Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

แพทยสภา เตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media








แพทยสภา เตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media และเร่งออกแนวทางปฏิบัติแพทย์กับสังคมออนไลน์

****************************

ตามที่ปรากฎเป็นข่าวทางสื่อออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์ กรณีมีแพทย์หนุ่มรายหนึ่งได้โพสต์ภาพผ่านทางเฟซบุ๊ค โดยภาพดังกล่าวมีลักษณะที่ใช้เท้าพาดเตียงคนไข้ พร้อมกับกล่าวว่า ย้ายมาอยู่แผนกใหม่ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งและพาดพิงพยาบาล ซึ่งภาพดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมโดยบางคนมองว่าเป็นเรื่องของจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ รวมไปถึงการให้เกียรติเพื่อนร่วมวิชาชีพนั้น

นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวแพทยสภาได้รับเรื่องร้องเรียนถึงพฤติกรรมของแพทย์ท่านนี้แล้ว และได้ประสานกับต้นสังกัด เพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไป

ดังนั้นจึงอยากขอเตือนสมาชิ
กแพทยสภา ว่า ขอให้เรื่องที่เกิดขึ้นนี้เป็นตัวอย่างสำหรับแพทย์และผู้ใช้ social media ทุกคนว่า ก่อนที่จะโพสต์รูปของคนไข้หรือโพสต์เรื่องของตนเองหรือแสดงความคิดเห็นอะไรลงไปต้องรู้จักระมัดระวัง ใช้ความคิดให้มากก่อนโพสต์ด้วยทุกครั้ง เพราะหากโพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม แม้ในกลุ่มของตน อาจเผยแพร่ออกไป จนมีผู้เสียหาย และนำไปสู่การฟ้องร้องได้ ไม่ใช่เกิดแค่รายนี้เท่านั้น แต่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาแล้ว ซึ่งเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การเขียนโดยความรู้สึกและใช้อารมณ์จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น

สำหรับข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่
งวิชาชีพเวชกรรม ได้ระบุให้ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมพึงยกย่องให้เกียรติเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกันและพึงให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงานด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานการทำงานร่วมกันที่ดีเพื่อประชาชนต่อไป


ด้าน พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่าปัญหาใน social media ดังกล่าวพบมากขึ้นในปัจจุบัน ตามการพัฒนาของไอที และสื่อออนไลน์

     ทั้งนี้ฝ่ายไอทีแพทยสภา ได้เ
ตรียมความพร้อมและวางมาตรฐานเรื่องนี้ไว้ระดับหนึ่ง โดยจะนำเรื่องนี้เข้าหารือในคณะกรรมการบริหารแพทยสภา ถึงการวางมาตรฐานและข้อแนะนำในการใช้ social media ของแพทย์ และนักศึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันปัญหาตั้งแต่ระดับความลับผู้ป่วยจนถึง การให้ข้อมูลที่อาจทำให้ทั้งผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และผู้ร่วมวิชาชีพได้รับผลกระทบ รวมถึงอาจเพิ่มเนื้อหาขึ้นในหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ต่อไป

และขอเตือนให้คุณหมอทุกท่าน
แม้จะออกความเห็นส่วนตัวได้โดยเสรี แต่ โปรดแยก บทบาทส่วนตัว จากภาพลักษณ์ความเป็นแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วย ซึ่งมีจรรยาบรรณกำกับ ให้ชัดเจน และ ทบทวนก่อนโพสต์สิ่งใดๆทุกครั้งเพราะ social media เป็นพื้นที่สาธารณะที่เข้าถึงได้ทุกคน

20 มิถุนายน 2557



.............................................

ลิงค์เรื่องที่เกี่ยวข้อง

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10




 

Create Date : 28 มิถุนายน 2557   
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:51:44 น.   
Counter : 1822 Pageviews.  

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนต จริงหรือ ???







หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนต จริงหรือ ???

