DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
4 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

การเสียชีวิตจากสำลักอาหาร

ภาวะการสำลักอาหาร คือ การที่มีเศษอาหารหรือน้ำ (Food particle) หลังกลืนอาหาร หล่นเข้าไปอยู่ในหลอดลม ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอติดต่อกันหลายๆครั้ง เพื่อขับดันให้เศษอาหารนั้นหลุดออกไปจากหลอดลม


                การกลืนอาหารแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ 


                1. Voluntary phase เริ่มตั้งแต่อาหารเมื่อผ่านการเคี้ยวจนกลายเป็น bolus แล้ว จะถูกผลักโดยลิ้นผ่านไปยังช่องปากทางด้านหลังลงไปสู่ oropharynx อยู่ภายใต้การควบคุมการทำงานของระบบประสาทร่างกาย 


                2. Pharyngeal phase เป็นระยะที่ bolus อยู่ใน pharynx และจะไหลลงไปสู่หลอดอาหาร เริ่มต้นด้วยการที่ส่วนของเพดานอ่อน (Soft palate) และลิ้นไก่ ถูกยกขึ้นไปปิดส่วน Nasopharynx หลังจากนั้น ฝาปิดกล่องเสียงยกขึ้นไปปิดทางเข้าหลอดลมเพื่อป้องกันอาหารตกไปยังหลอดลม กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารส่วนบนจะขยายตัวออก รับ bolus ไหลลงไปสู่หลอดอาหาร ใช้เวลาประมาร 1-2 วินาที ระยะนี้อยู่นอกการควบคุมของจิตใจ 


                3. Esophageal phase เป็นระยะที่ผลักดันอาหารที่อยู่ในหลอดอาหารผ่านไปยังกระเพาะอาหาร โดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่เรียงตัวแบบ circular ที่ประกอบเป็นผนังของหลอดอาหาร ที่เรียกว่า peristalsis wavesการบีบตัวจะเกิด 2 ครั้ง ครั้งแรกจะมีการบีบตัวอย่างรวดเร็วและแรงใช้เวลาประมาณ 10 วินาที ครั้งที่ 2 จะเกิดตามมาเพื่อไล่อาหารที่ค้างในหลอดอาหารให้ไหลลงสู่กระเพาะอาหารให้หมด การควบคุมอยู่นอกอำนาจจิตใจ          


                ปกติแล้วเมื่อเกิดกระบวนการกลืนอาหารขึ้น โคนลิ้นจะผลักอาหารให้เข้าไปอยู่ในคอหอย จากนั้นฝาปิดกล่องเสียงจะเคลื่อนตัวลงมาปิดทางเข้าของกล่องเสียง รวมทั้งสายเสียงทั้ง 2 ข้างจะเคลื่อนตัวมาชิดกันเพื่อปิดทางเข้าของหลอดลม ทำให้อาหารที่กำลังจะเคลื่อนตัวผ่านลงไปในทางเข้าของหลอดอาหารนั้นไม่สามารถหลุดเข้าไปในหลอดลมได้ จึงไม่เกิดการสำลักขึ้น


การสำลักอาหารนั้นจึงเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 


                1. คนที่พูดในขณะรับประทานอาหาร หรือในขณะกลืนอาหารนั้น ฝาปิดกล่องเสียงและสายเสียงจะเปิดออกเพื่อให้เกิดเสียงพูด อาหารจึงตกลงไปในหลอดลมและเกิดการสำลักขึ้นได้ 


                2. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณคอหอย เช่น ผ่าตัดโคนลิ้น ผ่าตัดมะเร็งคอหอย ผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง จะทำให้การทำงานของอวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการสำลักขึ้น 


                3. ผู้ป่วยที่สายเสียงเป็นอัมพาตขยับและทำงานไม่ได้ก็จะเกิดการสำลักอาหารและน้ำ รวมทั้งมีอาการเสียงแหบร่วมด้วย 


