ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ดูตัวอย่างการสร้างสภาพแวดล้อมให้คนเกิดจินตนาการ จนกลายมาเป็นเมืองสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่าเพิ่มให้ชุมชน

เมืองสร้างสรรค์ในบทความตามด้านล่างนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน ถ้าขาดการประสานงานของผู้เกี่ยวข้อง คือ ตัวชุมชน (ประชาชนในชุมชน) , หน่วยงาน องค์กรภาครัฐ หรือเอกชน และศิลปิน ผู้รังสรรค์เมือง เพื่อให้เมือง หรือท้องถิ่นนั้นๆ กลายเป็นท้องถิ่นที่มีชีวิตชีวา ดึงดูด ผู้มาเยือน ดึงดูดนักท่องเที่ยว




สภาพแวดล้อมชวนให้เกิดจินตนาการ ในบ้านเรายังถือว่ามีน้อยมากครับ


โพสต์สั้นๆ อ. Nikhom Boonyanusith มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

"การจะเป็นเมืองสร้างสรรค์ ลำดับแรกคือต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้คนเกิดจินตนาการ"

ซึ่งเป็นโพสต์อยู่ในกลุ่ม ”โคราชเมืองสร้างสรรค์” ตามลิ้งก์ https://www.facebook.com/groups/320849171345001/

ทำให้ผมเกิดไอเดีย ในการรวบรวมภาพ และคำอธิบายในบล็อกเดิมๆ ที่เคยเขียนไปครับ เพราะน่าจะตรงกับคอนเซ็ปดังกล่าว เพื่อนำเสนอ และเผยแพร่ เผื่อว่าจะมีท่านใด องค์กรใด ชุมชนไหน หรือศิลปินกลุ่มไหน เห็นด้วย เพื่อสร้างสรรค์ร้อยเรื่องราว สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนนั้นๆ ครับ

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ ถ้าชุมชนไหน อยากจะสร้างมูลค่าเพิ่มสถานที่กัน (ตามเนื้อหาที่เกี่ยวกับภาพวาด StreetArt ด้านล่าง) ก็คงต้องเริ่มประสานงานกันหลายฝ่าย ทั้ง ศิลปิน ผู้รังสรรค์งาน หน่วยงานองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อระดมความคิด สร้างสรรค์ให้เหมาะสมครับ แต่อย่างแรกเลยครับ ต้องสร้างให้เกิดความรู้สึกมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) และมีความรู้สึก สนุกสนาน (ในหลายแห่งเค้าก็ทำกันแบบนี้) อย่างไรก็แล้วแต่ครับ ก็คงต้องแล้วแต่ศิลปินท่านนั้นๆ ว่ามีกระบวนการคิดสร้างสรรค์อย่างไร???


ในบทความนี้ จะมีภาพแนว StreetArt และ ไอเดียต่างๆ ในการนำเอาวัสดุ หรือสถานที่ มาสร้างสภาแวดล้อมให้ชวนจินตนาการ

ขอขอบคุณ อ. Nikhom Boonyanusith มา ณ ที่นี้ครับ สำหรับข้อความที่จุดประกายความคิดในการนำเสนอในครั้งนี้ของผมครับ

เรามาดูภาพต่างๆ พร้อมคำอธิบายของผมกันหน่อยครับ เป็นความเห็นส่วนบุคคลน่ะครับ ส่วนท่านใด มีความเห็นเช่นไร ก็สามารถแสดงความคิดเห็นกันได้ครับ


(หมายเหตุ :: street art คือ ศิลปะที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆด้วยสื่อประเภทต่างๆ และสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมทุกชนชั้น และพบเห็นได้ตามสถานที่ทั่วไปตามถนน

คนส่วนใหญ่ที่ชอบเพราะมีการเล่นกับ Location หรือสถานที่ ของแต่ละที่นะครับ เพราะว่ามันดูเป็นอะไรที่เฉพาะสถานที่จริงๆ)

Street Art นั้นแบ่งได้เป็น 2 อย่างหลักๆ คือ ภาพวาด กับ ภาพถ่าย





สำหรับ ชุมชน ทุกชุมชน ครับ ที่คิด"ออกนอกกรอบ" ไม่ยึดติดครับ

ในหลายเมือง หลายประเทศ เค้าสร้างกลุ่มนักท่องเที่ยวได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเชียวครับ...

บนบล็อก
//www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2013/01/26/entry-1

“ไอเดีย” ล้วนๆ (ไม่ยาก) สร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานที่ ได้อย่างมหาศาล ท่านใดสนใจลองพิจารณากันดู

วันนี้นำตัวอย่างภาพวาดภาพเดียว บนกำแพง แต่สร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานที่อย่างมากมาย ลองชมกันเองครับ ว่ามันจะเป็นอย่างไร

ภาพวาด ภาพเดียว แต่ สร้างความสุขให้นีกท่องเที่ยวอย่างมากมาย





ไอเดียดีๆ แบบนี้ในบ้านเราเกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน ถ้าขาดความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ ตัวชุมชนเอง คนในท้องถิ่น ซึ่งจำเป็นต้องติดต่อกับศิลปิน ทางด้านวาดภาพบนกำแพง และ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ถ้าทุกฝ่ายดังกล่าว ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่เห็นด้วย ในบ้านเรา ทุกอย่างดูเหมือนจะทำไม่ได้เชียวครับ ...เรื่องง่ายๆ แบบนี้ ยังรู้สึก "ทำยาก" ยุ่งยากจริงๆ ...ไอเดียดังกล่าว จึงกลายเป็น "ลม" ไร้ประโยชน์ครับ

บนบล็อก
//www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2013/03/29/entry-2

Street Art เพิ่มคุณค่าให้เมือง ดูภาพตามตัวอย่างครับ

หลายๆเมือง หลายๆจังหวัด น่าจะส่งเสริมกันน่ะครับ อาจจะเปิดรับอาสาศิลปิน สเก็ตงานมาให้ดูก่อน ค่อยอนุมัติให้ทำจะดีที่สุด ทำฟรี หรือมีค่ารถเมล์ ค่่าข้าว ค่าน้ำ นิดเดียว น่าจะทำให้หลายๆมุมใน เมืองต่างๆ สวยงามขึ้น เด็กๆจะได้มีความคิดสร้างสรรค์ เกิดความคิดในทางสร้างสรรค์ มองเห็นแต่สิ่งสวยงามมากขึ้น

เครดิต คุณ Chuck Rascal Bruno

อ้างอิงลิ้งก์

//irum-faisal.blogspot.com/2012/03/mzing-strt-art.html




สร้างสภาพแวดล้อมให้คนเกิดจินตนาการ
สร้างสภาพแวดล้อม ชวนปั่น ...


