Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ตุลาคม 2566
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
19 ตุลาคม 2566

นกกระเต็นปักหลัก : ครัวมะนาว

 


นกที่มีสีสันตระกูลหนึ่งของคนดูนกคือ กลุ่มนกกระเต็น
โดดเด่นด้วยสีสันที่ฉูดฉาด และลีลาการพุ่งจับปลาที่น่าตื่นเต้น
กระเต็นบางชนิดก็เป็นนกประจำถิ่น บางชนิดก็เป็นนกอพยพ
กระเต็นปักหลักเป็นนกประจำถิ่น หากินตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
 
แน่นอนว่า แหล่งน้ำที่พบนกกระเต็นปักหลักนั้นคงมีอยู่หลายแห่ง
แต่คนที่ไม่ใช่ชาวบ้านตรงนั้น ก็คงไม่มีโอกาสเข้าไปถ่ายภาพ
ดังนั้นหมายที่เป็นสถานที่สาธารณะ จึงไม่ใช่สิ่งที่หาได้ง่ายนัก
แต่มีหมายหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี นั่นก็คือร้านอาหารครัวมะนาว
 
สายวันหนึ่งในต้นเดือนกรกฎาคม 2566 เราออกจากบ้าน
เดินทางไปยัง อ. บางบาล พระนครศรีอยุธยา เพื่อไปตามหาพวกมัน
เริ่มต้นจากการสั่งอาหารมาทาน ถือเป็นการอุดหนุนสถานที่
ที่ช่วยให้พวกเราได้มีหมายถ่ายนกกระเต็นปักหลักกันต่อไป
 
ในร้านมีรูปถ่ายนกกระเต็นปักหลักที่เป็นพระเอกของที่นี่ติดไว้
มีโต๊ะหนึ่งที่นั่งทานอาหารอยู่ก่อนหน้า กำลังเอารูปในกล้องมาอวดกัน
ฟังเสียงแล้วน่าจะเป็นคนจีน แต่ว่าจะเป็นประเทศไหน เราไม่ทราบได้
เห็นไหมว่า นี่เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ ด้วยนกเพียงตัวเดียว
 


หลังจากอิ่มหนำสำราญ ก็ได้เวลาในการออกไปหานก
มีคนทำรีวิวเส้นทางเดินไว้ใน youtube ด้วยล่ะ
ก็ขอบคุณพระเจ้าที่ให้ผมมีชีวิตอยู่จนถึง
ในวันที่โลกนี้นั้นมีความสะดวกสบายขนาดนี้
 
ระหว่างทางเดินไปก็เห็นนกกระจาบทองกำลังทำรัง
เป็นนกที่หาไม่ยากและมีสีสันงดงาม แต่ทำรังไม่สวยเลย
11.30 น. ก็มาถึงริมน้ำเจ้าพระยาที่จะไหลไปสู่เกาะเมือง
มีนักถ่ายภาพท่านหนึ่งยืนอยู่ เราสอบถามข่าวสารตามประสา
 
พี่เค้าบอกว่า มารอเกือบชั่วโมงแล้ว นกยังไม่มาเลย
ผมกำลังจะไปแล้ว แฟนรออยู่ที่ร้านอาหาร
อ้าวๆๆๆ  อือ.. เข้าใจหัวอกพ่อบ้านด้วยกัน
แต่ว่าเราจะเอายังไง แน่นอน ต้องรอสิ ลุ้นหน่อย เพิ่งมา
แล้วพี่เค้าก็เดินจากไป เราก็หามุมว่า นกน่าจะมาจากทางไหน

ร้านเค้าช่วยอำนวยความสะดวก ด้วยการเอาตาข่ายสีเขียวมาพราง
เพราะเป็นที่รู้กันว่า นกกระเต็นนั้นสายตาดีมาก และอย่างไรก็ตาม
การเป็นสถานที่สาธารณะในการถ่ายนก ก็ไม่ได้หมายความว่า
เราจะสามารถเข้าไปรบกวนชีวิตที่อยู่ตามธรรมชาติของพวกเค้ามากได้
 