ได้เข้าไปประชุม แล้วมีการพูดคุยถึงเรื่อง การตอบปัญหาสุขภาพทางเนต ก็มี อาจารย์แพทย์บางท่าน บอกว่า การตอบปัญหาสุขภาพทางเนต อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องฟ้องร้องได้ ??? มีปัญหาในแง่ของกฎหมาย ??? แพทย์ไม่ควรเข้าไปตอบปัญหา เพราะ เราไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ??? ฯลฯ

ผมก็เห็นด้วยว่า การตอบปัญหาผ่านเนต ตอบกระทู้ต่าง ๆ นั้น อาจทำให้เกิดปัญหาความเข้าใจผิด จนนำไปสู่การฟ้องร้อง ไม่ว่าจะเป็น ฟ้องร้องคนตอบกระทู้ ฟ้องผู้รับผิดชอบของเวบไซค์ หรือ ฟ้องร้องกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการรักษาที่ผ่านมา เพราะ ความเห็นของผู้ที่ตอบกระทู้ ไม่ตรงกับการรักษาที่ได้รับในชีวิตจริง

แต่ผมก็มีมุมมองอีกด้านหนึ่งเหมือนกันว่า “ การตอบปัญหาทางเนต “ ก็มีข้อดี เหมือนกัน

การตอบปัญหาทางเนต ก็มีความสะดวก และ สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นได้พอสมควร ทำให้คนที่สงสัย ได้รับทราบข้อมูลความรู้เบื้องต้น เวลาไปพบแพทย์ ตัวเป็น ๆ ก็จะพูดคุยกันเข้าใจได้ง่ายขึ้น ได้ประโยชน์ทั้งแพทย์ ตัวเป็น ๆ และ ผู้ป่วย (ญาติ)

ผู้ป่วย (ญาติ) ก็จะมีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ ถ้ายังมีข้อสงสัยอะไร ก็ไปถามแพทย์ตัวเป็น ๆ อีกครั้ง ลดความวิตกกังวล ความเครียดไปได้บ้าง

แพทย์ตัวเป็น ๆ ก็สามารถพูดคุยอธิบายให้ผู้ป่วย(ญาติ)ได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น อาจตอบเฉพาะข้อสงสัยบางข้อเท่านั้นเอง เมื่อผู้ป่วย(ญาติ) เข้าใจ ความร่วมมือในการรักษาก็ดี ผลการรักษาก็น่าจะดีด้วยเช่นกัน ( ผลการรักษาดี หมอก็ดัง )

เมื่อมีข้อสงสัย แล้วประชาชนเข้ามาถาม แล้วได้รับคำตอบ คำแนะนำเบื้องต้น จากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ผมจึงคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดี

ลองคิดอีกแง่หนึ่งว่า “ ถ้าหมอเรา ไม่ตอบ แล้วจะให้ประชาชน ไปถามใคร ??? “

สิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุด ก็คือ “ อย่าตอบแบบฟันธง “ เพราะ ข้อมูลตัวอักษร ยังไง ก็ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย หรือ ตัดสินว่า อะไรถูก อะไรผิด คำตอบ สำหรับทุกคำถาม ก็ควรเป็นแบบ กลาง ๆ เป็นคำแนะนำเบื้องต้น ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ( ขนาดได้ตรวจ ได้พูดคุยซักถามกันต่อหน้า บางทีก็ยังไม่รู้เลยว่าเป็นอะไรแน่ )

ส่วนเรื่องของการฟ้องร้องนั้น ผมก็คิดว่า ไม่ได้แตกต่างจากการที่ หมอเราได้ ตรวจรักษาผู้ป่วยอยู่ทุกวัน อาจแตกต่างกันตรงที่ ข้อมูลที่ได้จากตัวอักษรในกระทู้ อาจไม่เพียงพอ ที่จะให้การวินิจฉัย ว่าเป็นอะไร ในเมื่อข้อมูลมีน้อย หมอก็ตอบเท่าที่ได้ อย่าฟันธง ( รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่รับรู้ผ่านเนต ก็เช่นกัน อย่าแสดงความเห็นฟันธง มีตัวอย่างคนตอบหน้าแตก ให้เห็นเยอะแยะ )

ไม่ว่าจะเป็นการตอบปัญหาผ่านเนต หรือ พูดคุยโดยตรงกับผู้ป่วย (ญาติ) ก็ควรตอบหรือแนะนำ เท่าที่ได้ อย่ามั่นใจในตัวเองมากเกินไปนัก เผื่อทางเลือกอื่นไว้บ้าง

ก็เหมือนที่เราพูดกับบ่อย ๆ ว่า “ ไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์ในเมดิซีน (ในทางการแพทย์ ไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซนต์ ) “ นั่นเอง




แถม

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ผ่านระบบอินเตอร์เนต
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=2&gblog=3

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=7&gblog=2

ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3


มาทำบุญ ด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=15&gblog=2





 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2552   
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:30:15 น.   
Counter : 1021 Pageviews.  

