Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

แพทย์กับการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ( ที่มา FB Medical Ethics 101 )


บุคคลากรทางการแพทย์มีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้อย่างอิสระโดยไม่ผิดหลักการทางจริยธรรม แพทย์มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งหาเสียงได้

โดยสรุปแพทย์ก็มีสิทธิ์มีเสียงในทางการเมืองเช่นเดียวกับพลเมืองโดยทั่วไป และแพทย์อาจใช้สิทธิในการแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านความคิดเห็นส่วนตน หรือแสดงออกเป็นมติของสมาคมวิชาชีพและองค์กรที่แพทย์ทำงานอยู่ได้

เมื่อแพทย์ต้องการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวเรื่องการเมืองกับผู้ป่วยหรือญาติ แพทย์จะต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนต่อความไม่สมดุลเชิงอำนาจในความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยตลอดจนความอ่อนแออันเนื่องจากความเจ็บไข้และความต้องการความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย

แพทย์จะต้อง ไม่ยอมให้ความแตกต่างเรื่องความเห็นทางการเมืองกับคนไข้หรือครอบครัว เข้ามามีผลต่อการตัดสินใจในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย

เมื่อต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองต่อผู้ป่วยหรือครอบครัวของคนไข้แพทย์ควรปฎิบัติดังนี้

1. ประเมินว่าผู้ป่วยลำบากใจที่จะสนทนาเรื่องการเมืองด้วยหรือไม่เพราะเป็นการล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย

2. พูดคุยเรื่องการเมืองเฉพาะในบริบทที่ยอมรับได้กับผู้ป่วยหรือญาติในลักษณะที่เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้มีลักษณะสันทนาการ

3. งดเว้นการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่มีความตึงเครียดรุนแรง เพราะผู้ป่วยหรือครอบครัวอาจไม่พร้อมที่จะถูกกดดันทางอารมณ์เนื่องด้วยความเจ็บป่วยจากตัวโรค

4. พึงดำเนินการและสนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายทางแพทย์เพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยให้ดีขึ้น แพทย์ควรศึกษาติดตามข้อมูลทางการเมืองที่เกี่ยวข้องการเปลี่ยนแปลงในการดูแลรักษาพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ

5. รับทราบข้อมูลเชิงนโยบายที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงการบริการสาธารณสุข การวิจัยทางการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนเพื่อผลประโยชน์ของผู้ป่วย

American Medical Association. Code of Medical Ethics (Kindle Locations 1401-1402). American Medical Association. Kindle Edition.
https://www.ama-assn.org/delivering-care/ethics/political-communications

ที่มา Medical Ethics 101
https://www.facebook.com/Medicalethics101/posts/771585250362686



Create Date : 23 กันยายน 2563
Last Update : 23 กันยายน 2563 15:29:42 น. 0 comments
Counter : 1070 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]