Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559





















หน้า ๑๒
เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๘๘ ง         ราชกิจจานุเบกษา         ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๐
ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙

หมวด ๔
ความเป็นวิชาชีพ (Professionalism)
__________________

ข้อ ๑๒ หลักการรักษาความเป็นวิชาชีพตลอดเวลา (Maintaining Professionalism)
    ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพึงรักษาความเป็นวิชาชีพด้วยการวางตัวอย่างเหมาะสมโดยไม่จำกัดแต่เพียงเฉพาะขณะปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น เนื่องจากการกระทำส่วนตัว นอกเวลาปฏิบัติหน้าที่ย่อมส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความเป็นวิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนองค์กร วิชาชีพ และระบบสุขภาพโดยรวมได้เสมอ ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของบริบทและสถานการณ์

ข้อ ๑๓ หลัก “คิดก่อนโพสต์” (Pausing Before Posting)
    เนื่องจากเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ อาจคงอยู่อย่างถาวรตลอดไป และอาจถูกนำไปใช้โดยผู้อื่นได้ ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ จึงพึงมีสติ คำนึงถึงความเหมาะสม ข้อดีข้อเสีย และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเผยแพร่เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ก่อนทำการเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าวเสมอ (“คิดก่อนโพสต์”)
    นอกจากนี้ ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพึงรับผิดชอบต่อการกระทำของตน
ทั้งในทางกฎหมาย ทางวินัย ทางจริยธรรม และทางสังคม

ข้อ ๑๔ หลักการมีพฤติกรรมออนไลน์อย่างเหมาะสม (Appropriate Behaviors Online)
    ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พึงวางตัวอย่างเหมาะสมในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพหรือไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ การเล่าเรื่องขำขันที่ลามกหรือไม่สุภาพ การถ่ายภาพและเผยแพร่ภาพที่อาจแสดงถึงการขาดความเป็นมืออาชีพหรือขาดความเป็นวิชาชีพ เช่น ภาพขณะดื่มสุราเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติด ภาพที่ส่อไปในทางเพศหรือลามกอนาจาร ภาพที่อุจาด หวาดเสียวหรือรุนแรง การแสดงตัวหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเหยียดหยามหรือดูหมิ่นคนบางกลุ่ม เป็นต้น พึงระมัดระวังในการแสดงความเห็นในลักษณะบ่นระบายอารมณ์หรือการนินทา บนสื่อสังคมออนไลน์
ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พึงระมัดระวังในการแสดงความเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นข้อถกเถียงหรือสุ่มเสี่ยงอย่างมากในสังคม เช่น ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การเมืองการปกครอง เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พึงใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการเผยแพร่ภาพหรือเนื้อหาในขณะปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพ ในลักษณะที่อาจถูกมองว่าไม่เหมาะสมหรือไม่มีความเป็นวิชาชีพได้ เช่น การเผยแพร่ภาพถ่ายในหอผู้ป่วย ห้องคลอด หรือห้องผ่าตัดขณะมีการดูแลหรือทำหัตถการกับผู้ป่วยอยู่ ภาพถ่ายขณะให้การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปรากฏตัวผู้ป่วยหรือข้อมูลของผู้ป่วยอยู่ในภาพหรือเนื้อหาดังกล่าวด้วย ไม่ว่าจะสามารถระบุตัวตนของผู้ป่วยได้หรือไม่ก็ตาม
ข้อ ๑๕ หลักการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอย่างเหมาะสมและแยกเรื่องส่วนตัวกับวิชาชีพ (Privacy Settings and Separating Personal and Professional Information)
    ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พึงศึกษาและตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (privacy settings) ของสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้งานอย่างเหมาะสม เพื่อจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาที่เป็นเรื่องส่วนตัวจากบุคคลภายนอก และอาจพิจารณาแยกบัญชีผู้ใช้งาน (user account) หรือเนื้อหาที่เป็นเรื่องส่วนตัว กับเรื่องทางวิชาชีพออกจากกัน

ข้อ ๑๖ หลักการตรวจสอบเนื้อหาออนไลน์ของตนอยู่เสมอ (Periodic Self-Auditing)
    ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พึงตรวจสอบเนื้อหาหรือข้อมูลของตนหรือเกี่ยวกับตนบนสื่อสังคม
ออนไลน์และบนอินเทอร์เน็ตเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลเกี่ยวกับตนเองมีความถูกต้อง และไม่มีเนื้อหา
ที่ไม่เหมาะสมหรืออาจสร้างผลเสียให้กับตนในภายหลังหลงเหลืออยู่

ข้อ ๑๗ หลักการกำหนดขอบเขตความเป็นวิชาชีพกับผู้ป่วย (Professional Boundaries with Patients)
เนื่องจากในการประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมักมีอิทธิพลเหนือความคิดและการตัดสินใจของผู้ป่วย ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพพึงกำหนดขอบเขตความเป็นวิชาชีพ (professional boundaries) และรักษาระยะห่าง (keep distance) กับผู้ป่วยให้เหมาะสม

ข้อ ๑๘ หลักการกำหนดขอบเขตความเป็นวิชาชีพกับผู้อื่น (Professional Boundaries with Others)
ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพพึงกำหนดขอบเขตความเป็นวิชาชีพ (professional boundaries) และรักษาระยะห่าง (keep distance) กับผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน อาจารย์ นิสิตนักศึกษาหรือผู้รับการฝึกอบรม และบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ป่วยให้เหมาะสม และพึงตระหนักและเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ตลอดจนไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นความลับของผู้อื่น
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ อาจเลือกที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีผลดีมากกว่าผลเสีย ในกรณีเช่นนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพพึงกำหนดขอบเขตความเป็นวิชาชีพและรักษาระยะห่างให้เหมาะสมเช่นเดียวกับในชีวิตจริง


หมวด ๗
การให้คำปรึกษาออนไลน์ (Online Consultation)
__________________

ข้อ ๒๖ หลักการปฏิบัติด้วยความระมัดระวังในการให้คำปรึกษาออนไลน์ (Cautious Practice for
Online Consultation)
ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสื่อสังคมออนไลน์ จากผู้ป่วย หรือจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ พึงพิจารณาผลดีและผลเสียของการให้คำปรึกษาออนไลน์อย่างรอบคอบ พึงเลือกใช้ตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างระมัดระวัง และคำนึงถึงข้อจำกัด นอกจากนี้ พึงหลีกเลี่ยงการให้คำปรึกษาในลักษณะที่แสดงถึงความมั่นใจ ความชัดเจนแน่นอน โดยไม่ได้คำนึงถึงโอกาสเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือกรณีฉุกเฉิน ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นอาจนำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์หรือการฟ้องร้องได้
ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพพิจารณาแล้วเห็นว่า ควรให้คำปรึกษาออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพพึงชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจ และตระหนักในความเสี่ยงและข้อจำกัดของการให้คำปรึกษาออนไลน์ ก่อนให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว และการรับบริการในกรณีฉุกเฉินหรือกรณีที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอันตรายหรือไม่
ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพไม่ประสงค์จะให้คำปรึกษาออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพพึงตอบปฏิเสธอย่างสุภาพ โดยอาจชี้แจงเหตุผลประกอบก็ได้ และแนะนำให้ผู้นั้นติดต่อขอคำปรึกษาผ่านช่องทางปกติ ซึ่งอาจรวมถึงการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในกรณีจำเป็น


ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559
https://rtanc.ac.th/wp-content/uploads/2017/03/12.pdf

https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/088/12.PDF


:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ประกาศ คกก.สุขภาพชาติ ‘แนวปฏิบัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ’

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติออกประกาศ “แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ.2559” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2560

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน ทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและบทบาทหน้าที่ด้านสุขภาพ การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ จึงจำเป็นจะต้องมีความเหมาะสมเพราะอาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย องค์กรที่ตนสังกัด วิชาชีพ และระบบสุขภาพโดยรวมได้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ.2559 โดยมีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2560 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวเป็นไปตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 7 ได้บัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนในเรื่องข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคลผู้ใดจะนำมาเปิดเผยในประการที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นการเปิดเผยตามความประสงค์ของบุคคลนั้นหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย

หมายเหตุ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงานด้านสุขภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550



&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10






 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2560   
Last Update : 2 ธันวาคม 2560 4:54:15 น.   
Counter : 6889 Pageviews.  

ฝากเตือน แพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ





หัวข้อ 34918: ฝากเตือน การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ  (จำนวนคนอ่าน 323 ครั้ง)
« เมื่อ: 09/18/16 เวลา 20:59:17 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

dr.hmoo-14285561_1867309193500457_613938922_o_1.jpg

มีผู้ส่งข้อมูล มาให้ ..   Shocked

เลยอยากจะขอแสดงความห่วงใย มาเตือนเพื่อนพ้องน้องพี่ ทุกท่าน ..ตามประสา คนมองโลกในแง่ร้าย    Grin Grin Grin


ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 34847 63156014 63156014 หมอหมู หมอหมู WWW Email

118.174.188.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 09/18/16 เวลา 21:01:36 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ถ้าถามว่า ... แพทย์ เรา สามารถ ทำได้หรือไม่ ?

ตอบเลยว่า .......... สามารถ ทำได้ครับ  

แต่ถ้าทำ ก็ต้องคิดเผื่อไว้ก่อนเลยว่า " เป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม " .. ต้องรับผิดชอบ การวินิจฉัย และ ผลการรักษา   Roll Eyes


ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 34847 63156014 63156014 หมอหมู หมอหมู WWW Email

118.174.188.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 09/18/16 เวลา 21:06:46 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

dr.hmoo-Line_a.jpg

ตัวอย่างคดี ( จริง )  ที่เกิดใน ประเทศอันไกลโพ้นนนนนนนนนน


ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 34847 63156014 63156014 หมอหมู หมอหมู WWW Email

118.174.188.*


« ความเห็นที่ #3 เมื่อ: 09/18/16 เวลา 21:08:56 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

dr.hmoo-app_a.jpg

ถ้าสงสัยว่า อะไรบ้างที่ฟ้องได้ ..

