ทำไมต้องต้องเดือนแปดสองหน
ทำไมต้องเดือนแปดสองหน



ทำไมต้องเดือนแปดสองหนนั้น เพราะว่า จำนวนวันในรอบปี ของจันทรคติ ไม่เท่ากับ วันของปีสุริยคติ
ด้วยพระอาทิตย์เป็นตัวกำหนดฤดูกาล กำหนดธรรมชาติที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด และจะผันแปรไปตามขึ้นลงของพระอาทิตย์ในแต่ละช่วงฤดู
ฉะนั้นหลักการของเรื่องนี้ จึงเป็นการปรับวันให้เท่ากัน เพื่อให้ธรรมชาติตรงกับปฏิทินนัดหมายในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งการนัดหมายในเรื่องต่างๆ ของมนุษย์นั้นจะใช้พระจันทร์ในการกำหนดนัดหมาย เพราะสังเกตง่ายและเห็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน

----------------------------------

ฉะนั้น มาดูหลักการที่เติมเดือนกันก่อน ซึ่งไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัว แต่เพียงเพื่อบอกว่า ด้วยหลักการแบบนึ้ จึงมีการเติมเดือน
1 ปีฤดูกาล (ปีพระอาทิตย์) มี 365.242199 วัน แต่ปีไทยมี 354 วัน ((29x6)+(30x6)=354) จึงได้ 1 ปีฤดูกาลยาวกว่าหนึ่งปีพระจันทร์อยู่ 365.242199 - 354 = 11.242199 วัน
จึงได้ สองปี ยาวกว่า 22 วัน สามปี ยาวกว่า 33 วัน ทำให้ปีที่สามในปีจันทรคติไทยมีวันพอที่จะเติมเดือนจันทรคติไทยได้อีกหนึ่งเดือนที่มี 30 วัน และพอที่จะให้พระจันทร์โคจรจากดับแท้ ได้อีกหนึ่งครั้ง คือ
29.530588 วัน
ปีจันทรคติไทยได้เลือกเติมเดือน 8 อีก หนึ่งเดือน (เติม 30 วัน จึงได้ ปีที่ 3 เป็นปีอธิกมาส (ปีที่ 3 มี 13 เดือน ) รวมแล้ว 3 ปี มี 37 เดือน เป็นเดือนที่มี 29 วัน 18 เดือน และเดือนที่มี 30 วัน 19 เดือน ดังนั้น 3 ปีฤดูกาล ยาวกว่า 3 ปีจันทรคติไทยอยู่
(365.242199 x 3) - ((29 x 18) + (30 x 19)) = 3.7265964
เทียบกับพระจันทร์ดับแท้ 37 ครั้ง ยาวกว่า 37 เดือนจันทรคติไทยอยู่
(29.530588 x 37) - ((29 x 18) + (30 x 19)) = 0.6317786
พิจารณาเศษวัน 3.7265964 วัน ร่วมกับปีจันทรคติไทย ปี ที่ 4, 5 และ 6 ก็จะเห็นว่า เหมือนเช่นเดียวกับปีที 1, 2 และ 3 ที่ต้องเติมเดือน 8 ให้แก่ ปีที่ 6 เป็นปีอธิกมาส เช่นเดียวกับปีที่ 3
เมื่อพิจารณา 6 ปีจันทรคติไทย ซึ่งมีปีที่ 3 และ 6 เป็นปีอธิกมาส จึงได้ 6 ปีดังกล่าว มีเดือนที่มี 29 วันอยู่ 18 + 18 = 36 เดือน และมีเดือนที่มี 30 วันอยู่ 19 + 19 = 39 เดือน รวมเป็น 36 + 38 = 74 เดือน เทียบกับพระจันทร์ดับแท้ถึงดับแท้ 74 ครั้ง เท่ากับ (29.530588 x 74) - ((29 x 36) + (30 x 38)) = 1.26357 วัน
จึงแสดงว่าเดือนจันทรคติไทย ในรอบ 6 ปีแรก เร็วกว่าความเป็นจริงบนท้องฟ้า (คือดับแท้ถึงดับแท้) อยู่ 1.26357 วัน จังจำเป็นต้องปรับเดือน 7 ในปี ที่ 5 ให้มีวันเพิ่มขึ้นม่อีก 1 วัน เป็นเดือน 7 ที่มี 30 วัน เรียกปีที่ 5 ดังกล่าว ว่าปี อธิกวาร
------------------------------------
เอาแค่นี้ก่อนละกัน ปีต่อ ๆ ไป ก็เหมือนกัน
คงพอจะเข้าใจว่า การมีเดือนเพิ่มมาอีกหนึ่งเดือนนั้น ด้วยเหตุผลอะไร แต่ทำไมต้องเป็นเดือนแปด ทำไมไม่ไปเติมเดือน อ้าย ยี่ สาม สี่ ละ?
ทั้งนี้ก็ด้วยเดือนแปด เป็นเดือนที่เริ่มเข้าสูฤดูฝน เข้าสู่ฤดูของการทำนา ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของชาวไท(ย)ทั้งหลาย ฉะนั้นเดือนแปดจึงเป็นตัวกำหนดน้ำฟ้าน้ำฝน กำหนดการทำนา หากปีเคลื่อนเดือนคล้อย ก็จะมีผลกระทบต่อข้าวในนา ต่อความเป็นอยู่ของชาวไท(ย) ทั้งหลาย ฉะนั้น เมื่อเดือนคลาดเคลื่อนไปและจะเติมเดือน จึงต้องเติมเดือนแปดด้วยประการฉะนี้แล

---------------------
อ้างอิง

//www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=10797



Create Date : 23 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2552 11:10:05 น.
Counter : 4481 Pageviews.

