ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ฝากข้อความถึง ชาวเมืองนนท์...ด้วยความเป็นห่วง...ลมหายใจทางประวัติศาสตร์ของชาวนนท์



เครดิต U no need a dam & Yingcheep Kerdthonglek

อ้างอิง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=445697895471008&set=a.130924050281729.12020.124811247559676&type=1&theater

Copy//วันนี้ ถ้าใครเคยไปท่าน้ำนนท์จะเคยเห็นอาคารไม้เก่าหลังนี้ ขณะนี้ถูกละเลยอย่างแรง รอวันพังขอเชิญร่วมกันสร้างความสั่นสะเทือนในโซเชียลเนตเวิร์ค เผื่อจะช่วยอะไรได้บ้าง

ภาพและข้อมูลได้มาจากคุณ Yingcheep Kerdthonglek เด็กท่าน้ำนนท์แท้ๆที่ทนไม่ได้กับภาพอันน่าสะเทือนใจนี้ ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151027902254299&set=a.10150476474884299.387871.549104298&type=3&theater

อาคารเก่าแก่โบราณแห่งนี้เคยเป็นพระตำหนักและวิทยาลัยทางการปกครองมาแต่ครั้ง รัชกาลที่ 5 ทั้งยั้งเคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดนนทบุรีว่าหลายทศวรรษจนกระทั่งย้ายไปสร้างในพื้นที่แห่งใหม่ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของวิทยาลัยมหาดไทยกระทรวงมหาดไทย แต่ดูเหมือนจะถูกปล่อยไว้เป็นอาคารร้าง มีเพียงยามเฝ้าอาคารและห้องพิพิธภัณฑ์เล็กๆที่เปิดแสดงภาพและเครื่องมือเครื่องใช้สะท้อนวิถีชีวิตของคนเมืองนนท์ในขณะที่พิพิธภัณฑ์...ประจำจังหวัดถูกปิดตายแล้วแขวนป้ายปิดปรับปรุงมานานหลายปีอาคารหลังนี้หันหน้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา มีทำเลที่ตั้งสวยสะดุดตาอีกทั้งมีท่าเรือต้น-ปลายทางของเรือด่วนเจ้าพระยาซึ่งมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศใช้บริการนับหมื่นคนในแต่ละวัน น่าเสียดายที่หน่วยงานที่ดูแลสมบัติชาติไม่ค่อยให้ความสำคัญกับสถานที่เช่นนี้ ซึ่งถ้าหากหันมาใส่ใจบูรณะ-แบบบูรณาการกันสักนิดคงจะเกิดประโยชน์แก่งานศิลปวัฒนธรรมของคนเมืองนนท์มากกว่านี้นอกจากเป็นที่จัดตลาดนัด Otop หรือที่จอดรถสาธารณะเพียงอย่างเดียว...!!!(ติดตามช่วงต่อไปเร็วๆนี้)




 

Create Date : 27 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 27 กรกฎาคม 2555 16:34:41 น.
Counter : 1779 Pageviews.  

ระบบจักรยาน บ้านเรา ..จะเอาไหน หรือไม่เอาไหน ก็อยู่ที่หน่วยงานเหล่านี้...ลองกระตุ้นกันดู..

หน่วยงานไหน มีหน้าที่พัฒนาระบบจักรยานบ้างดูตามลิ้งก์ครับ...ระบบจักรยานบ้านเรา ยังไม่ไปถึงไหน ถ้าเราไม่ช่วยกันผลักดันในวันข้างหน้า ลูกหลานเราจะอยู่กันแบบรถติดหนักขึ้นๆ ...แล้วคุณภาพชีวิตมันจะเลวร้ายขนาดไหน...

เครดิต -กลุ่มเมืองจักรยาน โดย คุณ ChayutRatanapong

copy// คุณ @Chayut Ratanapong

สิ่งพึงรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบจักรยานในประเทศไทย

… "กรมทางหลวงชนบท" เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและลักษณะของทางหลวงและงานทาง รวมทั้งกำหนดเขตทางหลวง ที่จอดรถระยะแนวต้นไม้และเสาพาดสาย ตลอดจนควบคุมในทางวิชาการ และอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างเกี่ยวกับทางหลวงและงานทาง ให้แก่ "อปท. (อบจ. เทศบาล อบต.)"ซึ่งโดยเนื้อหาสาระในกฎหมายแล้ว ภาคประชาชนจะเข้าไปจัดการเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างในเขตทางหลวงชนบทและเขตทางหลวงท้องถิ่น แทบจะไม่ได้เลย

พระราชบัญญัติ ทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕

… มาตรา ๖ ทางหลวงมี ๕ ประเภท คือ

(๑) ทางหลวงพิเศษ

(๒) ทางหลวงแผ่นดิน

(๓) ทางหลวงชนบท

(๔) ทางหลวงท้องถิ่น

(๕) ทางหลวงสัมปทาน

… มาตรา ๙ ทางหลวงชนบท คือ ทางหลวงที่กรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงชนบท

… มาตรา ๑๐ ทางหลวงท้องถิ่น คือทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยายบูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงท้องถิ่น

//localroaddev.drr.go.th/ebook_file/11111129062010013207.pdf

//localroaddev.drr.go.th/ebook_file/11111129062010013207.pdf

localroaddev.drr.go.th

พระราชบัญญัติ ทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕

… มาตรา ๒๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงชนบทและทางหลวงท้องถิ่นให้อธิบดีกรมทางหลวงชนบท มีอำนาจกำหนดมาตรฐานและลักษณะของทางหลวงและงานทางรวมทั้งกำหนดเขตทางหลวง ที่จอดรถ ระยะแนวต้นไม้และเสาพาดสายตลอดจนควบคุมในทางวิชาการ และอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่าง เกี่ยวกับทางหลวงและงานทาง