สรุปว่า ถ้าจะฟ้อง ... ฟ้องได้ทุกอย่าง  Shocked

ส่วนว่า ฟ้องแล้ว  ศาลุ จะรับฟ้องหรือเปล่า ... เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  Wink


ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 34847 63156014 63156014 หมอหมู หมอหมู WWW Email

118.174.188.*


« ความเห็นที่ #4 เมื่อ: 09/18/16 เวลา 21:18:55 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

dr.hmoo-2016-09-18_211600.jpg
ตอบ อย่างไร ให้ปลอดภัย

การพิมพ์ตอบ. ...ศาลให้น้ำหนักมากกว่า. การตอบทางโทรศัพท์  นั้นหมายความว่า. คนไข้มีหลักฐานชัดเจนในการที่จะฟ้อง.  

การใช้ชื่อ แมว หมู หรือนามแฝง. ไม่ช่วย เพราะ สามารถหาข้อมูลมายืนยันได้ว่า เป็นแพทย์  

ตอบฟรี หรือไม่ฟรีฟ้องได้หมด ศาลจะใช้คำว่า... สิ่งที่เราตอบนั้นขึ้นอยู่ว่า เราประมาทในการตอบหรือไม่

- การตอบที่ลงท้ายด้วย แนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติม. จะเป็นการปกป้องพูดตอบไปในตัว

- ถ้าคนไข้เอาฟิลม์ให้อ่าน. อ่านได้ครับ. แต่ต้องให้คนไข้แนบ บัตรประชาชนมาพร้อมกับฟิลม์ให้เห็นชัดเจน เพื่อยืนยันว่าเป็นฟิลม์เอกซเรย์ของเขาเอง
ตอบแล้วลงท้ายเสมอว่า ฟิลม์ดังกล่าว อ่านได้ไม่ชัดเจนเนื่องจาก...อะไรก็ว่าไปได้

- การสั่งยา. ห้ามสั่งยากิน. ยาทาสั่งได้


ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 34847 63156014 63156014 หมอหมู หมอหมู WWW Email

118.174.188.*


« ความเห็นที่ #5 เมื่อ: 09/18/16 เวลา 21:20:00 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

dr.hmoo-2016-09-18_211614.jpg
๑. คิดก่อนส่ง  .. ก่อนจะกดส่ง อ่านอีกรอบ  “เมื่อไรที่เริ่มลังเลว่าควรจะโพสต์ข้อความหรือรูปภาพเหล่านี้ดีหรือไม่นั่น แสดงว่าท่านไม่ควรโพสต์”

๒. ตรงความจริง ... ตามความเป็นจริง ทางวิชาการทางการแพทย์ .. ข้อความ เป็นเท็จ ลดความน่าเชื่อถือ และ อาจโดนฟ้องได้  ... การให้ความรู้แปลกๆหรือแชร์เรื่องแปลกๆ

๓. อย่าฟันธง ... การสั่งการรักษาหรือการให้คำแนะนำ ขนาดได้เห็น ได้ตรวจ ยังไม่ร้อยเปอร์เซนต์ แล้วในเนต มีแต่ข้อความ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ตรวจ โอกาสพลาดสูงมาก  

๔. จงระวัง ... ต้องนึกเสมอว่าคนไข้ทุกคนที่มารับการรักษาจากเราอาจกลายเป็นโจทก์ในศาลได้เส มอ บางครั้งคนไข้อาจไม่อยากฟ้องหมอ แต่ญาติโกรธและอยากฟ้องหมอ ยิ่งแพทย์โรงพยาบาลเอกชนทำประกันวิชาชีพมากขึ้น ยิ่งทำให้ผู้ป่วยอยากฟ้องแพทย์มากขึ้น เพราะได้เงินชดเชย ?


ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 34847 63156014 63156014 หมอหมู หมอหมู WWW Email

118.174.188.*


« ความเห็นที่ #6 เมื่อ: 09/18/16 เวลา 21:28:24 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

dr.hmoo-2016-09-18_212646.jpg

การตอบปัญหาสุขภาพ มีสองส่วน ที่อาจสุดโต่งไปคือ กลัวจนไม่ตอบ กับ ตอบแบบไม่กลัว  

ถ้ามีปัญหาสุขภาพ ผู้มีความรู้ ไม่ตอบ  แล้วจะให้ ผู้ที่ไม่รู้ ตอบ อย่างนั้นหรือ ?

โดยส่วนตัว ผมยังอยากให้ ผู้รู้ช่วยกันตอบ .. แต่ผู้รู้ ก็อย่ามั่นใจ เกินไป ... จนกลายเป็นภัยกับตนเอง


สรุปว่า ถ้าจะตอบปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะ ตอบฟรี หรือ ได้รับค่าตอบแทน  

สิ่งสำคัญ ที่สุด ก็คือ .. อย่าฟันธง  Grin

ปล.ไฟล์ภาพบางส่วนนำมาจากไฟล์ที่ผมไปนำเสนอในการ ประชุมวิชาการ BDMS Academic Annual Meeting  2016  โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล  
วันที่ 13 ก.ย.เวลา 11.00-12.00 น. ห้อง Balllroom 1
เรื่อง Social media ขนม หรือ ยาขม
social media สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จะใช้อย่างไร ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น  
ตอบปัญหาสุขภาพ อย่างไร ... ไม่ให้ คนตอบ มีปัญหา
ใช้เนต อย่างไร ... ให้ตนเอง ครอบครัว ปลอดภัย

//www.bdmsannualmeeting.com/



ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 34847 63156014 63156014 หมอหมู หมอหมู WWW Email

118.174.188.*


« ความเห็นที่ #7 เมื่อ: 09/18/16 เวลา 21:32:50 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

dr.hmoo-sos_specialist.JPG

ตอนนี้ มีเวบที่คล้าย ๆ กับ ต้นเรื่อง แต่ว่า ฟรี .. ท่านใดสนใจแวะแจมได้นะครับ

เพจหมอเฉพาะทางบาทเดียว  
https://www.facebook.com/SOSspecialist/

..................

แถม

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ผ่านระบบอินเตอร์เนต  
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008& group=2&gblog=3

มาทำบุญ ด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....  
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009& group=15&gblog=2

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนต จริงหรือ Huh
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009& group=7&gblog=37


ยืนยันว่าจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด ( เท่าที่จะทำได้ )
DO NO HARM [ PATIENT AND MYSELF ]
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหมอที่ดี ได้เสมอ
www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
ส่งโดย: หมอหมู male
สถานะ: Moderator, ThaiClinic Staff *****
จำนวนความเห็น: 34847 63156014 63156014 หมอหมู หมอหมู WWW Email

118.174.188.*




 

Create Date : 19 กันยายน 2559   
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:30:41 น.   
Counter : 993 Pageviews.  

แพทยสภา เตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย




 


18 มกราคม 2559

แพทยสภาแถลงข่าวเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

******************************

 

แพทยสภา ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคออกเตือนแพทย์และสถานพยาบาลต่างในการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรมต่อประชาชนทางโซเชียลมีเดีย

 

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2559เวลา 15.00 น. ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา นายกแพทยสภาพร้อมด้วย ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐ์สุวรรณผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและพล.อ.ต.นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกันแถลงข่าวเนื่องจากปัจจุบันกระแสของการโฆษณาทางโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับศัลยกรรมเพื่อความงามนับวันจะทวีมากขึ้น

 

ผู้รับอนุญาตผู้ดำเนินการสถานพยาบาลและแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลนั้นต้องระมัดระวังในการที่ผู้อื่นมาเผยแพร่เรื่องการรักษาพยาบาลของตนหรือการดำเนินการในสถานพยาบาลของตนในโชเชียลมีเดีย เป็นไปในทำนองความสามารถ ความเชี่ยวชาญเกินกว่าความเป็นจริงเพราะข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549ที่บังคับใช้กับแพทย์ หมวด 7 การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานพยาบาล ข้อ 36ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลต้องไม่โฆษณาสถานพยาบาลหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาสถานพยาบาลที่ตนเป็นผู้ดำเนินการในลักษณะดังต่อไปนี้

 

1)โฆษณาสถานพยาบาลในทำนองโอ้อวดของสถานพยาบาลนั้น หรือกิจกรรมอื่นของสถานพยาบาลเกินกว่าที่เป็นจริงส่วนแพทย์ที่ไม่ใช่ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลต้องระมัดระวังในการที่ผู้อื่นมาเผยแพร่เรื่องการรักษาพยาบาลของตนหรือการดำเนินการในสถานพยาบาลของตนโดยเฉพาะการลงรูปถ่ายต่างๆในโชเชียลมีเดีย

 

เป็นไปในทำนองเข้าข่ายโอ้อวดความสามารถความเชี่ยวชาญเกินกว่าความเป็นจริง เพราะข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 จะอาจผิดข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 ใน หมวด 3การโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรมความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตนซึ่งมีบทลงโทษทางจริยธรรมตั้งแต่ตักเตือน พักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้

 

และพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ.2541 ได้มีบทในการอนุญาตให้และห้ามโฆษณาภายใต้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล

 