มาทำบุญ ด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....









มีสมาชิก (น่าจะเป็นหมอ ) ท่านหนึ่ง โพสข้อความ นี้ ...
.................

เมื่อ ก่อนผมเคยคิดนะว่าคนเล่น internet เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีความรู้พอสมควร แต่พอเล่นบ่อยๆ เลยรู้ว่าไม่ใช่ แค่คนมีคอม มี internet แต่ส่วนใหญ่ไม่มีสมอง ไม่ค่อยมีวิจารณญาณ เหมือนตัวอะไรสักอย่างที่มีอะไรกระพือก็วิ่งกรูกันเข้าไปเป็นฝูง(คงด้วยสัญชาติญาณ)

เรื่องความรู้ทางการแพทย์ ผมก็เห็นมีเวบ ที่เป็นความรู้ตั้งเยอะ เคยลองถามๆคนไข้กลุ่มทำงาน office ไม่ยักกะมีใครไปอ่าน อ่านและเชื่อกันแต่ forward mail

ที่เละจริงๆก็คือการศึกษาไทยที่ไม่ได้สร้างคนให้มีกระบวนการคิด มีแต่เข้าไปเรียนๆๆๆ จนได้ใบปริญญาใบหนึ่งมาสมัครงาน แต่สมองไม่ได้รับการพัฒนาเลย

...................


อ่านแล้ว ก็อืมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม

ก็มีส่วนจริงเหมือนกัน ... :-P

แต่ .. . มันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นหรอกครับ ...

มีบางส่วนเหมือนกัน ที่เป็นแบบนั้น .. แต่มันก็คล้ายกับชีวิตจริงที่เราเจอนั่นแหละ ดีก็มาก ไม่ดีก็มี ...

ผมก็เลือกตอบ บางคำถาม เลือกที่จะชี้แจง ในบางประเด็น .. แต่ถ้าเห็นว่า มันไม่ได้ผล หรือ ผลที่ได้มันเป็นอีกแบบหนึ่ง .. ผมก็เลือกที่จะไม่เข้าไปยุ่งด้วย

ในฐานะที่เป็นแพทย์ มีความรู้ มีเวลา ... ผมก็อยากจะเข้าไปช่วยเหลือคนอื่นบ้าง เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดี ...

( แถมดีกว่าในชีวิตจริง ... ที่ ในเนต เราเป็นคนเลือกว่า เราจะทำอย่างไร ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเรา ไม่ชอบ ไม่มีอารมณ์ ก็ไม่เข้าไปตอบ ข้าม ๆ กระทู้ไป ง่ายกว่าในชีวิตจริง ซะอีก )

ช่วยกันคนละนิดละหน่อย ก็อาจดีขึ้นกว่านี้ ... แต่ถ้าไม่ช่วยกันเลย ก็มีแต่ แย่ลง ใช่หรือเปล่า

เราเลือกได้ว่า " เราจะช่วยแค่ไหน " ที่จะไม่เบียดเบียนตนเอง ...

พูดกันง่าย ๆ ก็คือ " ทำบุญ " นั่นแหละ ทำแล้วเราสบายใจ ถึงจะได้บุญ ทำแล้วเบียดเบียนตนเอง ไม่สบายใจ ทำแล้วทุกข์ นั่นก็ไม่ใช่ ทำบุญ แล้วละครับ

มาช่วยกัน ทำให้มันดีขึ้น เล็ก ๆ น้อยๆ ก็ยังดี ..



ส่วนอีกประเด็น เรื่องการตอบกระทู้ ยังมีหลายคน เข้าใจว่า หมอ หรือ ผู้ตอบกระทู้ ต้องบอกได้ว่า เป็นอะไร อ่านปุ๊บ รู้เลย ถูกเป๊ะ แม่นมาก ...

