DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
นิติวิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีส่วนในการค้นหาความจริงในการดำเนินคดีอย่างไร

ในทางคดีแพ่ง

1. การพิสูจน์ตัวบุคคล ได้มีการนำผลการตรวจ DNA มาใช้ในการพิสูจน์ตัวบุคคล ความเป็นพ่อ แม่ ลูก ญาติพี่น้อง ซึ่งมีผลทางกฎหมายในเรื่องสิทธิและหน้าที่ในเรื่องครอบครัว และมรดก
2. การพิสูจน์ว่า ใครตายก่อนกัน เช่น คดีพ่อ แม่ ลูก โดยสารรถยนต์ไปด้วยกันและเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ความตายทั้งสามคน สามีหรือภริยาของลูกจะมีสิทธิได้รับมรดาของพ่อและแม่ของผู้เป็นลูกได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อหลายสิบปีก่อนมีคดี ดังอยู่คดีหนึ่ง ที่เศรษฐีณีเมืองไทยเดินทางไปทำธุระกันลูกสาว ซึ่งลูกสาวมีสามีเป็นนายตำรวจ ระหว่างทางรถยนต์ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตทั้งแม่และลูก ต่อมาได้มีการสรุปสำนวนการชันสูตรศพในลักษณะว่าผู้เป็นแม่ตายก่อนลูกสาวสิบห้านาที ซึ่งในทางนิติเวชไม่สามารถบอกได้ถึงขนาดนั้น ยกเว้นผู้ตายเสียชีวิตในโรงพยาบาลโดยมีผู้ดูแลรักษาอยู่ด้วย จึงจะรู้เวลาตายที่แน่ชัดได้
ในคดีนี้บรรดาญาติของเศรษฐีณีสงสัยในพฤติกรรมของตำรวจ จึงทำเรื่องร้องเรียน เพราะสงสัยว่าทำไมถึงสรุปได้ว่า แม่ตายก่อนลูกเพียงแป๊ปเดียว ในสำนวนการชันสูตรศพน่าสนใจตรงที่ตำรวจเจ้าของคดีร่วมกับแพทย์ผู้ชันสูตรศพระบุเวลาตายของผู้เป็นแม่ว่าเสียชีวิตก่อนลูกสาวประมาณ 15 นาที ทั้ง ๆ ที่อุบัติเหตุทางรถยนต์ครั้งนั้นทั้งสองคนน่าจะเสียชีวิตพร้อมกันในที่เกิดเหตุ
คดีดังกล่าวจำได้ว่ามีการดำเนินคดีและลงโทษจำคุกนายตำรวจเจ้าของคดี และตำรวจผู้เป็นสามี กับแพทย์ที่ไปร่วมลงความเห็นระบุเวลาตายชัดเจนถึงขนาดนั้น
3. การพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือและลายมือชื่อ ซึ่งสามารถพิสูจน์ในคดีปลอมแปลงเอกสาร และพินัยกรรม

