ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ทริปล่องเรือ ท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม ชิมของอร่อย พร้อมบรรยากาศที่หาได้ยากใน กรุงเทพฯ

เครดิต เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม

ตามลิ้งก์ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=463338460398360&set=a.246018572130351.55713.245979795467562&type=1&theater




เที่ยววิถีถิ่นทางน้ำ ย่านบางกอกน้อย

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2556

ร่วมล่องเรือท่องเที่ยววิถีถิ่น ย่านบางกอกน้อย

สัมผัสแหล่งเรียนรู้ วัดวาอาราม วิถีชีวิตริมน้ำและร่วมอุดหนุนชุมชนท้องถิ่น ในงานฟื้นตลาดวัดทอง ของอร่อย ครั้งที่ 4ของชาวบ้านบุอาทิ วัดหงส์รัตนาราม, พระราชวังเดิม, พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง, ตลาดวัดทอง, วัดสุวรรณนาราม, วัดศรีสุดาราม

นัดหมาย เวลา 08.00 น. ที่ท่าเรือราชนาวิกสภาถนนอรุณอัมรินทร์(เลยทางเข้าวัดระฆังฯ ประมาณ 500 เมตร)

ค่าลงทะเบียนท่านละ 250 บาทเป็นค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง วิทยากรท้องถิ่น อาหารว่างและเครื่องดื่ม ฯลฯ


ติดต่อจองที่นั่งได้ที่ นาวาตรีหญิงรศนา สมพงษ์ โทร 02 475 4185และ 086 301 7736

ดำเนินการโดย กรมอู่ทหารเรือ, สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว และเครือข่ายท่องเที่ยวภาคประชาสังคม

จองที่นั่งด่วน จำนวนจำกัด

(ภาพโดย อาจารย์นิธิวุฒิ ศรีบุญชัยชูสกุล )



แผนที่ราชนาวิสภา ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย




 

Create Date : 01 มีนาคม 2556    
Last Update : 1 มีนาคม 2556 18:17:14 น.
Counter : 2775 Pageviews.  

One Stop Service ในสิงคโปร์มีแล้ว แต่ One Stop Service ในกรุงเทพยังไม่มี

ถึงเวลากันแล้วหรือยัง ที่ผู้บริหารบ้านเมือง จะทำให้องค์กรบริการต่างๆใน กทม. เช่นไฟฟ้า ประปา ขสมก. เป็น One stop service ไม่ซับซ้อน



เนื่องจากเมื่อวาน ผมได้เข้าไปอ่านโพสต์บน Facebook ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ที่โพสต์จั่วหัวข้อ

“รถเมล์ควรอยู่กับ ขสมก. หรือ กทม. ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ครับ


ขอขอบพระคุณ ท่าน ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ มา ณ ที่นี้ครับสำหรับข้อคิดที่มีค่ายิ่งครับ

เกริ่นนำ

พอผมอ่านรายละเอียดที่ไม่ยาวนักของ ดร.สามารถ จบ ซึ่งได้ถามเกี่ยวกับรถเมล์ควรขึ้นกับหนว่ยงาน ขสมก. หรือ กทม. ?? ผมก็คิดเลยไปอีกว่ามันเป็นปัญหาจริงๆ เกี่ยวกับไขว่กันไป ไขว่กันมา ในด้านการบริหารงานคือมันน่าจะซับซ้อนเกินไป แล้วผนวกกับ ใน กทม. จะมีทั้งการไฟฟ้านครหลวงการประปานครหลวง ซึ่งถ้าประชาชนอย่างเราไปติดต่อกัน ก็ต้องไปอย่างละที่ไม่สามารถไปที่เดียว วันเดียวกัน ก็เสร็จเรียบร้อย ซึ่งผิดกับในต่างประเทศเช่นสิงคโปร์ เราเดินเข้าไปติดต่อ ไปที่เดียว เป็น One Stop Service ก็เสร็จแล้ว ประหยัดทั้งเวลา ประหยัดทั้งเงิน

นอกจากบ้านเรา จะไม่ได้รับความสะดวกสบายด้วยประการทั้งปวงแล้วการแยกกันบริหาร งานที่ควรจะร่วมมือกัน ก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมหาศาล ทั้งระบบไอทีจำนวนพนักงาน เพราะต่างองค์กร ก็ต้องใช้ระบบของตัวเอง มีค่าบำรุงรักษาค่าพนักงานที่สูง ในขณะเดียวกัน ถ้าทำเป็น Pool แบบต่างประเทศทั้งรวดเร็ว และประหยัดอย่างมากมายมหาศาล จึงน่าแปลกใจเป็นอย่างมากสำหรับประเทศไทยครับที่นักบริหารบ้านเมือง มองไม่เห็นปัจจัยลบเหล่านี้ และน่าจะรีบแก้ไข เป็นลำดับต้นเพราะยิ่งช้า ก็เท่ากับผลักภาระให้ประชาชน

ถึงเวลากันแล้วหรือยัง ที่ผู้บริหารบ้านเมือง จะทำให้องค์กรบริการต่างๆใน กทม. เช่นไฟฟ้า ประปา ขสมก. เป็น One stop service ไม่ซับซ้อน

เข้าสู่บทความในโพสต์ของ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ครับลองคิดกันดูครับ ว่าเราอยากจะเป็นเหมือนเดิมไม่มีมิติการแก้ปัญหาแบบถาวรกันเลยหรือครับ และในท้ายบทความจะมีความเห็นจากท่านอื่นๆ ที่มาแสดงความคิดเห็น ผมจะคัดลงเป็นบางความคิดเห็นครับ

อ้างอิง //www.facebook.com/photo.php?fbid=4337286075491&set=a.3728713981569.2140239.1387533272&type=1&theater¬if_t=photo_reply

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

รถเมล์ควรอยู่กับ ขสมก. หรือ กทม. ?




ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555รถเมล์ภายใต้การบริหารของขสมก. มีหนี้สะสมถึง 73,739 ล้านบาทมีพนักงาน 14,112 คน มีจำนวนรถเมล์ 3,574 คัน แต่ออกวิ่งได้เพียง 2,732 คัน หรือคิดเป็น 76% รถเมล์ส่วนหนึ่งมีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากมีอายุใช้งานประมาณ 8 – 17 ปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปริมาณผู้โดยสารรถเมล์ลดลงอย่างมาก โดยเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าและรถส่วนตัว

ขอบอกว่า ปัจจุบัน กทม. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารรถเมล์แต่อยากทราบว่า รถเมล์ควรอยู่ภายใต้การบริหารของหน่วยงานใด ขสมก. หรือ กทม. ครับ




ขสมก. มีหนี้สะสมถึง 73,739ล้านบาท มีพนักงาน 14,112 คน มีจำนวนรถเมล์ 3,574 คัน แต่ออกวิ่งได้เพียง 2,732 คัน หรือคิดเป็น 76% รถเมล์ส่วนหนึ่งมีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากมีอายุใช้งานประมาณ 8 – 17 ปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณผู้โดยสารรถเมล์ลดลงอย่างมาก โดยเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าและรถส่วนตัว

เพิ่มเติมข้อมูลต่อเนื่องที่ผมเห็นว่า เรื่องการบริการจุดเดียวOne Stop Service ในกรุงเทพมหานครควรจะเกิดขึ้นได้แล้ว เพราะการไม่มีบริการที่ดีมันน่าจะเป็นรากหนึ่งที่สำคัญของปัญหาการบริหารประเทศ เพราะไม่ว่าเมืองไหนๆถ้าแยกกันบริหารแบบนี้ ค่าบริหารจัดการค่าใช้จ่ายมันจะสูงเกินความจำเป็นอย่างมหาศาล นั่นย่อมหมายถึงความสูญเสียงบประมาณที่เกินความจำเป็น ในยุคที่เทคโนโลยี่ ก้าวไปไกลแล้ว

ในสิงคโปร์ เค้าก้าวไปไกลแล้วครับ เข้าไปใช้บริการ ที่เดียวก็สามารถทำธุรกรรมหลายๆอย่างพร้อมกันได้เลย



ภาพเล่าเรื่อง การประสานงานที่ดูไม่ลื่นไหล ของหน่วยงานต่างๆจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงาน กทม. ดังคำกล่าวของบางคนที่ว่า “หน่วยนี้มาก็ขุดหน่วยนั้นมาทีหลัง ก็ขุดกันอีก ทำไมไม่ทำอะไรพร้อมๆ กันไปทีเดียวเลย” ข้อความนี้ผมไม่ได้พูดเองน่ะครับ หลายท่านที่ประสบปัญหาดังกล่าว ก็บ่นกันจนเป็นที่รับรู้กันทั้งเมืองครับ....

เจ้าของพื้นที่ คือ กรุงเทพมหานคร ก็จริงอยู่แต่มีหลายหน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ ในการวางโครงข่ายต่างๆเช่นการไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง องค์การโทรศัพท์ ฯลฯ บางท่านบอกว่าต้นไม้ในกรุงเทพมหานคร ตัดได้น่าเกลียดติดอันดับโลก ก็เพราะหน่วยงานที่ตัดต้นไม้บางครั้งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ดูแลต้นไม้โดยตรงของ กทม. แต่เป็นหน่วยงานอื่น นอกสังกัดกทม. เป็นคนตัด เรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน

เพราะต้นไม้ สร้างบรรยากาศ ให้เมืองร่มรื่น สวยงาม น่าชมน่าเดิน

แล้วการประสานงานบ้านเรา มันดี หรือไม่ดีอย่างไรทุกท่านก็โปรดพิจารณากันเองครับ ส่วนผมเห็นว่ามันน่าจะปรับเปลี่ยนเข้ากับยุคสมัยได้แล้ว เพื่อลดขั้นตอนต่างๆรวมทั้งสิ้นเปลืองงบประมาณ ในด้านการซ้ำซ้อนของงาน หลายประเทศอย่างที่กล่าวมาครับเค้า One Stop Service กันหมดแล้ว ไม่ยุ่งยากมากมายอะไรเลย

การจัดการระบบต่างๆ ในเมืองใหญ่ๆ เช่นสิงคโปร์ เค้า One Stop Service ไปที่เดียว งานเรียบร้อย แต่บ้านเรา แยกส่วนกันบริหารทำให้การประสานเกิดปัญหาอย่างมากมาย ดังเช่นในปัจจุบัน และสิ้นเปลืองงบประมาณทรัพยากร ไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่น่าเชื่ออีกแล้ว ที่รู้ปัญหากันทั้งประเทศแต่หาคนมาแก้ไขไม่ได้เลย นับสิบๆ ปีที่ผ่านมา




สิงคโปร์ หน่วยงานให้บริการแบบรวมศูนย์ One Stop Service

เครดิตภาพ //worldbusinesskey.com/wp-content/uploads/2012/11/Image-52.png

คอมเม้นท์เพิ่มเติมบางส่วนจาก Facebook ตามลิ้งก์ดังกล่าวครับ

Prasit Rugsayos มันไม่ควรจะอยู่กับกทม.และกระทรวงคมนาคม เพราะหากยังอยู่กะหน่วยงานของรัฐความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของเบ่งกล้ามไปวันๆ ว่าข้ามีอำนาจในการบริหาร คน งบประมาณอุปกรณ์ แต่มันไม่เคยเข้าใจถึงเนื้อแท้ของคำว่า การให้การบริการรัฐไม่สามารถบริหารจัดการเรื่องการให้บริการดีกว่าเอกชนในอดีตเราก็เคยเห็นมาแล้วรถเมล์เมื่อ 40ปีที่แล้วอยู่ในมือของเอกชนไม่ว่าสภาพรถหรือการให้บริการดดีกว่าปัจจุบันหลายเท่าไม่ว่าจะเป็นเครือนายเลิศ(รถเมล์ขาว)หรือไทยประดิษฐ์ เป็นต้น ดูแค่การบริหารงานบุคคลก็คงเข้าจัยรถเมล์วิ่งได้แค่ 2700คัน แต่มีบุคลากรปาเข้าไป 14000 คน นี่ก็ประเด็นหนึ่งหละปัญหาการซื้อหรือเช่ารถแต่ละคันแพงระยับ เช่น รถยูโรทูที่ซื้อมาสิบปีที่แล้วเฉพาะค่าล้างรถต่อวัน (ล้างหรือไม่ไม่รู้ปาเข้าไปวันละเกือบสามร้อยบาท)หนี้มันจึงสะสมบานเบอะ ระบบการเดินรถแบบถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างบางสายทางความยาวกว่า 50 โล

Rattana Kosin นอกจาก ขสมก.แล้ว ผมว่าไฟฟ้า ประปา น่าจะรวมศูนย์ ที่ กทม. เป็น one stop service ไปเลยครับ...บ้านเรายิ่งแยกกันบริหาร ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งสูง ทั้งๆที่ปัจจุบัน ถ้ารวมศูนย์กันประหยัดเงินได้อีกมหาศาลเลย แต่อย่างว่าครับ ทุกอย่างอยู่ที่"ความจริงใจ" ของผู้บริหารบ้านเมือง ไล่ตั้งแต่รัฐบาลลงมาเรื่อยๆจนถึงเจ้าหน้าที่กันเลยครับ เพราะเท่าที่เห็นแต่ละคน ก็กลัวจะเสียผลประโยชน์ส่วนตนกันทั้งนั้นครับท่าน

John Lee รถเมล์ในกรุงเทพฯควรอยู่ภายใต้การบริหารของกรุงเทพฯครับ และควรลดสายรถเมล์ในกรุงเทพฯลงครึ่งนึงและยกเลิกสัมปทานรถร่วมบริการทั้งหมด โดยโอนย้ายรถร่วมฯ ไปวิ่งตามชานเมืองเพื่อให้เป็นรถเชื่อมต่อกับรถเมล์เพื่อเข้าเมือง แต่ยังคงรถตู้ร่วมบริการไว้เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกนึงของคนกรุงเทพฯ และรถเมล์ทั้งหมดในกรุงเทพฯควรเปลี่ยนเป็นรถเมล์แอร์ให้หมด ยกเลิกรถเมล์ที่ไม่มีแอร์ให้หมด ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรให้คนขับและพนักงานเก็บสตางค์ ได้เป็นเปอร์เซ็นต์จากค่าตั๋วควรให้เป็นเงินเดือนแทน จะดีกว่า ไม่ยากครับถ้าจะแก้ปัญหาของรถเมล์ มันอยู่ที่ว่าจะทำจริงหรือไม่แค่นั้น

Khun EK ผมคิดว่าไม่เพียง ขสมกยังมีอีกหลายหน่วยงาน มีหลายสิ่ง

หลายอย่างต้องแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ถึงเวลาแล้วครับ

" ประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลง "




 

Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2556 10:42:27 น.
Counter : 1919 Pageviews.  