ในกรณีของสถานพยาบาลมีกฎหมายของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพซึ่งเป็นกฎหมายในชั้นของพระราชบัญญัติ ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐ์สุวรรณผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกล่าวว่าทางกรมฯเป็นผู้ดูแลและให้อนุญาตสถานพยาบาลและคลินิกต่างๆในการโฆษณาซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานโดยมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 11 ( พ.ศ. 2546) เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาลหากสถานพยาบาลซึ่งรวมทั้งโรงพยาบาลและคลินิกเอกชนไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษโดยต้องระวางโทษปรับไม่เกิน20,000 บาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000บาท นับแต่วันที่ฝ่าฝืน ทั้งนี้จนกว่าจะระงับการโฆษณาดังกล่าว

 

ส่วนกรณีการห้ามโฆษณาที่สำคัญนั้นเช่น การใช้ข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความที่ไม่มีมูลความจริงทั้งหมด ซึ่งทำให้ประชาชนเข้าใจผิดไม่สามารถกระทำได้ รวมทั้งการโฆษณากิจการสถานพยาบาลหรือการโฆษณาความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลคุณภาพ หรือประสิทธิผลของผู้ประกอบวิชาชีพหรือสรรพคุณของเครื่องมือเครื่องใช้ของสถานพยาบาลหรือกรรมวิธีการรักษาหรือโรคที่ให้การรักษาหรือเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการรักษาไปในทำนองให้เข้าใจผิดโดยไม่ถูกต้องตามหลักการที่เป็นมาตรฐานวิชาชีพหรือทำให้ประชาชนเกิดความคาดหวังในสรรพคุณเกินความจริง

 

พล.อ.ต.นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญในฐานะคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีนโยบายคุ้มครองประชาชนทางด้านความงามแบบครบวงจรโดยจะจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อรับเรื่องร้องเรียนและแก้ปัญหาให้กับประชาชนโดยอาศัยผู้ซึ่งดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอันประกอบด้วยสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ เช่น แพทยสภา ทันตแพทยสภา สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะกรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่ดูแลคลินิกต่างๆ ตำรวจ บกปคบ. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยทำงานร่วมกันเพื่อมาดูแลประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเข้ารับบริการสามารถโทรแจ้งได้ที่สคบ. 1166 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

""""""""""""""""""""""""""""""""""

 

การโฆษณา ในแง่ของส่วนตัวแพทย์

 

- ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๔๙ หมวด 3 และ หมวด

 

แต่ถ้าเป็นการโฆษณาสถานพยาบาล

 

- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2546) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล

 

- ประกาศแพทยสภา ที่ 50/2549 เรื่อง คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณา

 

 

 

ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมพ.ศ. ๒๕๔๙

https://www.tmc.or.th/service_law02_17.php

 

หมวดที่ ๓ การโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

 

ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้างหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรมความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตน

 

ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้างหรือให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรมความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของผู้อื่น

 

ข้อ ๑๐ การโฆษณาตามข้อ ๘ และข้อ ๙อาจกระทำได้ในกรณีต่อไปนี้

 

(๑)การแสดงผลงานในวารสารทางวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือในการประชุมวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข

(๒) การแสดงผลงานในหน้าที่หรือในการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ

(๓)การแสดงผลงานหรือความก้าวหน้าทางวิชาการหรือการค้นพบวิธีการและเทคนิคใหม่ๆในการรักษาโรคซึ่งเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์เพื่อการศึกษาของมวลชน

(๔)การประกาศเกียรติคุณเป็นทางการโดยสถาบันวิชาการ สมาคม หรือมูลนิธิ

 

 

ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตนที่สำนักงานได้เพียงข้อความเฉพาะเรื่องต่อไปนี้

 

(๑) ชื่อ นามสกุลและอาจมีคำประกอบชื่อได้เพียงคำว่านายแพทย์หรือแพทย์หญิง อภิไธยตำแหน่งทางวิชาการฐานันดรศักดิ์ ยศ และบรรดาศักดิ์ เท่านั้น

(๒) ชื่อปริญญา วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติหรือหนังสือแสดงคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้รับมาโดยวิธีการถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของแพทยสภาหรือสถาบันนั้นๆ

(๓) สาขาของวิชาชีพเวชกรรม

(๔) เวลาทำการ

 

ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจแจ้งความการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเฉพาะการแสดงที่อยู่ที่ตั้งสำนักงาน หมายเลขโทรศัพท์ และหรือข้อความที่อนุญาตในหมวด ๓ ข้อ ๑๑ เท่านั้น

 

ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ทำการเผยแพร่หรือตอบปัญหาทางสื่อมวลชนถ้าแสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถแจ้งสถานที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้แต่ต้องไม่เป็นการสื่อไปในทำนองโฆษณาโอ้อวดเกินความเป็นจริง หลอกลวงหรือทำให้ผู้ป่วยหลงเชื่อมาใช้บริการและในการแจ้งสถานที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ปรากฏหมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัวในที่เดียวกัน

 

ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมีมิให้การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตนแพร่ออกไปในสื่อมวลชนเป็นทำนองโฆษณาความรู้ความสามารถ

 

 

หมวด ๗ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานพยาบาล

 

ข้อ ๓๖ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลต้องไม่โฆษณาสถานพยาบาลหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาสถานพยาบาลที่ตนเป็นผู้ดำเนินการในลักษณะดังต่อไปนี้

 

(๑)โฆษณาสถานพยาบาลในทำนองโอ้อวดการประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือกิจกรรมอื่นของสถานพยาบาลเกินกว่าที่เป็นจริง

(๒) โฆษณาสถานพยาบาลโดยโอ้อวดกิจกรรมของสถานพยาบาลนั้นหรือสรรพคุณของเครื่องมือเครื่องใช้ของสถานพยาบาลไปในทำนองจูงใจให้ผู้อื่นเข้าใจผิดโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่เป็นมาตรฐานของวิชาชีพเวชกรรมหรือทำให้ประชาชนเกิดความคาดหวังในสรรพคุณเกินความเป็นจริง

(๓) โฆษณาสถานพยาบาลที่มีลักษณะเป็นการลามกไม่สุภาพ สำหรับสาธารณชนทั่วไปหรือมีลักษณะเป็นการกระตุ้น หรือยั่วยุกามารมณ์หรือเป็นการขัดต่อศีลธรรมอันดี

(๔)โฆษณาสถานพยาบาลทำนองว่าจะให้ส่วนลดเป็นเงินหรือให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ใดให้เป็นไปตามระเบียบที่แพทยสภากำหนด

(๕) โฆษณาสถานพยาบาลว่ามีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้หนึ่งผู้ใดมาประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสถานพยาบาลนั้นโดยไม่เป็นความจริง

 

ข้อ ๓๗ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลต้องไม่ให้หรือยอมให้มีการให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนใดๆแก่ผู้ชักนำผู้ไปขอรับบริการจากสถานพยาบาลนั้น

 

ข้อ ๓๘ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลต้องไม่ให้หรือยินยอมให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือวิชาชีพใดๆ ทางการแพทย์หรือการสาธารณสุข

หรือการประกอบโรคศิลปะโดยผิดกฎหมายในสถานพยาบาลนั้นๆ

 

ข้อ ๓๙ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใดไปทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสถานพยาบาลมีสิทธิที่จะประกาศหรือยินยอมให้มีการประกาศชื่อของตน ณสถานพยาบาลนั้นเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานเป็นเวลาแน่นอนหรือปฏิบัติงานเป็นประจำเท่านั้น โดยต้องมีข้อความระบุ วันเวลาที่ไปปฏิบัติงานประกอบชื่อของตนไว้ในประกาศนั้นให้ชัดเจนด้วย

 

ข้อ ๔๐ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใดที่ไปทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสถาน พยาบาลถ้ามิได้เป็นผู้ปฏิบัติงานประจำหรือไปปฏิบัติงานไม่เป็นเวลาที่แน่นอนไม่มีสิทธิที่จะให้มีการประกาศชื่อของตน ณ สถานพยาบาลนั้น เว้นแต่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะมีการทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้ดำเนินการสถานพยาบาลนั้นๆ

 

 

หมวด ๘ การปฏิบัติตนในกรณีที่มีความสัมพันธ์กับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

 

 

ข้อ ๔๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่รับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจไม่ว่ากรณีใดๆยกเว้นกรณีรับค่าตอบแทนจากการเป็นที่ปรึกษา เป็นวิทยากรการบรรยายทางวิชาการเป็นผู้ได้รับทุนวิจัยจาก ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว

 

 

ข้อ ๔๒ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่รับสิ่งของ การบริการหรือนันทนาการที่มีมูลค่าเกินกว่าสามพันบาทจากผู้ประกอบธุรกิจไม่ว่ากรณีใดๆยกเว้นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่งานด้านวิชาการที่ส่งผลถึงการบริการที่ยังประโยชน์แก่ผู้ป่วยโดยให้รับในนามของสถาบันต้นสังกัด

 

 

ข้อ ๔๓ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใด เมื่อรับทุนจากผู้ประกอบธุรกิจในการไปดูงานไปประชุมหรือไปบรรยายทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ให้รับทุนได้เฉพาะค่าเดินทางค่าลงทะเบียน ค่าวิทยากร ค่าอาหาร และค่าที่พัก สำหรับเฉพาะตนเองเท่านั้นและจำกัดเฉพาะช่วงเวลาของการดูงาน การประชุม หรือการบรรยายเท่านั้น

 

 

ข้อ ๔๔ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใดถ้าต้องการแสดงตนเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ ต่อสาธารณชนจะต้องไม่ใช้คำว่านายแพทย์ แพทย์หญิง คำอื่นใด หรือกระทำการไม่ว่าโดยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความ ภาพ เครื่องหมาย หรือกระทำอย่างใดๆให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

 

 