ผมว่า แบบนั้น มันก็เกินไป .. แค่อ่านตัวอักษร ไม่กี่ตัว จะให้ฟันธงเลย ว่าเป็นอะไร ให้ถูกต้องแน่นอน

ความเป็นจริง ที่ตอบไปนั้นก็คือ " เดา " หรือพูดให้ดูดีหน่อย ก็ " คาดการณ์อย่างมีเหตุผล " ซึ่งไม่มีทางที่จะถูกต้องทั้งหมด หรอกครับ ...

คิดง่าย ๆ ก็เป็น คำแนะนำ .. ส่วนว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ เชื่อ หรือ ไม่เชื่อ ... คนอ่าน ก็ต้องรับผิดชอบตนเองด้วย ไม่ใช่ เขาบอกอะไร ก็เชื่อไปทั้งหมด พอมีปัญหาก็มาโทษคนโน้นคนนี้ ให้ไปรับผิดชอบ ...

ผมเคยโดนมาแล้ว ประมาณว่า ให้คำแนะนำว่า น่าจะเป็นโรค... แนวทางรักษา ... ก็มีความเห็นตอบมาว่า ถ้าทำแบบนั้น แล้วไม่หาย ผมต้องรับผิดชอบ .. . ตอบให้ฟรี ๆ แล้วต้องรับผิดชอบ มันไม่เกินไปหน่อยหรือ ???

ผมก็ชี้แจงไป .. แล้วก็จำชื่อไว้ ว่า อย่าไปยุ่งกับชื่อนี้อีก ต่างคนต่างไป สู่ที่ชอบที่ชอบของแต่ละคน อย่ามาเจอกันอีกเลย




แถม ...

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10





 

Create Date : 04 กันยายน 2552   
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:53:54 น.   
Counter : 2686 Pageviews.  

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ






ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ


๑. ตั้งชื่อกระทู้ให้ ตรงกับอาการมากที่สุด

เพื่อที่แพทย์ หรือ ผู้ที่รู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น จะได้สะดวกที่จะเข้ามาแนะนำ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น ปวดหลังมากทำอย่างไรดี ... ผ่าตัดหลังแล้วไม่ดีขึ้น ปวดเข่ามากรักษาหมอที่ไหนดี ... โรคเกาท์... ความดันสูง ... ปวดหัวมาก ... เป็นต้น

หลีกเลี่ยงการตั้งหัวข้อกระทู้ที่ไม่สื่อความหมายเฉพาะ เช่น “ขอปรึกษา ” “ขอความช่วยเหลือ” “ปวดมาก” “ ถามคุณหมอ” “ ไม่สบาย” “ช่วยด้วยค่ะ” เป็นต้น เพราะถ้าตั้งกระทู้คลุมเครือ แพทย์ (โดยเฉพาะผม ซึ่งเชี่ยวชาญเฉพาะโรคกระดูกและข้อ ส่วนโรคอื่น ๆ ก็ไม่แน่ใจแล้วที่จะตอบ) ก็อาจข้ามไปไม่เข้ามาตอบในกระทู้ ท่านก็จะเสียประโยชน์ รอไปก็ไม่เห็นมีใครเข้ามาตอบข้อสงสัยเสียที

ถ้าตั้งหัวข้อให้ตรงกับอาการ แพทย์ หรือ ผู้ที่รู้ ก็จะเข้ามาตอบได้อย่างรวดเร็ว .. เช่น ปวดขา ก็น่าจะเป็นหมอกระดูกหรือหมออายุรกรรม จุกแน่นท้อง ก็น่าจะเป็นหมออายุรกรรม ปวดท้องด้านขวาสงสัยไส้ติ่ง หมอศัลยกรรมก็จะเข้ามาดูให้เลย เป็นต้น

๒. บรรยายอาการ เรียงตามลำดับเหตุการณ์ให้ละเอียดมากที่สุด เช่น

ปวดหลังด้านขวา ปวดมาก เดินไม่ได้ ๓ วัน หลังจากหกล้ม นอนไม่เจ็บ แต่ถ้ายืนเดินจะเจ็บมาก ไม่มีชา ขาไม่อ่อนแรง ไม่มีไข้ ไม่มีก้อน ฯลฯ ซึ่งยิ่งละเอียดเท่าไหร่ การแนะนำก็จะแม่นยำมากขึ้น

