 |
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
 |
|
|
เพื่อความเข้าใจลึกลงไปจำเพาะเรื่อง
บันทึกที่ ๑: แสดงธรรม บัญญัติวินัย
ธรรม เป็นหลักความจริงที่มีอยู่ เป็นไปอยู่ตามธรรมดาของมัน พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาเปิดเผยแสดงไว้ตามปกติ จึงพูดว่า "ธรรมเทศนา" แปลว่า แสดงธรรม หรือข้อความที่แสดงธรรม (คำว่า ธรรมบัญญัติ พบใช้ในพระไตรปิฎกแห่งหนึ่ง ... แต่มีความหมายเท่ากับธรรมเทศนา หรือกว้างออกไปอีกหน่อย หมายถึงจัดวางหรือเรียบเรียงธรรมให้เป็นรูปเป็นร่างฟังง่ายขึ้น)
ส่วน วินัย เป็นแบบแผนกฎระเบียบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ คือกำหนดวางลงไว้ตามความมุ่งหมายเฉพาะ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ที่พระองค์ได้ทรงตั้งขึ้น (แต่ก็สัมพันธ์กับธรรม คือเพื่อให้สงฆ์นั้นได้รับประโยชน์จากธรรม หรือเข้าถึงธรรมได้อย่างดีที่สุด) ตามปกติจึงพูดว่า "วินัยบัญญัติ" แปลว่า บัญญัติวินัย หรือข้อบัญญัติในวินัย (คำว่า วินัยเทศนา มีใช้บ้าง เฉพาะในคัมภีร์รุ่นหลังมากๆ ... และใช้ในความหมายพิเศษ หมายถึงสำนวนวินัย หรือวิธีแสดงวินัยบัญญัติ)
แม้คำว่า "บัญญัติ" จะใช้กับธรรมด้วยในบางครั้ง ... แต่ก็มีความหมายเพียงว่า เอาความจริงที่มีอยู่แล้ว มาวางรูป เรียบเรียง จัดลำดับ จัดเข้าเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้มองได้ชัดเจน เห็นง่าย สะดวกแก่การทำความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ มิใช่วางข้อกำหนดขึ้นใหม่อย่างในวินัย
พึงสังเกตว่า สำหรับพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตร ... ว่า "...มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต" อรรถกถา ที.อ.2/253 ให้แปลว่า ธรรมทั้งที่แสดงและบัญญัติ วินัยก็ทั้งที่แสดงและบัญญัติ ในกรณีนี้ พึงทราบว่า คำว่า แสดงและบัญญัติ ที่ใช้กับธรรมและวินัย มีความหมายต่างกันตามแนวที่อธิบายมาแล้ว
Create Date : 01 มิถุนายน 2567 |
Last Update : 1 กรกฎาคม 2567 9:49:44 น. |
|
0 comments
|
Counter : 189 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|