VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 

จับตาหมู่เกาะสแปรตลี

จับตาหมู่เกาะสแปรตลี

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและค้นคว้าเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผลิตซ้ำในทางพาณิชย์ 



หมู่เกาะสแปรตลี (Spratly Islands) ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของทะเลจีนใต้ ล้อมรอบไปด้วยประเทศต่างๆ ประกอบด้วย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสาธารณรัฐประชาชนจีน (ด้านเกาะไหหลำของมณฑลไห่หนาน), สาธารณรัฐฟิลิปปินส์เนการาบรูไนดารุสซาลาม หรือ "บรูไน”สหพันธรัฐมาเลเซีย (บริเวณรัฐซาราวักและซาบาห์และสาธารณรัฐจีน หรือ "ไต้หวัน

บริเวณหมู่เกาะดังกล่าว มีพื้นที่ทางทะเลกว้างใหญ่มากกว่า 425,000 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณร้อยละ 38 ของพื้นที่ทะเลจีนใต้ทั้งหมด สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นเกาะเล็ก เกาะน้อย โขดหิน หินโสโครกและแนวหินปะการัง มากกว่า 750 แห่ง บางโขดหินเล็กมากจนสามารถยืนอยู่ได้เพียงสองคน บางโขดหินจะจมน้ำหายไปเมื่อน้ำขึ้นและโผล่ขึ้นมาอีกครั้งเมื่อน้ำลง มีจำนวนเกาะขนานใหญ่ที่โผล่พ้นน้ำถาวรและสามารถตั้งถิ่นฐานได้ประมาณ 33 เกาะเท่านั้น เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะสแปรตลี ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับหมู่เกาะ ปัจจุบันเกาะนี้อยู่ในความครอบครองของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

สาเหตุที่หมู่เกาะสแปรตลีมีความสำคัญและกลายเป็นที่จับตามองของประชาคมโลก ก็เพราะผลการสำรวจทางธรณีวิทยาในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการคาดการณ์ว่าพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบรูณ์ไปด้วยก๊าซธรรมชาติ ที่มีจำนวนถึง 25 ล้านคิวบิค และน้ำมันดิบอีกกว่า 105 ล้านบาเรล นับเป็นแหล่งพลังงานจำนวนมหาศาลที่ผู้ครอบครองจะสามารถนำไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่นำ้มันดิบและก๊าซธรรมชาติกำลังจะหมดสิ้นไปโลกนี้

ความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวนี้เอง ทำให้มีประเทศต่างๆ อ้างสิทธิการครอบครองเหนือหมู่เกาะสแปรตลีถึง ประเทศ ประกอบไปด้วย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐจีน หรือ "ไต้หวันและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่อ้างกรรมสิทธิเหนือพื้นที่หมู่เกาะแห่งนี้ทั้งหมด ส่วนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เนการาบรูไนดารุสซาลาม และสหพันธรัฐมาเลเซียนั้น อ้างกรรมสิทธิบางส่วนของพื้นที่เท่านั้น

ในส่วนของสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่ต่อไปจะเรียกสั้นๆ ว่า "จีนนั้น ดูจะมีความเคลื่อนไหวมากที่สุดประเทศหนึ่ง เพราะคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าภายหลังจากประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ได้ประกาศนโยบาย "ความฝันของชาวจีน" (Chinese Dream) ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่ "ความมั่งคั่ง" (Wealth) และ "ความแข็งแกร่ง" (Strength) ด้วยการสร้างเศรษฐกิจและกองทัพให้เข้มแข็ง พลังงานได้กลายเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้จีนบริโภคพลังงานรูปแบบต่างๆ จำนวนมากมายมหาศาลจากทั่วโลก ทั้งจากรัสเซีย แอฟริกาและเอเซีย 

ดังนั้นเมื่อพลังงานน้ำมันกำลังจะหมดสิ้นไปจากโลก และกลายเป็นสิ่งที่นับวันจะหาได้ยากมากขึ้น จีนจึงจำเป็นต้องมองหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ เพื่อนำมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป หมู่เกาะสแปรตลีจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของจีนอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

การเข้าครอบครองหมู่เกาะสแปรตลี หรือที่จีนเรียกว่า "นานชา" (Nan Cha) จีนได้อ้างเหตุผลทางประวัติศาสตร์ในสมัยราชวงศ์ "ฮั่นหรือเมื่อประมาณ 2,000 กว่าปีมาแล้ว จนกระทั่งในปี พ..1835 (เป็นเวลา ปี ภายหลังจากที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชของอาณาจักรสุโขทัย ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นจีนได้อ้างแผนที่โบราณเป็นหลักฐานว่า เรือสินค้าของจีนได้แล่นผ่านหมู่เกาะแห่งนี้ และต่อมาอีก 133 ปี คือในปี พ..1968 (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ หรือเจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยาก็มีหลักฐานปรากฏอยู่บนแผนที่เดินเรือของจีน โดยนักเดินเรือชาวจีน ชื่อ “เชง โฮ” (Cheng Ho) ได้กำหนดหมู่เกาะสแปรตลีไว้ในแผนที่ดังกล่าว ซึ่งจีนอ้างว่าอีก ปีต่อมา คือ พ..1973 หมู่เกาะสแปรตลีก็ตกอยู่ในภายใต้การปกครองของจีนนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันจีนได้เข้าครอบครองและสร้างสิ่งปลูกสร้างบนโขดหินอย่างน้อย แห่ง คือโขดหินกางเขนแห่งไฟ (FieryCross Reef) และโขดหินแห่งความเลวร้าย (Mischief Reef) 

นอกจากนี้จีนยังได้ประกาศว่าเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของบริษัทไชน่าโมบาย (China Mobile) ได้ส่งสัญญานครอบคลุมถึงหมู่เกาะสแปรตลีแล้ว ตั้งแต่ปี พ..2554 รวมทั้งมีการตั้งชื่อเกาะและโขดหินจำนวน 200 กว่าแห่งเป็นภาษาจีนเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของอีกด้วย

การเข้าครอบครองหมู่เกาะสแปรตลีของจีน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับประเทศอื่นๆ ที่อ้างสิทธิการครอบครองเช่นกัน เช่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หรือที่ต่อไปจะเรียกสั้นๆ ว่า "เวียดนามซึ่งมีปัญหากับจีน ทั้งหมู่เกาะสแปรตลีและหมู่เกาะพาราเซล ที่เพิ่งเกิดความขัดแย้งกรณีที่จีนนำแท่นขุดเจาะน้ำมันเข้าไปในพื้นที่พิพาท จนเกิดการประท้วงทั่วประเทศเมื่อต้นปี พ..2557 ที่ผ่านมา

