ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ชวนเที่ยวงานตลาดน้ำวิถีไทย คลองผดุงกรุงเกษม จะนั่ง รฟม. มาต่อเรือ ก็เท่ห์ไม่เบาครับ


คลองผดุงกรุงเกษมยามค่ำคืนครับ

เครดิตภาพ สำนักวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

สามารถนำรถยนต์ไปจอดได้ที่ราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) แต่ถ้าให้ดีแนะนำเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนต่างๆ เข้ามาครับ ในช่วงนี้มีบริการเรือฟรีล่องคลองผดุงกรุงเกษม(ตามรายละเอียดด้านล่างครับ)

............................................................

เป็นการรวมตัวกันแบบจัดเต็มครั้งแรกของตลาดน้ำเมืองกรุงและชานกรุง ทั้ง 6แห่ง ได้แก่

ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดน้ำวัดสะพานตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน ตลาดน้ำวัดกำแพง - คลองบางหลวง และตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง

พบกับชาวตลาดน้ำเหล่านี้ได้ในงานตลาดน้ำวิถีไทย คลองผดุงกรุงเกษม หน้าวัดโสมนัสวิหาร12 ก.พ. - 1 มี.ค. 58

........................................................

เครดิตบทความด้านล่างนี้และคลิปภาพใน youtube ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส แต่ขออนุญาตประยุกต์เสริมข้อมูลเรื่องท่าเรือรับนักท่องเที่ยวครับ

ทีมงานเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม ขอขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้ครับ 


คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ขุดขึ้นเมื่อปี 2394เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำและเคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญ ซึ่งในวันที่12 ก.พ.2558 จะมีการเปิดโครงการตลาดน้ำวิถีไทยคลองผดุงกรุงเกษม ขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะฟื้นคืนชีวิตให้กับคลองแห่งนี้อีกครั้ง




เส้นทางล่องเรือเริ่มจากคลองผดุงกรุงเกษม สะพานเจริญสวัสดิ์ 36 (แต่ขึ้นเรือที่ท่าเรือใกล้กับสะพานคนข้ามสีเขียวสะพานที่ 2 นับจากสะพานเจริญสวัสดิ์36 ถัดมาจากถนนพระราม 4 มาตามแนวคลอง) ที่สร้างขึ้นในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาที่36 ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวผ่านอาคารที่ทำการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ กรมรถไฟหลวงในอดีตผ่านสะพานกษัตริย์ศึก สถานที่รำลึกวีรกรรม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกที่เสร็จราชการทัพเมืองเขมร ผ่านมัสยิดมหานาคอันเป็นชุมชนมุสลิมครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ผ่านตลาดมหานาคตลาดขายส่งผลไม้ใหญ่ของ กทม.ก่อนยุคตลาดไท ผ่านตลาดนางเลิ้ง ตลาดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี รัชสมัยพระพุทธเจ้าหลวง แหล่งอาหารการกินที่มีชื่อเสียงและสิ้นสุดที่ท่าเรือโสมนัสรวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร




ตลาดน้ำคลองผดุงกรุงเกษมเคยมีมาแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นแต่ด้วยความเติบโตของสังคมเมืองทำให้ตลาดน้ำกลางเมืองหายไปนอกจากเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้การใช้ชีวิตตามวิถีริมน้ำ ยังเชื่อมโยงมิติทางวัฒนธรรมย่านเก่าแก่ของเกาะรัตนโกสินทร์อย่างชุมชนนางเลิ้งที่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี




ตลาดน้ำวิถีไทยคลองผดุงกรุงเกษมจัดขึ้นตามนโยบายรัฐบาลเพื่อคงความเป็นอัตลักษณ์ความเป็นไทยและส่งเสริมการท่องเที่ยวขณะนี้ กทม.จัดเตรียมความพร้อมไปแล้วกว่าร้อยละ 90 โดยจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นตลาดบกและตลาดน้ำ