บางคนสงสัยว่า เช่นนั้นจะเปิดให้เป็นที่ถ่ายนกทำไม ไม่ปล่อยให้เค้าอยู่
ก็เป็นสิ่งที่คิดได้ แต่หากมองด้วยใจเป็นกลาง ใช่ว่าทุกคนจะสนใจชีวิตนก
บางคนอาจจะยิงมัน บางคนอาจจะทำลายรังมัน

แต่ที่ผู้ใหญ่บ้านท่านนี้ คอยดูแลให้พวกมันปลอดภัย
ให้โอกาสนักดูนกเข้ามาถ่าย และใช้เป็นจุดขายของร้านอาหาร
ผมมองว่า นี่คือ win-win–win suituation
 
ผมหยิบเก้าอี้สนามมานั่งรอ ผ่านไปราว 20 นาที นกก็บินมาจากริมน้ำ
เกาะอยู่บนกิ่งไม้ที่มีคนปักไว้ให้นกเกาะ เรายกกล้องขึ้นถ่ายภาพ
แน่นอนว่า ไม่มีอุปกรณ์ขั้นเทพๆ ใด และตัวเองก็ไร้ซึ่งผีมือ
แต่เราก็ได้รูปภาพมัวๆ เก็บไว้เป็นประสบการณ์ชีวิต
 
และอย่างน้อยก็โชคดีกว่าพี่ท่านเมื่อกี้
ซึ่งมาที่นี่จากกรุงเทพเพื่อมาถ่ายนกตัวเดียว
นี่ล่ะชีวิตของคนกลุ่มนี้ ไกลแค่ไหน ขอแค่ให้รู้ข่าว
แต่สุดท้ายก็ได้แต่ใช้โชคตัวเองว่าวันนั้นจะมีมากหรือน้อย

 นกกระเต็นจัดอยู่ใน order Alcedines โดยมี 3 suborder
Alcedininae เป็นกลุ่มนกกระเต็นน้อยทั้งหลาย
Halcyonidae เป็นกลุ่มใหญ่สุด เช่น กระเต็นอกขาว นกกินเปรี้ยว
Cerylidae พบในไทยเพียงสองชนิด คือกระเต็นปักหลัก
(pied kingfisher) และกระเต็นขาวดำใหญ่ (crested kingfisher)



การตั้งชื่อในภาษาอังกฤษ
pied kingfisher หมายถึงแถบสีขนขาวและดำสลับกันบนลำตัว
ในขณะที่ crested kingfisher ที่มีขนสีดำสลับขาวคล้ายๆ กัน
ถูกตั้งชื่อตามการตั้งของขนบนหัวราวกับหงอน 
เพราะ pie kingfisher แม้จะมีหงอนบนหัวเหมือนกัน
แต่ก็ตัวเล็กกว่า หงอนบนหัวจึงไม่โดดเด่นเท่า

ในขณะที่การตั้งชื่อภาษาไทย pie kingfisher ว่ากระเต็นปักหลัก
นำมาจากพฤติกรรมการหากิน ที่สามารถการกระพือปีกจนหยุดนิ่ง
กลางอากาศ ก่อนที่จะพุ่งเป็นเส้นตรงเพื่อลงไปจับปลาในน้ำ
เป็นความสามารถพิเศษที่โดดเด่น แตกต่างจากนกกระเต็นชนิดอื่น
 
และนำสีขนและขนาดของ crested kingfisher มาตั้งชื่อว่า
กระเต็นขาวดำใหญ่ เพราะกระเต็นปักหลักมีขนาดเพียง 25 ซม.
เมื่อเปรียบเทียบกับกระเต็นขาวดำใหญ่ที่มีขนาด 41-43 ซม.

