมือกับภัยคุกคามในทะเลจีนใต้ โดยมีการเสริมสร้างกำลังทางเรืออย่างยิ่งใหญ่ เช่น การตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนเรือรบให้มีถึง 250 ลำในปี พ..2567 หรือภายในสิบปีข้างหน้า

ปัจจุบันกองทัพเรืออินโดนีเซีย มีกองเรือจำนวน กองเรือ คือ กองเรือภาคตะวันออกอยู่ที่เมืองสุราบายา และกองเรือภาคตะวันตก อยู่ที่กรุงจาการ์ต้า เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ซึ่งอินโดนีเซียมีแผนที่จะเพิ่มกองเรือขึ้นอีก กองเรือ

โดยจะขยายกองเรือภาคตะวันออกขึ้นอีก กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่เมืองอัมบอน เมืองเมอเรากิ และเมืองคูปัง ตลอดจนขยายกองเรือภาคตะวันตกเพิ่มขึ้นอีก กองเรือมีฐานทัพอยู่ที่ เมืองตันจุงปีนัง เมืองนาตัน และเมืองเบลาวัน

รวมทั้งตั้งกองเรือภาคกลางขึ้นมาใหม่อีก กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่เมืองมากัสซ่าร์และเมืองเทรากัน

นอกจากนี้ในปี พ..2555 อินโดนีเซียได้สั่งต่อเรือดำน้ำ ชั้น "ชางโบโก แบบ 209” ระวางขับน้ำ 1,800ตัน จากบริษัทแดวูของเกาหลีใต้ จำนวน ลำ จากเดิมที่มีประจำการอยู่แล้ว ลำคือ เรือดำน้ำชั้น "จักกรา" (Chakkra) จากประเทศเยอรมัน ซึ่งเรือดำน้ำ "ชางโบโกจำนวนสองลำ จะต่อที่อู่ต่อเรือในเกาหลีใต้ โดยความร่วมมือระหว่างบริษัทแดวูและรัฐวิสาหกิจการต่อเรือของอินโดนีเซีย ส่วนเรือดำน้ำลำที่สามจะต่อในอินโดนีเซีย 

ล่าสุดประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้เปิดเผยว่า อินโดนีเซียกำลังพิจารณาจัดซื้อเรือดำน้ำชั้น "กิโลรุ่นปรับปรุงใหม่จากโครงการ 636 (Project 636) ของรัสเซียซึ่งเป็นโครงการเดียวกับเรือดำน้ำของเวียดนาม

เนื่องจากมีขีดความสามารถในการครองน่านน้ำ และครองอากาศครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้นเรือดำน้ำรุ่นที่อินโดนีเซียสนใจนั้น จะมีระบบโซน่าร์ที่ทันสมัยกว่าของเวียดนาม โดยเป็นการพัฒนาจากแบบ เอ็มจีเค - 400 อี เป็นรุ่น เอ็มจีเค - 400 อีเอ็ม คาดว่าอินโดนีเซียจะสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง 10 ลำเลยทีเดียว

ส่วนกำลังทางอากาศนั้น ในปี พ..2556 กองทัพบกอินโดนีเซียได้สั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ เอเอช - 64 อี "อาปาเช่จำนวน ลำจากสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้น ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากจากการรบในอิรักและอัฟกานิสถาน

โดยคาดว่าอินโดนีเซียจะได้รับเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมด ในปี ค..2560 การสั่งซื้อครั้งนี้ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สองในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ที่มีเฮลิคอปเตอร์โจมตีชั้นสุดยอดของโลกชนิดนี้ อยู่ในประจำการ

กองทัพบกอินโดนีเซียวางแผนที่จะนำเฮลิคอปเตอร์ อาปาเช่ จำนวน ลำ เข้าประจำการที่เกาะ "นาทูน่าเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจจำเพาะของตน จากแนวเส้นประ เส้นของจีนนั่นเอง

นอกจากนี้อินโดนีเซียยังเสริมสร้างกำลังทางอากาศด้วยการสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ แบบซุคคอย ซู-30 จากรัสเซีย เป็นจำนวนถึง 64 ลำ และเครื่องแบบขับไล่แบบ เอฟ-16 จากสหรัฐฯ จำนวน 32 ลำ ในจำนวนนี้เป็นเครื่องบินมือสองจำนวน 24 ลำที่ได้รับการ "ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่าจากสหรัฐฯ เมื่อครั้งประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า เดินทางเยือนอินโดนีเซียในปี พ..2553 แต่อินโดนีเซียต้องออกค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสมรรถนะมูลค่ากว่า 750 ล้านเหรียญเอง

(โปรดติดตามตอนที่ 2)




Create Date : 12 ธันวาคม 2557
Last Update : 12 ธันวาคม 2557 9:24:21 น. 0 comments
Counter : 6930 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.