ในส่วนของหมู่เกาะสแปรตลีนั้น เวียดนามอ้างหลักฐานด้านประวัติศาสตร์เช่นกัน โดยเรียกหมู่เกาะนี้ว่า "ควานเด๋า เตรือง ซา" (Quan Dao Troung Sa) หรือ "เตรือง ซาสำหรับเอกสารที่เวียดนามนำมาใช้อ้างอิงคือ เอกสารของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสเมื่อ ปี พ..2476 ที่ระบุย้อนหลังไปว่าหมู่เกาะสแปรตลี เป็นของเวียดนามมาตั้งแต่ ปี พ..2430 (ก่อนเกิดเหตุการณ์ ร..112 ซึ่งเป็นกรณีพิพาทระหว่างฝรั่งเศสและประเทศสยามบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเวลา ปี)

ปัจจุบันเวียดนามอ้างว่า ตนครอบครองเกาะหรือโขดหินในหมู่เกาะสแปรตลีมากที่สุด คือจำนวน 24 เกาะ

บางเกาะหรือโขดหิน มีการครอบครองมาตั้งแต่ปี พ..2266 และในปี พ..2516 ก่อนสงครามเวียดนามจะยุติลง ปี จีนได้ส่งกำลังเข้ายึดครองเกาะต่างๆ จำนวน เกาะจากรัฐบาลเวียดนามใต้ ทำให้มีการกระทบกระทั่งกันเรื่อยมา

จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม พ..2554 เรือลาดตระเวนของจีนได้โจมตีเรือสำรวจน้ำมัน ลำของเวียดนามบริเวณพื้นที่พิพาท และเรือรบของจีนหมายเลข 27, 28 และ 989 ได้เปิดฉากระดมยิงเรือประมงของเวียดนาม จำนวน ลำได้รับความเสียหาย ทำให้ชาวเวียดนามไม่พอใจ พร้อมกับรวมตัวกันประท้วงที่หน้าสถานฑูตจีนในกรุงฮานอยและเมืองโฮจิมินห์

ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ..2555 สภาแห่งชาติเวียดนามก็ตอบโต้ด้วยการประกาศกฏหมายปักปันเขตแดนพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศ โดยได้ประกาศรวมพื้นที่หมู่เกาะสแปรตลีเข้าเป็นดินแดนของเวียดนาม ภายหลังจากที่เคยประกาศว่าหมู่เกาะสแปรตลีอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของตนมาตั้งแต่ปี พ..2520

ความขัดแย้งดังกล่าว ทำให้เวียดนามพยายามทุกวิถีทางที่จะถ่วงดุลย์อำนาจกับจีน ทั้งด้านการทหารและการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านการทหารนั้น เวียดนามมีการเสริมสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างขนานใหญ่ เช่น การสั่งซื้อเรือดำน้ำพลังงานดีเซลชั้น "กิโล"(Kilo) ซึ่งนับเป็นเรือดำน้ำที่ทันสมัยที่สุดชนิดหนึ่งของรัสเซีย เนื่องจากมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและยาวนานตั้งแต่ก่อนที่สหภาพโซเวียตจะล่มสลาย จำนวน ลำ มูลค่ากว่า 1,800ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับเรือดำน้ำลำแรก คือ เอชคิว-182 ฮานอย (HQ-182Hanoi) มีการส่งมอบให้กับกองทัพเรือเวียดนามเมื่อปลายปี พ..2556 ที่ผ่านมาและจะส่งมอบต่อไปปีละ ลำจนถึงปี พ..2561

สำหรับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ หรือที่ต่อไปจะเรียกว่า "ฟิลิปปินส์นั้น มีการกล่างอ้างกรรมสิทธิเพียงบางส่วนของหมู่เกาะสแปรตลีที่อยู่ในเขตเมือง "กาลายาอัน" (Kalayaan) ของจังหวัด "ปาลาวัน" (Palawan) โดยเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่าหมู่เกาะ "กาปูลูอัน งัง กาลายาอัน" (Kapuluan Ng Kalayaan) สำหรับพื้นที่ที่มีปัญหาตึงเครียดบ่อยที่สุดคือ เกาะที่ฟิลิปปินส์ เรียกว่า "ปานาตัค" (Panatag) ส่วนจีนเรียกว่า "ฮวงหยาน" (Huangyan) ในช่วงปี พ..2555 เป็นต้นมา เรือรบเรือสำรวจสมุทรศาสตร์ตลอดจนเรือประมงของฟิลิปปินส์และจีนมีการกระทบกระทั่งกันในพื้นที่พิพาทนี้เป็นจำนวนหลายครั้ง

แต่การเผชิญหน้าที่เกือบจะขยายตัวเป็นความขัดแย้งรุนแรงระหว่างทั้งสองประเทศ เกิดขึ้นเมื่อบริษัทผู้ผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของจีน คือบริษัท China National Offshore Oil  Corporation : CNOOC (บริษัทเดียวกับที่นำแท่นขุดเจาะน้ำมันเข้าไปติดตั้งในพื้นที่พิพาทหมู่เกาะพาราเซลจนเกิดปัญหากับเวียดนาม เมื่อกลางปี พ..2557 ที่ผ่านมาได้จัดการฝึกซ้อมทางทะเลใน ปี พ..2555 เพื่อทำการค้นหาน้ำมันใกล้กับบริเวณพื้นที่พิพาท เป็นเวลานานถึง 56 วัน ส่งผลให้ชาวฟิลิปปินส์ออกมาประท้วงต่อต้านอย่างรุนแรงทั่วประเทศ 

จีนจึงตอบโต้ด้วยการสั่งกักกล้วยหอมที่นำเข้าจากฟิลิิปปินส์ จำนวน 1,200 ตู้คอนเทนเนอร์ ตามเมืองท่าต่างๆ ของจีน โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในกล้วยหอมเหล่านั้น นอกจากนี้บริษัทท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลจีน ก็ประกาศยกเลิกการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวในฟิลิปปินส์ทั้งหมด ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

แม้ว่าการสร้างดุลย์อำนาจทางทหารระหว่างฟิลิปปินส์และจีนนั้น ดูจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะความอ่อนแอด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมา ทำให้กองทัพฟิลิปปินส์อยู่ในสภาวะที่ขาดแคลนอย่างมาก แต่ฟิลิปปินส์ก็พยายามเดินหมากด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกันมาตั้งแต่อดีต และมีวัตถุประสงค์เดียวกันในการสกัดกั้นจีนตามนโยบาย "การปรับสมดุลย์" (Rebalancing) ของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า ภายหลังจากที่สหรัฐฯมัวแต่ทุ่มเทความสนใจไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางมาเป็นเวลานานนับทศวรรษ

