ด้วยรักและห่วงใยสุดใจจะขาดดิ้น
|
||||
The Counselors Story ตอนที่ 6 เรื่องวิชาชีพ และการรับ offer จากตอนที่แล้ว ในที่สุดผมก็นึกออกว่าผมลืมอะไร ใช่ครับ หลักสูตรวิชาชีพทั้งหลายนั่นเอง แต่ผมคงไม่ลงรายละเอียดหรอกครับ เพราะว่ามันเยอะมาก เขียนกันจริง ๆ ก็ได้เป็นหนังสือหนาเป็นคืบ ดังนั้นแล้วเอาแค่หลัก ๆ ก็แล้วกัน หลักสูตรวัชาชีพ หรือบางทีก็เรียกกันว่า VET Course จะมีอยู่ 2 ระดับใหญ่ ๆ คือระดับที่ต่ำกว่าป.ตรี แต่ไม่ถึงกับเป็นป.ตรี ซึ่งเราเรียกมันว่าเป็นหลักสูตร certificate (cert.) และ diploma (dip.)และระดับสูงกว่าป.ตรี แต่ยังไม่ถึงกับเป็นป.โท ซึ่งเราเรียกมันว่าเป็นหลักสูตร Graduate Certificate (grad cert.) และ Graduate Diploma (grad dip.) สำหรับสถาบันที่เปิดสอนในระดับ cert กับ dip เราจะเรียกกันว่า TAFE (อ่านว่า เทฟ นะครับ ไม่ใช่ ทาเฟ่) แต่บางครั้งมหาวิทยาลัยบางแห่งก็มีเปิดสอนเองเลยก็มี ส่วนระดับ grad cert กับ grad dip จะเปิดสอนในมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ครับ อย่างที่บอกครับ Cert. กับ Dip คือการเรียนในระดับต่ำกว่าป.ตรี ใช้เวลาเรียนกันประมาณ 6เดือน - 1 ปีสำหรับ cert และประมาณ 1 - 2 ปีสำหรับ dip บางครั้งหลักศุตร dip ก็เป็นส่วนหนึ่งของป.ตรี ซึ่งเราเรียกมันว่าเป็น diploma pathway เพื่อเข้าเรียนปี 2 ของมหาวิทยาลัยได้ทันที นักเรียนไทยบางคนก็เหมาะที่จะมาทางนี้เพราะว่าเค้าจะค่อนข้างสอนกันแบใกล้ชิด เน้นการปฏิบัติ เรียนจบออกมาสามารถทำงานได้ทันที เพราะว่าสอนทฤษฎีกันน้อยมาก แทบจะเป็น learning by doing กันอยู่แล้ว คุณสมบัติผู้เข้าเรียนก็ไม่ได้สูงส่งมากมาย ขอแค่มีหลักฐานว่าจบม. 6 และมีคะแนน IELTS 5.5 ก็เป็นอันใช้ได้ครับ สำหรับ grad cert และ grad dip นั้น จะเป็นการเรียนส่วนหนึ่งของป.โทครับ ที่ออสเตรเลียจะมีข้อดีอย่างหนึ่งตรงที่ว่า บางมหาวิทยาลัยเค้าจะมีบางสาขาวิชาที่เปิดสอนตั้งแต่ grad cert ไปเรื่อย ๆ ประมาณว่า เรียน 1 เทอมได้ grad cert เรียน 2 เทอม ได้ grad dip เรียน 3 เทอม เอา Master ไปเลย เป็นต้น ระบบนี้มีข้อดียังไง มีข้อดีตรงที่ว่านักศึกษาบางคนอาจมีปัญหากลางคันในการเรียน เช่น เรียนไปได้ 1 เทอมแล้วมีปัญหาการเงิน ก็ได้ได้ grad cert เป็นของปลอบใจ อย่างน้อยก็ไม่ต้องกลับบ้านมือเปล่า และยังสามารถเอามาใช้สมัครเรียนต่อในอนาคตได้ด้วย ถ้าพร้อมอีกครั้ง ก็จะได้ยกเว้นพวกวิชาที่เรียนไปแล้ว คุณสมบัติผู้เข้าเรียนก็จะต้องดูกันยาวหน่อย เพราะว่าเป็นส่วนหนึ่งของป.โท เราจะได้เรียนรวมกับพวกป.โทเลยล่ะ ดังนั้นแล้วคุณสมบัติผู้สมัครและเอกสารที่ต้องใช้ก็จะเหมือนกับของป.โทเลยครับ (กรุณาย้อนไปดูตอนที่แล้วเน้อ สำหรับคุณสมบัติและรายการเอกสารทั้งหลาย วิญญาณขี้เกียจเข้าสิงอีกแร้ว) จบเรื่องของการสมัครเรียน ลัดนิ้วมือปิ๊ง ได้ offer มาแล้ว offer หรือ Letter of Offer ก็คือจม.ตอบรับเข้าเรียนของสถาบันที่เราทำสมัครไปครับ ซึ่งก็แบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ อีก อย่างแรกคือ Conditional Offer เป็นการตอบรับอย่างมีเงื่อนไข เช่น คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปผ่านแล้ว เหลือแค่ไปสอบ IELTS ให้ผ่านและส่งตามไปก็เป็นอันจบ หรือบางคนก็อาจจะต้องการเอกสารเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาอีกนิดหน่อย เป็นต้น ผู้สมัครก็มีหน้าที่รีบไปจัดการครับ ได้มาแล้วก็จะส่งเองก็ได้ หรือจะให้พี่ ๆ counselor เป็นคนส่งให้ก็ไม่ผิดกติกา Offer อีกแบบนึง เรียกว่า Fully Offer อันนีคือทุกอย่างเรียบร้อยแล้วรับชัวร์ 100% แค่ทำตามเงื่อนไขที่เค้าระบุมาในการรับ offer เท่านั้นก็เป็นอันเรียบร้อย การรับ offer ทำยังไง ตามกฏ Immigration ของออสเตรเลียระบุไว้ว่าถ้าไปเรียนภาษา ผู้เรียนต้องจ่ายค่าเรียนทั้งก้อนครับ แล้วจากนั้นจะได้ใบยืนยันการลงทะเบียนเรียนมา ซึ่งเราเรียกมันว่า COE (Confirmation of Enrolment) แล้วเราจะใช้ใบนี้แหละครับไปทำวีซ่า สำหรับการไปเรียนอย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาษาเช่น ป.ตรี ป.โท ป.เอก dip cert ฯลฯ นั้นไม่จำเป็นต้องจ่ายทั้งหมด ทางสถาบันจะให้เราจ่ายเป็น deposit ก่อนเพื่อเป็นการ secure ที่นั่งของเราในคอร์สนั้น ๆ บางที่อาจจะคิดไม่กี่ร้อยเหรียญ บางที่อาจจะขอพันนึง บางที่ขอห้าพัน บางที่ขอทั้งเทอมแรกเลยก็มี แน่นอนครับ นอกจากค่า deposit แล้วก็จะมีค่าอย่างอื่นที่เราจะต้องจ่ายตอนนี้ ได้แก่ค่าประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (OSHC) ทางสถาบันจะคิดมาให้ว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าสถาบันเค้าจะมีสัญญากับบริษัทไหนด้วยเช่นกันครับ ประกันสุขภาพอันนี้จะครอบคลุมค่ารักษาและค่าอุปกรณ์การแพทย์ รถพยาบาลและอื่น ๆ ยกเว้นสามอย่าง คือ ยา ตา ฟัน ยา หมายถึงว่าเวลาเราไม่สบาย ไปหาหมอ เค้าจะเขียนใบสั่งยาให้เราไปซื้อยากินเอง ตา ค่าประกันสุขภาพจะไม่ครอบคลุมสุขภาพตาครับ สมมติว่าสายตาสั้น ไปทำเลสิคที่นู่น จ่ายเพิ่มเองนะครับ ฟัน ไม่คลุมเช่นกันครับ ดังนั้นแล้วก่อนบินก็ไปตรวจฟันให้ดี ๆ ก่อนนะครับ นอกจากค่า deposit และก็ค่า OSHC แล้วก็จะมีค่าอื่น ๆ จิปาถะ เช่น ค่าจองบ้านโฮมสเตย์ ค่ารับที่สนามบิน เป็นต้น ก็ตามนี้ครับ ถ้าขอรับบริการตรงนี้ก็คิดรวมไป ถ้าไม่ได้ขอไว้ก็ไม่ต้อง การจ่ายเงินทำยังไง การจ่ายเงินทำได้ 3 วิธีครับ 1. ซื้อแบงค์ดราฟสั่งจ่ายสถาบัน ก็ตามจำนวนที่ระบุเลย 2. โอนเงินตรงเข้าสถาบันนั้นเลย ส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดการโอนเงินแนบมาให้ ก็ตามนั้นเลยครับ 3. บัตรเครดิต ก็เป็นอีกทางครับที่ทำได้ บางสถาบันจะมีแบบฟอร์มสำหรับจ่ายเป็นบัตรเครดิตแนบมาให้ด้วย หลังจากจ่ายเงินแล้วก็รอ COE ครับ ส่วนใหญ่จะออกมาหลังจากจ่ายเงินแล้วประมาณไม่ค่อยเกิน 1 อาทิตย์ ถ้าเห็นว่านานผิดสังเกตุ โทรจิกพี่ ๆ counselor ได้เลยนะครับ ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องของหลักสูตรวิชาชีพในออสเตรเลีย และการรับ offer ครับ ครั้งหน้า เรื่องสัมมะคัญครับ การยื่นวีซ่า ต้องทำยังไงบ้างเนี่ย ติดตามตอนหน้าครับ มาเยือนครับ
![]() โดย: พริกดิบ 's blog (พริกดิบ
![]() |
The Queenslander
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog All Blog
Friends Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |