'หัวใจ๋ข้า หัวใจ๋เจ้า ห้อยอยู่เก๊าเดียวกั๋น' *
*คลิกเพื่ออ่านคำแปลเจ้า :)

~ กึ๊ดเติงหาอ้ายจรัล...กับเพลง "เดือนดวงเดียว" ~







วันนี้...
เมื่อสิบสามปีที่แล้ว เราได้สูญเสียศิลปินช่างฝันผู้ยิ่งใหญ่ไปหนึ่งคน...จรัล มโนเพ็ชร
ขออนุญาตแสดงความรำลึกถึง...
ด้วยบทเพลงบทนี้...





เดือนดวงเดียว
(จรัล มโนเพ็ชร)



ลมเย็นเย็น โชยพัดผ่านกอไม้ไผ่
เสียงเพลงแผ่วไกล
มนต์รักจากใจชาวนา
ถ้อยคำสำเนียง พื้นเพธรรมดา
ไม่ดูหรูหรา ก็ล้วนออกมา…จากใจ

เดือนดวงเดียว ดูคล้ายดั่งเคียวเกี่ยวดาว
นภาพร่างพราว เย็นหนาวเหน็บกลางหัวใจ
ดอกเอย ลั่นทม หอมหวนยวนใจ
หรีดหริ่งเรไร ผสานกลิ่นควาย….สาปโคลน

* นา…ปีไหน มีน้ำเจิ่งนอง
เรา…พี่น้องเพลินยิ้มสู้คน
นา….แล้งไป ปีไหนขาดฝน
ทั้งควาย ทั้งคน ก่นร่ำแต่น้ำตานอง


ทนทำไป ก็เพราะต้องทนไปเอง
แม้นใครข่มเหง ไม่ทิ้งทุ่งนาผืนดิน
ผลิตผลข้าวไทย ให้คนไทยกิน
ปลดเปลื้องหนี้สิน
ทั่วทั้งแผ่นดิน……เป็นไท

(* ซ้ำ )



(ดูเหมือนว่ากำลังเข้าสถานการณ์ ณ ตอนนี้พอดี
แถวบ้านหลังดอยของข้าเจ้า ชาวนากำลังใจเต้นต๊ม ๆ ต่อม ๆ ไม่รู้น้ำป่าจะหลากมาท่วมนาข้าวเมื่อไหร่
ตราบใดที่ฝนฟ้ายังตกต่อเนื่องกันเป็นวันเป็นคืนมาสามวันติด ๆ

ฝากเพลงนี้เป็นกำลังใจให้ชาวนาไทยทั่วประเทศค่ะ )








 

Create Date : 03 กันยายน 2557    
Last Update : 3 กันยายน 2557 15:43:34 น.
Counter : 2095 Pageviews.  

จดหมายฉบับสุดท้าย...ถึงเพื่อนรัก





เอื้องที่รัก...

นี่คงเป็นจดหมายฉบับสุดท้ายที่เค้าจะได้เขียนถึงเอื้อง
อยากจะบอกเอื้องว่า...เค้ารักเอื้องนะ รักและคิดถึงตลอดเวลา

แต่ก็อย่างที่เอื้องรู้ ๆ น่ะนะ ถึงนิสัยเสีย ๆ ของเค้า ที่แสดงออกไม่ค่อยเก่ง ทำซึ้ง ๆ ไม่ค่อยเป็น
และมักจะผัดวันประกันพรุ่งอยู่เรื่อย กับการบอกรักใคร

ก่อนหน้านี้เค้าคิดอยู่เสมอว่า...อยากไปหา ไปเยี่ยมเอื้อง
ไปกอดและให้กำลังใจ
แต่เค้าก็ไม่ได้ทำอะไรซักอย่างที่ว่ามานั้น

แถมทุกครั้งที่เราคุยกันผ่านโทรศัพท์
กลับกลายเป็นว่าเอื้องต้องเป็นฝ่ายปลอบใจ ให้กำลังใจเค้า
และคอยเตือนให้เค้าดูแลตัวเอง ดูแลคนใกล้ชิด...

นาทีนี้ มีอะไรมากมายอยู่ในใจที่อยากจะบอกเอื้อง
แต่มันจะมีประโยชน์อะไรล่ะ...
ถ้อยคำแม้แสนคำล้านคำก็ไม่อาจบอกเล่าความรู้สึกของเค้าในตอนนี้ได้

ได้แต่บอกว่า ขอให้เอื้องไปดี ไปสู่ภพภูมิที่ดี...
ภพภูมิแห่งพระนิพพานที่เอื้องเคยปรารถนา...

