ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ เผยแพร่เอกสารโบราณของไทย ผ่านทางอินเตอร์เน็ตแล้ว



หลักการเผยแพร่ผ่านออนไลน์ คือความง่าย สะดวก กระจายข้อมูลอย่างทั่วถึงไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก

พอดีวันนี้ไปเห็นเพจ การศึกษาปริทัศน์ ซึ่งน่าสนใจครับหวังว่าผู้เกี่ยวข้องบ้านเรา คงไม่รอช้านะครับที่จะพยายามปรับตัวและพัฒนาให้ทันเรื่องการเผยแพร่ในรูปดิจิตอลครับ

เข้าสู่บทความสั้นๆ

เครดิต การศึกษาปริทัศน์ Education Review


หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ เผยแพร่เอกสารโบราณของไทย (ซึ่งอยู่ในประเทศอังกฤษ)

ในรูปแบบดิจิตอล ผ่านทางอินเทอร์เน็ตแล้ว

ผู้สนใจอยากศึกษาสามารถเข้าไปศึกษาและดาวน์โหลดได้

โดยทางหอสมุดเปิดเป็น Public Domain หรือ "งานอันปราศจากลิขสิทธิ์"

ข้อมูลมากมายตามลิ้งก์ครับ

//www.bl.uk/manuscripts/FullDisplay.aspx?index=15&ref=Or_13650


ลองชมภาพตัวอย่างเป็นปฎิทินไทยโบราณ (ปฏิทินสยาม) กันครับ มีครบทั้ง 12 นักษัตร์ ตั้งแต่ปีชวดจนถึง ปีกุน

19th century, Ahoroscope with coloured drawings showing the twelve years of the animal cyclecalendar





























 

Create Date : 02 มกราคม 2559    
Last Update : 2 มกราคม 2559 7:19:31 น.
Counter : 1612 Pageviews.  

10 เมือง ที่พัฒนาสร้างเมืองเขียว (ที่สุด) ในโลก..เอเซียมีสิงคโปร์ติดอันดับประเทศเดียว



10เมือง ที่พัฒนาสร้างเมืองเขียว (ที่สุด)ในโลก..เอเซียมีสิงคโปร์ติดอันดับประเทศเดียว

อ้างอิงบทความ ecowatch.com

//ecowatch.com/2014/10/24/top-ten-greenest-cities-world/


1.โคเปนเฮเก้น ได้ชื่อว่าเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกเมืองหนึ่งมีการวางแผน วางผัง ออกแบบเมืองอย่างดีเยี่ยม สำหรับประชาชนอย่างแท้จริงมีบริษัทร่วม 500 บริษัท ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานสะอาดเทคโนโลยี่ให้เมืองสะอาด

มีสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกของเมือง โดยออกแบบเมืองให้ความสำคัญกับคนเดินและคนใช้จักรยาน มากกว่าคนขับรถยนต์ 


ที่มาภาพ //www.eea.europa.eu/highlights/copenhagen-beats-bristol-and-frankfurt


2.อัมสเตอร์ดัมส์ นับเป็นสิบๆปีแล้ว ที่ทุกๆคนในเมืองปั่นจักรยานกันจนเป็นกิจวัตรเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนจักรยานอย่างแท้จริง เป็นเมืองจักรยาน) โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ออกแบบเมืองมา Support ผู้ปั่นจักรยาน

ในเมืองนี้ จักรยาน มีจำนวนมากกว่าคนปั่นอีก


ที่มาภาพ //ecowatch.com/2014/10/24/top-ten-greenest-cities-world/


3.สต๊อคโฮมส์ เป็นเมืองแรกในอียู ที่ได้รางวัล “European Green Capital Award” ซึ่งมีการวางแผน วางผัง ออกแบบเมืองตั้งทศวรรษที่ ‘70s, ผู้บริหารเมือง และภาคประชาสังคม ตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นหนึ่งในเมืองที่ใช้พลังงานที่สะอาดที่สุดในโลกในปี 2050


ที่มาภาพ https://ummulqurasaudi.wordpress.com/2011/04/page/2/


4.แวนคูเวอร์ เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นและค่าครองชีพสูง ออกแบบเมืองให้เมืองน่าอยู่ เป็นเมืองที่ปลอดมลพิษและเป็นหนึ่งในเมืองที่สะอาดที่สุดในโลกเช่นกัน


