Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ผ่านระบบอินเตอร์เนต











การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความเจ็บป่วย โรคต่าง ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เนต อยากจะเน้นว่า ข้อมูล หรือ คำแนะนำ ที่ได้รับจากเวบ หรือ จากแพทย์ทางอินเตอร์เนต เป็นเพียง

คำแนะนำเบื้องต้นทั่ว ๆ ไปเท่านั้น

ไม่ได้เป็นคำวินิจฉัย หรือ การรักษาทางการแพทย์

ไม่สามารถทดแทนการตรวจรักษากับแพทย์โดยตรง และ

ไม่ควรใช้เพื่อ ตัดสินใจ เลือกแนวทางรักษาด้วยตนเอง



กว่าที่แพทย์ จะวินิจฉัยโรค ได้นั้น จะมีขั้นตอนหลายขึ้นตอน บางครั้งก็ต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สอบถามข้อมูลประวัติความเจ็บป่วยเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย และ อาจต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น เจาะเลือด เอกซเรย์ เป็นต้น

ในบางครั้ง ถึงแม้จะทำทั้งหมดแล้ว ก็ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอะไร ...


โรคบางโรค อาจมีประวัติ หรือ อาการที่เด่นชัด ทำให้พอบอกได้ว่า น่าจะเป็นโรคนั้น .. แต่ โดยส่วนใหญ่แล้ว ประวัติ และ อาการ มักจะคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ โรค ทำให้ยากที่จะบอกได้แน่นอนว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ...

โรคเดียวกัน อาจมีอาการที่เด่นชัดแตกต่างกันได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ อาจมาด้วยอาการปวดท้องด้านขวา ปวดรอบ ๆ สะดือ ปวดชายโครงขวา หรือ มาด้วยอาการปวดท้องทั่ว ๆ ไป หรือ โรครูมาตอยด์ อาจมาด้วยอาการปวดบวมข้อนิ้วมือ ปวดตามข้อเป็น ๆ หาย ๆ ก็ได้เช่นกัน เป็นต้น

โรคคนละโรค ก็อาจมีอาการเด่นชัดคล้ายกันได้ เช่น ไข้หวัดธรรมดา กับ ไข้เลือดออก ในระยะแรกจะมีอาการเหมือนกัน แยกกันไม่ได้เลย เป็นต้น



ถ้ามีเพียงข้อมูลที่ให้มาทางอินเตอร์เนต ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเจ็บป่วย เพียงด้านเดียว ( แพทย์ไม่สามารถซักถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ) แถมบางครั้ง ข้อมูลก็น้อยมาก ๆ และ อาจไม่ได้ข้อมูลที่สำคัญเพราะผู้ป่วยคิดว่าไม่สำคัญ แพทย์จึงมีข้อมูลค่อนข้างจำกัด สำหรับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง

คำตอบของแพทย์จึงมักจะตอบแบบกว้าง ๆ ไม่สามารถ ระบุได้อย่างแน่นอนว่าเป็นอะไร ต้องรักษาอย่างไร ผลการรักษาเป็นอย่างไร ฯลฯ




ดังนั้น ถ้าไม่แน่ใจ หรือ สงสัยอะไร ก็ต้องกลับไปสอบถามเพิ่มเติมกับแพทย์ที่รักษาอยู่อีกครั้ง ... แพทย์ที่ท่านรักษาอยู่ จะเป็นผู้ที่มีข้อมูลมากที่สุด การวินิจฉัยก็น่าจะใกล้เคียง ถูกต้องมากที่สุด เช่นกัน



หมายเหตุ

สำหรับท่านที่ชอบหาความรู้ด้านสุขภาพในอินเตอร์เนตก็ต้องตรวจสอบด้วยว่า “ ข้อมูลเนื้อหาเชื่อถือ ได้หรือไม่ “ เพราะมีหลายเวบที่แฝงโฆษณาชวนเชื่อ หรือเขียนขึ้นด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากหลักวิชาการที่ถูกต้องและทันสมัย

การตรวจสอบความน่าเชื่อถือเบื้องต้นก็คือ

  1. ผู้เขียนบทความนั้นเป็นใคร มีชื่อนามสกุล ตำแหน่งหน้าที่ ความเชี่ยวชาญ หรือ มีหลักฐานที่แสดงว่า มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือไม่

ถ้าไม่มีข้อมูลว่าบทความนั้นอ้างอิงมาจากไหนใครเป็นคนเขียน ก็ไม่ควรให้ความเชื่อถือเนื้อหาในบทความนั้น

  1. เวบนั้นเป็นเวบที่ขายสินค้า มีโฆษณา ด้วยหรือไม่

ถ้าเป็นเวบขายสินค้า ก็ต้องระวังเพิ่มขึ้นเพราะอาจมีแอบแฝงโฆษณาสินค้าบางเวบก็นำเนื้อหาจากเวบอื่นไปตัดต่อคัดลอกบางประโยคแล้วเขียนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือหลอกลวงผู้อ่านให้เข้าใจว่าสถาบันหน่วยงานทางการแพทย์สาธารณสุขให้ความรับรองสินค้านั้น เช่นองค์การอาหารและยา (อย.) คณะแพทย์ หรือชื่อแพทย์ เป็นต้น

  1. เนื้อหา ถูกต้องใกล้เคียงกับเนื้อหาในเวบอื่น ๆ หรือไม่

ค้นหาไม่ยาก แต่ก็ต้องเทียบกับเวบที่เชื่อถือได้ด้วยนะครับ

ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน จากอินเตอร์เนต อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า

1. เป็นโรคร้ายแรง ต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือดเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ส่องกล้อง เป็นต้น

2. ต้องรักษาด้วยวิธีการเฉพาะ เช่น ชื่อยาบางตัว ผ่าตัดส่องกล้องผ่าตัดด้วยคลื่นเสียง ผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียมฉายรังสี เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยหรือ ทางเลือกในการรักษา แต่ละวิธีตรวจ วิธีรักษามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ตามหลักวิชาการอยู่แล้วว่า ควรจะใช้ในกรณีไหนวิธีตรวจวิธีรักษาทุกอย่างมีข้อดีข้อเสียทั้งนั้นจึงควรปรึกษาสอบถามจากแพทย์ที่ได้ตรวจรักษาท่านโดยตรง จะดีที่สุด







แถม ...

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10





Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:54:31 น. 11 comments
Counter : 3770 Pageviews.  

 
แวะเอาเกมส์ผ่าตัดข้อเข่ามาฝากค่ะ อารมณ์เหมือนได้เป็นหมอเองเลยจริงๆ คิคิ

//www.wixgame.com/en/skill-and-puzzle/concentrate-games/knee-surgery.html



โดย: GottaBeMary วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:21:05:00 น.  

 

เจ๋ง ดี ..

ขอบคุณครับ


โดย: หมอหมู วันที่: 9 มีนาคม 2551 เวลา:23:01:01 น.  

 


Commentโดนๆ...คลิ๊กที่นี่



โดย: a_mulika วันที่: 10 มีนาคม 2551 เวลา:0:04:41 น.  

 
สวัสดีค่ะ พี่หมอหมู ดีใจจังที่พี่มาใช้ bloggang ด้วย หนูก็อยู่ที่นี่มานานแล้วค่ะ( แต่ไม่ได้มาทำหน้าที่หมอ มาปล่อยอะไรตามใจฉันน่ะค่ะ แหะๆ) หนูเคยไปเทรนศัลย์ที่CMU ด้วยค่ะ แต่ลาออกมาก่อนจะขึ้น ORTHO พอดี ตอนนี้เริ่มเคลียร์ปัญหาทางบ้านได้แล้ว ยังหวังว่าจะไปลุ้นเทรนที่CMU อีกซักครั้งด้วยค่ะ^-^

ขอaddนะคะ พี่หมอ
แล้วจะมาเยี่ยมบ่อยๆค่ะ


โดย: walk in dream (walkin ) วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:18:52:55 น.  

 

ขอบคุณที่มาแจม

แวะไปแจม blog ของทั้งสองท่านแล้วครับ .. เยี่ยมมั๊ก ๆ


โดย: หมอหมู วันที่: 24 มีนาคม 2551 เวลา:19:08:02 น.  

 


โดย: ย่าชอบเล่า วันที่: 28 ธันวาคม 2551 เวลา:19:32:27 น.  

 
ขอมาแวะหาความรู้เกี่ยวกับสุขภาพบ้างนะคะ...ขอบคุณค่ะ


โดย: pinkcat2002 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:15:13:56 น.  

 
ดีค่ะพี่หมอ อินเป็นคนเดียวกันกับคนที่พี่หมอส่งคำขอไปให้ทางเฟซนะคะ (และอินก็ส่งคำเชิญกลับไปหาพี่หมอด้วย คืออินมีเฟซสองอันค่ะ คนละนามสกุล แต่ชื่อเดียวกัน ^^)

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะพี่


โดย: อินทรายุธ วันที่: 9 มิถุนายน 2553 เวลา:17:36:45 น.  

 
มาเก็บความรู้ ^^

เล่น เกมส์ เกมส์มาริโอ ไหมคร๊าบบบ


โดย: MaFiaVza วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:23:38:53 น.  

 
ใจดีจริงคุณหมอ

ยกนิ้วให้เลย

อยากให้เมืองไทย มีหมอดีๆที่ให้ความรู้แก่ประชาชนแบบนี้เยอะๆ

จะได้ระมัดระวัง และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กันมากขึ้น


อ่านบทความคุณหมอแล้วได้รับประโยชน์มากมาย

ขอบคุณจากใจค่ะ คุณหมอ




โดย: joysweet วันที่: 17 กรกฎาคม 2553 เวลา:1:09:13 น.  

 

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆคะ


โดย: นกเอี้ยง_เอง วันที่: 14 สิงหาคม 2554 เวลา:3:36:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]