สำหรับกิจกรรมตลาดน้ำจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 ก.พ.-1 มี.ค.นี้ เป็นเวลา 18 วัน โดยไม่มีวันหยุดตั้งแต่สะพานอรทัย ถนนลูกหลวงไปจนถึงบริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ เริ่มตั้งแต่เวลา 11.00-20.00 น.โดยหวังให้คลองผดุงกรุงเกษมเป็นต้นแบบตลาดน้ำสร้างเสน่ห์ให้กรุงเทพมหานคร ก่อนขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป



มีร้านอาหารย้อนยุคให้บริการมากมายประมาณ แปดสิบร้านค้าครับ

ในภาพเป็นไก่ย่างบางตาล ผู้ใหญ่วร เจ้าดัง เจ้าเก่าดั้งเดิมขายมาร่วม 50 ปี มาร่วมออกบูธ ร่วมลงเรือขายด้วยครับ



คลองผดุงกรุงเกษมยามค่ำคืนครับ

เครดิตภาพ สำนักวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

ชมคลิปภาพ





 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2558    
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2558 0:18:23 น.
Counter : 3858 Pageviews.  

ถนนที่น่าเดิน (Walkable Street) เค้าออกแบบกันยังไง อยากได้แบบนี้บ้างจัง

ขออ้างอิง นำช่วงบทนำ ในบทความของ Smart Growth Thailand เรื่อง แนวทางการปรับปรุงกายภาพถนนเพื่อสร้างเมืองมีชีวิตชีวา ตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/10/28/entry-1 เพื่อจะได้เข้าใจบทบาทถนนได้ดียิ่งขึ้นครับ

“ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในประเด็นรูปแบบและบทบาทของถนนได้ทำให้กระบวนการวางผังพัฒนาเมืองบิดเบี้ยวผิดฝาผิดตัวมาโดยตลอด เช่นตัวอย่างที่เข้าใจว่า ถนนนั้นสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการสัญจรด้วยรถยนต์แต่เพียงอย่างเดียว หรือแม้แต่รูปแบบและส่วนประกอบของถนนจะต้องตอบสนองต่อการใช้ความเร็วของรถยนต์ ในข้อเท็จจริงทางวิชาการ ถนนมีหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งซึ่งต้องออกแบบให้ตอบสนองต่อการใช้งานตามบทบาทของแต่ละพื้นที่ เช่น บทบาทของถนนในพื้นที่เขตเมือง ถนนจะต้องรองรับระบบการสัญจรสีเขียวซึ่งได้แก่ การเดิน การใช้จักรยาน และการใช้ระบบการขนส่งมวลชน ส่วนพื้นที่บริเวณใจกลางย่านและชุมชน ถนนอาจถูกเปลี่ยนบทบาทเป็นสถานที่สาธารณะซึ่งชุมชนสามารถใช้ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคม และนันทนาการ เมื่อหน้าที่ของถนนถูกเปลี่ยนแปลงไปตามบทบาทของแต่ละพื้นที่ จึงส่งผลให้รูปแบบและลักษณะการวางผังออกแบบที่เกี่ยวข้องกับถนนต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งบทความนี้จะได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ของถนนในฐานะส่วนประกอบเมือง และความสำคัญของถนนในฐานะของโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจและความมีชีวิตชีวาให้กับเมือง”

...............................................................................................

ส่วนในบล็อกนี้ ผมได้นำภาพจากลิ้งก์ //walkonomics.com/blog/take-a-tour-of-a-walkable-street/

มาต่อยอด พร้อมเพิ่มเติมคำบรรยาย (แปลจากตัวหนังสือในรูป)เกี่ยวกับลักษณะการออกแบบถนนที่น่าเดิน ในโลกยุคปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับคนเดิน(การสัญจรทางเท้า) เป็นลำดับแรกสุด

ส่วนในประเทศไทย จะมีท่านใดคิดกันหรือยัง ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ

เครดิตภาพ ที่มา //walkonomics.com/blog/take-a-tour-of-a-walkable-street/

เครดิตจาก บทความสั้นๆ ใน Smart Growth Thailand ตามลิ้งก์

https://www.facebook.com/SmartGrowthThailand/posts/848990601808935





ภาพที่ 1 : ถนนที่น่าเดิน เมืองที่น่าอยู่(ดูกันไปทีละภาพตั้งแต่ภาพที่ 2-8 ครับ)



ภาพที่ 2 : ถนนต้องมีความปลอดภัย สำหรับคนเดินคนข้ามถนน ยานพาหนะต้องใช้ความเร็วต่ำ

ที่จะผ่านถนนเส้นนี้ (จำกัดความเร็ว) คนเดินคนใช้ถนนจะได้มีความปลอดภัย



ภาพที่ 3 : ข้ามถนนได้สะดวก คนรอข้ามต้องรอไม่นานครับ


ภาพที่ 4 : บาทวิถี ทางเดิน ต้องกว้างๆ หน่อยครับ


ภาพที่ 5 : ถนนทางพื้นเรียบๆ ใช้พลังงานน้อย ในการเดินและเดินได้เร็วขึ้น 

คนแก่ คนเฒ่า ผู้ทุพพลภาพ (บางท่าน) ก็สามารถข้ามถนนนี้ได้



ภาพที่ 6 : มีป้ายบอกทิศทาง ชื่อถนนมีการติดอุปกรณ์ให้แสงสว่างอย่างครบถ้วน



ภาพที่ 7 : ออกแบบให้ความปลอดภัยทั้งกลางวันและกลางคืน



ภาพที่ 8 : ออกแบบเป็นการสัญจรสีเขียว (Green Mobility) เพื่อคนทุกคน



ภาพที่ 9 : ออกแบบ สำหรับคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน



ชมคลิปภาพสไลด์โชว์ทั้ง 9 ภาพครับ







 

Create Date : 28 มกราคม 2558    
Last Update : 28 มกราคม 2558 21:20:33 น.
Counter : 1141 Pageviews.  

เมืองที่ใช้หลักการให้ความสำคัญกับมนุษย์มาก่อนรถยนต์ เค้าออกแบบแก้ไขเมืองกันยังไง




ในหลายสิบประเทศที่ในอดีตมีการออกแบบเมืองเอื้อให้ระบบการขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลเคลื่อนตัวไปด้วยการทำความเร็วจนมองข้ามคนเดินเท้า และคนปั่นจักรยานแต่เนื่องจากคนในประเทศเหล่านั้นเข้าใจถึงสิทธิ์ของคนเดินเท้า ของคนปั่นจักรยานเป็นอย่างดี กอรปกับผู้บริหารเมือง ผู้บริหารท้องถิ่น และองค์กรภาคประชาคมเห็นพ้องต้องกันว่า ในอดีตมีการออกแบบเมืองที่ผิดพลาด

ปัจจุบัน เค้ายอมรับความจริง และรีบปรับเปลี่ยนแก้ไขเมืองเค้าโดยยึดหลักสากล คนต้องมาก่อน เครื่องยนต์ คนเดิน คนปั่นจักรยานต้องมาก่อนผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล (ตามภาพที่ 5 ด้านล่าง)

โดยหลายสิบประเทศ ใช้ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบรางเป็นหัวหอก เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ***ในการสร้างทางเลือกการเดินทางที่มีความหลากหลายโดยใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นตัวนำในการปรับเปลี่ยนกายภาพเมืองและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน

ส่วนบ้านเรา จะก้าวไปข้างหน้า เรื่องการผัง การออกแบบเมืองอย่างไรก็ต้องคอยติดตามกันครับ เพราะมันจะมีผลถึงลูกหลานเราในอนาคตครับ



แก้ไขออกแบบเมืองใหม่ โดยจัดลำดับความสำคัญของการสัญจรโดยให้ความสำคัญของมนุษย์ มากกว่ารถยนต์

ที่มา //www.smartgrowthamerica.org/2011/01/26/redefining-success/




เพิ่มพื้นที่คนเดินเท้า โดยเปลี่ยนลดพื้นที่ถนนบางส่วน

หลายสิบเมือง ปรับเปลี่ยนเมืองเพื่อมนุษย์ กันอย่างจริงจัง

ที่มา Landscape Architects Network

Taking the streets back. Well partially, a partial revolution.

Image: Mexico City transformed into a people-friendly gateway toZócalo.



ที่มา //www.pps.org/blog/shared-space-and-slow-zones-comparing-public-space-in-paris-and-new-york/



ที่มา //www.pps.org/blog/shared-space-and-slow-zones-comparing-public-space-in-paris-and-new-york/



ตามหลักสากล ในลำดับความสำคัญของการสัญจร คนใช้ทางเท้า (คนเดิน)และคนปั่นจักรยาน ต้องให้ความสำคัญแรกสุดครับ ตามด้วยระบบขนส่งมวลชนสาธารณะส่วนรถยนต์ส่วนบุคคล กินพื้นที่ถนนเยอะ แต่ขนคนได้น้อยเทียบต่อยูนิตความสำคัญอยู่ที่ท้ายๆ ครับ



โดยหลายสิบประเทศ ใช้ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบรางเป็นหัวหอก เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ***ในการสร้างทางเลือกการเดินทางที่มีความหลากหลายโดยใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นตัวนำในการปรับเปลี่ยนกายภาพเมืองและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนอ้างอิง //www.oknation.net/blog/smartgrowththailand/2015/01/09/entry-2***





 

Create Date : 12 มกราคม 2558    
Last Update : 12 มกราคม 2558 16:18:57 น.
Counter : 1676 Pageviews.  

ชวนเที่ยวทริป ชมวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร-บ้านพิบูลธรรม-วังสระปทุม 17 ม.ค. 58



สำหรับท่านที่สนใจไปชมวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร-บ้านพิบูลธรรม-วังสระปทุมด้วยกันในวันเสาร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๘กรุณาสมัครและโอนสตางค์เพื่อร่วมกิจกรรมอย่างช้าภายในวันพุธที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๘(เนื่องจากต้องทราบยอดผู้ร่วมกิจกรรมที่แน่นอน ซึ่งผู้จัดต้องแจ้งจำนวนผู้เข้าชมและโอนเงินค่าเข้าชมเข้าบัญชีพิพิธภัณฑ์วังสระปทุมล่วงหน้า)เมื่อโอนสตางค์แล้ว กรุณาแจ้งชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ อีเมล์ชื่อในเฟซบุ๊ค ของทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมและสำเนาสลิปธนาคารที่โอนสตางค์ส่งใน
inbox นัท จุล

ตามลิ้งก์ https://www.facebook.com/nutchulapassorn

สรรพ์สารศิลป์ ครั้งที่ ๒๒

ยลสรรพศิลป์งามวิจิตร พินิจสถาน บ้าน-วัด-วังครั้งรุ่งเรือง

(วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร-บ้านพิบูลธรรม-วังสระปทุม)

วันเสาร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๘

*********************************

๐๘.๐๐ น. พบกัน ณ จุดนัดหมายบริเวณลานข้างพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ลงทะเบียน

และรับเอกสาร

๐๘.๓๐ น.รำลึกเรื่องราวความเป็นมาอันน่าสนใจของพระอารามหลวง ซึ่งรัชกาลที่ ๕โปรดเกล้าฯให้สร้าง

ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศลสนองพระคุณแห่งสมเด็จพระเทพศิรินทราบรม

ราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนีของพระองค์ที่ได้สิ้นพระชนม์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ยังทรงพระเยาว์

ชมความงดงามทางศิลปกรรมทั้งภายนอกและภายในของพระอุโบสถของวัดเทพศิรินทราวาส

ซึ่งมีขนาดใหญ่และตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจงตื่นตากับความงดงามอลังการของลวดลายเพดาน

ที่จำหลักลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์และบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปอันสง่างามนมัสการ

พร้อมฟังเกร็ดเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจริยวัตรอันสมถะของพระภิกษุพระยานรรัตน์ราชมานิต(ธมฺมวิตต

โก) ซึ่งเป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนสืบค้นปริศนาธรรมที่แฝงเร้นในการวางแผนผังวัด พร้อม

เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ณ ตึกโชฎึกเลาหะเศรษฐี ซึ่งจัดแสดง

เรื่องราวความเป็นมาและเกียรติภูมิของโรงเรียนไว้อย่างน่าสนใจ

๑๐.๐๐ น. ออกเดินเท้าเลียบตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมซึ่งรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเพื่อเป็นคู

พระนครและใช้เพื่อการสัญจรในครั้งอดีต มุ่งสู่"บ้านพิบูลธรรม" หรือที่เรียกขานกันว่า บ้านนนที

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทาน

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้มมาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง(บ้านนี้มีชื่อว่า

บ้านนนที ตามชื่อวัวพระนนทิการซึ่งเป็นเทวพาหนะของพระอิศวร โดยตราประจำเสนาบดี

กระทรวงวัง คือตราพระมหาเทพทรงพระนนทิการ)ชมความงดงามทางสถาปัตยกรรมของอาคาร

ทั้งลวดลายประดับและภาพจิตรกรรมที่ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดยคณะช่างชาว

อิตาเลียนดื่มด่ำกับความงามเป็นเลิศและรูปลักษณ์แปลกตาของภาพจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์

เขียนด้วยเทคนิคสีปูนเปียก(fresco)โดยจิตรกรชาวอิตาลีผู้มากด้วยฝีมือนามCarlo Rigoli

ซึ่งบ้านหลังนี้เคยเป็นฉากละครโทรทัศน์ชื่อดังเรื่อง"สุภาพบุรุษจุฑาเทพ"อีกด้วย

๑๒.๐๐ น.รับประทานอาหารกลางวันหลากรสตามอัธยาศัย

๑๓.๓๐ น.ฟื้นความหลังเกร็ดเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับพระประวัติพร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการพระราช

กรณียกิจอันเป็นแบบอย่างอันดีงามแห่งการดำรงชีวิตที่อำนวยประโยชน์สุขแก่คนหมู่มากของ

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณพระตำหนักวังสระปทุม ซึ่งแบ่งส่วนการจัดแสดง ดังนี้

การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

การจัดแสดงแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ

๑. หอนิทรรศการ จัดแสดงนิทรรศการ เรื่องสายธารประวัติสว่างวัฒน์พิพิธภัณฑสถานซึ่งประกอบไปด้วยพระราชประวัติสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าและนิทรรศการการบูรณะซ่อมแซมพระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม

๒. พระตำหนักใหญ่เป็นพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ ตราบจนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๙๘เล่ากันว่าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงคิดผังพระตำหนักด้วยพระองค์เองทรงใช้ไม้ขีดไฟบ้าง หางพลูบ้าง ทำเป็นผังแล้วจึงทรงให้สถาปนิกออกแบบถวายตามพระราชประสงค์คาดว่าพระตำหนักใหญ่น่าจะสร้างแล้วเสร็จในช่วง พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๕๘

การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม ได้จัดห้องต่างๆ ไว้เป็น ๓ ช่วงเวลา คือ

ช่วงที่ ๑เป็นช่วงของการสร้างพระตำหนักแล้วเสร็จ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนสงขลานครินทร์(สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) เสด็จฯกลับจากต่างประเทศมาประทับอยู่ ซึ่งจัดแสดงในห้องพิธีและห้องรับแขกช่วงนี้ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญอันเป็นมงคลยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย กล่าวคือได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนสงขลานครินทร์ กับ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครั้งยังทรงเป็นนางสาวสังวาลย์ตะละภัฏ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสังข์ ณพระตำหนักใหญ่ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓

ช่วงที่ ๒ เป็นช่วงที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเสกสมรสและมีพระราชธิดาแล้วหนึ่งพระองค์ ทรงพาครอบครัวเสด็จฯกลับจากประเทศอังกฤษ และมาประทับอยู่ที่วังสระปทุมอีกวาระหนึ่งการจัดสิ่งของเครื่องใช้ในห้องแสดงของพิพิธภัณฑ์ฯ ในช่วงนี้ได้แก่ห้องเทาและห้องทรงพระอักษร