ร้านนี้ส่งเสริมการปั่น แน่นอนครับ...
ดีไซน์เรียบง่าย แต่เก๋ไก๋ เพิ่มมูลค่าให้ร้าน ชวนมอง
ส่งเสริมการปั่น ส่งเสริมรักษ์โลก
ร้านค้าไหน มีไอเดียดีๆ ตกแต่งร้านชวนมองกันแล้ว อย่าลืมส่งภาพมาให้ชมด้วยน่ะครับ





สร้างสภาพแวดล้อมให้คนเกิดจินตนาการ

With neon, in a fountain, Berlin.
"จ่ายแพงกว่าทำไม" เท่ห์กว่าใคร อีกต่างหาก
จักรยานเก่า ใส่ไฟนีออน มีสีสรรค์ วางไว้กลางน้ำ กลายเป็น น้ำพุที่มีสีสรรค์...
บนบล็อก
//www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2013/01/25/entry-2




สร้างสภาพแวดล้อมให้คนเกิดจินตนาการ

บนบล็อก //www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin&date=12-06-2012&group=4&gblog=16

งานศิลป์ ที่งดงาม "สร้างมูลค่าเพิ่ม" ให้ "ชุมชน" บ้านเมือง “ชวนมอง” ใครๆ ก็อยากมาเที่ยว มาถ่ายรูป….

งานฝีมือแบบนี้ คนไทย ก็ทำกันได้อยู่แล้ว...ถ้าศิลปินท่านใดทำเพื่อประเทศไทย แบบเน้นๆ ศิลปะไทย แล้วโชว์กันแบบเด่นๆ ใครๆ ก็มองเห็นในระยะไกลได้โดยง่ายน่าจะได้รับการยกย่องอย่างสูงสุดครับ...แต่การสร้างมูลค่าเพิ่มในแนวทางนี้ผมยังไม่ค่อยเห็นแบบเจ่งๆ โชว์ออฟกันเลย เลยไม่แน่ใจว่า ตัวอย่างดีๆ แบบนี้ศิลปินไทย รวมทั้งนายทุน ผู้รับผิดชอบ จะสนใจกันเหมือนต่างประเทศหรือเปล่า ?....

Copy// Smart Growth Thailand

งานศิลปะบนแผ่นผนังอาคารได้รับความนิยมมากขึ้นครับซึ่งนอกจากจะช่วยลดมลทัศน์จากแผ่นดาษแข็งของผนังอาคารและการลดสะท้อนความร้อนหรือลดการสะท้อนแสงรบกวนกิจกรรมของชุมชนแล้วงานศิลปะที่งดงามยังได้ช่วยเพิ่มพื้นที่สุนทรีย์ให้กับชุมชนอีกด้วย ชมบางภาพจาก UrbanDrift ครับ





ไอเดียดี "มีมูลค่าเพิ่ม" ให้กับท้องถิ่น และชุมชน

ภาพตัวอย่าง "ชุมชน" สร้างสภาพแวดล้อมให้คนเกิดจินตนาการ
ไอเดียดีๆ สร้างมูลค่าเพิ่มได้เสมอ...

บอลลีวู๊ด วงการภาพยนต์ในอินเดีย ครบรอบ 100 ปี ...สร้างสรรค์ไอเดีย วาดภาพดาราชื่่อดัง ตามกำแพง (ที่เหมาะสม ดูแล้วเป็นจุดสนใจ) ในเมืองบอมเบย์ สร้างมูลค่าเพิ่มทั้งทางด้านเนื้อหา ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยว...





สร้างสภาพแวดล้อมให้คนเกิดจินตนาการ

บนบล็อก //www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2013/03/29/entry-1

เกสท์เฮ้าส์รูปสุนัข ประเทศสหรัฐอเมริกา

โลกนี้คงไม่มีสุนัขพันธุ์บีเกิลตัวไหน ตัวใหญ่เท่าเกสท์เฮ้าส์รูปสุนัขบีเกิลขนาดสูง 30 ฟุต ยาว 34 ฟุต และลึก 14 ฟุต หลังนี้อีกแล้ว โดยแขกสามารถพักในตัวของเจ้าบีเกิลด้วยการเดินขึ้นทางบันได ไปพบกับห้องพักที่ตกแต่งด้วยของแต่งห้องเกี่ยวกับสุนัขมากมาย แบบนี้แล้วคนรักสุนัขตัวจริงไม่ควรพลาดเด็ดขาด

ชมวีดีโอตัวอย่างๆ หนึ่งครับ ว่าการสร้างสรรค์ ไม่ได้ยากอะไรเลย





หวังใจเป็นอย่างยิ่งครับ ว่าจะมีผู้เข้าใจ และเป็นผู้มีความกระตือรือร้น พัฒนาท้องถิ่น ยกระดับชุมชน เข้ามาประสานงาน “ทำสิ่งใหม่ๆ” ให้เป็นจริง ครับ เพราะแนวความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ลงทุนไม่มากอะไรเลย ซึ่งถ้าใช้ไอเดียซักหน่อย “ต่อยอด” ท้องถิ่นกันได้สบายๆ เลย

..............................................................................






ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebook ตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลัง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ

//www.facebook.com/tourrattanakosin





 

Create Date : 19 เมษายน 2556    
Last Update : 19 เมษายน 2556 22:32:24 น.
Counter : 1630 Pageviews.  