ข้อ ๔๕ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใดเมื่อแสดงความเห็นต่อสาธารณะโดยการพูดการเขียนหรือโดยวิธีการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สุขภาพใดต้องแสดงโดยเปิดเผยในขณะเดียวกันนั้นด้วยว่าตนมีส่วนเกี่ยวข้องโดยได้รับผลประโยชน์ใดๆจากผู้ประกอบธุรกิจนั้น เช่น เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้ร่วมทุนเป็นผู้ได้รับทุนไปดูงาน ไปประชุมหรือบรรยายจากผู้ประกอบธุรกิจนั้นๆ

 

 

ข้อ ๔๖ ราชวิทยาลัยและวิทยาลัยในสังกัดแพทยสภาอาจวางระเบียบกำหนดแนวปฏิบัติตามข้อบังคับในหมวดนี้สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยและวิทยาลัยนั้นๆได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้

 

""""""""""""""""""""""""""""""""""""

 

 

15คำห้ามแพทย์โม้โฆษณา

https://www.facebook.com/themedicalcouncil/posts/821843704609353

 

18 ข้อห้ามคลินิก -รพ.เอกชนโฆษณา ฝ่าฝืนปรับวันละหมื่นจนกว่าจะระงับ 15 คำบังคับแพทย์ห้ามใช้จ้อโทษตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ - เพิกถอนใบอนุญาตฯ

 

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2546)เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล ซึ่งออกตามมาตรา 38พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่กำหนดว่าห้ามโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยถ้อยคำที่เป็นเท็จหรือโอ้อวดโดยใช้บังคับกับสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สังกัดของหน่วยงานราชการ ประกาศดังกล่าว กำหนด18 ข้อห้ามโฆษณาสถานพยาบาลในลักษณะ ดังนี้

 

 

1. ห้ามใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่ไม่มีมูลความจริงทั้งหมดหรือบางส่วนหรือมีลักษณะหลอกลวงหรือปกปิดความจริงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นจริง

 

2.การใช้ข้อความทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่ามีบุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์แต่กลับไม่มีให้บริการ

 

3. การใช้สถาบัน หน่วยงานองค์กร หรือบุคคล ที่ไม่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานรัฐ

 

4.การโฆษณาบริการโรคที่ไม่มีอยู่ในสาขาที่ผู้ประกอบวิชาชีพมีหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตร

 

5. การอ้างอิงรายงานวิชาการผลงานวิจัย สถิติ โดยข้อมูลที่อ้างอิงไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ

 

6. การใช้ข้อความหรือรูปภาพโอ้อวดเกินจริงหรือข้อความที่กล่าวอ้างหรือบ่งบอกว่าของตนดีกว่า เหนือกว่าดีที่สุด รายแรก แห่งแรก รับรองผล 100% หรือการเปรียบเทียบหรือข้อความที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าการบริการของสถานพยาบาลแห่งนั้นมีคุณภาพที่ดีกว่าเหนือกว่าหรือสูงกว่าที่อื่น

 

7.การโฆษณากิจการสถานพยาบาลหรือการโฆษณาความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลคุณภาพหรือประสิทธิผลสรรพคุณ กรรมวิธีหรือเปรียบเทียบผลก่อน - หลังในทำนองให้เข้าใจผิด

 

8.การใช้ชื่อสถานพยาบาลหรือข้อความที่ทำให้เข้าใจว่ามีการประกอบกิจการที่ไม่ตรงกับการรับอนุญาต

 

9.การโฆษณาสถานที่ซึ่งไม่ใช่เป็นของสถานพยาบาล

 

10.การโฆษณาด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ประชาชน

 

11.การใช้ภาพหรือเสียงที่ไม่เหมาะสมสร้างความหวาดกลัวหรือมีลักษณะเป็นการส่อไปในทางลามกอนาจาร กระตุ้นหรือยั่วยุทางกามารมณ์

 

12.การใช้ภาพหรือเสียงโดยไม่สุภาพหรือแสดงอาการทุกข์ทรมานของผู้ป่วย

 

13. การให้ร้าย เสียดสีหรือทับถมสถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่น

 

14. ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม

 

15. การโฆษณาที่รวมอยู่กับข้อความถวายพระพรหรือข้อความอย่างอื่นที่อ้างอิงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เว้นแต่ชื่อของสถานพยาบาลหรือผู้ประพันธ์บทความดังกล่าว

 

16. การโฆษณาการให้บริการฟรี

 

17. การโฆษณาที่จัดให้มีการแถม แลกเปลี่ยนให้สิทธิประโยชน์ รางวัล หรือการเสี่ยงโชคจากการรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาล

 

18. ห้ามการให้ส่วนลดค่าบริการหรือค่ารักษาพยาบาลเว้นแต่ลดเพื่อการอนุเคราะห์บุคคลด้อยโอกาสลดต่อสมาชิกกลุ่มบุคคลหรือสถาบันหรือองค์กรเป็นการแจ้งให้ทราบเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

 

 

ทั้งนี้ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1หมื่นบาท นับแต่วันที่ฝ่าฝืน จนกว่าจะระงับการโฆษณา

 

 

 

“””””””””””””””

 

https://www.tmc.or.th/service_law03_12.php

 

ในส่วนของแพทย์ตามประกาศแพทยสภา ที่ 50/2549 เรื่อง คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณาออกบังคับใช้กับแพทย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 กำหนดคำที่ห้ามแพทย์ใช้ในการโฆษณา 15คำเบื้องต้น ดังนี้

 

1. คำว่า เพียง เช่น เพียง4,000 บาท ต่อ ครั้ง

 

2. คำว่า เท่านั้น เช่นรักษาครั้งละ 500 บาท เท่านั้น

 

3. คำว่า พิเศษ เช่น พิเศษสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตค่ารักษา

 

4. คำว่า เฉพาะ เช่นราคานี้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น

 

5. คำว่า ล้ำสมัย หรือ เช่นด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แห่งเดียว/แห่งแรกในประเทศไทย

 

6. คำว่า นำสมัย เช่นอุปกรณ์ที่นำสมัยในการให้การรักษา

 

7. คำว่า ราคาเดิม เช่นเสริมจมูก ตกแต่งใบหน้า 3,000 บาท จากราคาเดิม 4,000 บาท

 

8. คำว่า ครบวงจร เช่นโดยทางศูนย์ให้บริการแบบครบวงจร การแสดงราคาเปรียบเทียบ เช่น จากเดิม 6,000 บาทเหลือ 4,000 บาท หรือการแสดงราคาเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลอื่น เช่น โรงพยาบาล น.ราคาโปรแกรมตรวจสุขภาพ ราคา 3,000 บาท แต่โรงพยาบาล ร.โปรแกรมตรวจสุขภาพ ราคา2,000 บาท การใช้คำว่า ปกติ กับ เหลือ เช่น ปกติ ราคา 500 บาท จองวันนี้ เหลือ 300บาท โดยสิทธิ์นี้ใช้ได้ จนถึงสิ้นเดือน

 

9. คำว่า ฟรี เช่นจองวันนี้แถมฟรี ตรวจความดันปัสสาวะ ฯลฯ .

 

10. คำว่า สวยจริง จริงบอกต่อ

 

11. คำว่า อยากสวย สวยที่

 

12. คำว่า งดงามที่...มีเสน่ห์ที่...

 

13. คำว่าสวยเหมือนธรรมชาติที่...

 

14. คำว่า เหนือกว่า / สูงกว่า

 

15. คำว่า โรค...รักษาได้(ต้องมีข้อมูลทางวิชาการ 80% ขึ้นไป ว่าโรคดังกล่าวสามารถรักษาหายได้)

 

 

 

ผู้ฝ่าฝืนมีโทษตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือนภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และเพิกถอนใบอนุญาตฯ

 

 

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

 

แพทยสภา "หมอโฆษณาขายยาผิดไหม?"

 

 คำถาม : กรณีหมอไปโฆษณาขายยาอาหารเสริม ใน Facebook ทำได้หรือไม่?

 คำตอบ :ปกติทำไม่ได้...ถ้าถามว่าทำได้แค่ไหน..โปรดอ่านข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบ

 หมวด ๘การปฏิบัติตนในกรณีที่มีความสัมพันธ์กับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 ข้อ ๔๔ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใด ถ้าต้องการแสดงตนเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆต่อสาธารณชนจะต้องไม่ใช้คำว่า นายแพทย์ แพทย์หญิง คำอื่นใดหรือกระทำการไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความ ภาพ เครื่องหมายหรือกระทำอย่างใดๆ ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

 ข้อ ๔๕ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใด เมื่อแสดงความเห็นต่อสาธารณะโดยการพูดการเขียนหรือโดยวิธีการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สุขภาพใดต้องแสดงโดยเปิดเผยในขณะเดียวกันนั้นด้วยว่าตนมีส่วนเกี่ยวข้องโดยได้รับผลประโยชน์ใดๆจากผู้ประกอบธุรกิจนั้น เช่น เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้ร่วมทุนเป็นผู้ได้รับทุนไปดูงาน ไปประชุมหรือบรรยายจากผู้ประกอบธุรกิจนั้นๆ

https://www.tmc.or.th/news_file/tmc-rule-2549.pdf

 

คำถาม : ในกรณีไม่ได้บอกว่าเป็นนายแพทย์ หรือ แพทย์หญิง ใน Facebook ทำได้หรือไม่ ?

 คำตอบ : Facebook มี profile และ post อื่นๆต่อเนื่องกัน หากมีที่เข้าข่าย...

"..คำอื่นใด หรือกระทำการไม่ว่าโดยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความ ภาพ เครื่องหมาย หรือกระทำอย่างใดๆให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม.." รวมถึง postก่อนหน้า หรือหลังจากนั้น เช่นไปตรวจคนไข้ ไปอยู่เวร เรียนจบรับปริญญา ย่อมง่ายแก้การเข้าองค์ประกอบความผิดได้ตามข้อบังคับแพทยสภา..เลี่ยงบาลีย่อมทำไม่ได้

 

คำถาม : การลงโทษของแพทยสภาเป็นระดับใด?

 คำตอบ : คณะอนุกรรมการจริยธรรมและสอบสวน จะพิจารณาขึ้นกับ เจตนา พฤติกรรม และวิสัย จำนวนครั้งที่กระทำความผิดและหากทำซ้ำเพิ่มโทษ ตั้งแต่ตักเตือน ถึงเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม และอาจถูกพิจารณาประกอบกรณี การขอเข้าศึกษาต่อ จนถึงรับทุนต่างๆ และไม่สามารถออกใบรับรองความประพฤติดีให้ได้เมื่อยามไปเรียนต่างประเทศ

 คำแนะนำ :ขอให้คุณหมอโปรดสำรวจในเพจตนเอง ท่านใดที่เผลอไปลงที่เข้าข่าย โฆษณา โดยไม่ตั้งใจหรือ ไม่ทราบข้อบังคับ ให้รีบไปแก้ไขให้ถูกข้อบังคับหากไม่แก้ไขแล้วมีผู้ร้องเรียนมา แพทยสภาจำเป็นจะต้องดำเนินการสอบสวนลงโทษตามข้อบังคับจริยธรรมต่อไป

 สำนักเลขาธิการแพทยสภา 9 ธค.2561 https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/2163059983958895

 

*********************************************

Smart Consumer
https://www.facebook.com/smartconsumer4.0/posts/820061895072910?__tn__=K-R

โฆษณาสถานพยาบาล
.
“โฆษณา” คือ การกระทำการไม่ว่าโดยวิธีการใดๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบ ข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า
.
“สถานพยาบาล” คือ สถานที่รวมถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบ โรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่” จากอำนาจตามความในมาตรา 38 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสนับสนุน บริการสุขภาพในฐานะผู้อนุญาต จึงได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล พ.ศ. 2562
.
สามารถทำการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล โดยไม่ต้องยื่นคำขอ เกี่ยวกับ
1) ชื่อย่อ ชื่อที่เป็นภาษาต่างประเทศ ชื่อที่ใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า และสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายเช่นเดียวกับชื่อสถานพยาบาล
.
2)คุณวุฒิหรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข
.
3) อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการอื่น ๆ การโฆษณาอัตราค่าบริการแบบเหมาจ่ายต้องแจ้งรายละเอียดของเงื่อนไขในการโฆษณานั้น โดยต้องแจ้ง เงื่อนไขให้ผู้รับบริการ
.
4) สิทธิของผู้ป่วย ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
.
5) การบริการทางการแพทย์ ให้แจ้งเฉพาะบริการที่มีในสถานพยาบาล วัน เวลา ที่ให้บริการ ตามที่ได้รับอนุญาต
.
6)การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและผลงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องไม่เป็นเท็จ โอ้อวดเกินจริง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการให้บริการของสถานพยาบาล
.
7) การแจ้งข่าวสาร เช่น แจ้งทำลายเวชระเบียน แจ้งย้ายสถานที่ เป็นต้น
.
ห้ามมิให้โฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล มีลักษณะดังนี้

1) เป็นเท็จ โอ้อวด หลอกลวง ปกปิดความจริง ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นจริงทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่น บ่งบอกว่าของตนดีกว่า เหนือกว่า ดีที่สุด รายแรก แห่งแรก รับรองผล 100% หายขาด
.
2) ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจหรือคาดหวังว่าในสถานพยาบาล ว่ามีผู้ประกอบวิชาชีพ บุคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ ยา เวชภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่โดยข้อเท็จจริงไม่มีในสถานพยาบาล หรือไม่เป็นไปตามโฆษณาหรือประกาศ
.
3) การโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาล ซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจ หรือ หลงเชื่อว่าสถานพยาบาลนั้น ประกอบกิจการไม่ตรงกับที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
.
4) วิธีการโฆษณาเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ หรือก่อความรำคาญ
.
5) สร้างความหวาดกลัว หรือมีลักษณะเป็นการส่อไปในทางลามกอนาจาร
.
6) ไม่สุภาพหรือแสดงอาการทุกข์ทรมานของผู้ป่วย
.
7) ดูหมิ่นให้ร้าย เสียดสีหรือทับถมสถานพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
.
8)ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรม อันดีของประชาชน
.
9) อ้างอิง เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
หากนอกเหนือจากนี้ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ สถานพยาบาล หรือผู้รับอนุญาต ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยข้อความ เสียงหรือภาพ ที่ใช้ในการ โฆษณาหรือประกาศ เอกสาร และ ชำระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการตรวจข้อความ

ภาพและเสียงการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับ สถานพยาบาล
.
1)ใบคำขออนุมัติโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาลเนื้อหาโฆษณา กระดาษขนาดเอสี่ ตัวอักษรขนาดไม่ต่ำกว่าสิบหกพอยต์ หน้าละห้าร้อยบาท สื่อโฆษณาที่เป็นภาพหรือเสียง วินาทีละ ห้าสิบบาท
.
2) ใบแทนหนังสืออนุมัติ ฉบับละสามร้อยบาท
ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562
.
หากฝ่าฝืน จะระวางโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ฝ่าฝืนให้มีคำสั่งระงับการโฆษณา หรือประกาศ ทั้งนี้ จนกว่าจะระงับการโฆษณาหรือประกาศดังกล่าว
.
Reference : 1. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. [cited 2019Dec26]. Available from: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2562/E/289/T_0044.PDF

2. สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร. [cited 2019Dec26]. Available from:
https://library2.parliament.go.th/…/co…/law107-201259-41.pdf






********************************************* 



ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

 

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

 

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10

 




 

Create Date : 18 มกราคม 2559   
Last Update : 20 มกราคม 2563 22:53:36 น.   
Counter : 8144 Pageviews.  

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์ .... โดย doctorlawyer








Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์

British Medical Journal (BMJ) ได้ตีพิมพ์บทความการสำรวจการใช้socialmedia พบว่า 88%ของนักศึกษาแพทย์ และ 80%ของแพทย์ประจำบ้านยอมรับว่ามีการใช้Facebook อย่างไม่เหมาะสม (unprofessional) โดยไปล่วงล้ำหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย

มีรายงานว่าแพทย์ประจำห้องฉุกเฉินที่ Rhode Island ได้ถูกไล่ออกจากงานเพราะไปแชตเรื่องผู้ป่วยรายหนึ่งบนfacebookส่วนตัวของเธอแต่บังเอิญว่าfacebookที่เธอบอกว่าส่วนตัว(accountของเธอเอง)นั้นไม่ได้เป็นส่วนตัวจริงอย่างที่เธอเข้าใจ เพราะมีคนติดตามดูเธอ (Friend) มากมายแม้เธอจะกล่าวอ้างว่าไม่ได้ระบุชื่อผู้ป่วยแต่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยที่ได้รับการโพสต์นั้นมากพอที่จะสันนิษฐานได้ไม่ยากว่าเป็นใคร

สิ่งที่เธอทำผิดพลาด (โดยไม่ได้ตั้งใจ) ก็เหมือน ๆกับที่เกิดขึ้นกับแพทย์อีกหลายคนกระทำคือ การขาดความยั้งคิด ขาดประสบการณ์และขาดความระมัดระวังในการใช้งานแอพเหล่านี้ โดยลืมนึกไปว่าไม่มีความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ การโพสต์อะไรต่ออะไรลงไปผ่านแอพเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวและสูญเสียความไว้วางใจของผู้ป่วยเพราะมีโอกาสสูงมากที่ข้อความเหล่านี้จะถูกส่งต่อไม่รู้จบและไปลงเอยถึงสื่อสารมวลชนรวมทั้งนายจ้าง ผู้บังคับบัญชา

Social Medial Highway Code

ในต่างประเทศได้มีการสรุปกฎเหล็กที่แพทย์ต้องระมัดระวังในการใช้socialmediaที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของแพทย์ ดังนี้

(๑) ระมัดระวังในการโพสต์จำไว้ว่าการเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราส่งเข้าในโลกออนไลน์นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย

(๒)ตระหนักไว้เสมอว่าเรื่องส่วนตัวกับความเป็นวิชาชีพนั้นในหลายกรณีไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด

(๓) การให้คำแนะนำด้านการแพทย์ในโลกออนไลน์ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะโลกออนไลน์ที่เราคิดว่าเป็นส่วนตัวนั้นอาจกลายเป็นที่สาธารณะของคนอื่นที่คอยแอบดูอยู่เงียบ ๆ และอาจนำข้อความเราไปใช้อย่างไม่สมบูรณ์

(๔)เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่อ่อนไหวและอาจขัดต่อจริยธรรมทางการแพทย์

(๕)แม้ว่าแพทย์จะมีด้านหนึ่งที่เป็นมนุษย์ปุถุชนที่ต้องการแสดงออกเหมือนคนอื่นแต่ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามรักษาสถานะความเป็นมืออาชีพ (Professional)ไว้ด้วยเสมอดังนั้นการโพสต์สิ่งที่หมิ่นเหม่ต่อภาพพจน์ส่วนตัว เช่น ภาพอนาจารข้อความหยาบคาย ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

(๖)ความเป็นวิชาชีพทำให้ความคิดเห็นของเรามีน้ำหนักมากในโลกออนไลน์ดังนั้นต้องมีความรับผิดชอบที่เหมาะสมในการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ข้อความที่เราแสดงออกอาจถูกนำไปบิดเบือนได้โดยง่ายเพียงแค่การcopyและpasteเพียงบางเสี้ยวของข้อความทั้งหมดเพื่อไปใช้ในวัตถุประสงค์แอบแฝงของคนอื่น

(๗)ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นด้วยความสุภาพ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ให้ความเห็นอกเห็นใจเช่นเดียวกับในโลกความเป็นจริง

(๘)ระลึกไว้เสมอว่าบนโลกออนไลน์ที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมนั้นอาจมีคนอื่นเฝ้าดูเราอยู่ด้วยเสมอ

(๙) แพทย์อาวุโสที่มีประสบการณ์บนโลกออนไลน์มากกว่าแพทย์ใหม่ควรให้คำแนะนำแก่น้อง ๆ ร่วมวิชาชีพในการใช้ชีวิตบน Social media โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อผู้ป่วยหรือ สถาบันการศึกษาส่วนรวม

(๑๐)ผิดพลาดแล้วแก้ตัวใหม่ได้ โลกออนไลน์สำหรับผู้เข้ามาใหม่ ก็เหมือนโลกในความเป็นจริงที่ทุกคนต้องพบเจอทุกวัน เพื่อนใหม่ สังคมใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่ความผิดพลาดใหม่ ๆ จำไว้เป็นบทเรียนและแก้ตัวใหม่ และสนุกกับมัน!