ภาพที่ชัดเจนที่สุดในการหวนกลับมาสู่ฟิลิปปินส์ของสหรัฐฯ คือกรณีพายุไต้ฝุ่น "ไห่เยียนเมื่อช่วงปลายปี พ..2556 นั้น สหรัฐฯ ได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบิน "ยูเอสเอส จอร์ช  วอชิงตัน" (USS George Washington) เดินทางนำความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม พร้อมกำลังพลหน่วยนาวิกโยธินอีกกว่า 5,000 นายและยุทโธปกรณ์ชนิดต่างๆ เดินทางเข้าไปให้ความช่วยเหลือเกือบจะในทันที อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการทหารระหว่างฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯ นับเป็นวิธีการหนึ่งในการ "ซื้อเวลาเพื่อให้กองทัพฟิลิปปินส์สามารถพัฒนาแสนยานุภาพให้มีความเข้มแข็งขึ้นตามกฏหมายสาธารณรัฐ ฉบับที่ 10349 (Republic Act No.10349) ที่ประธานาธิบดีเบนิกโน อาคิโน่ ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ..2555 แม้นักวิเคราะห์ต่างมองว่าการพัฒนากำลังรบของกองทัพฟิลิปปินส์นั้น จะไม่สามารถทัดเทียมกับศักยภาพอันแข็งแกร่งและยิ่งใหญ่ของกองทัพจีนได้เลย แต่อย่างน้อยการพัฒนาดังกล่าวก็จะส่งผลให้จีนต้อง "ลังเลใจหรือ "คิดทบทวนอีกครั้ง" (second thought) ก่อนที่จะตัดสินใจใช้มาตรการทางการทหารกับฟิลิปปินส์ หากกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ขยายตัวลุกลามออกไป

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างความขัดแย้งบางส่วนระหว่างจีน เวียดนามและฟิลิปปินส์ในพื้นที่หมู่เกาะสแปรตลี ที่นับวันจะทวีความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ จนหลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะลุกลามกลายเป็นข้อพิพาทที่รุนแรงในอนาคตได้ ดังนั้นประเทศสมาชิกอาเซียนจึงต้องจับตามองปัญหาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อหาแนวทางลดการเผชิญหน้าของคู่กรณีลง รวมทั้งต้องร่วมมือกันประสานความขัดแย้งและแก้ไขปัญหาอย่างสันติบนแนวทางของการแสวงประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศคู่ขัดแย้งทั้งหมด เพื่อนำพาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคแห่งนี้มุ่งไปสู่ความสงบและสันติอย่างถาวรนั่นเอง




 




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2557    
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 9:08:43 น.
Counter : 4606 Pageviews.  

ยุุทธการรุ่งอรุณแดง (ซัดดัม ฮุสเซน) ตอนที่ 5

“ยุทธการรุ่งอรุณแดง” (OperationsRed Dawn)

ตอนที่  5

จากหนังสือเรื่อง "ยุทธการขจัดทรราช"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University,  New Zealand

ข้อเขียนนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าเท่านั้น



ในวันที่ 
30 มิถุนายน ค..2004 ซัดดัม ฮุสเซนถูกนำตัวขึ้นดำเนินคดีที่ค่าย "ครอปเปอร์" (Camp Cropper) ซึ่งเป็นฐานของทหารสหรัฐฯ ในอิรัก พร้อมกับสมาชิกพรรคบาธอีก 11 คน ในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และในอีกไม่กี่อาทิตย์ต่อมาคณะตุลาการพิเศษของอิรักก็ตัดสินว่าเขามีความผิดในการสังหารหมู่ที่เมือง "ดูจาอิล" (Dujail massacre)

เมืองดูจาอิลเป็นเมืองที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ อยู่ห่างจากกรุงแบกแดด 53 กิโลเมตร  การสังหารหมู่ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากความล้มเหลวในการลอบสังหารซัดดัม ฮุสเซนเมื่อวันที่  กรกฎาคม ค..1982 โดยในวันนั้นเขาเดินทางมาที่เมืองดูจาอิลเพื่อกล่าวสุนทรพจน์สรรเสริญทหารที่เดินทางไปจากเมืองนี้ เพื่อต่อสู้กับกองทัพอิหร่านอย่างห้าวหาญ ขณะที่กำลังเดินทางกลับกรุงแบกแดด ขบวนรถของซัดดัม ฮุสเซนได้ถูกซุ่มโจมตีจากกลุ่มมือปืนจำนวน 12 คนที่หลบซ่อนอยู่สองข้างทางที่เต็มไปด้วยต้นอินทผาลัม 

การยิงต่อสู้ดำเนินไปกว่า ชั่วโมง  ก่อนที่กลุ่มมือปืนจะถูกสังหารเกือบทั้งหมด  มีบางคนถูกจับเป็นเชลย  ซัดดัม ฮุสเซนสอบสวนมือปืนสองคนที่รอดชีวิตด้วยตัวเอง ก่อนที่จะสั่งการให้จับชาวเมืองดูจาอิล ที่เป็นชายอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปจำนวน 393 คน  ผู้หญิงและเด็กอีก 394 คนไปคุมขังที่เรือนจำอาบู กาหลิบ (AbuGhraib) ชานกรุงแบกแดด  มีการทรมานบุคคลเหล่านี้อย่างทารุณในจำนวนนี้ 138 คนถูกประหารชีวิตในปี ค.. 1985 และอีก 10 คนถูกสังหารอย่างลับๆ ในปี  ค..1989 รวมผู้เสียชีวิตทั้งหมด 148 คน

ในวันที่ พฤศจิกายน ค..2006 ศาลพิเศษของอิรักได้พิจารณาพิพากษาตัดสินให้ซัดดัม ฮุสเซนมีความผิดในคดีสังหารหมู่ที่เมืองดูจาอิลดังกล่าว  และมีโทษถึงประหารชีวิต จนกระทั่งในวันที่ 30 ธันวาคม ค..2006 รัฐบาลชั่วคราวของอิรักก็สั่งการให้ประหารชีวิตเขา ด้วยการแขวนคอนับเป็นการสั่งการอย่างปัจจุบันทันด่วน และไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าแต่อย่างใด  ในช่วงแรกนั้นสหรัฐฯ ต้องการให้ยืดเวลาการประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซนออกไปอีก 15 วันเพื่อดำเนินการพิจารณาคดีตามขั้นตอนให้ถูกต้อง 

แต่รัฐบาลชั่วคราวของอิรักยังคงยืนยันที่จะให้มีการประหารชีวิตในวันดังกล่าว  ส่งผลให้สหรัฐฯ ไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมสังเกตุการณ์การประหารชีวิตครั้งนี้แม้แต่คนเดียว รวมทั้งพลตรี วิลเลี่ยม คาลด์เวล  (MajorGeneral William Caldwell)  โฆษกกองกำลังสหรัฐฯในอิรักได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า กองกำลังสหรัฐฯและนานาชาติไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับการประหารชีวิตอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนในครั้งนี้

ในวันประหารชีวิตผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์กล่าวว่า ซัดดัม ฮุสเซนซึ่งสวมเสื้อคลุมยาวสีดำทับเสื้อเชิ้ตสีขาว เดินออกจากห้องขังเข้าสู่หลักประหารด้วยท่าทางที่สงบนิ่งขรึม ไม่มีท่าทีตะหนกแต่อย่างใด เขามีคัมภีร์อัลกุรอานอยู่ในอ้อมกอดราวกับพร้อมที่จะพบกับวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิต คัมภีร์เล่มนี้ซัดดัมฮุสเซนได้นำติดตัวไปตลอดช่วงเวลาที่เขาต้องขึ้นศาลพิจารณาคดี เมื่อซัดดัม ฮุสเซนก้าวขึ้นยืนบนตะแลงแกงแขวนคอ เพชฌฆาตได้ใช้ผ้าสีดำพันรอบคอของเขาก่อนที่จะนำเชือกมาคล้องรอบคอของเข าและจะใช้ถุงผ้าสีดำคลุมศีรษะเพื่อปิดใบหน้าของเขา แต่ซัดดัม ฮุสเซนปฏิเสธมีคนถามว่า เขากลัวหรือไม่ซัดดัม ฮุสเซนตอบว่า

".. ไม่ .. ฉันคือทหารผู้ไม่มีความกลัวใดๆ .. ฉันได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตในการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ .. ใครก็ตามที่เดินบนเส้นทางเดียวกับฉันไม่ควรจะหวั่นเกรงใดๆ  ..”