เชิญร่วมงานสงกรานต์แบบรามัญ ลาดกระบัง วันที่ 20-21เม.ย.56ที่ชุมชนเลียบคลองมอญ และวัดสุทธาโภชน์



ขอเชิญร่วมงานสงกรานต์แบบรามัญ ลาดกระบัง วันที่ 20-21 เม.ย.56 ที่ชุมชนเลียบคลองมอญ และวัดสุทธาโภชน์ ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง


----กำหนดการ----

วันเสาร์ที่ 20 เม.ย. งานเริ่มเวลาประมาณ 18.00 น. มีการละเล่นของชาวมอญลาดกระบัง



วันอาทิตย์ที่ 21 เม.ย. มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เลี้ยงพระเพลที่ชุมชนเลียบคลองมอญ และขบวนแห่หงส์ ธงตะขาบจากชุมชนไปยังวัดสุทธาโภชน์ เวลาประมาณ 11.30 น.



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ว่าที่ ร.ต.รามัญ สาระพันธ์ โทร.081 452 1699, อ.ปราณีต อนงค์ โทร. 089 987 9872



ชมตัวอย่างภาพความสนุกสนานและสวยงาม ได้ตามลิ้งนี้เลยจร้าาาา

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.319290041469795.73004.100001664049056&type=3




นายประวิช ศรีวิลัย ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง ขอเชิญชวนประชาชนและผู้สนใจ ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ชมการละเล่นของชาวรามัญที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ ณ ชุมชนเลียบคลองมอญ ถนนเลียบคลองมอญ เขตลาดกระบัง




การละเล่นสะบ้ามอญ ลาดกระบัง ^^
ยิ้มแย้ม ชื่นมื่น





สาวมอญ ของแท้







Credit// Charoen Tanmahapran-
แห่หงส์-ธงตะขาบเป็นประเพณีที่ชาวรามัญถือปฏิบัติกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์ อันเป็นเทศกาลเปลี่ยนปีศักราชใหม่แต่โบราณ การถวายธงตะขาบนั้นกระนำกันที่เสาหงส์หน้าเจดีย์สถาน อันเป็นสัญลักษณ์ของชาวรามันแห่งหงสาวดี เสาหงส์ทำด้วยไม้กลมหรือเป็นหัวเสา ตัวเสาประดับลายพุ่มข้าวบิณฑ์ที่ปลายเสามีรูปหงส์ทรงเครื่องกางปีกขึ้นทั้งสองข้าง หล่อด้วยโลหะอยู่ปลายเสา ที่จะงอยปากหงส์แขวนกระดิ่ง ตรงบนสุดมีฉัตรสามชั้นปักอยู่ ในภาษามอญเรียกหงส์ว่า“เทียะเจมเจียะนู่” ส่วนตัวหงส์เรียกว่า“เจียะนู่” ด้วยเหตุนี้วัดของชาวรามัญเท่านั้นที่มีเสาหงส์เป็นสัญลักษณ์







ประชาชนรอสรงน้ำพระ บริเวณรางน้ำ เป็นรอบๆไป เพื่อความไม่แออัด ^^




สรงน้ำเสร็จ เดินออกมารับน้ำอบ น้ำหอมจากประชาชนด้านนอกต่อ....เฌรน้อยมาบวชภาคฤดูร้อนเยอะเป็นพิเศษ




รอชมการแสดงบนเวที
กิจกรรมยามค่ำ....ณ ชุมชนเลียบคลองมอญ




การละเล่น...ผีอีจู้... อยากรู้ว่าเป็นเช่นไร มาชมกันได้




สนใจข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม กด Like ที่เพจนี้ตามลิ้งก์เลยครับ
//www.facebook.com/thaitourismsociety





 

Create Date : 18 เมษายน 2556    
Last Update : 18 เมษายน 2556 10:21:25 น.
Counter : 2130 Pageviews.  

ขอเชิญร่วมงาน นิทรรศการ Vernadoc ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง (ศาลเจ้าโรงเกือก) ๑๙-๒๑ เม.ย. ๕๖

หมายเหตุ :: VERNADOC คือการเก็บข้อมูลเชิงสถาปัตยกรรมในรูปแบบของVernadoc เป็นคำย่อมาจาก Vernacular Documentation หมายถึง

กระบวนการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเน้นการเก็บข้อมูลจริงในพื้นที่ด้วยเทคนิคพื้นฐานอย่างการใช้มือดินสอ ปากกาเขียนแบบและไม้บรรทัดเท่านั้นแต่สามารถได้คุณภาพของผลงานในระดับที่ดีเยี่ยมอย่างการเขียนแบบอาคารและภูมิทัศน์ในท้องถิ่นต่างๆโดยละเอียดตรงกับความเป็นจริงในทุกองค์ประกอบอย่างเป็นมิติแสงเงาสัดส่วนต่างๆของอาคาร รวมถึงร่องรอยการทรุดโทรมเพื่อให้ได้ความถูกต้อง แม่นยำและสมจริง


ตัวอย่างผลงานที่จะแสดงในนิทรรศการVernadocศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง(ศาลเจ้าโรงเกือก) ณ ห้อง Sila-Sai Convention Hall ชั้น ๔ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖



ณ ห้อง Sila-Sai Convention Hall ชั้น๔ ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้

ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖

เครดิต ย่านจีนถิ่นบางกอก-Bangkok Chinatown

//www.facebook.com/bangkokchinatown

********

กำหนดการ

********

วันเสาร์ที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖:เวทีสรุปการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน Vernadoc

๑๒.๓ ๐-๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียน

๑๓.๐๐-๑๓.๑๕ น. : กล่าวรายงาน โดย อาจารย์ ศรินพร พุ่มมณีหัวหน้านักวิจัยโครงการย่านจีนถิ่นบางกอก

๑๓.๑๕-๑๓.๔๕ น. :อธิบายวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อสร้างความร่วมมือในการปรับปรุงศาลเจ้าโรงเกือก

๑๓.๔๕-๑๔.๐๐ น. : กล่าวเปิดงาน โดย คุณสุวัฒน์ รัตนปริคณน์ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคดุสิต

๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น.: เวทีแลกเปลี่ยนสรุปความรู้จากการทำ Vernadoc ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง(ศาลเจ้าโรงเกือก)

๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น. : สรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

๑๖.๓๐-๑๗.๐๐ น. : มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Vernadocและกล่าวขอบคุณโดยคุณ พจน์ กาญจนปลั่ง นายกสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ : วงเสวนาตลาดน้อยจากอดีต-ปัจจุบัน...สู่อนาคต

