กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
พฤศจิกายน 2564
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
6 พฤศจิกายน 2564
space
space
space

ปริยัติจะเอาแค่ไหน อย่างไร

ความต่อเนื่องกับข้อข้างล่าง


235 ปริยัติ จะเอาแค่ไหน และอย่างไร


   เพราะฉะนั้น คนที่ปฏิบัติโดยไม่มีปริยัตินี่หาไม่ได้  นอกจากคนที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับพระพุทธศาสนา คือ จะตั้งศาสนาใหม่ของตนเอง  ทุกคนมีปริยัติ แต่อาจจะเป็นปริยัติในรูปที่เป็นวัตถุดิบ หรือข้อมูลดินเกินไป หรือเรียนปริยัติแบบอาจารย์ช่วยคัดเลือกมาให้ เพราะปริยัติที่ให้ผลดีนั้น ก็อยู่ที่เหมาะกับตัวเรา

  พระพุทธเจ้า ทรงให้ปริยัติไว้ แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้มาสอนเราโดยตรง เราไม่ได้พบพระพุทธเจ้าโดยตรง เรามาพบอาจารย์ ถ้าอาจารย์เป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติแล้ว ก็มาช่วยคัดเลือกปริยัติให้เราอีกขั้นหนึ่ง ก็จะทำให้ชัดเจนและทุ่นเวลา

 ที่สำคัญที่ควรพิจารณาก็คือ ปริยัตินั้นเป็นปริยัติของพระพุทธเจ้า หรือเป็นปริยัติของตัวอาจารย์เอง สิ่งที่เราต้องการแท้ๆ ก็คือ ให้เป็นปริยัติของพระพุทธเจ้า แต่พระอาจารย์ช่วยเลือกคัดให้ ในฐานะที่ท่านมีประสบการณ์ และมีความชำนาญ ยิ่งเป็นปริยัติของพระพุทธเจ้า ที่พระอาจารย์ท่านได้เอาไปปฏิบัติเห็นผลมาเองแล้วก็ยิ่งดี เพราะฉะนั้น อาจารย์จึงมีประโยชน์มาก ในทางพระพุทธศาสนาท่านจึงเน้นว่า คนที่จะเริ่มปฏิบัติ ควรหาอาจารย์ ถึงกับเรียกว่าเป็น กัลยาณมิตร ก็เพราะเหตุนี้


  พระอาจารย์จะช่วยเลือกเฟ้นปริยัติให้เราให้เหมาะ ตามความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติ สำหรับจุดหรือขั้นตอนนั้นๆ เช่นว่าตอนนี้จะตั้งต้น จะใช้ปริยัติอะไร คือ ควรบอกให้รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร หรือมีอะไรที่ควรรู้บ้าง ซึ่งจำเป็นสำหรับบุคคลนี้ เพราะปริยัติที่เหมาะสำหรับคนนี้คนโน้น บางทีก็ไม่เหมือนกัน เพราะในการปฏิบัตินั้นมีความแตกต่างระหว่างบุคคล


  คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าปริยัตินั้น เกิดจากการที่พระองค์ได้ทรงสอนคนนั้นบ้าง คนนี้บ้าง มากมาย ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงสอนให้เหมาะแก่บุคคล ให้เหมาะที่จะได้ผลแก่บุคคลนั้น ที่นี้ เราไปเรียนปริยัติทั้งดุ้น รวมเอาที่ทรงสอนคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง มาปนเข้าด้วยกันทั้งหมด เป็นวัตถุดิบทั้งนั้น หลายอย่างไม่เหมาะกับตัวเราเลย ก็เลยไม่ค่อยได้ผล นอกจากนั้นจะเอามาใช้ก็ใช้ไม่เป็น ปรับไม่ถูก


  ตอนนี้แหละ ที่อาจารย์มีประโยชน์มาก คือมาทำหน้าที่เลือกเฟ้นให้และปรับให้เหมาะกับตัวบุคคล เพราะฉะนั้น การเลือกเฟ้นปริยัตินั้น ให้เหมาะสมกับขั้นตอนอย่างหนึ่ง และให้เหมาะสมกับตัวบุคคลอย่างหนึ่ง แล้วก็ให้เฉพาะเท่าที่ใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่ของอาจารย์ ผู้เป็นกัลยาณมิตร นี้คือความสัมพันธ์ระหว่างปริยัติ กับ ปฏิบัติ


 เป็นอันว่า เราจะใช้ปริยัติโดยการเลือกเฟ้นของท่านผู้ชำนาญ แนะนำให้เรา หรือเราจะเรียนปริยัติโดยตรงทั้งดุ้นก็แล้วแต่ อันนี้ก็สุดแต่ว่าเราจะมีความประสงค์อย่างไร

  ถ้าเราไม่ไว้ใจอาจารย์ เราก็อาจจะนึกว่า สติปัญญาของเราก็ดีพอสมควร เราจะเลือกเฟ้นปริยัติด้วยตนเอง เราก็อาจจะไปศึกษาค้นคว้าตำรับตำราคัมภีร์ด้วยตนเอง แล้วก็อาจจะเอาประสบการณ์ของอาจารย์ทั้งหลาย มาประกอบการพิจารณามาเสริมความรู้ในปริยัติของเรา ในการที่จะนำมาใช้ปฏิบัติต่อไป นี้ก็เป็นเรื่องของเรา


  แต่บางคนนั้นเขาเรียนปริยัติโดยมีความมุ่งหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น แม้แต่พระอรหันต์ ซึ่งปฏิบัติเสร็จแล้ว บรรลุผลคือเข้าถึงปฏิเวธแล้ว หลายท่านก็ยังกลับมาเรียนปริยัติอีก เรียนเพื่ออะไร เรียนเพื่อว่าจะได้สามารถในการสั่งสอนผู้อื่น เพราะว่าประสบการณ์เฉพาะตัวนี้ อาจจะไม่เหมาะกับคนอื่นก็ได้

  พระอรหันต์นั้น ท่านก็แบบเดียวกับเรา บางทีท่านมาเจออาจารย์เลย อาจารย์นั้น เลือกเฟ้นปริยัติที่เหมาะกับท่านเท่าที่จำเป็นเฉพาะตัวท่าน เฉพาะขั้นตอนนั้นๆ ท่านก็เรียนรู้มาเฉพาะ ความรู้ที่จำเป็นในวงแคบ แล้วก็ปฏิบัติมาจนสำเร็จ แต่ความรู้ที่จะไปสอนผู้อื่นนั้นควรจะกว้างขวางพอที่จะเลือกเฟ้นให้เหมาะ กับคนทั้งหลายที่ต่างๆ กันมากมาย มีข้อปลีกย่อยแง่มุมที่จะประยุกต์ยักเยื้องได้ ท่านก็เรียนปริยัติเพิ่มเติมอีก จึงมีปริยัติที่ท่านเรียกว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ ปริยัติของผู้เป็นเหมือนขุนคลัง เพราะเป็นดุจมีคลังที่เก็บของ ซึ่งเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้คนอื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะตัวคนเดียว นี้คือความมุ่งหมายที่เกี่ยวข้องกับปริยัติ เป็นอันว่า ตอนนี้เรารู้ความสัมพันธ์ระหว่างปริยัติและปฏิบัติ

 เมื่อปฏิบัติแล้ว ถ้าปฏิบัติถูกต้อง ก็เกิดผลเป็นปฏิเวธ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก็ผิดพลาดเกิดความล้มเหลว ฉะนั้น ปฏิบัติที่จะถูกต้อง ก็อาศัยปริยัติที่แหละเป็นฐาน เป็นอันว่าหลัก ๓ อย่างนี้ สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

  แต่หลายคนอาจจะเรียนปริยัติแล้วไม่ได้นำมาใช้ลงมือทำ ก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะว่าปฏิบัติเป็นตัวที่ต่อระหว่างปริยัติ กับ ปฏิเวธ ในเมื่อปริยัติไม่มาสู่การปฏิบัติ ก็ไม่มีตัวต่อที่จะนำไปสู่ปฏิเวธ ปฏิเวธก็ไม่เกิดขึ้น ก็ไม่ครบวงจร

  นี่ก็เป็นข้อหนึ่งที่ขอยกมาพูด เพื่อให้เข้าใจถึงเรื่องปริยัติ และปฏิเวธว่า ปริยัติโดยไม่ปฏิบัติ และปฏิบัติโดยไม่ปริยัตินั้นเป็นอย่างไร

 


Create Date : 06 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 2 มีนาคม 2567 15:28:09 น. 0 comments
Counter : 211 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space