The Counselor's Story ตอนที่ 11 ว่าด้วยการเรียนในห้องเรียน
สำหรับตอนนี้ ก่อนอื่นขอขอบคุณคุณเทเลทับขี้ครับ ที่ให้ไอเดียหัวข้อ เพราะว่าหลังจากจบตอนที่ 10 แล้วก็นึกไม่ออกว่าจะเขียนอะไรอีกดี

จริง ๆ ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรจะเขียนนะครับ เพียงแต่ว่ามันเป็นเรื่องจิ๊บเรื่องจ้อยที่ยาวไม่พอที่จะเขียนเป็นหนึ่งตอน ไอเดียก็เลยกระจัดการจายไปหมด กลายเป็นไม่รู้จะเขียนอะไรดี

โอเคครับ เข้าเรื่องกันเลย ในครั้งนี้ผมจะเรียนรับใช้ท่านผู้อ่าน (ก๊อปมาใจกใครหว่า) ถึงการเรียน จริง ๆ ต้องบอกว่าบรรยากาศการเรียนในห้องมากกว่า และรวมถึงวิธีการวัดผลการเรียนรู้ด้วยครับ ผมจะแยกเป็นการเรียนภาษาและการเรียนปริญญาก็แล้วกันนะครับ ตามมาโลด

1. เรียนภาษา
ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความสุขที่สุดแล้วครับของการเรียนเมืองนอก ทำไมผมถึงพูดอย่างนั้น

เพราะว่าเข้าเรียนกันประมาณ 8 โมงครึ่ง เลิกเรียนประมาณ 3 โมงครึ่งถึง 4 โมง กรณีที่เรียน General English ก็จะไม่มีการบ้าน หลังจากนั้นทำอะไร ว่างครับ นักเรียนบางคนก็จะไปเที่ยวกับเพื่อน เดินเล่นในเมือง ช๊อปปิ้ง ทำงาน หรืออะไรก็ว่าไป

บรรยากาศการเรียนในห้องเรียน ถ้าเป็น General English ก็สบาย ๆ ครับ ไม่เครียดมาก จนบางครั้งมันจะออกไปทางน่าเบื่อสำหรับบางคน แต่ถ้าเป็นการเรียน EAP (English for Academic Purposes) อันนี้ก็จะอีกแบบนึง จะจิงจังมากกว่าเดิมหน่อย เพราะว่ามันคือคอร์สภาษาเพื่อการเรียนต่อ อาจจะเป็นป.ตรี ป.โท หรืออะไรก็แล้วแต่ครับ

การวัดผลก็ไม่มีอะไรซับซ้อน สอบเลยอ่ะแหละ ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน แล้วเค้าก็จะประเมินมาให้ครับ เป็นคล้าย ๆ ใบรายงานผลการเรียน หรือจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่โรงเรียน หรือศูนย์ภาษาที่ไปเรียนครับ

ข้อควรระวังสำหรับการเรียนในห้อง เนื่องจากว่าในห้องเรียนของเราจะค่อนข้างนานาชาติมาก ๆ มีทั้ง ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน เกาหลี ตะวันออกกลาง ยุโรปมีบ้าง ดังนั้นแล้ว ประเด็นละเอียดอ่อนทั้งหลายก็ควรจะเลี่ยงครับ เช่นอะไรบ้าง

- สงครามโลก
- ศาสนาคริสต์ อิสลาม
- สงครามครูเสด
- จีฮาด
- ชาวยิว กับ ฮิตเลอร์ (พูดได้ถ้าในห้องไม่มีคนเยอรมันกับคนอิสราเอล)
- สงครามอีรักกับอเมริกา (ไม่ถึงกับห้ามพูด แต่ไม่ควรพูดในเชิงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือพูดตำหนิฝ่ายใดฝ่างหนึ่ง)

