"เรื่องเก่าเล่าใหม่"
  เรื่องเก่าเล่าใหม่

"เรื่องเก่าเล่าใหม่" เป็นโจทย์ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 331
ผู้ตั้งโจทย์โดยคุณ toor36

         คำอธิบายโจทย์ (แนวทางการเขียน)
 ให้หยิบเรื่องราวเก่าที่เคยเขียนในบล็อกของตัวเองมาแล้ว มาเขียนเล่า
ใหม่ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง โดยเขียนในรูปแบบเดิม
หรืออาจจะเขียนในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิมก็ได้

จากคำอธิบายโจทย์   ทำให้ฉันกลับไปดูงานเขียนเก่า ๆ ที่ฉันเคยเขียน
ไว้ในสมัยที่ฉันเริ่มเขียนบล็อกใหม่ ๆ ยังไม่มีเพื่อน
ในบล็อกแก๊งมาอ่านเลย มีแต่นักเรียน  ผู้ปกครองของนักเรียนที่มี
ปัญหาภาษาไทยในการสอนลูกเข้ามาอ่านและถาม
ปัญหาเกี่ยวกับภาษาไทยเท่านั้น   ฉันเห็นว่า เรื่องนี้  เพื่อน ๆ ชาว
บล็อกยังไม่มีใครอ่าน  จึงหยิบเรื่องนี้มาเขียนใหม่
  ยังคงเนื้อหาที่เป็นทฤษฎีเหมือนเดิม  เพิ่มรูปสักรูป เล่าสาเหตุที่นำ
เรื่องนี้มาเขียนใหม่ให้เพื่อน ๆ ได้อ่าน  คิดว่า เพื่อน ๆ อาจจะ
มีลูก มีหลาน ที่ยังเรียนหนังสืออยู่ อาจจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง  ค่ะ 
เรื่องที่นำมาเขียนใหม่นั้น คือ เรื่อง  "การรู้เสียงวรรณยุกต์
โดยไม่ต้องเทียบเสียง"


     
"โอ๊ย ! ทำอย่างไรหนอ เวลาสอบจึงจะผันวรรณยุกต์ให้ได้เร็ว ๆ นะ
ข้อสอบแต่ละข้อก็ยาว ๆ ทั้งนั้นเลย กว่าจะผันได้
แต่ละข้อ ก็เกือบ 5 นาทีเข้าไปละ เฮ้อ! กลุ้มใจจัง"

   นักเรียนทุกคน คงมีความรู้สึกเป็นเช่นนี้เหมือน ๆ กันในเวลาที่สอบ
วิชาภาษาไทย และมีข้อสอบที่เกี่ยวกับเรื่องของ
วรรณยุกต์ เช่น อาจจะยกคำมา แล้วถามว่า คำนั้นเป็นเสียงวรรณยุกต์
อะไรหรือ อาจจะยกประโยคมา 1 ประโยค
แล้วถามว่า ประโยคที่ยกมามีเสียงวรรณยุกต์อะไรบ้าง หรือ ถามว่า ข้อ
ใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง เป็นต้น
จากประสบการณ์การสอนนักเรียนมา 35-36 ปี รู้สึกว่าเรื่องของ
วรรณยุกต์ของไทยนั้นยากมากพอสมควร
สมัยฉันเป็นนักเรียน เมื่อทำข้อสอบเกี่ยวกับเรื่องของวรรณยุกต์ ฉันก็
ใช้วิธีเทียบเสียงของวรรณยุกต์ที่ต้องการรู้ว่า
  เป็นเสียงอะไร ด้วยวิธีเทียบเสียงกับหมู่อักษรกลาง ซึ่งเป็นอักษรหมู่
เดียวที่สามารถผันได้ครบ 5 เสียง 
พอมาเป็นครูสอนภาษาไทย จึงได้มาคิดหาวิธีการช่วยนักเรียนให้ผัน
เสียงหรือสามารถบอกเสียงของคำที่ต้องการทราบว่า
เป็นเสียงวรรณยุกต์อะไร โดยไม่ต้องเทียบเสียงซึ่งเป็นวิธีที่เสียเวลา
มากพอสมควร ยิ่งเวลาสอบแข่งขัน  มีเวลาน้อย
  จะทำให้ทำข้อสอบไม่ทัน จากสิ่งที่ฉันค้นวิธีการบอกเสียงวรรณยุกต์
โดยไม่ต้องเทียงเสียงจากอักษรกลาง
 ดังจะนำมาเผยแพร่เป็นความรู้แก่ผู้อ่าน ดังนี้นะคะ