ซึ่งเค้าเชื่อว่าธรรมะที่เอื้องเพียรปฏิบัติมาตลอดจะนำพาเอื้องไปถึงที่แห่งนั้นได้

รักเอื้องนะ
เค้าเอง

ป.ล.เอื้องเคยบอกว่าชอบอ่านกลอนที่เค้าแต่ง...
จำได้ไหมที่เราเคยคุยกันเล่น ๆ ว่า...ถ้าใครตายก่อนให้อีกคนเขียนคำไว้อาลัยให้กันนะ
แล้วเอื้องเคยบอกว่า...ถ้าเป็นเอื้อง ให้เค้าเขียนเป็นกลอนนะ

แต่ ณ เวลานี้...ข้างในมันตื้อและตันมาก
แต่ก็พยายามเข็นออกมาได้เป็นบทสั้น ๆ มอบให้เอื้องนะ...

แล้วอีกหนึ่งชีวิตก็ปลิดร่วง
ดั่งหนึ่งดวงดอกไม้ไหวจากก้าน
เหลือไว้แต่ความฝันเมื่อวันวาน
ให้จดจาร จดจำร่ำอาลัย...


อาลัยเอื้อง
๓๐ ก.ค. ๒๕๕๕









 

Create Date : 30 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 30 กรกฎาคม 2555 11:47:20 น.
Counter : 1812 Pageviews.  

... One day we all will grow OLD !...("True Love";From forwarded mail)




One day we all will grow OLD !

It was a busy morning, about 8:30,
when an elderly gentleman in his 80's arrived to have
stitches removed from his thumb.

He said he was in a hurry as he had an
appointment at 9:00 am.
I took his vital signs and had him take a seat,
knowing it would be over an hour before someone
would to able to see him.
I saw him looking at his watch and decided,
since I was not busy with another patient,
I would evaluate his wound.

On exam, it was well healed,
so I talked to one of the doctors,
got the needed supplies to remove his sutures
and redress his wound.



While taking care of his wound,
I asked him if he had another doctor's appointment this morning,
as he was in such a hurry.

The gentleman told me no,
that he needed to go to the nursing home to eat breakfast with his wife.
I inquired as to her health.
He told me that she had been there for a while
and that she was a victim of Alzheimer's Disease.

As we talked, I asked if she would be upset if he was a bit late.

He replied that she no longer knew who he was,
that she had not recognized him in five years now.

I was surprised, and asked him,
'And you still go every morning,
even though she doesn't know who you are?'

He smiled as he patted my hand and said,

'She doesn't know me, but I still know who she is.'





I had to hold back tears as he left,
I had goose bumps on my arm, and thought,

'That is the kind of love I want in my life.'

True love is neither physical, nor romantic.

True love is an acceptance of all that is,
has been, will be, and will not be.

With all the jokes and fun that are in e-mails,
sometimes there is one that comes along that has an important message..
This one I thought I could share with you.

The happiest people don't necessarily have the best of everything;
they just make the best of everything they have.

I hope you share this with someone you care about. I just did..

'Life isn't about how to survive the storm,
But how to dance in the rain.'





*ขอบคุณฟอร์เวิร์ดเมล์ดี ๆ จากพี่สาวที่แสนดีค่ะ
อ่านแล้วชอบ ซึ้ง จึงขอแชร์ค่า...








 

Create Date : 24 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 24 กรกฎาคม 2555 13:06:36 น.
Counter : 1031 Pageviews.  

ปี๋ใหม่เมือง...ป๋าเวณีกับวิถีแห่งธรรม



"ปี๋เก่าก็ล่วงไปแล้ว ปี๋ใหม่แก้วก็มาฮอดมาเติง..."

ในระยะนี้ เดินทางไปที่ไหนในเขตภาคเหนือ ก็จะได้ยินแต่เพลงพื้นเมืองเพลงนี้ดังกระหึ่ม...
ไม่ว่าจะเป็นตามบ้านเรือนผู้คน ชุมชน ร้านค้า หรือวัดวาอารมต่าง ๆ
ก็จะมีการตกแต่งประดับประดา "ตุง" ที่ทำจากผ้าและกระดาษ สีสันสดใสงดงาม
เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่า...ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองได้เวียนมาถึงอีกขวบปีหนึ่งแล้ว...

"ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" เป็นประเพณีที่มีคุณค่าและความหมายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชาวเหนือ
เจตนารมณ์ของป๋าเวณีก็เพื่ออนุรักษ์สามัคคีธรรม ทั้งในระดับครอบครัวและระดับชุมชน

ระดับครอบครัวก็เพื่อให้เครือญาติที่แยกครอบครัวไปจากบุพการีแล้ว ได้กลับมาพบปะกันในวัน "ดำหัว" พ่อ แม่และญาติผู้ใหญ่ วัน"ดำหัว"จึงเป็นเสมือน "วันรวมญาติ"
หรือวันคืนสู่เหย้าของพี่น้อง ญาติสนิทที่พร้อมใจกันมาแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ

ในระดับชุมชนนั้น การได้ร่วมกันประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในระหว่างเทศกาลถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ชนได้เป็นอย่างดี ทั้งเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
บรรยากาศ ชุ่มชื่นด้วยการรดน้ำซึ่งกันและกัน ผู้น้อยมีความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ให้อภัยแก่ผู้น้อย ก่อให้เกิดความร่วมมือในอันที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับสังคมต่อไป






ในสังคมล้านนาไทยสมัยก่อน (แม้ในสมัยนี้ ในบางพื้นที่ก็ยังคงมีการสืบทอดประเพณีและพิธีกรรมเหล่านี้อยู่)
ประเพณีสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมืองจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเนื่องกันถึง ๗ วัน

โดยเริ่มตั้งแต่วันแรก คือวันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า "วันสังขารล่อง"
ซึ่งนับเนื่องเป็นวันสิ้นศักราชเก่า ขึ้นศักราชใหม่ ปู่สังขาร ย่าสังขาร
อันหมายถึงอายุขัยของคนเราได้"ล่อง" หรือล่วงผ่านไปอีกหนึ่งขวบปี
กิจกรรมหลักในวันนี้ก็ได้แก่การทำความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย
รวมถึงการชำระล้างจิตใจและร่างกายให้สดใส ผ่องแผ้ว อย่าให้มีสิ่งสกปรกใด ๆ ติดค้างอยู่
หาไม่แล้ว เมื่อปู่สังขารหรือย่าสังขาร"ล่อง"ผ่านมาพบพานความสกปรกเข้า อาจจะตำหนิติเตียนเอาได้
และหากผู้ใด หรือบ้านใดถูกตำหนิโดยปู่สังขารย่าสังขารเสียแล้ว
นั่นหมายถึงความเป็นอัปมงคลต่อชีวิตของคนผู้นั้นหรือบ้านหลังนั้นไปตลอดทั้งปีเลยทีเดียว

(ในสมัยเด็ก ๆ พวกเราจะถูกขู่ว่า จะต้องตื่นแต่เช้า และทำความสะอาดห้องหับเรือนชานหรือเนื้อตัวของเราให้ดี ถ้าปู่จั๋งขารมาพบว่าเราตื่นสายและเนื้อตัวไม่สะอาดจะถุยน้ำลายใส่ ผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะยิงปืนขึ้นฟ้าเสียงดังโป้งป้าง ๆ เป็นการ"ไล่"ปู่สังขารให้ล่องผ่านไปแต่โดยดี)





วันถัดมา วันที่ ๑๔ เรียกว่า "วันเนา"ถือเป็นวันเชื่อมต่อระหว่างวันสิ้นปี(วันสังขารล่อง) กับวัน"เถลิงศก"(วันที่ ๑๕)
ในวันนี้จะเป็นวันตระเตรียมการทำบุญใหญ่ เช่นจัดซื้ออาหารหวานคาวมาทำเพื่อจะได้นำไปถวายพระสงฆ์ที่วัดในวันที่ ๑๕
รวมทั้งนำไป "ทานขันข้าว" ให้กับผู้เฒ่าผู้แก่ ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือด้วย - -
(อาหารยอดนิยมของประเพณีนี้ก็ได้แก่ "ห่อนึ่ง"(ห่อหมก)อาจจะเป็นห่อนึ่งหมู ปลา ไก่ ได้ทั้งนั้น) ส่วนของหวานหรือขนม ส่วนใหญ่ก็จะทำขนมเทียนไส้มะพร้าว)
ตอนบ่าย ๆ เย็น ๆ ของวันเนานี้ก็จะมีการ"ขนทรายเข้าวัด" เพื่อก่อเป็นเจดีย์ทรายแล้วนำ"ตุง"ไปปักในวันถัดไป

(ในวันนี้ผู้ใหญ่จะมีความเชื่อว่า วันนี้ทำบุญไม่ได้บุญและทำบาปไม่ได้บาป และที่สำคัญวันนี้ห้ามทะเลาะเบาะแว้งกัน ห้ามพูดคำหยาบไม่เช่นนั้นปากจะเน่า...เด็ก ๆ ก็พากันเชื๊อ-เชื่อ เคยพูดกันกู-มึงก็จะเปลี่ยนเป็นฉัน-เธอ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เพราะกลัวปากเน่า...)