ในขณะที่เชือกเส้นใหญ่ถูกพันรอบคอของซัดดัม ฮุสเซน พยานที่เป็นชาวมุสลิมนิกายชีอะห์คนหนึ่งตะโกนใส่เขาด้วยความโกรธแค้นว่า ".. ไปลงนรกเสียเถอะ .." 

ซัดดัม ฮุสเซนตะโกนสวนตอบกลับไปว่า ".. อิรักนี่แหละคือนรก .." 

ในช่วงนี้มีเสียงตะโกนดังอื้ออึงขึ้นจากผู้คนที่อยู่รอบๆ เพราะไม่พอใจคำพูดของซัดดัม ฮุสเซน ทำให้หนึ่งในเจ้าหน้าที่ควบคุมการประหารต้องตะโกนขึ้นว่า ".. โปรดเงียบ .. บุคคลผู้นี้กำลังจะถูกประหารชีวิต ..” 

เสียงอื้ออึงเหล่านั้นจึงเงียบสงบลงพร้อมๆ กับเพชฌฆาตที่คลุมหน้าด้วยผ้าสีดำก็พันธนาการเชือกที่พันรอบคอของซัดดัม ฮุสเซนให้กระชับแน่น

จากนั้นในเวลาประมาณ 06.00 ของเวลาท้องถิ่นทุกอย่างในห้องประหารชีวิตที่คับแคบมืดทึมและอับชื้นก็เข้าสู่ความเงียบสงัด  กล่าวกันว่ามันเป็นช่วงนาทีที่เงียบจนสามารถได้ยินเสียงหายใจของผู้คน  โดยเฉพาะลมหายใจของซัดดัม ฮุสเซนที่ใกล้จะขาดช่วงลง  ความสนใจของทุกคนในห้องต่างมุ่งไปยังร่างที่ยืนสงบนิ่งรอคอยการประหารชีวิตด้วยการแขวนคอบนตะแลงแกงที่เป็นแผ่นไม้ขนาดไม่ใหญ่นัก  เช่นเดียวกับพยานทุกคนกำลังรอคอยห้วงเวลาอันระทึกขวัญที่จะถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์โลก

และแล้ววินาทีแห่งการประหารชีวิตก็เดินทางมาถึง เพชฌฆาตผู้หยิบยื่นความตายให้กับซัดดัม ฮุสเซนทำการปลดล็อคพื้นไม้กระดานแผ่นกว้างที่เขายืนอยู่ และในพริบตาแผ่นไม้ก็พับลงร่างของอดีตประธานาธิบดีแห่งอิรักร่วงหล่นตามแรงโน้มถ่วงของโลกอย่างรวดเร็ว  รอบคอถูกกระตุกด้วยเชือกที่มัดแน่นอย่างแรง  พยานที่สังเกตุการณ์การประหารชีวิตสามารถได้ยินเสียงกระดูกคอของซัดดัม ฮุสเซนหักจากแรงกระชากดังสนั่นอย่างชัดเจน  พร้อมๆกับวิญญานของอดีตประธานาธิบดีผู้เกรียงไกรแห่งโลกอาหรับวัย 69 ปีที่หาญกล้าท้าทายมหาอำนาจของโลก ก็หลุดลอยออกจากร่าง  เขาถูกแขวนห้อยอยู่บนตะแลงแกงนานหลายอึดใจ  เพื่อให้แน่ใจว่าเสียชีวิต  จนกระทั่งแพทย์เดินเข้าไปตรวจชีพจรและลงความเห็นว่าซัดดัม ฮุสเซนได้เสียชีวิตแล้ว จึงมีการปลดเชือกเพื่อนำศพใส่โลงที่เตรียมเอาไว้

ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 31 ธันวาคม ค..2006 เวลา 04.00 ร่างอันไร้วิญญานของซัดดัม ฮุสเซนก็ถูกนำไปฝัง ณสุสานในเมืองอัลญะห์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดของเขาและอยู่ห่างจากหลุมศพของบุตรชายทั้งสองคือ อูเดย์ และ คูเซย์ ประมาณ กิโลเมตร แม้จะมีข่าวลือว่าร่างอันไร้วิญญานของเขาถูกกระหน่ำแทงอีก ครั้ง เพื่อเป็นการระบายความแค้นของญาติที่เสียชีวิตจากการกระทำของซัดดัม ฮุสเซน แต่ข่าวนี้ก็ได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาลอิรักและผู้นำศาสนาของเมืองอัลญะห์ว่าไม่เป็นความจริง

การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซนในครั้งนี้ นับเป็นการรูดม่านปิดฉากตำนานของผู้นำเผด็จการที่สำคัญอีกคนหนึ่งของโลก จุดจบของเขากลายเป็นข้อถกเถียงในสังคมโลกอยู่หลายประเด็น เช่น  ประเด็นความชอบธรรมของสหรัฐฯ ในการรุกรานประเทศอิรัก เพื่อยุติโครงการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ซึ่งแม้จนทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานของอาวุธดังกล่าวได้

นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าชัยชนะของสหรัฐฯ ในสงครามครั้งนี้ เป็นการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของโลกตะวันตกขึ้นในประเทศอิรัก หรือเป็นการนำประเทศอิรักไปสู่จุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองและการสิ้นชาติในอนาคตอันใกล้นี้ ดังที่ชาวอิรักบางคนได้สรุปผลของเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า ".. จุดสิ้นสุดของซัดดัม ฮุสเซนคือจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองในอิรัก .."  




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2556 9:53:14 น.
Counter : 3269 Pageviews.  