ภาษาไทย เป็นภาษาที่มีคุณสมบัติพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ มีระดับเสียง
สูงต่ำ คล้ายเสียงดนตรี เราเรียกเสียงสูงต่ำเหล่านี้ว่า
"วรรณยุกต์" เมื่อเสียงของวรรณยุกต์เปลี่ยนไป ความหมายของคำนั้น ๆ
ก็จะเปลี่ยนไปด้วย เช่น ไข ไข่ ไข้ ความหมายของ
ทั้ง 3 คำ นี้ จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นการใช้วรรณยุกต์ในภาษา
ไทย  จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าใช้ผิด ความหมาย
ก็จะพลอยผิดไปด้วยนั่นเอง วรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้น แบ่งออก
เป็น 4 รูป แต่มี 5 เสียง พวกที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ
เราเรียกว่า เป็นคำพื้นเสียงของอักษรแต่ละหมู่นั้น ๆ  ซึ่งแบ่งออกเป็น
สามหมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์

ฉันขอสรุปกฎเกณฑ์ในการรู้หรือบอกเสียงของวรรณยุกต์ของคำ โดย
ไม่ต้องเทียบเสียงจากอักษรกลาง ดังนี้ ค่ะ

1. นักเรียนทุกคนต้องจำอักษรสามหมู่ หรือ ไตรยางศ์ ให้ได้ เพราะ
อักษรสามหมู่จะต้องนำมาใช้ในการสังเกตเสียง
วรรณยุกต์ของคำที่เราต้องการทราบว่าเป็นเสียงวรรณยุกต์อะไร
อักษรกลาง มีทั้งหมด 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ต ด บ ป อ
     อักษรสูง มีทั้งหมด 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ษ ห 
ส่วนอักษรต่ำ นักเรียนไม่ต้องจำค่ะ เพราะอะไรคะ ก็เพราะว่า เมื่อจำ
อักษรกลางและอักษรสูงได้หมดแล้ว ที่เหลือ
ก็จะเป็นอักษรต่ำทั้งหมด นั่นเอง
2. เหตุผลที่ต้องให้นักเรียนจำอักษรกลางและอักษรสูงให้ได้ เพราะว่า
หมู่อักษรสูงและอักษรกลาง จะมีรูปและเสียงวรรณยุกต์
ตรงกัน กล่าวคือ เมื่อนักเรียนเห็นรูปวรรณยุกต์อยู่บนหัวของอักษรสูง
หรือกลางเป็นรูปวรรณยุกต์อะไร ก็จะมีเสียง
วรรณยุกต์ตามรูปนั้น เช่น เมื่อเห็นคำว่า "จ่าย" นักเรียนก็บอกได้ว่า คำ
ว่า "จ่าย" มีเสียงวรรณยุกต์ เอก เพราะว่า "จ"
เป็นอักษรกลาง ตามกฎ จะมีรูปและเสียงวรรณยุกต์ ตรงกับรูป หรือ
ตัวอย่างคำว่า "ไข้" นักเรียนก็บอกได้ว่า คำว่า "ไข้"
เป็นเสียงวรรณยุกต์ "โท" เพราะว่า ตามกฎ "ข" เป็นอักษรสูงมีรูปและ
เสียงวรรณยุกต์ตรงกัน

นักเรียนคงเห็นแล้วใช่ไหมคะว่า เรื่องของวรรณยุกต์ ถ้าเรารู้ถึงหล้กการ
สังเกตตามกฎที่กล่าวมาแล้ว มันไม่ใช่เรื่องยาก
สำหรับเราเลยใช่ไหมคะ

นักเรียนคงสงสัยว่า เอ้า แล้วอักษรต่ำล่ะ รูปและเสียงวรรณยุกต์เป็น
อย่างไร ไม่เห็นพูดถึงเลย ไม่ต้องสงสัยค่ะ
กำลังจะให้เป็นกฎข้อที่ 3 นะคะ

3 อักษรต่ำ คำเป็น เป็นอักษรหมู่เดียวที่รูปและเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรง
กัน ยกเว้นอักษรต่ำคำตาย ที่มีเสียงวรรณยุกต์
ที่ตรงตามรูปและไม่ตรงตามรูปวรรณยุกต์ที่ปรากฏให้เห็น ดังจะอธิบาย
ให้ชัดเจน ดังนี้ถ้าเป็นอักษรต่ำคำเป็น เมื่อเห็นรูป
วรรณยุกต์เอกเสียงของคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท เช่น คำว่า "ค่า"
จะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท เพราะว่า "ค" เป็นอักษรต่ำ
คำเป็น เมื่อเห็นรูปวรรณยุกต์เอกบนหัว "ค" จะมีเสียงวรรณยุกต์โท แต่
เมื่อเห็นรูปวรรณยุกต์โท บนหัวของอักษรต่ำ
เสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นจะเป็นเสียง ตรี ตัวอย่างเช่นคำว่า "ท้าย" จะมี
เสียงวรรณยุกต์ ตรี เพราะว่า "ท" เป็นอักษรต่ำ
ตามกฎ เมื่อเห็นรูปวรรณยุกต์โท เสียงวรรณยุกต์จะเป็นเสียงตรี
       
สำหรับอักษรต่ำคำตาย จะมีทั้งรูปวรรณยุกต์ตรงกับเสียงและไม่ตรงกับ
เสียง คือ เสียงจัตวาจะตรงกับรูปจัตวาเท่านั้น เช่น คำว่า
ม๋ด โค๋ก เป็นต้น จะมีเสียง จัตวาเมื่อมีรูปวรรณยุกต์จัตวากำกับอยู่ แต่
คำเหล่านั้น มักไม่ค่อยใช้ในภาษาเขียน

ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับ คำเป็น คำตาย ซึ่งจะต้องใช้เกี่ยวข้องกับ
เรื่องของวรรณยุกต์ คือ คำเป็น กับคำตาย
จะผันเสียงวรรณยุกต์ได้ไม่เท่ากัน

ลักษณะที่เราจะสังเกตได้ว่าเป็นคำเป็น คือ
1.ต้องประสมกับสระเสียงยาว เช่น อีกา รูปู โอ่อ่า จำ ไม่ ใต้ เอาเป็นต้น
2.ต้องไม่มีตัวสะกดอยู่ในแม่ กก กบ กด (แม่ กบด)
เช่น จาน มัมมี่ เวร กัน งง เฉย เทอญ เป็นต้น
ลักษณะที่เราจะสังเกตได้ว่าเป็นคำตาย คือ
1.ต้องประสมกับสระเสียงสั้น เช่น กะทิ โอ๊ะ เลาะ ทะลุ
2.ต้องมีตัวสะกดในแม่ กก กบ กด ( แม่กบด)
เช่น จับ กวาด ฉก ลบ  กฎ  อัฐ

นอกจากนี้ ยังมีอีกสองคำที่ต้องทำความเข้าใจ นั่นคือ คำว่า คำตาย
เสียงสั้น กับคำตายเสียงยาว เพราะจะเกี่ยวข้องกับ
การผันเสียงวรรณยุกต์ในอักษรต่ำคำตายในเรื่องคำพื้นเสียงด้วย
1.คำตายเสียงสั้น หมายถึง คำที่เป็นอักษรต่ำคำตายที่ประสมกับสระ
เสียงสั้น เช่น งก รถ ซบ เป็นต้น
2.คำตายเสียงยาว หมายถึง คำที่เป็นอักษรต่ำคำตายที่ประสมกับสระ
เสียงยาว เช่น โงก ชาติ ซีก เป็นต้น

นักเรียนจะเห็นว่า กฎข้อ 1 ,2 และ 3 ที่กล่าวมาแล้ว เป็นการบอกเสียง
วรรณยุกต์โดยมี รูปวรรณยุกต์ให้สังเกตได้
แต่คำในภาษาไทย ยังมีอีกพวกหนึ่งที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับไว้ให้เรา
ใช้สังเกตตามกฎที่ฉันให้ไว้ คำพวกนี้ จะเป็นคำพื้นเสียง
ของอักษรทั้ง 3 หมู่ ซึ่งจะมีคำพื้นเสียงทั้งหมด 7 เสียง ที่นักเรียนต้อง
จำให้ได้ว่าอักษรแต่ละหมู่ทั้งคำเป็นและคำตาย
จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงใดบ้าง ดังนี้
4. คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ให้สังเกต ต้องจำเสียงวรรณยุกต์ของคำพื้น
เสียงของอักษรทั้งสามหมู่ให้ได้ ดังนี้

