DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
1 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

รอยสักกับการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล

          ในเชิงนิติเวชวิทยาแล้ว รอยสัก (Tattooing) หมายถึง แผลเป็น, รอยประทับ, เครื่องหมาย, รอยสัก หรือการประยุกต์ใช้ศิลปหัตถกรรมเพื่อ ให้เกิดร่องรอยถาวรบนพื้นผิวของร่างกายมนุษย์ เพื่อประโยชน์ในเชิงตกแต่ง, ประดับหรือเคารพบูชา แต่การสักนั้นมีมาแต่สมัยโบราณนับหลายพันปีมาแล้วเพื่อบ่งบอกเผ่าที่ตนสังกัดอยู่หรือไม่ก็เพื่อบ่งชี้สถานภาพหรือตำแหน่ง บ้างก็เพื่อสนองความเชื่อทางศาสนา, การสักเป็นเครื่องประดับเพื่อแสดงความกล้าหาญ, การสักเพื่อแสดงสัญลักษณ์แห่งการเจริญพันธุ์, การแสดงความรัก, การทำโทษ, การคุ้มครองป้องกันและที่เลวร้ายที่สุดก็คือการแสดงเครื่องหมายแห่งความเป็นทาสหรือเป็นนักโทษ 
          ปัจจุบันนี้มนุษย์ไปรับการสักเพื่อผลทางความสวยงาม, ความเชื่อทางศาสนาและความเชื่อทางไสยศาสตร์หรือเป็นสัญลักษณ์แสดงการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือชมรม เมื่อไม่นานมานี้ข่าวเนชันแนลจีโอกราฟ ฟิกสำรวจว่ามีชาวอเมริกันถึง 15% ที่ไปรับการสักมา ซึ่งคิดแล้วเป็นจำนวนมากถึง 40 ล้านคน ขณะที่การสำรวจของแฮร์ริส เมื่อปี 2003 พบว่า 36% ของชาวอเมริกันอายุ 25-29 ปี มีรอยสักมากกว่าหนึ่งจุดขึ้นไป ความนิยมเรื่องการสักได้คู่ขนานไปกับการดัดแปลงและออกแบบรอยสักที่มีความเป็นเฉพาะตัวในบริเวณพื้นผิวของร่างกายที่เปิดเผยต่อสาธารณะมากยิ่งขึ้น
          รอยสักได้กลายเป็นเบาะแสสำคัญทางนิติวิทยาศาสตร์เนื่องจากความเป็นเอกลักษณ์ ของแต่ละรอยสักสามารถประยุกต์ใช้ในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล อย่างในกรณีวินาศภัยจากการก่อการร้ายที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ที่สหรัฐอเมริกาที่เรียกว่าเหตุร้าย 9/11 หรืออุบัติภัยสึนามิที่ชายฝั่งทะเลอันดามันเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 ทั้งนี้ก็ด้วยคุณสมบัติพิเศษของรอยสักที่มีความถาวร เนื่องจากสีของการสักได้ประทับลึกถึงชั้นในของผิว ซึ่งแม้แต่ไฟไหม้รุนแรงก็ยังเผารอยสักไม่หมด ต่อมาเจ้าหน้าที่ ได้ใช้รอยสักในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของผู้นำอัล-เคดาคนสำคัญคือ อาบู มูซาบ อัล ซากาวี ซึ่งทหารอเมริกัน ใช้จรวดยิงจากเครื่องบินรบถล่มจนเขาเสียชีวิตที่กรุงแบกแดด เมื่อปี 2006 และในปีเดียวกันตำรวจสามารถ จับกุมนายไมเคิล มู นาโฟ ที่บุกรุกเข้าไปในรถยนต์ส่วนตัวของชาวบ้านนับร้อยคัน เพื่อขโมยของมีค่า ทั้งนี้ โดยอาศัยเบาะแสรอยสักบนแขนทั้งสองข้างของเขา
          นักนิติวิทยาศาสตร์ที่ริเริ่มการใช้รอยสักเป็นเบาะแสในการจับกุมคนร้ายคือ ซีซาร์ ลอมโบรโซ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง  อาชญวิทยาสมัยใหม่ จากการเน้นความสำคัญของรอยสักว่าเป็น   สัญลักษณ์แห่งอาชญากรรมเพราะเป็น คุณลักษณะจำเพาะของพวกอาชญากร 
          คณะนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท ได้พยายามจัดแบ่งรอยสักออกเป็นหมวดหมู่และสร้างฐานข้อมูลรอยสักขึ้น แล้วพยายามขยายฐานข้อมูลให้ใหญ่และกว้างขวางขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพที่มีความคมชัดสูงจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งฐานข้อมูลใหญ่ ๆ เช่นนี้จะช่วยผู้รักษากฎหมายในการเทียบเคียงและนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องสงสัยหรือพิสูจน์เอกลักษณ์ของเหยื่อนิรนามได้





 

Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2553
3 comments
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2553 20:53:34 น.
Counter : 6399 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะ...อาจารย์
ได้อ่านข้อความของ อ.แล้วเป็นประโยชน์มากค่ะ
พอดีกำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากรอยสักอยู่เหมือนกัน
ถ้าไม่เป็นการรบกวนจะขอเรียนปรึกษา อ.โดยตรงได้หรือไม่คะ

 

โดย: รัชดาภรณ์ IP: 203.144.144.165 20 มีนาคม 2553 10:18:29 น.  

 

รบกวนถาม อ. อีกครั้งค่ะ
ไม่ทราบว่าจะติดต่อกับ อ.ได้ทางไหนบ้างค่ะ

รบกวนแอดเอ็มไว้ด้วยค่ะ

fang808@hotmail.com

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: รัชดาภรณ์ IP: 203.144.144.165 20 มีนาคม 2553 10:26:59 น.  

 

อยากรู้ว่าทำไมถึงสักรูปนี้ อ่ะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะ

 

โดย: sear IP: 127.0.0.1, 203.113.119.131 10 มิถุนายน 2554 11:39:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.