กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มีนาคม 2567
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
3 มีนาคม 2567
space
space
space

วิสุทธิ ๗ วิปัสสนาญาณ ๙



     วิสุทธิ   ความบริสุทธิ์, ความหมดจด, การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมาย คือ พระนิพพาน มี ๗ ขั้น (ในที่นี้ ได้ระบุธรรมที่มีที่ได้เป็นความหมายของแต่ละขั้น ตามที่แสดงไว้ในอภิธัมมัตถสงคหะ) คือ

        ๑. สีลวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งศีล   (ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น)

        ๒. จิตตวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งจิตต์   (ได้แก่ สมาธิ ๒ คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ)

        ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งทิฏฐิ   (ได้แก่ นามรูปปริคคหญาณ)

        ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย   (ได้แก่ ปัจจัยปริคคหญาณ)

        ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง   (ได้แก่ ต่อสัมมสนญาณ ขึ้นสู่อุทยัพพยญาณ เป็นตรุณวิปัสสนา เกิดวิปัสสนูปกิเลส แล้วรู้เท่าทันว่าอะไรใช่ทาง อะไรมิใช่ทาง)

        ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน   (ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ นับแต่อุทยัพพยญาณที่ผ่านพ้นวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เกิดเป็นพลววิปัสสนา เป็นต้นไป จนถึงอนุโลมญาณ)

        ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ    ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ   (ได้แก่ มรรคญาณ ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น แต่ละขั้น)


วิปัสสนาญาณ 9  ดังนี้

     1. อุทยัพพยานุปัสสนา  หรือเรียกสั้นๆว่า  อุทยัพพยญาณ   ญาณอันตามเห็นความเกิด-ดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้น  และความดับไปแห่งเบญจขันธ์  จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่งทราบว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้ หรือ ผู้รู้ที่เกิดขึ้น  แล้วทั้งรูปธรรม  นามธรรม  และตัวรู้นั้น  ก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้

     2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆว่า ภังคญาณ  ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิด-ดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด

     3. ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นว่า ภยญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

     4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ   เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ   ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

     5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ   เรียกสั้นว่า   นิพพิทาญาณ   ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

     6. มุญจิตุกัมยตาญาณ   ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

     7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ  หรือ ปฏิสังขาญาณ   ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

     8. สังขารุเปกขาญาณ   ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป  ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า  มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง  จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย  แต่นั้น  ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย  ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร

     9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ   ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

     อนึ่ง พึงทราบว่า วิปัสสนาญาณ 9 นั้น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนับรวม สัมมสนญาณ เข้าในชุดด้วย จึงเป็น วิปัสสนาญาณ 10  (สงฺคห.55)


 


Create Date : 03 มีนาคม 2567
Last Update : 3 มีนาคม 2567 15:16:42 น. 0 comments
Counter : 44 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space