กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มีนาคม 2567
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
4 มีนาคม 2567
space
space
space

ทำไมความลังเลสงสัย ถึงถือเป็นกิเลสที่ไม่ดี

สงสัย ความสงสัย  450

> ทำไม ความลังเลสงสัย ถึงได้ถือเป็นกิเลสที่ไม่ดีครับ

   วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย   ตัวนี้ถือเป็นกิเลส ที่ไม่ดี ที่ควรกำจัดเหรอครับ

https://pantip.com/topic/42556717

 
235 ศัตรูของสมาธิ


     สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิ ก็ได้ สิ่งเหล่านี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า "นิวรณ์"

     นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิชาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง

     คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

        "ภิกษุทั้งหลาย  ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้  ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

        "...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง"

        "ธรรม ๕ ประการเหล่านี้  เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ  ส่งเสริมความคับแค้น  ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"  (สํ.ม.19/501/136)


     นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ พึงระวัง อย่านำมาสับสนกับสมถะ หรือสมาธิ  หากพบที่ใด  พึงตระหนักไว้ว่า นี้ไม่ใช่สมถะ  นี้ไม่ใช่สมาธิ นิวรณ์ ๕ * อย่างนั้น คือ

        ๑. กามฉันท์   ความอยากได้ อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หรือจ้องจะเอา หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

        ๒. พยาบาท   ความขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

        ๓. ถีนมิทธะ   ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถอดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย (ท่านหมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก) จิตที่ถูกอาการอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

        ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ   ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็นอุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่ายพร่า พล่านไป กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน งุ่นง่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

        ๕. วิจิกิจฉา   ความลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตกลงใจไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงไหม คิดแยกไปสองทาง วางใจไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ กวนไว้ ให้ค้าง ให้พร่า ให้ว้าวุ่น ลังเลอยู่ มีแต่จะเครียด ไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ




* นิวรณ์ ๕ ที่มีอภิชฌา เป็นข้อแรก มักบรรยายไว้ก่อนหน้าจะได้ฌาน ....ส่วนนิวรณ์ ๕ ที่มีกามฉันท์ เป็นข้อแรก มักกล่าวไว้เอกเทศ และระบุแต่หัวข้อ ไม่บรรยายลักษณะ...ดูอธิบายในนิวรณ์ ๖ (เติมอวิชชา)

- อภิชฌา = กามฉันท์

- อภิชฌา = โลภะ

- คำว่า กาย ในข้อ ๓ ท่านว่า หมายถึงนามกาย คือ กองเจตสิก
(สง.คณี อ. ๕๓๖)

 

235 เขาบอกให้กำหนดอารมณ์กรรมฐาน พอง-ยุบก็ดี  อานาปานะ (สติ) ลมหายใจเข้า-ออก เป็นต้น ก็ดี  แต่โยคีคือเราไปนั่งคิดสงสัยเรื่องที่ตนกำลังทำ ไม่แน่ใจ บลาๆๆๆ จิตก็ฟุ่งซ่าน ไม่เป็นสมาธิล่ะ 9 

235 มีตัวอย่างให้ดู  450


> ตอนนี้ผมอยู่ที่ญี่ปุ่นครับ ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ญี่ปุ่นนี่ ทราบว่าท่านน่าจะมาโปรดสัตว์

ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร แล้วผมก็กราบลาท่านมา

หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ (ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่รร.สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา ๔ (ที่ผมเปลี่ยนเป็นวิธีนี้เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือเรื่องสมถ ๔o วิธีแล้วรู้สึกว่าเราน่าจะเหมาะกับวิธีนี้ คือเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเอง)  แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น

จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือ ไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด   จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้ มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้  มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติ คือปิติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้ว คิดไปเรื่อยว่า  "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน

หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆ ตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น


- พอมองออกไหม 9 ถ้าไม่ลงมือทำล่ะก็คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้เรื่องนี้ เรื่องนี้ต้องพิสูจน์ด้วยการลงมือทำ

235 แต่ถ้าเราสงสัยสถานที่ถนนหนทาง ก็อีกอย่าง คือ ถามคนแถวๆนั้น  121
 



Create Date : 04 มีนาคม 2567
Last Update : 4 มีนาคม 2567 20:31:01 น. 0 comments
Counter : 105 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space