คำแนะนำของ American College of Physicians และ BritishMedical Association

- คิดก่อนโพสต์

- ไม่จำเป็นอย่างที่สุด จงอย่า “Friend” กับผู้ป่วยของเรา

- หลีกเลี่ยงการติดต่อผู้ป่วยผ่านทางSocial media ยกเว้นมีเหตุจำเป็นหากจำเป็นต้องติดต่อกับผู้ป่วยผ่านโลกออนไลน์แพทย์ต้องสร้างระยะห่างที่เหมาะสมไว้เสมอ

- จำไว้ว่า ในโลกออนไลน์นั้นมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแยกแยะความคิดเห็นส่วนบุคคลกับความคิดเห็นในฐานะวิชาชีพออกจากกันอย่างเด็ดขาดดังนั้นต้องระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็น เพราะเราสวมหมวกกว่าหนึ่งใบอยู่ตลอด

- แพทย์หลายคนมักทำผิดพลาด ซึ่งเป็นการทำร้ายตัวเองทางอ้อมโดยทำการโพสต์ข้อมูลที่ปราศจากการกลั่นกรองความถูกต้องหรือปราศจากความรับผิดชอบ ซึ่งอาจย้อนกลับมาทำร้ายเราได้ในภายหลังอย่าลืมว่าข้อมูลที่เราโพสต์นั้นจะอยู่บนโลกออนไลน์ได้ตราบนานเท่านานโดยเฉพาะกรณีที่มีการส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าไปควบคุมแก้ไขความผิดพลาดในภายหลัง

-หากแพทย์ตัดสินใจแสดงตัวตนบนโลกออนไลน์อย่างเปิดเผยว่าตนเองมีอาชีพอะไรเชี่ยวชาญด้านไหนแล้ว แพทย์ก็ควรจะต้องตระหนักไว้เสมอว่า “ไม่ว่าเราจะทำอะไรลงไปในโลกออนไลน์การกระทำนั้นต้องไม่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของตัวเองในฐานะแพทย์” แม้ว่าเราอาจมีนามแฝงอื่นสำหรับกิจกรรมอื่นที่เราเข้าร่วม จำไว้เสมอว่า เรายังคงเป็นแพทย์ที่จำเป็นต้องมีความเป็นมืออาชีพมีความน่าเชื่อถือ ได้รับการเคารพและความไว้วางใจจากผู้ป่วย

- หากท่านเมา หรืออยู่ในอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เสียใจ แค้นเคืองหงุดหงิด อย่าไปยุ่งกับโลกออนไลน์ โดยเด็ดขาดมิฉะนั้นท่านอาจเสียใจในสิ่งกระทำลงไปในภายหลัง

- หากท่านอยากมี “Follower” “Friend” “Fans” มาก ๆท่านต้องมองว่าท่านมีดีอะไรให้คนติดตามท่านนอกเหนือจากความเป็นแพทย์มิฉะนั้นแล้วมีโอกาสสูงมากที่ท่านจะหลุดออกไปนอกกรอบจริยธรรมทางการแพทย์

- ควรตั้งค่าเพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัว (Privacysetting) ไว้อย่างแน่นหนา ทั้งนี้เพื่อปกป้อง อัตลักษณ์ความเป็นตัวตน (Identity)ของเราเองมิให้ถูกมิจฉาชีพนำไปใช้และสร้างความเสื่อมเสียแก่วงการแพทย์และตัวท่านเองได้แต่ต้องไม่ลืมว่าไม่มีระบบป้องกันใด ๆ ในโลกออนไลน์ที่ปลอดภัย 100 %

ท้ายที่สุดนี้ หลักการง่าย ๆที่ได้รับการรับรองอย่างไม่เป็นทางการจากหลายสำนัก คือ 

“เมื่อไรที่เริ่มลังเลว่าควรจะโพสต์ข้อความหรือรูปภาพเหล่านี้ดีหรือไม่นั่นแสดงว่าท่านไม่ควรโพสต์”

สวัสดีและขอให้มีความสุขกับโลกเสมือนจริง

ส่งโดย: doctorlawyer.


...................................

ลิงค์เรื่องที่เกี่ยวข้อง

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10




 

Create Date : 29 มิถุนายน 2557   
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:50:55 น.   
Counter : 1760 Pageviews.  

ข้อควระวังการใช้ Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ::: หมอแมว และ 1412 Cardiology





การระมัดระวัง การใช้ Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข

posted on 26 Jun 2014 09:46 by mor-maew  in MedicalStudy

https://mor-maew.exteen.com/20140626/social-media




การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข

สืบเนื่องจากกรณีฉาวที่ผ่านมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ผมต้องไปหาบทความข้อเขียนที่ทำไว้ประกอบการบรรยายเมื่อครึ่งปีที่แล้ว เอาออกมาปัดฝุ่นใหม่
ข้อความข้างล่างนี้ คือสิ่งที่รวบรวมมาจากแนวทางการใช้Social media สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และนิวซีแลนท์

บางส่วนอาจจะมีบริบทไม่ตรงกับประเทศไทย แต่ก็ควรระมัดระวังไว้เพราะดราม่าเกิดได้ทุกที่

****
ข้อควรรู้และพึงระวังในการใช้ social media ของบุคลากรทางการแพทย์
****

1. การสั่งการรักษาหรือการให้คำแนะนำในinternet
ต้องระวังแง่ ข้อมูลไม่เพียงพอ เพราะเรามักมีแต่ประวัติ ไม่มีการตรวจร่างกาย ไม่มีการตรวจพิเศษ
การอธิบายเป็นการพิมพ์ ทำได้สั้น กว่าการพูด การพิมพ์คุยกันมักจะได้ข้อความที่ขาดการมองเห็นหน้าตา เราไม่สามารถเห็นสีหน้าว่าเค้าเข้าใจหรืองง
นอกจากนี้ผู้ประกอบวิชาชีพอาจจะต้องรับผิดชอบในการให้คำแนะนำหรือการรักษา หากผลที่ได้ไม่ตรงตามความต้องการแม้ว่าเหตุนั้นจะเกิดจากการที่ให้ข้อมูลไม่ ครบ

2. ระวังการadd friendผู้ป่วย
ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย และมีความเสี่ยงที่จะละเมิดความเป็นส่วนตัวของอีกฝ่าย
ผู้ป่วย/แพทย์ เกิดความลำบากใจ เมื่อมีการขอadd friend หรือการขอร้องบางอย่าง
หมอบางคนขอaddผู้ป่วยเพราะหวังจะปรับการรักษาให้ดี ผู้ป่วยลำบากใจได้เพราะรู้สึกถูกบังคับ ,บางบ้านสามีหรือภรรยาหึงมาก ซวยอีก
ผู้ป่วยบางคนขอAddหมอ หมอก็อาจจะลำบากใจเพราะบางครั้งมีการถามปรึกษานอกเวลามากไป

ข้อมูลหลายอย่างสามารถค้นหากลับไปได้จากการadd friend เข้ามา คนไข้สามารถไปถึงบ้านได้ สามารถหาเบอร์โทรศัพท์ได้ (ในต่างประเทศมีกรณีคนไข้บุกไปบ้านหมอได้ด้วยการหาที่อยู่จากวงsocial network)

ถ้าคนไข้ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ในช่วงเวลาที่เราพักผ่อน(แพทย์บางรายถูก โทรตามตอนกลางดึกยันเช้า) กดส่งข้อความ ส่งเมล์มา การไม่ตอบมีผลต่อความสัมพันธ์ของคนไข้และแพทย์ โดยเฉพาะกรณีฉุกเฉิน การไม่ตอบหรือบางโปรแกรมมีระบุว่าอ่านแล้วไม่ตอบ หรือแม้แต่ตอบแล้วทางนั้นต้องการให้เราแก้ไขปัญหาให้ (เช่นให้เราต่อสายขอความช่วยเหลือให้เขา ) หากไม่สามารถช่วยเหลือได้ ก็สามารถเกิดปัญหาทางข้อกฎหมายตามมา