ยุทธการรุ่งอรุณแดง (ซัดดัม ฮุสเซน) ตอนที่ 4

“ยุทธการรุ่งอรุณแดง” (OperationsRed Dawn)

ตอนที่ 4

จากหนังสือเรื่อง "ยุทธการขจัดทรราช"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University,  New Zealand

ข้อเขียนนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าเท่านั้น

 


ในเวลานั้น ซัดดัม ฮุสเซน ต้องหลบซ่อนตัวจากการตามล่าแบบพลิกแผ่นดินของทหารสหรัฐฯ แม้จะมีข่าวออกมาว่ามีผู้พบเห็นเขาในพื้นที่ต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถจับตัวได้  มิหนำซ้ำซัดดัม ฮุสเซน ยังสามารถส่งเทปบันทึกเสียงของเขาออกเผยแพร่ เพื่อเรียกร้องให้ชาวอิรักออกมาต่อต้านการรุกรานของสหรัฐฯ 

จนกระทั่งในวันที่  22 กรกฎาคม ค..2003 ทหารสหรัฐฯ จากหน่วยเฉพาะกิจที่  20 (Task Force 20)  พร้อมด้วยกำลังพลจากกองพลส่งทางอากาศที่ 101 (101st Airborne Division) ก็เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่งในเมืองโมซุล (Mosul) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิรัก ภายหลังจากที่มีผู้พบเห็นรถยนต์สปอตยี่ห้อ "ลัมโบกินี่" (Lamborghini)  อันหรูหราราคาแพงของอูเดย์  ฮุสเซน (UdayHussein)  บุตรชายคนโตของซัดดัม ฮุสเซน 

เมื่อทหารสหรัฐฯ ไปถึงก็พบกับอูเดย์ พร้อมกับอาวุธ เกิดการปะทะกันขึ้น สหรัฐฯ มีการเสริมกำลังทหารเข้าไปกว่า 200 นาย  สนับสนุนด้วยเฮลิคอปเตอร์ แบบ โอเอช 58 กิโอว่า (OH-58Kiowa)  และเครื่องบินโจมตี แบบเอ 10 (A-10)  การปะทะกินเวลานานกว่า ชั่วโมง เมื่อเสียงปืนสงบลง ก็พบว่าอูเดย์และบุคคลที่อยู่ในบ้าน คน ซึ่งประกอบด้วยคูเซย์  (Qusay) น้องชายของอูเดย์ พร้อมกับมุสตาฟา  (Mustapha) บุตรชายวัย 14 ขวบของคูเซย์ และองครักษ์อีก คนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทั้งหมด

เมื่อสิ้นอูเดย์และคูเดย์ ซึ่งเป็นบุตรชายทั้งสองคนไปแล้ว ซัดดัม ฮุสเซน ก็ตกที่นั่งลำบากโดยเฉพาะเมื่อรู้ว่าคนรอบข้างของเขา พร้อมที่จะหักหลังได้ทุกเมื่อ เพื่อแลกกับรางวัลหรือสินบนนำจับของสหรัฐฯ ที่มีมูลค่ามหาศาล ดังเช่น กรณีการค้นพบที่ซ่อนของอูเดย์นั้น ความจริงปรากฏในภายหลังว่า เจ้าของบ้านพักคือ นาวาฟ ซีดาน (NawafZeidan) ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของซัดดัม ฮุสเซนนั่นเอง ที่เป็นผู้แจ้งเบาะแสให้สหรัฐฯ เพื่อแลกกับการได้สัญชาติอเมริกันและเข้าไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐฯ สถานการณ์ต่างๆ  ทำให้ซัดดัม ฮุสเซนไม่สามารถไว้ใจใครได้เลย

แต่ด้วยเครือข่ายข้อมูลข่าวสารอันทรงประสิทธิภาพของสหรัฐฯ ทำให้สามารถสืบทราบถึงที่ซ่อนของซัดดัมฮุสเซนได้ว่า  เขาหลบซ่อนอยู่ใกล้ๆ เมืองเกษตรกรรมเล็กๆ ที่ชื่อ อัดวาร์ (AdDwar) ใกล้ๆ กับเมืองทีกริท  เมืองอัดวาร์นี้เมื่อเดือนพฤษภาคม ค..2003 กำลังทหารสหรัฐฯ สังกัดกองพันที่ กรมปืนใหญ่สนามที่ 42 กองพลทหารราบที่ 4 (4th Battalion,  42nd Field Artillery,  4th Infantry Division)  ได้เข้ากวาดล้างสมาชิกพรรคบาธของซัดดัม ฮุสเซน และจับกุมผู้ต้องสงสัยไปกว่า 260 คน แม้ว่าผู้ถูกจับกุมเกือบทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวแต่มีชาย คนที่ไม่ได้รับการปล่อยตัว โดยพบว่าในจำนวนนี้มี คน ที่เคยดำรงตำแหน่งนายพลในกองทัพอิรัก และกองกำลังรักษาความปลอดภัยของซัดดัม ฮุสเซน 

ต่อมาในเดือนสิงหาคม รถยนต์ฮัมวี่ของทหารสหรัฐฯ ก็โดนลอบโจมตีด้วยระเบิดแสวงเครื่อง (IED: Improvised Explosive Device) ที่ทำมาจากทุ่นระเบิดดักรถถัง ที่วางดักไว้ทำให้ทหารสหรัฐฯ เสียชีวิตทันที นาย และในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ทหารสหรัฐฯ ก็ถูกลอบโจมตีอีก จนทำให้ทหารสหรัฐฯ เสียชีวิต นายและบาดเจ็บอีก นาย ความเคลื่อนไหวเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า เมืองอัดวาร์แห่งนี้ยังเป็นพื้นที่อิทธิพลของพรรคบาธ และกำลังทหารที่ยังจงรักภักดีต่อซัดดัม ฮุสเซนอยู่

ดังนั้นในวันที่ 13 ธันวาคม ค..2003 สายข่าวก็รายงานมาว่า ไคส์ นามุก  (QaisNamuk)  อดีตคนทำครัวของซัดดัม ฮุสเซน ได้มาพำนักอยู่ที่กระท่อมแห่งหนึ่งในเมืองอัดวาร์ และเขาเป็นคนหนึ่งที่ซัดดัม ฮุสเซนไว้วางใจมากที่สุด  จึงน่าจะเป็นไปได้ที่อดีตประธานาธิบดีของอิรักจะซ่อนตัวอยู่ที่นั่น โดยสหรัฐฯ  ได้กำหนดนามเรียกขานของสถานที่ แห่ง ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นที่ซ่อนตัวของซัดดัมฮุสเซนว่า วูฟเฟอรีน และ วูฟเฟอรีน 2 (Wolverine 1, Wolverine 2) 

กำลังทหารจากหน่วยที่เข้าปฏิบัติการคือ ชุดปฏิบัติการรบกองพลน้อยที่  1 (1st Brigade Combat Team) สังกัดกองพลทหารราบที่ นำโดยพันเอกเจมส์  ฮิคกี้ (Colonel James Hickey) ร่วมกับชุดเฉพาะกิจ 121 (Task Force 121)  ของสหรัฐฯ  รวมกำลังพลที่เข้าปฏิบัติการในครั้งนี้กว่า 600 คน  ประกอบด้วยทหารม้ายานเกราะ  ทหารปืนใหญ่  หน่วยบิน ทหารช่างและหน่วยรบพิเศษ

