Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

แพทยสภา เตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media








แพทยสภา เตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media และเร่งออกแนวทางปฏิบัติแพทย์กับสังคมออนไลน์

****************************

ตามที่ปรากฎเป็นข่าวทางสื่อออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์ กรณีมีแพทย์หนุ่มรายหนึ่งได้โพสต์ภาพผ่านทางเฟซบุ๊ค โดยภาพดังกล่าวมีลักษณะที่ใช้เท้าพาดเตียงคนไข้ พร้อมกับกล่าวว่า ย้ายมาอยู่แผนกใหม่ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งและพาดพิงพยาบาล ซึ่งภาพดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมโดยบางคนมองว่าเป็นเรื่องของจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ รวมไปถึงการให้เกียรติเพื่อนร่วมวิชาชีพนั้น

นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวแพทยสภาได้รับเรื่องร้องเรียนถึงพฤติกรรมของแพทย์ท่านนี้แล้ว และได้ประสานกับต้นสังกัด เพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไป

ดังนั้นจึงอยากขอเตือนสมาชิ
กแพทยสภา ว่า ขอให้เรื่องที่เกิดขึ้นนี้เป็นตัวอย่างสำหรับแพทย์และผู้ใช้ social media ทุกคนว่า ก่อนที่จะโพสต์รูปของคนไข้หรือโพสต์เรื่องของตนเองหรือแสดงความคิดเห็นอะไรลงไปต้องรู้จักระมัดระวัง ใช้ความคิดให้มากก่อนโพสต์ด้วยทุกครั้ง เพราะหากโพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม แม้ในกลุ่มของตน อาจเผยแพร่ออกไป จนมีผู้เสียหาย และนำไปสู่การฟ้องร้องได้ ไม่ใช่เกิดแค่รายนี้เท่านั้น แต่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาแล้ว ซึ่งเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การเขียนโดยความรู้สึกและใช้อารมณ์จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น

สำหรับข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่
งวิชาชีพเวชกรรม ได้ระบุให้ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมพึงยกย่องให้เกียรติเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกันและพึงให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงานด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานการทำงานร่วมกันที่ดีเพื่อประชาชนต่อไป


ด้าน พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่าปัญหาใน social media ดังกล่าวพบมากขึ้นในปัจจุบัน ตามการพัฒนาของไอที และสื่อออนไลน์

     ทั้งนี้ฝ่ายไอทีแพทยสภา ได้เ
ตรียมความพร้อมและวางมาตรฐานเรื่องนี้ไว้ระดับหนึ่ง โดยจะนำเรื่องนี้เข้าหารือในคณะกรรมการบริหารแพทยสภา ถึงการวางมาตรฐานและข้อแนะนำในการใช้ social media ของแพทย์ และนักศึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันปัญหาตั้งแต่ระดับความลับผู้ป่วยจนถึง การให้ข้อมูลที่อาจทำให้ทั้งผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และผู้ร่วมวิชาชีพได้รับผลกระทบ รวมถึงอาจเพิ่มเนื้อหาขึ้นในหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ต่อไป

และขอเตือนให้คุณหมอทุกท่าน
แม้จะออกความเห็นส่วนตัวได้โดยเสรี แต่ โปรดแยก บทบาทส่วนตัว จากภาพลักษณ์ความเป็นแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วย ซึ่งมีจรรยาบรรณกำกับ ให้ชัดเจน และ ทบทวนก่อนโพสต์สิ่งใดๆทุกครั้งเพราะ social media เป็นพื้นที่สาธารณะที่เข้าถึงได้ทุกคน

20 มิถุนายน 2557



.............................................

ลิงค์เรื่องที่เกี่ยวข้อง

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10




Create Date : 28 มิถุนายน 2557
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:51:44 น. 1 comments
Counter : 1819 Pageviews.  

