 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
ศีลเป็นระบบการควบคุมชีวิตด้านนอก |
|
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คำสอน และหลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคม และสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของพระพุทธศาสนา ในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมได้มากที่สุด ก็คือ คำสอนและหลักปฏิบัติในขั้นศีล เพราะศีลเป็นระบบการควบคุมชีวิตด้านนอก เกี่ยวด้วยการแสดงออกทางกาย วาจา เป็นระเบียบว่าด้วยความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน การดำเนินกิจการต่างๆของหมู่ชน การจัดสภาพความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม ให้เรียบร้อยและเกื้อกูลแก่การดำรงอยู่ด้วยดีของหมู่ชนนั้น และแก่ความผาสุกแห่งสมาชิกทั้งปวงของหมู่ชน อันจะเอื้ออำนวยให้ทุกคนสามารถบำเพ็ญกิจกรณีย์ที่ดีงามยิ่งๆขึ้นไป เพื่อบรรลุความหมายสูงสุดของชีวิตตามความตกลงนับถือของพวกตน หรือเพื่อเข้าถึงประโยชน์ และความดีงามสูงสุดตามอุดมการณ์ของหมู่ชนนั้น ตลอดจนเกื้อกูลแก่การที่หมู่ชนนั้น จะเผยแพร่อุดมการณ์ กิจการ และประโยชน์สุขความดีงามของตนให้แผ่ขยายกว้างขวางออกไป*
ศีลพื้นฐานหรือขั้นต้นที่สุด ก็คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ว่าด้วยกาย หรือวาจา และการไม่ทำลายสติสัมปชัญญะที่เป็นตัวคุ้มศีลของตน ศีลขั้นต้นสุดนี้ นิยมเรียกว่า ศีล ๕
เรื่องศีลกับสังคมหรือคำสอนในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับสังคมนั้น เป็นเรื่องใหญ่ มีขอบเขตกว้าง ควรยกขึ้นพูดต่างหากอีกเรื่องหนึ่ง แต่เพราะในตอนที่เพิ่งผ่านมา มีความพาดพิงถึง จึงนำบางส่วนที่เกี่ยวข้องและควรทราบมาชี้้แจงแทรกไว้คราวหนึ่งก่อน
.................
* หนังสือและผลงานทางวิชาการของปราชญ์สมัยปัจจุบัน (ส่วนมากเป็นชาวตะวันตก) ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา กับ สังคมมักมองข้ามคำสอนขั้นศีล โดยเฉพาะศีลที่เป็นวินัยของภิกษุสงฆ์ จึงมักพลาด หรืออย่างน้อย ก็ขาดความสมบูรณ์ไปมาก
(หน้า ๙๑๔)
Create Date : 31 พฤษภาคม 2567 |
Last Update : 30 มิถุนายน 2567 19:37:29 น. |
|
0 comments
|
Counter : 134 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|