ที่อยู่อาศัยนั้นก็ต่างกัน กระเต็นปักหลักพบตามแหล่งน้ำพื้นที่ราบ
ในขณะที่กระเต็นขาวดำใหญ่ อาศัยอยู่ตามลำธารในป่า
ที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงว่าถ่ายง่ายก็คือที่เมืองคอง เชียงใหม่
 
 

แม้ Wikipedia จะกล่าวว่ากระเต็นปักหลักเป็นกระเต็นที่มีจำนวนมาก
ร่วมกับอีกสองสายพันธุ์ ได้แก่ นกกระเต็นน้อยธรรมดา และนกกินเปี้ยว
แต่ในประเทศไทยกลับไม่ใช่นกที่พบได้ง่ายนัก เมื่อเทียบกับพวกอกขาว
กระเต็นปักหลักแบ่งย่อยออกเป็น 5 subspecies แยกตามพื้นที่
ตั้งแต่อียิปต์ ตุรกี อัฟกานิสถาน อินเดีย อินโดไชนา จนถึงจีนตอนใต้
 
หากเป็นคนที่มีเวลา เค้ามักจะรอถ่ายจังหวะการหาอาหารแบบ hop
เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ เมื่อเทียบกับพฤติกรรมการของนกฮัมมิ่งเบิร์ด
ที่ขนาดตัวที่เล็กกว่า และดื่มน้ำหวานที่แปลงเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว

กระเต็นปักหลักจึงต้องกินอาหารราวครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัวทุกวัน
เพื่อให้เพียงพอต่อการกระพือปีกราว 10 ครั้งต่อวินาทีในการลอยตัว
 
วิวัฒนาการที่น่าทึ่งนี้ มีเพื่อแย่งชิงพื้นที่หากินของนกกระเต็นชนิดอื่น
ที่ต้องเกาะรออยู่บนกิ่งไม้ ที่ไม่รู้ว่าจะขึ้นอยู่ตรงไหนของแหล่งน้ำ 
ให้เหยื่อว่ายเข้ามาใกล้ ดังนั้นกระเต็นปักหลักจึงไม่มีขีดจำกัดนี้
 
กระเต็นปักหลักที่ผมถ่ายมาแบบไม่ค่อยชัดนี้เป็นตัวเมีย
สังเกตได้จากแผงขนสีดำใต้คอที่ขาดออกไม่ได้เชื่อมติดกัน
ในขณะที่ตัวผู้นั้นเชื่อมกันมองเห็นเป็นแผงสีดำสองแถบ

เรายังมีหมายกระเต็นปักหลักอยู่ใน list อีกหนึ่งรายการ
ภาวนาในใจ คราวหน้าหากมีโอกาสขอให้ภาพตัวผู้ละกัน
 



Create Date : 19 ตุลาคม 2566
Last Update : 23 ตุลาคม 2566 17:39:23 น. 7 comments
Counter : 645 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณหอมกร, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณอุ้มสี, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณ**mp5**, คุณทนายอ้วน, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณnewyorknurse, คุณNoppamas Bee, คุณนกสีเทา, คุณkae+aoe


 
ตัวนี้ยังไม่เคยเห็น แต่นกกระเต็นเข้าใกล้ยากมากค่ะ

-----

ปล.จากบล็อก เพิ่งเคยเข้าร้านอาหารฝรั่งเศสก็นี่ละค่ะ
ปกติ ติดดินตาหลอด


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 ตุลาคม 2566 เวลา:10:41:09 น.  

 
สีนี้ยังไม่เคยเห็นใครถ่ายมาให้ดูจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 19 ตุลาคม 2566 เวลา:10:42:32 น.  

 
ตามมาส่องนกด้วยคนค่ะพี่


โดย: อุ้มสี วันที่: 19 ตุลาคม 2566 เวลา:11:55:04 น.  

 
ตอนที่บอลไปเที่ยวทีลอซูเมื่อเกือบๆ 20 ปีที่แล้ว เจอ King Fisher เยอะเลยครับ ตามระหว่างทางที่ล่องแพยาง


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 19 ตุลาคม 2566 เวลา:20:53:55 น.  

 
นกสวยนะคะ


โดย: Noppamas Bee วันที่: 21 ตุลาคม 2566 เวลา:9:48:41 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 24 ตุลาคม 2566 เวลา:10:28:19 น.  

 
มีความสุขได้เห็นนกสวยๆ


โดย: นกสีเทา วันที่: 24 ตุลาคม 2566 เวลา:13:38:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]