ช่วงที่ ๓ จัดแสดงในห้องทรงพระสำราญห้องทรงนมัสการ และห้องพระบรรทม เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์มีพระราชโอรสเพิ่มขึ้นอีก๒ พระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์ เสด็จฯ กลับจากสหรัฐอเมริกาพร้อมครอบครัว

นอกจากนี้บริเวณ “เฉลียงพระตำหนักใหญ่ชั้นบน” ในช่วงปลายพระชนม์ชีพสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโปรดที่จะประทับตรงเฉลียงชั้นบนหน้าห้องพระบรรทมซึ่งปัจจุบันจัดเป็นห้องทรงนมัสการเมื่อทรงตื่นบรรทมแล้วจะเสด็จออกมาประทับที่เฉลียงตลอดทั้งวัน เสวยพระกระยาหาร ณที่นี้ด้วย บริเวณนี้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าคือทรงเป็นประธานในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

“ห้องนิทรรศการ” จัดแสดงเอกสารและของใช้ส่วนพระองค์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

“เจ๊กตู้” เจ๊กหาบตู้ขายของมีป๋องแป๋งแกว่งเพื่อบอกให้รู้ว่ามาสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้เข้าไปขายในวังสระปทุมเป็นปกติ เพราะมีของถูกๆแปลกๆ ให้พระราชนัดดาทั้ง ๓ พระองค์ได้ทรงเลือกซื้อ

๑๗.๐๐ น.แยกย้ายกันเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพและเปี่ยมด้วยความประทับใจ

*********************************************************

*กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

นำชมโดย : จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา(นัท)วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม

อัตราค่าร่วมกิจกรรม ท่านละ ๑,๐๐๐ บาท(หนึ่งพันบาทถ้วน) รวมค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์วังสระปทุม

สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณจุลภัสสร พนมวัน ณอยุธยา(นัท) โทร.๐-๘๑๓๔๓-๔๒๖๑

การสำรองเข้าร่วมกิจกรรม

๑.โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์(จำกัด) มหาชน สาขาสุขุมวิท ซอย ๗๑ ในนาม

นายจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา เลขที่บัญชี๐๗๑-๒๘๓๕๑๑-๕ ภายในวันพุธที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๘

๒.เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาโทรศัพท์หรือส่ง SMS ยืนยันเข้าร่วมกิจกรรมที่โทร.๐-๘๑๓๔๓-๔๒๖๑ หรือ

กล่องข้อความ(inbox)ในเฟซบุ๊ค นัท จุล ตามลิ้งก์ https://www.facebook.com/nutchulapassorn

โดยระบุชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่นหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก

อีเมล์ แอดเดรส และชื่อในเฟซบุ๊คเพื่อความสะดวกในการแจ้งข่าวสารกิจกรรมให้ท่านทราบต่อไปและเพื่อรักษาสิทธิ์ของท่านพร้อมทั้งนำสลิปรายการโอนเงินมาให้ในวันที่จัดกิจกรรม โดยระบุชื่อ-นามสกุลหมายเลขโทรศัพท์ของท่านรวมถึงผู้ร่วมคณะของท่านในใบสลิปอย่างชัดเจนเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบของผู้จัดกิจกรรม

๓.หากท่านได้โอนเงินมาแล้วแต่ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมตามที่ได้แจ้งไว้ได้ อาจมอบให้ผู้อื่นมาแทนได้โดยแจ้งให้ผู้จัดทราบล่วงหน้าอย่างน้อย๕ วัน ก่อนวันจัดกิจกรรม หากไม่แจ้งตามกำหนดดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน

๔.รับเฉพาะผู้สนใจชาวไทย

รับจำนวนจำกัด

ระเบียบในการเข้าชมสถานที่

๑.กรุณาแต่งกายสุภาพเพื่อเป็นการเคารพสถานที่ซึ่งไปเข้าเยี่ยมชมเนื่องจากเป็นสถานที่ราชการ

และศาสนสถาน

-สุภาพบุรุษ(งดกางเกงขาสั้นและเสื้อไม่มีแขน)

-สุภาพสตรี(กรุณาสวมกระโปรงคลุมเข่าหรือผ้าซิ่นห้ามแต่งกายสีดำล้วน สีขาวดำ เสื้อไม่มีแขน และกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น)

๒.กรุณาปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่ทุกแห่งที่เข้าไปเยี่ยมชมเช่น ไม่ล่วงล้ำและถ่ายภาพบางพื้นที่ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่




 

Create Date : 02 มกราคม 2558    
Last Update : 2 มกราคม 2558 23:53:13 น.
Counter : 1342 Pageviews.  

ที่นี่เมืองไทย (กทม.) เมืองของรถ หรือเมืองของคน? ..แก้ไขการออกแบบเมืองด่วน !!


ภาพที่ 1 Land for Vehicles or People? (เมืองของรถ หรือเมืองของคน)

Credit: //www.planetizen.com/node/72454

ที่นี่เมืองไทย (กทม.) เมืองของรถ หรือเมืองของคน?? ...

จังหวัดอื่นๆ ต้องดูเป็นตัวอย่างด้วยครับ

ปรับเปลี่ยนการออกแบบเมืองกันด่วน ขอรับเจ้านาย ....ถ้าหลายองค์กร ยังหูทวนลมไม่ร่วมมือกันอย่างจริงจังวันนี้ วันหน้าก็เป็นภาระอันยิ่งใหญ่ของลูกหลานเรา


ภาพที่ 2 : น่าจะลดปัญหาจราจรลงได้เยอะเลย และลดโลกร้อนลดมลพิษในเมืองได้อีกมาก ถ้าส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนกันอย่างจริงจัง

เครดิต //mikkosmostlyharmless.blogspot.com/2013/12/private-cars-vs-public-transportation.html

เปรียบเทียบ

รถส่วนบุคคล VS ขนส่งมวลชนสาธารณะ

ในภาพซ้ายมือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกือบร้อยคันเรียงกันกินพื้นที่ถนนไปยาวเหยียด

ส่วนภาพขวามือ เป็นขนส่งมวลชน 1 คันมีรถพ่วงอีก 1 คัน (กินพื้นที่ถนนน้อยกว่าเยอะ)สามารถรองรับผู้ขับขี่ทางด้านซ้ายมือทั้ง 100 คน ที่ลงมาขึ้นรถขนส่งมวลชนได้ทั้งหมด

ต่างประเทศ พื้นที่ถนนในเมืองใหญ่เค้าก็มีจำกัดเหมือนกันเค้าถึงส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะขนส่งมวลชนบนผิวดินในความเห็นของผม บ้านเราตราบใดที่ไปให้ความสำคัญกับรถส่วนบุคคลมากเกินไปก็ไม่มีทางแก้ปัญหาจราจร จลาจลได้ครับ


ภาพที่ 3 ภาพกราฟฟิค แสดง มาตรฐานสากลของทั่วโลกให้ความสำคัญกับมนุษย์

(ผู้ใช้ทางเท้า คนเดิน) มาเป็นลำดับแรกเลย ตามด้วยการส่งเสริมการปั่นจักรยาน

ฝากถึงผู้บริหารเมือง และผู้เกี่ยวข้อง (อีกครั้ง)

ถ้าท่านคิดจะแก้ไขเรื่องการจราจรอย่างครบวงจร โดยการออกแบบเมืองท่านต้องเอาคนเป็นตัวตั้ง (ให้ความสำคัญแรกสุด) ผมคิดว่าจะแก้ปัญหาจรจารอย่างยั่งยืนได้อย่างแน่นอนครับ...

ผู้บริหารเมืองยุคใหม่ในโลกนี้ เค้าทำจริง และผลลัพธ์ก็ออกมาดีทุกเมือง

ผู้บริหารเมืองไทย (รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง หน่วยงานต่างๆ) ก็น่าจะทราบเช่นกันแต่การลงมือทำ ยังดูห่างไกลครับ




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2557    
Last Update : 15 ธันวาคม 2557 20:48:26 น.
Counter : 1269 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.