พูดถึงเรื่องสงครามโลก อันนี้ประเด็นค่อนข้างละเอียดอ่อนพอสมควร สงครามโลกครั้งที่ 2 จบไปนานแล้ว แต่สำหรับคนเกาหลี ยังไม่จบครับ ยังกรุ่น ๆ อยู่ ถ้าพูดถึงเรื่องนี้ขึ้นมาล่ะก็ แล้วไปเจอพวกเกาหลีประเภทคลั่งชาติในห้องเดียวกะเรา เค้าก็จะพูดทำนองประนามการกระทำของชาวญี่ปุ่นทันที ซึ่งเคยเกือบจะมีวางมวยกันในห้องมาแล้ว ดังนั้น พยายามเลี่ยงนะครับ

2. การเรียน Cert. / Dip. / Bachelor
รวมกันไปเลย เพราะว่าบางมหาวิทยาลัย cert กับ dip เป็นส่วนหนึ่งของป.ตรีครับ ก็จะเรียนเหมือนกันทุกอย่าง

คราวนี้แหละ ก็จะเข้าสู่บรรยากาศการเรียนจริง ๆ ซะที บางวิชาที่ต้องเรียนรวม ๆ กันหลาย ๆ คณะหรือภาควิชา ก็จะได้เรียนในห้อง Lecture Theatre ใหญ่ ๆ จุนักศึกษาได้ประมาณ 500-700 คน เพื่อร่วมห้องเยอะมาก แต่เราก็สามารถที่จะยกมือถามได้ถ้าไม่เข้าใจ และมีโอกาสถามได้อีกก่อนจะหมดเวลาประมาณ 15 นาที เพราะว่าอาจารย์ผู้บรรยายจะเหลือเวลาตรงนี้ไว้สำหรับช่วงคำถาม ไม่เหมือนในเมืองไทย ไม่รู้ไม่เข้าใจก็เฉย ถึงช่วงถามคำถามก็เฉย ไม่ต้องอายครับ ไม่เข้าใจตรงไหนก็ยกมือถามโลด อย่ากลัว ท่องไว้ อย่ากลัว อย่ากลัว อย่ากลัว

สำหรับการเรียนในห้องใหญ่ ๆ แบบนี้ เค้าก็รู้แล้วล่ะครับว่ามันไม่มีทางหรอกที่จะทำให้นักศึกษาเรียนรู้เรื่องทุกอย่างในเวลา 3 ชั่วโมง ดังนั้นแล้ว หลังจากการเรียนใน Lecture Theatre แบบนี้แล้ว เค้าจะมีการแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย ประมาณ 5-10 คน หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ละกลุ่มจะมี tutor ประจำกลุ่ม มาติวให้ เรียกว่า tutorial ซึ่งเค้าจะนัดวันให้มารวมตัวกันติวแบบนี้อาทิตย์ละครั้งหรือสองครั้งก็แล้วแต่ความขยันของ tutor ครับ

แนะนำว่าควรไปเข้าร่วมครับ เป็นการแชร์ความรู้ที่เราได้มาจากในห้อง จากคนนั้นนิด คนนี้หน่อย ช่วยกันเรียนครับ แล้ว tutor ล่ะเป็นใคร มาจากไหน

tutor ก็อาจจะเป็นอาจารย์ประจำวิชาเราก็ได้ อาจจะเป็นรุ่นพี่เราที่เรียนวิชานี้มาก่อนและได้รับมอบหมายให้มาติวให้เราก็ได้ หรืออาจจะเป็นบุคคลภายนอกที่เค้าอาสามา หรืออาจจะเป็นศิษย์เก่าก็ได้ มาได้หลายทางครับ

บางวิชาก็ไม่ได้เรียนใน lecture theatre ใหญ่ ๆ อาจจะได้เรียนในห้องเล็ก ๆ ที่เรียนกันไม่เกิน 30 คน เนื่องจากเป็นวิชาเฉพาะ หรือเป็นวิชาเมเจอร์ อันนี้ก็จะห้องไม่ใหญ่เท่าไหร่ คราวนี้ก็จะมีทุกรูปแบบครับ มีทั้ง small group discussion นำเสนอหน้าห้อง ทำรายงานเป็นกลุ่มมั่ง เดี่ยวมั่งก็มี ครบทุกรสชาด อย่าคิดว่าจะรอด โดนแน่ ๆ ทุกคนครับ