๑๐.๐๐-๑๐.๓๐ น. ลงทะเบียน

๑๐.๓๐-๑๒.๐๐ น. : เวทีบรรยาย เรื่องเล่าตลาดน้อย...จากอดีตสู่ปัจจุบันโดยอาจารย์ เจริญ ตันมหาพราน นักวิชาการท้องถิ่น

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. : รับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย

๑๓.๐๐-๑๓.๓๐ น. : ลงทะเบียน

๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. :วงเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นชาวชุมชนย่านตลาดน้อย หัวข้อ ตลาดน้อยกับการพัฒนา

๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น. : สรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น. : กล่าวปิดงาน โดย คุณนพดลอินท์ชยะนันท์ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์





 

Create Date : 15 เมษายน 2556    
Last Update : 15 เมษายน 2556 12:46:21 น.
Counter : 2666 Pageviews.  

งามอย่างไทย มีแน่นอน “สงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ครั้งที่ ๗๓ สืบสานวัฒนธรรม เอกลักษณ์ไทย พร้อมภาพเก็บตก



เทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ประจำปี ๒๕๕๖ คือ นางสาวฝนทิพย์ กลิ่นภักดี จากมหาวิทยาลัยรังสิต


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก คุณ Praneet Khiewvichit ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/media/set/?set=a.474316849305140.1073741833.100001804868294&type=1





นางงามผู้เข้าประกวดเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ประจำปี ๒๕๕๖ จำนวน ๒๗ คน


Copy//วันนี้ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๖ ไปร่วมกิจกรรมการจัดงานสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ปีที่ ๗๓ และได้มีการประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ ประจำปี ๒๕๕๖ มีสาวงามเข้าประกวด ๒๗ คน ทุกคนสวยมาก ผลการตัดสินของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ประจำปี ๒๕๕๖ คือ นางสาวฝนทิพย์ กลิ่นภักดี จากมหาวิทยาลัยรังสิต ส่วนรองฯ อันดับ ๑ นางสาวมัชฌิมาลา สุทธนะ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองอันดับ ๒ นางสาวอนุสรา ผลพันชิน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ชมภาพการประกวดอย่างใกล้ชิดกันเลยครับ




กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ




คัดครั้งที่ ๒ ก่อนขึ้นเวทีประกวด เหลือ ๑๑ คน กรรมการทำงานหนักมาก




คัดครั้งที่ ๓ เหลือ ๕ คนสุดท้าย




ตัดสินแล้ว..เทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ประจำปี ๒๕๕๖ เข้าประกวดหมายเลข ๑๗ ชื่อเล่น "ฝน" น.ส.ฝนทิพย์ กลิ่นภักดี อายุ ๒๐ ปี ส่วนสูง ๑๗๙ กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยรังสิต คณะวิทยุ ทีวี




ชัด ๆ อีกที เทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ปี ๒๕๕๖ น.ส.ฝนทิพย์ กลิ่นภักดี จากมหาวิทยาลัยรังสิต




รองฯ อันดับ ๑ เข้าประกวดหมายเลข ๒๘ ชื่อ น.ส.มัชฌิมาลา สุทธนะ อายุ ๒๓ ปี กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ คณะสื่อสารมวลชน




รองฯ อันดับ ๒ เข้าประกวดหมายเลข ๓๐ ชื่อเล่น "ดรีม" น.ส.อนุสรา ผลพันชิน อายุ ๒๐ ปี กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร




รองฯ อันดับ ๓




รองฯ อันดับ ๔




รองอันดับ ๑ เทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ซ้ายปี ๒๕๕๕ ขวา ปี ๒๕๕๖ สูงมากกกก ต้องย่อเข่าลงมิฉนั้นคุณยายจะอยู่แค่หัวไหล่หนู ๆ




ซ้าย เทพีสงกรานต์สมาคมซอนต้า ปี ๒๕๕๖ ถัดมาน้องเล็ก ประธานประชาคมวิสุทฺธิกษัตริย์ ถัดมาเป็นเพื่อนกับคนกลางจ้ะ




คนซ้ายเป็นเพื่อนกับผู้จัดงานจ้ะ..คนขวาคือเทพีฯ นะจ๊ะ




ผู้ชนะการประกวด ถ่ายภาพร่วมกับกรรมการและคณะจัดงานฯ



ภาพเก็บตก...จากเวทีประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ ประจำปี ๒๕๕๖

ถ่ายขณะผู้เข้าประกวดทานข้าวต้มตอนเช้า และแต่งตัวเตรียมเข้าประกวดบนเวที น่ารักดี

//www.facebook.com/media/set/?set=a.474316849305140.1073741833.100001804868294&type=1




















สนใจข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม กด Like ที่เพจนี้ตามลิ้งก์เลยครับ

//www.facebook.com/thaitourismsociety





 

Create Date : 14 เมษายน 2556    
Last Update : 14 เมษายน 2556 21:59:24 น.
Counter : 2858 Pageviews.  

ชื่นชมหน่วยงาน “กองการท่องเที่ยว กทม.” นำหน้า ฟื้นฟูท่องเที่ยวชุมชนย่านประวัติศาสตร์บางกอกน้อย



วันนี้ได้มาตามทริปสัญจรชุมชนหนึ่งในย่านประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์อีกย่านหนึ่งครับ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี คือ แถวบางกอกน้อย โดยผู้จัดทริป เป็นแม่งานอย่างแข็งขันคือ กองการท่องเที่ยว สังกัดกรุงเทพมหานคร ร่วมมือกับเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม ได้เชิญชวนบุคคลทั่วไปผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ Social Media ต่างๆ มาเรียนรู้กิจกรรมเรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์การจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น เค้าให้ชื่อทริปว่า "ยลเสน่ห์ตลาดร้อยปี ชมของดีบ้านบุ” ตามโครงการเสริมสร้างความรู้เพื่อพัฒนาบริหารกรท่องเที่ยวครั้งที่ 1 เมื่อเสาร์ที่ผ่านมาครับ (6 เมษายน 2556) ณ ตลาดวัดทอง ชุมชนบ้านบุ (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32) และชุมชมประวัติศาสตร์ริมคลองบางกอกน้อย”