อักษรกลาง
คำเป็น มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันวรรณยุกต์ได้ 5 เสียง เช่น
กาน ก่าน ก้าน ก๊าน ก๋าน
คำตาย มีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันวรรณยุกต์ได้ 4 เสียง เช่น
ปัด ปั้ด ปั๊ด ปั๋ด
อักษรสูง
คำเป็น มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง เช่น
ขัน ขั่น ขั้น
คำตาย มีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันวรรณยุกต์ได้ 2 เสียง เช่น
ขด ข้ด
อักษรต่ำ
คำเป็น มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง เช่น
คาน ค่าน ค้าน
คำตายเสียงยาว มีพื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง เช่น
โคก โค้ก โค๋ก
คำตายเสียงสั้น มีพื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง เช่น
มด ม่ด ม๋ด

สรุปได้ว่า นักเรียนต้องจำคำพื้นเสียงของอักษรสามหมู่นี้ให้ได้ เพื่อที่
จะบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ
ให้สังเกต เช่น เมื่อเห็นคำว่า " ปด" นักเรียนก็บอกได้ว่า เป็นเสียงเอก
เพราะว่า "ป" เป็นอักษรกลาง คำตาย มีพื้นเสียงเป็นเสียง เอก
หรือเห็นคำว่า "สอย" นักเรียนบอกได้ทันทีว่า เป็นเสียง จัตวา เพราะว่า
"ส" เป็นอักษรสูง คำเป็น มีพื้นเสียงเป็นเสียง จัตวา เป็นต้น
นอกจากนี้ ฉันขอให้ข้อสังเกตในเรื่องการใช้วรรณยุกต์ไว้สังเกต เพื่อ
ไม่ให้เขียนหนังสือผิด ดังนี้
5. อักษรกลาง คำเป็น หมู่เดียวเท่านั้นที่สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้
ครบ 5 เสียง
6.อักษรสูงและอักษรต่ำ ไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรีใช้ ถ้านักเรียนเห็นมีรูป
วรรณยุกต์ตรีอยู่บนหัวของอักษรทั้งสองหมู่นี้
แสดงว่าเขียนผิด ค่ะ ข้อนี้ไว้ใช้สังเกตข้อสอบที่ให้เลือกข้อใดใช้คำผิด
ข้อใดใช้คำถูก

ฉันหวังว่า กฎเหล่านี้ คงจะช่วยให้นักเรียนบอกเสียงวรรณยุกต์โดยไม่
ต้องนับนิ้วในการผันวรรณยุกต์หรือเทียบเสียง
วรรณยุกต์จากอักษรกลางอีกต่อไปแล้วนะคะ

เพื่อทดสอบความเข้าใจในเรื่องการบอกเสียงวรรณยุกต์โดยไม่ต้อง
เทียบเสียงจากอักษรกลาง นักเรียนลองทำข้อสอบ
ดังต่อไปนี้ ดูซิคะว่า ทำได้มากน้อยเท่าไร