                4. ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณลำคอ บางครั้งจะเกิดการบวมของเนื้อเยื่อในคอได้ และเกิดการสำลักอาหารได้เช่นกัน 


                5. ผู้ป่วยที่ได้รับการดมยาสลบมีการใส่ท่อช่วยหายใจ บางครั้งจะทำให้สายเสียงบวมและทำงานผิดปกติไปได้ จึงเกิดภาวะเสียงแหบและการสำลักอาหารขึ้นได้ 


                การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและตำแหน่งของอวัยวะที่ทำให้เกิดการสำลัก บางกรณีสามารถรักษาได้ด้วยยา บางกรณีอาจต้องใช้การฝึกกลืนช่วย บางกรณีใช้วิธีการฝึกการออกเสียงเพื่อให้สายเสียงแข็งแรงขึ้น และบางกรณีอาจต้องอาศัยการผ่าตัด ซึ่งภาวะการสำลักอาหารนั้นถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือรุนแรง (โดยเฉพาะในคนสูงอายุ) สามารถทำให้เกิดทางเดินหายใจอักเสบติดเชื้อได้ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น


สาเหตุการตายจากทางเดินหายใจอุดกั้น 


                สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญและทนต่อภาวะขาดออกซิเจนไม้ได้นานหากขาดออกซิเจนนานกว่า 4 นาที สมองจะไม่สามารถฟื้นเป็นปกติได้ ผู้นั้นอาจจะไม่เสียชีวิตหากได้รับความช่วยเหลือในเวลาต่อมา แต่จะไม่ฟื้นรู้สึกตัวดังเดิม ภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นตึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องการความช่วยเหลือในทันที เพื่อไม่ให้ร่างกายหรือสมองขาดออกซิเจนนานเกินไป 


                สิ่งที่อุดกั้นทางเดินหายใจอย่างกะทันหันมักเป็นอาหารหรือของเล่นและมักเกิดกับเด็ก การนำส่งโรงพยาบาลจะปรากฏว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนถึงมือแพทย์


การให้ความช่วยเหลือ 


                การอุดกั้นทางเดินหายใจอาจจะเป็นเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยยังหายใจเข้าได้ กรณีนี้ผู้ป่วยมักจะไอติดต่อกันอย่างแรงเพื่อขับวัตถุนั้นออกจากหลอดลม ไม่สมควรทำอะไรแก่ผู้ป่วย 


                การอุดกันอย่างมากหรืออุดตัน (หายใจไม่ได้เลย ) จะทำให้ผู้ป่วยพูดไม่ออก ไอไม่ได้ หน้าและปากเปลี่ยนเป็นสีม่วงเขียว และมักยกมือขึ้นจับบริเวณคอ  ควรช่วยเหลือโดยเร็ว 


                อย่าตบหลังถ้าผู้ป่วยยังอยู่ในท่านั่งหรือยืนตรง  เพราะสิ่งอุดกั้นอาจตกลงไปอุดแน่นกว่าเดิม และไม่มีการวิจัยยืนยันประสิทธิภาพของวิธีนี้ 


                ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะและอกต่ำก่อน แล้วจึงตบหลังระหว่างกระดูก สะบักแรง ๆ หลาย ๆ ครั้ง ถ้าเป็นเด็กอาจคว่ำตัวลงบนขาผู้ใหญ่และใช้มือหนึ่งประคองศีรษะไว้ 


                แต่วิธีที่ได้มีการศึกษาและยืนยันว่าได้ผลกว่าคือ วิธีของนายแพทย์ไฮม์ลิช ( Heimlich )  โดยใช้ลมที่เหลืออยู่ในปอดดันวัตถุอุดกั้นนั้นออกมา ซึ่งมีเหลืออยู่มากพอเสมอแม้จะเกิดการอุดกั้นแม้หายใจออกแล้วก็ตาม




 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2553
8 comments
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2553 11:08:15 น.
Counter : 15608 Pageviews.