ทหารสหรัฐฯ บุกเข้าค้นทั้งวูฟเฟอรีน และ วูฟเฟอรีน แต่ไม่พบตัวซัดดัม ฮุสเซนแต่อย่างใด แม้ความหวังในการค้นหาตัวบุคคลสำคัญอันดับหนึ่งของรัฐบาลอิรัก  จะริบหรี่ลงเต็มที แต่พวกเขาก็ไม่ละความพยายาม  จนกระทั่งเวลาล่วงเลยไปจนมืดค่ำ ในเวลา 20.30 ทหารสหรัฐฯ ได้เข้าไปตรวจค้นในกระท่อมที่มีพื้นที่เล็กๆ  ผนังทำด้วยโคลนแข็ง  โครงสร้างของกระท่อมเป็นโลหะ  แล้วพวกเขาก็พบทางเข้า "รูแมงมุม" (spider hole)  ที่ปกปิดซ่อนพรางด้วยอิฐและฝุ่นหลุมนี้มีความลึก 6-8 ฟุตมีพื้นที่แคบๆ ที่คนสามารถนอนเหยียดยาวได้  

และแล้วทหารสหรัฐฯ ก็พบซัดดัม ฮุสเซนหลบซ่อนอยู่ที่ก้นหลุม  พร้อมกับปืนเล็กยาวอัตโนมัติแบบเอเค  47 และเงินสด 750,000 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อนำตัวซัดดัม ฮุสเซนขึ้นมาจากหลุมที่ซ่อนตัว เขาไม่มีท่าทีขัดขืนพร้อมกับพูดว่า  "..ฉันคือซัดดัมฮุสเซน ประธานาธิบดีของอิรักฉันต้องการเจรจา .."

อดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ถูกนำตัวจากเมืองอัดวาร์ ไปยังฐานทหารสหรัฐฯ ที่เมืองทิกริท ก่อนที่จะส่งตัวต่อไปยังกรุงแบกแดด  วันต่อมาภาพวีดิโอของเขาก็ถูกนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน  ในเทปวีดิโอนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่่าซัดดัม ฮุสเซนอยู่ในสภาพอิดโรย  ใบหน้าเต็มไปด้วยหนวดเครา  แต่ยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจในตัวเอง 

พร้อมๆ กันนั้น เขาก็ถูกสอบสวนจากหัวหน้าชุดสอบสวน ที่ส่งตรงมาจากสำนักงานสอบสวนกลางหรือ "เอฟบีไอคือ นายจอร์จ ไพโร (GeorgePiro) ผู้ซึ่งสามารถพูดได้ ภาษาอย่างคล่องแคล่ว ประกอบด้วยภาษาอังกฤษ  ภาษาอารบิค  ภาษาแอสซีเรียนและภาษาฝรั่งเศส  ภายหลังในปี ค.. 2008 นายไพโรได้กล่าวถึงผลการสอบสวนในรายการสารคดีโทรทัศน์ที่ชื่อ “60นาที" (60 minutes)  ว่า ซัดดัม ฮุสเซนไม่เคยคาดคิดมาก่อนถึงการบุกอิรักของกองทัพสหรัฐฯ พร้อมทั้งยืนยันว่า อิรักไม่เคยครอบครองอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง แต่ก็ไม่เคยละความพยายามที่จะมีอาวุธเหล่านี้ไว้ในครอบครอง เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศจากภัยคุกคามที่เกิดจากโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน  ยิ่งไปกว่านั้นซัดดัม ฮุสเซนยังปฏิเสธถึงความเกี่ยวข้องใดๆ ที่มีกับโอซามา บิน ลาเดน  ผู้นำกลุ่มอัล กออิดะห์ รวมทั้งเขาไม่สนับสนุนแนวความคิดในการก่อการร้ายและการจัดตั้งรัฐอิสลามบริสุทธิ์ของบินลาเดน 


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2556 10:03:35 น.
Counter : 4808 Pageviews.  

ยุทธการรุ่งอรุณแดง (ซัดดัม ฮุสเซน) ตอนที่ 3

“ยุทธการรุ่งอรุณแดง” (OperationsRed Dawn)

ตอนที่  3

จากหนังสือเรื่อง "ยุทธการขจัดทรราช"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University,  New Zealand

ข้อเขียนนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าเท่านั้น

 


ในระหว่างนี้เองชาวเคิร์ด (Kurd) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ทางตอนเหนือของอิรักก็ลุกฮือขึ้น โดยการสนับสนุนของอิหร่าน เพื่อหวังจะเปิดแนวรบด้านที่สองของอิรัก ทำให้ซัดดัม ฮุสเซนตอบโต้ด้วยการโจมตีด้วยแก็สมัสตาร์ด (mustard gas) และแก็สประสาท  ส่งผลให้มีประชาชนผู้บริสุทธิ์ในเมือง  "ฮาลาบจา" (Halabja) กว่า 5,000 คน เสียชีวิตบาดเจ็บอีกกว่า 10,000 คน ซึ่งสำนักข่าวต่างประเทศได้เผยแพร่สภาพซากศพของผู้คนในเมืองจำนวนมากที่เสียชีวิตอย่างน่าเอน็จอนาถ ในจำนวนนี้มีทั้งเด็ก สตรีและคนชรารวมอยู่ด้วย

ในวันที่ 20 สิงหาคม ค..1988 องค์การสหประชาชาติก็สามารถไกล่เกลี่ยให้อิรักและอิหร่านยุติการสู้รบลงได้ท่ามกลางความอ่อนล้าของทั้งสองประเทศ ผลของสงครามก็คือทั้งอิรักและอิหร่านต่างพ่ายแพ้อย่างย่อยยับด้วยกันทั้งคู่ 

แต่ผู้นำของทั้งสองประเทศกลับได้รับผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ซัดดัม ฮุสเซนทำให้อิรักกลายเป็นหนี้สินประเทศในโลกอาหรับเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาซื้ออาวุธในการสงครามกับอิหร่าน เขากู้เงินนับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จนกระทั่งมองไม่เห็นหนทางเลยว่าอิรักจะชำระหนี้สินเหล่านี้ได้อย่างไรในห้วงเวลาหนึ่งชั่วอายุคน นอกจากนี้อิรักยังต้องการเงินอีกจำนวนมหาศาลมาใช้ฟื้นฟูประเทศที่บอบช้ำจากสงครามอีกด้วย

ในทางตรงกันข้าม อยาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำของอิหร่านกลับได้รับคะแนนนิยมอย่างท่วมท้นจากประชาชนชาวอิหร่านในฐานะ "วีรบุรุษผู้ปกป้องประเทศ ด้วยความเสียสละ มีการเปรียบเทียบกันว่าอิหร่านนั้น ต่อสู้กับคนเกือบทั้งโลก เป็นการต่อสู้ที่โดดเดี่ยว มีแรงสนับสนุนจากต่างชาติเพียงน้อยนิด แต่อิหร่านก็สามารถยืนหยัด รักษาชาติให้รอดพ้นมาได้