1.วรรณยุกต์มีประโยชน์มากที่สุดในด้านใด
                   ก. ทำให้เกิดเสียงสูงต่ำ มีความหมายแตกต่างกันไป
                    ข.ทำให้ภาษามีความไพเราะ เพราะเกิดเสียงสูงต่ำเหมือนเสียงดนตรี
               ค.ทำให้มีคำใช้มากขึ้น สะดวกในการเลือกใช้คำ
                     ง.เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาไทย ภาษาอื่น                   
       ไม่มีวรรณยุกต์ใช้อย่างภาษาไทย ยกเว้น ภาษาจีน 
2.อักษร 3 หมู่ มีความหมายตรงกับข้อใด
           ก.วรรณยุกต์                           ข. เสียงดนตรี
    ค.รูปและเสียงวรรณยุกต์       ง.ไตรยางศ์
3.ข้อใดมีอักษรสูง กลาง ต่ำ อย่างละ 2 ตัว
ก. ฉ ช ด ฎ พ ฌ      ข. ผ ห จ ฎ ร ฮ
ค.  ข ฐ ณ น ฝ ก        ง.   ค ฆ ฑ ต ถ ธ
4. ข้อใดเป็นอักษรต่ำทุกตัว
ก. ง ญ น ล ง ย      ข. ฬ ส ต จ ช ฒ
ค. ท ฟ ภ อ ฬ ฮ    ง. ร ล ง ษ ป ม
5.พื้นเสียงของคำเป็นของหมู่อักษรกลาง สูง และ ต่ำ เรียงลำดับแล้วคือ ข้อใด
ก.เกลอฉันเอง       ข.ชอบจังเลย
ค.ปีกลายหรือ        ง.เตรียมเข็มยา
6.พื้นเสียงคำตายของอักษรกลาง สูง ต่ำ เรียงตามลำดับคือข้อใด
ก.ตบ เปะ เละ มาก     ข.เด็กขับรถลาก
ค.ตับผักฟักจาก          ง.รักเขาชอบยาก
7.ข้อใดมีพื้นเสียงทั้งคำเป็นและคำตายของอักษรสูงและกลาง
ก.ขันหมากเด็กดอย      ข.ฝนตกแดดออก
ค.จำปีสีขาว           ง.นกกระจอกหดหัว
8. ข้อใดมีคำพื้นเสียงทั้งคำเป็นและคำตายของหมู่อักษรต่ำ
ก.หงส์ปีกหัก             ข.วัณโรค
     ค.รักเป็นพิษ           ง. ลืมกันหมด
9. ข้อใดมีรูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน
ก.ช้อนส้อมคู่นี้        ข.ได้ห้าแต้มค่ะ
ค.ป้อมอุ้มหน่อยด้วย       ง. ส้มเกลี้ยงหนึ่งชั่ง
10.ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบห้าเสียง
ก.ไหใบนั้นสวยค่ะ     ข.หนูหน่อยแม่น้อยล่ะ
ค.ปู่เทียมกลุ้มหรือจ๊ะ ง.น้ำท่วมจึงกลุ้มค่ะ
11.ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์ไม่ตรงกัน
ก.ให้เสื้อเอี้ยงหนึ่งตัว    ข.ป่วยเป็นไข้จับสั่น
ค.ตุ๋นไข่ไก่หรือป้า      ง.น้าช้อยร้อยมาลัย
12.ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โททั้งหมด
ก.อย่าเที่ยวเล่นน้ำ      ข.ปิ้งมากไม่ได้
ค.ช้ำจ้ะรู้แล้ว         ง.น้องร้องไห้จ้า
13.ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรีทั้งหมด
ก.ปุ๊ ล้อช้างน้ำ         ข.พลาดพลั้งเสียแล้ว
ค.น้ำวุ้นกะทิ           ง.ล้อต๊อกหัวล้าน
14.ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์จัตวาทั้งหมด
ก.ป๋าเหลวไหลหรือ   ข.หัวใสจริงนะ
       ค.เดี๋ยวฉันโกรธเขา   ง.เหลียวจนหันหลัง
15.ข้อใดกล่าวผิดหลักความจริงของการผันวรรณยุกต์
ก.อักษรกลางคำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก
               ข.อักษรกลางและอักษรสูงมีรูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน
ค.อักษรต่ำคำตายเสียงสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงโท
   ง.อักษรต่ำเมื่อผันด้วยรูปจัตวาจะมีเสียงเป็นจัตวา

คำเฉลย
1.ค 2.ง 3.ข 4.ก 5.ง 6.ข 7.ก 8.ข
9.ค 10.ค 11.ง 12.ข 13.ก 14.ก 15.ค

อย่าแอบดูคำตอบก่อนนะคะ เป็นอย่างไรบ้างคะ ทำถูกกี่ข้อคะ ถ้าได้ 14-15 ข้อ เก่งมากค่ะ

   หวังว่า  ตะพาบ เรื่องเก่านำมาเล่าใหม เรื่องนี้  คงจะเป็นประโยชน์
สำหรับเพื่อนชาวบล็อกและคนอื่น ๆ
ที่ได้เข้ามาอ่านบ้างพอสมควร นะค่ะ    สวัสดี ค่ะ  








              

 



Create Date : 16 กรกฎาคม 2566
Last Update : 16 กรกฎาคม 2566 22:01:00 น.
Counter : 685 Pageviews.

20 comments
สุริยุปราคา อเมริกา /นิวยอร์ก อินเดียน่า เทกซัส newyorknurse
(9 เม.ย. 2567 04:13:31 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
กาแฟคั่วเข้ม เหมาะกับเมนูไหนดี สมาชิกหมายเลข 7983004
(29 มี.ค. 2567 02:14:10 น.)
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 348 "ฉุกละหุก" toor36
(24 มี.ค. 2567 10:27:24 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณกะว่าก๋า, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณเริงฤดีนะ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณปัญญา Dh, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณ**mp5**, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณtoor36, คุณSweet_pills, คุณkae+aoe, คุณดอยสะเก็ด, คุณnewyorknurse, คุณอุ้มสี, คุณหอมกร

  

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์

ผมเหมือนมาได้ทบทวนภาษาไทยตอนหมิงเรียนนี่ล่ะครับ
หมิงชอบครูภาษาไทยท่านหนึ่งมาก ชื่อ ครูตาล
ทุกวันนี้ขนาดเรียน ม.4
หมิงยังบอกว่าหลักที่ครูตาลสอนไว้ตอนชั้นประถม
ก็ยังเอามาใช้ได้

ก จ ฎ ฏ ต ด บ ป อ
ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง

อันนี้จำขึ้นใจเลยครับ 5555

ภาษาไทยเคยมีคนบอกว่า
เป็นภาษาที่เหมือนเสียงดนตรี
ถ้าภาษาต่างประเทศที่มีการผันเสียงเยอะๆ
ก็น่าจะเป็นภาษาฝรั่งเศสครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 กรกฎาคม 2566 เวลา:5:28:29 น.
  
ผมชอบภาษาไทย ชอบให้คนร้องเพลงออกเสียงได้ชัดเจน
ถูกต้อง สื่ออารมณ์เพลงได้ดี..

เจอบางคนร้องออกมา เช่น อยากฟังเพง.. ผมเลยได้แต่คิด
ว่าเขาสื่ออะไร ทำไมไม่ออกเสียงเป็น อยากฟังเพลง

...
แต่ผมก็คงเหมือน ๆ คนอื่นบางทีก็หลุดไปบ้างครับครู

เรื่อง ภาษาเขียน กับภาษาพูดสนทนา

แต่บางอ่านหนังสือบทความเยอะจาก เน็ต ชักเบลอคือไม่ค่อย
แน่ใจว่า เขียนถูกหรือไม่ดีที่มีเพื่อน ช่วยสะกิด หรือ สกิด 555
กระซิบบอกหลังไมค์ว่า พี่ใช้คำผิดนะ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 17 กรกฎาคม 2566 เวลา:7:04:47 น.
  

อิ อิ
แอบดูเฉลยค่ะ
แบบตามันไวปานกามนิตหนุ่ม

Vote ตะพาบ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 17 กรกฎาคม 2566 เวลา:17:22:26 น.
  
ดีใจกับอาจารย์ด้วยครับ
ยอดบริจาคแสนกว่าเลย
เยอะมากครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ
ที่อ่านบล็อกผมจนจบเลย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 กรกฎาคม 2566 เวลา:22:54:56 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 กรกฎาคม 2566 เวลา:4:56:03 น.
  
สวัสดีครับอาจารย์

ผมก็ชอบภาษาไทยครับ
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 18 กรกฎาคม 2566 เวลา:9:46:03 น.
  
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ
โดย: **mp5** วันที่: 18 กรกฎาคม 2566 เวลา:11:09:50 น.
  
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

บางครั้งทำแล้วทุกข์
คนทำก็รู้
แต่ก็ยังทำ
ทำปก็ทุกข์จริงๆครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 กรกฎาคม 2566 เวลา:15:45:16 น.
  
สวัสดีครับอาจารย์

บอกเลยว่า นี่ขนาดอ่านเสร็จแล้วทำเลยยังผิดรัว ๆ เลยครับ 555
ให้อารมณ์ข้อสอบภาษาไทย ม.2-3 มาก ๆ ครับ ซึ่งตอนนั้นกับตอนนี้ผมก็ยังใช้ความรู้สึก บวกดวงเหมือนเดิม 5555555
บอกเลยว่า คำเป็นคำตาย เจอเมื่อไหร่ ผมตายอย่างเดียว 555555

จำได้ว่าตอนสอบเขียนตามคำบอก ผมได้ 4-5-6 เต็ม 10 ตลอดเลยครับ จนพ่อดุ แล้วให้มานั่งเรียนกับพ่ออยู่หลายวัน กลับไปสอบก็ดีขึ้นนิดหน่อย พอพ่อเผลอก็เอาอีกแล้ว ผมอาจจะถนัดฝั่งวิทยศาสตร์และคำนวนมากกว่าครับ
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 18 กรกฎาคม 2566 เวลา:17:37:52 น.
  
ตอนเรียนผมก็จำแค่ อักษรสูง กลาง เท่านั้นเอง

ตอนนี้ที่น่าห่วงคือ คนไทยโดยเฉพาะผู้หญิงหลายคนใช้คำว่า "นะค่ะ" บางคนบอกใช้ถูกแล้ว ความหมายไม่ต่างกัน ซึ่งมันไม่ใช่เลยครับ

ตัวอย่าง ขอให้หายนะคะ กับ ขอให้หายนะค่ะ

ความหมายผิดกันฟ้ากัยเหวเลย
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 18 กรกฎาคม 2566 เวลา:22:30:55 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 กรกฎาคม 2566 เวลา:5:23:54 น.
  
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

สติเป็นสิ่งสำคัญจริงๆครับ
ไม่ว่าจะเจอเรื่องสุขหรือทุกข์
ถ้ามีสติกำกับ
ผมว่าเราก็ไม่ประมาทครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 กรกฎาคม 2566 เวลา:14:52:03 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 กรกฎาคม 2566 เวลา:5:38:01 น.
  
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

สมัยผมเป็นเด็ก
ก็ได้ฝึกภาวนาพุทโธเช่นกันครับ
แต่พอนั่งสมาธิจริงๆแล้วภาวนาพุทโธ
จิตก็ไม่สามารถสงบได้ครับ
ผมเลยเปลี่ยนไปวาดภาพแทน

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 กรกฎาคม 2566 เวลา:14:31:26 น.
  
สวัสดีครับอาจารย์

ขอบคุณครับสำหรับคอมเม้นที่บล๊อกตะพาบ
กาาจากลาเจ็บปวดเสมอครับ ทั้งคนอยู่และคนจาก
ยิ่งเป็นคนสำคัญชีวิต แรก ๆ อาจารย์คงเคว้งมากใช่ไหมครับ
แต่ก็ผ่านไปได้ จากความเศร้าเปลี่ยนเป็นความคิดถึงที่คิดเมื่อไหร่ก็เจอแต่ความทรงจำดีๆ


ผมไม่เก่งภาษาไทยครับ แต่ก็พยายามนะ 55555 ต้องขอบคุณอาจารย์มาก ๆ ครับที่ช่วยผมด้วยอีกแรง
ทำโจทย์ครับ ผมชอบทำ จะได้รู้ว่าเราเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ^^
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 20 กรกฎาคม 2566 เวลา:17:22:30 น.
  
ยอดเยี่ยมค่ะครู
โดย: อุ้มสี วันที่: 21 กรกฎาคม 2566 เวลา:4:47:45 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 กรกฎาคม 2566 เวลา:4:48:41 น.
  
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

บางครั้งธรรมะก็ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องยากครับ
พอเข้าใจยาก
คนก็เลยกลัว ไม่อยากศึกษา
ทั้งๆที่ถ้าสอนดีดี
ผมว่าธรรมะเป็นวิชาความรู้ที่สำคัญมากๆของชีวิตเลยครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 กรกฎาคม 2566 เวลา:17:55:22 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 กรกฎาคม 2566 เวลา:5:14:09 น.
  
ตอนนี้มีคนอ่านเยอะเลยค่ะอาจารย์

โดย: หอมกร วันที่: 22 กรกฎาคม 2566 เวลา:7:49:36 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Suvimol.BlogGang.com

อาจารย์สุวิมล
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]

บทความทั้งหมด