 

เป็น web ที่ให้ความรู้คนได้ดีมากเลยครับ

 

โดย: กมล IP: 203.113.19.168 16 กุมภาพันธ์ 2553 23:11:18 น.  

 

ดิฉันเป็นพยาบาลวิชาชีพค่ะ อยากอบรมหลักหลักสูตรการชันสูตรพลิกศพแก่เจ้าหน้าทั่วไปแทนแพทย์ เมื่อไหร่จมีอีกคะ

 

โดย: BB IP: 58.147.60.148 3 มีนาคม 2553 14:46:01 น.  

 

มาตามอ่านครับ

 

โดย: pooktoon 23 มีนาคม 2553 15:39:36 น.  

 

ดีมากแล้ว

 

โดย: Jab_24 IP: 111.84.99.167 12 เมษายน 2553 20:18:14 น.  

 

ถ้าแพทย์ที่ชันสูตรระบุว่าเสียชีวิตจากการสำลักอาหาร

แบบนี้จะเข้าข่ายเป็นอุบัติเหตุไหมครับ เพราะมีเรื่องของประกันชีวิตเข้ามาเกี่ยวข้อง

เพราะทางประกันแจ้งว่าถ้าเขียนแค่ สำลักอาหาร แบบนี้ทางประกันบอกไม่เข้าข่าย เพราะไม่ได้ระบุโดยตรงว่ามาจากอุบัติเหตุรึไม่ ประกันว่าถ้าเขียนว่าเป็นอุบัติเหตุจากการสำลักอาหารแบบนี้จะได้ ไม่ทราบว่าควรทำยังไงดีครับ

 

โดย: gemini IP: 124.120.211.8 4 มิถุนายน 2556 13:44:38 น.  

 

อาการแซรกซ้อนที่เป็นอยู่และอาการข้างต้น ชัดเจนมากค่ะ ควรได้รับการช่วยเหลือด่วนค่ะ ดิฉํฯฌ)นอยู่ จริงค่ะ ไม่ได้รับการรักษา ที่ถูกต้องเพราะแพทย์ ไม่เชื่อว่าเป็นความจริง ไปหาหมอมาหลายที่แล้วค่ะ มาเจอแบบนี้ เข้าใจเลย อยากได้รับการรักษาด่วนค่ะ กรุณาติดต่อกลับด้วยค่ะคุณหมอ มี อาการแซรกซ้อน มากทนไม่ไหวแล้ว หายใจไม่ออกแน่นหน้าอก มีกลิ่นเหม็นที่จมูก ลมหายใจ ปวดหัว ปวดหู ปวดหัวนม คิดไม่ออก ขี้ลืม

 

โดย: ขอร้องคุณหมอติดต่อกลับด่วน0881252071 IP: 1.46.165.13 3 มิถุนายน 2557 3:27:25 น.  

 

ขอไห้คุณหมอติดต่อกลับด่วนค่ะ
สำลักหายใจไม่ออกต้องการผ่าตัดในโพรงจมูก ด่วนค่ะ 095-775-4449

 

โดย: นิดา IP: 124.122.216.92 9 ธันวาคม 2557 2:52:36 น.  

 

สอบถามคะ พอดี มาผ่าตัดที่ต่างประเทศคะ หมอให้ยานอนหลับคะ


ก่อนผ่ามีการอดน้ำ อดอาหาร แล้ว ถึง 15 ชั่วโมง


แต่ในระหว่างผ่าตัดเกิดการอ้วกเป็นเศษ อาหารอยู่คะ. สาเหตนี้เกิดจากอะไรคะ. เครียดมากเลยคะ. เพราะตอนนี้ ถูก ทีมไทยที่ โรงพยาบาล หาว่าไม่ได้ อดน้ำ อดหารคะ. ทั้งๆ ที่ เราอด เราก็ยืนยัน. แต่เค้าบอก โกหกตัวเองได้ แต่โกหกโรงบาลไม่ได้คะ

 

โดย: ดิว IP: 103.77.118.136 28 ธันวาคม 2560 4:16:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.