Group Blog
All Blog
--- ห นั ง สื อ เ ล่ ม นี้ ฉั น ช อ บ ---















เพิ่งอ่าน'ร า ชั น ผู้ พ ลั ด แ ผ่ น ดิ น เ มื่ อ พ ม่ า เ สี ย เ มือ ง’
จบเช้านี้ อ่านเต็มที่สองวัน อ่านแบบกลัวหนังสือจะจบ ทั้งเศร้า สะเทือนใจ เห็นใจและเข้าใจในความเป็นไปในภาวะนั้น ๆ ของกษัตริย์ ( แอบนึกถึงจักรพรรดิ์ปูยีเหมือนกัน )หลังจากที่อ่าน 'ราชินีศุภยาลัต' และ 'พม่ารำลึก ' จบไปก่อนหน้านี้ไม่นาน

เมื่อต้นปีได้อ่าน 'จิบพม่าตามหาจอร์จ ออร์เวลล์' และ 'สิ้นแสงฉาน' สองเล่มนั้นยังประทับใจและตรึงใจมาก

ฉันเปิดใจและเปลี่ยนมุมมองจากเดิมเกี่ยวกับเรื่องราวของพม่าตั้งแต่ได้อ่าน ' ไ ป เ ป็ น เจ้ า ช า ย ใน แ ค ว้ น ศั ต รู ' ของคามิน คมนีย์

ดีใจที่ได้อ่านทุกเล่มที่เอ่ยชื่อมานี้ ชอบมากทุกเล่ม ขอบคุณผู้เขียน ขอบคุณผู้แปลและผู้จัดทำ
















หนังสือเล่มนี้เป็นงานเขียนทรงคุณค่ามากอีกเล่มหนึ่ง(สำหรับเรา)ที่นอกจากอ่านสนุกด้วยภาษาสละสลวยและถ่ายทอดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ได้อย่างประณีต ละเอียดลออแล้ว ยังเห็นแง่มุมที่เศร้าสะเทือนใจ พร้อมคืนชีวิต ความเข้าใจผิดที่มีต่อกษัตริย์พม่าและพระราชินีศุภนาลัต เราจะเห็นความเป็นไป ความผันแปรของกษัตริย์และเจ้าหญิงทุกพระองค์


โดยรวมจะเป็นเรื่องราวของพระเจ้าธีบอและพระมเหษีศุภยาลัตถูกถอดจากบัลลังก์ปลายปี 1885 หลังจากพ่ายแพ้สงครามกับอังกฤษจนทำให้สูญเสียราชอาณาจักร ทั้งสองพระองค์ถูกนำเสด็จจากพระราชวังมัณฑะเลย์ไปประทับที่เมืองรัตนคีรีในอินเดียนานถึง 31 ปี อันเป็นที่พำนักพลัดถิ่นของอดีตกษัตริย์และครอบครัว ผู้เขียนนำเสนอถึงพวกเขาอย่างสามัญ... เยี่ยงคนธรรมดา

ผู้เขียนได้ถ่ายทอดชะตากรรมที่ถดถอยของประเทศและทุกชีวิตในครอบครัวของพระเจ้าธีบอในทุกมิติ ทั้งงดงาม หม่นเศร้า หยิ่งยโส ต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ในความเห็นของพระนางศุภนาลัต พวกอังกฤษน่ารังเกียจ ขาวข้างนอก แต่ดำอยู่ข้างใน แต่กระนั้นพระนางก็สำนึกในความผิดที่ทำให้ระบบกษัตริย์ล่มสลายจนถูกเนรเทศไปรัตนคีรีกว่าสามสิบปี แม้กระทั่งพระศพของพระเจ้าธีบอก็ไม่ได้กลับมัณฑะเลย์ เจดีย์ที่เก็บพระศพของพระเจ้าธีบอและเจ้าหญิงใหญ่อยู่ที่รัตนคีรี แต่พระราชีนีศุภยาลัตต่อสู้จนได้คืนสู่แผ่นดินแม่ในบั้นปลายของชีวิต ทุกเรื่องราวในอดีตยังคงอยู่ในความทรงจำของลูกหลานของพระนาง ทุกพระองค์ดำเนินชีวิตโดยละความเกลียดชังและความโกรธแค้นเพื่อก้าวข้ามอดีตในด้านลบ ส่วนความหวังถึงอนาคตราชวงศ์นั้น...ได้สลายลงไปนานแล้ว














