DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

การชันสูตรพลิกศพตามหลักการศาสนาอิสลาม (บทความพิเศษ)

          ผลการศึกษาระบุ การชันสูตรพลิกศพตามหลักศาสนาอิสลาม " ทำได้" โดยการดำเนินการทุกขั้นตอนของการชันสูตรต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่จำเป็นและห้ามมิให้ล่วงเกินขอบเขตที่ได้รับอนุญาต ความยืดเยื้อของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้คนไทยทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมสังเวยชีวิตไปแล้วนับพันรายเป็นความสูญเสียที่ยังคงต้องทำให้กระจ่างชัดรวมทั้งกระบวนการชันสูตรพลิกศพโดยเฉพาะกรณีผู้นับถือศาสนาอิสลามที่ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและเป็นไปอย่างถูกต้องชัดเจน ไม่กระทบหลักความเชื่อทางศาสนา        

          การศึกษาเรื่อง "ระบบการชันสูตรพลิกศพในประเทศมุสลิม" ตามโครงการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศมุสลิมโดยว่าที่ร้อยตรีพรินทร์ เพ็งสุวรรณ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า "การตายของคนเรานั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ การตายตามธรรมชาติหรือการตายทางพยาธิวิทยา และการตายผิดธรรมชาติหรือการตายทางนิติเวชวิทยา ซึ่งการตายแบบผิดธรรมชาติหรือการตายทางนิติเวชวิทยานี้เองที่ต้องใช้การชันสูตรพลิกศพเป็นวิธีการในการตรวจร่างกายผู้ตาย เพื่อค้นหาสาเหตุและพฤติการณ์ที่ทำให้เกิดความตายแก่บุคคลนั้น"


          ในปัจจุบันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดเหตุการณ์ตายที่ต้องทำการชันสูตรไว้ 5 ประการ ได้แก่ การฆ่าตัวตาย/การถูกผู้อื่นทำให้ตาย/การถูกสัตว์ทำร้ายตาย/การตายโดยอุบัติเหตุและการตายโดยยังไม่ปรากฏสาเหตุ


             ระบบการชันสูตรพลิกศพ คือ วิธีหรือแบบแผนในการจัดการกับศพภายหลังจากการตายแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย ซึ่งในแต่ละประเทศจะมอบอำนาจให้แก่เจ้าหน้าที่ต่างกัน ดังนั้นระบบการชันสูตรพลิกศพจะเป็นระบบใดนั้น จะต้องพิจารณาจากอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับการตายและการสั่งให้ทำการผ่าศพตรวจซึ่งในระบบการชันสูตรพลิกศพของประเทศต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 5 ระบบ ได้แก่ ระบบโคโรเนอร์ (Coroner System) ระบบแพทย์สอบสวน (Medical Examiner System) ระบบศาล (Court's System) ระบบตำรวจ ( Police System) และระบบผสม (Mixed System)


             การชันสูตรพลิกศพตามหลักศาสนาอิสลาม จากหลักความเชื่อของศาสนาอิสลามที่ว่า "กรณีผู้นับถือศาสนาอิสลามเสียชีวิตให้รักษาศพไว้ในสภาพเดิม ห้ามให้มีการทำลายศพโดยเด็ดขาดและห้ามทำรุนแรง เพราะว่าหลักศาสนาอิสลามถือว่ามนุษย์ทุกคนที่พระอัลลอฮ์ทรงสร้างมาเป็นสิทธิของพระองค์ที่จะห้ามมิให้ใครมาทำลาย" ซึ่งจากความเชื่อดังกล่าว ในกรณีการตายโดยผิดธรรมชาติถ้าผู้ตายเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม จะเกิดปัญหา ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 ประเด็นสำคัญ คือ


          1) ผู้ตายนับถือศาสนาอิสลามซึ่งตายโดยผิดธรรมชาติเจ้าพนักงานสามารถทำการชันสูตรพลิกศพได้หรือไม่


          2) ถ้าสามารถทำการชันสูตรพลิกศพได้จะมีขอบเขตการชันสูตรพลิกศพในระดับใด


            แนวปฏิบัติในปัจจุบัน พบว่า การชันสูตรพลิกศพเป็นสิ่งต้องห้าม แต่จากหลักความจำเป็นและหลักประโยชน์ที่เหนือกว่าทำให้การชันสูตรพลิกศพที่เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ โดยดำเนินการทุกขั้นตอนของการชันสูตรต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่จำเป็น และห้ามมิให้ล่วงเกินขอบเขตที่ได้รับอนุญาต


            ทั้งนี้จากการศึกษาการชันสูตรพลิกศพของประเทศมุสลิมอื่น ๆ พบว่า ประเทศอิหร่าน ใช้ระบบการชันสูตรพลิกศพแบบ ระบบแพทย์สอบสวน (Medical Examiner System)โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สถาบันนิติเวช ( The Legal Medicine Organization-L.M.O.)


            ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการชันสูตรพลิกศพของประเทศทั้งระบบและมีหน่วยงานในสังกัดเรียกว่า ศูนย์นิติเวช (Medico Legal Centers ) จัดตั้งขึ้นตามระเบียบการจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ เรียกว่า L.M.Office's Regulation Rule บัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. 1967 และมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ.1993


            การชันสูตรพลิกศพของประเทศอิหร่านจะกระทำต่อเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายจากการถูกฆาตกรรมซึ่งผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการชันสูตรพลิกศพจะต้องเป็นแพทย์ที่ได้ใบรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข ถ้าเป็นกรณีการตายโดยผิดธรรมชาติ เช่น ฆ่าตัวตาย, ถูกผู้อื่นฆ่าตาย, ตายด้วยอุบัติเหตุ, ตายเพราะถูกสัตว์ทำร้าย หรือตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุ แพทย์จะทำรายงานส่งให้ตำรวจ และในบางกรณีศาลอาจสั่งให้สถาบันนิติเวชหรือศูนย์นิติเวชทำการชันสูตรพลิกศพเพื่อค้นหาสาเหตุแห่งการตายและพฤติการณ์แห่งการตายได้


            ประเทศอียิปต์มีระบบการชันสูตรพลิกศพแบบระบบโคโรเนอร์ ( Coroner System) ที่มีความคล้ายคลึงกับระบบชันสูตรพลิกศพของประเทศอังกฤษ โดยผู้ที่เป็นโคโรเนอร์ คือ พนักงานอัยการ (Procurator Fiscal ) ซึ่งจะทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนการตายที่เกิดจากการกระทำผิดทางอาญา


            การชันสูตรพลิกศพของประเทศอียิปต์จะเกิดขึ้นในกรณีที่เป็นการตายโดยไม่ทราบสาเหตุ การตายจากอุบัติเหตุ, การตายจากคดีอาชญากรรม, การฆ่าตัวตายและการตายระหว่างการผ่าตัดหรือตายก่อนที่จะฟื้นจากยาสลบ โดยโคโรเนอร์จะสั่งให้สถาบันนิติเวชของรัฐบาลอียิปต์ ( The Egyptian Government'sMedico-Legal Institute) ทำการชันสูตร โดยมีพยาธิแพทย์ของสถาบันเป็นผู้ร่วมชันสูตรซึ่งจะมีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ คือ การพิสูจน์รูปพรรณ จำแนกรอยแผลเป็น ข้อมูลทางทันตกรรม ระเบียนรูปถ่าย และรูปพรรณจากการพิมพ์ลายนิ้วมือ


         สำหรับประเทศไทย มีข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ


            1) เพื่อมิให้ขัดต่อหลักความเชื่อทางศาสนาอิสลาม การชันสูตรพลิกศพผู้นับถือศาสนาอิสลามจะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีวิธีการอื่นที่จะค้นหาสาเหตุการตายได้เท่านั้น


            2) แพทย์ต้องอธิบายให้ญาติของผู้ตายทราบถึงรายละเอียดและความจำเป็นในการชันสูตรพลิกศพ


            3) การชันสูตรพลิกศพ จะต้องไม่กระทำในลักษณะที่เป็นการประจานศพ หรือไม่ให้เกียรติศพ


            4) อำนาจหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ รวมถึงอำนาจการตัดสินใจในการดำเนินการชันสูตรพลิกศพและผ่าศพพนักงานสอบสวนควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด


            5) ควรจัดตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นมารับผิดชอบงานทางด้านการชันสูตรพลิกศพที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางอาญา เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในเรื่องนิติเวชศาสตร์ และเป็นกลไกในการตรวจสอบการทำงานของพนักงานสอบสวน


            6) สำนักจุฬาราชมนตรีควรเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจให้กับผู้นับถือศาสนาอิสลามถึงเจตนารมณ์และความจำเป็นในการชันสูตรพลิกศพ


            7) ควรจัดทำคู่มือสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการชันสูตรพลิกศพและผ่าศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ ตำรวจ แพทย์ พนักงานอัยการ พนักงานฝ่ายปกครอง ผู้นำทางศาสนา ญาติผู้ตายและผู้นับถือศาสนาอิสลามตามบทบัญญัติทางศาสนา เพื่อให้แต่ละฝ่ายมีความรู้และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเองและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า 




 

Create Date : 26 มกราคม 2553
0 comments
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2553 18:32:58 น.
Counter : 1591 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.