DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
1 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลด้วย DNA

          นับเป็นเวลา 20 ปีเต็มแล้วที่ DNA เข้ามามีบทบาท ในการเป็นหลักฐานมัดตัวผู้ร้ายฆ่าข่มขืนเด็กหญิงวัย 15 ปี ที่ประเทศอังกฤษ ภายใต้การวิจัยและพัฒนาของศาสตราจารย์ด้านพันธุกรรม ชื่อ อเล็ก เจฟฟรีย์ ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์คงต้องยกย่องให้เกียรติว่าท่านเป็นผู้คิดลายพิมพ์นิ้วมือดีเอ็นเอ (DNA Fingerprinting) และช่วยให้ตำรวจคลี่คลายคดีโดยตรวจพบดีเอ็นเอจากเหยื่อที่ถูกฆ่าข่มขืนซึ่งตรงกับดีเอ็นเอของผู้ต้องสงสัย ที่เป็นช่างทำขนมปัง ชื่อ โคลิน พิชท์ฟอร์ด เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1987 ผลการตรวจครั้งนั้นเป็นหลักฐานแน่นหนาพอที่จะทำให้ศาลพิพากษาจำคุกผู้ต้องหาตลอดชีวิต อีกทั้งเป็นการขยายผลไปใช้ตรวจวิเคราะห์หาสารพันธุกรรมจากเลือด, เส้นผม, น้ำลาย หรือน้ำอสุจิ จากสถานที่เกิดเหตุจนทำให้พนักงานสอบสวนทั่วโลกคลี่คลายคดีอาชญากรรมจนถึงวันนี้ได้หลายแสนราย 
          อังกฤษ เป็นประเทศที่สร้างฐานข้อมูล DNA แห่งชาติ โดยออกกฎหมาย เมื่อปี 2001 ให้อำนาจพนักงานสอบสวนเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากผู้ต้องหา ในคดีความที่มีโทษรุนแรงถึงขั้นต้องขึ้นทะเบียนประวัติโดยไม่ต้อง ขอความเห็นชอบจากเจ้าตัว (Recordable Crimes) และถึงแม้ศาลพิพากษายกฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าวตำรวจก็ไม่ต้องลบข้อมูลออกจากฐานข้อมูลดีเอ็นเอที่เก็บบันทึกไว้แล้ว อังกฤษจึงเป็นประเทศที่มีฐานข้อมูล DNA แห่งชาติใหญ่ที่สุดในโลก โดยเก็บข้อมูลใส่ฐานได้ 3 หมื่นชุด จนได้ถึง 4 ล้านชุด หรือ 6% ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่สหรัฐอเมริกาที่มีประชากรมากกว่า 5 เท่า แต่มีฐานข้อมูล DNA เพียง 5 ล้านชุด 
          รัฐบาลประเทศอังกฤษพอใจกับฐานข้อมูลมากถึงกับคิดจะขยายโดยแก้กฎหมายให้เก็บตัวอย่าง DNA ได้ แม้ในผู้ต้องหาคดีที่มีลหุโทษ อย่างเช่น ทิ้งขยะในที่สาธารณะหรือคดีจราจร ซึ่งปกติไม่ต้องเก็บบันทึก ไว้ในทะเบียน ประวัติ (Non-Recordable Crimes) และเมื่อเดือนที่แล้วผู้พิพากษาอาวุโสท่านหนึ่งถึงกับเสนอให้สร้างฐานข้อมูลรายละเอียดทางพันธุกรรมของประชากรชาวอังกฤษและใครก็ตามที่เดินทางไปเยือนเกาะอังกฤษอันเป็นที่มาของเสียงคัดค้านจาก กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนว่าเป็นการกระทำล้ำเส้น 
          ข้อคัดค้านมีว่าให้รัฐบาลอังกฤษยุติการขยายผลการเก็บ ข้อมูล DNA และให้ลบข้อมูลพันธุกรรมในรายที่ผู้ต้องหาบริสุทธิ์ โดยเสนอให้ตำรวจทุ่มเทกำลังความพยายามเก็บหลักฐานจากที่เกิดเหตุแทน ซึ่งจุดนี้เองที่ตำรวจสวนกลับได้อย่างน่าฟังว่ากระบวนวิธีการสร้าง ฐานข้อมูล DNA ของอังกฤษขณะนี้เป็นไปด้วยดี ดังจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2006 ทางการเก็บ DNA ของผู้บริสุทธิ์บรรจุฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นอีก 2 แสนราย พร้อมกันนี้ตัวอย่างวัตถุพยานจากที่เกิดเหตุสามารถ ตรวจวิเคราะห์ DNA แล้วสอบเทียบว่า ตรงกับข้อมูล 2 แสนรายดังกล่าวถึง 8,000 ตัวอย่าง แสดงว่าผู้บริสุทธิ์เรือนแสนคนที่ว่านั้นจริง ๆ แล้วมีพฤติกรรมทำชั่วหลายคน และวิธีการนี้ช่วยลดขั้นตอนจนทำให้ตำรวจจับผู้กระทำผิดมาลงโทษได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
          สังคมโลกควรพิจารณาดูว่าการเพิ่มฐานข้อมูล DNA ของประชากรโลกทั้งหกพันกว่าล้านคนเข้าไปในทะเบียนราษฎร น่าจะเป็นประโยชน์มาก  กว่าโทษ อย่างน้อยก็ในเรื่องการติดตามคนหาย, การคลี่คลายอาชญากรรมข้ามชาติ, การวิเคราะห์สายพันธุ์, การศึกษาวิจัยยารักษาโรคแบบมุ่งเป้า
          อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เจฟ ฟรีย์ ได้ออกมาเตือนว่าดีเอ็นเอมิใช่ดาบ กายสิทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญอาศัยหลักฐานจากวัตถุพยานเพียงกระจิริด เช่น การได้มาซึ่งเซลล์เพียงไมกี่เซลล์จากที่เกิดเหตุแล้วเหมาเอาว่าได้เกิดอาชญา กรรมขึ้นแล้ว ทั้ง ๆ ที่อาจจะใช่หรือไม่ก็ได้ ท่านทิ้งท้ายให้คิดว่าหน่วยพันธุกรรม (DNA) ไม่ได้บรรจุด้วยคำว่า “ผิด” หรือ “ไม่ผิด” ไว้
          นั่นอาจจะจริงในระดับหนึ่งแต่อีกไม่นานเกินรอหรอก ทุกอย่างก็จะกระจ่างขึ้น เนื่องจากงานวิจัยด้านนี้มีความคืบหน้าอย่างไม่หยุดนิ่งไม่ว่าจะเป็นเทคนิคใหม่ในการค้นหาครอบครัวของอาชญากรและการค้นหาตัวบุคคลด้วย DNA





Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2553 20:43:49 น. 2 comments
Counter : 1850 Pageviews.

 
ขอบคุณมากนะค่ะได้ความรู้เพียบเลย


โดย: P_P TT_TT IP: 112.142.48.215 วันที่: 18 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:26:20 น.  

 
การเก็บดีเอ็นเอเจากน้ำลายที่ติดอยู่บนขอบแก้วน้ำ หรือ๓าชนะอื่นๆสามารถเก็บได้มั้ยครับ


โดย: awut IP: 203.146.191.102 วันที่: 20 มิถุนายน 2554 เวลา:21:44:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.