3. การเล่าเคสที่ระบุได้ถึงตัวตนของผู้ป่วย/ การใส่รูปภาพหรือวีดีโอ
ปกติทางการแพทย์จะมีการเอาเคสมาเล่าเพื่อการศึกษา แต่ต้องปิดบังตัวตนของผู้ป่วย
การปกปิดในระดับการเรียนการสอน มักจะใช้คำไม่ระบุตัวตนเช่น "ชายไทยคู่อายุ34ปี" "หญิงไทยโสดอายุ80ปี"หรือคาดตา ซึ่งเพียงพอในระดับการเรียนในโรงพยาบาล แต่การปกปิดนี้อาจจะไม่พอ
- ห้ามถ่ายรูปในรพ.แล้วติดคนไข้ เพราะบางครั้งคนไข้ไม่ต้องการให้คนอื่นทราบว่ามารพ.หรือป่วย
- ห้ามลงเอกสาร ฟิล์มรังสี ชื่อยา ของคนไข้แล้วระบุชื่อ หรือสิ่งที่ทำให้ระบุตัวตน
- ไม่ควรเล่าลักษณะของเคสที่เข้ามาและรักษา โดยเฉพาะเคสที่อาจจะเป็นข่าว
(พยาบาลต่างประเทศ ถูกไล่ออก เพราะในเมืองมีกรณีตำรวจสู้กับโจรจนตาย โจรบาดเจ็บ เธอช่วยรักษาโจรจนรอดและโพสท์บอกว่าเสียใจกับตำรวจ และด้วยจรรยาบรรณ ทุกคนก็ต้องรักษาโจรเช่นกันอย่างเท่าเทียม .. เหตุที่โดนไล่ออก เพราะตอนที่โพสท์มีข่าวแล้วว่ามีคดีนี้ และการระบุเหตุการณ์ทำให้ทุกคนรู้ว่าตำรวจที่ตายและคนร้ายคนนี้รักษาตัวที่ ใด เพราะถ้าเลื่อนสเตตัสลงไปล่างๆ จะมีสเตตัสที่บอกว่าเธอทำงานที่รพ.ไหน ถือเป็นการเปิดเผยความลับผู้ป่วย)

ทั้งนี้ในต่างประเทศมีการวิเคราะห์ว่ากรณีเปิดเผยความลับแบบไม่ตั้งใจ อาจจะมากถึง 17%ของเคสที่เล่าๆกัน

4. ปัญหาการระบุตัวตน – การอ่านผลเลือด การระบุตัวยา บางครั้งไม่ใช่ของคนที่เอามาถามเรา
อาจมีผลทางกฎหมายเพราะไปเปิดเผยความลับผู้ป่วยให้คนอื่น

เคยกรณีคนมาถามผลเลือดธาลัสซีเมียบอกว่าเป็นของตนเอง ดูไม่มีอะไร ตอบไปเสร็จ อีกสักพักมีอีกคนมาถามเหมือนกัน ( ถามย้อนกลับไปได้ความว่ามีคนอ้างว่าป่วยน่าสงสาร ... หลายคนเอาไปโพสท์ในpantipห้องสวนลุมให้ช่วยอ่านผลเลือด หลายคนอ้างว่าเป็นผลเลือดตนเอง จากนั้นเมื่อมีคนตอบ ก็เอาไปด่าเจ้าของผลเลือดว่าโกหกแล้วอ้างชื่อหมอ)

การระบุตัวยา – มักจะมาด้วยการถามชื่อยา บ้างว่ากินแล้วแพ้แต่หมอ-เภสัชจ่ายยามาไม่บอกชื่อ ฯลฯ บางครั้งเป็นยากลุ่มจิตเวชหรือARV ... พอถามจะได้ความว่าเป็นยาของคนใกล้ตัว ซึ่งสงสัยว่าป่วยเป็นโรคอะไรเลยอยากรู้

5. การประพฤติตัวของแพทย์ในพื้นที่ส่วนตัวสาธารณะ – กินเหล้า สูบบุหรี่ โพสท์ภาพแปลกๆ การjoin group
- กรณีตัวอย่างเช่นเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินในอังกฤษ โดนพักงานเพราะการทำท่า Planking ในพื้นที่โรงพยาบาลGreat Western Hospital คนภายนอกเห็นแล้วชอบมีเยอะ แต่ที่ไม่ชอบก็มีเพราะถือว่าไม่น่าดู
- การดื่มเหล้าสูบบุหรี่ แม้จะทำนอกเวลางาน แต่บางครั้งคนไข้เห็นสเตตัสแล้วมองว่าไม่เหมาะสม (เช่นหมอกินเหล้าสังสรรค์เมื่อคืน คนไข้กลัวว่าหมอเมาแฮงก์มาทำงานก็ร้องเรียนได้)
- การupdate status ในขณะทำงาน (บางครั้งมีคนไข้แต่รอlab เลยว่าง แต่ก็อาจเสี่ยงกับความไม่เหมาะสม)
- เวลาjoinกลุ่มfacebook บางครั้งมันจะโชว์ในไทม์ไลน์หรือโผล่ที่แถบข้าง คนไข้มาเห็นอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือหรือส่งผลด้านจริยธรรมได้ เช่นเกิดหมอไปกดถูกใจเพจ18+ ยกกระดาน)
- แพทย์โพสท์ภาพทางการแพทย์ในเวลาอาหาร (เช่นชันสูตรศพที่มีหนอนไต่ตอน11.45น.)

6. การเขียนบ่นผู้ป่วย
คือถ้าหากเขียนว่าตรงๆก็เป็นเรื่องอยู่แล้ว ประเด็นคือบางครั้งบุคลากรทางการแพทย์คนนั้นเขียนไม่ระบุ แต่เกิดคนป่วยหรือญาติแอดเฟรนท์อยู่ แล้วมากดดู อ่านเหตุการณ์แล้วจำได้ก็สามารถเกิดปัญหาได้
การเขียนบ่นเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะทางการแพทย์ เช่นวิตารณ์คนที่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ วิจารณ์คนที่ตับแข็งแต่ยังกินเหล้า วิจารณ์การใช้ยาเสพติดไม่ว่าจะแบบหนักหรือเบา วิจารณ์การทำผิดกฎจราจร ต้องระวังการวิจารณ์ผลที่นอกเหนือจากสุขภาพ เพราะอาจจะถูกตำหนิหรือด่าจากคนที่สนับสนุนหรือทำพฤติกรรมดังกล่าวได้

ในเว็บเฉพาะแพทย์พยาบาล คนอาจจะเหมารวมว่าคนที่ออกความเห็นเป็นแพทย์พยาบาล
และบางครั้งไม่ใช่การบ่น แต่เป็นการdiscuss ขอความเห็นทางการแพทย์ แต่ความเข้าใจผิดเกิดได้ง่ายหากคนอ่านไม่ได้ทำงานด้านสุขภาพ (เพราะBiasในความที่มีโอกาสเป็นผู้ป่วย)

7. การถกเคสออนไลน์ – บางกรณี อาจจะต้องทำในที่ลับ ในเว็บที่มีการใช้password

ในหลายพื้นที่มีการใช้ไลน์กลุ่มและfacebookกลุ่มเพื่อให้เจ้าหน้าที่ในที่ ห่างไกลขอความเห็นจากแพทย์ ก็ต้องระวังเพราะอาจจะมีการบอกข้อมูลที่จำเป็นในการวินิจฉัยที่อาจส่งผลต่อ การรู้ตัวผู้ป่วย
หากคนในกลุ่มมีมาก มีความเสี่ยงที่จะเกิดมือมืดแคปหน้าจอเอาข้อมูลออกไปได้
และแม้แต่การคุยถกเถียงกันทางวิชาการ ก็ควรระมัดระวังคำพูดที่ใช้ ภาษาที่ใช้ เพราะมีความเสี่ยงที่เราอาจถูกคนตัดประโยคบางส่วนที่สุ่มเสี่ยงเอาออกไปขยาย ผลให้รุนแรงได้
พื้นที่ที่เหมาะสมในการใช้คุยทางการแพทย์ ต้องไม่สามารถเจาะได้ด้วยกูเกิล เพราะจะทำให้เหลือcacheอยู่แม้ลบไปแล้ว และมีโอกาสที่คนนอกจะเข้ามาอ่านได้ด้วยการกดค้นหาจากกูเกิล

และบางคนมองว่ากูเกิลcache เก็บได้ไม่นาน พอเรื่องเงียบสักปีนึงก็หายไป แต่ถ้าเป็นArchive.orgก็ย้อนได้ตลอดกาล ย้อนได้หลายปี

8. พื้นที่social network คือพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัว
บุคลากรทางการแพทย์หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการตั้งค่าให้เห็นได้เฉพาะเพื่อนและห้ามแชร์จะถือเป็นที่ส่วนตัว
เกินครึ่งหนึ่งของเรื่องที่เกิดขึ้นหรือเป็นเรื่องเป็นราวในต่างประเทศ เกิดจากคนที่แอดเฟรนท์แค่ไม่กี่ร้อยคน เป็นเพื่อนร่วมงาน
แต่เพื่อนร่วมงานแคปหน้าจอเอาไปประจาน
แต่เพื่อนร่วมงานแชร์เข้าเพจใหญ่
หรือเพื่อนร่วมงานเขียนถึงแล้วแชร์เรื่องออกไป
(มีกรณีพยาบาลเอาอาหารคนไข้มาเล่นfood fightกัน จากนั้นถ่ายแชร์ในกลุ่ม มาเป็นเรื่องเมื่อมีคนนอกมาเห็นแล้วแชร์ไปพร้อมเชื่อมโยงว่าแผนกนี้มีอัตรา การติดเชื้อสูง ผลคือพยาบาลเจอไล่ออกและพักงาน)

9. ระวังในการให้ความรู้แปลกๆหรือแชร์เรื่องแปลกๆ
การแชร์เรื่องแปลกๆหรือความรู้สุขภาพแปลกๆ มีความเสี่ยงที่จะทำให้ถูกมองว่าเราเห็นด้วยกับสิ่งนั้น
ในที่นี้รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ขายเครื่องสำอาง วิตามิน ยาลดความอ้วน ในinternetด้วย

10. เมื่อให้สัมภาษณ์ หรือแสดงความเห็นในสื่อใดๆ ควรเข้าไปเช็คด้วย
ถ้อยคำบางอย่าง รูปประกอบบางชนิด ผิดกฎข้อบังคับทางวิชาชีพ(ที่เจอบ่อยคือผิดข้อการโฆษณา) บางครั้งเราไม่รู้เรื่องแต่คนเขียนบทความพาเราซวย