ที่มาภาพ //www.youth-time.eu/articles/green-cities-of-the-world-where-how-and-why


5.ลอนดอน ถึงเป็นเมืองที่สลัวๆ มีหมอกแต่ผู้บริหารเมือง ก็มีความกระตือรือร้นในการสร้างเมืองเขียวลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก เพิ่มพื้นที่สีเขียว


ที่มาภาพ https://www.london.gov.uk/what-we-do/environment/environment-publications/green-infrastructure-task-force-report


6.เบอร์ลิน มีมาตรการควบคุมการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์


ที่มาภาพ //www.siemens.com/


7.นิวยอร์ค ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขยายระบบขนส่งมวลชน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างอาคารเขียว Green Building


ที่มาภาพ //www.newyorker.com/science/maria-konnikova/how-green-could-new-york-be


8.สิงคโปร์ เริ่มวางแผน วางผัง ออกแบบเมืองให้เป็นเมืองเขียวตั้งแต่ปี 1992 โดยจัดการแก้ปัญหา เรื่องการทำน้ำให้สะอาดอากาศบริสุทธิ์ เมืองสะอาด


ที่มาภาพ //ecowatch.com/2014/10/24/top-ten-greenest-cities-world/


9.เฮลซิงกิ เหมือนกับหลายๆ เมืองในสแกนดิเนเวียที่ส่งเสริมเรื่องการใช้จักรยาน และระบบขนส่งมวลชน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็น“หัวหอก” เมืองนี้มองการณ์ไกล สร้างเมืองที่น่าอยู่เกี่ยวกับการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับมนุษย์ไม่ใช่มองมิติทางด้านธุรกิจอย่างเดียวมานานแล้ว ตั้งแต่เมื่อ 60 ปีที่แล้ว และแผนงาน การวางผังออกแบบเมืองกับอย่างเข้มข้นอีกครั้งในช่วงตั้งแต่ปี 1992


ที่มาภาพ https://www.flickr.com/photos/henriblock/8870668283


10.ออสโล รัฐบาลท้องถิ่นเมืองนี้ก็เช่นเดียวกัน มีกลยุทธ์ ที่จะพัฒนา และสร้างเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนและมีแผนงานที่เข้มข้นในการปกป้องสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ มีการวางแนวปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่า จากการพัฒนาเมืองที่อาจจะรุกล้ำเข้าไปมากจนเกินเหตุ


ที่มาภาพ วิกิพีเดีย 




 

Create Date : 28 ธันวาคม 2558    
Last Update : 28 ธันวาคม 2558 6:25:44 น.
Counter : 1873 Pageviews.  

12 ธ.ค. ชวนเที่ยวทริป บางระมาด ย่านเก่าแก่ริมคลองฝั่งธนบุรี ยังคงวิถีไทยดั้งเดิม



เครดิตภาพ Nubthong Atiruj Watcharayukholdhorn , ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์ ,Rapee Tor

(ทีมงาน ขอขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้ครับ)

ร่วมเดินเท้าชมวิถีชุมชน เที่ยววัดโบราณ ทานอาหารอร่อย บอกกับชาวบางระมาดว่าคุณหลงรักอะไรบ้างที่เขามี เขาเป็น เพื่อร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมในท้องถิ่นวันเสาร์ที่ 12 ธ.ค. 58 นี้ เวลา 08.30 - 17.30 น.

-----------------------------------------------

กำหนดการกิจกรรมท่องเที่ยววิถีถิ่น

ตอน “ บอกรัก.. บางระมาด ” ครั้งที่2

เที่ยวย่านเก่าแก่ริมคลองฝั่งธนบุรีที่ยังคงไว้ซึ่งวิถีไทยดั้งเดิมที่งดงาม วัดที่เงียบสงบ

วันเสาร์ที่ 12ธันวาคม 2558

ณ วัดโบราณ 7แห่ง และชุมชนเกาะศาลเจ้าพื้นที่วัฒนธรรมที่เปี่ยมมนต์ขลัง

08.30 น. พร้อมกันที่ วัดตลิ่งชัน ถนนชักพระ(ข้างสำนักงานเขตตลิ่งชัน) / ลงทะเบียน ,รับเอกสาร ,

รับประทานอาหารเช้าที่ตลาดน้ำ “วัดตลิ่งชัน” ริมคลองชักพระ

09.30 น. สักการะพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะอยุธยาตอนกลางที่ วัดตลิ่งชัน

