กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
พฤศจิกายน 2564
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
9 พฤศจิกายน 2564
space
space
space

หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม



เนื้อตัวของการปฏิบัติ



235 หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม


     ต่อไปนี้จะเข้าถึงเนื้อตัวของการปฏิบัติธรรมแล้ว เนื้อตัวของการปฏิบัติที่เป็นหลักธรรมหัวข้อต่างๆ ได้บอกไปแล้วว่า ได้แก่ สิกขา ซึ่งแยกออกไปเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา หรือแยกแบบง่ายๆ ที่เน้นด้านภายนอกสำหรับคฤหัสถ์เป็น ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเรียกว่า บุญสิกขา

    หลักการศึกษา ๓ อย่าง จะเป็นไตรสิกขา หรือบุญสิกขา ก็ตาม  ควรจะทบทวนความหมายกันไว้เล็กน้อยพอได้สาระ

        ๑. ศีล   ได้แก่   การมีสภาพชีวิต และการอยู่ร่วมในสังคมที่จัดระเบียบไว้เป็นอย่างดี ไม่สับสนวุ่นวายด้วยความหวาดระแวงเวรภัย และความไร้กำหนดกฎเกณฑ์ปราศจากกติกา  เริ่มตั้งแต่การไม่เบียดเบียน ไม่ละเมิดทำร้ายต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินของกันและกัน เป็นต้น ตามหลักศีล ๕ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคม  ตลอดจนข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกหัดขัดเกลาพฤติกรรมของบุคคล เพื่อสร้างเสริมสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้สอดคล้อง และเอื้อโอกาสแก่การที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงภาวะสูงสุดที่เป็นจุดหมายของบุคคลหรือสังคมนั้น


    ศีลมีหลายระดับ หรือจัดไว้หลายประเภท ให้เหมาะกับสภาพชีวิต และสังคมหรือชุมชนนั้นๆ ในการที่จะปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดเหมาะของตน เช่น

    ศีล ๕ เริ่มด้วยการไม่เบียดเบียนชีวิต หรือการไม่ละเมิดต่อชีวิตและร่างกาย เป็นมาตรฐานอย่างต่ำสำหรับการจัดระเบียบชีวิต และสังคมของมนุษย์ ให้อยู่ในสภาพที่เอื้อโอกาสขั้นพื้นฐานในการที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม หรือทำการพัฒนาไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด ทางจิตใจ ก็ตาม ทางวัตถุ ก็ตาม

    ศีล ๘ เพิ่มการรับประทานอาหารจำกัดเวลา และการหัดลดละการหาความสุขจากสิ่งบันเทิง หรือเครื่องปรนเปรอความสุขทางประสาทสัมผัส ตลอดจนงดการใช้เครื่องนั่งนอนฟูกฟูหรูหรา เป็นการฝึกฝนตนให้รู้จักที่จะมีชีวิตที่เป็นอิสระได้มากขึ้น สามารถอยู่ดีมีสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือขึ้นต่อวัตถุภายนอกมากเกินไป

    ศีล ๘ นั้น เป็นเครื่องเสริมและเอื้อโอกาสยิ่งขึ้นไป ทั้งด้านเวลา และแรงงาน ในการที่จะพัฒนาชีวิตทางด้านจิตใจ และปัญญา พูดอีกสำนวนหนึ่งว่า เป็นเครื่องเสริมและเอื้อโอกาสในการบำเพ็ญจิตตภาวนา และปัญญาภาวนา

    การมีสภาพชีวิต และการอยู่ร่วมกันที่จัดระเบียบไว้ด้วยดี เรียกว่า ศีล

    การจัดระเบียบชีวิตและการอยู่ร่วมกันให้เรียบร้อย รวมทั้งตัวระเบียบนั้นเอง เรียกว่า วินัย

    ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการจัดสภาพชีวิต และการอยู่ร่วมในสังคมให้มีระเบียบ เรียกว่า สิกขาบท

    ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกฝนขัดเกลาพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมสภาพชีวิตให้สอดคล้องเกื้อกูลต่อการปฏิบัติในแนวทางที่จะเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการยิ่งๆ ขึ้นไป เรียกว่า วัตร