ถ้าบอกกว้าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดเข่า แค่นี้ ก็จะแนะนำได้กว้าง ๆ ซึ่งอาจไม่ตรงจุด ไม่ช่วยอะไรนัก


๓. บรรยายการรักษาที่ได้รับมาแล้วไม่ว่าจะเป็น ยากิน ยาฉีด กายภาพบำบัด ผ่าตัด ฯลฯ เช่น

ซื้อยากินเอง ๒ ชุดแล้วแต่ไม่ดีขึ้น มียาเม็ดสีแดงกลม ยาเม็ดสีเนื้อกลมมน ยาเม็ดสีเขียว มีเลข200 เลยไปพบหมอ เอกซเรย์แล้วมีกระดูกร้าว หมอให้กินยานอนพัก แต่ก็ยังปวดมากอยู่ ไม่เบา
เคยไปทำกายภาพบำบัด ดึงหลัง แต่ดึงแล้วปวดมากขึ้น


๔. สรุปปัญหา ความต้องการ เช่น

อยากรู้ว่า น่าจะเป็นอะไร จะรักษาอย่างไรดี แนวทางการรักษา ต้องไปพบแพทย์ซ้ำอีกหรือไม่ หรือ ขอความเห็นของผู้ที่เคยเป็น เป็นต้น ..



รวม ๆ ก็จะเป็น แบบนี้

ชื่อกระทู้ “ ปวดหลังมากทำอย่างไรดี “...

ปวดหลังด้านขวา ปวดมาก เดินไม่ได้ ๓ วัน หลังจากหกล้ม นอนไม่เจ็บ แต่ถ้านั่งยืนเดินจะเจ็บมาก

ซื้อยากินเอง ๒ ชุดแล้วแต่ไม่ดีขึ้น มียาเม็ดสีแดงกลม ยาเม็ดสีเนื้อกลมมน ยาเม็ดสีเขียว มีเลข200 เลยไปพบหมอ เอกซเรย์แล้วมีกระดูกร้าว หมอให้กินยานอนพัก แต่ก็ยังปวดมากอยู่

น่าจะเป็นอะไร จะรักษาอย่างไรดี ต้องไปพบแพทย์ซ้ำอีกหรือไม่




แต่ไม่ต้องกังวลมากหรอกนะครับ เอาเป็นว่า บอกมาให้ละเอียด เยอะ ๆ ยิ่งเยอะยิ่งดี ซึ่งก็จะทำให้แพทย์ หรือ ผู้รู้ นั้นสามารถชี้แจง ตอบปัญหาข้อสงสัยของคุณได้ดียิ่งขึ้น ตรงประเด็นมากขึ้น ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย ...



ปล.

.. การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความเจ็บป่วย โรคต่าง ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เนต อยากจะเน้นว่า

ข้อมูล หรือ คำแนะนำ ที่ได้รับจากเวบ หรือ จากแพทย์ทางอินเตอร์เนต

เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นทั่ว ๆ ไปเท่านั้น

ไม่ได้เป็นคำวินิจฉัย หรือ การรักษาทางการแพทย์

ไม่สามารถทดแทนการตรวจรักษากับแพทย์โดยตรง และ

ไม่ควรใช้เพื่อ ตัดสินใจ เลือกแนวทางรักษาด้วยตนเอง


กว่าที่แพทย์ จะวินิจฉัยโรค ได้นั้น จะมีขั้นตอนหลายขึ้นตอน บางครั้งก็ต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ต้องสอบถามประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย และอาจต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น เจาะเลือด เอ็กซเรย์ เป็นต้น

ในบางครั้ง ถึงแม้จะทำทั้งหมดแล้ว ก็ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอะไร

โรคบางโรค อาจมีประวัติ หรือ อาการที่เด่นชัด ทำให้พอบอกได้ว่า น่าจะเป็นโรคนั้น .. แต่ โดยส่วนใหญ่แล้ว ประวัติ และ อาการ มักจะคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ โรค ทำให้ยากที่จะบอกได้แน่นอนว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ...