10.00 – 12.00 น. เดินเท้าไปตามเส้นทางเก่าแก่ ผ่านสำนักงานเขตตลิ่งชัน ลอดสะพานข้ามทางรถไฟ แวะ วัดช่างเหล็กวัดโบราณปากคลองบางระมาดที่ปฏิสังขรณ์โดยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ

/ วัดอังกุรา(ร้าง) สักการะหลวงพ่อดำอันศักดิ์สิทธิ์/ วัดมณฑป ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท

12.00 น. บริการไก่ย่างบางตาล สูตรผู้ใหญ่วรพร้อมข้าวเหนียวห่อใบตอง ที่ศาลาริมคลอง

13.00 - 15.00 น. เดินเท้าสู่ วัดสมรโกฐิทรวงทรงคล้ายโบสถ์มหาอุตต์เดิม / วัดทอง ที่ร่มรื่นให้อาหารปลาหน้าวัด /

วัดกระจัง สักการะหลวงพ่อพระร่วง /วัดจำปา สักการะหลวงพ่อโชคดี ท่ามกลางบรรยากาศที่ร่มรื่น งดงาม

15.00 – 17.00 น.เยี่ยมชมเกาะศาลเจ้าชุมชนโบราณนับร้อยปี แวะ “บ้านหว่างจันทร์” เรือนไทยที่บอกเล่าการดำรงอยู่ของคนไทยในอดีต บ้านแป้งพวง/ เครื่องหอมบ้านโฮมเสตย์ บ้านจักสาน อุดหนุนขนม หมี่กรอบ ผลไม้ สบู่สมุนไพรท่ามกลางแมกไม้ร่มรื่น

17.00 – 17.30 น. เดินทางด้วย "เรือหางยาว"กลับสู่วัดตลิ่งชัน

*** กำหนดการและสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ***

---------------------------------------------------------

ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม รับจำนวนจำกัด 50 ท่าน ให้ลงชื่อ จำนวนที่ท้ายกระทู้นี้

https://www.facebook.com/thaitourismsociety/photos/a.246018572130351.55713.245979795467562/938502992881902/?type=3&theater

(หมายเลขโทรศัพท์ แจ้งในกล่องข้อความได้)กรุณาลงลำดับที่ต่อจากผู้ที่สมัครก่อนหน้าท่านด้วยครับ

โดยมีค่าลงทะเบียนสนับสนุนกิจกรรม ท่านละ 200 บาท ( รวมค่าอาหารกลางวันเลิศรส ไก่ย่างบางตาล / ข้าวเหนียว / น้ำดื่ม /ค่าเรือโดยสารจาก วัดจำปา กลับสู่วัดตลิ่งชัน / และช่วยสนับสนุนค่าวิทยากรบำรุงสถานที่ )

วิธีการชำระค่าลงทะเบียน โอนเงินไปยังคุณอนุชา เกื้อจรูญ ธนาคารกรุงเทพสาขาบางกอกน้อย เลขที่ 119-0-94925-3(ภายในวันที่ศุกร์ที่ 11ธันวาคม 2558)

เมื่อโอนเงินแล้วโปรดแจ้งการโอนเงินทางข้อความในเฟสบุก (ชื่อจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมและหมายเลขโทรศัพท์) และโปรดนำใบโอนเงินมาแสดงในวันจริง

+++ ในกรณีที่ท่านไม่สามารถเข้าร่วมงานในวันจริงได้ทางผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าลงทะเบียนเพื่อนำไปใช้สนับสนุนการองค์กรด้านการท่องเที่ยวในชุมชนต่อไป+++

ดำเนินงานโดย เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม / ร่วมสนับสนุน โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว

สอบถามข้อมูลได้ที่คุณทวีศักดิ์ หว่างจันทร์ โทร 087 036 6322

( รับประกันคุณภาพโดยคุณต่อ และทีมงาน) 




 

Create Date : 10 ธันวาคม 2558    
Last Update : 10 ธันวาคม 2558 11:05:07 น.
Counter : 1057 Pageviews.  