จักรยานเก่า “อย่าทิ้ง” ใช้ “ไอเดีย” แปลง จักรยานเก่า เป็น เฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน



จักรยานเก่า “อย่าทิ้ง” ใช้ “ไอเดีย”แปลง จักรยานเก่า เป็น เฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน

วันนี้ไปเห็นภาพของสมาชิกไปคอมเม้นท์และโพสต์ภาพร่วมกับกระทู้ผมในพันธ์ทิพย์เป็นภาพจักรยานเก่า ที่เจ้าของภาพเขียนว่าเกือบจะชั่งกิโลขายแล้วก็เลยคิดว่าถ้ามัน REUSE RECYCLE มันจะเป็นอะไรได้บ้างก็เลยไปหาภาพทาง Google มาครับปรากฏว่ามีไอเดียมากมายเต็มไปหมด ผมเลยยกตัวอย่างมาหอมปากหอมคอครับ ซัก สิบกว่าภาพหวังว่าทุกท่านจะนำไป”ต่อยอด”กันเองต่อไปน่ะครับ


เจ้าของภาพ อธิบายไว้ว่าเกือบจะชั่งกิโลขายเสียแล้ว


ขอขอบคุณ ภาพจักรยานเก่าที่เกือบจะโยนทิ้งแล้วจากคอมเม้นท์ที่ 16 ตามลิ้งก์ในกระทู้ในพันธ์ทิพย์ //pantip.com/topic/30086730

ดูตัวอย่าง ใช้ไอเดียใช้อะไหล่ อุปกรณ์ของจักรยานเก่าใช้แล้ว แปลงเป็นอะไรได้บ้าง



Bike Chair

"เก้าอี้ ปั่นได้"

ล้อจักรยาน พร้อมที่ถีบจักรยาน นำมาติดตั้งกับเบาะกลายเป็นเก้าอี้เก๋ๆ ไม่มีใครเหมือน...

จะดื่มไป ปั่นไป ก็ไม่มีใครว่า เพราะเค้าดีไซน์ที่ถีบมาให้ด้วย

น่าสนุกจริงๆ กับเก้าอี้ ปั่นได้ แบบนี้น่ะ ขอรับกระผม!!




ร้านขนมปัง ส่งเสริมการปั่น..

ไปหา "ขนมปัง"กินที่ร้านนีดีกว่า...

เป็นร้าน "รักษ์โลก"อย่างแน่นอน...

เห็น ป้าย "โลโก้"ดีไซน์ออกมาชัดเจนจริงๆ...

ถ้าเจอ"ร้านรักษ์โลก"แบบนี้ที่ไหน??

อย่าลืม "อุดหนุน"ให้กำลังใจกันด้วย น่ะ!! ขอรับกระผม



ทำนาฬิกาแขวน

Recycle Old Bike Wheel , Then get Bike Wheel Clock

ล้อจักรยานเก่า ทาสีใหม่...ติดตั้งนาฬืกา เข้าไปกลายเป็นของประดับบ้านเท่ห์ ได้อีกหนึ่งชิ้น ตามกระแสจักรยาน รักษ์โลก โดยการ Recycle นาฬิกาเรือนนี้ตามข่าวบอกว่าราคา 129 เหรียญสหรัฐ ร่วม 4 พันบาทเชียว




ประดับดอกไม้ และริบบ้อนในงานสังสรรค์ต่างๆ



นำล้อเก่า มาตกแต่งสวน







จักรยานกระเช้าดอกไม้ ...จะวางไว้ร้านไหนร้านนั้นก็ชวนเข้าครับ

ไม่ว่าจะเป็นร้านเบเกอรี่ ร้านดอกไม้ ร้านกาแฟ ภัตตาคารร้านอาหาร มันดูดีไปหมดครับ กับกระแสรักษ์โลก เข้าได้กับทุกบรรยากาศจริงน่ะ!!จะบอกให้!!




ที่นั่ง เอามาทำดีสเพลย์ จิวเวลรี่

น่าจะเหมาะกับร้านแอนติค มากกว่าครับ

ไอเดีย นำของเก่าใช้แล้ว (จักรยาน) มา Recycle น่าจะเป็นที่ชื่นชอบกับกระแสขณะนี้ครับ





จักรยานเก่า ทาสีใหม่ ต่อกันเป็นรั้วดูเท่ห์จริงๆครับ




ล้อ(จักรยาน)ติดเพดาน ติดไฟส่องสว่าง

ถ้าจ๊าบแบบธรรมดา ก็ฟลูออเรสเซนต์ ธรรมดา ไฟประหยัดพลังงาน

แต่ถ้าจ๊าบมาก ก็ไฟสลับสี แล้วกระพริบได้ แบบใน คาเฟ่กันเลยครับ...




Recycle ล้อจักรยาน ที่หมดสภาพแล้ว ...

แยกส่วน "ยางล้อ" กับตัว"วงล้อ"...

"ยางล้อ" เอาไปวางกองๆ กับพื้น

ส่วน "วงล้อ เหล็ก" เอาไปเกี่ยวกัน...

กลายเป็น "ซุ้ม" สร้างไอเดียชวนมอง...