โรคเดียวกัน อาจมีอาการที่เด่นชัดแตกต่างกันได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ อาจมาด้วยอาการปวดท้องด้านขวา ปวดรอบ ๆ สะดือ ปวดชายโครงขวา หรือ มาด้วยอาการปวดท้องทั่ว ๆ ไป หรือ โรครูมาตอยด์ อาจมาด้วยอาการปวดบวมข้อนิ้วมือ ปวดตามข้อเป็น ๆ หาย ๆ ก็ได้เช่นกัน เป็นต้น

โรคคนละโรค ก็อาจมีอาการเด่นชัดคล้ายกันได้ เช่น ไข้หวัดธรรมดา กับ ไข้เลือดออก ในระยะแรกจะมีอาการเหมือนกัน แยกกันไม่ได้เลย เป็นต้น

ถ้ามีเพียงข้อมูลที่ให้มาทางอินเตอร์เนต ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเจ็บป่วย เพียงด้านเดียว ( แพทย์ไม่สามารถซักถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ) แถมบางครั้ง ข้อมูลก็น้อยมาก ๆ และ อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่สำคัญเพราะผู้ป่วยคิดว่าไม่สำคัญ แพทย์จึงมีข้อมูลค่อนข้างจำกัดสำหรับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง

แพทย์จึงตอบแบบกว้าง ๆ ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นอนว่าเป็นอะไร

ดังนั้น ถ้าไม่แน่ใจ หรือ สงสัยอะไร ก็ต้องกลับไปสอบถามเพิ่มเติมกับแพทย์ที่รักษาอยู่อีกครั้ง ... แพทย์ที่ท่านรักษาอยู่ จะเป็นผู้ที่มีข้อมูลมากที่สุด การวินิจฉัยก็น่าจะใกล้เคียง ถูกต้องมากที่สุด เช่นกัน

.....................................................



เครดิต เฟส แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว    #วิธีถามคำถามกับแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว?
https://www.facebook.com/SOSspecialist/photos/a.857752197612737.1073741828.822694754451815/902411479813475/?type=3

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10





 

Create Date : 23 มิถุนายน 2551   
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:53:06 น.   
Counter : 2273 Pageviews.  

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ผ่านระบบอินเตอร์เนต











การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความเจ็บป่วย โรคต่าง ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เนต อยากจะเน้นว่า ข้อมูล หรือ คำแนะนำ ที่ได้รับจากเวบ หรือ จากแพทย์ทางอินเตอร์เนต เป็นเพียง

คำแนะนำเบื้องต้นทั่ว ๆ ไปเท่านั้น

ไม่ได้เป็นคำวินิจฉัย หรือ การรักษาทางการแพทย์

ไม่สามารถทดแทนการตรวจรักษากับแพทย์โดยตรง และ

ไม่ควรใช้เพื่อ ตัดสินใจ เลือกแนวทางรักษาด้วยตนเอง



กว่าที่แพทย์ จะวินิจฉัยโรค ได้นั้น จะมีขั้นตอนหลายขึ้นตอน บางครั้งก็ต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สอบถามข้อมูลประวัติความเจ็บป่วยเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย และ อาจต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น เจาะเลือด เอกซเรย์ เป็นต้น

ในบางครั้ง ถึงแม้จะทำทั้งหมดแล้ว ก็ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอะไร ...


โรคบางโรค อาจมีประวัติ หรือ อาการที่เด่นชัด ทำให้พอบอกได้ว่า น่าจะเป็นโรคนั้น .. แต่ โดยส่วนใหญ่แล้ว ประวัติ และ อาการ มักจะคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ โรค ทำให้ยากที่จะบอกได้แน่นอนว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ...

โรคเดียวกัน อาจมีอาการที่เด่นชัดแตกต่างกันได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ อาจมาด้วยอาการปวดท้องด้านขวา ปวดรอบ ๆ สะดือ ปวดชายโครงขวา หรือ มาด้วยอาการปวดท้องทั่ว ๆ ไป หรือ โรครูมาตอยด์ อาจมาด้วยอาการปวดบวมข้อนิ้วมือ ปวดตามข้อเป็น ๆ หาย ๆ ก็ได้เช่นกัน เป็นต้น

โรคคนละโรค ก็อาจมีอาการเด่นชัดคล้ายกันได้ เช่น ไข้หวัดธรรมดา กับ ไข้เลือดออก ในระยะแรกจะมีอาการเหมือนกัน แยกกันไม่ได้เลย เป็นต้น