พม่ารำลึก เป็นนวนิยายเรื่องแรกของออร์เวลล์ที่อ่านได้ลื่นไหล ไม่ต้องตีความเชิงสัญลักษณ์ซับซ้อนแต่ยังคงเสียดสีเพื่อนร่วมชาติได้แสบลึกในฐานะเจ้าอาณานิคมที่แทรกซึมเข้าไปทุกอณูของชีวิตของชาวพม่าไม่ว่าจะวิธีคิด เหยียดหยัน ข่มขี่ข่มเหง ความรุนแรง เห็นความเจ้าเล่ห์เพทุบายช่วงชิงอำนาจแสวงหาผลประโยชน์ ทะเยอทะยาน วิ่งเต้นสร้างเรื่องในแวดวงการเมือง ทั้งน่าอึดอัดแต่ก็ลุ้น เร้าใจให้ติดตามและออกตัวเชียร์ ฟลอรี่ ฝรั่งผิวขาวชาวอังกฤษที่เข้าใจและเห็นอกเห็นใจชนพื้นเมืองชาวพม่า
.
เขาถูกครหาจากพวกเดียวกัน มีเพื่อนเป็นหมอชาวอินเดียที่เทิดทูนวัฒนธรรมอังกฤษแบบถวายชีวิตหรือเป็นคนอังกฤษยิ่งกว่าคนอังกฤษเสียอีก
.
เขาเป็นพระเอกที่ไม่ได้มีความสมบูรณ์แบบใด ๆ เลย มีความเป็นมนุษย์สูง มีความคิดเห็นทั้งเชิงบวกและลบ มีทัศนคติทีรวบรวมความรู้สึกแย่ ๆ มากองไว้ในตัวละครที่คล้ายกับความรู้สึกจากประสบการณ์ส่วนตัวของเขาเองสมัยที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในพม่า (เราคิดนะ) อาจจะดูอคติกับเพื่อนร่วมชาติอย่างช่วยไม่ได้ ดังที่เขาสบถเสียดสีใส่ตัวละครตัวหนึ่งว่า ‘ ...ไอ้ชาติหมา ขี้ขลาด หลังยาว ขี้เมา สำส่อน ชอบวิเคราะห์จิตใจ ช่างสงสารตัวเอง...’

เนื้อหายังลงลึกในชีวิตประจำวันอย่างมีมิติและสีสัน สะท้านสะเทือนใจ สะสาใจที่ผู้เขียนปิดฉากอูโพจีง (ชนพื้นเมืองผู้ไต่เต้าจากความต่ำต้อย ทะเยอทะยานวางแผนชั่วร้ายเพื่อจะได้ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สูงสุดในสโมสรชาวผิวขาว )ในแบบที่ตัวเขาเองไม่เคยนึกถึง

ฉันแอบเชียร์ให้ชายวัยสามสิบห้า ผิวซีดเหลือง มีปานอันน่าชังเป็นรูปเสี้ยวจันทร์ขยุกขยิกที่แก้มข้างซ้ายคนนี้สมหวังในความรักบนดินแดนแปลกที่แปลกทางบ้างเถิด
.
แต่ชีวิตเราก็เท่านี้จริง ๆ ถอนใจเฮือก...ดัง ๆ ...