วันที่สามเรียกว่า"วันพญาวัน"(หัวหน้าของวัน) หรือวัน"เถลิงศก"
วันนี้ผู้คนจะต้องตื่นแต่เช้า นำอาหารหวานคาวที่เตรียมไว้เมื่อวานไปถวายพระ
หลังเสร็จพิธีที่วัดแล้วก็ตระเวนไปตามบ้านญาติผู้ใหญ่เพื่อ"ทานขันข้าว"
จากนั้นตอนสาย ๆ ก็กลับไปที่วัดอีกที เพื่อทำบุญและสรงน้ำพระ
พร้อมทั้งรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านซึ่งจะมารวมตัวกันที่วัดเพื่อให้เด็ก ๆ มารดน้ำขอพร...
พอ "เปิ้นปั๋นปอนเฮากะยกมือไหว้ เย็นอกเย็นใจ๋อายุมั่นขวัญยืน"
เป็นอันเสร็จพิธีกรรมประจำวันนี้





วันถัดมาวันที่ ๑๖ เรียกว่า "วันปากปี"
ในวันนี้ก็ต้องตื่นแต่เช้ามืดอีกวันหนึ่ง เพื่อทำพิธี "ปูจาสีสาย(บูชาสายสิญจน์) หรือบูชาไฟ"
โดยทุกครอบครัวในหมู่บ้านหรือชุมชนจะไปรวมตัวกันที่วัด
และนำเอาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของสมาชิกในครอบครัวไปทำพิธี "ส่งเคราะห์"(สะเดาะเคราะห์)
ในวันนี้ตอนบ่าย ๆ ก็มีพิธีสรงน้ำพระเป็นวันที่สองด้วย

(ใน "วันปากปี" นี้ ที่ถือเป็นประเพณีอีกอย่างหนึ่งก็คือ แทบทุกบ้านจะต้องทำอาหารด้วยเมนูหลักคือ "แกงขนุน"
ด้วยเป็นความเชื่อมาแต่โบราณว่า วันปากปีเป็นวันเริ่มต้นแห่งปี การกินแกงขนุนจะช่วย"หนุน"ส่งชีวิตให้สูงขึ้นนั่นเอง)






วันที่ ๑๗ เรียกว่า"วันปากเดือน" จะมีการ "ส่งเคราะห์และสืบชะตาหมู่บ้าน"
โดยทุกครัวเรือนจะนำข้าวปลาอาหาร โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตรที่ตัวเองเพาะปลูกได้
(ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวเปลือก ข้าวโพด กล้วย อ้อย งาขาว งาดำ เมล็ดถั่ว ธัญพืชต่าง ๆ )
มารวมกันไว้ในสะตวงขนาดใหญ่สี่สะตวง
และใช้ดินเหนียวปั้นรูปสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ปีนักษัตรที่ตัวเองเกิด (ทางเหนือจะเรียกว่า "ตั๋วเปิ้ง" หรือ "ตัวพึ่ง" เช่นตัวหนู วัว เสือ กระต่าย เป็นต้น)ใส่ลงไปด้วย
พอเสร็จพิธี ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะนำสะตวงทั้งสี่อันนี้ไปวางทิ้งไว้ที่ชายเขตหมู่บ้านทั้งสี่ทิศ - -

ในวันนี้ก็ยังคงมีพิธีสรงน้ำพระเป็นวันที่สาม -วันสุดท้ายด้วย





วันที่ ๑๘ เรียกว่า "วันปากวัน" และวันที่ ๑๙ คือ"วันปากยาม"
เป็นการทอดระยะวันสงกรานต์หรือ "ปี๋ใหม่เมือง" ให้ยืดยาวออกไปเพื่อให้เวลากับกิจกรรม "ดำหัว"
สำหรับคนที่อาจจะอยู่ไกลออกไป เช่นอยู่ต่างจังหวัดหรือต่างอำเภอที่การคมนาคมอาจจะไม่สะดวกนัก






"ปริศนาธรรมจากป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" *

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำกันในเทศกาลสงกรานต์มักจะมีความหมายที่แฝงอยู่ในทุก ๆ กิจกรรม
ในที่นี้จะขอยกมากล่าวเพียง ๓ - ๔ อย่าง ดังนี้

"การก่อเจดีย์ทราย" หมายความว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่สั่งสมบารมี(ทราย)ไปทีละน้อย
จนกว่าจะสัมฤทธิ์ผล จนกลายเป็นเจดีย์ ซึ่งมีธง(ตุง)ปักบนยอด
เพื่อบ่งบอกถึงชัยฃนะในวาระสุดท้าย อันหมายถึงพระนิพพานหรือการสิ้นทุกข์นั่นเอง





"การปล่อยนก - ปล่อยปลา"
ปลาและนกถือเป็นสัญลักษณ์ของเดรัจฉาน หรือความโง่เง่า(อวิชชา)
ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตั้งจิตอธิษฐาน ปล่อยออกไปจากจิตจากใจเรา
เพื่อจิตใจของเราจะได้เป็นอิสระ ปราศจากอวิชชาคือความไม่รู้
ก้าวสู่วิมุตติภูมิคือความหลุดพ้น