… อธิบดีกรมทางหลวงชนบท จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖แห่งพ.ร.บ.ทางหลวงฯ ในการออก ประกาศกรมทางหลวงชนบท เรื่องมาตรฐานและลักษณะของทางหลวง รวมทั้งกำหนดเขตทางหลวง ที่จอดรถ ระยะแนวต้นไม้และเสาพาดสายเกี่ยวกับทางหลวงท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๐

… ข้อ ๖ ทางหลวงท้องถิ่นในเขตเมืองและในเขตชุมชน แบ่งออกเป็น ๕ชั้น คือ

(๑) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นพิเศษ

(๒) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๑

(๓) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๒

(๔) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๓

(๕) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๔

… ข้อ ๗ ทางหลวงท้องถิ่นนอกเขตเมืองและนอกเขตชุมชน แบ่งออกเป็น๗ ชั้น คือ

(๑) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นพิเศษ

(๒) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๑

(๓) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๒

(๔) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๓

(๕) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๔

(๖) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๕

(๗) ทางหลวงท้องถิ่นชั้นที่ ๖

Download: //law.longdo.com/download/329/sub19114

Ref url: //law.longdo.com/law/329/sub19114

แต่ถ้าเป็นประกาศกรมทางหลวงชนบท เรื่องมาตรฐานและลักษณะของทางหลวงและงานทาง รวมทั้งกำหนดเขตทางหลวง ที่จอดรถระยะแนวต้นไม้ และเสาพาดสายเกี่ยวกับทางหลวงชนบท พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นมาตรฐานของ"ทางหลวงชนบท" (ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาล) ต้องลิงก์ (url) นี้ครับ

//www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/00185805.PDF

นิติกรของกรมทางหลวงชนบทเขามีความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่าง กรมทางหลวงชนบท และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นอย่างดีครับ ทุกวันนี้ กรมทางหลวงชนบทเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ช่างของ อปท. ทั้งด้านวิชาการ เอกสารแบบฟอร์ม มาตรฐานและคู่มือต่างๆ เกือบจะทั้งหมดเลยครับ

คลิกเมนูในเว็บนี้สิครับ จะเห็นโครงสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 2องค์กรนี้ครับ

//localroaddev.drr.go.th/ebook.php?catb_id=7

สำนักส่งเสริมการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น กรมทางหลวงชนบท

localroaddev.drr.go.th

Ref url: //www.facebook.com/groups/344037282310977/permalink/372619329452772/

ขอขอบคุณ คุณ @Chayut Ratanapong ที่อนุเคราะห์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับอีกหลายๆท่านที่ยังไม่เคยทราบข้อมูลการติดต่อกับหน่วยงานรับผิดชอบ




 

Create Date : 28 มิถุนายน 2555    
Last Update : 28 มิถุนายน 2555 12:28:05 น.
Counter : 2162 Pageviews.  

กิจกรรมดีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย... สัญจรย่านประวัติศาสตร์มากมายใจกลางเมืองเก่าพระนคร-ป้อมปราบ



ดูจากรายละเอียดของกิจกรรมแล้วน่าสนใจทีเดียวครับเพราะจะได้ทราบ และได้เห็นเรื่องราวโดยตรงจากชุมชนเองกันเลย ชุมชนเหล่านี้ที่ทางผู้จัดนำชม ก็ประกอบอาชีพสืบเนื่องจากบรรพบุรุษ มาอย่างยาวนาน เช่นเครื่องสังฆภัณฑ์ การตีบาตรพระ สารพัดอาชีพ รวมทั้งร้านข้าวต้มเป็ดอันเลื่องชื่อนอกจากนั้น ยังมีการเยี่ยมชม สถานที่ประวัติศาสตร์มากมาย อย่างในภาพเก่าลายเส้น(แต่เป็นภาพพิมพ์จากหนังสือเก่า เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว) จะเป็นวัดสระเกศซึ่งมีเมรุปูน ไว้เผาศพ ซึ่งขณะนั้น น่าจะเกิดโรคระบาด(ช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์) ฝรั่งได้นำไปตีพิมพ์ เป็นภาษาต่างๆ ในภาพยังมี อีแร้งบินวนอยู่เลยครับ....



คำอธิบายภาพ (อ้างอิง Rapee Tor ชื่อบน Facebook เจ้าหน้าที่ประสานงานกองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ขอขอบคุณมา ณที่นี้ครับ)

-โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค)แต่ครั้งยังเป็นพระยาพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นนายสร้างเมรุสร้างด้วยอิฐปูนล้วนเรียกว่า “ เมรุปูน ” สำหรับพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายและศพข้าราชการผู้ใหญ่ เมรุปูนที่วัดสระเกศนี้

-... เมื่อเมรุตั้งติดกับถนนและอาคารบ้านเรือนจึงไม่เหมาะที่จะทำการฌาปนกิจศพและเมรุเกียรติยศจึงได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาสและได้ยุบเลิกเมรุปูนเสีย แต่ชื่อยังปรากฏอยู่จนบัดนี้ ..........

-เมรุในภาพสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรง ก่ออิฐถือปูนเครื่องบนเป็นยอดเจดีย์ สอดคล้องกับภาพถ่ายเมรุปูนในสมัยรัชกาลที่ ๕,มีหอสูงน่าจะใช้ในงานมหรสพสมโภชการ มีคนหามศพ มีแร้งบินวนในท้องฟ้ารอกินซากศพ.....ผมจึงมั่นใจว่าเป็นเมรุปูนวัดสระเกศร้อยเปอร์เซ็นต์

-บริเวณนี้อยู่นอกกำแพงเมืองโดยต้องนำร่างผู้เสียชีวิตออกที่ประตูเมืองด้านทิศตะวันออกประตูเมืองด้านนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า "ประตูผี"

………………………………………………………………………….

ส่วนท่านใดสนใจร่วมกิจกรรมอ่านรายละเอียดด้านล่างนี้ แล้วรีบลงทะเบียนกันครับ....ช้าเต็มหมดเดี๋ยวไม่ได้ไปกันพอดี...