ถ้ามีเพียงข้อมูลที่ให้มาทางอินเตอร์เนต ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเจ็บป่วย เพียงด้านเดียว ( แพทย์ไม่สามารถซักถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ) แถมบางครั้ง ข้อมูลก็น้อยมาก ๆ และ อาจไม่ได้ข้อมูลที่สำคัญเพราะผู้ป่วยคิดว่าไม่สำคัญ แพทย์จึงมีข้อมูลค่อนข้างจำกัด สำหรับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง

คำตอบของแพทย์จึงมักจะตอบแบบกว้าง ๆ ไม่สามารถ ระบุได้อย่างแน่นอนว่าเป็นอะไร ต้องรักษาอย่างไร ผลการรักษาเป็นอย่างไร ฯลฯ




ดังนั้น ถ้าไม่แน่ใจ หรือ สงสัยอะไร ก็ต้องกลับไปสอบถามเพิ่มเติมกับแพทย์ที่รักษาอยู่อีกครั้ง ... แพทย์ที่ท่านรักษาอยู่ จะเป็นผู้ที่มีข้อมูลมากที่สุด การวินิจฉัยก็น่าจะใกล้เคียง ถูกต้องมากที่สุด เช่นกัน



หมายเหตุ

สำหรับท่านที่ชอบหาความรู้ด้านสุขภาพในอินเตอร์เนตก็ต้องตรวจสอบด้วยว่า “ ข้อมูลเนื้อหาเชื่อถือ ได้หรือไม่ “ เพราะมีหลายเวบที่แฝงโฆษณาชวนเชื่อ หรือเขียนขึ้นด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากหลักวิชาการที่ถูกต้องและทันสมัย

การตรวจสอบความน่าเชื่อถือเบื้องต้นก็คือ

  1. ผู้เขียนบทความนั้นเป็นใคร มีชื่อนามสกุล ตำแหน่งหน้าที่ ความเชี่ยวชาญ หรือ มีหลักฐานที่แสดงว่า มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือไม่

ถ้าไม่มีข้อมูลว่าบทความนั้นอ้างอิงมาจากไหนใครเป็นคนเขียน ก็ไม่ควรให้ความเชื่อถือเนื้อหาในบทความนั้น

  1. เวบนั้นเป็นเวบที่ขายสินค้า มีโฆษณา ด้วยหรือไม่

ถ้าเป็นเวบขายสินค้า ก็ต้องระวังเพิ่มขึ้นเพราะอาจมีแอบแฝงโฆษณาสินค้าบางเวบก็นำเนื้อหาจากเวบอื่นไปตัดต่อคัดลอกบางประโยคแล้วเขียนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือหลอกลวงผู้อ่านให้เข้าใจว่าสถาบันหน่วยงานทางการแพทย์สาธารณสุขให้ความรับรองสินค้านั้น เช่นองค์การอาหารและยา (อย.) คณะแพทย์ หรือชื่อแพทย์ เป็นต้น

  1. เนื้อหา ถูกต้องใกล้เคียงกับเนื้อหาในเวบอื่น ๆ หรือไม่

ค้นหาไม่ยาก แต่ก็ต้องเทียบกับเวบที่เชื่อถือได้ด้วยนะครับ

ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน จากอินเตอร์เนต อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า

1. เป็นโรคร้ายแรง ต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือดเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ส่องกล้อง เป็นต้น

2. ต้องรักษาด้วยวิธีการเฉพาะ เช่น ชื่อยาบางตัว ผ่าตัดส่องกล้องผ่าตัดด้วยคลื่นเสียง ผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียมฉายรังสี เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยหรือ ทางเลือกในการรักษา แต่ละวิธีตรวจ วิธีรักษามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ตามหลักวิชาการอยู่แล้วว่า ควรจะใช้ในกรณีไหนวิธีตรวจวิธีรักษาทุกอย่างมีข้อดีข้อเสียทั้งนั้นจึงควรปรึกษาสอบถามจากแพทย์ที่ได้ตรวจรักษาท่านโดยตรง จะดีที่สุด







แถม ...

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10





 

Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2551   
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:54:31 น.   
Counter : 3770 Pageviews.  

1  2  3  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]