"การรดน้ำ-ดำหัว" คำว่า"ดำหัว" ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ "สระผม"
แต่ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุก ๆ ปี หมายถึง การชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราศไป
ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ

หัวหรือศีรษะ ถือกันว่าเป็นอวัยวะส่วนที่สูงที่สุดในร่างกาย เป็นที่บรรจุแห่งก้อนสมอง
ซึ่งเป็นศูนย์รวมของระบบประสาท เช่นเดียวกับคุณธรรมที่มนุษย์ผู้เจริญแล้วต้องเทิดทูนไว้เสมอ
พิธี"ดำหัว"จึงเป็นพิธีเชิดชูคุณธรรมที่มีอยู่ในปูชนียบุคคลเช่น พ่อ แม่และญาติผู้ใหญ
หรือคนแก่คนเฒ่าที่น่าเคารพคนอื่น ๆ (เช่นครูบาอาจารย์ ผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานต่าง ๆ )
น้ำส้มป่อยที่ใช้ดำหัวก็คือธรรมะที่ใช้ชำระความสกปรกหรืออบายธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ในใจนั่นเอง






"ไม้ค้ำศรี-ค้ำโพธิ์" ต้นโพธิ์ (ทางเหนือเรียกว่าต้นศรี หรือเก๊าศรี) เป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึง "โพธิญาณ" หรือญาณหยั่งรู้ อันเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคนที่จะต้องฝ่าฟันบรรลุให้ถึง
หากเมื่อบารมีแห่งเรายังมิกล้าแกร่งพอ จึงเป็นหน้าที่ที่จะต้อง "ค้ำชู" พระศาสนาให้ดำรงคงอยู่ตราบนานเท่านาน
เพื่อให้พระศาสนานั้นเป็นหลักยึดเหนี่ยวหรือหลักชัยในการดำรงชีวิตในโลกอย่างเป็นสุข ร่มเย็น









*(รวบรวมและเรียบเรียงจาก ""ภูมิปัญญาล้านนาชน" โดย มานิต สุทธจิตต์)
**ภาพดอกไม้วันสงกรานต์ได้รับฟอเวิร์ดเมล์มาเมื่อหลายปีก่อน ขอขอบคุณผู้สร้างสรรค์ค่ะ








 

Create Date : 13 เมษายน 2553    
Last Update : 13 เมษายน 2553 12:34:56 น.
Counter : 2094 Pageviews.  

ป๋าเวณีเดือนสิบสองปุพพเปตตพลี



Photobucket



วันนี้ที่วัดใกล้บ้านมีงาน"ตานเปรตพลี" หมายถึงประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ หรือญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ

ความเป็นมาหรือความหมายของประเพณีนี้มีดังนี้ค่ะ
(คัดจาก //www.culture.lpru.ac.th ค่ะ


ป๋าเวณี่ตานเปรตพลี(อุทิศส่วนบุญหาผู้ตาย)



ประเพณีอุทิศหาผู้ตาย บางทีเรียกว่า ประเพณีเดือน ๑๒ เป็ง ประชาชนในภาคเหนือ นิยมอุทศิส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษของตน คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุงป้า ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีนี้เรียกกันแต่ละท้องถิ่น ก็มีชื่อแตกต่างกันไป บางจังหวัดในภาคเหนือเรียกประเพณีอุทิศหาผู้ตายว่า ประเพณีเดือนสิบสองบ้าง ประเพณีปล่อยผีปล่อยเปรตบ้าง ตรงกับภาคกลางว่า “ตรุษสารท” ปักษ์ใต้เรียกว่าประเพณีเดือนชิงเปรต และทางภาคอีสานก็คือ ประเพณีบุญข้าวประดับดิน ประเพณีที่กล่าวมานี้ โดยความหมายและจุดประสงค์เป็นอันเดียวกันต่างกันด้วยวิธีการทำตามจารีตประเพณีที่เคยทำมาในท้องถิ่นของตน

สำหรับการอุทิศหาผู้ตายของภาคเหนือ มีประเพณีสืบต่อกันมาเนื่องในการอุทิศกุศลแก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วถือกันว่าในเดือน ๑๒ เหนือขึ้น ๑ ค่ำถึงเดือนแรม ๑๔ ค่ำนั้น พระยายมราชได้ปล่อยวิญญาณสัตว์ผู้ตายกลับมาสู่เมืองมนุษย์ เพื่อขอรับเอาส่วนบุญส่วนกุศลจากญาติพี่น้องลูกหลานจะได้พ้นจากภาวะแห่งเปรตอสูรกายทั้งหลาย ดังนั้นการปฏิบัติต่อประเพณีก็ด้วยการกตัญญู ต้องการให้บุคคลผู้เป็นที่รักพบกับความสุขในปรโลกจึงได้ทำสืบต่อกันมา

ตำนานทางพระพุทธศาสนากล่าวถึง เปรตราชของพระราชาพิมพิสารไว้ดังนี้

ในกัลปที่ ๙๒ นับแต่ภัรกัลป์ปขึ้นไปถึงวพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “ปุสสะ” พระพุทธบิดาทรงพระนามว่า “พระเจ้าชยเสนะ” พระพุทธมารดามีพระนามว่า “ศิริมา” พระเจ้าชยเสนะยังมีพระราชบุตรอีก ๓ พระองค์ ต่างพระมารดาและเป็นพระกนิษฐาภาดาของพระปุสสะพระพุทธเจ้า ราชบุตรทั้ง ๓ นี้ มีเจ้าพนักงานรักษาคลังหนึ่งเก็บส่วยในชนบท

กาลต่อมาพระราชบุตรทั้งสามมีพระราชประสงค์จะบำเพ็ญกุศลบำรุงพระศาสนา ผู้เป็นพระเชษฐภาดา ตลอดไตรมาส จึงขอทูลอนุญาตแก่พระบิดา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว พระราชบุตรทั้งสามจึงตรัสสั่งเจ้าพนักงานผู้เก็บส่วย ในชนบทของพระองค์ให้สร้างวิหาร ครั้งสร้างเสร็จแล้วพระราชบุตรทั้งสามจึงนำเสด็จพระพุทธเจ้าไปที่วิหารและทูลถวายวิหารแก่พระศาสดาแล้วสั่งเจ้าพนักงานรักษาพระคลังและพนักงานเก็บส่วยว่าเจ้าจงดูแล และจัดของเคี้ยวของฉันถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๙๐,๐๐๐ องค์ที่เป็นพุทธบริวาร และตัวเราทั้งสามกับบริวารทุก ๆ วัน ตลอดจนไตรมาสด้วย ตั้งแต่วันนี้ไปเราจักไม่พูดอะไร ตรัสแล้วก็พาบริวาร ๑,๐๐๐ องค์ สมาทานศีล ๑๐ แล้ว ประทับอยู่ในวิหารตลอดไตรมาส


เจ้าพนักงานรักษาพระคลัง และเจ้าพนักงานเก็บส่วย ผลัดกันดูแลทานวัตต์ตามความประสงค์ของพระราชบุตรทั้งสามด้วยความเคารพ ครั้งนั้นชาวชนบทบางพวกจำนวน ๘๔,๐๐๐ คน ได้ทำอันตรายต่อทานวัตต์ของพระราชบุตรทั้งสาม มีกินไทยธรรมเสียเองบ้างให้แก่บุตรเสียบ้าง เผาโรงครัวเสีย ชนเหล่านั้นครั้งทำลายาขันธ์แล้วจึงไปบังเกิดในนรก

กาลล่วงไปถึง ๙๒ กัลป จนถึงกัลปนี้ ในพระพุทธศาสนาพระกัลสสะปะสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ชนเหล่านี้มีจิตอันอกุศลเบียดเบียนแล้วนั้น ได้มาบังเกิดในหมู่เปรต ครั้งนั้นมนุษย์ทำบุญให้ท่านอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่เป็นเปรตของตน เปรตเหล่านั้นก็ได้ซึ่งทิพย์สมบัตินานาประการ แต่หมู่เปรตผู้ทำลายเครื่องไทยธรรมพระราชบุตรทั้งสามนั้นหาได้รับส่วนกุศลไม่เปรตเหล่านั้นจึงทูลถามทพระกัสสปะพุทธเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้านี้ พึงได้สมบัติอย่างนี้ บ้างหรือไม่พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าท่านทั้งหลายยังไม่ได้สมบัติ บัดนี้ ต่อไปภายหน้าพุทธกาลแห่งพระโคดมพระพุทธเจ้าญาติของท่านทั้งหลายจักได้เป็นพระราชา ทรงพระนามว่า “พิมพิสาร” และจักได้ถวายทาน แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วอุทิศส่วนบุญถึงท่านทั้งหลาย เมื่อนั่นแหละท่านจะได้สมบัติดังนี้

กาลล่วงมาได้พุทธันดรหนึ่งถึงพระพุทธศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานี้เจ้าพนักงานาผู้เก็บส่วยของพระราชบุตรทั้งสามได้มาบังเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลและได้ถวายไทยธรรมแก่พระพุทธเจ้า แต่หาได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตที่เป็นญาติไม่เปรตที่เป็นญาติเหล่านั้นมาคอยรับส่วนกุศลอยู่ เมื่อมิได้รับส่วนกุศลตามความปรารถนาก็เสียใจ พอถึงเวลาตีหนึ่งก็ส่งเสียงร้องประหลาดน่าสะพรึงกลัว ครั้นรุ่งสางขึ้น พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรับเครื่องไทยธรรมในพระราชนิเวศน์ แล้วพระราชาทรงกระทำทักษิโณทก ทรงอุทิศว่าทานนี้จงถึงหมู่ญาติของเรา

ขณะนั้นฝูงเปรตที่มีความกระวนกระวาย และร่างกายที่น่าเกลียดน่ากลัวก็สูญหายไป กลับมีผิวพรรณงามผ่องใสดั่งทอง แล้วพระราชาถวายยาคูและของเคี้ยวอุทิศถึงญาติอีก ยาคูและของเคี้ยวอันเป็นทิพย์ก็เกิดขึ้นในสำเร็จประโยชน์แก่ฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น แล้วพระราชาถวายผ้าและเสนาสนะทรงอุทิศถึงญาติอีก ผ้าและเครื่องเสนาอาสนะปราสาทล้วนแต่เป็นทิพยาให้สำเร็จประโยชน์แก่ฝูงเปรตเหล่านั้นได้ประสบความสุข พระจเพิมพิสารก็ทรงโสมนัสยิ่งนัก

ในครั้งนั้น เรื่องสืบมาว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนาติโรกัณฑสูตร ทรงสรรเสริญทานที่ทายกอุทิศบริจาคแก่ญาติที่ตายไปแล้วอีกหลายวัน แล้วกล่าวคำอุทิศถึงญาติว่า

“อิท โว ญาตีน โหตุ สุขิตา ญาตโยฯ” ทานนี้จงถึงญาติทั้งหลาย (ที่เกิดในเปรตวิสัย) ขอญาติเหล่านั้นจงมีความสุข(คือได้เสวยผลแห่งทานด้วยความสำรวม)

อนึ่งผู้ที่บริจาคทานนั้นก็หาไร้ผลไม่ เป็นการสร้างสมบุญกุศลให้เพิ่มยิ่งขึ้น กลับมีบุญกุศลยิ่งใหญ่ให้ผู้อื่นได้อนุโมทนาอีก การร้องไห้เศร้าโศกปริเวทนา หาผู้ที่ตายไปไม่เป็นประโยชน์อย่างไรแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีแต่การทำบุญอุทิศกุศลเท่านั้นจะได้ผลแก่เขาในปรภพแล

ในวันเดือน ๑๒ เหนือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ จะเป็นวันแต่งดาเตรียมข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ไว้พร้อมสรรพ รุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเดือน ๑๒ เพ็ญ ชาวบ้านจะนำเอาอาหารใส่ถาดไปวัดและจะถวายแด่พระภิกษุเรียกว่า “ทานขันข้าว” มีการหยาดน้ำอุทิศบุญกุศลด้วย โดยให้พระเป็นผู้กรวดน้ำให้เพราะถือว่าท่านเป็นผู้ทรงศีล บุญกุศลจะถึงแก่ผู้ตายได้ง่าย

การทำบุญอุทิศกุศลนั้น มีการทำ ๒ แบบ คือ

1. อุทิศแก่ผู้ตายธรรมดา
2. อุทิศแก่ผู้ตายโดยอุบัติเหตุ พวกผีตายโหง

อุทิศแก่ ผู้ตายธรรมดา ญาติจะเอาอาหารไปถวายที่วัดถือว่า วิญญาณผู้ตายธรรมดาเข้า ออกวัดได้โดยสะดวก ส่วนผีตายโหงนั้น เข้าวัดไม่ได้เพราะอำนาจแห่งเวรกรรมญาติต้องถวายอาหารพระนอกวัด คือนิมนต์พระมานอกกำแพงวัดแล้วถวาย เช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดินของอีสาน

การทำบุญอุทิศถึงผู้ตายนี้ ถ้ามีญาติหลายคนที่ตายไปแล้วจะต้องอุทิศให้คนละขันหรือคนละถาดกล่าวคือ จะต้องถวายตามจำนวนคน แต่บางรายก็จะจดรายชื่อให้พระ เวลาพระให้พรจะได้ออกชื่อผู้ตายตัวอย่างคำ ให้พระอุทิศแก่ผู้ตายดังนี้

“ดีและอัชชะในวันนี้ก็หากเป็นวันดี สะหรีอันประเสริฐล้ำเลิศกว่าวันตังหลาย บัดนี้หมายมีมูลศรัทธา (ชื่อผู้ถวาย) ได้สระหนงขงขวายตกแต่งแป๋งพร้อมน้อมนำมา ยังมธุบุปผาลาชน ดวลดอกข้าวตอกไม้ลำเทียน ข้าวน้ำภาชนะ อาหารมาถวายเป็นทานเพื่อจะอุทิศผละหน้าบุญ ผู้อันจุติตาย มีนามกรว่า “ผู้ตาย” หากว่าได้วางอารมณ์อาลัย มรณะจิตใจไปบ่ช่าง ไปตกท้องหว่างจตุราบาย ร้อนบ่ได้อาบ อยากบ่ได้กิ๋น ดังอั๋นก็ดี ขอผละหน้าบุญอันนี้ไปอุ้มปกยกออก จากที่ร้ายกลายมาสู่ที่ดี หื้อได้เกิดเป็นเทวบุตร เทวดา อินทาพรหมตนประเสริฐดั่งอั้นก็ดี ขอผละหน้าบุญอันนี้ไปเตื่อมแถม ยังสหรี่สัมปติยิ่งกว่าเก่า สุขร้อยเท่าพันปูน ผละหน้าบุญนี้ชักนำรอดเถิงเวียงแก้วยอกเนรพานั้นจุ่งจักมีเที่ยงแท้ดีหลี"

ศรัทธาประชาชนบางคนนอกจากทานขันข้าวอุทิศส่วนกุศลแล้ว ยังนิมนต์พระมาเทศน์ที่บ้านอุทิศกุศลแก่ผู้ตายด้วย บางรายก็ไปนิมนต์พระเทศน์ที่วัดพร้อมกับการถวายอาหาร ทานขันข้าว

พระคัมภีร์ที่นิยมเทศน์ในวันดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
๑. ธรรมเปรตพลี
๒. ธรรมาลัยโผดโลก
๓. ธรรมมูลนิพพาน
๔. ธรรมมหามูลนิพพาน
๕. ธรรมตำนานดอนเต้า
๖. ธรรมตำนานพระยาอินทร์

คัมภีร์เหล่านี้มักใช้เทศน์อุทิศส่วนกุศล เจ้าอาจบูชาเอาผูกใดผูกหนึ่ง คือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งเทศน์ให้ฟังเป็นอานิสงฆ์แห่งการฟังธรรมอุทิศเป็นปุพพเปรตพลี

การทำบุญอุทิศหาผู้ตายนี้หากจะพิจารณาถึงประโยชน์แล้วได้สิ่งที่เป็นสาระหลายประการคือ
๑. เป็นการสร้างความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชน
๒. เป็นการสังคหะช่วยเหลือผู้ตายอื่น ๆ และถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมากซึ่งจำพรรษาอยู่
๓. เป็นการสร้างความสามัคคียึดเหนี่ยวน้ำใจคนข้างเคียงมิตรสหาย
๔. เป็นการสร้างความสุขให้แก่ผู้กระทำ
๕. เป็นการอบรมลูกหลานให้เข้าใจในระเบียบประเพณี
๖. เป็นการอนุรักษ์มรดกบรรพบุรุษไว้นานเท่านาน

ดังนั้นประเพณีอุทิศหาผู้ตายในวันเพ็ญเดือนสิบสอง จึงเป็นประเพณีที่ดีงาม ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้เจริญและคงอยู่กับลูกหลานสืบไป














 

Create Date : 04 กันยายน 2552    
Last Update : 4 กันยายน 2552 15:41:28 น.
Counter : 1928 Pageviews.  

1  2  3  4  

แม่ไก่
Location :
ลำปาง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 184 คน [?]




**หลังไมค์เจ้า**





Cute Clock Click!



เออสิ,มาอยู่ใยในโลกกว้าง
เฉกชลคว้างมาเมื่อไรไม่นึกฝัน
ยามจากไปก็เหมือนลมรำพัน
โบกกระชั้นสู่หนไหนไม่รู้เลย


รุไบยาต ~ โอมาร์ คัยยัม
สุริยฉัตร ชัยมงคล : แปล




Latest Blogs

~ท่านหญิงในกระจก/แสงเพลิง ~

~เพชรรากษส/อลินา ~

~มนตร์ทศทิศ/ราตรี อธิษฐาน ~

~เมื่อหอยทากมีรัก 1-2/"ติงโม่"เขียน/พันมัย แปล ~

~ให้รักระบายใจ/"ณกันต์"เขียน ~

~ผมกลายเป็นแมว/Abandoned/Paul Gallico เขียน(ภูธนิน แปล) ~

~พ่อค้าซ่อนกลรัก & หมอปีศาจแสนรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~อาจารย์ยอดรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~จอมโจรพยศรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~


สารบัญหนังสือ: รวมลิงก์หนังสือที่รีวิวในบล็อก # ๑ + ๒



Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แม่ไก่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.