เมฆหมอกของสงครามจางหายไป แต่ความตึงเครียดก็หาได้จางหายไปเหมือนเมฆหมอก โดยเฉพาะความตึงเครียดระหว่างอิรักและคูเวต ซึ่งอิรักกู้เงินมาทำสงครามกว่า 30,000 ล้านเหรียญ โดยซัดดัม ฮุสเซน อ้างว่าเงินจำนวนดังกล่าว ก็เพื่อปกป้องประเทศคูเวตเอง จากการแผ่ขยายอิทธิพลของอิหร่าน ซึ่งเป็นพวกนิยมศาสนาหัวรุนแรง ดังนั้นคูเวตจึงควรยกเลิกหนี้สินทั้งหมดที่มีกับอิรักเป็นการตอบแทน แต่คูเวตปฏิเสธข้อเสนอของซัดดัม ฮุสเซน

เมื่อคูเวตไม่ยอมทำตามข้อเสนอของอิรัก ในวันที่ สิงหาคม ค..1990 ซัดดัม ฮุสเซน ก็กรีฑาทัพเข้ายึดครองคูเวต และประกาศผนวกดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก โดยอ้างเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ สหประชาชาติโดยการนำของสหรัฐฯ ตอบโต้ด้วยการส่งกำลังทหารเข้าไปปลดปล่อยคูเวต ภายใต้ชื่อยุทธการ "พายุทะเลทราย" (Operation Desert Storm)  ซึ่งเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค..1991 และสิ้นสุดลง ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน 

การรบในครั้งนี้กำลังทหารตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ของอิรัก ซึ่งเทียบไม่ได้กับกองทัพสหรัฐฯ ต้องประสบความสูญเสียอย่างหนักอีกครั้ง ทหารอิรักเสียชีวิตและบาดเจ็บกว่า 85,000 คนถูกจับเป็นเชลยกว่า 175,000 คน และต้องถอนกำลังทหารออกจากดินแดนยึดครอง แต่ซัดดัม ฮุสเซนก็ประกาศต่อชาวอิรักว่าสงครามสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของชาวอิรักทุกคน ที่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของมหาอำนาจตะวันตกได้

สงครามในครั้งนี้สามารถปลดปล่อยประเทศคูเวตให้เป็นอิสระจากการยึดครองของอิรักได้ก็จริง แต่ก็ได้ทิ้งเงื่อนปมของความขัดแย้งไว้มากมาย จนในที่สุดสงครามครั้งใหม่ก็อุบัติขึ้นในปี ค..2003 ภายหลังจากเหตุการณ์ 9/11 ภายใต้ชื่อยุทธการ "ปลดปล่อยอิรัก" (Operation Iraqi  Freedom) กำลังทหารสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรจำนวนกว่า 265,000 นาย เคลื่อนพลเข้าสู่ประเทศอิรัก โดยไม่มีการประกาศสงครามแต่อย่างใด ในวันที่ 13 มีนาคม ค..2003 พร้อมๆ กับการโจมตีทางอากาศต่อพระราชวังแบกแดด ซึ่งเป็นที่พำนักของซัดดัม ฮุสเซน โดยสหรัฐฯอ้างเหตุผลของการบุกอิรักในครั้งนี้ ก็เพื่อกำจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD: Weapon of Mass Destruction)  ที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลก

กำลังส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ นำโดยรถถังแบบ เอ็ม 1อัมบรามส์ สังกัดกองพลทหารราบที่ 3 (3rd Infantry Division) พุ่งตรงเข้ายึดกรุงแบกแดดอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับกองกำลังนาวิกโยธินภาคโพ้นทะเลที่ 1 (1st Marine Expeditionary Forces)  ที่รุกไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (Highway 1)  มุ่งสู่ตอนกลางของประเทศอิรักสามารถยึดเมือง นาสิริยา (Nasiriyah) รวมทั้งสนามบินทาลิล (TalilAirfield)  ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญได้  

ท่ามกลางการต่อต้านที่เบาบาง เนื่องจากเป็นการรุกแบบสายฟ้าแลบ กองทัพอิรักส่วนใหญ่ไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือการบุกมาก่อน ต้องยอมแพ้หรือไม่ก็ถูกทำลายลงเกือบหมด สิ่งเดียวที่ทำให้การรุกของกองทัพสหรัฐฯ ต้องช้าลงก็คือ พายุทราย (SandStorm) เท่านั้นเอง 

จนกระทั่งในวันที่ สิงหาคม ค..2003 นครแบกแดด เมืองหลวงของประเทศอิรัก ก็ถูกยึดครองโดยทหารสหรัฐฯ ตามด้วยเมืองเคอร์คุก  (Kirkuk) ที่ถูกยึดครองในวันที่ 10 สิงหาคม ค..2003 และเมืองทิกริต บ้านเกิดของซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งถือเป็นที่มั่นสุดท้ายของกองทัพอิรัก ก็ถูกยึดโดย "กองกำลังเฉพาะกิจตริโปลี" (Task Force Tripoli) ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในวันที่ 15 สิงหาคม ค..2003 ทำให้ซัดดัม ฮุสเซน และคณะผู้นำทางทหารที่ใกล้ชิดต้องหลบหนีการจับกุมและถือเป็นการจบสิ้นการครองอำนาจและการบริหารประเทศอิรักอันยาวนานถึง 24 ปีของเขา 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2556 10:10:19 น.
Counter : 2838 Pageviews.  

ยุุทธการรุ่งอรุณแดง (ซัดดัม ฮุสเซน) ตอนที่ 2

“ยุทธการรุ่งอรุณแดง” (OperationsRed Dawn)

ตอนที่ 2

จากหนังสือเรื่อง "ยุทธการขจัดทรราช"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University,  New Zealand

ข้อเขียนนี้สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าเท่านั้น


ซัดดัม ฮุสเซน ก็เหมือนผู้นำเผด็จการคนอื่นๆ ที่เมื่อแรกอยู่ในอำนาจ เขาจะทำทุกอย่างเพื่อประชาชนและประเทศชาติ กล่าวกันว่าเมื่อเขาเดินทางออกไปพบปะประชาชน ซัดดัม ฮุสเซนมักจะนำเงินสดไปด้วยเป็นจำนวนมาก เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้คน ที่มารอต้อนรับ มีการสร้างสถานสงเคราะห์เด็กและคนชราขึ้นมากมาย 

รวมทั้งมีการกำหนดให้ชาวอิรักทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี ต้องรู้หนังสือ สามารถอ่านออก เขียนได้ หากใครไม่ปฏิบัติตาม ก็จะถูกลงโทษ ความทุ่มเท ด้วยความตั้งใจจริงนี้ ส่งผลให้คะแนนนิยมในตัวของซัดดัม ฮุสเซนพุ่งสูงขึ้นมาก ชาวอิรักต่างประดับประดาภาพของซัดดัมไว้ ตามอาคารบ้านเรือนสถานที่ต่างๆ และตามท้องถนนทั่วไป

แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งนานเข้า อำนาจก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงทัศนคติและมุมมองของเขา ซัดดัม  ฮุสเซนกลายเป็นผู้ที่เกรี้ยวกราด ไม่มีใครสามารถวิพากษ์วิจารณ์การกระทำหรือนโยบายของเขาได้ เขากลายเป็นเผด็จการที่โหดร้ายทารุณ  เข่นฆ่าผู้คนไม่เลือกหน้า พร้อมๆ กับความทะเยอทะยานที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนซัดดัม ฮุสเซน วาดภาพตัวเองว่า เขาคือผู้นำของโลกอาหรับที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว เขาก็ประกาศสงครามกับอิหร่าน ที่ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามของอิรัก โดยมีประเทศต่างๆ ให้การหนุนหลังมากมาย เพราะต่างเกรงกลัวการเติบโตของอิหร่าน และการปกครองด้วยหลักกฏหมายอิสลามบริสุทธิ์

ในวันที่ 22 กันยายน ค..1980 หลังจากซัดดัม ฮุสเซน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้หนึ่งปี กองทัพอิรักก็เปิดฉากรุกเข้าไปดินแดนคูเซซสถาน (Khuzestan) ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำมันของอิหร่าน และประกาศผนวกดินแดนแห่งนี้ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิรัก พร้อมๆ กันนั้นอิรักก็ส่งฝูงบินเข้าโจมตีสนามบิน "เมห์ราบัด" (Mehrabad Airport) ในกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน เพื่อทำลายกองทัพอากาศของอิหร่านตามแบบฉบับของการรบแบบสายฟ้าแลบหรือ "บลิซครีก" (Blitzkrieg) ที่เยอรมันเคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง และอิสราเอลใช้เมื่อครั้งสงครามหกวัน

การสู้รบเป็นไปอย่างรุนแรง ในช่วงแรกๆ ของสงครามประชาคมโลกต่างชื่นชมและให้การสนับสนุนซัดดัม ฮุสเซนอย่างออกหน้าออกตา ที่พยายามต่อสู้กับอิหร่าน ที่นานาชาติมองว่าเป็นพวกล้าหลังและกำลังพาโลกให้ถอยกลับไปสู่ยุคดึกดำบรรพ์ 

แต่เมื่อเวลาผ่านไป การสู้รบเป็นไปอย่างยืดเยื้อ ทั้งอิรักและอิหร่านต่างสูญเสียกำลังพลมากมาย โดยเฉพาะยุทธวิธีการรบของอิหร่านที่ใช้ "คลื่นมนุษย์เข้าตีตอบโต้การรุกของอิรัก ส่งผลให้กองทัพอิรักสูญเสียอย่างหนัก ยุทโธปกรณ์จำนวนมากถูกทำลาย เพียงสองปีต่อมาคือในปี ค..1982 สถานการณ์ของอิรักก็เปลี่ยนจากฝ่ายรุก มาเป็นฝ่ายตั้งรับ การก้าวสู่ความเป็นจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ดังเช่น "จักรพรรดิ์เนบูชัดเนซซาของซัดดัม ฮุสเซนไม่ง่ายดังที่วาดฝันไว้

ยิ่งการรบยาวยืดเยื้อนานมากขึ้นเท่าใด ทั้งสองฝ่ายก็อ่อนล้าลงมากเท่านั้น ทหารผ่านศึกที่บาดเจ็บพิการทุพพลภาพมีให้เห็นอยู่ทั่วไป มีการประมาณตัวเลขของผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่ายว่า มีสูงถึง  1,000,000 คนเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของทั้งอิรัก อิหร่าน ถดถอยไปอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมันของอิรักในอ่าวเปอร์เซีย ที่ได้รับความเสียหายอย่างมากจากกองทัพเรืออิหร่าน 

ทำให้ "ดอกเตอร์ ริยาดห์ อิบราฮิม" (Dr. Riyadh Ibrahim) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอิรัก เสนอต่อซัดดัม ฮุสเซน ว่าขอให้เขาลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นการชั่วคราว เพื่อเริ่มการเจรจายุติสงครามกับอิหร่าน 

ครั้งแรกที่ซัดดัมฮุสเซนได้ยินข้อเสนอนี้ ดูเหมือนเขาจะคล้อยตามและเห็นด้วย แต่อีกไม่กี่วันต่อมา อิบราฮิมก็ถูกถอดออกจากตำแหน่ง พร้อมกับถูกจับกุมตัวและวันถัดมาเขาก็ถูกสังหาร 

ภายหลังการประหารชีวิต ทางการอิรักไม่ได้ส่งร่างของเขากลับภูมิลำเนา หากแต่ส่งชิ้นส่วนร่างกายของอิมบราฮิมเพียงบางส่วน โดยบรรจุหีบห่อพัสดุส่งมาให้ภรรยาของเขาที่บ้านแทน จนกลายเป็นที่สยดสยองของผู้พบเห็น นับเป็นการข่มขวัญผู้ที่หาญกล้าท้าทายอำนาจของซัดดัม ฮุสเซน ทำให้ ณเวลานี้ไม่มีใครที่จะกล้าหยุดยั้งซัดดัม ฮุสเซนอีกแล้ว

การรบระหว่างอิรักอิหร่านยาวนานถึงแปดปี ทำให้ซัดดัม ฮุสเซนเริ่มมองหาหนทางในการเผด็จศึก ด้วยการใช้อาวุธชีวภาพ (ChemicalWeapons)  ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทในเยอรมันตะวันตก (ขณะนั้นเยอรมันยังไม่รวมประเทศส่งผลให้กองทัพอิหร่านต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่ออิหร่านใช้คลื่นมนุษย์เป็นยุทธวิธีหลักในการเข้าตีที่มั่นของอิรัก 

ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ซึ่งขณะนั้นเป็นไม้เบื่อไม้เมากับอิหร่าน อันเนื่องมาจากเหตุการณ์บุกยึดสถานฑูตสหรัฐฯ ของนักศึกษาอิหร่านในกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน ก็ให้การสนับสนุนอิรักในด้านต่างๆ รวมทั้งภาพถ่ายทางดาวเทียม ที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนกำลังทหารของอิหร่าน 

ส่วนฝรั่งเศสนั้นก็ขายอาวุธกว่า 25,000 ล้านดอลล่าห์ ให้กับอิรัก แต่ก็ดูเหมือนจะไม่เพียงพอในการทำสงคราม ซัดดัม ฮุสเซนต้องกู้เงินจากกลุ่มประเทศอาหรับต่างๆ มาเพื่อใช้ในการทำสงคราม  หนึ่งในประเทศผู้ให้กู้เงินก็คือ ประเทศคูเวต ซึ่งให้กู้เงินกว่า 30,000 ล้านดอลล่าห์และต้องตกเป็นเหยื่อของซัดดัมฮุสเซนในอนาคต

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 







 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2556 10:17:17 น.
Counter : 2320 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.