Copy//เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม

ตามลิ้งก์ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=357650500967157&set=a.246018572130351.55713.245979795467562&type=1

เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมือง ย่านป้อมปราบฯ - พระนคร ขอเชิญยลวิถีวัฒนธรรมในย่านเก่าเมืองกรุงวันเสาร์ที่ ๒๓ มิ.ย. สมัครด่วนนี้ (มี ๒ เส้นทาง)

-------------------------------------------------------

กิจกรรมท่องเที่ยววิถีถิ่น (เส้นทาง ก. รอบภูเขาทองเป็นย่านอาชีพเก่าแก่คู่พระนคร ตีบาตร สังฆภัณฑ์ ดอกไม้ไฟ หีบศพ ฯลฯ )

เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในมรดกวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า…

ในงานเตร่ ตรอก ลัดรั้วบ้าน ฟื้นตำนานป้อมปราบฯ – พระนครครั้งที่ ๒....

กิจกรรม “เที่ยววิถีชุมชน คนกันเอง”

วันเสาร์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๕

ณ ย่านสำราญราษฎร์ ย่านบ้านบาตร และย่านภูเขาทอง….

๑๒.๐๐ น. พร้อมกันที่ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ลงทะเบียน/ รับเอกสาร

๑๒.๓๐ น. ชี้แจงรายละเอียดเส้นทางสถานที่เยี่ยมชม / ออกเดินทาง

๑๒.๔๐ น. - เยี่ยมชมสถานที่สำคัญที่มีเรื่องราวน่าสนใจย่านหลังวัดราชนัดดา

ชมบ้านโบราณ “เรือนคุณพระ” สมัยรัชกาลที่๕, ต้นไม้เก่าแก่ริมคลองหลอด, กลุ่มบ้านศิลปินยุคอดีต,กุฏิสุนทรภู่

๑๓.๓๐ น. เข้าสู่ ชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ ชมตำหนักเก่า, การตัดเย็บจีวร,

เยี่ยมชมร้านค้าสังฆภัณฑ์ ถนนบำรุงเมือง

๑๔.๑๕ น. ฟังเรื่องราวของย่านประตูผีที่ ตลาดประตูผี ที่ถูกทิ้งร้าง / ร่วมอุดหนุนเศรษฐกิจชุมชน อาทิ ร้านข้าวต้มเป็ด, ร้านกาแฟโบราณ

๑๔.๓๐ น. ข้าม สะพานสมมตอมรมารคบริเวณคลองรอบกรุง ผ่านแยกเมรุปูน เข้าสู่ ย่านบ้านบาตร /พูดคุยเรื่องดอกไม้ไฟในยุครุ่งเรืองที่ ร้านนายต่วน และ ร้านป.ปานจินดาที่ยังคงอนุรักษ์อาคารในรูปแบบดั้งเดิมเป็นอย่างดี

๑๔.๔๕ น. ถึง ชุมชนบ้านบาตร ฟังเรื่องราวและสัมผัสการทำบาตรแต่ครั้งบรรพบุรุษ,

ชมศาลพ่อปู่, ศาลากลางบ้าน, บ้านเก่าแก่ในชุมชนที่มีเรื่องราวของบุคคลสำคัญที่เคยมาพำนักทั้งอดีตนายกรัฐมนตรี และเรื่องราวของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ

๑๕.๔๕ น. มุ่งสู่ ถนนบำรุงเมืองฟังเรื่องราวกำเนิดการประปาในสยามประเทศ/ ถึงตรอกเซี่ยงไฮ้ชมอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอาคารเรือนแถวชั้นเดียวที่มีสภาพสมบูรณ์ ,ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนอาชีพการทำหีบศพ, และเครื่องเฟอร์นิเจอร์

๑๖.๑๕ น. เดินทางผ่านวัดสระเกศ, ถนนสายไม้,สะพานมหาดไทยอุทิศ ข้ามคลองรอบกรุง

กลับสู่ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

๑๖.๓๐ - ๒๑.๐๐ น. ร่วมสัมผัสกิจกรรมทางวัฒนธรรมของเครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองย่านป้อมปราบฯ – พระนคร อาทิ การเสวนา,นิทรรศการ,

กิจกรรมสาธิตทางภูมิปัญญา และอาชีพที่น่าสนใจของชาวย่าน เช่นเครื่องสังฆภัณฑ์ การทำบาตร การปักเครื่องละคร งานประดิษฐ์ ศิลปะเด็ก การร้องแหล่การชกมวย ฯลฯ

-----------------------------------------

** กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม **

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยแจ้งชื่อ-นามสกุล และหมายเลขโทรศัพท์

ที่ อีเมล์ toursociety@gmail.com

ภายในวันอังคารที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕

รับจำนวนจำกัดเส้นทางละ ๘๐ คน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณศิริวรรณ(ศิ) หรือคุณวันทนา(นา)

โทร. ๐๒ – ๒๒๔ ๐๑๒๐ และ ๐๘๖ – ๓๓๑ ๘๕๘๘ในวัน และเวลาราชการ

หรือที่อีเมล์ toursocity@gmail.com

ดำเนินงานโดย

เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนเมืองย่านป้อมปราบฯ– พระนคร

(ชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน,ชุมชนวัดสิตาราม, ชุมชนจักรพรรดิพงศ์, ชุมชนบ้านบาตร, ชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์, ชาวตรอกเซี่ยงไฮ้,

ร่วมสนับสนุนโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม,

ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลภาพและเนื้อหา มา ณ ที่นี้ครับ....




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2555    
Last Update : 13 มิถุนายน 2555 16:03:47 น.
Counter : 2499 Pageviews.  

เรื่องจริงที่น่าเศร้า ..ถ้าพวกเรายังนิ่งเฉย..ลมหายใจสุดท้ายของมรดกภูมิปัญญาฐานถิ่น ในชุมชนเก่าแก่ย่านบางกอกน้อย กำลังจะสูญสิ้น



ภูมิปัญญาไทย จะไร้ค่าถ้าพวกเราไม่รักษา...

แน่นอนทีเดียวเป้าหมายของเนื้อหาบนบล็อกนี้ของเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคมกรุงเทพมหานคร ก็คือ ผู้ร่วมกิจกรรมสัญจร แต่...เป้าหมายที่เป็น “แก่น”ของกิจกรรมจริงๆ นั่นก็คือ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน บางชุมชนในเขตบางกอกน้อย เช่นชุมชนบ้านบุ ที่ยึดอาชีพ “ขันลงหิน”(ภาชนะโลหะชนิดหนึ่ง เพราะคำว่า "บุ"นั้นหมายถึงการตีให้เข้ารูป ใช้กับงานโลหะ) ที่ขาดการสนับสนุนส่งเสริม จากสังคมไทยเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งถึงกับอาจจะทำให้ภูมิปัญญาไทย แขนงนี้อาจสูญสิ้นได้ในอนาคตอันใกล้ๆ นี้ก็เป็นได้

ฉะนั้น ถ้ามีการระดมความคิดกันในส่วนต่างๆ บางท่านอาจจะเก่งด้านการตลาดในแนวของสะสม บางท่าน อาจจะเก่ง ด้าน ประชาสัมพันธ์ ไปในวงกว้าง เพราะขันลงหินนี้ก็เป็นเอกลักษณ์ ในตัวมันเช่นกัน อาจจะมีการนำ คลิปการทำ ไปประกอบเป็น ของแถมเมื่อมีการขายในแต่ละครั้ง เป็นต้น ....งานฝีมือโบราณ คนทำก็เหลือไม่กี่คนแล้ว...งานฝีมือ ใช้ฝีมือ ถ้าเป็นของขวัญให้ผู้ใหญ่ ในกาลเทศะต่างๆพร้อมเรื่องราวเล่าสู่กันเรื่องช่วยต่อลมหายใจชุมชน ผมว่า “ผู้รับ”จะมีความสุขมากมายทีเดียว ที่ “ผู้ให้”ช่วยเหลือมรดกของชาติ

เข้าชื่อตอนกิจกรรมก่อนครับ

ตอน “ ยลบ้านภูมิปัญญา มรดกวัฒนธรรม ชาวบางกอกน้อย ”

วันเสาร์ที่ ...๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕

ณ ชุมชนเก่าแก่ บ้านมะตูม, บ้านช่างหล่อ,บ้านข้าวเม่า, บ้านบุ

ชมศาลาแดงบ้านช่างหล่อเล่น สะบ้าทอย ,ชม พิพิธภัณฑ์ฯ บ้านข้าวเม่าร่วมกวนกาละแมเม็ดแบบโบราณ กินข้าวเม่าหมี่ , สัมผัสตลาดไม้ไร้คานชมการตีขันบุของช่างชุดสุดท้ายของแผ่นดินไทย และทานของอร่อยๆ นานาชนิดที่ถนนสายอาหารบางขุนนนท์

รายละเอียด การลงทะเบียนร่วมกิจกรรม และตารางเวลานัดหมายต่างๆดูด้านล่างหลังจากจบเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชน

…………………………………………………………………………..

ขึ้นต้นจั่วหัว ก็ “เศร้า” ซะแล้ว...แต่มันเป็นเรื่องจริงพอดีได้รับข่าวสารตรงจากผู้ติดต่อประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวก็คงมีความรู้สึกเช่นเดียวกับหลายท่านที่เข้ามาอ่านเช่นเดียวกันครับ....แล้วภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ช่วงที่ผ่านมาสังคมเรา ไม่ค่อยหันมาดูแลช่วยเหลือส่งเสริมเค้าบ้างเลย มันคืออะไร ? (จะกล่าวในย่อหน้าต่อไปครับ)ในยุคที่ทุกข่าวสารผนึกเป็นหนึ่งเดียวแบบนี้ น่าจะหาตลาดใหม่ๆ ช่วยกันเผยแพร่ช่วยกันซื้อ เพื่อ “ภูมิปัญญาไทย” จะคงอยู่ยืนยาวแน่นอนครับ.....ขอบคุณเนื้อหาเจ้าหน้าที่ประสานงานกองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ทุกท่าน และเจ้าหน้าที่เขต ที่ลงพื้นที่จริงเข้าถึงชุมชนจริง ซึ่ง หน่วยงานกองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครก็เป็นหนึ่งในแกนสำคัญของเครือการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม ร่วมกับองค์กรๆทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน ตลอดจนชุมชนอื่นๆ มากมาย ขอขอบคุณข่าวสารที่สำคัญและน่าสนใจครับ



เครดิต อ้างอิง Rapee Tor (ชื่อ บน Facebook)

Copy//มาแล้วจ้า ท่องเที่ยววิถีถิ่น ครั้งที่ ๕...กลับมาหารากเหง้าสังคมไทย กลุ่มอาชีพในชุมชนเก่าแก่กำลังใกล้ดับสูญเจ้าของบ้านขันลงหินบอกกับน้องๆ ในกองท่องเที่ยวว่า จะเลิกกิจการไม่เกิน ๕ ปี นี้ถ้าโชคร้ายเขาอยู่ไม่ไหว ปีหน้าก็อาจเลิกกิจการก็ได้ เครือข่ายฯต้องลุกมาทำอะไรสักอย่างแล้วครับ รายละเอียดเบื้องต้น ตามนี้ก่อนครับ

ลมหายใจสุดท้ายของมรดกภูมิปัญญาฐานถิ่นในชุมชนเก่าแก่ย่านบางกอกน้อย ที่สังคมมองผ่านเลยร่วมสร้างกำลังใจให้พวกเขาได้ในกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีถิ่น ครั้งที่ ๕……

เข้าเนื้อหา ที่มีพอสังเขปครับ ไม่ครบทุกชุมชน ขออภัย มา ณที่นี้ครับ แต่กิจกรรม ที่เครือข่ายการท่องเที่ยวจัด มากมายกว่าที่ผมเขียนถึงครับเพราะทุกท่านจะได้เห็นถึงวิถีชีวิตจริงๆ ของทุกท้องถิ่นกันเลยทีเดียว....สถานที่เหล่านี้ นักท่องเที่ยวก็ชอบกันมาชม ในแนวท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนแต่เราคนไทย ผมว่าส่วนหนึ่งครับ ไม่ทราบ ตัวผมเอง ก็เพิ่งทราบเมื่อไม่นานนี้เช่นกัน....ท่านใดที่ไปร่วมกิจกรรม ก็อย่าลืมเผยแพร่ต่อนะครับ ไม่แน่นะครับว่าการเผยแพร่ของท่าน อาจมีประโยชน์มากมาย เพิ่มยอดขาย เพิ่มรายได้ให้ชุมชนเท่ากับรักษาภูมิปัญญาไทยได้ทางอ้อมเลยครับ.....

บ้านบุ

ชุมชนบ้านบุ ชุมชนเล็กๆ ริมคลองบางกอกน้อยใกล้กับสถานีรถไฟธนบุรีเป็นอีกหนึ่งชุมชนในกรุงเทพมหานครที่มีงานหัตถกรรมอันเป็นมรดกของชุมชนสืบสานกันมาเป็นเวลานานนั่นก็คือการทำ "ขันลงหินบ้านบุ"โดยมีปรากฏหลักฐานในเอกสารสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาในชุมชนว่า บรรพบุรุษของชาวบ้านบุปัจจุบันเป็นชาวกรุงศรีอยุธยาที่ได้อพยพมาตั้งหมู่บ้านในราชธานีใหม่ภายหลังจากเสียกรุงเมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๐



ชุมชน “บ้านบุ” ยึดอาชีพ “ขันลงหิน” (ภาชนะโลหะชนิดหนึ่ง เพราะคำว่า"บุ" นั้นหมายถึงการตีให้เข้ารูป ใช้กับงานโลหะ)

ชุมชนบ้านบุจึงสืบเชื้อสายต่อเนื่องจากอยุธยามาถึงกรุงรัตนโกสินทร์โดยชาวบ้านที่เคยประกอบอาชีพช่างบุทำเครื่องทองลงหินหรือเครื่องทองสัมฤทธิ์ได้รวมกลุ่มกันเลือกที่ตั้งบ้านเรือนขึ้นในทำเลนอกคลองคูเมืองราชธานีบริเวณปากคลองบางกอกน้อย โดยมีวัดอมรินทราราม (วัดบางหว้าน้อย) และวัดสุวรรณาราม(วัดทอง) วัดโบราณสมัยอยุธยาตั้งอยู่เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวบ้านคงดำรงชีพด้วยการทำภาชนะเครื่องทองลงหินอยู่เช่นเดิมและสืบเชื้อสายถ่ายทอดวิชาช่างบุต่อเนื่องกันมาในชุมชนหลายชั่วอายุคน

ขันลงหินอันเลื่องชื่อของบ้านบุนั้นเป็นภาชนะที่ใช้กันแพร่หลายในสังคมไทยสมัยก่อนบางบ้านใช้เป็นขันใส่น้ำดื่มเพราะขันลงหินจะช่วยให้น้ำเย็นกว่าปกติหรือบางบ้านใช้เป็นขันใส่ข้าวสำหรับตักบาตร เพราะจะทำให้ข้าวมีกลิ่นหอมสำหรับขันลงหินจากชุมชนบ้านบุมีชื่อเสียงในเรื่องของความทนทานและความสวยงามเมื่อลองเคาะดูจะมีเสียงดังกังวาน จึงนิยมทำเป็นเครื่องดนตรีอย่าง ฉิ่ง ฉาบหรือฆ้อง เป็นต้น

ปัจจุบันขันลงหินได้รับความนิยมน้อยลงเป็นอย่างมากเนื่องจากมีวัสดุทดแทนที่ถูกกว่า และความไม่รู้คุณค่าในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษซึ่งอาจสิ้นสุดลงในไม่นานนี้

เราจะช่วยกันอย่างไรดีครับ.....

วีดีโอชมท้ายบทความ....

บ้านช่างหล่อ

ตั้งอยู่ใกล้แยกพรานนก ริมคลองบ้านขมิ้นแต่เดิมพื้นที่ภายในบ้านช่างหล่อเป็นสวนเป็นส่วนใหญ่มีเรือนทรงไทยหลังคาหน้าจั่วเป็นย่อมๆ แต่ละบ้านมีบริเวณกว้างเพราะต้องใช้พื้นที่มากในการปั้นและหล่อพระพุทธรูป

บรรพบุรุษของชาวบ้านช่างหล่อเป็นชาวกรุงศรีอยุธยาและบางส่วนเชื่อว่ามาจากเมืองพิษณุโลก มีอาชีพหล่อพระพุทธรูปมาแต่เดิมภายหลังเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรีชาวบ้านได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในละแวกตรอกบ้านช่างหล่อ ได้ดำเนินอาชีพปั้นและหล่อพระพุทธรูปสืบมา เดิมชาวบ้านช่างหล่อมีอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกบการหล่อพระและเป็นเครือญาติพี่น้องสืบสกุลต่อเนื่องกันมา ช่างปั้น ช่างหล่อ ช่างเททองช่างขัด ช่างลงรักปิดทอง ช่างติดกระจก 



การปั้นหล่อพระพุทธรูปของบ้านช่างหล่อมีผลงานที่มีชื่อเสียงมากในบ้านช่างหล่อเป็นที่รวมของช่างปั้นและหล่อพระพุทธรูปหลายตระกูล เช่นพระเทพรจนา(สิน ปฏิมากร) เจ้ากรมช่างสิบหมู่ ช่างเอกในสมัยรัชกาลที่ ๓ต้นตระกูลปฏิมากร ท่านได้สืบทอดงานปั้นหล่อพระพุทธรูปให้แก่บุตรธิดาและตกทอดมาจนถึงรุ่นหลานคือนายพิมาน มูลประมุข ศิลปินแห่งชาติ สาขาประติมากรรม(ทัศนศิลป์) พ.ศ.๒๕๓๑ ครูสุข อยู่มั่น นายพร้อม บูรณะธน นายเปลื้อง แจ่มใส นายผันนางมูล ทรัพย์ปกรณ์ นายฟุ้ง อ้นเจริญ

ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ในยุคต่อ ๆมาช่างของบ้านช่างหล่อยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิธีการปั้นและหล่อให้ทันสมัย โดยการนำวิธีการใหม่ๆ มาผสมผสานกับวิธีการเดิมที่เคยทำในบ้านช่างหล่อ

บ้านช่างหล่ออยู่ในทำเลที่ดีใกล้โรงพยาบาลศิริราชจึงมีคนอพยพมาอยู่ในชุมชนบ้านช่างหล่อเพิ่มขึ้นทุกทีบ้านช่างหล่ออยู่ในเขตที่มีการคมนาคมสะดวก พื้นที่มีอยู่จำนวนมากบ้านเรือนจึงเริ่มแออัดมากขึ้น เมื่อผู้คนมากขึ้นมีผลกระทบถึง โรงหล่อพระพุทธรูปเพราะเมื่ออาชีพเผาหุ่น การหล่อ การเททองจะมีขี้เถ้าและเปลวไฟจากโรงหล่อกระเด็นไปตกในบ้านเรือนผู้อื่นต่อมามีการออกกฎหมายให้พื้นที่บริเวณบ้านช่างหล่อเป็นพื้นที่อยู่อาศัยห้ามทำโรงงานอุตสาหกรรม หรือหากทำต้องก่อกำแพงให้มิดชิด ซึ่งต้องลงทุนมากทำให้โรงหล่อต่าง ๆ ในชุมชนบ้านช่างหล่อต้องปิดกิจการ หรือย้ายไปอยู่บริเวณอื่น ๆปัจจุบัน ไม่มีโรงหล่อเหลืออยู่ในชุมชนบ้านช่างหล่อเลยโรงหล่อเดิมจึงเป็นเพียงสำนักงานเพื่อติดต่องานเท่านั้น

บ้านมะตูม

ตั้งอยู่ในตรอกมะตูม บริเวณสวนอนันต์ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวเมื่อ ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนพินิจประชานาถเจ้าจอมมารดาแพ ในอดีตชาวบ้านย่านนี้มีอาชีพเชื่อมเปลือกส้มแล้วไปส่งขายที่ท่าเตียน ต่อมาเปลี่ยนเป็นการเชื่อมมะตูมเป็นหลักในอดีตจะมีบ้านทำมะตูมเชื่อมเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเหลือเพียง ๒ – ๓ รายโดยผลมะตูมจะนำมาจากจังหวัดพิจิตรช่วงระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึงมีนาคมผลมะตูมกำลังได้ที่ เหมาะที่จะนำไปทำมะตูมเชื่อมโดยที่ตรอกมะตูมจะคัดมะตูมคุณภาพดี และคว้านเนื้อมะตูม เพื่อแกะเมล็ดออกด้วยความประณีตนาไปแช่ในน้ำปูนใส ทำการเชื่อมใช้เวลานานหลายชั่วโมง ใช้เทคนิคการคุมไฟให้เหมาะสมเป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนและเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่สิ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจะจบลงแค่คนในรุ่นปัจจุบันนี้ไม่มีผู้สืบต่อไป



รายละเอียด การลงทะเบียนร่วมกิจกรรม และตารางเวลานัดหมายต่างๆ

วันเสาร์ที่ ...๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕

๐๘.๐๐ น. พร้อมกันที่ “ ท่าเรือข้ามฟาก ” ท่าช้างวังหลวง/ ลงทะเบียน

๐๘.๓๐ น. ออกเดินทางลงเรือข้ามฟากไปยังวัดระฆัง /เดินเท้าสู่ ตรอกมะตูม ที่ตั้ง บ้านมะตูม แหล่งประกอบ

อาชีพเก่าแก่ ฟังเรื่องราวความเป็นมา ร่วมอุดหนุน สินค้าชุมชนน้ำมะตูม มะตูมแห้ง (มะตูมเชื่อม ขึ้นอยู่กับช่วงออกผลมะตูม)

๐๙.๓๐ น. เดินเท้าเข้าสู่ ศาลาแดงบ้านช่างหล่อ “ ศาลากลางบ้าน” ที่เหลืออยู่เพียง ๓ แห่งในพระนคร ฟังประวัติการตั้งถิ่นฐานแต่ครั้งกรุงธนบุรี / ชมสาธิตขั้นตอนการหล่อพระโดยสังเขป /

๑๐.๔๕ น. ออกเดินทางไปยัง ตรอกข้าวเม่า ถนนอิสรภาพ

๑๑.๐๐ น. ถึงบ้านข้าวเม่า ชม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านข้าวเม่า ที่แสดงวิถีชีวิต อาชีพดั้งเดิมภาพเก่าเล่าเรื่อง / สาธิตภูมิปัญญาการทำขนมไทยโบราณ ตามตำรับดั้งเดิมการกวนกาละแมเม็ด, การทำข้าวเม่าหมี่ที่ หาทานได้ยาก /ลิ้มลองและเลือกซื้อขนมไทย อาทิ กาละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเม่าหมี่

๑๒.๑๕ น. เดินทางไป ย่านถนนสายอาหาร ที่ถนนบางขุนนนท์ (ข้างหอพักพยาบาลศิริราช)อุดหนุนอาหารอร่อยนานาชนิด