เยอรมัน ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ขนส่งมวลชน Tram (ระบบรางบนผิวถนน) ให้บริการใน 51 เมือง





เยอรมันส่งเสริมให้ประชาชนใช้ขนส่งมวลชน Tram (ระบบรางบนผิวถนน) ให้บริการใน 51เมือง

ทั้งๆที่เยอรมัน เป็นประเทศร่ำรวย ผลิตรถยนต์ส่งออกขายไปทั่วโลกแต่น่าจะเกือบทุกเมืองในเยอรมันรัฐบาลกลับส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นใช้ระบบขนส่งมวลชน ระบบราง คือ Tram (บางเมือง Upgrade เป็นLight Rail ในเวลาต่อมา)

ด้วยการออกแบบเมืองวางผังเมือง สร้างเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน และแก้ปัญหาเมือง แก้ปัญหาจราจรโดยลดความจำเป็นในการพึ่งพารถยนต์ หันมาใช้ขนส่งมวลชนกัน กลายเป็นเมืองสะอาดอากาศบริสุทธิ์ เพราะ รถไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้า พลังงานสะอาด ในการขับเคลื่อนการลงทุนก็ไม่สูง ในระยะยาวคุ้มค่าแน่นอน

ส่วนข่าวเรื่องTram ในประเทศไทย สื่อไทยตามเรื่องนี้น้อยมากครับก็น่าแปลกใจครับ เรื่องสร้างบ้านแปงเมือง เรื่องวิสัยทัศน์ การวางผัง ออกแบบเมืองสื่อไทย ไม่มีความรู้ ไม่ค่อยติดตามกันครับ

ในต่างประเทศเคยได้ยินข่าวระดับผู้นำทุกคน จะมีที่ปรึกษาวงในใกล้ชิดเป็นนักผังเมืองทั้งนั้นครับ การตัดสินเรื่องการออกแบบเมืองเค้าจึงมีประสิทธิภาพ

……………………………………………………

บทความอ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Trams_in_Germany




 

Create Date : 09 ธันวาคม 2558    
Last Update : 9 ธันวาคม 2558 6:08:10 น.
Counter : 1003 Pageviews.  

(ไต้หวัน)ชมคลิปบรรยากาศบนรถรางเบา(Tram/Light Rail)ที่เพิ่งเปิดให้บริการ ทั้งมุมสูง และภายในขบวน


(ไต้หวัน)ชมคลิปบรรยากาศบนรถรางเบา(Tram/Light Rail)ที่เพิ่งเปิดให้บริการทั้งมุมสูง และภายในขบวน

เครดิต บทความสั้นๆ จาก คุณ ฉัตรนุชัย สมบัติศรี ขอขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้ครับ


ขอเชิญชมบรรยากาศบนรถรางไฟฟ้าสายแรกของไต้หวันที่เพิ่งเปิดเดินรถเมื่อเร็วๆนี้ซึ่งไต้หวันนั้นมีสภาพอากาศ กายภาพเมืองคล้ายเมืองไทย รถวิ่งชิดซ้ายใช้มอเตอร์ไซค์กันมาก ว่าเขาพัฒนาเมืองทำรถรางไฟฟ้าได้อย่างไร วางระบบออกแบบระบบอย่างไร เช่น จุดตัดกับถนน การวางแนวเส้นทางกับถนนแนวรางปลูกหญ้าเขียวขจี รูปแบบสถานีที่เรียบง่ายไม่แพง ทางลาด การเข้าถึงของผู้โดยสารทางจักรยาน ระบบจำหน่ายตั๋ว สภาพแวดล้อม ต้นไม้ ฯลฯเห็นแล้วอิจฉาคุณภาพชีวิตของคนไต้หวันครับ ในเมืองไทยคงอีกไม่นานจะมีแบบนี้บ้าง

ตัวรถรางไฟฟ้าของไต้หวันเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดของสเปนระบบการจ่ายไฟให้กับตัวรถจะมีเฉพาะที่สถานีสำหรับชาร์ตไฟและเก็บประจุในแบตเตอรี่ที่เรียกว่า ACR(Rapid ChargeAccumulator) ในระหว่างเส้นทางจะไม่มีสายไฟจ่ายให้กับตัวรถ ทำให้ทัศนียภาพเมืองดีขึ้นมาก

รายละเอียดดูในนี้ครับ

//www.caf.es/en/ecocaf/nuevas-soluciones/tranvia-acr.php









 

Create Date : 04 ธันวาคม 2558    
Last Update : 4 ธันวาคม 2558 21:28:31 น.
Counter : 1615 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.