ในทางคดีอาญา

นอกจากจะได้ใช้วิธีการทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิสูจน์ตัวบุคคล พิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือ และลายมือชื่อซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีปลอมแปลงเอกสารแล้ว ยังได้นำมาใช้พิสูจน์พยานหลักฐานในคดีฆาตกรรม และคดีข่มขืนอนาจาร
โดยเฉพาะเกี่ยวกับการชันสูตรศพ เมื่อมีผู้พบเห็นคนตาย ย่อมจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า ผู้ตายเป็นใคร เกิดอะไรขึ้น พบผู้ตายเสียชีวิตเมื่อไหร่ คนตายมาอยู่ในที่เกิดเหตุได้อย่างไร พบศพผู้ตายที่ไหน ทำไมจึงตาย ดังนั้นสิ่งที่จะต้องพิสูจน์คือ
1. พิสูจน์หาสาเหตุการตาย หมายถึงตรวจหาพยาธิสภาพที่ทำให้เสียชีวิต เช่นตับแตก สมองฟกช้ำ
2. พิสูจน์พฤติการณ์การตาย ว่าการตายเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นอุบัติเหตุ เป็นการฆ่าตัวตาย หรือถูกฆาตกรรม
3. ประเมินว่าผู้ตายเสียชีวิตมานานเท่าใด เช่นการตรวจอุณหภูมิในศพ การแข็งตัวของกล้ามเนื้อหลังตาย (Rigor mortis) และการตกของเลือดลงสู่เบื้องต่ำของเม็ดโลหิตหลังตาย (Livor mortis)
4. ประเมินว่าเสียชีวิตที่ไหน เช่น พบศพที่ข้างถนนในซอยเปลี่ยว อาจเป็นการอำพรางคดีโดยมีคนขับรถนำศพคนตายมาทิ้งก็เป็นได้
5. พิสูจน์ว่าผู้ตายเป็นใคร ในกรณีที่พบเพียงชิ้นส่วนของศพ วิธีที่แน่นอนที่สุดในปัจจุบันแต่ใช้ค่าใช้จ่ายสูงคือ การตรวจลายพิมพ์ DNA
6. จุดประสงค์ข้อสุดท้าย คือ การพิสูจน์ว่าผู้ใดทำให้ตาย ซึ่งไม่อาจบอกได้จากศพในทุกกรณี ชนิดของการตายที่พอจะบอกผู้กระทำได้จากการชันสูตรศพ คือศพที่ถูกฆ่าข่มขืนซึ่งอาจตรวจ DNA ของคราบอสุจิที่พบในศพเปรียบเทียบกับของผู้ต้องสงสัย หรือศพที่ถูกยิงด้วยอาวุธปืนซึ่งอาจตรวจร่องรอยของหัวกระสุนปืนเปรียบเทียบกับรอยและร่องภายในลำกล้องอาวุธปืนที่ยึดได้จากผู้ต้องสงลัย รวมทั้งตรวจหาเขม่าดินปืนจากมือของผู้ต้องสงลัย
ขั้นตอนในการรวบรวมพยานหลักฐานและการชันสูตรศพมีความสำคัญมาก ต้องโปร่งใส ปราศจากข้อสงสัยในความอคติหรือความสุจริตของเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการ จึงจะพิสูจน์ให้ศาลรับฟังลงโทษจำเลยได้ มีตัวอย่างในคดีของนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล โอ.เจ.ซิมป์สัน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าลงมือฆ่าภริยาของเขากับเพื่อนชาย เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2537 เป็นคดีที่สะท้อนให้เห็นถึงการตรวจเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุที่ดำเนินการไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถยืนยันลงโทษจำเลยได้
คดีดังกล่าวตำรวจปล่อยให้ร่างของผู้ตายนอนอยู่ในที่เกิดเหตุนานถึง 10 ชั่วโมง โดยคลุมร่างไว้ด้วยผ้าห่มที่เอามาจากในบ้านของผู้ตาย ก่อนที่จะให้แพทย์นิติเวชเข้าตรวจที่เกิดเหตุ และในการสืบพยานในศาลก็พบข้อผิดพลาดของแพทย์พยาธินิติเวชที่ทำการชันสูตรศพ
ในคดีนี้ดังกล่าวได้มีการตรวจคราบเลือดที่กระเซ็นในที่เกิดเหตุเปรียบเทียบกับเลือดที่เปื้อนอยู่ที่ถุงเท้าซึ่งพบที่ปลายเตียงของซิมป์สัน ปรากฏว่าตรงกันหมด นอกจากนี้ยังพบถุงมือเปื้อนเลือดที่หลังบ้านซึ่งตรวจพบว่าตรงกับเลือดของภริยาซิมป์สันในที่เกิดเหตุ
แต่จาการซัดค้านของทนายซิมป์สันได้ความว่าเลือดที่เจาะจากเหยื่อเพื่อตรวจ DNA นั้นได้หายไป 1.5 ซี.ซี.ในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตำรวจ ทำให้เกิดความสงสัยได้ว่าคราบเลือดจากถุงเท้าและถุงมืออาจเป็นหลักฐานที่ปรุงแต่งขึ้น ทั้งปรากฏว่าคราบเลือดจากถุงเท้าที่ถูกส่งไปตรวจยังห้องปฏิบัติการของเอฟ บี ไอ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อตรวจนั้น พบสาร EDTA ซึ่งเป็นสารกันเลือดแข็งตัวที่ใช้ใส่ในหลอดเลือดที่ถูกเจาะมาเพื่อตรวจ DNA ส่วนถุงมือนั้นมีขนาดเล็กกว่ามือของซิมป์สัน
แม้หลักฐานจากการตรวจ DNA จะช่วยยืนยันว่าเลือดที่เปื้อนอยู่ที่ถุงเท้าจะเป็น เลือดของภริยาซิมป์สันจริง แต่จากการนำสืบได้ว่าเลือดที่ถุงเท้ามีสารกันเลือดแข็งตัวชนิดเดียวกับที่พบในหลอดเลือด แสดงว่าเลือดถูกเทมาจากหลอดแก้วมากกว่าเป็นเลือดจากที่เกิดเหตุ ซึ่งในที่สุดนักสืบมาร์คเฟอร์แมนซึ่งเป็นผู้พบถุงมือก็ยอมรับว่า เขาเป็นผู้สร้างหลักฐานเท็จในระหว่างการดำเนินคดี
คดีนี้ คณะลูกขุนได้ลงมติให้ โอ.เจ.ซิมป์สันพ้นโทษไป
สำหรับในประเทศไทยก็มีคดีการตายของสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขันย์ ซึ่งในครั้งแรกกองพิสูจน์หลักฐานมีความเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุรถชน แต่ต่อมาพิสูจน์ได้ว่าเป็นการฆาตกรรม
ฉะนั้น หลักฐานในคดีแม้จะสามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักวิชานิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในกระบวนพิจารณาคดีก็ตาม แต่การได้มาของพยานหลักฐานต้องเชื่อถือได้ว่าได้มาโดยโปร่งใส ปราศจากข้อสงสัย และโดยสุจริต เที่ยงธรรมของเจ้าพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง




Create Date : 18 มกราคม 2553
Last Update : 18 มกราคม 2553 23:10:51 น. 1 comments
Counter : 1169 Pageviews.

 
ดีใจ ได้เข้ามาเจิม เหอๆ

ขอบคุณ คุณหมอวีระศักดิ์มากนะครับ ที่มาแบ่งปันเรื่้องราวดีๆให้อ่านศึกษากัน ผมสนใจงานนิติเวชมากครับ

ผมเป็นอาสากู้ภัยปอเต็กตึ๊ง
เวลาไปเก็บร่างผู้เสียชีิวิต หรือไปช่วยผู้ประสบภัย
หลายครั้งที่เกิดความรู้สึกว่า
อยากให้เจ้าหน้าที่ จับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็ว
เพื่อความเป็นธรรมกับญาติพี่น้องผู้ที่ถูกกระทำ

อย่างน้อยก็เตือนคนที่คิดจะสร้างกรรมให้เค้ากลัว คุกตาราง
จะได้ไม่ทำร้ายใคร

ผมจะมาอ่านเรื่องราวของคุณหมอวีระศักดิ์ เรื่อยๆนะครั


โดย: aodbu วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:3:43:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.