The Counselor’s Story ตอนที่ 1 ทั่วไป๊ทั่วไป
"จะไปเรียนเมืองนอกง่ะ ไปไงดี" "ไม่รู้อะไรซักอย่างเลย จะหาข้อมูลจากไหน" "เวปเมืองนอกก็ภาษาอังกฤษหมดเลย อ่านไม่รู้เรื่อง" “ยี่นวีซ่าต้องใช้อะไรบ้าง” “เกรดเท่านี้ไปที่นี่ได้ป่าว” ฯลฯ

คำถามชินหูพวกนี้มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ผู้ปกครองพอจะมีอันจะรับประทานและต้องการส่งคุณลูกคุณหลานไปเรียนเมืองนอก อาจจะเป็นเรียนภาษา เรียนมัธยม ป.ตรี ป.โท หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งการที่จะไปเรียนได้ บางคนก็ติดต่อทำเรื่องผ่าน agent บางคนก็ติดต่อเอง ประมาณว่าชั้นทำเองได้ ไม่ต้องพึ่ง agent

ร่ายมายืดยาวยังไม่ได้แนะนำตัวเองเลย เพื่อน ๆ พ่อ แม่ พี่ น้อง ในห้องไกลบ้านคงจะเคยเห็นการตอบกระทู้ของผมมากันบ้าง ไม่มากก็น้อย ก็ขอแนะนำตัวคร่าว ๆ ครับว่าผมก็เป็น Counselor คนนึงเหมือนกัน หลายคนอาจจะสงสัยว่าไอ้ counselor เนี่ยมันคืออะไร

Counselor มันก็คือบุคคลที่คอยให้คำปรึกษาชนิดนึงอ่ะแหละครับ ในปริบทนี้ก็คือเจ้าหน้าที่แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะสิงสถิตอยู่ตามบริษัทที่รับให้คำแนะนำและให้บริการในการเรียนต่อต่างประเทศครับ บางรายก็อาจจะประจำอยู่บ้านตัวเอง นัยว่าเปิดเอง ทำเอง หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมจะไม่ลงรายละเอียดในส่วนนั้น (เพราะความรู้จำกัด)

กลับมาที่เรื่องของผมดีกว่า การเขียนเรื่องครั้งนี้ก็คือผมต้องการจะเปิดเผยความจริงบางอย่าง ของกลุ่มคนที่ทำงานเป็น counselor นี่แหละครับ ว่าทุกวันนี้พวกเค้าต้องเจอกับอะไรบ้าง ตัวผมเองถึงจะเริ่มอาชีพนี้มาได้ไม่นาน แค่ปีเดียว ประสบการณ์ยังไม่แก่กล้า แต่เชื่อผมเถอะ ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ผมได้เจอนักเรียนรวมถึงผู้ปกครองของนักเรียนหลายแบบทีเดียว มาดีมั่ง มาไม่ค่อยดีมั้ง มาแปลก ๆ มั่ง มาร้ายเลยก็มี (ขอให้เชื่อครับว่าเรื่องจริง มะได้เว่อ)

พูดกันตรง ๆ counselor ก็เหมือนอาชีพบริการทั่วไปที่ต้องคอยตอบสนองความต้องการที่เป็นไปไม่ค่อยจะได้ เหมือนกับแขกของโรงแรมต้องการให้พนักงานโรงแรมอุ้มขึ้นเตียง เป็นต้น

ความจริงที่เจ็บปวดข้อนึงของ counselor ก็คือเราไม่เก็บค่าบริการครับ แล้วรายได้มาจากไหน ก็มาจากสถาบันที่เราส่งนักเรียนไปนั่นแหละครับ เค้า support เรา เค้าจ้างเราให้ช่วย screen นักศึกษาขั้นแรกให้เค้า แล้วถ้าเราจะมีบริการพิเศษอะไรอีกนั้นก็แล้วแต่นโยบายของบริษัทครับ ทำไมความจริงข้อนี้ถึงเจ็บปวด ก็เพราะว่าผู้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ไงครับว่าเราไม่เก็บค่าบริการ พอได้ยินว่า agent ปุ๊บ ก็เบะปาก เบือนหน้าหนี มองด้วยหางตา ประมาณว่าไม่ได้แอ้มเงินชั้นหรอก เหตุการณ์แบบนี้ผมเจอมาแล้วครับ ในโอกาสที่ได้ไปออกบู๊ทตามโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เล่นเอาหมดกำลังใจเลยบางที ขอยืนยันนอนยันตรงนี้อีกครั้งครับ ว่าการติดต่อผ่าน agent ไม่ได้เพิ่มค่าใช้จ่ายให้นักเรียนเลย มีแต่จะจ่ายเท่าเดิม หรือถูกลง (ถึงจะถูกลงไม่มากก็ตาม) มาถึงบรรทัดนี้ก็คิดว่าคงชัดเจนพอแล้วนะครับ

แล้วทำไมบาง agent เก็บค่าบริการ การทำงานของ agent จะมีค่าใช้จ่ายครับ เวลาส่งใบสมัคร ส่งแบงค์ดราฟไปที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย จะต้องใช้บริการ courier เพื่อความรวดเร็วและปลอดภัย ซึ่งพวกนี้มีค่าใช้จ่ายทั้งนั้นครับ ต้องมีการกันสำรอง เอาเงินบริษัทมาออกก่อน ถ้าไม่มีล่ะทำไง ก็เงินค่าบริการเนี่ยแหละครับ ดังนั้นแล้วถ้าบริษัทไหนพอจะมีทุนสำรองไว้มากพอในการทำงาน agent นั้นก็จะไม่เก็บค่าบริการครับ

สรุปงานของ agent ก็คือ ทำสมัครเรียนให้ ติดตามใบตอบรับให้ แนะนำการจ่ายค่าเล่าเรียนงวดแรกหรือทั้งก้อน ยื่นวีซ่าให้ และถ้าต้องการก็อาจจะจองตั๋วเครื่องบินให้ด้วย ยินดีบินไปส่งถึงที่ (ถ้านักเรียนออกค่าใช้จ่ายให้) น่าจะพอเห็นภาพคร่าว ๆ ของการเป็น counselor แล้วนะครับ ว่ามันวุ่นวายขนาดไหน จริง ๆ แล้วมันไม่วุ่นวายอะไรมากหรอกครับ แต่รายละเอียดมันเยอะ ต้องสู้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และสถาบันด้วยในบางครั้ง ในตอนต่อไปนี่แหละครับ ผมจะพูดถึงการต่อสู้ของ counselor ครับว่ามันดุเดือดขนาดไหน

วันนี้ขอแค่นี้ก่อนครับ



Create Date : 22 กรกฎาคม 2551
Last Update : 31 พฤษภาคม 2554 8:10:39 น.
Counter : 648 Pageviews.

1 comments
  
เป็น counselor เหมือนกันเข้าใจเลยค่ะ Cheer up na ka ^^
โดย: maki-koko วันที่: 5 มีนาคม 2554 เวลา:23:24:14 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

The Queenslander
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



กรกฏาคม 2551

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
28
29
30
31
 
 
All Blog