ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
7 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
มหาสงครามโลกครั้งที่ 2 (ตอนที่ 3)

สมรภูมิทางตะวันตก

สมรภูมิทางตะวันตก ซึ่งมีเยอรมนีเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยยังสามารถแยกย่อยให้เป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ

สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก
การรบแบบสายฟ้าแลบของเยอรมนี เป็นการพุ่งเป้าหมายการบุกของเยอรมนีไปยังประเทศต่าง ๆ เยอรมนีโจมตีทิ้งระเบิดเครื่องบินของฝ่ายข้าศึกจำนวนมาก หน่วยจู่โจมที่เรียกว่า panzer division ของเยอรมนีอันประกอบด้วย รถถัง ทหารม้า และทหารราบ

- กองทัพนาซีเข้าถล่มออสเตรียและผนวกเข้ากับเยอรมนี ล้มล้างระบอบกษัตริย์ในออสเตรียลงและนำกองทัพเข้าโจมตีฮังการี ฮังการีเกรงกลัวจึงประกาศยอมแพ้แก่นาซี บุกโจมตีประเทศเบเนลักซ์(เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบอร์ก)

- เนเธอร์แลนด์ถูกกองทัพนาซีบุกทำให้สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมีนาแห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จลี้ภัยไปยังอังกฤษ

- นาซีบุกวัน เบลเยี่ยมและลักเซมเบอร์ก และทำการผนวก

- นาซีสามารถเข้าผนวกฝรั่งเศสได้อย่างง่ายดาย จากนั้นเข้าถล่มเมืองเกอเออนีคาแห่งสเปนที่เป็นกลางด้วยระเบิดรวมถึงโปรตุเกสด้วย

- ในสแกนดิเนเวียโดยการบุกโจมตีเดนมาร์กและนอร์เวย์ และบีบบังคับให้สวีเดนที่เป็นกลางมอบทรัพยากรทางธรรมชาติให้เยอรมนี ส่วนฟินแลนด์เข้าร่วมกับนาซีเพื่อเข้าโจมตีดินแดนที่เสียให้กับสหภาพโซเวียต ซึ่งเยอรมนีประสบความสำเร็จในการยึดครอง

- การยุทธแห่งเกาะบริเตน(เกาะอังกฤษ)ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของฮิตเลอร์ที่หันไปให้ความสำคัญกับยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต

- สมรภูมิสำคัญของสงครามอีกครั้งหลังจากการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส และการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตามปฏิบัติการแอนซิโอ .เคลื่อนพลอย่างช้า ๆ เข้าบุกประเทศเดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศส ส่วนอังกฤษยืนหยัดต่อต้านการทิ้งระเบิดจากฝ่ายเยอรมนีได้สำเร็จ โดยเยอรมนีไม่สามารถบุกเกาะอังกฤษได้

สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก

ในโปแลนด์ กรีซ (บางส่วน) ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และสหภาพโซเวียต โรมาเนียนั้นเข้าร่วมกับนาซีและเข้าผนวกบัลแกเรียโดยนายพลเซาเซสคูแห่งโรมาเนีย ซึ่งถ้าไม่นับรวมโปแลนด์แล้ว ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญการรุกรานจากเยอรมนีหลังจากสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ซึ่งเยอรมนีได้บุกเข้าไปจนกินเนื้อที่จำนวนมาก แต่ทว่าก็ไม่อาจเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมินี้อย่างถาวร เนื่องจากแนวรบที่กว้างขวางตั้งแต่ทะเลบอลติก (เลนินกราด หรือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) จนถึงลุ่มแม่น้ำโวลก้า (สตาลินกราด) และแหลมไครเมีย สภาพอากาศที่โหดร้าย และการตอบโต้อย่างหนักจากสหภาพโซเวียต จนทำให้โดนฝ่ายสหภาพโซเวียตตีโต้กลับไปจนถึงกรุงเบอร์ลินในที่สุด ส่วนอิตาลีได้ทำการผนวกแอลเบเนียแต่ไม่สามารถผนวกกรีซได้

ฮิตเลอร์ยกทัพเข้าบุกสหภาพโซเวียตตามแผนปฏิบัติการรบที่มีชื่อว่าบาร์บารอสสา (Operation Barbarossa) ปรากฏว่าในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 อากาศอันหนาวเยือกเย็นของมอสโคว์กระหน่ำซ้ำเติมกองทัพเยอรมนีเหมือนกับที่กองทัพของจักพรรดินโปเลียนที่ 1 เคยเผชิญ ใน ค.ศ. 1812 และต้องพ่ายแพ้รัสเซียในสมัยพระเจ้าซาร์และอะเล็กซานเดอร์ที่ 1

สมรภูมิริมขอบของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ได้แก่ ในไซปรัส กรีซ (บางส่วน) ลิเบีย และอียิปต์ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เคยอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษมาก่อน แต่ว่าอิตาลีและเยอรมนีต้องการ จึงได้เกิดสมรภูมิทะเลทรายอันลือลั่นขึ้น

จากการที่กองทัพอิตาลี ภายใต้จอมเผด็จการเบนนิโต มุสโสลินี ปราชัยจากการยึดครองกรีซและแอฟริกาเหนือ ฮิตเลอร์จึงจัดกองทัพเข้าช่วยทันทีในปี ค.ศ. 1941 ได้เคลื่อนพลจากแนวเกาะครีต ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ฯลฯ

ในตอนแรกนั้น ฝ่ายอิตาลีไม่สามารถเอาชนะอังกฤษได้ แต่ว่าต่อมาฮิตเลอร์ได้ส่งจอมทัพเออร์วิน รอมเมลอันโด่งดังและกองกำลัง Afrika Korp เข้ามาทำให้สถานการณ์ของฝ่ายอักษะกลายเป็นฝ่ายรุก แต่ในที่สุด เนื่องด้วยฝ่ายอักษะไม่สามารถส่งกำลังบำรุงและทหารมาประจำการในสมรภูมิทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มาก เนื่องจากติดพันอยู่กับสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก และฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการฐานสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ ด้วยความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงได้เกิดปฏิบัติการทอร์ชขึ้น และสามารถขับไล่ฝ่ายอักษะออกจากแอฟริกาเหนือได้

การรบในมหาสมุทรแอตแลนติก
การรบในมหาสมุทรแอตแลนติก นับเป็นการรบที่นองเลือด เนื่องจากเรือ U – boats ของฝ่ายเยอรมนีสามารถจมเรือสินค้าของสัมพันธมิตรได้ถึง 3 ล้านตัน ไปจนถึงกลางปี ค.ศ. 1941 ที่ทางฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถส่งเรือบินคุ้มกันเรือสินค้าจองตนจากการทิ้งระเบิดของเรือ U – boats ของ เยอรมนีได้สำเร็จ

สมรภูมิทางตะวันออก(เอเชีย)

สมรภูมิทางตะวันออก ซึ่งรับผิดชอบโดยญี่ปุ่นเป็นด้านหลัก โดยมีชื่อเรียกยังสามารถแยกเป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ

สมรภูมิในจีน
ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่2 อย่างเป็นทางการ โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข และได้ทำการยึดครองกรุงหนานจิง(นานกิง)ที่เป็นเมืองหลวงของจีน(ของรัฐบาลก๊กมินตั่งในยุคนั้น) และได้ทำการสังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองนานกิงยังรับไม่ได้ ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋น(ประชาธิปไตย)ที่มีเจียงไคเช็กเป็นผู้นำ หลังจากเกิดกรณีซีอันขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ"สงครามกองโจร" ที่กลายเป็นแบบอย่างของสงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้นโดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่เยนอาน ตามเขตตอนเหนือและแมนจูเรียส่วนพรรคก๊กมินตั๋นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ฉ่งชิ่ง(จุงกิง)และได้รับการสนับสนุนจากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย บทบาทของพรรคก๊กมินตั๋นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเรื่องบทบาทความสำเร็จในการต่อต้านญี่ปุ่น พรรคก๊กมินตั๋นมุ่งการปราบคอมมิวนิสต์มากกว่าการรบกับญี่ปุ่น

การรบชนะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียนั้น ยิ่งทำให้ชาติญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการทหารของตนเอง ทำการรุกรานประเทศอื่นๆอย่างไม่เกรงกลัว และยังประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาโดยการส่งเครื่องบินไประเบิดเรืออริโซน่าที่อ่าวเพิร์ล เป็นชนวนจุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชีย

สมรภูมิในแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมรภูมิด้านนี้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า นิวกินี และเกาะกัวดาคาแนล ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัวดาคาแนลแล้ว ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอเพื่อปกป้องดินแดนที่ยึดได้ใหม่ ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด

รายละเอียดการรบครั้งสำคัญ ๆ ในเอเชียแปซิฟิก

- กองทัพจากกวางตุ้งของญี่ปุ่น 10,000 คน เข้ายึดครองสิทธิเหนือดินแดน แมนจูเรียใกล้เมืองมุกเดน ใน ค.ศ. 1931 อีก 2 ปีต่อมา ทหารญี่ปุ่นกว่า 100,000 คนเข้ามาเสริมกำลังในแมนจูเรียของจีนมากขึ้น

- พลเรือเอกเชสเตอร์ นิมมิซ ได้นำกองกำลังเข้าตีเกาะกัวดาคานัลอย่างดุเดือด และปฏิบัติการรบที่มีชื่อว่า คาร์ตเวลล์ (Operation Cartwhell) ทำให้สามารถยึดเกาะโซโลมอนได้ ในขณะที่นายพลดักลาส แมกอาเธอร์ ที่ถูกญี่ปุ่นขับออกจาก ฟิลิปปินส์ได้ยกกองกำลังมาสกัดญี่ปุ่นที่เกาะนิวกีนีตามแผนปฏิบัติการคาร์ตเวลล์ ทำให้สัมพันธมิตรสามารถยึดฐานทัพญี่ปุ่นที่เมืองราโบลได้

- ดักลาส แมกอาร์เทอร์ (Douglas MacArthur) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐฯ ในตะวันออกไกล เขาบัญชาการกองกำลังสหรัฐในฟิลิปปินส์ก่อนที่จะย้ายไปบัญชาการกองกำลังที่ออสเตรเลีย

- การรบที่อ่าวเลเต ที่ซึ่งทหารญี่ปุ่นพลีชีพเพื่อชาติถึง 50,000 คน ฝ่ายทหารอเมริกันเสียชีวิตเพียง 3,504 คน การรบทางเรือที่อ่าวเลเตนั้น ถือว่าเป็นการรบที่สำคัญมากที่สุด ญี่ปุ่นต้องสูญเสียเรือพิฆาตถึง 4 ลำ ทหารญี่ปุ่นเริ่มปฏิบัติการคามิกาเซะ (Kamikaze) ที่นักบินยอมสละชีวิตนำเรือบินที่บรรทุกระเบิดเข้าชนเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร

- แฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) ประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1945 ถึง 1951 อนุมัติให้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้นำในแผนการมาร์แชลเพื่อฟื้นฟูทวีปยุโรปหลังสงคราม และเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหประชาชาติ

- การทิ้งระเบิดปรมณูของสหรัฐอเมริกา ที่เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ที่เมืองนางาซากิ ทำให้คนญี่ปุ่นเสียชีวิตทันทีถึง 100,000 คน และทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมจำนน สัมพันธมิตรได้ตั้งข้อหาทหารญี่ปุ่นจำนวน 5,000 คน เป็นอาชญากรสงครามปรากฏว่าทหารญี่ปุ่นจำนวน 900 คน ถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาทารุณ โหดร้ายและคุมขังเชลยศึก
ชารล์ส ดับบลิว. นิมิทซ์ (Charles W. Nimitz) เป็นพลเรือเอกบัญชาการกองเรือแปซิฟิกแห่งสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและฝ่ายสัมพันธมิตร


โปรดติดตามตอนที่ 4 ตอนจบ


Create Date : 07 มกราคม 2556
Last Update : 7 มกราคม 2556 5:23:17 น. 0 comments
Counter : 2441 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.