๑๓.๓๐ น. พบกันที่หน้าพระอุโบสถ วัดสุวรรณาราม ซอยจรัลสนิทวงศ์ ๓๒

- สักการะหลวงพ่อศาสดา ศิลปะสุโขทัย อายุกว่า ๗๐๐ ปี /ชมจิตรกรรมฝาผนังฝีมือบรมครูยุคต้นรัตนโกสินทร์ชมภาพพุทธประวัติตอนโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ศิลปินแห่งชาติ น ณปากน้ำ กล่าวไว้ว่า “งามที่สุดในเมืองไทย” / ศึกษาคติ ความเชื่อ “การวิ่งม้าแก้บน” แห่งเดียวในเมืองไทย

- เดินเข้าสู่ บ้านบุ เข้าชม ตลาดวัดทอง อายุกว่า ๙๐ ปีตลาดไม้ไร้คาน ที่หลงเหลือแห่งเดียวใน

กรุงเทพฯ

- แวะ บ้านขันลงหิน “เจียม แสงสัจจา”ชมการทำขันลงหิน ของชาวบ้านบุผู้สืบทอดหัตถกรรมชั้นยอดแห่งสุดท้ายของแผ่นดินไทย ภูมิปัญญาที่กำลังจะสูญสิ้น /ชมงานบุประยุกต์ที่ บ้านขันธ์หิรัญร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์เพื่อรักษามรดกชาติให้คงอยู่

- เยี่ยมชม ร้านสงวนโอสถ เป็นร้านขายยาโบราณอายุกว่า ๘๐ ปีของนายสงวน เหล่าตระกูลหรือหมอหงวน ที่มีความเชี่ยวชาญในการปรุงยาและการเอื้อเฟื้อต่อสังคม

๑๕.๓๐ น. ถึง โรงรถจักร ธนบุรี ชมหัวรถจักรไอน้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒สถานที่จบชีวิตของโกโบริ ในวรรณกรรมอมตะ “คู่กรรม”

๑๖.๐๐ น. ออกเดินทางไปยัง โรงพยาบาลศิริราชสักการะและร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จฯ พระบรมราชชนก

๑๖.๓๐ น. ถึง ท่าน้ำพรานนก เสร็จสิ้นกิจกรรม / ชม ชิม ช็อป อาหารอันหลากหลายก่อนเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

..............................................................

** กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม **

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมที่อีเมล์ toursociety@gmail.com

ภายในวันอังคารที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕

โดยชำระค่าลงทะเบียนท่านละ ๑๒๐ บาท

เพื่อเป็นค่าสนับสนุนกิจกรรมสาธิตของชุมชน, ค่าวิทยากรท้องถิ่น, ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม๑ มื้อ , ค่าเอกสาร ฯลฯ

รายละเอียดการโอนเงิน:

ชื่อบัญชี นายอนุชา เกื้อจรูญ

ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางกอกน้อย

เลขที่ 119-0949-253

กรุณานำใบโอนมาแสดงในวันที่ 26 ด้วยค่ะ

รายได้ที่เหลือ(ถ้ามี)สนับสนุนกิจกรรมเครือข่ายฯ

ทั้งนี้ ไม่รวมค่าพาหนะรถโดยสารสาธารณะเป็นการส่วนตัวในการเดินทาง(จากบ้านช่างหล่อ – บ้านข้าวเม่า และจากบ้านข้าวเม่า –บางขุนนนท์ - วัดสุวรรณาราม)

และเชิญร่วมอุดหนุนอาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือบริจาคสมทบทุนกิจกรรมของชุมชน ตามอัธยาศัย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณศิริวรรณ(ศิ)หรือคุณวันทนา (นา)

โทร. ๐๒ – ๒๒๕ ๗๖๑๒ ถึง ๔ และ ๐๒ – ๒๒๔๐๑๒๐ ในวัน และเวลาราชการ

หรือที่อีเมล์ toursociety@gmail.com

*** กรุณารายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนโทรถามนะคะ ***

ดำเนินการ โดย เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม

หมายเหตุ : ขอขอบคุณภาพถ่ายจากอินเตอร์เน็ตในการประกอบเนื้อหา...และคลิปภาพบน youtube มา ณ ที่นี้ครับ



ท่านใดสนใจแนวทาง หรือมีข้อเสนอแนะสามารถติดต่อตรงกับทางเครือข่ายผ่านทาง Fan Page ตามลิ้งก์นี้ครับ.... https://www.facebook.com/thaitourismsociety







 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2555 17:29:28 น.
Counter : 4933 Pageviews.  

กิจกรรมดีๆ ย่านบางกอกน้อย ทั้งการเรียนรู้ ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมชุมชน ทั้งช่วยกันเผยแพร่ เพื่อการอนุรักษ์อาชีพ เก่าแก่ของชุมชน



อาชีพเก่า...ชุมชนเก่าเป็นชุมชนที่ยังมีลมหายใจ....ร่วมกันอนุรักษ์เผยแพร่ เอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อต่อลมหายใจของประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณ (รายละเอียดด้านใน)

อ้างอิง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=340212909377583&set=a.246018572130351.55713.245979795467562&type=1

เชิญ ร่วมเรียนรู้ และให้กำลังใจแก่ชาวบางกอกน้อย

เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม วิถีชุมชน และสำนึกแห่งความเป็นไทย

ได้ในกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีถิ่น ครั้งที่ ๕

ตอน “ ยลบ้านภูมิปัญญา มรดกวัฒนธรรม ชาวบางกอกน้อย ”

วันเสาร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕

ณ บ้านมะตูม, บ้านช่างหล่อ, บ้านข้าวเม่า,บ้านบุ

๐๘.๐๐ น. พร้อมกันที่ “ ท่าเรือข้ามฟาก ” ท่าช้างวังหลวง/ ลงทะเบียน

๐๘.๓๐ น. ออกเดินทางลงเรือข้ามฟากไปยังวัดระฆัง /เดินเท้าสู่ ตรอกมะตูม ที่ตั้ง บ้านมะตูม แหล่งประกอบ

อาชีพเก่าแก่ ฟังเรื่องราวความเป็นมา ร่วมอุดหนุน สินค้าชุมชนน้ำมะตูม มะตูมแห้ง (มะตูมเชื่อม ขึ้นอยู่กับช่วงออกผลมะตูม)