บางวิชามีการสอนทางอินเทอร์เนทด้วยนะครับ เช็กกับอาจารย์ประจำวิชาเราให้ดี ๆ ว่าอะไรเป็นอะไร วีคนี้ต้องทำอะไรบ้าง

ลืมบอกไปอย่างนึง แต่ละวิชาจะมี lecture note ให้ดาวน์โหลดมาดูก่อนได้ด้วยนะครับ เราก็รู้ล่วงหน้าคร่าว ๆ ว่าสัปดาห์นี้อาจารย์จะพูดหัวข้อนี้ แบบไหน อย่างไร ก็ไปดาวน์โหลดมาแต่เนิ่น ๆ นะครับ จะได้รีบเตรียมตัว

และที่ขาดไม่ได้ มีสอบด้วยนะครับ กลางภาค และปลายภาคเหมือนไทยเรา บางวิชาก็ไม่มีกลางภาค แต่ระหว่างเทอมจะมี quiz ตลอด ดังนั้นแล้วอย่าขาดเรียนโดยไม่จำเป็นนะครับ

3. การเรียน Grad Cert. / Grad Dip. / Master
เช่นเคยครับ รวมกันโลดเพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว grad cert และ grad dip จะเป็นส่วนหนึ่งของ Master ครับ

คล้ายกับการเรียนป.ตรีครับ แต่จะจริงจังมากกว่าเดิม ไม่มีการเรียนในห้อง lecture theatre ใหญ่ ๆ อีกแล้ว มีแต่เรียนในห้องเล็ก ไม่เกิน 30 คน ครบทุกรสชาดเช่นเคย มีทั้ง small group discussion นำเสนอหน้าห้อง ทำรายงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานเดี่ยว งานกลุ่มจะไม่ค่อยมีแล้วครับคราวนี้

ข่าวดีครับข่าวดี วิชาที่เรียนส่วนใหญ่ไม่มีสอบครับ แล้ววัดผลทำยังไง ก็วัดผลจากการทำรายงานน่ะแหละครับ แต่ว่ารายงานที่เค้าจะให้เราทำก็จะ requirement สูงทีเดียว บางคนก็ไม่รอดครับ แม้แต่คนออสซี่เองก็เหอะ หึหึหึ

และเหมือนเคยครับ บางวิชาก็มีการเรียนการสอนทางอินเทอร์เนท เช็คให้ดี ๆ ครับว่าเราต้องทำอะไรบ้าง

4. Master by research / Ph.D.
กลุ่มนี้ขอไม่พูดถึง เนื่องจากพวกเค้าระดับเทพกันแล้ว พวกเค้าเหล่านี้สามารถที่จะ say something original กันได้ ผมก็มิอาจเอื้อม

สำหรับรูปแบบการเรียน พอจะเห็นภาพกันรึเปล่าครับ ว่าเค้าเรียนกันยังไง สังเกตุได้อย่างนึงนะครับว่าเค้าจะไม่ให้นักศึกษานั่งฟังเฉย ๆ ทุกคนต้องมี interaction ด้วย ใครนั่งเงียบ ๆ เค้าก็จะกระตุ้นให้พูด ดังนั้นแล้วเด็กไทยก็จะมีปัญหาเรื่องนี้มากในการปรับตัว แต่ไม่ต้องกังวลครับ ส่วนใหญ่ก็ปรับตัวกันได้ แต่บางคนก็ไม่รอด อิอิ

โอเคครับ จบดีกว่า เด๋วไปรวมรวมเรื่องสำหรับครั้งหน้ามานั่งโม้ต่อละค้าบบบบ



Create Date : 20 ตุลาคม 2551
Last Update : 20 ตุลาคม 2551 16:41:30 น.
Counter : 650 Pageviews.

1 comments
  
อิอิ ขอบคุณมากเลยค่าที่จัดให้ตามคำขอ อิอิ ยังคงติดตามอ่าน
เรื่อยๆค่ะ
โดย: เทเลทับขี้จ้ะ IP: 124.122.185.219 วันที่: 31 ตุลาคม 2551 เวลา:0:53:18 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

The Queenslander
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



ตุลาคม 2551

 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog