DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
12 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
การใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ พ่อ-แม่ ลูก ตอนที่ 2


ขั้นตอนการตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอ


          1. เตรียมตัวอย่างเลือด 5 ซีซี หรือตัวอย่างขนพร้อมรากอย่างน้อย 20 เส้น หรือน้ำเชื้อแช่แข็ง 1 หลอด 


          2. สกัดดีเอ็นเอจากเลือด: ดีเอ็นเอของเม็ดเลือดขาวอยู่ในนิวเคลียส นำมาสกัดได้โดยกรทำลายเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วยสารละลายโซเดียมโดเดซิลเฟต (sodium dodecyl sulphate, SDS) แล้วย่อยโปรตีนต่าง ๆ ด้วยเอ็นไซม์โปรตีนเนสเค (proteinase K) จากนั้นจึงตกตะกอนโปรตีนด้วยสารละลายฟีนอลและคลอโรฟอร์ม แล้วตกตะกอนดีเอ็นเอซึ่งอยู่ในชั้นน้ำด้วยเอธานอล เนื่องจากฟีนอลเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังและเยื่อบุ จึงอาจใช้สารละลายอิ่มตัวโซเดียมคลอไรด์ตกตะกอนโปรตีนได้ ซึ่งจะงาย ประหยัดเวลา และปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน 


          3. การสกัดดีเอ็นเอจากน้ำเชื้อ: ดีเอ็นเออยู่ที่ส่วนหัวของอสุจิ ต้องสกัดโปรตีนที่อยู่ในส่วนหัวด้วยสารละลาย ไดไธโอธรีอิทอล (dithiothreitol) จากนั้นจึงย่อยโปรตีนด้วยเอ็นไซม์โปรตีนเนสเค และขั้นตอนอื่น ๆ เหมือนการสกัดดีเอ็นเอจากเม็ดเลือดขาว 


          4. เพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมในหลอดทดลองด้วยเทคนิคพีซีอาร์ คือเทคนิคที่มีการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ โดยอาศัยเอ็นไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส ทำให้ได้ปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นล้านเท่าภายในระยะเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อ ดร. มัลลิส (KB. Mullis) และคณะเป็นผู้คิดค้น ปฏิกิริยาพีซีอาร์ประกอบด้วย 


          5. ช่วงอุณหภูมิ 90-95 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่ทำให้ดีเอ็นเอต้นแบบแยกตัวออกจากเส้นคู่ เป็นเส้นเดี่ยว 


          6. ช่วงอุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่ใช้ในการจับคู่กันระหว่างดีเอ็นเอเส้นเดี่ยวและไพรเมอร์ขนาด 20-30 เบสที่มีลำดับคู่เบสคู่สมกับลำดับเบสในดีเอ็นเอต้นแบบเข้ามาจับดีเอ็นเอสายเดี่ยวทั้ง 2 เส้น 


          7. ช่วงอุณหภูมิ 70-72 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิสำหรับเอ็นไซม์ดีเอ็นเอ โพลีเมอเรส ซึ่งทำหน้าที่เร่งปฎิกิริยาการเติมเบสของดีเอ็นเอเส่นเดี่ยวที่ ปลาย


          เมื่อเริ่มต้นจากดีเอ็นเอต้นแบบ 1 คู่ เกิดปฏิกิริยาตั้งแต่ข้อ (1) จนถึงข้อ (3) ดำเนินไปจนสิ้นสุดรอบ 1 จะได้ดีเอ็นเอเส้นคู่ชุดใหม่จำนวน 2 ชุด ในปฏิกิริยารอบที่ 2 ดีเอ็นเอเส้นคู่ 2 ชุดนี้จะแยกป๋นดีเอ็นเอเส้นเดี่ยว 4 เส้น เพื่อทำหน้าที่เป็นดีเอ็นเอต้นแบบ เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยารอบที่ 2 นี้จะได้ดีเอ็นเอชุดใหม่ จำนวน 4 คู่ และเมื่อเริ่มปฏิกิริยารอบที่ 3 จะได้ดีเอ็นเอชุดใหม่จำนวน 8 คู่ โดยที่สิ้นสุดปฏิกิริยาในแตละรอบจะได้จำนวนของดีเอ็นเอต้นแบบเข้าสู่ปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น จึงได้ดีเอ็นเอที่ต้องการเพิ่มขึ้น ลักษณะการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอของปฏิกิริยาเป็นการเพิ่มแบบทวีคูณ คือ 2 n (เมื่อ n เป็นจำนวนรอบของปฏิกิริยา) ดังนั้นเมื่อปฏิกิริยาดำเนินไปได้ 25 รอบ จะได้ดีเอ็นเอชุดใหม่จำนวน 225 ชุดหรือประมาณ 34 ล้านเท่าของปริมาณดีเอ็นเอต้นแบบ 


          แยกขนาดของสารพันธุกรรมต่าง ๆ ที่ได้ การทำไฮบริไดเซชั่น: กระบวนการทำไฮบริไดเซชั่น เป็นการจับคู่กันด้วยพันธะไฮโดรเจนระหว่างดีเอ็นเอตรวจสอบซึ่งมีลำดับเบสคู่กับลำดับเบสบนดีเอ็นเอเป้าหมายที่แยกออกเป็นเส้นเดี่ยว โดยเริ่มต้นจากการย้ายดีเอ็นเอจากแผ่นวุ้นไปยังแผ่นเยื่อไนลอน โดยการแช่แผ่นวุ้นโดยสารละลายด่าง เพื่อแยกดีเอ็นเอสายคู่เป็นสายเดี่ยว แล้วย้ายดีเอ็นเอด้วยการดูดซับน้ำ โดยสารละลายจากด้านล่างของวุ้นจะผ่านซึมแผ่นวุ้น และแผ่นเยื่อพิเศษไปยังกระดาษกรองที่แห้งด้านบนการดูดซับทำให้ดีเอ็นเอเคลื่อนที่จากแผ่นวุ้นไปจับอยู่บนแผ่นเยื่อพิเศษ จากนั้นจึงทำไฮบริไดเซชั่น ด้วยดีเอ็นเอตรวจสอบ ซึ่งสามารถติดฉลากด้วยสารรังสี เช่น (?-32P) dNTP หรือสารปลอดรังสีเช่น dUTP ที่ติดฉลากด้วยสารดิกอกซิเจนิน (digoxigenin-dUPT) แล้วจึงตรวจสอบ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอโดยประกอบด้วยแผ่นฟิล์มเอ็กซเรย์หรือโดยการย้อมสี 


          การแยกผลผลิตพีซีอาร์ที่ได้จากส่วนที่เป็นไมโครแซทเทลไลท์ โดยใช้ตัวกลางชนิดโพลีอะคริลาไมด์ (polyacrylamide gel) ซึ่งเป็นตัวกลางที่มีความเข้มข้น 4-6% เพราะในการแยกดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างของเบสเพียง 1 เบสได้ โดยใช้ตัวกลางมี ผ่านกระแสไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ นาน 45-60 นาที การตรวจสอบแถบดีเอ็นเอที่เกิดขึ้นได้หลายวิธีเช่น การใช้รังสีสารฟลูออเรสเซนซ์ (fluorescence) และการย้อมด้วยสารละลายซิลเวอร์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความไวสูงมากในการตรวจสอบดีเอ็นเอ มีข้อดีที่สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า ในขณะที่การใช้ ฟลูออเรสเซนซ์ ใช้เครื่องมือ Automate Genetic Sequencer เป็นเครื่องอ่าน สำหรับการแยกผลผลิตพีซีอาร์ที่ได้จากส่วนมินิแซทเทลไลท์ เช่น โลกัส DIS80 ด้วยเทคนิคพีซีอาร์นั้นจะได้ผลผลิตพีซีอาร์เป็นแถบดีเอ็นเอจำนวน 2 แถบต่อหนึ่งโลกัส เรียกแถบดีเอ็ยเอแต่ละแถบว่า “อัลลีล” ดังนั้นในแต่ละโลกัสจะแสดงจีโนไทป์ที่ประกอบด้วย อัลลีล 2 อัลลีล ตัวอย่างจีโนไทป์แบบ ไฮเทอโรไซกัส DIS80


การตรวจสอบดีเอ็นเอ 


         1. ทำปฏิกิริยาเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมในหลอดทดลองเพื่อศึกษาตำแหน่ง ของเครื่องหมายพันธุศาสตร์ 11 ตำแหน่ง 


         2. ใช้เครื่องมือ  Automate Genetic Analyzer ในการแยกขนาดสารพันธุกรรม 


         3. ใช้คอมพิวเตอร์ (โปรแกรมพิเศษ) ในการวิเคราะห์ผล


Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2553 0:06:46 น. 0 comments
Counter : 2909 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.