๐๙.๓๐ น. เดินเท้าเข้าสู่ ศาลาแดงบ้านช่างหล่อ “ ศาลากลางบ้าน” ที่เหลืออยู่เพียง ๓ แห่งในพระนคร ฟังประวัติการตั้งถิ่นฐานแต่ครั้งกรุงธนบุรี / ชมสาธิตขั้นตอนการหล่อพระโดยสังเขป /

๑๐.๔๕ น. ออกเดินทางไปยัง ตรอกข้าวเม่า ถนนอิสรภาพ

๑๑.๐๐ น. ถึงบ้านข้าวเม่า ชม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านข้าวเม่า ที่แสดงวิถีชีวิต อาชีพดั้งเดิมภาพเก่าเล่าเรื่อง / สาธิตภูมิปัญญาการทำขนมไทยโบราณ ตามตำรับดั้งเดิม การกวนกาละแมเม็ด, การทำข้าวเม่าหมี่ที่หาทานได้ยาก / ลิ้มลองและเลือกซื้อขนมไทย อาทิ กาละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเม่าหมี่

๑๒.๑๕ น. เดินทางไป ย่านถนนสายอาหาร ที่ถนนบางขุนนนท์(ข้างหอพักพยาบาลศิริราช) อุดหนุนอาหารอร่อยนานาชนิด **ตามอัธยาศัย** อาทิ ข้าวแกงก๋วยเตี๋ยวตำลึง ก๋วยเตี๋ยวเส้นปลา ไส้กรอกอีสาน สาคู ข้าวเกรียบปากหม้อ ฯลฯ

๑๓.๓๐ น. พบกันที่หน้าพระอุโบสถ วัดสุวรรณาราม ซอยจรัลสนิทวงศ์ ๓๒

- สักการะหลวงพ่อศาสดา ศิลปะสุโขทัย อายุกว่า ๗๐๐ ปี /ชมจิตรกรรมฝาผนังฝีมือบรมครูยุคต้นรัตนโกสินทร์ ชมภาพพุทธประวัติตอนโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่ศิลปินแห่งชาติ น ณ ปากน้ำ กล่าวไว้ว่า “งามที่สุดในเมืองไทย”/ ศึกษาคติ ความเชื่อ “การวิ่งม้าแก้บน”แห่งเดียวในเมืองไทย

- เดินเข้าสู่ บ้านบุ เข้าชม ตลาดวัดทอง อายุกว่า ๙๐ ปีตลาดไม้ไร้คาน ที่หลงเหลือแห่งเดียวใน

กรุงเทพฯ

- แวะ บ้านขันลงหิน “เจียม แสงสัจจา”ชมการทำขันลงหิน ของชาวบ้านบุผู้สืบทอดหัตถกรรมชั้นยอดแห่งสุดท้ายของแผ่นดินไทย ภูมิปัญญาที่กำลังจะสูญสิ้น /ชมงานบุประยุกต์ที่ บ้านขันธ์หิรัญร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์เพื่อรักษามรดกชาติให้คงอยู่

- เยี่ยมชม ร้านสงวนโอสถ เป็นร้านขายยาโบราณอายุกว่า ๘๐ ปีของนายสงวน เหล่าตระกูลหรือหมอหงวน ที่มีความเชี่ยวชาญในการปรุงยาและการเอื้อเฟื้อต่อสังคม

๑๕.๓๐ น. ถึง โรงรถจักร ธนบุรี ชมหัวรถจักรไอน้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒สถานที่จบชีวิตของโกโบริ ในวรรณกรรมอมตะ “คู่กรรม”

๑๖.๐๐ น. ออกเดินทางไปยัง โรงพยาบาลศิริราชสักการะและร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จฯ พระบรมราชชนก

๑๖.๓๐ น. ถึง ท่าน้ำพรานนก เสร็จสิ้นกิจกรรม / ชม ชิม ช็อป อาหารอันหลากหลายก่อนเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

..............................................................

** กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม **

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมที่อีเมล์ toursociety@gmail.com หรือ

nayolanda@hotmail.com

ภายในวันอังคารที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕

โดยชำระค่าลงทะเบียนท่านละ ๑๒๐ บาท

เพื่อเป็นค่าสนับสนุนกิจกรรมสาธิตของชุมชน, ค่าวิทยากรท้องถิ่น, ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม๑ มื้อ , ค่าเอกสาร ฯลฯ 

รายละเอียดการโอนเงิน:

ชื่อบัญชี นายอนุชา เกื้อจรูญ

ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางกอกน้อย

เลขที่ 119-0949-253

กรุณานำใบโอนมาแสดงในวันที่ 26 ด้วยค่ะ

รายได้ที่เหลือ(ถ้ามี)สนับสนุนกิจกรรมเครือข่ายฯ

ทั้งนี้ ไม่รวมค่าพาหนะรถโดยสารสาธารณะเป็นการส่วนตัวในการเดินทาง(จากบ้านช่างหล่อ – บ้านข้าวเม่า และจากบ้านข้าวเม่า –บางขุนนนท์ - วัดสุวรรณาราม)

และเชิญร่วมอุดหนุนอาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือบริจาคสมทบทุนกิจกรรมของชุมชน ตามอัธยาศัย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณศิริวรรณ(ศิ)หรือคุณวันทนา (นา)

โทร. ๐๒ – ๒๒๕ ๗๖๑๒ ถึง ๔ และ ๐๒ – ๒๒๔๐๑๒๐ ในวัน และเวลาราชการ

หรือที่อีเมล์ toursociety@gmail.com หรือ

nayolanda@hotmail.com

*** กรุณารายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนโทรถามนะคะ ***

ดำเนินการ โดย เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม

หมายเหตุ : ขอขอบคุณภาพถ่ายจากอินเตอร์เน็ตในการประกอบเนื้อหา...




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2555 6:21:53 น.
Counter : 2442 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.