 

ระวัง!! โพสต์ภาพและข้อมูลผู้ป่วย ผิดกฎหมายไม่รู้ตัว
Tue, 2014-04-01 13:51 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2014/04/6822

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า โซเซียลมีเดีย หรือสื่อสังคมเข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทยอย่างแยกกันไม่ออก โดยเฉพาะการกระจายข้อมูลผ่านโลกโซเซียลมีเดีย กลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกถึงความเหมาะสมมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ตรวจสอบได้ยาก แต่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ยิ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล การรักษาโรคต่างๆ เมื่อมีการโพสต์ในสังคมออนไลน์ จึงถูกจับตามองเป็นพิเศษ

เนื่องจากเกิดคำถามว่า สมควรหรือไม่กับการโพสต์ข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ ทั้งๆที่เจ้าตัวอาจไม่รู้เรื่อง และไม่อนุญาต!! เรื่องนี้มีตัวอย่างชัดเจนกรณีผู้บาดเจ็บจากการชุมนุมทางการเมือง มีการโพสต์รูปผู้ป่วยที่อยู่บนเตียงในโรงพยาบาลผ่านเครือข่ายเฟชบุ๊ค รวมไปถึงภาพผู้ป่วยที่ลงในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือสื่อโทรทัศน์ ขณะเดียวกันยังมีบุคลากรทางการแพทย์โพสต์รูปภาพในช่วงการรักษาพยาบาล จนถูกต่อว่ากันทั่วโลกออนไลน์ก็มี ซ้ำร้ายยังมีการนำข้อมูลการรักษาของผู้ป่วย อย่างผลการเอ็กซเรย์มาโพสต์กันอีก แต่ในบางกรณีก็มีการโพสต์เพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น การขอรับบริจาคเลือด แต่ลงรูปภาพของผู้ป่วย เป็นต้น

เกิดคำถามว่าแล้วจุดไหนจึงจะเหมาะสม... เพราะแม้การโพสต์ข้อมูลทั้งรูปภาพหรือข้อความ จะเป็นสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ได้รับการรับรองในข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ แต่ใช่ว่าจะทำได้โดยปราศจากการควบคุม

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ

เรื่องนี้ร้อนถึงคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.)ได้มีการประชุมหารือถึงปัญหาดังกล่าว ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) เมื่อไม่นานมานี้ โดย “นพ.อำพล จินดาวัฒนะ” เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เผยว่า ปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประชาชนมีสมาร์ทโฟน ที่สามารถถ่ายรูปและส่งรูปภาพหรือข้อความลงในสังคมออนไลน์มากมาย โดยข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลก็ถูกหยิบยกนำมาโพสต์ด้วย ปัญหาคือ การโพสต์ข้อมูลการรักษาพยาบาล หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิ และยังผิดหลักมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

“ปัญหาคือ การเผยแพร่ข้อมูลของผู้ป่วย ทั้งอาการเจ็บป่วย รูปภาพผู้ป่วยผ่านโลกอินเตอร์เน็ต อาจมาจากความไม่รู้ ซึ่งอาจหลุดมาจากประชาชนเอง หรือจากบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งเจตนาและไม่เจตนา บ้างก็มีเจตนาดีต้องการช่วยเหลือผู้ป่วย อย่างกรณีการขอรับบริจาคเลือดหายาก แต่ทั้งหมดต้องพึงระวังในการโพสต์ข้อมูลเหล่านี้โดยที่ผู้ป่วยหรือญาติไม่อนุญาต เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และขัดต่อพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ตามมาตรา 7 ที่ระบุว่าข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยและอาจทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นโดยตรง และไม่ว่าในกรณีใดๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพของบุคคลไม่ได้”

นพ.อำพล กล่าวอีกว่า ปัญหาที่ต้องยอมรับคือ แม้จะมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยตามมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 แต่ก็ยังมีบุคคลที่ไม่ทราบและยังมีการโพสต์รูปภาพ ข้อมูลลักษณะนี้อยู่ คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ จึงได้ประชุมหารือถึงแนวทางแก้ปัญหา โดยสรุปว่า สช.ควรทำหน้าที่ในการให้ความรู้ประชาชน และสื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ ทั้งการให้ข่าว ให้ข้อมูล รวมไปถึงการให้ความรู้เรื่องนี้แทรกกับเวทีสัมมนาต่างๆของสช. แต่การจะทำหนังสือแจ้งไปยังเครือข่ายสุขภาพต่างๆ คงไม่ถึงขนาดนั้น เนื่องจากไม่มีอำนาจในการไปสั่ง แต่จะเป็นการประชาสัมพันธ์ แจ้งให้ทราบถึงกฎหมายนี้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีเจตนาดีในการโพสต์ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย ก็ต้องระมัดระวัง เนื่องจาก หากมีการโพสต์รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นเอดส์ ขาดแคลนเลือด ต้องการรับบริจาคด่วน หากไปโพสต์ลักษณะนี้ ถือว่าไม่เหมาะสมในการระบุโรค เข้าข่ายผิดมาตรา 7 ซึ่งหากญาติผู้ป่วย หรือผู้ป่วยต้องการฟ้องร้อง สามารถดำเนินการได้ โดยผู้ละเมิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สิ่งสำคัญคือ การโพสต์ข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย หรือญาติ และการนำข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยมาเผยแพร่ต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ถูกดูถูกเกลียดชัง มิเช่นนั้นจะเข้าข่ายหมิ่นประมาทอีก ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล นำข้อมูลของผู้ป่วยมาเปิดเผยแล้วเกิดความเสียหาย จะมีความผิดฐานเปิดเผยความลับที่ตนได้มาจากการประกอบวิชาชีพ

นอกจากนี้ การโพสต์ที่มีลักษณะเป็นการนำข้อมูลปลอม เท็จ หรือไม่เหมาะสม เช่นลามกอนาจาร ทั้งเผยแพร่เนื้อหา การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ ดัดแปลง ทำให้ผู้ป่วยหรือครอบครัวเสื่อมเสีย เป็ฯการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการกระทำความผิดจากคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 อีกทั้ง ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือญาติไม่ต้องการให้เปิดเผยข้อมูล แต่หากว่าเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ เช่น ผู้ป่วยเกิดโรคติดต่อร้ายแรงที่อาจระบาดได้ อันนี้ยกเว้น แต่ต้องไม่เปิดเผยชื่อ หรือตัวตนของผู้ป่วยนั้นๆ

“ที่จะพบปัญหามากคือ บางกรณีมีบุคคลสำคัญที่มีสื่อมวลชนติดตามไปทำข่าว ต้องการไปเยี่ยมผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ โดยสื่อมวลชนได้ตามบุคคลนั้นไปด้วย และได้ถ่ายภาพของผู้ป่วยลงไปและเผยแพร่ต่อสื่อสาธารณะ เรื่องนี้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยเช่นกัน ทั้งนี้ ทางที่ดีที่สุดทางโรงพยาบาลควรมีมาตรการห้ามสื่อมวลชนเข้าถ่ายภาพผู้ป่วยด้วย หรือหากจะถ่ายภาพอย่างไรต้องขออนุญาตก่อนเป็นสำคัญ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ผิดตามกฎหมาย แต่ในเรื่องของจรรยาบรรณ ศีลธรรม ความเหมาะสมก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงด้วย” นพ.อำพล กล่าวทิ้งท้าย

นอกจากนี้ เลขาธิการสช. ยังกล่าวว่า ไม่เพียงแต่มาตรา 7 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ เท่านั้น ยังมีร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่จะเป็นอีกกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยได้ โดยเนื้อหาจะคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล รวมถึงประวัติสุขภาพต่างๆ ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้เสนอเข้ารัฐสภาเพื่อพิจารณาแล้ว แต่จากเหตุการณ์ทางการเมือง และมีการยุบสภา ส่งผลให้ร่างกฎหมายดังกล่าวตกไป

ระหว่างนี้คงต้องฝากคนที่ชอบโพสต์ ชอบแชร์พึงระมัดระวังในการเผยแพร่ข้อมูลผู้ป่วย เนื่องจากอาจถูกฟ้องร้องตามกฎหมายได้


โดย: หมอหมู วันที่: 16 กรกฎาคม 2560 เวลา:19:22:14 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]