นับเป็นเรื่องที่ดีครับ ที่มีหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญทางด้านการท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรมชุมชนในท้องถิ่น เพราะในความเป็นจริง เรื่องประเภทนี้ หน่วยงานรัฐ และภาครัฐที่มีองค์ความรู้ น่าจะเป็นตัวนำธง หรือที่ปรึกษาที่ดีกับชุมชนต่างๆ ซึ่งในยุคปัจจุบัน การเผยแพร่มันทำได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนที่ถูกมากอย่างไม่น่าเชื่อ (ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่กิจกรรมต่างๆ) ถ้าภาครัฐให้ความสนใจ แล้วชุมชนค่อยๆพัฒนาการเรียนรู้ มองหาจุดเด่นของชุมชนตัวเอง ในอนาคตชุมชนก็จะสามารถกลายเป็นชุมชนเข้มแข็ง พี่งพาตนเอง พัฒนาตนเองได้เช่นกัน เพราะในโลกนี้ ใครๆ ก็สามารถเผยแพร่สิ่งที่ตนเองมี มาอวดชาวโลกกันได้ทันที เช่น ที่บ้านบุ มีการทำขันลงหิน ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในโลก เป็นงานฝีมือที่เหลือคนทำเพียง 9 คนในโลกนี้เท่านั้น ซึ่งแต่ละท่านก็เป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว ในสมัยก่อนก็มีคนทำขันลงหินกันมาก แต่ต่อมาด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป หลายคนก็เลิกทำ และทิ้งรากเหง้า ไปประกอบอาชีพอื่นๆ จึงเป็นเรื่องน่าคิดสำหรับคนไทยทุกคนว่าเราจะอนุรักษ์ และสืบสานอาชีพนี้กันอย่างไรดี

เข้าเรื่องทริปสัญจรกันเลยดีกว่าครับ

ช่วงเช้าจุดนัดหมาย (รวมพลคนอยากเที่ยว) ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า ด้านฝั่งธนบุรี ทุกคนก็มาอย่างพร้อมเพรียงกันร่วม 100 ท่านครับ ทราบข่าวว่ามีทั้งผู้สนใจทั่วไปที่ทราบข่าวผ่านเครือข่ายตามลิ้งก์ //www.facebook.com/thaitourismsociety ประมาณ 60 ท่าน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ อีก 40 ท่าน หลายท่านน่าจะยังไม่เคยเดินทริปสัญจรชุมชนแบบนี้มาก่อน ถึงแม้ว่าจะอยู่ใกล้ๆ กลางเมืองกันแค่นี้เอง นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุครับ ที่ควรจะมีการส่งเสริมโปรโมตกันอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าชุมชนมีการส่งเสริมกันอย่างต่อเนื่อง (ในหลายชุมชน) คนที่เคยมาเดินทริปกัน ก็จะช่วยกันเผยแพร่กันเองครับ “ปากต่อปาก” กันเองครับ อย่างไรก็แล้วแต่ครับ หลายๆอย่างต้องยกความดีให้ผู้อยู่เบื้องหลังกันครับ ก็คือเจ้าหน้าที่กองการท่องเที่ยว กทม. หลายท่านที่ลงพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องนับปีๆ และช่วยพัฒนา แก้ไขปัญหา ฟื้นฟู ร่วมมือกับชุมชน จัด และเผยแพร่กิจกรรมมาอย่างยาวนาน จากไม่ค่อยมีคนทราบว่า ยังมีชุมชนแบบนี้ในเกาะรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งมีคนทราบเรื่องราวชุมชนต่างๆ ผ่านสื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นับว่าเป็น ผู้”ปิดทองหลังพระ” ตัวจริงครับ




วิทยากร คุณต่อ (เจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษกองการท่องเที่ยว) ให้ความรู้ในเบื้องต้น เกี่ยวกับสถานที่ที่เราจะเดินทริปกันครับ ใครมาเดินก็จะทราบเรื่องราวบ้านเมืองเราในอดีต และปัจจุบัน มันเป็นอย่างไร และมันมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง น่าสนใจจริงๆ ครับ....

วันนี้เดินทริปสั้นๆ แต่มีสถานที่น่าสนใจหลายที่เลยครับ วันนี้จะมีหลายสถานที่ ลองชมกันตามลำดับครับ




วัดภุมรินราชปักษี ....โบสถ์เก่าสมัยอยุธยา พระยืน ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของโบสถ์ สวยงามมากครับ




ศาลาเรือโบราณ เป็นซากเรือที่ยังขุดเนื้อไม้ เป็นเรือไม่เสร็จครับ ทำจากต้นไม้ (ต้นตะเคียน) ที่ยาวมากเลยครับ ขุดพบที่ย่านบางกอกน้อย แถวนี้เลยครับ นับได้ว่าต้องเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอย่างแน่นอน ไม่วาจะสมัยไหน ที่มีการใช้เรือ เป็นอีกยุทธวิธีหนึ่งในการรบ ในสมัยโบราณ




แวะชม มัสยิดหลวงอันซอริซซุนนะห์ ริมน้ำคลองบางกอกน้อย ซึ่งมีรูปทรงหลายส่วนเป็นแบบ Art-Deco เพื่อสร้างเมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว เพราะมัสยิดเดิม โดนระเบิดในคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อสัมพันธมิตรทิ้งระเบิด




คนในมัสยิด ให้การต้อนรับ




อาหารอร่อย มีชื่อเสียงของย่านนี้ครับ “อร่อยครับ”
ข้าวหมกไก่สามสี, ซาโมซา, ชาร้อน


หลังอาหาร ก็ได้เวลาเดินทริปกันต่อ ตอนนี้ต้องเข้าตามตรอกกันครับ ชุมชนริมน้ำส่วนใหญ่ก็จะเป็นตรอกแบบนี้ครับ เป็นชุมชนที่มีชีวิตชีวา มีผู้คนอาศัยครับ จุดหมายต่อไปก็คือ โรงรถจักรธนบุรี




อากาศร้อนไม่ใช่อุปสรรคครับ หลายท่านหลังจากรับประทานอาหารแล้ว ยังได้ของติดไม้ติดมือกันกลับครับ.....ดีมากเลยครับ ช่วยชุมชน ช่วยกระจายรายได้ให้ชุมชน คนละเล็กคนละน้อย ชุมชนอยู่ได้ ก็ไม่มีใครคิดทิ้งถิ่นฐานตัวเองไปครับ




เดินออกจากตรอก ก็ข้ามฟากอรุณอัมรินทร์ ระหว่างบนสะพานผู้ร่วมทริป ก็อดเก็บภาพกันไม่ได้ครับ ส่วนทางเดินข้างสะพาน เขตบางกอกน้อยก็ดูแลรักษาอย่างดีเลยครับ เดินแล้วไม่เหนื่อยครับ เพราะ “สบายตา”




ถ่ายภาพจากสะพานอรุณอัมรินทร์ จะเห็นเรือของกองทัพเรือจอดอยู่ครับ และอาคารศิริราช นอกจากนั้น ก็จะมีเรือท่องเที่ยวต่างชาติแล่นอยู่ในคลองบางกอกน้อยอย่างต่อเนื่อง เพราะทริปล่องเรือบางกอกน้อย ชาวต่างชาติจะชอบกันมากมายเลยครับ




วัดอรุณอัมรินทร์ ช่วงลงสะพาน เลยเก็บภาพมุมกว้างเสียหน่อยครับ วันนี้ไม่ได้เข้าไปข้างในครับ

เข้าเขตโรงรถจักรธนบุรี แล้วครับ ผู้ร่วมทริปก็เก็บภาพบรรยากาศกันครับ อะไรๆ ที่มันดูคลาสสิคย้อนยุคในปัจจุบัน ผมว่ามันขายได้หมดทั้งนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่าเราจะใส่ไอเดียอะไรลงไปให้มันแตกต่างกับชาวบ้านเค้าเท่านั้นครับ




ผู้ร่วมทริป กำลังโพสต์ท่าถ่ายรูป แบ็คกราวน์ยอดฮิต ป๊อปปุลา ครับ....

บางท่านบอกว่า (ในนวนิยาย) เรื่อง “คู่กรรม” ของ “ทมยันต” โกโบริ (พระเอกในเรื่อง) โดนระเบิดที่บริเวณนี้แหละครับ ความจริงเนื้อหาแบบนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นแค่นวนิยาย ไม่ใช่เรื่องจริงก็ตามครับ แต่ถ้านำมา “ต่อยอด” กับสถานที่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนวนิยายยอดฮิต อมตะนิรันดร์กาล คือเรื่อง “คู่กรรม” แล้ว น่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติกันได้อย่างดี (ความเห็นส่วนบุคคลน่ะครับ) ลองคิดกันดูครับ สำหรับท่านที่เกี่ยวข้อง ที่มี Power ที่พอจะสร้างสรรค์จินตนาการต่างๆ ให้เป็นความจริงได้

ชมภาพเปรียบเทียบมุมสูงในบริเวณนี้กันครับ นับว่าเป็นที่หนึ่งที่เป็นประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง



ภาพจาก สมุดภาพแห่งกรุงเทพมหานคร ๒๒๐ ปี
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณโดนทิ้งระเบิด ได้รับความเสียหายอย่างมากมาย ทั้งทรัพย์สิน และชีวิตคนไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้



ลองเดินชมบริเวณด้านนอกรอบๆ โรงรถจักร จะเห็นโบกี้เก่า (ไม่ทราบว่าจะเรียกซากโบกี้ ได้หรือเปล่า) มีอยู่พอสมควรครับ แต่โบกี้เก่าๆ ที่น่าจะทำอะไรไม่ได้แล้ว แบบนี้ ถ้าเทียบกับ บางสถานี โบกี้เก่าๆอย่างนี้ยังนับว่าน้อยอยู่ครับ (จำได้เพิ่งนั่งรถไฟเมื่อไม่นานนี้ ผ่านจังหวัดสระบุรี ถ้าจำไม่ผิด ได้เห็นโบกี้เก่า ทิ้งไว้เฉยๆ ผมได้ถามเจ้าหน้าที่บนรถไฟเช่นกัน เค้าก็บอกว่าทิ้งไว้เฉยๆ)




โบกี้เก่าๆ วางไว้เฉยๆ น่าจะนำไปบริจาคให้ชุมชนเค้าตกแต่ง โดยมีผู้ออกแบบเมือง มาช่วยออกแบบ




โบกี้เก่าๆ วางไว้เฉยๆ น่าจะนำไปบริจาคให้ชุมชนเค้าตกแต่ง โดยมีผู้ออกแบบเมือง มาช่วยออกแบบ


ในความเห็นของผม (อาจจะผิดก็ได้ เพราะผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ) ผมว่าน่าจะเอาไปบริจาคให้องค์กรภาคประชาชน หรือชุมชนต่างๆ ได้เรียนรู้ ต่อยอด หรือเอาไปดีไซน์ตกแต่งสถานที่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน หรือถ้าในกรณี ทาง รฟท. อยากได้เงิน ก็นำไปประมูลขายเป็นของเก่ามีเนื้อหา มีประวัติศาสตร์

แต่ผมว่านำไปบริจาคจะได้บุญกุศล ได้ภาพลักษณ์มากกว่าอย่างไม่รู้จบครับ เท่ากับช่วยองค์กร รฟท. ทำ CSR ไปในตัวครับ....




ผู้ร่วมทริปทุกท่าน เดินเข้าไปชมด้านในของโรงรถจักรธนบุรี ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว




ภาพจากอินเตอร์เน็ต ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ
รถไฟรุ่นนี้เป็นรุ่นสงครามโลก สงครามมหาเอเชียบูรพา Made in Japan เจ้าหน้าที่วิทยากรบอกว่ายังใช้งานได้ แต่เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้จะใช้ฟืน หรือไม้ขนาดใหญ่ ที่ในอดีตก็ใช้ขอนรางรถไฟ มาเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งไม่เหมาะกับยุคปัจจุบันแล้ว ที่เค้าใช้น้ำมันเตา กันเป็นหลัก
เจ้าหน้าที่รถไฟยังบอกว่า รถไฟรุ่นนี้ในหลายประเทศก็ยังมีอยู่ แต่ส่วนใหญ่เค้าเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์กันเกือบหมดแล้ว จึงมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมายชอบมาที่นี่กันครับ




ผู้ร่วมทริป เก็บภาพเก็บบรรยากาศกันอย่างคึกคักครับ




วิทยากร เจ้าหน้าที่การรถไฟ และผู้นำชุมชนย่านบ้านบุ ร่วมกันให้ความรู้เรื่องรถไฟ และบรรยากาศภาพในอดีตในย่านนี้ โดยเฉพาะคุณลุงวีระ รุ่งแสง ที่บรรยายภาพในช่วงวันที่เครื่องบินมาทิ้งระเบิดในย่านนี้ ซึ่งมันเป็นเรื่องจริงที่น่าสลดมากเลยครับ

ก่อนออกจากโรงรถจักร ก็ชักภาพหมู่ร่วมกันครับ




ถ่ายภาพหมู่ ทริปบ้านบุ, ชุมชนวัดทอง บางกอกน้อย @โรงรถจักรธนบุรี

เดินเท้ากันต่อครับ มาที่บ้านบุ ที่เค้าทำขันลงหินกันครับ แต่ก่อนจะไปโรงงานที่เค้าผลิต ทางวิทยากร ก็พาไปชมขันลงหินของคุณลุงวีระ กันก่อนครับ เพราะคุณลุง เป็นหนึ่งในคนเก่าแก่ที่สะสมขันโบราณ มากที่สุดคนหนึ่งครับ





และแล้วเราก็มาถึงโรงงานผลิตขันลงหิน คุณเจียม แสงสัจจา โรงงานี้ใช้แรงงานฝีมือล้วนๆ เหลือกันแค่ 9 คนเท่านั้นแล้วครับ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องน่าตกใจจริงๆครับ สำหรับอนาคตการอนุรักษ์ รักษางานฝีมือประเภทนี้เอาไว้ เพราะคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ ก็จะแสวงความสบายกันเป็นหลัก แต่ความจริงงานฝีมือมันได้ราคามากกว่าครับ ยิ่งช่วงนี้ ขันลงหินน่าจะเป็นของฝากของพรีเมี่ยมในระดับชาติกันก็ว่าได้ครับ (ปัจจุบันยังเป็นราคาที่ซื้อหานำไปโชว์ นำไปเป็นของฝากผู้หลักผู้ใหญ่กันได้ครับ) ถ้าช่วยกันอุดหนุน ลมหายใจภูมิปัญญาไทยก็จะยืดยาว เพียงแต่ผู้สืบทอดภูมิปัญญาไทยนี่แหละครับ ที่เป็นปัญหาที่ชวนขบคิดกันน่ะครับ




ถ่ายรูปป้ายประชาสัมพันธ์ซะหน่อยครับ (ขันลงหิน)




เดินมาเหนื่อยๆ ร้อนๆ ดื่มน้ำอุทัยเย็นในพาน และถ้วยขันลงหิน แล้วเย็นชื่นใจ ได้บรรยากาศย้อนยุค เลิศหรูอลังการจริงๆ เลยครับ

มาดูการทำพื้นฐานคร่าวๆกันครับ ก่อนจะมาเป็นขันลงหิน รูปทรงต่างๆ เป็นของพรีเมี่ยม ภูมิปัญญาระดับชาติแบบนี้ มันไม่ง่ายกันเลยจริงๆครับ




ต้องอยู่หน้าเตา ทั้งเผา ทั้งตีให้ได้รูปทรงคร่าวๆ




ต้องอยู่หน้าเตา ทั้งเผา ทั้งตีให้ได้รูปทรงคร่าวๆ




เหลือคนทำขันลงหินอยู่ 9 คนเองครับ ประเทศไทย




เหลือคนทำขันลงหินอยู่ 9 คนเองครับ ประเทศไทย




ผลิตภัณฑ์ขันลงหิน มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ทำด้วยดีบุกและทองแดง นำมาหลอมแล้วตีเข้ารูป (ตามภพด้านบน) จนเป็นขันลงหิน เป็นสินค้พรีเมี่ยม “โอทอป 5 ดาว”

ใกล้โรงงานขันลงหิน ยังมีอีกโรงงานซึ่งคือ แสตนเลสบ้านบุคอลเลคชั่น ซึ่งสมัยก่อนก็ผลิตขันลงหินเช่นกัน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยนำแสตนเลสมาทดแทนวัตถุดิบดั้งเดิมแทนที่ขันลงหิน แต่ใช้กรรมวิธีคล้ายขันลงหินมาใช้ เพราะ การใช้แสตนเลสเป็นวัสดุหลัก สามารถ “ตีเย็น” ตามรูปทรงได้ง่ายกว่า การ “ตีร้อน” กรรมวิธีแบบดั้งเดิม ซึ่งใช้ในการขึ้นรูปขันลงหิน







ภาพจากแฟ้ม...บน Facebook ขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ
เป็นงานทำมือ กรรมวิธีเดียวกับขันลงหิน เพียงแต่เปลี่ยนจากดีบุกและทองแดง มาใช้ สแตนเลสแทน

หมายเหตุ ::

“ตีเย็น” หมายถึง การตีโดยไม่ใช้ไฟมาเผาโลหะให้ร้อน ต่างจากการทำขันลงหินที่ต้องเผาโลหะให้ร้อนจนแดง ถึงจะตีได้ที่เรียกว่า “ตีร้อน”
แสตนเลส บ้านบุคอลลเคชั่น ถือเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดหัตถกรรมของบ้านบุ และของประเทศ

ออกจากชุมชนบ้านบุ เดินไปไม่ไกลก็ถึงชุมชนวัดทอง ซึ่งอยู่ติดกับที่ทำการเขตบางกอกน้อย เลยออกไปจากเขตทางริมคลองบางกอกน้อยก็จะเป็น วัดสุวรรณาราม หรือ วัดทอง (ที่มีชื่อเรียกในอดีต)




เข้าไปชม และชิมอาหารกันที่ตลาดวัดทอง ตลาดโบราณ 100 ปี ที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นตลาดที่เป็นโครงไม้ทั้งหมด ไม่มีเสากลาง มีแต่เสาด้านข้าง




ภาพจากแฟ้ม...บน Facebook ขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ
บรรยากาศแบบตลาดเดิมๆ ครับ มีอาหารมากมายสำหรับคนเดินเท้าสัญจร และของชุมชนครับ

หลังจากนั้นในช่วงภาคบ่าย วิทยากรจากกองการท่องเที่ยว สังกัดกรุงเทพมหานคร นำชมวัดสุวรรณราราม ซึ่งมีพระประธานในโบสถ์คือพระศาสดา เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สวยงาม สร้างในสมัยสุโขทัยอายุราว 700 ปีครับ




พระศาสดา พระประธานอายุประมาณ 700 ปี สมัยสุโขทัย




ทริปนี้ต้องขอชมเชย วิทยากรทุกท่านเลยครับ บรรยายได้ดีมากเลยครับ เข้าใจง่ายครับ

ในภาพวิทยากร กำลังบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวของจิตกรรมฝาผนัง ว่ามีเรื่องราวเป็นมาอย่างไร และผู้วาดภาพต้องการสื่อสารถึงผมชมภาพอย่างไร ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆของคนไทย

หลังจากนมัสการพระศาสดา และฟังคำบรรยาย ทางคณะก็ออกมาชมการสาธิต การ”วิ่งม้า. เพื่อแก้บน




การวิ่งม้าแก้บน มีคนวิ่งม้าและม้าที่ใช้คือผ้าขาวม้า

การแก้บนที่ “วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร” ซึ่งที่นี่มีการแก้บนแบบแปลกๆ เฉพาะท้องถิ่นที่ชาวบ้านบุ ซึ่งเป็นชุมชนริมคลองบางกอกน้อยนับถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน




ภาพจากแฟ้ม...บน Facebook ขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ
การวิ่งม้าแก้บน มีคนวิ่งม้าและม้าที่ใช้คือผ้าขาวม้า

ต่อจากนั้นเราก็ไปตรอกข้าวเม่า แต่ไปชมเค้า กวนขนมโบราณกาละแม ครับ




คุณอนุชา เกื้อจำรูญ ที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน อธิบายการกวนกาละแม (แต่ผลิตภัณฑ์จะมีทั้งข้าวเม่า และกระยาสารทด้วยครับ แต่พอดีวันที่ไปทริป ทางร้านกำลังกวนกาละแมพอดี) ซึ่งน่าจะเป็นอาชีพที่ใกล้สูญหายไปอีกหนึ่งอาชีพครับ เพราะนอกจากต้องมีความอดทนในการกวนกาละแมในหน้าเตาร้อนๆ ตลอดการกวนต่อครั้งประมาณ 5 ชั่วโมงถึงจะได้รสชาติที่ดีแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการทำตลาดอีกต่างหาก เพราะเคยมีหน้าร้านแถวปากคลองตลาด แต่วันดีคืนดี เจ้าของสถานที่ก็มีการปรับราคา ปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งทำให้ร้านของคุณอนุชา เกื้อจำรูญ ไม่สามารถสู้ราคาค่าเซ้งพื้นที่ขายได้ ตอนนี้ก็ทำการขายส่งอยู่ในชุมชนแหล่งผลิต
นอกจากนั้น ในสมัยก่อน กาละแม กระยาสารท จะเป็นขนมคู่กับประเพณีขึ้นตรุษไทย แต่ปัจจุบันทางคุณอนุชา บอกว่า คนรุ่นใหม่ ไม่ค่อยทราบว่าประเพณีตรุษไทย คือวันไหน และไม่ค่อยให้ความสำคัญ เช่นตรุษจีน หรือตรุษฝรั่ง
จึงเป็นเรื่องที่เราต้องขบคิดกันครับว่าจะส่งเสริมอาชีพดั้งเดิม และรากเหง้าภูมิปัญญาไทยกันอย่างไรดี
ก่อนที่พวกเราจะออกจากร้านนี้ กลุ่มพวกเราก็ซื้อของฝากกลับบ้าน (กาละแม) ซึ่งนอกจากจะได้ความอร่อย ของแท้ดั้งเดิมแล้ว ยังได้ช่วยกันกระจายรายได้สู่ชุมชนกันด้วยครับ




กาละแม




กาละแม

เดินเท้ากันต่อครับ ไปที่ชุมชนตรอกข้าวเม่า ซึ่งชุมชนนี้จะมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า ของสำนักงานเขตบางกอกน้อยตั้งอยู่ครับ




พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า




ภาพจากอินเตอร์เน็ต
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า
แสดงวิถีชีวิตดั้งเดิมของย่านบางกอกน้อย


สิ้นสุดทริป ทุกท่านแยกย้ายกันกลับด้วยความสวัสดิภาพ และมีความสุขที่ได้รับฟังเรื่องภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าบางภูมิปัญญามันสูญหายไปหรือเปล่าในอนาคต และรับฟังเรื่องราวของชุมชน ซึ่งบางท่านก็อาจยังไม่ทราบว่าชุมชนนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับตั้งแต่ก่อตั้งกรุงธนบุรีกันเลยครับ

ขอขอบคุณ กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร และวิทยากร และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ตั้งใจ นำข้อมูลของชุมชน ที่คนส่วนใหญ่บางส่วนอาจจะยังไม่ทราบว่ามีภูมิปัญญาดีๆ กำลังจะสูญหายไปแล้ว เพื่อให้เกิดการตื่นตัว ในการร่วมกันอนุรักษ์ และฟื้นฟู เพราะถ้าไม่มีคนช่วยเผยแพร่ นำชม ก็ไม่มีใครทราบว่าบางภูมิปัญญา มันวิกฤตขนาดไหน???

และขอขอบคุณ เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม มา ณ ที่นี้


สนใจข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม กด Like ที่เพจนี้ตามลิ้งก์เลยครับ
//www.facebook.com/thaitourismsociety





 

Create Date : 07 เมษายน 2556    
Last Update : 8 เมษายน 2556 15:22:03 น.
Counter : 2588 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.