8 comments
สวนรถไฟ : กระเต็นอกขาว ผู้ชายในสายลมหนาว
(28 พ.ย. 2567 08:46:15 น.)
อลูมิเนียมคอมโพสิต ต่างจาก ผนังกันความร้อนภายนอก อย่างไร สมาชิกหมายเลข 6460794
(27 พ.ย. 2567 10:02:02 น.)
เข็นเด็กขึ้นภูเขา #สิ่งสำคัญของความเห็นอกเห็นใจ newyorknurse
(19 พ.ย. 2567 14:42:42 น.)
ลักษณะที่ดีของคน การฝึกตน ไม่เอา ปัญญา Dh
(17 พ.ย. 2567 10:35:25 น.)
  
คอมเมนต์
-อธิกมาสไทยไม่ได้ใช้ปีสุริยแบบฤดูกาล
-ใช้ปีสุริยแบบเล็งดาว
-ภายหลังที่ปีจันทร(12เดือน)ทำการปรับเทียบกับปีสุริยแบบเล็งดาวจะทำให้วันเพ็ญ ดวงจันทร์กลับมาเล็งบริเวณดาวฤกษ์ดังเดิม
-การเติมเดือนหรือเพิ่มเดือนหรือที่เรียกว่าเดือนอธิกมาสให้ปีจันทรเกิดจาก ผลรวมระยะปีจันทร์สั้นกว่าปีสุริยห่างกันครบ เป็นระยะ 1 เดือนเมื่อไหร่เมื่อนั้นก็จะเกิดช่องว่างให้เติมเดือนให้ปีจันทร์นั้นจึงมีการเติมเดือน จึงมีชื่อว่า ปีอธิกมาส
-ข้างบนคือต้นตอที่ต้องมีกลไกการเพิ่มเดือนอธิกมาสแท้ๆ
-ผลจากปีอธิกมาสที่เกิดขึ้น
หากดูจากระยะปีย่อหยาบๆใน19ปีพบอธิกมาส7ครั้ง
-7ครั้งนี้เป็นอย่างหยาบใช้ได้เพียงไม่เกิน6-8รอบจะใช้ไม่ได้อีก
-เคยมีการนำสูตร7อธิกมาส19ปีสูตรต้นรัตนโกสินทร์มาใช้เกินปีหมดอายุเกิดความขัดแย้งครั้งสำคัญในปี2487 ในที่สุดสูตร7อธิกมาสใน19ปีสูตรนั้นจึงถูกลดความสำคัญลงไป
-สูตร19ปี7อธิกมาส มีข้อดีคือใครก็คิดได้เร็ว แต่ก็ต้องระวังในการนำมาใช้ในปฏิทินไทยถ้าจะพัฒนาสูตรต้องระบุปีหมดอายุทุกครั้ง
-ทางที่ดีให้ย้อนไปที่ต้นตอของการเกิดเดือนอธิกมาส
-จากการย้อนไปที่ต้นตอพบว่าตามพงศาวดารและหลักจารึกในสมัยอยุธยาวางได้ถูกตามต้นตอทุกกรณี

โดย: ภูริ IP: 67.228.166.103 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2552 เวลา:20:30:06 น.
  
//tasboard.piesoft.net/message.php?MsgCode=7529
โดย: v IP: 115.67.243.153 วันที่: 14 มกราคม 2553 เวลา:1:53:32 น.
  
เคยไปที่เจดีย์ยุทธหัตถี ในพิพิธภัณฑ์ มีปฏิทิน สมัยพระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราช ที่ยืนยันว่าวันที่ ชนช้างเป็นวันที่ 18 มกราคม ไม่ใช่ วันที่ 25 มกราคม ใครมีอยู่ช่วยกรุณานำมาลงให้ด้วย ขอบคุณมาก
โดย: seikov IP: 61.90.15.129 วันที่: 18 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:39:56 น.
  
ดีมากเลย ได้รู้จักเดือนแปดสองหน
โดย: plern IP: 180.180.8.147 วันที่: 7 มิถุนายน 2553 เวลา:19:35:32 น.
  
ทีหลังเอามาเยอะกว่านี้นะ เรื่องอื่นด้วย
โดย: plern IP: 180.180.8.147 วันที่: 7 มิถุนายน 2553 เวลา:19:39:36 น.
  
ขอให้ ชาวนาทุกคนมีความสุข
โดย: ตนเพื่อ ชีวิต IP: 58.147.9.37 วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:17:02:50 น.
  
หาความเข้าใจมาตั้งหลาย Web. มาถึงบางอ่อ...ก้อ Blog. ของคุณเนี่ยแหล่ะครับ...อ่านง่ายๆพอเข้าใจในหลักคิด แค่นี้ก็ต้องบอกว่า "ก็พอที่จะเข้าใจ" คงยังไม่จำเป็นที่ต้องรู้ลึกไปมากกว่านี้....ขอเวลาไปทำมาหากินต่อดีกว่า ขอขอบคุณครับ
โดย: วีรศักดิ์ ศรีดารานุชิต IP: 122.154.9.253 วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:46:19 น.
  
อ่านเข้าใจ แต่อธิบายผิด
โดย: ธันยาวาท IP: 202.91.18.194 วันที่: 5 มีนาคม 2555 เวลา:23:20:48 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sasis.BlogGang.com

ศศิศ
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด