กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มีนาคม 2567
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
3 มีนาคม 2567
space
space
space

สำรวจตัวก่อนปฏิบัติธรรม ๒
 
- ๒ -


     ต่อไปข้อที่ว่าด้วยปาฏิหาริย์ พระพุทธศาสนานี้ท่านสอนให้เชื่อในปาฏิหาริย์หรือเปล่า ข้อนี้ถ้าตอบไม่ดีอาจผิด ต้องแยกแยะก่อน

     ปาฏิหาริย์นั้นพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่ามี ๓ อย่าง คือ

        ๑. อิทธิปาฏิหาริย์   เป็นปาฏิหาริย์ในเรื่องฤทธิ์ คือการแสดงฤทธิ์หรือความเป็นผู้วิเศษ ดลบันดาลอะไรต่าง ๆ เหาะเหินเดินอากาศ หูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น

        ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์  ปาฏิหาริย์คือการทายใจได้ ทายใจโยมได้ว่า อ้อโยมกำลังคิดเรื่องนี้ โยมกำลังคิดว่าหลังจากฟังธรรมนี้แล้วจะไปโน่น หรือว่าฟังองค์แสดงธรรมแล้ว คิดต่อองค์แสดงธรรมว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อะไรทำนองนี้ คือทายใจได้อันนี้เรียกว่าอาเทศนาปาฏิหาริย์

        ๓. อนุศาสนีปาฏิหาริย์   ปาฏิหาริย์คือคำสอนที่เป็นอัศจรรย์ คำสอนที่แสดงความจริงให้ผู้ที่ฟังรู้เข้าใจ มองเห็นความจริงเป็นอัศจรรย์ แล้วก็สามารถนำประพฤติปฏิบัติตามได้ผลจริงเป็นอัศจรรย์ อันนี้คือให้โยมเกิดปัญญา รู้ความจริง

     ปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอย่างไหนบ้างหรือไม่ หรือว่ายกย่องทั้งหมดเลย

     ไม่ทั้งหมด   พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญปาฏิหาริย์ ๒ อย่างแรก คือ  อิทธิปาฏิหาริย์ การแสดงฤทธิ์ และอาเทศนา ปาฏิหาริย์การทายใจได้

     แต่สรรเสริญข้อที่ ๓ ได้แก่ อนุศาสนีปาฏิหาริย์ คือคำสอนที่ให้รู้ความจริง เกิดปัญญาได้เป็นอัศจรรย์ อันนี้สำคัญ

     ชาวพุทธต้องรู้จักปาฏิหาริย์ ๓ นี้ แล้วก็ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างไร พระองค์สอนไว้ว่าพระองค์ไม่ได้ยกย่องสรรเสริญปาฏิหาริย์ ๒ อย่างแรก ทรงสรรเสริญแต่ข้อที่ ๓ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ

     อ้าว ใครแสดงฤทธิ์ได้ก็เก่งมากนะซิ ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญล่ะ แล้วเราก็ได้ยินเรื่องราวนี่ว่าพระพุทธเจ้าก็มีฤทธิ์เหมือนกัน เอ! เป็นเพราะอะไร ก็ลองมาดูกัน

     เอาง่าย ๆ ๒ ข้อแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับฤทธิ์ เนื่องกับความสามารถพิเศษทางจิต เราก็แยกระหว่างข้อ ๑-๒ เป็นพวกหนึ่ง กับข้อ ๓ เป็นพวกหนึ่ง

     เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญข้อที่ ๓ ก็เป็นอันว่า ข้อที่ ๑-๒ นี่เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ยกย่อง ทีนี้ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ยกย่องปาฏิหาริย์ ๒ อย่างแรก

     เราจะมองเห็นความแตกต่างระหว่างปาฏิหาริย์ ๒ แบบนี้ ปาฏิหาริย์ประเภทฤทธิ์นี่เวลาแสดงไปแล้ว คนที่ดูที่ฟังเป็นอย่างไร คนที่ดูที่ฟัง พอดูและฟังเสร็จแล้วก็งงไปเลย งงงัน ก็มองว่าท่านผู้แสดงนี้เก่งใช่ไหม แต่ตัวโยมเองน่ะ ได้อะไรบ้าง? มีอะไรเปลี่ยนแปลง? ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็อยู่เท่าเดิม แต่อาจจะแย่ลง เพราะว่างงใช่ไหม

     เดิมยังไม่งง พอดูท่านผู้แสดงฤทธิ์เสร็จก็งงไปเลย งงนี้ต้องระวัง ขออภัยเดี๋ยวจะกลายเป็นโง่ไป ก็คือเป็นโมหะ กลายเป็นว่าพอดูท่านแสดงฤทธิ์เสร็จตัวเองกลับมีโมหะมากขึ้น ไปดีที่ไหน? ก็ไปดีที่คนแสดง คนแสดงก็เด่นยิ่งขึ้น ตกลงเราก็ต้องไปหวังพึ่งท่านผู้แสดงฤทธิ์อยู่เรื่อย ไม่เป็นอันทำอะไรแล้ว คอยรอหวังผลว่าท่านจะทำอะไรให้

     ทีนี้เรามาดูอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ข้อที่พระพุทธเจ้ายกย่อง

     คนฟังแล้วเป็นอย่างไรมีอะไรเกิดขึ้นบ้างมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไหม? เปลี่ยนแปลงแล้วได้อะไร พอแสดงอนุศาสนีปาฏิหาริย์เสร็จ อะไรเกิดขึ้นในใจผู้ฟัง? ปัญญาเกิดขึ้น พอปัญญาเกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร? ก็เป็นของผู้เอง ผู้ที่ฟัง เมื่อปัญญาเกิดแล้ว ปัญญาก็อยู่กับตัว ไปไหนก็พาปัญญาไปด้วย ใช่ไหม

     คราวนี้ไม่ต้องมามัวรอตามฟังผู้ที่แสดงปาฏิหาริย์ เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้คือผู้ฟัง ส่วนผู้ที่แสดงอยู่แล้วท่านก็แสดงของท่านไป ท่านไม่ได้เพิ่มอะไร ท่านรู้อยู่แล้ว ท่านก็มีความชำนาญมากขึ้นในสิ่งที่แสดง แต่ว่าผู้ฟังสิได้จริง ๆ แล้วก็เป็นอิสระ คือได้ฟังแล้วก็รู้ก็เข้าใจเป็นปัญญาของตัว ท่านผู้แสดงให้เห็นความจริงอะไร ผู้ฟังก็ได้เห็นความจริงนั้น ผู้ฟังก็เป็นอิสระแก่ตัวเอง เพราะผู้แสดงได้เห็นอะไรผู้ฟังก็ได้เห็นความจริงอันนั้น ผู้แสดงทำอะไรได้ ผู้ฟังรู้แล้วก็ทำอันนั้นได้เองด้วยแล้วก็จบ เพราะฉะนั้นผู้ฟังเป็นอิสระ ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในใจผู้ฟัง ผลได้เกิดขึ้นแก่ผู้ฟังคือปัญญาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าจึงสรรเสริญแต่อนุศาสนีปาฏิหาริย์

     ในเมื่ออิทธิปาฏิหาริย์ คือพวกฤทธิ์นี่โยมไม่รู้ด้วย ดูการแสดงแล้วตัวเองก็ได้แต่งง มันก็จะเป็นทางของความหลอกลวง เพราะตัวเองไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง ไม่มีทางวินิจฉัยได้ จึงมีผลเสียหลายประการ พระพุทธเจ้าจึงไม่สรรเสริญ ทั้งที่พระพุทธเจ้าก็มีฤทธิ์

     พระพุทธเจ้ามีฤทธิ์ก็เพื่อจะใช้ในการทำงานประกาศพระศาสนา ยุคพุทธกาลนั้นคนกำลังยกย่องสรรเสริญนับถือการมีฤทธิ์เป็นอย่างมาก ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มีฤทธิ์ การประกาศศาสนาก็มีอุปสรรค พระพุทธเจ้าต้องเจอกับพวกมีฤทธิ์แล้วเขาก็จะต้องอวดเก่ง หรืออย่างน้อยเขาก็ไม่ยอมฟังพระองค์จนกว่าจะเห็นว่าพระพุทธเจ้ามีฤทธิ์อย่างเขาหรือเก่งกว่าเขา พระพุทธเจ้าจึงต้องมีฤทธิ์ในฐานะที่เป็นพระศาสดาทำให้ตั้งพระศาสนาได้สำเร็จ เลยต้องเอาฤทธิ์ไปปราบฤทธิ์ก่อน

     เราจะเห็นได้ว่า ตามเรื่องในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าใช้ฤทธิ์ไปปราบฤทธิ์ทั้งนั้น พอปราบฤทธิ์จบแล้วก็ให้อนุศาสนีปาฏิหาริย์

     สำหรับพระพุทธเจ้าพระองค์มีฤทธิ์ทั้ง ๓ อย่าง มีทั้งอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์ แต่จบด้วยอนุศาสนีปาฏิหาริย์

     สองอย่างแรกเพื่อใช้กำราบเขา เพราะว่าพวกนั้นถือตัวว่ามีฤทธิ์ ถ้าใครไม่มีฤทธิ์อย่างเขาแล้วเขาไม่ฟังเลย ยกตัวอย่างเช่นชฎิล ๓ พี่น้อง พระพุทธเจ้าจะเข้าไปประกาศพระศาสนาในแคว้นมคธ ในเมืองราชคฤห์ คนในเมืองราชคฤห์นั้นเชื่อถือนับถือชฎิล ๓ พี่น้องมาก ถ้าพระพุทธเจ้าเข้าเมืองราชคฤห์โดยไม่ได้ไปสั่งสอนชฎิลให้ยอมเสียก่อน พวกชาวเมืองราชคฤห์ก็จะไม่ยอมฟังพระองค์ พระพุทธเจ้าก็เลยคิดว่าจะต้องไปสอนชฎิลก่อนแทนที่จะเข้าเมืองราชคฤห์ พระองค์จึงตรงไปยังสำนักของชฎิล ๓ พี่น้อง โดยเข้าไปยังสำนักชฎิลผู้เป็นพี่ คืออุรุเวลกัสสปะก่อน

     พอเห็นพระพุทธเจ้าเข้าไป ชฎิลก็ทดสอบความสามารถด้านฤทธิ์เพราะเขาเน้นเรื่องฤทธิ์ เขาถือฤทธิ์เป็นสำคัญ เขาก็มองว่าพระพุทธเจ้านั้นจะไม่มีฤทธิ์อย่างเขา แล้วก็ทดสอบว่าจะผ่านไหม พระพุทธเจ้าก็ผ่านหมด จนกระทั่งแสดงให้เห็นว่าพระองค์เก่งกว่าเขา พอเห็นว่าเก่งกว่าเขา เขาก็ยอมรับ พระองค์จึงสอนธรรมะ คือใช้อนุศาสนีปาฏิหาริย์ท้าย พวกชฎิลได้เห็นสัจธรรมความจริง เกิดปัญญากับตัวเอง ก็เลิกเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์กันเลย เมื่อเลิกก็จบ

     เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเพียงแต่เอาฤทธิ์มาปราบฤทธิ์เท่านั้น ปราบเสร็จพระองค์ก็หยุด ต่อจากนั้นพระองค์ก็ใช้แต่อนุศาสนีปาฏิหาริย์ให้เขาเกิดปัญญา ให้เขาทำเอง เพราะว่าถ้าขืนไปแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อยู่ ตัวผู้แสดงเท่านั้นได้ ตัวโยมก็ได้แต่คอยตามเรื่อยไป นอกจากนั้นโยมก็จะไปหวังผลในเรื่องทางโลก เพื่อสนองความต้องการเรื่องโชคลาภเรื่องยศเป็นต้น ที่เป็นเรื่องของโลภะ (ความโลภ) และโทสะ ไม่ใช่เป็นการก้าวในทางธรรมที่แท้จริง

     การที่จะก้าวไปตามทางแห่งธรรมะที่แท้จริงจึงเป็นเรื่องของอนุศาสนีปาฏิหาริย์

     นี้เป็นคำตอบในเรื่องปาฏิหาริย์ ๓ ตกลงว่า พุทธศาสนานั้นยกย่องอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ที่ทำให้ผู้ฟังได้สิ่งที่เป็นของตัวเองคือปัญญา รู้ความจริง แล้วก็เป็นอิสระไป

     ต่อไปก็เลยตอบคำถามที่ต่อเนื่องกันกับเรื่องปาฏิหาริย์ ๓ คือ

 


Create Date : 03 มีนาคม 2567
Last Update : 3 มีนาคม 2567 8:39:04 น. 0 comments
Counter : 40 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space