    ทั้งหมดนี้ เมื่อเรียกคลุมๆ รวมๆ ก็พูดว่า ศีล


       ๒. สมาธิ หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตใจให้สงบแน่วแน่มั่นคงเพื่อให้เป็นจิตใจที่สามารถทำงาน หรือใช้การได้ดี  โดยเฉพาะในการคิดพิจารณาให้เกิดปัญญา หรือใช้ปัญญาอย่างได้ผล และเป็นจิตใจที่เอื้อเหมาะต่อการพัฒนาของคุณสมบัติต่างๆ เช่น คุณธรรมทั้งหลาย ที่จะเจริญเพิ่มพูนพ่วงมาด้วยในจิตนั้น  รวมทั้งการที่จิตใจที่สงบมั่นคงแน่วแน่นั้น อยู่ในภาวะที่ปลอดพ้นจากการรบกวนของความเศร้าหมองขุ่นมัวความเร่าร้อนสับสนวุ่นวายต่างๆ แล้วจึงเป็นจิตที่ปลอดโปร่งเบาสบายเบิกบานสดชื่นผ่องใสเป็นสุข   พูดสั้นๆว่า  เป็นการฝึกฝนพัฒนาจิตใจ  ทำให้บุคคลมีสมรรถภาพจิต คุณภาพจิต และสุขภาพจิต


       ๓. ปัญญา ได้แก่ การมีความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง และการฝึกฝนอบรมหรือพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเช่นนั้น  เริ่มแต่การรู้เข้าใจสิ่งที่เล่าเรียนสดับตรับฟัง หรือข่าวสารข้อมูลต่างๆ และประสบการณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ปรากฏหรือสั่งสมอยู่ในใจ  การรับรู้ประสบการณ์นั้นๆอย่างบริสุทธิ์ ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยความชอบชัง ยินดียินร้าย ไม่เอนเอียงด้วยอคติต่างๆ การพิจารณาวินิจฉัย และคิดการต่างๆได้ถูกต้องชัดเจน โดยไม่ถูกกิเลส เช่น ความเห็นแก่ได้ และความเกลียดโกรธเคียดแค้นชิงชังเป็นตัวครอบงำชักจูง การมองเห็นสิ่งทั้งหลายล่วงทะลุถึงเหตุปัจจัยต่างๆ สามารถเชื่อมโยงความรู้ในสิ่งต่างๆ มาใช้แก้ไขปัญหาและทำการสร้างสรรค์  จัดดำเนินการต่างๆ จนถึงรู้เท่าทันความเป็นจริงของโลก และชีวิต หายติดข้องหมดความถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย ซึ่งส่งผลย้อนกลับไปยังจิตใจ ทำให้เกิดความเป็นอิสระหลุดพ้นเป็นอยู่ด้วยความปลอดโปร่งโล่งเบา เบิกบานผ่องใสอย่างแท้จริง

    ส่วน ทาน ศีล ภาวนา ที่เรียกว่า บุญสิกขา ก็มีสาระสำคัญอย่างเดียวกับไตรสิกขานี้เอง ดังได้อธิบายแล้วข้างต้น

    ทาน เป็นเครื่องเสริมการอยู่ร่วมในสังคมให้เป็นไปด้วยดี มีระเบียบมั่นคงยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นก็เป็นเครื่องฝึกหัดขัดเกลาทั้งพฤติกรรมภายนอกทางกาย วาจา และฝึกฝนอบรมจิตใจให้เจริญยิ่งขึ้นไปในคุณธรรม และความเบิกบานผ่องใส

    ศีล ก็มีสาระอย่างศีลในไตรสิกขานี้

    ส่วน ภาวนา ก็แยกเป็นภาวนาในด้านสมาธิ และในด้านปัญญา ตรงกับที่ได้บรรยายมาแล้ว


    การปฏิบัติธรรมในความหมายที่เราพูดกันมาก ตามที่นิยมกันในปัจจุบันนี้ เป็นการจำกัดแคบในระดับภาวนา คือ เป็นการปฏิบัติในระดับภาวนา และเน้นที่รูปแบบ เช่น ไปนั่งสมาธิ เข้าไปในวัดที่วิเวก เข้าไปในป่า ก็เลยจะขอพูดเจาะจงเฉพาะระดับนี้เสียทีหนึ่งก่อน ว่าในแง่ที่เรานิยมปฏิบัติธรรมคือไปบำเพ็ญสมาธิ เป็นต้น นี้ เราจะต้องรู้จักตัวภาวนาเสียก่อนว่า มันเป็นอย่างไร

    ภาวนา นั้น จะต้องแยกจากภาวนาในภาษาไทยก่อน คือ ไม่ใช่เป็นเพียงว่ามามุบมิบๆแต่ปาก แล้วบอกว่าเป็นภาวนา หรือเอาถ้อยคำในภาษาพระ  เอามนต์เอาคาถามาท่องมาบ่นแล้วว่าเป็นภาวนา ไม่ใช่อย่างนั้น

   ภาวนา   แปลว่า   ทำให้เกิดให้มีขึ้น   ทำให้เป็นขึ้น  สิ่งที่ยังไม่เป็นก็ทำให้มันเป็น สิ่งที่ยังไม่มีก็ทำให้มันมีขึ้น เรียกว่า ภาวนา เพราะฉะนั้น จึงเป็นการปฏิบัติ ฝึกหัด หรือลงมือทำ ภาวนา จึงแปลอีกความหมายหนึ่งว่า การฝึกอบรม  ฝึกนั้น เมื่อยังไม่เป็น ก็ทำให้มันเป็น อบรมนั้น เมื่อยังไม่มีก็ทำให้มันมีขึ้น ยิ่งกว่านั้น เมื่อทำให้เกิด ให้มี ให้เป็นขึ้นมาแล้ว ก็ต้องทำให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนพรั่งพร้อมขึ้นไปด้วยจนเต็มที่


    ภาวนา   จึงมีความหมายตรงกับคำว่า พัฒนาด้วย  และจึงแปลง่ายๆว่า  เจริญ

    ในภาษาไทยแต่โบราณมาก็นิยมแปล ภาวนา ว่าเจริญ เช่น เจริญสมาธิ เรียกว่า สมาธิภาวนา เจริญเมตตา เรียกว่า เมตตาภาวนา  เจริญวิปัสสนา  เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา

    ตกลงว่า ภาวนา   แปลว่า   การฝึกอบรม   หรือการเจริญ หรือการทำให้เป็นให้มีขึ้น และพัฒนาให้งอกงามบริบูรณ์

    ภาวนา ในระดับที่เราต้องการในที่นี้แยกเป็น ๒ อย่าง คือ จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจ อย่างหนึ่ง และปัญญาภาวนา การฝึกอบรมปัญญา อีกอย่างหนึ่ง


    ถ้าใช้ตามนิยมของภาษาสมัยใหม่ เจริญ แปลว่า พัฒนา เพราะฉะนั้น จิตตภาวนา ก็แปลว่า การพัฒนาจิต หรือพัฒนาจิตใจ  ส่วนปัญญาภาวนา ก็แปลว่า การพัฒนาปัญญา

    จิตตภาวนา นั้น เรียกง่ายๆว่า สมถะ บางทีก็เรียกว่า สมถภาวนา  สมถะนี้ตัวแก่นของมันแท้ๆคือสมาธิ  เพราะสมถะนั้นแปลว่า ความสงบ ตัวแก่นของความสงบก็คือสมาธิ ความมีใจแน่วแน่ สมถะนั้นมุ่งที่ตัวสมาธิ จะว่าสมาธิเป็นสาระของสมถะก็ได้  ฉะนั้นก็เลยเรียกอีกอย่างนี้ว่า สมาธิภาวนา

    คำว่า   สมาธิภาวนา ก็ดี  สมถภาวนา ก็ดี  สมาธิภาวนา ก็ดี  จึงได้แทนกันได้ทั้งหมด

    ต่อไปอย่างที่สอง ปัญญาภาวนา นั้น  เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วิปัสสนาภาวนา  การเจริญวิปัสสนา มุ่งให้เกิดปัญญา คือ ปัญญาที่เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลาย  ปัญญาในขั้นที่รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง  เรียกว่า วิปัสสนา  แปลว่า รู้แจ้ง ไม่ใช่รู้แค่ทำมาหาเลี้ยงชีพได้เท่านั้น  แต่รู้สภาวะ  รู้สภาพความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย  จึงเรียกว่า  วิปัสสนา ซึ่งก็เป็นปัญญาระดับหนึ่งนั่นแหละ

    เพราะฉะนั้น  วิปัสสนาภาวนา  ถ้าจะเรียกให้กว้างก็เป็นปัญญาภาวนา

    ตกลงก็แยกภาวนาเป็น ๒ อย่าง

    อย่างที่หนึ่ง  เรียกว่า จิตตภาวนาบ้าง  สมถภาวนาบ้าง  สมาธิภาวนาบ้าง

    อย่างที่ ๒ เรียกว่า ปัญญาภาวนา หรือ เรียกให้แคบจำกัดลงไปว่า วิปัสสนาภาวนา

    เอาละเรื่องภาวนาก็ทำความเข้าใจกันง่ายๆ อย่างนี้

 
 172 171 172

 235 หัวข้อนี้  จะเห็นตัวศัพท์ความหมายที่พูดกันทั่วๆไป โดยเฉพาะ สมถะ  สมาธิ  ปัญญา ภาวนา วิปัสสนา  โล่งแจ้งว่าอะไรอยู่ตรงไหน  ทั้งความหมายของศีลกว้างสุดเขตของมัน

 


Create Date : 09 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 2 มีนาคม 2567 20:18:15 น. 0 comments
Counter : 382 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space