11. การเขียนบทความใดๆลงอินเตอร์เนท ควรลงในที่ที่เราคุยเพื่อแก้ไข หรือเข้าไปแก้ได้
ความรู้บางอย่างตกยุคได้ในเวลา3-5ปี หากเราแก้ไขไม่ได้ มีความเสี่ยงที่บทความจะอยู่เป็นสิบปี คนมาอ่านแล้วนำไปใช้เกิดผลเสีย อาจร้องเรียนเราได้

12. รูปประกอบ ระวังลิขสิทธิ์
ระวังเรื่องภาพ เพราะภาพบางอย่างมีลิขสิทธิ์ เราอาจจะโดนเรียกเก็บเงินย้อนหลังได้
หลายภาพที่เอาไปลงblog หรือบทความต่างประเทศ ต้องจ่ายเงินให้เว็บขายภาพ
การไปก็อปภาพมาเราจะโดนข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้
เว็บที่ขายภาพในinternet ส่วนใหญ่จะเขียนว่า Royalty free stock photo (มีคำว่าFreeแต่ไม่ได้Free)
13. หมอแมวขอตัดออก อะฮิ อะฮิ ไม่ตัดเดี๋ยวดราม่า

14. ระวังเรื่องการขัดแย้งกับบุคลากรทางการแพทย์ท่านอื่นเรื่องการรักษาในinternet
เพราะปัจจัยที่คุมไม่ได้หลายอย่างข้างต้น อาจจะทำให้การdiscuss case กลายเป็นกรณีหมิ่นประมาทได้
บ่อยครั้งมีการเอาเคสมาถาม บ้างก็ถามว่าหมอที่รักษารักษาถูกไหม
พึงระวังว่าการเกิดข้อพิพาทระหว่างหมอกับคนไข้ แปลว่าคุยกันแล้วข้อมูลความเห็ฯไม่ตรงกัน ข้อมูลที่เราได้มาย่อมไม่ตรงกับอีกฝั่ง
นอกจากนี้ พอเราพิมพ์ความเห็นลงsocial network ข้อความนั้นมันจะคงอยู่ต่อไป
ต่อมาแม้เราทราบข้อมูลเพิ่มเติม เขียนแก้ไข แต่ก็อาจถูกแคปหน้าจอนำไปอ้างอิงจนเกิดข้อพิพาทได้

15. มีผลกับการสมัครงานและการสมัครเรียนต่อได้(บ้าง)
ได้ข่าวว่าบางที่อาจจะนำมาใช้ประกอบการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน

16. ปัญหาระหว่างสหวิชาชีพ ความเห็นไม่ตรงกัน นโยบายที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน กรณีความขัดแย้งในที่ทำงาน การเอาข้อผิดพลาดของเพื่อนร่วมงานมาประจาน
เช่น
- การเอารูปลายมือผู้ร่วมงานมาวิจารณ์
- การตำหนิเพื่อนร่วมงานเรื่องข้อผิดพลาดในการทำงาน
- เมื่อมีดราม่าวิชาชีพแล้วตอบโต้ด้วยถ้อยคำหยาบคาย
คือบางอย่างทำในที่ลับ ทำในองค์กรไม่เป็นไร แต่พอออกมาข้างนอกมันทำให้ภาพลักษณ์เสียเพราะบางครั้งคนนอกอ่านไม่เข้าใจ
คนที่ทำผิดก็ผิดอยู่เดิม
แต่คนที่นำเรื่องออกมาไม่ว่าด้วยหวังให้เกิดการปรับปรุงหรือว่าหวังบ่อนทำลาย ก็อาจมีความผิดได้เหมือนกัน

17. ระวังเรื่องการโฆษณา
การโฆษณาสินค้าบางอย่างโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การใส่ชื่อตนเอง + สถาบัน ลงไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของสถาบันนั้นๆได้
นอกจากนี้ต้องระวังการโฆษณาสินค้าที่เป็นโทษต่อสุขภาพ
รวมถึงการโฆษณาสินค้าอาหารเสริมหรือเครื่องมือที่ไม่ได้รับรองโดยโลกวิทยาศาสตร์

และระวังการให้สัมภาษณ์ข่าวหรือบทความ เพราะหากคนใส่ภาพประกอบใส่เครื่องหมายสถานประกอบการที่เป็นเอกชน เราก็อาจผิดเรื่องการโฆษณาได้

18. สำหรับผู้ดูแลเพจหรือชื่อซึ่งเป็นของหน่วยงานทางสาธารณสุข ควรระวังการให้ความเห็นในฐานะหน่วยงาน ไม่ควรใส่เรื่องส่วนตัวหรือความเห็นส่วนตัวลงไป

19. วิธีที่ดีที่สุด หากจะเล่นsocial network บุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรระบุอาชีพ หรือสถานที่ทำงานที่จะบ่งบอกว่าตนเป็นหมอ ... หากจะออกความเห็นทางการแพทย์บ้าง ก็เลี่ยงไปใช้accountที่ไม่ใช่ส่วนตัวที่มีชื่อจริงของตน
แม้การใช้ชื่อว่าเป็นแมว ยาม เกาลัด เป็ด มิวมิว หมา ปลากระเบน หมู ไม่ได้ช่วยอะไรมากหากผิดระเบียบข้อบังคับ แต่อย่างน้อยลดดราม่าที่ไร้สาระหรือลดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นได้ ...

ปล. ข้อเขียนตัดมาจากบทการบรรยายเมื่อ6เดือนก่อน แก้ไข 23มิย.57
ปอ. คำเตือน ยาว 5 หน้าA4
ปฮ. สงสัยจะเตือนช้าไป



******************************************

1412 Cardiology
8 มกราคม เวลา 16:45 น. ·

วิธีเล่น social network สำหรับแพทย์และพยาบาล

1. อย่าโพสท์ระบายความไม่พอใจจากการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว หรือด่าคน ด่าสถาบัน ด่าองค์กร ลงใน fb ig line นอกจากไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาแล้ว มีแต่ผลเสียต่อคุณ น้องๆพี่จำไว้ เรื่องนี้สำคัญมาก ถ้าทนไม่ไหวบันดาลโทสะมือมันสั่นให้ตั้ง only me เอาไว้ก่อน ผ่านไป 1 สัปดาห์ถ้ายังเห็นว่าสมควรโพสท์ ค่อยปลด only me ออก

2. อย่าใช้คำว่า "กูไม่แคร์" ไม่จริงหรอกครับ ตราบใดที่คุณยังอยู่ในสังคม มีคนรอบตัวคุณทั้งคนรักและคนในครอบครัว ยิ่งคุณเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีตำแหน่งหน้าที่การงาน ยิ่งต้องแคร์

3. ห้ามโพสท์อะไรก็ตามที่เป็นการเปิดเผยตัวตนและข้อมูลของผู้ป่วยลงใน social network (HIPAA violation)

4. อย่าโพสท์ข้อมูลส่วนตัวของคุณ​โดยไม่จำเป็นลงใน social network แม้จะตั้ง privacy เอาไว้แล้วก็ตาม

5. หลีกเลี่ยงการทะเลาะกันใน social network ให้ หยุด อดทนและวางเฉย ถ้าจะเคลียร์ให้ทำนอก social network อย่างมีสติ การตอบโต้มีแต่สร้างความบันเทิงให้กับผู้พบเห็น จำไว้ว่าคนนอกชอบดราม่าเสมอ ยิ่งทะเลาะกันยิ่งดี แต่ไม่มีอะไรดีกับตัวคุณเลย

6. ศึกษากฎหมายเรื่อง พรบ คอม อย่างละเอียด อะไรที่ผิดกฎหมายห้ามทำ การโพสท์ การแชร์ ทำง่าย แต่คุณต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่โพสท์ทั้งหมดในแง่ของกฎหมาย

7. ไม่มีคำว่า "ส่วนตัว" ใน social network แม้คุณ​จะตั้ง privacy หรือ โพสท์ในกรุ๊ปไลน์ส่วนตัว จำไว้ ทุกอย่างสามารถถูกแคปและแคชไว้ได้ทั้งหมด

8. ถ้ายังไม่ได้ทำ ให้กลับไปทำ แล้วมาแล้วไป แต่ข้อมูลทุกอย่างใน fb ควรตั้ง privacy ถ้าตั้ง public นั่นคือกลางสี่แยก ไม่ว่าใครก็เห็นได้หมดแค่กดเข้ามาใน account ของคุณ

9. เดี๋ยวนี้คนไข้มาหาหมอเค้า google นะครับ ผมไม่ได้พูดเล่น จะสมัครเรียนหรือสมัครงาน แค่คลิ๊กเดียว เห็นทุกอย่างของคุณหมด และหลังปี 2020 เราจะเข้าสู่ AI เต็มรูปแบบ ทุกอย่างที่คุณเคยโพสท์เอาไว้บน social network AI จะเห็นทั้งหมด

เตือนในฐานะรุ่นพี่ เตือนในฐานะแอดมินเพจที่เห็นอะไรมามากทั้งหน้าไมค์หลังไมค์ เตือนในฐานะคนที่ใช้ social network มานานที่สุดคนนึงครับ

1412

https://www.facebook.com/JarvisChaisiriLancelotWipat1412/posts/1041115999428828?__tn__=H-R

******************************************

ลิงค์เรื่องที่เกี่ยวข้อง

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

ข้อควระวังการใช้ Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ::: หมอแมว และ 1412 Cardiology

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10

 




 

Create Date : 28 มิถุนายน 2557   
Last Update : 16 มกราคม 2562 15:13:24 น.   
Counter : 3051 Pageviews.  

1  2  3  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]