เป็นนวนิยายอีกเล่มที่ได้ครบรสชาติ
ยอดเยี่ยม ชอบมาก ๆ ขอบคุณค่ะ











ผู้เขียนเรื่อง ' จิบพม่า ตามหาจอร์จ ออร์เวลล์' ประวัติศาสตร์ระหว่างบรรทัดในร้านน้ำชา เล่มนี้ เป็นนักเขียนสตรีชาวอเมริกันคือ เอ็มม่า ลาร์คิน (Emma Larkin) เป็นผู้หญิงเก่งที่คุ้นเคยกับเอเชียอย่างดี เธอช่ำชองภาษาพม่าด้วยการเริ่มเรียนภาษาที่แสนยากนี้ที่กรุงลอนดอน เธอเข้า ๆ ออก ๆ พม่าในยุคเผด็จการเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ เธอเป็นผู้หญิงที่มีความสามารถเดินท่อม ๆ คนเดียวท่ามกลางสังคมที่ทหารชายใหญ่คับแผ่นดิน เธอนั่งจิบชาหาข้อมูลเกี่ยวกับชีวิต 5 ปีของออร์เวลล์สมัยที่เขาเป็นข้าราชการตำรวจอยู่ในพม่า ไม่ว่าจะลุยไปในมัณฑะเลย์ ในภูมิภาคดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี ในย่างกุ้ง เมาะละแหม่งและท้ายสุดที่กะต่า เมืองเล็ก ๆ ทางตอนเหนือของพม่าติดกับรัฐฉาน เธอไปในที่ที่ชายอกสามศอกอาจจะไม่กล้าไป

ทั้งหมด 5 บทนี้เป็นฉากที่เอ็มม่าใช้เดินเรื่องในการ 'ตามหา' จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนขวัญใจของเธอ แต่สิ่งที่น่าทึ่งในงานเขียนชิ้นนี้คือ การทำการบ้าน เอ็มม่าอ่านงานเขียนของออร์เวลล์ทุกเรื่องอย่างทะลุปรุโปร่ง มีทั้งสารคดี นวนิยายและเรื่องสั้นที่เธออ้างถึง ตลอดจนจดหมายของออร์เวลล์

เช่น นิยายทุกเรื่องของออร์เวลล์จบลงด้วยความพ่ายแพ้ ตัวละครพยายามต่อสู้กับระบบ วินสตัน สมิธ ใน 1984 เขาถูกทรมานและถูกเค้นความลับจนหมดสิ้น หรือใน เบอร์มีส เดย์ส จอห์น เฟลอรี่ตายที่กะต่า แม้เขาจะสนิทกับหมอวีรสวามี แต่เขาไม่มีความกล้าพอที่จะเสนอชื่อหมอเข้าเป็นสมาชิกสโมสร เป็นต้น




ฉันชอบลีลาการเล่าเรื่อง มีทั้งตลกร้ายที่เศร้าลึกรวมถึงการลงลึกถึงข้อมูล ชอบบทสนทนาของเอ็มม่ากับผู้คน เปี่ยมไปด้วยศิลปะในการดึงความรู้สึกนึกคิดมาระบายเป็นภาพความเป็นจริงอันขื่นขมของผู้คนไปกับการจิบชาที่มีรสชาติกลมกล่อมแปมความปร่าขมของน้ำตา มิติของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวราวกับมะเร็งร้ายของผู้คนในพม่า ฉันสลดใจกับเรื่องราวในคุกและทุกความโหดร้ายในพม่า เราปรารถนาจะเรียนรู้วันเวลาในพม่ามากกว่าความเกลียดชัง
ที่นั่น..ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ มักถูกลบทิ้งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะถูกบันทึกในรูปแบบของจดหมาย เอกสารข้อมูลหรือความทรงจำ

สิ่งที่สะเทือนใจมากที่สุดคือ การที่รัฐบาลจงใจทำลายระบบการศึกษา ไม่สามารถจินตนาการถึงอนาคต ไร้ซึ่งแสงแห่งความหวังทั้งปวง นับเป็นโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศ

วันเวลาในพม่าเป็นจุดหักเหสำคัญในชีวิตของออร์เวลล์ ความเกลียดชังของออร์เวลล์ต่อลัทธิล่าอาณานิคมซึ่งถูกหล่อเลี้ยงด้วยความโดดเดี่ยวและอากาศอ้าวระอุ เติบโตงอกงามเหมือนดอกไม้ในเรือนกระจก การอ่านครั้งนี้ทำให้ซาบซึ้งกับการมีชีวิตอยู่ของเพื่อนมนุษย์คนอื่น ๆ

ออร์เวลล์สักร่างกายขณะที่อยู่พม่า เพราะเขาเชื่อว่ารอยสักคุ้มครองป้องกันกระสุน งูพิษและมนต์ดำ รอยสักนี้ยืนยันถึงแรงกระตุ้นของออร์เวลล์ที่จะแยกตัวออกจากสังคมความเป็นนายของเจ้าอาณานิคมด้วย อังกฤษทำลายสถาบันการปกครองดั้งเดิมของพม่าทั้งระบบกษัตริย์และสถาบันสงฆ์

อ่านแล้ว รู้สึกร่วมกับเขาว่า เขาและเราต่างเป็นมนุษย์เดินดินด้วยกันทั้งนั้น เราเห็น เราได้ยิน เรารู้สึก เราเข้าใจ บนโลกใบเดียวกัน
ทุกตัวอักษรของเขาดูบอบช้ำ สะเทือนใจในวังวนของประวัติศาสตร์ที่พร่ำบอกเราเสมอว่า รัฐบาลที่ปกครองประเทศโดยขัดต่อเจตจำนงของประชาชนนั้นไม่มีทางยั่งยืนนาน และกลับมามองบ้านเราอย่างพิจารณาอีกครั้ง อ่านเขาและจะได้อ่านเราต่อ




















ความโดดเด่นของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่พิถีพิถันในการเลือกเนื้อหามาตั้งแต่ต้น ผู้อ่านจะเห็นสัจธรรมที่ผู้เขียนสอดแทรกไว้ ฟีลดิ้ง-ฮอลล์ชี้ให้เราเห็นถึงการเกิด ความตกต่ำและการเสื่อมสลายของราชธานีอย่างมัณฑะเลย์และยังให้เห็นถึงการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองและคลี่คลายประวัติศาสตร์ของเมือง จากที่มัณฑะเลย์เคยเป็นศูนย์กลางของราชวงศ์พม่าจนกลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของอังกฤษในพม่าตอนบน ความเจริญมั่คั่งทางการค้าทำให้ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลสู่เมือง เมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็น เมืองบาป อันเป็นแหล่งอบายมุขทุกประเภท ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมายอย่างคนไร้บ้านและผู้คนที่หมดเนื้อประดาตัวจากการพนัน...

เรื่องที่ว่ากษัตริย์เป็นคนขี้เมานั้น..ทุกคนที่ใส่ใจใคร่รู้ก็ย่อมได้เรียนรู้ด้วยว่าพระเจ้าธีบอเป็นชาวพุทธที่เคร่งครัด เคยบวชเรียนมาก่อนจะขึ้นครองราชย์ อีกทั้งได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากสังฆราชผู้เป็นที่เคารพบูชา

ส่วนเรื่องที่พระนางศุภยาลัตโหดร้ายกระหายเลือด ก็ไม่เห็นว่าพระนางต่างจากสตรีพม่าอื่น ๆ ตรงไหน ใครรู้จักผู้หญิงพม่าคงไม่อาจกล่าวหาสตรีจิตใจอ่อนโยนและกิริยานุ่มนวลอย่างที่พวกเรายกย่องว่าโหดร้ายได้ พระเจ้าธีบอรักพระนางมากและพระนางก็รักพระองค์มากเช่นกัน หากพระนางร้ายกาจจริงอย่างที่คนกล่าวหา จะทรงเป็นทั้งผู้รักและผู้ได้รับความรักเยี่ยงนี้หรือ