มีคนมอง มีคนเห็น มีคน "ชื่นชม" น่ะ!! จะบอกให้...

ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebookตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลังซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ

//www.facebook.com/tourrattanakosin






 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2556 14:38:48 น.
Counter : 5809 Pageviews.  

กริ๊ง กริ๊ง หนองคาย ปั่นจักรยานเมืองน่าอยู่ ท่องเที่ยวชุมชน รณรงค์ส่งเสริมแต่งกายผ้าพื้นเมือง



เกริ่นนำ จากผู้เผยแพร่บทความครับ

วันนี้มาที่จังหวัดหนองคายอีกครั้งหนึ่งครับ หลังจากบทความเมื่อคราวที่แล้วเกี่ยวกับหลวงพ่อพระใส วัดดพธิ์ชัย ตามลิ้งก์เดิม //www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2013/01/21/entry-1

แต่วันนี้จะเป็นบทความเรื่อง กลุ่ม กริ๊ง กริ๊ง หนองคาย ซึ่งเป็นชมรมจักรยานกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมรักษ์โลก เชิญชวนกันมาปั่นจักรยาน และกลุ่มนี้ยังรณรงค์ส่งเสริมอัตตลักษณ์ การแต่งกายโดยการใช้ผ้าพื้นเมือง ซึ่งผมเห็นว่านับเป็นเรื่องดีอย่างมากมาย ที่คนรุ่นใหม่ มีวิธีคิดในการอนุรักษ์อัตตลักษณ์ท้องถิ่นตัวเอง อย่างไรก็แล้วแต่ ถึงแม้จะเพิ่งเริ่มต้น แต่วิสัยทัศน์ก็ไม่เลวทีเดียว หวังว่าคนหนองคาย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน น่าจะเล็งเห็นถึงการส่งเสริมในแนวนี้กันครับ เพราะเป็นผลดีกับชุมชน กับจังหวัด และกับประเทศชาติโดยตรง การรณรงค์ง่ายๆ ก็คือการใช้ Social Media นี่แหละครับ “บอกต่อ Share ต่อยอด” กันครับ และมีกิจกรรมรักษ์โลกกันอย่างต่อเนื่อง “กระแสจักรยาน เป็นกระแสของโลกครับ เพราะจักรยาน สร้างเมืองที่น่าอยู่ได้จริงอย่างแน่นอนครับ”

หนองคาย เป็นจังหวัดหนึ่ง ที่น่าไปเยือนอย่างมากมาย ฝั่งตรงข้ามคนละฝั่งแม่น้ำโขง ก็คือประเทศลาว ประเทศเพื่อนบ้านเรานั่นเอง มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าติดตามในหลายเรื่องราว เป็นเมืองน่าอยู่ เมืองคนอัธยาศัยดี มีภูมิประเทศที่เยี่ยมยอด เพราะขนาบไปกับแม้น้ำโขงนับหลายร้อยกิโลเมตร

ถ้าหนองคายมีการพัฒนา ในเชิงอนุรักษ์ เชิงท่องเที่ยว ชุมชน น่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้คนท้องถิ่นได้อย่างมหาศาล เพราะโลเกชั่น ทัศนียภาพที่ได้เปรียบ คือริมโขง ถ้าสามารถ หรือเป็นไปได้ ทำเลนจักรยาน (Bike Lane) เลียบแม่น้ำโขง ซี่งถ้าใช้ท่าเสด็จ เป็นจุดศูนย์กลาง ในการปั่นริมโขง บรรยากาศมันคงเยี่ยมยอดทีเดียว

กอรปกับ ถนนริมโขง สามารถเชื่อมโยงกับริมโขง จ.เลย เชื่อมไปถึงเชียงคาน ได้อีกต่างหาก

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ ในความเห็นส่วนบุคคลของผู้เผยแพร่บทความ เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองของจังหวัดหนองคาย มันก็ต้องเริ่มจากคนหนองคาย เป็นหลัก ครับ ถ้าผู้บริหารเมือง มองไม่เห็น ก็นับเป็นเรื่องเสียโอกาสต่างๆ ครับ ในขณะที่ผู้บริหารเมือง จ.อุดร ขอนแก่น โคราช เค้าขยับตัวกันไปไกลแล้ว เพื่อต้อนรับ AEC ที่จะไร้พรมแดนกันแล้ว ส่วนหนองคาย มี “ของดี” มากมาย ถ้านำออกมาใช้ มีแต่ได้ครับ เพราะ สถานที่ท่องเที่ยว มันแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพียงแต่ควรทำแบบอนุรักษ์ กันครับ อย่าส่งเสริมท่องเที่ยวแบบทำลายสถานที่ แบบไร้ทิศทาง

เข้าบทความครับ เกริ่นยาวไปหน่อยครับ
เครดิต ภาพและเนื้อหา จากคุณชัยนิติ ศรีหาบุตร ขอขอบพระคุณที่อนุเคราะห์ภาพและเนื้อหา มา ณ ที่นี้ครับ

เนื้อหา....
Copy// กริ๊ง กริ๊ง หนองคาย ก่อตั้งจากบุลคล 3 คน คือ
1.นางพัชรี ตักโพธิ์ (อ๋อย)
2. ประเสริฐศักดิ์ ไชยสุริยา (อ๊อด)
3.นายชัยนิติ ศรีหาบุตร (โต้ง)

จากความรัก รักในความเป็นเมืองหนองคาย เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก เมืองที่มีเสน่ห์ อัธยาศัยดี อากาศ ภูมิศาสตร์อยู่ติดลำน้ำโขง วิถีดั้งเดิม อารยะธรรมเก่าแก่ นับวันคนจะเริ่มลืมเลือน
จึงคิดหาวิธีจะปลูกจิตสำนึกรักหนองคายด้วย “จักรยาน” ยานพาหนะที่มีเสน่ห์ในตัวมัน ขี่แล้วปั่น ๆ ด้วยแรงของตน ไม่ต้องพึ่งพา พลังงานจากน้ำมัน ที่เรียกว่ารถยนต์ มอเตอร์ไซต์ โลกสะอาด
เที่ยวเมืองหนองคาย ด้วยจักรยาน ใน 1 วัน จึงเป็นโครงการที่ได้ทั้งการโปรโมทเมืองหนองคาย ได้ทั้งด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก โครงการค้นหาวันวาน ด้วยการปั่นจักรยาน ของกลุ่ม กริ๊ง กริ๊ง หนองคาย จึงได้รับความสนใจจากหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน




“การเริ่มต้น เป็นสิ่งที่ยากที่สุด” คุณอ๋อยย้ำเตือนพวกเรา หลังจากที่ตกลงว่าจะทำโครงการเกี่ยวกับปั่นจักรยานชมเมือง โต้งไปค้นหาจักรยานใต้ถุนบ้าน คันเก่า สีชมพูสนิมเต็มล้อ ยางแบน โซ่สนิมเกาะปั่นไม่ไป ต้องหยอดน้ำมันและเคาะสนิมออกจากโซ่ คุณอ๋อยยืมจักรยานจากคุณแม่ที่ใช้ปั่นไปจ่ายตลาดมา อ๊อดลงทุนถอยจักรยานคันใหม่ออกมาเพื่อมาใช้ในกิจกรรม

“ แล้วเราจะเอายังไง จะสร้างให้เกิดกระแสทำให้คนอยากมาปั่นจักรยาน ” อ๊อดถามเพื่อนในกลุ่ม“เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานต่าง ๆ พยายามให้คนมาปั่นเพื่อออกกำลังการ ลดโลกร้อน แต่ไม่เป็นผล” อ๊อดเล่าให้ฟังถึงโครงการต่าง ๆ ที่เคยทำมา เพราะอ๊อดเป็น 1 ในสมาชิกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย ไปร่วมกิจกรรมบ่อย ๆ แต่ไม่นานกระแสก็จางหายไป
“เราน่าจะสร้างกระแสเชิงท่องเที่ยว และเป็นการท่องเที่ยวในแบบที่คนไม่เคยเที่ยว” คุณอ๋อยเสนอขึ้นมาเว้นวรรคคำพูด โต้งกับอ๊อดจดจ่อฟัง
“ท่องเที่ยวในรูปแบบค้นหาวันวานของหนองคาย สร้างกระแสรักบ้านเกิดด้วยการปั่นจักรยานค้นหา” อ๊อดตบมือฉาด ชอบใจความเห็น
“แล้วจะทำอย่างไรให้คนจดจำพวกเราล่ะ ถ้าปั่นกัน 3 คน คนก็นึกว่าปั่นกันสนุก ๆ ในกลุ่มเพื่อนก็เท่านั้นเอง” อ๊อดถาม
“เราน่าจะใส่ชุดพื้นเมืองให้เตะตาด้วยเพื่อเข้าคอนเซ๊ปค้นหาวันวานของหนองคาย และตั้งชื่อกลุ่มให้คนจำเราได้” โต้งเสนอไอเดียบ้าง
”กริ๊ง กริ๊ง หนองคาย” เป็นชื่อที่เราชอบมากที่สุด
วันที่ 2 ตุลาคม 2555 ตอนเช้าประมาณ 6.00 น. เรานัดกันที่หน้าศาลหลักเมือง เป็นจุดแรก




โต้งทำหน้าที่ถ่ายรูปและตัดต่อวีดิโอใช้กล้องฟูจิรุ่นS5800 จอแอลซีดีเสีย ฝาปิดไม่มี แต่พอใช้งานได้ อ๊อดเป็นพิธีกรร่วมกับคุณอ๋อย แล้วทริปการปั่นจักรยานครั้งแรกก็เกิดขึ้น
https://www.youtube.com/watch?v=z70ttWEIm-c&feature=share&list=LLkn7QzYAzug_EmiB19RDhrA








โต้งถ่ายรูปเอง ตัดต่อเอง แล้วเอาลงยูทรูป ส่งให้เพื่อน ๆ ดู ชอบใจใหญ่ ขออีก จึงมีปั่นจักรยานอีกเป็นรอบที่ 2 ในวันที่ 15 ตุลาคม 2555 โดยมี หลานคุณอ๋อยชื่อนิว เป็นช่างถ่ายภาพ และแฟนนิว มาร่วมปั่นเพิ่มขึ้นอีก กลายเป็น 5 คน โดยปั่นต่อจากรอบแรก (เหนื่อยก่อน ปั่นไม่ไหว) ที่จุดอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ https://www.youtube.com/watch?v=Ufza0J6lZoU&feature=share&list=LLkn7QzYAzug_EmiB19RDhrA





หลังปั่นจักรยานรอบ 2 เอาลงยูทรูปเพื่อน ๆ ชอบกันและส่งต่อ ๆ กัน เราก็ไม่ได้ทำแต่กิจกรรมเรื่องปั่นจักรยานเท่านั้น ได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้คนไม่ลืม “กริ๊ง กริ๊ง หนองคาย” และเพื่อไม่ให้คนคิดว่าเราปั่นจักรยานเอามันส์อย่างเดียว จึงได้ทำโครงการด้านสังคมด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=wWfrHWq5jWA&feature=share&list=LLkn7QzYAzug_EmiB19RDhrA
https://www.youtube.com/watch?v=Re6UHBPGgx0&feature=share&list=LLkn7QzYAzug_EmiB19RDhrA
https://www.youtube.com/watch?v=5HYbCCFvAHs&feature=share&list=LLkn7QzYAzug_EmiB19RDhrA

ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จ. อุดรธานี ซึ่งดูแลจังหวัดหนองคายด้วย ทราบโครงการปั่นจักรยาน”กริ๊ง กริ๊ง หนองคาย” น่าสนใจ จึงเรียกพวกเราเข้าพบ และขอสนับสนุนโครงการ ร่วมถึงตั้งชื่อโครงการให้ใหม่ว่า “ปั่น จักรยาน ผ่านตำนานหนองคาย...เมืองน่าอยู่”




การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จ. อุดรธานี (ซึ่งดูแลจังหวัดหนองคายด้วย) ให้สนับสนุนโครงการ ร่วมถึงตั้งชื่อโครงการให้ใหม่ว่า “ปั่น จักรยาน ผ่านตำนานหนองคาย...เมืองน่าอยู่”

ได้เสนอโครงการปั่นจักรยานแก่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ท่านเห็นดีด้วย ให้งบประมาณมาดำเนินงาน กลุ่มสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีสมาชิกกว่า 60 กว่าบริษัทด้านการทำท่องเที่ยวก็เข้าร่วมโครงการ ร่วมถึงเทศบาลเมืองหนองคาย ก็สนับสนุนโครงการนี้ กลายเป็นกระแสปั่นจักรยานขึ้นอย่างกว้างขว้าง สมาคมจักรยานจังหวัดหนองคายมีสมาชิกกว่า 220 คนก็ให้การสนับสนุน ,ชมรมจักรยาน อ. ศรีเชียงใหม่มีสมาชิกกว่า 50 คน อ. โพนพิสัย มีสมาชิกกว่า 30 คน





ช่วงนั้นได้ปั่นจักรยานค้นหาและเจอที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ ๆ มากขึ้น และนำมาโปรโมทด้านปั่นจักรยานเชิงท่องเที่ยว เช่น วังบังแดง ถนนคนเดินหนองคาย




รวมถึงได้สร้างกระแสใส่ผ้าพื้นเมือง หลายหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชน มีการส่งเสริมให้ใส่ผ้าพื้นเมืองกันมากขึ้น คนรุ่นใหม่หันมามองว่าใส่ผ้าพื้นเมืองก็เท่ห์ได้





มีการส่งเสริมให้ใส่ผ้าพื้นเมืองกันมากขึ้น คนรุ่นใหม่หันมามองว่าใส่ผ้าพื้นเมืองก็เท่ห์ได้


วันที่ 19 มกราคม 2556 เป็นวันเปิดโครงการ “ปั่นจักรยาน ผ่านตำนานหนองคาย ...เมืองน่าอยู่” อย่างเป็นทางการ มีสื่อมวลชนจากหลายแขนงเข้ามาสัมภาษณ์ มีเพื่อน ๆ ชาวรักรถจักรยานขานรับมาร่วมปั่นงานอย่างเกินคลาด บรรยากาศสนุก ทุกคนมีความสุข และขอให้มีการปั่นจักรยานอีก https://www.youtube.com/watch?v=eXgLu1oDAdI&feature=share&list=LLkn7QzYAzug_EmiB19RDhrA





ท่านวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เปิดโครงการฯอย่างเป็นทางการ พร้อมเสียง กริ๊ง..กริ๊ง





คุณอนุชิต สกุลคู นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.หนองคาย ให้สัมภาษณ์สื่อท้องถิ่น













ฝากเพื่อน ๆ ที่รักการปั่นจักรยานทุกท่าน หากสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของกริ๊ง กริ๊ง หนองคาย ขอเชิญมาชมกิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่เฟสบุคชื่อ

//www.facebook.com/KringKringNongkhai






กิจกรรมยังมีต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ที่จะต่อยอด อาทิเช่น ธนาคารจักรยาน ปั่นจักรยานถ่ายรูป ,Bicycle stay ( Home stay) และอีกหลายโครงการ ทุกโครงการเพื่อน ๆ ทุกท่านสามารถเอาไปต่อยอดและทำได้จริง
……………………………………………………………
หมายเหตุ ผู้เผยแพร่ (ชมวิวทิวทัศน์-Rattanakosinb) เพิ่มเติมภาพจากอินเตอร์เน็ต ประกอบการเล่าเรื่อง ขอขอบคุณ ภาพข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และมีข้อผิดพลาดประการใด ในการนำภาพประกอบข้อมูล ขออภัย มา ณ ที่นี้ เช่นกันครับ
...........................................................................................................
แถมเพิ่มเติมบรรยากาศ ซักนิดครับ เกี่ยวกับทัศนียภาพ รวมทั้งภูมิประเทศของหนองคาย (บางส่วน คือภาพจากตัวเมืองหนองคายไปทางทิศตะวันตก สามารถเชื่อมต่อกับเชียงคาน โดยทางที่ผ่าน ก็เป็นริมโขงทั้งหมด ทัศนียภาพ ก็เหมาะในการท่องเที่ยวมากเลยครับ) ความจริงมีภาพมากกว่านี้ครับ แต่เอาไว้เขียนคราวหน้าถ้ามีโอกาส ได้ข้อมูลดี ดังเช่นวันนี้ ก็น่าจะ win-win กันทุกฝ่ายครับ





มุมมองภาพกว้างจาก google earth เส้นสีเหลืองเส้นเล็กๆ คือทางเลียบแม่น้ำโขง ระยะทางยาวมาก ถ้าทำเส้นทางสัญจรดีๆ ชุมชนได้ประโยชน์มหาศาลอย่างแน่นอน (ความเห็นส่วนบุคคลน่ะครับ)





บรรยากาศชวนเดินของนักท่องเที่ยวครับ “ริมโขง ท่าเสด็จ หนองคาย”
เครดิตภาพ จากอินเตอร์เน็ต






ริมโขง อากาศบริสุทธิ์ มีโลเกชั่นที่ยอดเยี่ยม บรรยากาศแบบนี้ มีเงินก็ซื้อไม่ได้ครับ ต้องมากันเองครับ ....ชาวหนองคาย ปั่นจักรยาน เพื่อสุขภาพ จุดนัดพบ ที่ ท่าเสด็จ
เครดิตภาพ //imageshack.us/photo/my-images/150/1001953.jpg/



ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebook ตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลัง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ
//www.facebook.com/tourrattanakosin





 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2556 14:06:53 น.
Counter : 1989 Pageviews.  

ร่วมกิจกรรม”ล่องเรือท่องเที่ยววิถีถิ่น ย่านบางกอกน้อย” เรียนรู้วิถีชุมชนริมน้ำ วัดวาอารามที่สำคัญย่านธนบุรี




ร่วมล่องเรือท่องเที่ยววิถีถิ่น ย่านบางกอกน้อยในวันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2556 สัมผัสแหล่งเรียนรู้วัดวาอาราม วิถีชีวิตริมน้ำ และร่วมอุดหนุนชุมชนท้องถิ่น ในงานฟื้นตลาดวัดทองของอร่อย ครั้งที่ 4 ของชาวบ้านบุอาทิ วัดหงส์รัตนาราม,พระราชวังเดิม, พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง,ตลาดวัดทอง, วัดสุวรรณนาราม, วัดศรีสุดาราม

นัดหมาย เวลา 08.00 น. ที่ท่าเรือราชนาวิกสภาถนนอรุณอัมรินทร์(เลยทางเข้าวัดระฆังฯ ประมาณ 500 เมตร)

ค่าลงทะเบียนท่านละ 250 บาทเป็นค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง วิทยากรท้องถิ่น อาหารว่างและเครื่องดื่ม ฯลฯ

ติดต่อจองที่นั่งได้ที่ นาวาตรีหญิงรศนาสมพงษ์ โทร 02 475 4185 และ 086 301 7736

ดำเนินการโดย กรมอู่ทหารเรือ, สำนักวัฒนธรรมกีฬา และการท่องเที่ยว และเครือข่ายท่องเที่ยวภาคประชาสังคมจองที่นั่งด่วนจำนวนจำกัด (ภาพโดย อาจารย์นิธิวุฒิ ศรีบุญชัยชูสกุล )

ข้อมูลภาพสถานที่ คำอธิบายเพิ่มเติม ดูได้ที่ลิ้งก์นี้เลยครับ

//www.facebook.com/media/set/?set=a.515783361795699.118677.100000921193824&type=1


แผนที่จุดนัดพบ 






ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebookตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลังซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ

//www.facebook.com/tourrattanakosin






 

Create Date : 30 มกราคม 2556    
Last Update : 30 มกราคม 2556 0:00:20 น.
Counter : 3157 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.