ทุกเรื่องมีเรื่องเล่า...และหลายเรื่องเล่าย่อมรวมถึงเรื่องลับ

'ใครก็ตามที่รู้จักพระนาง
จะรู้สึกได้เพียงสองประการเท่านั้น
ถ้าไม่รักตราบนิรันดร์ ก็จะชิงชังพระนาง
เหมือนที่บุรุษเกลียดและกลัวความตาย'

::

ราชินี ศุภยาลัต
จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน







ขอบคุณค่ะ
ภูพเยีย






















Create Date : 18 ธันวาคม 2560
Last Update : 18 ธันวาคม 2560 8:54:57 น.
Counter : 1092 Pageviews.

3 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณfor a long time

  

ขออนุญาตต่อที่คอมเม้นต์ เพราะโพสต์ไม่ขึ้นค่ะ




ความโดดเด่นของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่พิถีพิถันในการเลือกเนื้อหามาตั้งแต่ต้น ผู้อ่านจะเห็นสัจธรรมที่ผู้เขียนสอดแทรกไว้ ฟีลดิ้ง-ฮอลล์ชี้ให้เราเห็นถึงการเกิด ความตกต่ำและการเสื่อมสลายของราชธานีอย่างมัณฑะเลย์และยังให้เห็นถึงการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองและคลี่คลายประวัติศาสตร์ของเมือง จากที่มัณฑะเลย์เคยเป็นศูนย์กลางของราชวงศ์พม่าจนกลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของอังกฤษในพม่าตอนบน ความเจริญมั่คั่งทางการค้าทำให้ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลสู่เมือง เมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็น เมืองบาป อันเป็นแหล่งอบายมุขทุกประเภท ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมายอย่างคนไร้บ้านและผู้คนที่หมดเนื้อประดาตัวจากการพนัน...

เรื่องที่ว่ากษัตริย์เป็นคนขี้เมานั้น..ทุกคนที่ใส่ใจใคร่รู้ก็ย่อมได้เรียนรู้ด้วยว่าพระเจ้าธีบอเป็นชาวพุทธที่เคร่งครัด เคยบวชเรียนมาก่อนจะขึ้นครองราชย์ อีกทั้งได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากสังฆราชผู้เป็นที่เคารพบูชา

ส่วนเรื่องที่พระนางศุภยาลัตโหดร้ายกระหายเลือด ก็ไม่เห็นว่าพระนางต่างจากสตรีพม่าอื่น ๆ ตรงไหน ใครรู้จักผู้หญิงพม่าคงไม่อาจกล่าวหาสตรีจิตใจอ่อนโยนและกิริยานุ่มนวลอย่างที่พวกเรายกย่องว่าโหดร้ายได้ พระเจ้าธีบอรักพระนางมากและพระนางก็รักพระองค์มากเช่นกัน หากพระนางร้ายกาจจริงอย่างที่คนกล่าวหา จะทรงเป็นทั้งผู้รักและผู้ได้รับความรักเยี่ยงนี้หรือ

ทุกเรื่องมีเรื่องเล่า...และหลายเรื่องเล่าย่อมรวมถึงเรื่องลับ

'ใครก็ตามที่รู้จักพระนาง
จะรู้สึกได้เพียงสองประการเท่านั้น
ถ้าไม่รักตราบนิรันดร์ ก็จะชิงชังพระนาง
เหมือนที่บุรุษเกลียดและกลัวความตาย'

::

ราชินี ศุภยาลัต
จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน
โดย: ภูเพยีย วันที่: 18 ธันวาคม 2560 เวลา:8:56:27 น.
  
ปรากฏว่าโพสต์เนื้อหาในเรื่อง ราชินีศุภยาลัต ไม่ขึ้นเหมือนกัน ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร ???
โดย: ภูเพยีย วันที่: 18 ธันวาคม 2560 เวลา:8:58:40 น.
  
ชอบอ่านด้วยคนค่ะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 18 ธันวาคม 2560 เวลา:23:46:00 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ภูเพยีย
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



  •  Bloggang.com